Skip to main content

1. ความเดิม


จากปัญหาที่ผู้บริหารทั้งระดับผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่และผู้จัดการใหญ่ของ บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) “อ้าง” หลายครั้งหลายวาระด้วยกันว่า ก๊าซหุงต้มในประเทศไทยขาดแคลน ทาง บริษัท ปตท. จึงได้ออกมาบอกกับสาธารณะในสามประเด็นหลัก คือ


(1)
เสนอแนะให้รัฐบาลขึ้นราคาหรือลอยตัวราคาก๊าซหุงต้มให้เท่ากับราคาตลาดโลก
(2)
ในเดือนเมษายนที่ผ่านมาทาง ปตท. ได้นำเข้าก๊าซหุงต้มหรือแอลพีจีแล้วจำนวน2 หมื่นตัน ขณะเดียวกันผู้บริหารระดับสูงสุดอ้างว่าในปีนี้จะมีการนำก๊าซถึง 4 แสนตัน

(3) ราคาก๊าซหุงต้มในตลาดโลกตันละเกือบพันเหรียญสหรัฐ แต่ราคาก๊าซในประเทศอยู่ที่ตันละประมาณ 300 เหรียญ ทำให้รัฐต้องเสียเงินชดเชยราคาเป็นจำนวนมาก


ผมเกิดความสงสัยในข้อมูลดังกล่าว จึงได้ทำการสืบค้นทั้งจากกรมศุลกากรซึ่งมีหน้าที่โดยตรงในการเก็บภาษีนำเข้า-ส่งออกและจากกระทรวงพลังงานที่ดูแลข้อมูลนี้โดยตรง ก็ไม่พบว่าได้มีการนำเข้าก๊าซหุงต้มทั้งในเดือนเมษายนและพฤษภาคม 2551 แต่อย่างใด


นอกจากจะไม่ได้มีการนำเข้าแล้ว ยังมีการส่งออกอีกต่างหาก ข้อมูลของทั้งสองหน่วยงานดังกล่าวก็ช่างตรงกันพอดี ผมจึงสรุปว่า คำกล่าวข้อที่ (2) ของ ปตท. เป็นเท็จ


สำหรับข้อที่ (3) ผมวิจารณ์ว่าเป็นการให้ข้อมูลเพียงครึ่งเดียว ความจริงแล้วราคาก๊าซในประเทศที่มีอากาศหนาวราคาก๊าซจะต่างกันเกือบครึ่งต่อครึ่งในแต่ละปี


สำหรับข้อ (1) ที่ ปตท. เสนอแนะให้รัฐบาลขึ้นราคา ผมไม่ได้แสดงความเห็นใดๆ ครับ แต่ผมพอจะจำความได้ว่า เดิมทีเดียวนั้น บริษัท ปตท. มาจาก “น้ำมันสามทหาร” ที่มีปรัชญาหลักว่า “เพื่อความมั่นคงด้านพลังงานของทหารและชาติ”


ทั้งหมดนี้จึงเป็นที่มาของบทความที่ชื่อว่า “จับเท็จ ปตท. กรณี “นำเข้าก๊าซหุงต้ม””


2.
คำชี้แจงของบริษัท ปตท.


ต่อมาผมได้รับทราบจากข้อมูลในเว็บบอร์ดของบริษัทผู้จัดการ จำกัด ว่ามีคำชี้แจงมาจากบริษัท ปตท. แต่ผมไม่ทราบว่าใครเป็นผู้ชี้แจง


ต่อมาอีกไม่นาน ผมทราบว่า มีการพูดถึงบทความที่ผมเขียนในรายการ “เรื่องเล่าเช้านี้” ทางโทรทัศน์ช่อง 3 วันที่ 21 กรกฎาคม เวลาประมาณ 8 โมงเศษ พอสรุปได้ว่า


นักข่าวได้ไปสอบถามทาง ปตท. ทางบริษัท ปตท.จำกัดได้ชี้แจงดังนี้ คือ ไม่ได้นำเข้าก๊าซหุงต้มโดยตรง เพราะการนำเข้าแอลพีจีโดยตรงนั้นทำได้ลำบาก ต้องใช้เรือเฉพาะ แต่ได้นำก๊าซชนิดอื่นที่เรียกว่า บิวเทน (butane) และโปรเพน (propane) เพื่อมาผสมกับก๊าซชนิดอื่นแล้วใช้แทนก๊าซหุงต้ม (หรือแอลพีจี)”


ผู้ดำเนินรายการยังได้สรุปว่า “เรื่องนี้เป็นปัญหาทางเทคนิค ถ้าใครสงสัยก็ให้ไปสอบถามที่ ปตท.ได้”


3. จับเท็จซ้ำสอง


ผมมีประเด็นที่จะขอตั้งข้อสังเกตและได้สืบค้นหาความจริงดังต่อไปนี้

(1) คำถามง่ายๆ ครับ ถ้านำเข้าก๊าซแอลพีจีเป็น “เทคนิคที่ลำบาก” แล้วทำไมการส่งออกก๊าซแอลพีจีชนิดเดียวกันจึงเป็น “เทคนิคที่ทำได้” ก๊าซชนิดเดียวกันเวลาส่งออกใช้เทคนิคหนึ่ง เวลานำเข้าต้องใช้อีกเทคนิคหนึ่ง มันสองมาตรฐานชอบกลนะ


แต่เรื่องนี้ก็ไม่ได้สำคัญอะไรมากมายเท่ากับเรื่องต่อไปนี้ครับ คือ


(2)
ผมได้สืบค้นข้อมูลอีกทั้งจากสองแหล่งเดิม เอากรณีของกรมศุลกากรก่อนนะครับ คราวนี้ผมขออนุญาตนำที่อยู่ของเว็บไซต์ของกรมศุลกากรมาแสดงด้วย เข้ายากไม่ใช้น้อยนะครับ คือเข้าไปที่ http://www.customs.go.th/Statistic/StatisticIndex.jsp ก่อน แล้วค่อยไปบอกรหัส (HD-Code) ตามที่ระบุ (แต่ไม่มีจุด เช่น 2711120006 สำหรับ Propane 27111900001 สำหรับแอลพีจี และ 2711130007 สำหรับ Butane- เข้ายากมากครับสำหรับคนที่ไม่ค่อยทีทักษะคอมพิวเตอร์)

ผลปรากฏว่า ไม่พบการนำเข้าของก๊าซทั้งสองรายการตามที่ทางบริษัท ปตท. ชี้แจงมาแต่อย่างใด ผมแนบผลการตรวจค้นมาด้วยครับ


25_7_01


25_7_02


ต่อมาผมก็สืบค้นที่กระทรวงพลังงาน ก็ไม่พบการนำเข้าก๊าซแอลพีจีหรือก๊าซหุงต้มเช่นเคย ผมตั้งใจจะแสดงผลการตรวจค้นทั้งหมด เนื่องจากตารางมันใหญ่โตเกินไป ผมจึงเลือกตัดเอาเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับแอลพีจี (LPG) เท่านั้น ซึ่งตรงกับสะดมภ์ G และบรรทัดที่ 27 ข้อมูลในตำแหน่งที่กล่าวแล้ว คือข้อมูลการนำเข้าในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2008


ผลคือไม่พบข้อมูลการนำเข้าก๊าซแอลพีจีแต่อย่างใด (ในวงรีสีส้ม)

 


25_7_03


นอกจากนี้ ทางกระทรวงพลังงานได้กำหนดนิยามของ LPG (ในบรรทัดที่ 30) ว่าให้นับรวมก๊าซชนิดที่เรียกว่า Propane และ Butane ด้วย ก๊าซสองชนิดนี้แหละที่ทาง ปตท. อ้างว่าได้นำเข้ามาแทนแอลพีจี เพราะเทคนิคการนำเข้าง่ายกว่า


ดังนั้น สำหรับข้อมูลของกระทรวงพลังงานแล้ว ชัดเจนดีโดยไม่ต้องค้นหาอะไรเพิ่มเติม แต่เฉพาะในเรื่องนี้เท่านั้นนะครับ เรื่องข้อมูลอื่นยังมีปัญหาที่ทำให้ผู้รับข้อมูลเข้าใจได้ยากมากหรือไม่สามารถเข้าใจได้เลย หากมีเวลาผมจะเขียนมาเล่าให้ฟังครับ


3. สรุป


เรื่องราวที่ทางบริษัท ปตท. จำกัด “อ้างถึง” และ “ชี้แจงมา” ก็มีเท่านี้แหละครับ ผมไม่อยากแสดงความเห็นใดที่มากกว่านี้ ขอให้เป็นดุลยพินิจของท่านผู้อ่านและผู้บริโภคพลังงานก็แล้วกันครับ


ศาสตราจารย์ นอม ชอมสกี นักวิชาการนามก้องโลกจากเอ็มไอทีได้แสดงความเห็นสั้นๆ ว่า “นักวิชาการมีหน้าที่สองอย่าง คือพูดความจริงและชี้ให้เห็นการโกหก”


ถ้าจะมีหน้าที่ที่สามก็ขอเพิ่มโดยอิงกับคำพูดของพลตรีจำลอง ศรีเมืองที่ว่า “มาทำบุญ” เข้าไปอีกสักข้อก็แล้วกัน


ผมมีแค่นี้เองครับ


บล็อกของ ประสาท มีแต้ม

ประสาท มีแต้ม
เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2551 สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ได้จัดเวทีเสวนาเรื่อง "9 คำถามคาใจ กรณี ปตท." ซึ่งเป็นประเด็นที่ประชาชนให้ความสนใจมาหลายปีนับตั้งแต่การแปรรูปเมื่อเดือนตุลาคมปี 2544 เวทีเสวนาประกอบด้วย ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่สื่อสารองค์กรและกิจการเพื่อสังคม  บมจ. ปตท. (คุณสรัญ รังคสิริ)  เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค (คุณสารี อ๋องสมหวัง) ดำเนินรายการโดยคุณวันชัย ตันติวิทยาพิทักษ์  บรรณาธิการนิตยสารสารคดี นอกจากนี้ยังมีนักวิชาการและประธานกรรมการบริหารบริษัทหลักทรัพย์ภัทรด้วย นักข่าวของ “ประชาไท” รายงานว่า “…
ประสาท มีแต้ม
นายทหารยศพันตรีท่านหนึ่ง (พ.ต.รัฐเขต แจ้งจำรัส) ได้ออกมาให้ข้อมูลกับประชาชนผ่านเวทีพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยว่า “ปิโตรเลียมซึ่งได้แก่น้ำมันและก๊าซธรรมชาติใต้แผ่นดินไทยทั้งบนบกและในทะเลทั้งหมดมีมูลค่าถึง 100 ล้านล้านบาท” เงินจำนวน 100 ล้านล้านบาท(ล้านสองครั้ง)นี้ ถ้าเอามาจัดสรรเป็นงบประมาณแผ่นดินในปีปัจจุบันก็จะได้ประมาณ 62 ปี เพราะงบประมาณปีหน้า (2552) มีประมาณ 1.6 ล้านล้านบาท ข้อมูลที่นายทหารผู้นี้นำเสนอล้วนเป็นข้อมูลของทางราชการที่เข้าใจยาก กระจัดกระจาย แต่ท่านได้นำมารวบรวม วิเคราะห์ แล้วสรุปให้ประชาชนธรรมดาสามารถเข้าใจได้ง่าย…
ประสาท มีแต้ม
1. ความเดิม จากปัญหาที่ผู้บริหารทั้งระดับผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่และผู้จัดการใหญ่ของ บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) “อ้าง” หลายครั้งหลายวาระด้วยกันว่า ก๊าซหุงต้มในประเทศไทยขาดแคลน ทาง บริษัท ปตท. จึงได้ออกมาบอกกับสาธารณะในสามประเด็นหลัก คือ (1) เสนอแนะให้รัฐบาลขึ้นราคาหรือลอยตัวราคาก๊าซหุงต้มให้เท่ากับราคาตลาดโลก(2) ในเดือนเมษายนที่ผ่านมาทาง ปตท. ได้นำเข้าก๊าซหุงต้มหรือแอลพีจีแล้วจำนวน2 หมื่นตัน ขณะเดียวกันผู้บริหารระดับสูงสุดอ้างว่าในปีนี้จะมีการนำก๊าซถึง 4 แสนตัน (3) ราคาก๊าซหุงต้มในตลาดโลกตันละเกือบพันเหรียญสหรัฐ แต่ราคาก๊าซในประเทศอยู่ที่ตันละประมาณ 300 เหรียญ…
ประสาท มีแต้ม
1. ประเด็นปัญหา ขณะนี้ บริษัท ปตท. ได้บอกกับประชาชนว่าก๊าซหุงต้มหรือที่เรียกกันในวงการว่าก๊าซแอลพีจี (Liquefied petroleum gas) ในประเทศไทยกำลังขาดแคลน และได้แนะนำให้รัฐบาลขึ้นราคาก๊าซชนิดนี้ โดยเฉพาะที่ใช้กับรถยนต์ส่วนบุคคลและรถยนต์แท็กซี่ (นายณัฐชาติ จารุจินดา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ บมจ. ปตท. ให้สัมภาษณ์ผ่านรายการ Hard Topic ทาง Money Channel , 7 กรกฎาคม 2551) นอกจากนี้นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท.กล่าวว่า “ความต้องการใช้ก๊าซหุงต้ม (แอลพีจี) ที่เพิ่มขึ้น ทำให้ปีนี้ต้องนำเข้าแอลพีจี 4 แสนตัน” (ไทยรัฐ 11 กรกฎาคม 2551)
ประสาท มีแต้ม
1. คำนำและปัญหา ขณะนี้ได้มีการเรียกร้องให้สังคมมาร่วมกันสร้าง “การเมืองใหม่” บทความนี้จะยังไม่เสนอกระบวนการที่จะนำไปสู่การเมืองใหม่ แต่จะมองว่าการเมืองใหม่ควรจะมีหน้าตาเป็นอย่างไร พร้อมนำเสนอตัวอย่างที่เป็นจริงเพื่อให้เราได้เห็นทั้งแนวคิดและหน้าตาของการเมืองใหม่ชัดเจนขึ้น สังคมในการเมืองใหม่ควรจะเป็นสังคมที่ ผู้คนมีศักดิ์ศรี พึ่งตนเองได้ ทุกคนมีงานทำ มีความสุข การบริหารบ้านเมืองต้องโปร่งไส ตรวจสอบได้และ ปราศจากการคอร์รัปชัน ในที่นี้จะขอนำเสนอนโยบายและรูปธรรมด้านพลังงาน ทั้งนี้เพราะเรื่องพลังงานเป็นเรื่องใหญ่มาก กล่าวคือทุกๆ 100 บาทของรายได้ของคนไทย ต้องจ่ายไปกับค่าพลังงานถึง 18 บาท…
ประสาท มีแต้ม
ในขณะที่คนทั่วโลกกำลังเดือดร้อนกับราคาน้ำมันที่พุ่งสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์  แต่ผลกำไรของบริษัทน้ำมันขนาดยักษ์ของโลกกลับเพิ่มสูงขึ้นกว่าปีที่ผ่านมา มันช่างฝืนความรู้สึกในใจของมนุษย์ธรรมดาๆ ที่คิดว่า “เออ! เมื่อสินค้าราคาสูงขึ้น เขาน่าจะลดกำไรลงมามั่ง เพื่อไม่ให้ผู้บริโภคเดือดร้อนมากนัก”   แต่มันกลับเป็นตรงกันข้าม คือเพิ่มกำไรมากกว่าเดิม  โดยไม่สนใจใยดีกับเพื่อนร่วมโลกในขณะที่ผู้มีรายได้น้อยอย่างกรรมกรได้สะท้อนออกมาในวันแรงงานแห่งชาติว่า “ค่าครองชีพแพง แต่ค่าแรงเท่าเดิม”บทความนี้จะนำเสนอทั้งข้อมูลและความคิดเห็นใน 4 เรื่องต่อไปนี้ คือ (1)…
ประสาท มีแต้ม
๑.คำนำเมื่อ ๗ ปีก่อน  คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้คิดวิชาใหม่ขึ้นมาหนึ่งรายวิชา หากคำนึงถึงแนวคิด เนื้อหาและกระบวนการเรียนการสอนแล้ว อาจถือว่าได้วิชานี้เป็นวิชาแรกในประเทศไทยก็น่าจะได้  ผมจึงอยากจะเล่าให้ท่านผู้อ่านที่เป็นผู้จ่ายภาษีมาตลอดได้รับทราบครับ ด้วยขั้นตอนตามระเบียบของมหาวิทยาลัย เราได้เริ่มลงมือเปิดสอนจริงเมื่อ ๓ ปีมาแล้ว รายวิชานี้ชื่อว่า “วิทยาเขตสีเขียว (Greening the Campus)”  เป็นวิชาบังคับสำหรับนักศึกษาชั้นปีที่สามทุกคน เรื่องที่จะนำมาเล่าอย่างสั้นๆ นี้ ได้แก่ แนวคิด เนื้อหา กระบวนการเรียนการสอน  สิ่งที่นักศึกษาค้นพบและร่วมผลักดันขยายผล…
ประสาท มีแต้ม
ผมว่างเว้นจากการเขียนบทความมานานกว่าสองเดือนแล้ว จนอันดับบทความของผมที่เรียงตามเวลาที่เขียนในเว็บไซต์ “ประชาไท” ตกไปอยู่เกือบสุดท้ายของตารางแล้ว สาเหตุที่ไม่ได้เขียนเพราะผมป่วยเป็นโรคที่ทันสมัยคือ “โรคคอมพิวเตอร์กัด” ครับ มันมีอาการปวดแสบปวดร้อนไปทั่วทั้งหลัง พอฝืนทนเข้าไปทำงานอีกไม่เกินห้านาทีก็ถูก “กัด” ซ้ำอีก ราวกับมันมีชีวิตแน่ะที่นำเรื่องนี้มาเล่าก่อนในที่นี้ไม่ใช่อยากจะเล่าเรื่องส่วนตัว แต่อยากนำประสบการณ์ที่ผิดๆ ของผมมาเตือนท่านผู้อ่านโดยเฉพาะคนที่อยู่ในวัยหนุ่มสาว ท่านผู้อ่านที่สนใจจะเก็บเรื่องของผมไปเป็นบทเรียน…
ประสาท มีแต้ม
ผมเองไม่ใช่นักกฎหมาย แต่ได้ให้ความสนใจอย่างจริงจังในประเด็นพลังงานทั้งเรื่อง ปตท. และการไฟฟ้า ทั้งการเคลื่อนไหวเรื่องพลังงานหมุนเวียนมานานกว่า 10 ปีหลังคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุด (14 ธันวาคม) ในอีก 2 วันทำการต่อมารัฐบาลก็ได้ผ่านมติวิธีการจัดการรวมทั้งการคิดค่าเช่าท่อก๊าซฯให้เป็นไปตามคำพิพากษาของศาล โดยใช้เวลาพิจารณาเพียง 10 นาที สร้างความกังขาให้กับสังคมไทยเป็นอย่างมากประเด็นที่ผมสนใจในที่นี้มี 3 เรื่องดังต่อไปนี้หนึ่ง คำพิพากษาของศาลฯที่ว่า “การใช้อำนาจมหาชนของรัฐ” ในกรณีการก่อสร้างท่อส่งก๊าซธรรมชาตินั้นควรจะครอบคลุมไปถึงไหน  ในฐานะที่ไม่ใช่นักกฎหมาย…
ประสาท มีแต้ม
เรื่องราวที่ผมจะนำมาเล่าในที่นี้  ไม่ใช่เรื่องเทคนิคทางไฟฟ้า ไม่ใช่เรื่องการประหยัดพลังงานไฟฟ้าเพียงอย่างเดียว  แต่เป็นเรื่องของประสบการณ์การทำงานเชิงสังคมที่น่าสนใจของตัวผมเอง  ผมคิดว่าเรื่องนี้มีคุณค่าพอที่ผู้อ่านทั่วไปตลอดจนกลุ่มเพื่อนพ้องที่มุ่งมั่นทำงานเพื่อสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกระบวนการสีเขียว เพื่อสิ่งแวดล้อม เพื่อความเป็นธรรมและเพื่อนสันติภาพของโลก  จริงๆนะครับ ผมไม่ได้โม้ผมขอเริ่มเลยนะครับเราเคยสังเกตไหมครับว่า สวิทซ์ไฟฟ้าในที่ทำงานของเรา โดยเฉพาะที่เป็นสถานที่ราชการ เวลาเราเปิดสวิทซ์ ไฟฟ้าจะสว่างไปหลายดวง หลายจุดเป็นแถบๆ  ยิ่งเป็นที่สาธารณะ เช่น สำนักงาน…
ประสาท มีแต้ม
1. ความในใจผมขอพักเรื่องนโยบายสาธารณะด้านพลังงานซึ่งเป็นเรื่องใหญ่และสำคัญมากๆ สำหรับประเทศไทยและชาวโลกไว้ชั่วคราวครับ  ในบทความนี้ผมขอนำเรื่องภายในมหาวิทยาลัยที่ผมทำงานอยู่มาเล่าสู่กันฟังมันไม่ใช่เรื่องไกลตัวสำหรับผู้อ่าน  แต่มันสะท้อนให้เห็นถึงปัญหาในระบบราชการไทยที่ไม่ยอมเปลี่ยนแปลงแม้ว่าสถานการณ์ได้เปลี่ยนไปมากแล้ว  นอกจากนี้ผมมีเรื่องวิชาใหม่ที่คาดว่าเป็นวิชาแรกในประเทศไทยคือวิชา “ชุมชนมหาวิทยาลัยสีเขียว (Greening the campus)”…
ประสาท มีแต้ม
การแปรรูป ปตท. คือการปล้นประชาชน! ในช่วง ๓-๔ ปีที่ผ่านมา ในขณะที่ประชาชนชาวไทยทั้งประเทศกำลังเดือดร้อนกับราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้นเกือบสองเท่าตัว แต่บริษัทน้ำมันต่างๆในประเทศไทยกลับมีกำไรเพิ่มสูงขึ้นมากกว่านั้นในบทนี้ จะกล่าวถึงกิจการของบริษัท ปตท. จำกัดมหาชน และบริษัทอื่นๆบ้าง โดยย่อๆ เป็นข้อๆ ดังต่อไปนี้๑. บริษัท ปตท. จำกัด มหาชน ได้แปรรูปมาจาก การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย เมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๔  ตอนเริ่มต้นการแปรรูป กระทรวงการคลังถือหุ้น ๖๙% ปัจจุบันเหลือเพียง ๕๒.๔๘%ดังนั้น กำไรของ ปตท. ซึ่งเดิมเคยตกเป็นของรัฐทั้งหมด ๑๐๐% ก็จะเหลือเพียงตามสัดส่วนที่รัฐถือหุ้น  คงจำกันได้นะครับว่า หุ้น ปตท…