Skip to main content

นายทหารยศพันตรีท่านหนึ่ง (..รัฐเขต แจ้งจำรัส) ได้ออกมาให้ข้อมูลกับประชาชนผ่านเวทีพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยว่า “ปิโตรเลียมซึ่งได้แก่น้ำมันและก๊าซธรรมชาติใต้แผ่นดินไทยทั้งบนบกและในทะเลทั้งหมดมีมูลค่าถึง 100 ล้านล้านบาท”


เงินจำนวน 100 ล้านล้านบาท(ล้านสองครั้ง)นี้ ถ้าเอามาจัดสรรเป็นงบประมาณแผ่นดินในปีปัจจุบันก็จะได้ประมาณ 62 ปี เพราะงบประมาณปีหน้า (2552) มีประมาณ 1.6 ล้านล้านบาท


ข้อมูลที่นายทหารผู้นี้นำเสนอล้วนเป็นข้อมูลของทางราชการที่เข้าใจยาก กระจัดกระจาย แต่ท่านได้นำมารวบรวม วิเคราะห์ แล้วสรุปให้ประชาชนธรรมดาสามารถเข้าใจได้ง่าย แผ่นภาพข้างล่างนี้ผมได้รับมาจากท่านด้วยความขอบคุณเป็นอย่างยิ่ง โปรดสังเกตว่า ซ้ายมือด้านล่างของแผ่นภาพ มีตราสัญลักษณ์ของกระทรวงพลังงานอยู่ด้วยเรียบร้อย สำหรับข้อความทางขวามือเป็นของท่านครับ


5_8_01


ผมเองยังไม่ได้ตรวจสอบความถูกต้องของตัวเลขนี้ แต่ก็เชื่อว่ามีความถูกต้องแล้วด้วยเหตุผล 2 ประการคือ (1) เชื่อในเจตนาดีและความสามารถของผู้ให้ข้อมูล และ (2) ข้อมูลอื่นๆ ที่ผมได้ตรวจสอบแล้ว พบว่าเป็นไปในทำนองเดียวกัน


ประเด็นที่ผมให้ความสนใจในที่นี้ก็คือว่า การจัดการผลประโยชน์จำนวนมหาศาลนี้เป็นอย่างไร ใครเป็นผู้มีอำนาจเหนือทรัพยากรนี้ ประชาชนไทยจะได้รับผลประโยชน์จำนวนเท่าใด


เราท่านทั้งหลายต่างก็คุ้นเคยกับคำว่า “ประชาธิปไตย (democracy)” เพราะคำว่า “demo” หมายถึง “people” หรือ ประชาชน ส่วนคำว่า “cracy” เป็นคำต่อท้ายซึ่งหมายถึง “รูปแบบของการปกครอง” ดังนั้น ประชาธิปไตย หมายถึง “รูปแบบการปกครองเพื่อผลประโยชน์ของประชาชน”


ในบทความนี้ผมจึงขอใช้คำว่า “ปิโตรธิปไตย” (Petrocracy) ซึ่งหมายถึง “รูปแบบการถือครองหรืออำนาจในการจัดการผลประโยชน์เหนือแหล่งปิโตรเลียม”


คุณบรรจง นะแส นักพัฒนาเอกชนในภาคใต้เป็นอีกผู้หนึ่งที่ได้นำความจริงเรื่องแหล่งน้ำมันในอ่าวไทยมาเปิดเผยต่อสาธารณะบนเวทีพันธมิตรฯ ท่านเป็นคนแรกเสียด้วยซ้ำ สรุปความได้ว่า รัฐมนตรีพลังงานในสมัยรัฐบาลทักษิณ (นายแพทย์พรหมมินทร์ เลิศสุริย์เดช) ได้ลงนามให้สัมปทานแหล่งพลังงานดังกล่าวกับบางบริษัทไปเรียบร้อยแล้ว บางแหล่งเป็นการต่อสัญญาล่วงหน้าหลายปี บางบริษัทที่ได้รับสัมปทานได้จดทะเบียนที่เกาะเคย์แมนซึ่งเป็นแหล่งฟอกเงินที่คนไทยบางส่วนคุ้นเคยกับชื่อนี้ดี


โดยสรุป นักการเมืองทั้งที่มาจากการเลือกตั้ง และมาจากการรัฐประหาร ได้ใช้อำนาจแทนประชาชนมาจัดการกับแหล่งทรัพยากรจำนวนมหาศาลนี้เรียบร้อยไปแล้ว


ผมไม่ทราบว่าจะมีแหล่งใดบ้างที่ยังไม่ได้จัดสัมปทาน หรือว่าทุกแหล่งได้สัมปทานไปหมดแล้วทั้ง 100 ล้านล้านบาท แต่ที่ผมสนใจก็คือว่า การมีแหล่งทรัพยากรจำนวนมหาศาลไม่ได้หมายความว่าประชาชนชาวไทยจะมีความมั่งคั่ง อยู่ดีกินดีกันอย่างทั่วหน้า ตราบใดที่การเมืองไทยยังเต็มไปด้วยการฉ้อราษฎร์บังหลวง หรือ คอร์รัปชันแล้ว ก็อย่าหวังเลยว่าประชาชนจะอยู่ดีกินดี


บทความนี้จะนำเสนอโดยย่อๆ คือ (1) ผลประโยชน์ที่คนไทยเคยได้รับจากแหล่งทรัพยากรดังกล่าว (2) ตัวอย่างจากบางประเทศที่มีแหล่งน้ำมันมากมายแต่ประชาชนยากจน และ (3) แนวคิดในการจัดทำ “นโยบายพลังงาน” ใหม่


(1) ผลประโยชน์ที่คนไทยเคยได้รับจากแหล่งทรัพยากร


โดยปกติ ประเทศไทยจะได้ผลประโยชน์จาก 3 ส่วน คือ

  1. ค่าภาคหลวงประมาณ 12.5% ของมูลค่าผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมที่ได้

2. ผูรับสัมปทานปโตรเลียม ที่มีผลกําไรจากการประกอบกิจการปโตรเลียมในแตละรอบปปฏิทิน จะตองชําระภาษีเงินไดปโตรเลียมรอยละ 50

3. ผลประโยชนตอบแทนพิเศษภายใตเงื่อนไข Thailand III ภายในเดือนพฤษภาคมของปถัดไป


จากรายงานประจำปี 2549 ของกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ พบว่าตั้งแต่มีการผลิตปิโตรเลียมในประเทศไทยตั้งแต่ปี 2524 จนถึง 2549 ประเทศไทยผลิตได้คิดเป็นมูลค่าทั้งสิ้นเป็นเงิน 1.637 ล้านล้านบาท (ยังห่างไกลจาก 100 ล้านล้านบาท) โดยที่

  • เราได้รับค่าภาคหลวง 0.206 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็น 12.6%

  • เราได้ภาษีตามข้อ (2) จำนวน 0.216 ล้านล้านบาท

  • เราได้ภาษีพิเศษตามข้อ (3) จำนวน 0.011 ล้านล้านบาท

รวมเบ็ดเสร็จเราได้รับผลประโยชน์ร้อยละ 26.4 ของมูลค่าทั้งหมด หรือคิดเป็นเงิน 4.33 แสนล้านบาท ถ้าหาค่าเฉลี่ยตลอด 25 ปีแล้ว เราได้รับปีละ 17,320 ล้านบาท(เพราะปีแรกๆ ปริมาณการใช้น้อยและราคาถูกกว่าทุกวันนี้)

แต่ถ้าคิดเฉพาะปี 2549 ปีเดียวเราได้รับค่าภาคหลวง 35,227 ล้านบาท


ข้อมูลจากบริษัทเชฟรอน (ประเทศไทย)


บริษัทเชฟรอน (ประเทศไทย) เป็นบริษัทที่เข้ามารับช่วงต่อจากบริษัทยูโนแคล ที่คนไทยรู้จักมาก่อน จากการศึกษาจากข้อมูลของทางราชการ พบว่า ในปี 2550 บริษัทเชฟรอนถือส่วนแบ่งการผลิตน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยถึง 66% และ 68% ของที่มีการผลิตทั้งหมดในประเทศไทยตามลำดับ นี่ยังไม่นับรวมการผลิตก๊าซธรรมชาติจากประเทศพม่า (ที่มีประมาณ 27% ของที่ประเทศไทยใช้ทั้งหมด)


ดังนั้น บริษัทนี้จึงเป็นบริษัทที่น่าจับตาเป็นพิเศษ


จากเอกสารของบริษัทรายงานว่า ตั้งแต่ปี 2505 ถึง 2550 (45 ปี) บริษัทนี้ได้จ่ายค่าภาคหลวงไปแล้วจำนวน 157,153 ล้านบาท โดยได้ลงทุนไปทั้งสิ้น 515,235 ล้านบาท


เอกสารนี้เล่นเล่ห์เหลี่ยมมาก คือไม่ยอมบอกว่า ตนเองมีรายได้เท่าใด และมีกำไรเท่าใด แต่ถ้าเราถือว่า บริษัทต้องเสียค่าภาคหลวงร้อยละ 12.6 ของรายได้ เราสามารถคำนวณได้ว่าบริษัทนี้มีรายได้ทั้งหมดประมาณ 1.247 ล้านล้านบาท หลังจากเสียค่าภาคหลวงและค่าภาษีทั้งสองชนิดแล้ว บริษัทเชฟรอนจะมีกำไรประมาณ 3.9 แสนล้านบาท หรือร้อยละ 77 ของเงินลงทุนทั้งหมด


กำไรงามขนาดนี้ สามารถเป็นคำตอบได้ส่วนหนึ่งแล้วว่า ทำไมคนไทยต้องซื้อพลังงานในราคาที่แพงมาก ทั้งๆ ที่เรามีแหล่งพลังงานในบ้านของเราเอง


กำไรงามขนาดนี้ ก็สามารถเป็นคำตอบได้ว่า ทำไมนักการเมืองจึงให้สัมปทานล่วงหน้ากันนานๆ


(2) ตัวอย่างจากบางประเทศที่มีแหล่งน้ำมันมากมายแต่ประชาชนยากจน


ประเทศไนจีเรีย เป็นประเทศในทวีปแอฟริกาที่สามารถผลิตน้ำมันดิบได้มากเป็นอันดับหกของโลก และมีแหล่งการทำการเกษตรที่สมบูรณ์ แต่จากการสำรวจของทางราชการเองพบว่า นับตั้งแต่ปี 1980 ถึง 1996 ประชาชนที่ยากจนเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 28 เป็น 66 ของประเทศ นอกจากนี้รายได้ต่อหัวก็ลดลงกว่าเท่าตัวในช่วงเวลาเดียวกัน จำนวนประชากรที่มีรายได้ต่ำกว่า 1.40 ดอลลาร์สหรัฐต่อวันได้เพิ่มขึ้นถึง 3 เท่า หรือเป็น 67 ล้านคนในปี 1996 (ประชากรทั้งประเทศประมาณ 130 ล้านคน)


ปัญหาใหญ่ของประเทศนี้คือการคอร์รัปชัน บางคนกล่าวว่า ในช่วง 40 ปีของการผลิตน้ำมัน ประมาณ 5 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ “ได้ถูกถูกขโมยไป”


บริษัทขุดเจาะน้ำมันไปเป็นมูลค่าประมาณ 1 แสน 5 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ แต่ประเทศได้รับเพียง 1 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 6.7% เท่านั้น


(3)
ตัวอย่างจากประเทศนอรเวย์


นอรเวย์ เป็นประเทศที่ผลิตน้ำมันดิบมากเป็นอันดับ 3 ของโลก รัฐบาลตั้งเป้าหมายไว้ว่าตลอด 30 ปีจะผลิตไม่เกิน 30% ของที่ประเทศมี ทั้งนี้เพื่อสำรองไว้ให้คนรุ่นหลัง


นอกจากนี้ ทางรัฐบาลได้ตั้งกองทุนน้ำมัน (Norway’s state Petroleum Fund) ซึ่งปัจจุบันกองทุนนี้มีทุนถึง 60,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งทางรัฐบาลนำผลประโยชน์ที่ได้จากกองทุนไปช่วยเหลือสังคม


(4)
ตัวอย่างจากประเทศไทย


ที่ผ่านมา ประเทศไทยผลิตก๊าซธรรมชาติที่เรียกว่าก๊าซหุงต้ม ได้มากเกินกว่าที่คนไทยจะใช้หมด จึงต้องส่งไปขายในต่างประเทศ โดยไม่สนใจว่า คนไทยในรุ่นต่อไปไปจะเอาพลังงานที่ไหนใช้


นอกจากนี้กองทุนน้ำมัน ก็ถูกนำมาใช้เพื่อตอบสนองนโยบายประชานิยมของนักการเมือง บางช่วงบางตอนกองทุนนี้ติดลบหนึ่งเกือบหนึ่งแสนล้านบาท


(5) แนวคิดในการจัดทำ “นโยบายพลังงาน” ใหม่


เป็นเรื่องที่น่าเสียดายเป็นอย่างยิ่ง ที่นโยบายพลังงานของประเทศไทยถูกร่างโดยกลุ่มพ่อค้าพลังงานและข้าราชการบางส่วน แนวคิดของคนกลุ่มนี้อยู่ในกรอบที่ทำให้คนใช้พลังงานที่เขาสามารถผูกขาดได้เท่านั้น เช่น น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ ถ่านหิน เป็นต้น


ในระยะหลัง เมื่อเกิดปัญหาพลังงานที่เขาผูกขาดได้เกิดขาดแคลนและแพงขึ้น ผู้กำหนด นโยบายเหล่านี้จึงนำเสนอพลังงานนิวเคลียร์ ซึ่งพวกเขาก็สามารถผูกขาดได้อีก


แต่ในความเป็นจริงแล้ว ผู้รู้ด้านพลังงานได้สรุปไว้ว่า ทางออกของปัญหาพลังงานมีเพียง 2 ทางเท่านั้น คือ (1) ใช้ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด ไม่รั่วไหล ไม่ฟุ่มเฟือย และ (2) หันไปใช้พลังงานหมุนเวียนซึ่งใช้แล้วไม่มีวันหมด ได้แก่ พลังงานลม แสงแดด ชีวมวล ของเสียจากเทศบาล เป็นต้น


(6) สรุป


การเมืองใหม่จะไม่สามารถแก้ปัญหาของประเทศได้เลย ถ้าไม่ให้ความสนใจกับ“นโยบายพลังงานใหม่” เพราะรายจ่ายด้านพลังงานของประเทศไทยที่มีมูลค่าถึง 18% ของรายได้ประชาชาติ การเมืองใหม่จะไม่สามารถแก้ปัญหาคนตกงานได้ เพราะ ธุรกิจพลังงานในปัจจุบันมีการจ้างงานน้อยมาก แต่ธุรกิจพลังงานหมุนเวียนมีการจ้างงานเยอะมากเลย เหล่านี้เป็นต้น

บล็อกของ ประสาท มีแต้ม

ประสาท มีแต้ม
เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2551 สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ได้จัดเวทีเสวนาเรื่อง "9 คำถามคาใจ กรณี ปตท." ซึ่งเป็นประเด็นที่ประชาชนให้ความสนใจมาหลายปีนับตั้งแต่การแปรรูปเมื่อเดือนตุลาคมปี 2544 เวทีเสวนาประกอบด้วย ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่สื่อสารองค์กรและกิจการเพื่อสังคม  บมจ. ปตท. (คุณสรัญ รังคสิริ)  เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค (คุณสารี อ๋องสมหวัง) ดำเนินรายการโดยคุณวันชัย ตันติวิทยาพิทักษ์  บรรณาธิการนิตยสารสารคดี นอกจากนี้ยังมีนักวิชาการและประธานกรรมการบริหารบริษัทหลักทรัพย์ภัทรด้วย นักข่าวของ “ประชาไท” รายงานว่า “…
ประสาท มีแต้ม
นายทหารยศพันตรีท่านหนึ่ง (พ.ต.รัฐเขต แจ้งจำรัส) ได้ออกมาให้ข้อมูลกับประชาชนผ่านเวทีพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยว่า “ปิโตรเลียมซึ่งได้แก่น้ำมันและก๊าซธรรมชาติใต้แผ่นดินไทยทั้งบนบกและในทะเลทั้งหมดมีมูลค่าถึง 100 ล้านล้านบาท” เงินจำนวน 100 ล้านล้านบาท(ล้านสองครั้ง)นี้ ถ้าเอามาจัดสรรเป็นงบประมาณแผ่นดินในปีปัจจุบันก็จะได้ประมาณ 62 ปี เพราะงบประมาณปีหน้า (2552) มีประมาณ 1.6 ล้านล้านบาท ข้อมูลที่นายทหารผู้นี้นำเสนอล้วนเป็นข้อมูลของทางราชการที่เข้าใจยาก กระจัดกระจาย แต่ท่านได้นำมารวบรวม วิเคราะห์ แล้วสรุปให้ประชาชนธรรมดาสามารถเข้าใจได้ง่าย…
ประสาท มีแต้ม
1. ความเดิม จากปัญหาที่ผู้บริหารทั้งระดับผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่และผู้จัดการใหญ่ของ บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) “อ้าง” หลายครั้งหลายวาระด้วยกันว่า ก๊าซหุงต้มในประเทศไทยขาดแคลน ทาง บริษัท ปตท. จึงได้ออกมาบอกกับสาธารณะในสามประเด็นหลัก คือ (1) เสนอแนะให้รัฐบาลขึ้นราคาหรือลอยตัวราคาก๊าซหุงต้มให้เท่ากับราคาตลาดโลก(2) ในเดือนเมษายนที่ผ่านมาทาง ปตท. ได้นำเข้าก๊าซหุงต้มหรือแอลพีจีแล้วจำนวน2 หมื่นตัน ขณะเดียวกันผู้บริหารระดับสูงสุดอ้างว่าในปีนี้จะมีการนำก๊าซถึง 4 แสนตัน (3) ราคาก๊าซหุงต้มในตลาดโลกตันละเกือบพันเหรียญสหรัฐ แต่ราคาก๊าซในประเทศอยู่ที่ตันละประมาณ 300 เหรียญ…
ประสาท มีแต้ม
1. ประเด็นปัญหา ขณะนี้ บริษัท ปตท. ได้บอกกับประชาชนว่าก๊าซหุงต้มหรือที่เรียกกันในวงการว่าก๊าซแอลพีจี (Liquefied petroleum gas) ในประเทศไทยกำลังขาดแคลน และได้แนะนำให้รัฐบาลขึ้นราคาก๊าซชนิดนี้ โดยเฉพาะที่ใช้กับรถยนต์ส่วนบุคคลและรถยนต์แท็กซี่ (นายณัฐชาติ จารุจินดา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ บมจ. ปตท. ให้สัมภาษณ์ผ่านรายการ Hard Topic ทาง Money Channel , 7 กรกฎาคม 2551) นอกจากนี้นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท.กล่าวว่า “ความต้องการใช้ก๊าซหุงต้ม (แอลพีจี) ที่เพิ่มขึ้น ทำให้ปีนี้ต้องนำเข้าแอลพีจี 4 แสนตัน” (ไทยรัฐ 11 กรกฎาคม 2551)
ประสาท มีแต้ม
1. คำนำและปัญหา ขณะนี้ได้มีการเรียกร้องให้สังคมมาร่วมกันสร้าง “การเมืองใหม่” บทความนี้จะยังไม่เสนอกระบวนการที่จะนำไปสู่การเมืองใหม่ แต่จะมองว่าการเมืองใหม่ควรจะมีหน้าตาเป็นอย่างไร พร้อมนำเสนอตัวอย่างที่เป็นจริงเพื่อให้เราได้เห็นทั้งแนวคิดและหน้าตาของการเมืองใหม่ชัดเจนขึ้น สังคมในการเมืองใหม่ควรจะเป็นสังคมที่ ผู้คนมีศักดิ์ศรี พึ่งตนเองได้ ทุกคนมีงานทำ มีความสุข การบริหารบ้านเมืองต้องโปร่งไส ตรวจสอบได้และ ปราศจากการคอร์รัปชัน ในที่นี้จะขอนำเสนอนโยบายและรูปธรรมด้านพลังงาน ทั้งนี้เพราะเรื่องพลังงานเป็นเรื่องใหญ่มาก กล่าวคือทุกๆ 100 บาทของรายได้ของคนไทย ต้องจ่ายไปกับค่าพลังงานถึง 18 บาท…
ประสาท มีแต้ม
ในขณะที่คนทั่วโลกกำลังเดือดร้อนกับราคาน้ำมันที่พุ่งสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์  แต่ผลกำไรของบริษัทน้ำมันขนาดยักษ์ของโลกกลับเพิ่มสูงขึ้นกว่าปีที่ผ่านมา มันช่างฝืนความรู้สึกในใจของมนุษย์ธรรมดาๆ ที่คิดว่า “เออ! เมื่อสินค้าราคาสูงขึ้น เขาน่าจะลดกำไรลงมามั่ง เพื่อไม่ให้ผู้บริโภคเดือดร้อนมากนัก”   แต่มันกลับเป็นตรงกันข้าม คือเพิ่มกำไรมากกว่าเดิม  โดยไม่สนใจใยดีกับเพื่อนร่วมโลกในขณะที่ผู้มีรายได้น้อยอย่างกรรมกรได้สะท้อนออกมาในวันแรงงานแห่งชาติว่า “ค่าครองชีพแพง แต่ค่าแรงเท่าเดิม”บทความนี้จะนำเสนอทั้งข้อมูลและความคิดเห็นใน 4 เรื่องต่อไปนี้ คือ (1)…
ประสาท มีแต้ม
๑.คำนำเมื่อ ๗ ปีก่อน  คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้คิดวิชาใหม่ขึ้นมาหนึ่งรายวิชา หากคำนึงถึงแนวคิด เนื้อหาและกระบวนการเรียนการสอนแล้ว อาจถือว่าได้วิชานี้เป็นวิชาแรกในประเทศไทยก็น่าจะได้  ผมจึงอยากจะเล่าให้ท่านผู้อ่านที่เป็นผู้จ่ายภาษีมาตลอดได้รับทราบครับ ด้วยขั้นตอนตามระเบียบของมหาวิทยาลัย เราได้เริ่มลงมือเปิดสอนจริงเมื่อ ๓ ปีมาแล้ว รายวิชานี้ชื่อว่า “วิทยาเขตสีเขียว (Greening the Campus)”  เป็นวิชาบังคับสำหรับนักศึกษาชั้นปีที่สามทุกคน เรื่องที่จะนำมาเล่าอย่างสั้นๆ นี้ ได้แก่ แนวคิด เนื้อหา กระบวนการเรียนการสอน  สิ่งที่นักศึกษาค้นพบและร่วมผลักดันขยายผล…
ประสาท มีแต้ม
ผมว่างเว้นจากการเขียนบทความมานานกว่าสองเดือนแล้ว จนอันดับบทความของผมที่เรียงตามเวลาที่เขียนในเว็บไซต์ “ประชาไท” ตกไปอยู่เกือบสุดท้ายของตารางแล้ว สาเหตุที่ไม่ได้เขียนเพราะผมป่วยเป็นโรคที่ทันสมัยคือ “โรคคอมพิวเตอร์กัด” ครับ มันมีอาการปวดแสบปวดร้อนไปทั่วทั้งหลัง พอฝืนทนเข้าไปทำงานอีกไม่เกินห้านาทีก็ถูก “กัด” ซ้ำอีก ราวกับมันมีชีวิตแน่ะที่นำเรื่องนี้มาเล่าก่อนในที่นี้ไม่ใช่อยากจะเล่าเรื่องส่วนตัว แต่อยากนำประสบการณ์ที่ผิดๆ ของผมมาเตือนท่านผู้อ่านโดยเฉพาะคนที่อยู่ในวัยหนุ่มสาว ท่านผู้อ่านที่สนใจจะเก็บเรื่องของผมไปเป็นบทเรียน…
ประสาท มีแต้ม
ผมเองไม่ใช่นักกฎหมาย แต่ได้ให้ความสนใจอย่างจริงจังในประเด็นพลังงานทั้งเรื่อง ปตท. และการไฟฟ้า ทั้งการเคลื่อนไหวเรื่องพลังงานหมุนเวียนมานานกว่า 10 ปีหลังคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุด (14 ธันวาคม) ในอีก 2 วันทำการต่อมารัฐบาลก็ได้ผ่านมติวิธีการจัดการรวมทั้งการคิดค่าเช่าท่อก๊าซฯให้เป็นไปตามคำพิพากษาของศาล โดยใช้เวลาพิจารณาเพียง 10 นาที สร้างความกังขาให้กับสังคมไทยเป็นอย่างมากประเด็นที่ผมสนใจในที่นี้มี 3 เรื่องดังต่อไปนี้หนึ่ง คำพิพากษาของศาลฯที่ว่า “การใช้อำนาจมหาชนของรัฐ” ในกรณีการก่อสร้างท่อส่งก๊าซธรรมชาตินั้นควรจะครอบคลุมไปถึงไหน  ในฐานะที่ไม่ใช่นักกฎหมาย…
ประสาท มีแต้ม
เรื่องราวที่ผมจะนำมาเล่าในที่นี้  ไม่ใช่เรื่องเทคนิคทางไฟฟ้า ไม่ใช่เรื่องการประหยัดพลังงานไฟฟ้าเพียงอย่างเดียว  แต่เป็นเรื่องของประสบการณ์การทำงานเชิงสังคมที่น่าสนใจของตัวผมเอง  ผมคิดว่าเรื่องนี้มีคุณค่าพอที่ผู้อ่านทั่วไปตลอดจนกลุ่มเพื่อนพ้องที่มุ่งมั่นทำงานเพื่อสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกระบวนการสีเขียว เพื่อสิ่งแวดล้อม เพื่อความเป็นธรรมและเพื่อนสันติภาพของโลก  จริงๆนะครับ ผมไม่ได้โม้ผมขอเริ่มเลยนะครับเราเคยสังเกตไหมครับว่า สวิทซ์ไฟฟ้าในที่ทำงานของเรา โดยเฉพาะที่เป็นสถานที่ราชการ เวลาเราเปิดสวิทซ์ ไฟฟ้าจะสว่างไปหลายดวง หลายจุดเป็นแถบๆ  ยิ่งเป็นที่สาธารณะ เช่น สำนักงาน…
ประสาท มีแต้ม
1. ความในใจผมขอพักเรื่องนโยบายสาธารณะด้านพลังงานซึ่งเป็นเรื่องใหญ่และสำคัญมากๆ สำหรับประเทศไทยและชาวโลกไว้ชั่วคราวครับ  ในบทความนี้ผมขอนำเรื่องภายในมหาวิทยาลัยที่ผมทำงานอยู่มาเล่าสู่กันฟังมันไม่ใช่เรื่องไกลตัวสำหรับผู้อ่าน  แต่มันสะท้อนให้เห็นถึงปัญหาในระบบราชการไทยที่ไม่ยอมเปลี่ยนแปลงแม้ว่าสถานการณ์ได้เปลี่ยนไปมากแล้ว  นอกจากนี้ผมมีเรื่องวิชาใหม่ที่คาดว่าเป็นวิชาแรกในประเทศไทยคือวิชา “ชุมชนมหาวิทยาลัยสีเขียว (Greening the campus)”…
ประสาท มีแต้ม
การแปรรูป ปตท. คือการปล้นประชาชน! ในช่วง ๓-๔ ปีที่ผ่านมา ในขณะที่ประชาชนชาวไทยทั้งประเทศกำลังเดือดร้อนกับราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้นเกือบสองเท่าตัว แต่บริษัทน้ำมันต่างๆในประเทศไทยกลับมีกำไรเพิ่มสูงขึ้นมากกว่านั้นในบทนี้ จะกล่าวถึงกิจการของบริษัท ปตท. จำกัดมหาชน และบริษัทอื่นๆบ้าง โดยย่อๆ เป็นข้อๆ ดังต่อไปนี้๑. บริษัท ปตท. จำกัด มหาชน ได้แปรรูปมาจาก การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย เมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๔  ตอนเริ่มต้นการแปรรูป กระทรวงการคลังถือหุ้น ๖๙% ปัจจุบันเหลือเพียง ๕๒.๔๘%ดังนั้น กำไรของ ปตท. ซึ่งเดิมเคยตกเป็นของรัฐทั้งหมด ๑๐๐% ก็จะเหลือเพียงตามสัดส่วนที่รัฐถือหุ้น  คงจำกันได้นะครับว่า หุ้น ปตท…