Skip to main content
 

เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2552 กระทรวงพลังงานในฐานะผู้รับผิดชอบหรือจะเรียกว่าผู้จัดทำแผนผลิตไฟฟ้าเองได้จัดรับฟังความคิดเห็นของประชาชนเพื่อปรับปรุง "แผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้า" ในช่วงปี 2551 ถึง 2564 ซึ่งเป็นแผนที่ได้จัดทำไว้ก่อนปี 2551 ในการรับฟังครั้งนี้ก็เพื่อจะได้ปรับปรุงเป็นครั้งที่ 2 สาเหตุที่ต้องปรับปรุงก็เพราะปัญหาเศรษฐกิจถดถอยทั้งในระดับโลกและในระดับประเทศไทยด้วย


นักวิชาการอิสระด้านพลังงานที่ไม่ใช่ข้าราชการของกระทรวงพลังงานก็ได้ออกมาแสดงความคิดเห็นที่น่าสนใจหลายอย่าง ขณะเดียวกันกลุ่มชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบจากโรงไฟฟ้าก็ได้ตั้งคำถามพร้อมแผ่นผ้าด้วยข้อความสั้น ๆ แต่เข้าใจง่ายว่า "นโยบายพลังงานผิดพลาด "ใครรับผิดชอบ"" (ภาพจากประชาไท) ผมจึงขอนำข้อความในแผ่นผ้านี้มาเป็นชื่อบทความเสียเลย


 

ถ้าจะแบ่งคู่ความขัดแย้งทางความคิดนี้ออกเป็นสองฝ่ายก็ได้แก่ ฝ่ายกระทรวงพลังงานที่มีปลัดกระทรวงเป็นหัวหน้า กับอีกฝ่ายหนึ่งคือกลุ่มชาวบ้านและนักวิชาการอิสระ ข่าวไม่ได้บอกว่ามีกลุ่มผู้บริโภคที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากการจ่ายค่าไฟฟ้าเป็นประจำได้เข้าร่วมหรือไม่ เพราะแผนหรือนโยบายพลังงานไฟฟ้าต้องมีผลกระทบต่อการกำหนดค่าไฟฟ้าอย่างแน่นอน


ในสภาพปัจจุบันของประเทศไทย เจ้าของโรงไฟฟ้าไม่ต้องกังวลใจใดๆเลยว่า ไฟฟ้าที่ตนผลิตได้จะ "ล้นตลาด" เหมือนสินค้าเกษตรหรือไม่ เพราะในสัญญาการก่อสร้างจะเป็นแบบไม่ซื้อก็ต้องจ่ายทั้งนั้น กล่าวคือ แม้ความต้องการไฟฟ้าจะลดลง แต่เอกชนผู้ผลิตไฟฟ้าจะต้องผลิตเท่าเดิม ผู้ที่จะต้องลดการผลิตลงก็คือ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตซึ่งเป็นองค์กรของรัฐ เมื่อรัฐได้ลงทุนการก่อสร้างโรงไฟฟ้าไปแล้ว แต่ไม่ได้ผลิตไฟฟ้า ความสูญเสียที่เกิดขึ้นจึงตกกับเจ้าของรัฐซึ่งก็คือประชาชนนั่นเอง


อนึ่ง กลุ่มนักวิชาการอิสระดังกล่าว ได้ตั้งข้อสังเกตว่า ปลัดกระทรวงพลังงาน (ดร.พรชัย รุจิประภา) คนเดียวมี 3 ตำแหน่ง คือ(หนึ่ง)ปลัดกระทรวงซึ่งมีหน้าที่ดูแลแผนพลังงานทั้งหมดของประเทศ (สอง)ประธานคณะกรรมการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) และ(สาม) ตำแหน่งประธานคณะกรรมการ บริษัทผลิตไฟฟ้า ซึ่งเป็นบริษัทลูกของ กฟผ. ด้วย


เมื่อมือข้างหนึ่งเป็นผู้จัดทำแผน แต่มืออีกข้างหนึ่งก็รับแผนมาผลิตให้ได้ตามแผน โดยที่สองมือนี้เป็นของคนคนเดียวกัน ปัญหาก็เกิดขึ้นกับแผนพลังงานของประเทศโดยไม่ต้องสงสัย


ประเด็นนี้เป็นหลักการสำคัญและใหญ่โตมากที่จะต้องแก้ไขและประชาชนผู้บริโภคเองก็ต้องรีบทำความเข้าใจ ในแต่ละปี คนที่อาศัยอยู่ในประเทศต้องเสียค่าไฟฟ้ารวมกันประมาณ 4 แสนล้านบาท ดังนั้น หากเกิดความผิดพลาดในแผนไปสัก 10-20 % ความเสียหายก้อนโตก็เกิดขึ้นกับผู้บริโภค


ประเด็นที่มีการโต้เถียงกันระหว่างคู่ขัดแย้งก็คือ

เดิมทีเดียว(จากการปรับปรุงแผนครั้งที่ 1) กระทรวงพลังงานมีแผนจะก่อสร้างโรงไฟฟ้าเพิ่มเติมในช่วงปี 2551-2564 จำนวน 30,390 เมกกะวัตต์ โดยใช้งบประมาณการก่อสร้าง 1.6 ล้านล้านบาท แต่เมื่อเกิดปัญหาทางเศรษฐกิจ (ซึ่งนักเศรษฐศาสตร์ระดับรางวัลโนเบลคนล่าสุดได้บอกว่า "ปัญหาได้ลุกลามจนเหนือการควบคุมไปแล้ว") ทางกระทรวงพลังงานก็ขอเสนอปรับแผน หรือลดการลงทุนลง 6,000 เมกกะวัตต์


ทางนักวิชาการอิสระเสนอว่า ควรจะลดการก่อสร้างโรงไฟฟ้าลงจำนวน 10,520 เมกกะวัตต์ ไม่ใช่แค่หกพันเท่านั้น


ถ้าเราเชื่อตามข้อเสนอของกระทรวงพลังงาน เราก็สามารถลดการลงทุนที่ไม่จำเป็นลงประมาณ 3.1 แสนล้านบาท แต่ถ้าเราเชื่อตามนักวิชาการอิสระ เราจะประหยัดเงินลงไปได้ 5.5 แสนล้านบาท


ต่างกันถึง 2.4 แสนล้านบาทเชียวนะ ในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ เงินก้อนนี้ไม่ใช่เรื่องที่จะปล่อยไปง่าย ๆ ขอเรียนอีกครั้งว่า ผู้บริโภคไฟฟ้าควรจะต้องสนใจอย่างจริงจัง จะนั่งรอให้สหพันธ์ผู้บริโภค (กลุ่มของ ส.ว. รจนา โตสิตระกูล) หรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งทำงานอย่างโดดเดี่ยวไม่ได้อีกต่อไปแล้ว


คำถามที่กลุ่มชาวบ้านตั้งขึ้นอย่างซื่อ ๆ ว่า นโยบายพลังงานผิดพลาด "ใครรับผิดชอบ" ยังไม่ใครตอบได้ ยังไม่มีใครรู้ว่าใครถูกใครผิดเพราะเป็นเรื่องของอนาคตที่ยังมาไม่ถึง


เขียนมาถึงตรงนี้ก็นึกถึงวาทะเด็ดของ Niels Bohr นักฟิสิกส์รางวัลโนเบล(ปี 1922) ที่เป็นนักวิทยาศาสตร์อีกคนหนึ่งที่มีความเข้าใจทางสังคมอย่างลึกซึ้งว่า "มันเป็นการยากมากที่จะทำการพยากรณ์ได้อย่างถูกต้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมันเป็นเรื่องของอนาคต(It is very difficult to make an accurate prediction, especially about the future.)"


ถ้านึกถึงเรื่องโจ๊กหรือเรื่องล้อกันในวงการนักวิชาการว่า "เราสามารถแบ่งนักเศรษฐศาสตร์ได้ออกเป็นสองจำพวก คือพวกที่ทำนายอนาคตไม่ถูกกับพวกที่ไม่รู้ตัวเองว่าตนทำนายไม่ถูก"


อย่างไรก็ตาม เราในฐานะผู้บริโภค เราสามารถย้อนกลับไปดูในอดีตก็พบว่า กระทรวงพลังงานหรือในนามของ "คณะอนุกรรมการพยากรณ์การใช้ไฟฟ้า" ได้พยากรณ์เกินความจริงมาตลอด กล่าวเฉพาะเดือนมีนาคม 2551 ซึ่งภัยเศรษฐกิจยังลามมาไม่ถึง การพยากรณ์ความต้องการไฟฟ้าสูงสุดได้สูงเกินจริงไปแล้วถึง 1,400 เมกกะวัตต์ คิดเป็นตัวเงินก็มากโขอยู่


ไม่ว่าจะเป็นคำพูดของนักฟิสิกส์รางวัลโนเบลหรือเรื่องโจ๊กของนักเศรษฐศาสตร์นั้น ต่างตั้งอยู่บนสมมุติฐานของความบริสุทธิ์ใจในการพยากรณ์ แล้วผลการพยากรณ์ก็เป็นเรื่อง "ยากมาก" ที่จะถูกต้อง แต่ถ้าการพยากรณ์นั้นตั้งอยู่บนสิ่งอื่นที่ไม่ตรงไปตรงมาด้วยแล้วยิ่งไปกันใหญ่


ผู้อ่านหลายท่านอาจจะรู้สึกเห็นใจผู้ทำการพยากรณ์ ว่า "ผิดพลาดบ้าง" เป็นเรื่องธรรมดา แต่ข้อมูลในอดีตมันไม่ใช่แค่ "บ้าง" แต่มันเกินจริงทุกครั้ง และมีขนาดเป็นตัวเงินมากเสียด้วย


ในช่วงเศรษฐกิจปี 2540 เราพบว่าในปี 2544 เรามีโรงไฟฟ้าสำรองมากเกินจริงถึง 4 แสนล้านบาท การใช้ไฟฟ้าในช่วงนั้นได้ลดลงอย่างต่อเนื่องติดต่อกันถึง 32 เดือน (กรกฎาคม 2540 ถึง กุมภาพันธ์ 2543)


คราวนี้ ผมได้เข้าไปดูข้อมูลของกระทรวงพลังงาน ล่าสุดพบว่าการใช้ไฟฟ้าในประเทศไทยได้เริ่มลดลงเมื่อเทียบกับปีก่อนตั้งแต่เดือนกันยายน 2551 โดยมีอัตราการลดลง 0.1% แต่พอมาถึงเดือนธันวาคม กลับลดลงถึง 10.3% ไม่มีใครทราบได้ว่ามันจะลากยาวไปสั้นกว่าหรือนานกว่า 32 เดือน ในกรณีโรคต้มยำกุ้ง


สิ่งที่เป็นปัญหาสำคัญยิ่งในการพยากรณ์ของบ้านเราก็คือ การคิดถึงความต้องการในอนาคตบนพื้นฐานร้อยละของปัจจุบัน เมื่อปัจจุบันมันลดลง การพยากรณ์ในอนาคตยิ่งผิดพลาดมากขึ้น กล่าวให้ชัดเชิงตัวเลขก็คือ ถ้าเราเชื่อว่าอัตราการเติมโตปีละ 5% ถ้าฐานเดิมลดลงจาก 1,000 หน่วยมาอยู่ที่ 900 หน่วย อีก 15 ปีผ่านไป ความแตกต่างจะสูง 208 หน่วย


ปัจจุบันเรามีโรงไฟฟ้าอยู่เกือบ 3 หมื่นเมกกะวัตต์ ดังนั้นความแตกต่างของผลการพยากรณ์กับความเป็นจริงจะสูงมาก

นี่คือปัญหาใหญ่

แล้วเราควรจะพยากรณ์อย่างไรดี?

การตั้งคำถามนี้อาจจะไม่สอดคล้องกับความเป็นจริงทั้งหมด


ความจริงทั้งหมดก็คือ ยังมีโรงไฟฟ้าอีกประเภทหนึ่งที่ไม่จำเป็นต้องวางแผนระยะยาว แต่รัฐบาลและกระทรวงพลังงานไม่สนใจ นั่นคือโรงไฟฟ้าที่ใช้พลังงานหมุนเวียน เช่น โรงไฟฟ้าจากกังหันลม โรงไฟฟ้าชีวมวล (จากขี้หมู ของเสียจากโรงงาน) เป็นต้น


โรงไฟฟ้าประเภทดังกล่าวใช้เวลาในการก่อสร้างประมาณ 1 ปีเท่านั้น โดยไม่ต้องเสี่ยงกับการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ ในขณะที่โรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ เช่น โรงไฟฟ้าจากถ่านหิน ก๊าซธรรมชาติ ต้องใช้เวลานานถึง 5-7 ปีในการก่อสร้างและการสร้างการยอมรับจากชุมชน หรือโรงไฟฟ้านิวเคลียร์อาจใช้เวลานานถึง 12 ปีซึ่งเสี่ยงมากที่จะเกิดการผันผวน


ระยะเวลาในอนาคต 5-12 ปีเป็นเรื่องยากที่จะพยากรณ์ได้ถูกต้อง แต่ถ้าสั้นลงมาเพียง 1 ปีก็เป็นเรื่องไม่ยากที่จะพยากรณ์และวางแผน


ท่านผู้อ่านที่รับข้อมูลด้านเดียวจากกระทรวงพลังงานและจากกลุ่มพ่อค้าพลังงานมาตลอด อาจจะคิดว่า "เมืองไทยไม่มีลมแรงพอจะผลิตไฟฟ้า ไม่เหมือนประเทศในยุโรป ต้นทุนกังหันยังแพงมาก" ต่างๆ นานา

แต่ผลการศึกษาของการไฟฟ้าฝ่ายผลิต ตลอดจนของกระทรวงพลังงานเองก็สรุปว่ามีความเป็นไปได้ แต่ผลการศึกษานี้ก็ถูกเผยแพร่ในวงจำกัด ไม่เป็นที่เปิดเผยต่อสาธารณะ


ผมอยากจะจบบทความนี้ด้วยข้อสรุปของนักเคลื่อนไหวด้านพลังงานหมุนเวียนว่า

"ความเป็นไปได้ของพลังงานลม ไม่ได้ขึ้นอยู่กับความเร็วลม ไม่ได้ขึ้นอยู่กับเทคโนโลยี และไม่ได้ขึ้นอยู่กับต้นทุนการผลิต แต่ขึ้นอยู่กับนโยบายของรัฐบาลเท่านั้น"


เมื่อผู้วางนโยบายตลอดจนผู้วางแผนพลังงาน ไม่จำเป็นต้องรับผิดชอบใดๆ เมื่อเกิดความผิดพลาดขึ้น ภาระที่ไม่จำเป็นก็ตกเป็นของประชาชนอยู่ร่ำไป


"ได้ยินบ่ พี่น้อง ได้ยินบ่" เสียงเพลงของน้าหงา คาราวาน ผ่านเข้ามาในสมองของผมโดยไม่ได้ตั้งใจครับ.

บล็อกของ ประสาท มีแต้ม

ประสาท มีแต้ม
เราเคยสงสัยและตั้งคำถามเสมอมาว่า ทำไมราคาน้ำมันสำเร็จรูป (รวมทั้งราคายางพารา) ในภูมิภาคเอเซียจึงถูกกำหนดจากประเทศสิงคโปร์
ประสาท มีแต้ม
ตลอดช่วงเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ราคาน้ำมันดิบและราคาน้ำมันที่ปั๊มในบ้านเราได้เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง นักวิเคราะห์บางคนคาดการณ์ว่าสิ้นปีนี้ราคาน้ำมันดิบจะสูงถึง 85 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล โดยที่ราคาเมื่อต้นเดือนมิถุนายนได้ขยับจาก 62 ถึง 68 ภายในเวลาเจ็ดวันเท่านั้น
ประสาท มีแต้ม
1. คำนำ บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ข้อ คือ หนึ่ง ให้เห็นตัวเลขค่าใช้จ่ายด้านไฟฟ้าของคนไทยโดยเฉลี่ยซึ่งค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับรายได้ และหากแผนผลิตไฟฟ้าดังกล่าวมีปัญหาแล้วจะส่งผลกระทบต่อผู้ใช้ไฟฟ้าอย่างไร สอง เพื่อเล่าถึงการจัดทำแผนผลิตไฟฟ้าที่ผูกขาดโดย "กลุ่มผู้เชี่ยวชาญ" จำนวนน้อยตลอดมาและจะชี้ให้เห็นถึงบางสิ่งที่ผมคิดว่า "น่าจะไม่ถูกต้อง" สาม หากท่านผู้อ่านได้เห็นปัญหาในข้อสองแล้ว จะได้เห็นความจำเป็นของ "การเมืองภาคประชาชน" ในการตรวจสอบโครงการของรัฐมากขึ้น
ประสาท มีแต้ม
1. คำนำ เพื่อให้ท่านผู้อ่านได้ตัดสินใจว่าจะอ่านบทความนี้ต่อไปหรือไม่ ผมขอนำประเด็นสำคัญมาเสนอก่อน  ประเด็นคือการวางแผนผลิตก๊าซที่ผิดพลาดทำให้คนไทยทุกคนต้องควักเงินในกระเป๋าเพิ่มขึ้น จากรายงานประจำปี 2551 ของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) พบว่า ในปี 2551 บริษัท ปตท. ต้องจ่ายค่า "ไม่ซื้อก็ต้องจ่าย" ก๊าซจากโครงการไทย-มาเลเซีย (ซึ่งเป็นโครงการสร้างความขัดแย้งมาตั้งแต่รัฐบาลชวน หลีกภัย และทักษิณ ชินวัตร จนถึงปัจจุบัน) เป็นจำนวน 13,716 ล้านบาท
ประสาท มีแต้ม
ในขณะที่วิกฤตเศรษฐกิจโลกที่เริ่มต้นจากถนนวอลล์สตรีทในสหรัฐอเมริกากำลังลุกลามไปอย่างรวดเร็วราวกับลาวาภูเขาไฟไปสู่ทุกถนนของโลก ในภาคใต้ของประเทศไทยโดยหน่วยงานของรัฐและการนิคมอุตสาหกรรมก็กำลังดำเนินการให้มีแผนพัฒนาภาคใต้ด้วยโครงการต่าง ๆ มากมาย ทั้งโดยเปิดเผยและแอบแฝง ตัวอย่างของโครงการเหล่านี้ได้แก่ นิคมอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ในจังหวัดนครศรีธรรมราช โครงการอุตสาหกรรมเหล็กต้นน้ำ จังหวัดชุมพรและสุราษฎร์ธานี โครงการขุดเจาะน้ำมันของบริษัทเซฟรอน ที่นครศรีธรรมราช ตลอดจนโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ถึง 3 โรง นอกจากนี้ยังมีนิคมอุตสาหกรรมที่จังหวัดตรัง และท่าเทียบเรือน้ำลึกในจังหวัดสงขลาและอีกหลายจังหวัด…
ประสาท มีแต้ม
  เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2552 กระทรวงพลังงานในฐานะผู้รับผิดชอบหรือจะเรียกว่าผู้จัดทำแผนผลิตไฟฟ้าเองได้จัดรับฟังความคิดเห็นของประชาชนเพื่อปรับปรุง "แผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้า" ในช่วงปี 2551 ถึง 2564 ซึ่งเป็นแผนที่ได้จัดทำไว้ก่อนปี 2551 ในการรับฟังครั้งนี้ก็เพื่อจะได้ปรับปรุงเป็นครั้งที่ 2 สาเหตุที่ต้องปรับปรุงก็เพราะปัญหาเศรษฐกิจถดถอยทั้งในระดับโลกและในระดับประเทศไทยด้วยนักวิชาการอิสระด้านพลังงานที่ไม่ใช่ข้าราชการของกระทรวงพลังงานก็ได้ออกมาแสดงความคิดเห็นที่น่าสนใจหลายอย่าง ขณะเดียวกันกลุ่มชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบจากโรงไฟฟ้าก็ได้ตั้งคำถามพร้อมแผ่นผ้าด้วยข้อความสั้น ๆ แต่เข้าใจง่ายว่า "…
ประสาท มีแต้ม
คำนำ เมื่อธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ประสบปัญหาขายไม่ได้เนื่องจากได้รับผลกระทบจากวิกฤติเศรษฐกิจของโลก นักการเมืองรวมทั้งว่าที่รัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องก็ได้เสนอมาตรการลดหย่อนภาษีค่าโอนบ้าน โดยจะเริ่มต้นตั้งแต่ปี 2552 เป็นต้นไป ผมขออนุญาตไม่แสดงความคิดเห็นในประเด็นดังกล่าวข้างต้น แต่ขอใช้หลักคิดเดียวกันนี้เพื่อตั้งคำถามว่า ทำไมรัฐบาลจึงไม่ใช้มาตรการทางภาษีเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการพืชน้ำมันซึ่งได้แก่ ไบโอดีเซล และแก๊สโซฮอล์ ซึ่งโยงใยเกี่ยวเนื่องกันตั้งแต่เจ้าของโรงงานจนถึงเกษตรกรผู้ปลูกพืชน้ำมัน ( ปาล์มน้ำมัน อ้อย ฯลฯ ) เหล่านี้บ้างเล่า?
ประสาท มีแต้ม
1. คำนำ เมื่อราคาน้ำมันลดลงมาจากลิตรละราว 40 บาทจากเมื่อ 4-5 เดือนก่อนมาอยู่ที่ราว ๆ 20 บาท ทำให้คนไทยเราก็รู้สึกสบายใจ บางคนถึงกับกล่าวว่า “ตอนนี้จะไปไหนมาไหนก็ไม่ค่อยได้คิดมากเหมือนเมื่อก่อนแล้ว” ในยุคที่การเมืองที่เต็มไปด้วยการฉ้อราษฎร์บังหลวง ผู้บริโภคจะพอใจอยู่กับตัวเลขที่อิงอยู่กับความรู้สึกเช่นนี้เพียงอย่างเดียวคงไม่ได้ เราจะต้องลุกขึ้นมาช่วยกันตรวจสอบ ถามหาความความเป็นธรรม ความพอดีอยู่ตลอดเวลา เมื่อพูดถึงความรู้สึกที่สบายใจขึ้นของคนไทยในขณะนี้ ทำให้ผมนึกเรื่อง “นัสรูดิน” ชายชาวอาหรับโบราณที่คนรุ่นหลังยังตัดสินไม่ได้ว่า เขาเป็นคนเฉลียวฉลาดหรือคนโง่กันแน่…
ประสาท มีแต้ม
1. คำนำ ก่อนจะเริ่มต้นเนื้อหา เรามาดูรูปการ์ตูนสนุก ๆ แต่บาดใจและอาจจะบาดตากันก่อนครับ ความหมายในภาพนี้ ไม่มีอะไรมาก นอกจากบอกว่านี่ไงหลักฐานที่พิสูจน์ว่าโลกเราร้อนขึ้นจริง สำหรับภาพนี้บอกว่า ผลการศึกษาพบว่าอุณหภูมิของน้ำในมหาสมุทรสูงขึ้น นักวิชาการ (และนักการเมือง) กำลังระดมกันแก้ปัญหาอย่างขยันขันแข็ง ขอขอบคุณเจ้าของภาพทั้งสองด้วย คราวนี้มาเข้าเรื่องกันครับ ขณะที่โลกของเรากำลังเผชิญกับวิกฤตการณ์ครั้งสำคัญ 4 ด้านพร้อม ๆ กัน คือ (1) วิกฤติภาวะโลกร้อน (2) วิกฤติพลังงานที่ทั้งขาดแคลน ราคาแพง ผูกขาดและก่อวิกฤติด้านอื่น ๆ (3) วิกฤติการเงินที่เพิ่งจะเกิดขึ้นหยก ๆ…
ประสาท มีแต้ม
คำนำ “...เวลานี้สังคมไทยมีอาการป่วยอย่างร้ายที่สุด คือ ป่วยทางปัญญา ขอให้พิจารณาดูเถิด เวลานี้ปัญหาสุขภาวะที่น่ากลัวที่สุดคือ ความป่วยทางปัญญา...” พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตโต) มีนาคม 2551 ท่ามกลางกระแสการคิดค้นเรื่อง “การเมืองใหม่” ซึ่งขณะนี้สังคมบางส่วนเริ่มเห็นภาพราง ๆ บ้างแล้วว่ามันเป็นอย่างไร แต่ยังไม่มีความชัดเจนมากนักว่า สังคมไทยจะก้าวไปสู่สภาพนั้นได้อย่างไร และสมมุติว่าเราสามารถเข้าไปสู่สภาพนั้นได้จริง ๆ แล้ว เราจะรักษาและพัฒนาการเมืองใหม่ให้ดียิ่งๆ ขึ้นไปอีกได้อย่างไร ในที่นี้ ผมจะขออนุญาตนำเสนอหลักการพื้นฐานมาใช้ตอบคำถามดังกล่าว ผมเรียกหลักการนี้ว่า “กฎ 3…
ประสาท มีแต้ม
เมื่อต้นเดือนเมษายน 2551 หนังสือพิมพ์หลายฉบับได้ลงข่าวว่า "พลังงานเผยไทยผลิตน้ำมันดิบสูงกว่าบรูไน คุยทดแทนนำเข้าปีนี้มหาศาล" (ไทยรัฐ 2 เมษายน 2551)    สาเหตุที่ผู้ให้ข่าวซึ่งก็คือข้าราชการระดับสูงของกระทรวงพลังงานได้นำประเทศไทยไปเทียบกับประเทศบรูไน ก็น่าจะเป็นเพราะว่าคนไทยเราทราบกันดีว่าประเทศบรูไนเป็นประเทศส่งออกน้ำมันรายหนึ่งของภูมิภาคนี้ ดังนั้นเมื่อประเทศไทยเราผลิตน้ำมันดิบได้มากกว่าก็น่าจะทำให้คนไทยเราหลงดีใจได้บ้าง  นาน ๆ คนไทยเราจะได้มีข่าวที่ทำให้ดีใจสักครั้ง   หลังจากอ่านข่าวนี้แล้ว ผมก็ได้ค้นหาความรู้เพิ่มเติมจากอินเทอร์เน็ตก็พบว่า…
ประสาท มีแต้ม
1. คำนำ ขณะนี้มีผู้คนจำนวนหนึ่งกำลังครุ่นคิดถึง "การเมืองใหม่" ซึ่งยังไม่เป็นที่แน่ชัดนักว่ามันคืออะไรกันแน่ ทราบแต่ว่า "การเมืองเดิม" ซึ่งก็คือการเมืองแบบตัวแทน (representative democracy) กำลังมีปัญหาหลายอย่างและรุนแรงขึ้นทุกขณะบทความนี้จะนำเสนอความล้มเหลวของ "การเมืองแบบตัวแทน" อย่างสั้นๆ พร้อมกับนำเสนอ "การเมืองแบบไฮเพอร์ (hyperpolitics)" ให้พอเป็นประกายเบื้องต้น หากสังคมนี้สนใจก็มีช่องทางให้ศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมกันต่อไป2. สาเหตุความล้มเหลวของการเมืองแบบตัวแทนเราท่องกันจนขึ้นใจมาตั้งแต่วัยเด็กแล้วว่า สาเหตุสำคัญของการมี "การเมืองแบบตัวแทน" คือเป็นเพราะคนมันเยอะ…