Skip to main content
ในขณะที่วิกฤตเศรษฐกิจโลกที่เริ่มต้นจากถนนวอลล์สตรีทในสหรัฐอเมริกากำลังลุกลามไปอย่างรวดเร็วราวกับลาวาภูเขาไฟไปสู่ทุกถนนของโลก ในภาคใต้ของประเทศไทยโดยหน่วยงานของรัฐและการนิคมอุตสาหกรรมก็กำลังดำเนินการให้มีแผนพัฒนาภาคใต้ด้วยโครงการต่าง ๆ มากมาย ทั้งโดยเปิดเผยและแอบแฝง


ตัวอย่างของโครงการเหล่านี้ได้แก่ นิคมอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ในจังหวัดนครศรีธรรมราช โครงการอุตสาหกรรมเหล็กต้นน้ำ จังหวัดชุมพรและสุราษฎร์ธานี โครงการขุดเจาะน้ำมันของบริษัทเซฟรอน ที่นครศรีธรรมราช ตลอดจนโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ถึง 3 โรง นอกจากนี้ยังมีนิคมอุตสาหกรรมที่จังหวัดตรัง และท่าเทียบเรือน้ำลึกในจังหวัดสงขลาและอีกหลายจังหวัด เป็นต้น


ถ้ากล่าวโดยสั้น ๆ จะได้ว่า ภาคใต้กำลังจะถูกทำให้เป็นมาบตาพุดแห่งที่สองนั่นเอง


สิ่งที่รัฐบาลและสังคมไทยควรตั้งคำถามก็คือ ทิศทางการพัฒนาเศรษฐกิจทั้งของโลกและของประเทศไทยในขณะนี้นั้น มันเป็นทิศทางที่ถูกต้องดีแล้วจริงหรือ เรามีทางเลือกอื่นในการพัฒนาอีกหรือไม่


ข่าวทีวีหลายช่องรายงานว่า คนอเมริกันเองได้ตั้งคำถามอย่างโกรธแค้นกับบริษัทยักษ์ใหญ่อย่างเอไอจี (AIG- American International Group) ว่า ในขณะที่บริษัทขาดทุนจนรัฐบาลต้องนำเงินภาษีของประชาชนทั้งประเทศมาช่วยเหลือบริษัทนับล้านล้านบาท แต่บริษัทนี้ก็จ่ายโบนัสให้กับผู้บริหารนับหมื่นล้านบาท


เหตุผลที่เขานำมาอ้างก็คือ มันเป็นสัญญาที่ได้ทำไว้แล้ว การไม่รักษาสัญญาอาจจะทำให้เกิดความเสียหายแก่ระบบกฎหมายของประเทศได้


พูดถึงตรงนี้ก็ต้องวกมาที่กองทุน กบข. ของบ้านเรา ในขณะที่กิจการกำลังมีปัญหา กบข. ก็จ่ายโบนัสให้กับพนักงานถึงสองเดือนกว่า


แม้คุณจะอ้างว่าต้องทำตามสัญญา แต่สัญญาในลักษณะนี้เป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้องตามทำนองครองธรรมอย่างแน่นอน


มันเป็นเหตุผลเดียวกับที่หมาป่าใช้อ้างเพื่อที่จะกินลูกแกะในนิทานอีสบนั่นเอง


ผมเองเคยตั้งคำถามถึงความผิดปกติของระบบเศรษฐกิจโลกมานานแล้วว่า ถ้าโลกมีการซื้อขายนักฟุตบอลดัง ๆ ระดับโลกในราคาคนละนับหมื่นนับพันล้านบาท ในขณะที่เงินเดือนคนทำงานและคนใช้สมองทั่วไปยังชักหน้าไม่ถึงหลัง ระบบเศรษฐกิจโลกเส็งเคร็งเช่นนี้ก็ไม่น่าจะดำรงอยู่ได้อย่างยั่งยืน


ประเด็นหลักของบทความนี้ คือ ทำไมผู้มีอำนาจในขณะนี้ซึ่งได้แก่นักการเมือง ข้าราชการที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนประชาชนทั่วไปจึงไม่ตั้งคำถามกับทิศทางการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทย


บทเรียนจากนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดที่ศาลปกครองจังหวัดระยองได้สั่งให้รัฐบาลประกาศเป็นเขตควบคุมมลพิษเมื่อเร็ว ๆ นี้ ได้สอนอะไรเราบ้าง


จากรายงานการศึกษาที่สนับสนุนโดยหน่วยงานของรัฐบาลพบว่า ตลอดระยะเวลา 30 ปีภายใต้แผนพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งภาคตะวันออก ได้เปลี่ยนจังหวัดระยองจากที่เคยมีรายได้หลักจากการเกษตร อุตสาหกรรมและการท่องเที่ยวอย่างสมดุล (เศรษฐกิจ 3 ขา) มาเป็นจังหวัดที่มีรายได้จากอุตสาหกรรมเพียงอย่างเดียวโดยมีรายได้จากภาคอุตสาหกรรมถึง 80 % สาขาอื่น ๆ แทบจะไม่มีความหมาย


แต่แม้ว่าจังหวัดระยองจะมีรายได้ต่อหัวมากกว่าค่าเฉลี่ยของคนจังหวัดนครปฐม (เศรษฐกิจ 3 ขา) ถึง 6 เท่า แต่คนระยองกลับมีครัวเรือนที่มีหนี้สิน มีสัดส่วนคนจน และมีอัตราการว่างงานมากกว่าจังหวัดนครปฐมเสียอีก


นี่ยังไม่ได้นับถึงปัญหาสังคมอื่น ๆ เช่น ยาเสพติด อัตราผู้ป่วยเอดส์ โรคทางเดินหายใจ มะเร็ง ตลอดจนกุ้ง หอย ปู ปลาในทะเล ผักผลไม้ที่ถูกทำลายไป


ผมเชื่อว่า ปัญหาที่กำลังเกิดขึ้นอยู่กับมาบตาพุด ไม่ใช่เป็นแค่ตัวอย่างหรือเรื่องบังเอิญเท่านั้น แต่เป็นปัญหาเชิงระบบของเศรษฐกิจทั้งโลกเลยทีเดียว


นักเศรษฐศาสตร์จากประเทศรัสเซีย (วาสิลี โคลตาซอฟ) วิเคราะห์ว่าปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจโลกครั้งนี้ไม่ได้เกิดขึ้นจากการที่สถาบันการเงินในสหรัฐอเมริกาปล่อยสินเชื่อให้กับผู้กู้ที่ไม่มีทรัพย์สินค้ำประกันอย่างที่นักเศรษฐศาสตร์กระแสหลักวิเคราะห์กัน


แต่เกิดจากประเทศอุตสาหกรรมในโลกที่หนึ่ง (ปัจจุบันหมายถึงสหรัฐอเมริกาประเทศเดียว) ได้ย้ายฐานการผลิตไปสู่ประเทศโลกที่สาม (เกาหลี ไต้หวัน ไทย จีน ฯลฯ) โดยมีเป้าประสงค์หลักอยู่ 3 ประการ คือ (1) หาแหล่งแรงงานราคาถูก (2) กฎหมายสิ่งแวดล้อมไม่เข้มงวด และ (3) ไม่มีสหภาพแรงงานหรือมีก็ไม่เข้มแข็งพอ


เมื่อโรงงานอุตสาหกรรมถูกย้ายออกไปสู่ประเทศด้อยพัฒนา จึงส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ 2 อย่าง คือ (1) นักลงทุนจำนวนหนึ่งสามารถสูบกำไรกลับประเทศของตนเอง จนสร้างความมั่งคั่งอย่างมหาศาลให้กับเจ้าของกิจการ และ (2) รายได้ที่แท้จริง (เมื่อคิดเงินเฟ้อด้วย) ของชนชั้นกลางในสหรัฐอเมริกาก็ลดลง จนต้องกู้หนี้ยืมสิน เมื่อ 20 ปีก่อนนี้ รายจ่ายหมวดที่อยู่อาศัยของคนอเมริกันอยู่ที่ 25% ของรายได้ แต่ทุกวันนี้ได้เพิ่มขึ้นมาถึง 50-60 %


ไม่นานมานี้ ข่าวทีวีได้ฉายให้เห็นภาพสองด้านที่ขัดแย้งกันอย่างรุนแรงภายใต้ระบบเศรษฐกิจโลกในปัจจุบันนี้

ภาพแรก ข่าวทางโทรทัศน์หลายช่องในบ้านเราได้ถ่ายให้เห็นภาพคนอเมริกันที่ถูกยึดบ้านที่กำลังผ่อนซื้อ จนต้องไปกางเต้นส์นอนในที่สาธารณะ มิหนำซ้ำต้องไปแย่งที่ของคนไร้บ้านที่นอนอยู่ก่อนด้วย


ภาพที่สอง มาจากนิตยสารฟอร์ปส์ (Forbs) ที่ได้ประกาศอันดับของเศรษฐีโลก พบว่า ทรัพย์สินของมหาเศรษฐี 3 อันดับแรกรวมกัน (112,000 ล้านเหรียญสหรัฐ) แล้วประมาณครึ่งหนึ่งของรายได้ประชาชาติของคนไทยทั้งประเทศ


เพื่อให้ได้ภาพที่ชัดเจนกว่านี้ ผมขอยกข้อมูลขององค์กรหนึ่งของสหประชาชาติที่มีชื่อย่อว่า (WIDER - World Institute for Development Economic Research อ้างโดย Susan George- นักวิจารณ์ระบบทุนนิยมที่มีชื่อเสียงคนหนึ่งของโลก) ว่า ทรัพย์สินในครัวเรือนของคนทั้งโลกรวมกันแล้วประมาณ 125 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ (หรือประมาณ 3 เท่าของรายได้ในแต่ละปีของคนทั้งโลก) พบว่าคนรวยที่สุดเพียง 2 % มีทรัพย์สินรวมกันเท่ากับครึ่งหนึ่งของโลก ในขณะที่คนครึ่งหนึ่งของโลกที่เป็นคนจนมีทรัพย์สินรวมกันเพียง 1 % เท่านั้น


ความไม่เท่าเทียมกันทางรายได้ดังกล่าว ได้สร้างปัญหาให้กับสังคมโลกอย่างมากมาย


เราคงนึกไม่ออกว่าเงินจำนวนดังกล่าวมีค่าสักเท่าใดกันแน่ เอาอย่างนี้ สมมุติว่าใครคนหนึ่งมีเงินจำนวน 4 หมื่นล้านบาทก็แล้วกัน จากเงินจำนวนนี้ ถ้าเราสามารถได้ดอกเบี้ยร้อยละ 4 ต่อปี เราสามารถคิดได้ว่า เราจะได้รับดอกเบี้ยวันละ 4.38 ล้านบาท


รายได้จากดอกเบี้ยจำนวนกว่า 4 ล้านบาทต่อวันนี้ สามารถนำไปทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้อย่างมีนัยสำคัญหรืออย่างมีผลสะเทือนต่อสังคมได้


กลับมาที่ปัญหาการพัฒนาของประเทศไทยอีกครั้ง


ดร.สาวิตต์ โพธิวิหก ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีและเคยเป็นผู้วางแผนพัฒนาภาคตะวันออก ได้กล่าวในวงสัมมนาเรื่อง "แผนพัฒนาภาคใต้ ทำอย่างไรไม่ให้ซ้ำรอยมาบตาพุด" (จัดโดยสำนักงานสุขภาพแห่งชาติ เมื่อ 13 มีนาคม 2552) ว่า "ภาคใต้มีพื้นที่จำกัด ประชากรก็เพิ่มขึ้นทุกวัน อุตสาหกรรมจะทำให้ลูกหลานของคนใต้สามารถมีงานทำได้"


จำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้นก็เป็นประเด็นสำคัญในการวางแผนพัฒนา แต่จากการเจาะลึกไปถึงรายละเอียดที่เกี่ยวข้องได้พบสิ่งที่น่าสนใจมากคือ ในช่วง 2536 ถึง 2550 จำนวนประชากรของประเทศไทยเพิ่มขึ้นเพียง 8 % แต่รายได้ประชาชาติในช่วงเดียวกันได้เพิ่มขึ้นถึง 168 % ขณะเดียวกันมูลค่าการใช้พลังงานได้เพิ่มขึ้นถึง 327 %


ตัวเลขเหล่านี้อธิบายว่า จำนวนประชากรของเราไม่ได้เพิ่มขึ้นมากอย่างที่ท่านที่ปรึกษากังวล แต่มูลค่าการใช้พลังงานกลับเพิ่มมากกว่ารายได้ที่ได้รับถึงสองเท่า


ในปี 2536 ประเทศไทยใช้พลังงานคิดเป็นมูลค่า 11 % ของรายได้ประชาชาติ แต่ในอีก 15 ปีต่อมา (2550) มูลค่าพลังงานที่ใช้คิดเป็น 19.3 % หรือเกือบ 1 ใน 5 ของรายได้ ถ้าข้อมูลเป็นอย่างนี้ เราอาจคาดการณ์ได้ว่าในอีก 15 ปีข้างหน้า มูลค่าพลังงานที่ใช้อาจจะเป็น 2 ใน 5 หรือ 40 % ของรายได้ ถึงวันนั้นโปรดอย่าคิดว่าเป็นไปไม่ได้ ตัวอย่างมีให้เห็นแล้วในกรณีที่อยู่อาศัยของคนอเมริกัน


ข้อมูลดังกล่าวแสดงว่า ประเทศเราเน้นไปที่การใช้พลังงานในการหารายได้ แทนที่จะเน้นไปที่การพัฒนาฝีมือ หรือความสามารถทางสมองของคนในชาติ


เมื่อพูดถึงพลังงานซึ่งเราใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาเศรษฐกิจนั้น เราก็น่าจะต้องตั้งคำถามอีกเช่นกัน


คือแทนที่เราจะเน้นไปที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ โรงไฟฟ้าถ่านหิน หรือ ก๊าซธรรมชาติ (ตามแผนที่ได้กำหนดไว้) ซึ่งเป็นตัวก่อมลพิษและไม่ก่อให้เกิดรายได้กับประชาชนแล้ว ทำไมเราไม่เลือกใช้พลังงานหมุนเวียนที่สามารถก่อให้เกิดรายได้และสร้างงานให้กับคนในชาตินับแสนตำแหน่งได้ด้วย


นี่คือบางคำถามที่เกิดขึ้นกับการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทยที่เดินตามก้นของมหาอำนาจอย่างสหรัฐอเมริกาที่วันนี้แม้แต่คนอเมริกันเองก็ยังโกรธเคืองและตั้งคำถามให้ผู้ที่เกี่ยวข้องตอบว่า เศรษฐกิจอเมริกาจะฟื้นเร็วหรือต้องนอนยาวไปอีกนาน

 

บล็อกของ ประสาท มีแต้ม

ประสาท มีแต้ม
เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2551 สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ได้จัดเวทีเสวนาเรื่อง "9 คำถามคาใจ กรณี ปตท." ซึ่งเป็นประเด็นที่ประชาชนให้ความสนใจมาหลายปีนับตั้งแต่การแปรรูปเมื่อเดือนตุลาคมปี 2544 เวทีเสวนาประกอบด้วย ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่สื่อสารองค์กรและกิจการเพื่อสังคม  บมจ. ปตท. (คุณสรัญ รังคสิริ)  เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค (คุณสารี อ๋องสมหวัง) ดำเนินรายการโดยคุณวันชัย ตันติวิทยาพิทักษ์  บรรณาธิการนิตยสารสารคดี นอกจากนี้ยังมีนักวิชาการและประธานกรรมการบริหารบริษัทหลักทรัพย์ภัทรด้วย นักข่าวของ “ประชาไท” รายงานว่า “…
ประสาท มีแต้ม
นายทหารยศพันตรีท่านหนึ่ง (พ.ต.รัฐเขต แจ้งจำรัส) ได้ออกมาให้ข้อมูลกับประชาชนผ่านเวทีพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยว่า “ปิโตรเลียมซึ่งได้แก่น้ำมันและก๊าซธรรมชาติใต้แผ่นดินไทยทั้งบนบกและในทะเลทั้งหมดมีมูลค่าถึง 100 ล้านล้านบาท” เงินจำนวน 100 ล้านล้านบาท(ล้านสองครั้ง)นี้ ถ้าเอามาจัดสรรเป็นงบประมาณแผ่นดินในปีปัจจุบันก็จะได้ประมาณ 62 ปี เพราะงบประมาณปีหน้า (2552) มีประมาณ 1.6 ล้านล้านบาท ข้อมูลที่นายทหารผู้นี้นำเสนอล้วนเป็นข้อมูลของทางราชการที่เข้าใจยาก กระจัดกระจาย แต่ท่านได้นำมารวบรวม วิเคราะห์ แล้วสรุปให้ประชาชนธรรมดาสามารถเข้าใจได้ง่าย…
ประสาท มีแต้ม
1. ความเดิม จากปัญหาที่ผู้บริหารทั้งระดับผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่และผู้จัดการใหญ่ของ บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) “อ้าง” หลายครั้งหลายวาระด้วยกันว่า ก๊าซหุงต้มในประเทศไทยขาดแคลน ทาง บริษัท ปตท. จึงได้ออกมาบอกกับสาธารณะในสามประเด็นหลัก คือ (1) เสนอแนะให้รัฐบาลขึ้นราคาหรือลอยตัวราคาก๊าซหุงต้มให้เท่ากับราคาตลาดโลก(2) ในเดือนเมษายนที่ผ่านมาทาง ปตท. ได้นำเข้าก๊าซหุงต้มหรือแอลพีจีแล้วจำนวน2 หมื่นตัน ขณะเดียวกันผู้บริหารระดับสูงสุดอ้างว่าในปีนี้จะมีการนำก๊าซถึง 4 แสนตัน (3) ราคาก๊าซหุงต้มในตลาดโลกตันละเกือบพันเหรียญสหรัฐ แต่ราคาก๊าซในประเทศอยู่ที่ตันละประมาณ 300 เหรียญ…
ประสาท มีแต้ม
1. ประเด็นปัญหา ขณะนี้ บริษัท ปตท. ได้บอกกับประชาชนว่าก๊าซหุงต้มหรือที่เรียกกันในวงการว่าก๊าซแอลพีจี (Liquefied petroleum gas) ในประเทศไทยกำลังขาดแคลน และได้แนะนำให้รัฐบาลขึ้นราคาก๊าซชนิดนี้ โดยเฉพาะที่ใช้กับรถยนต์ส่วนบุคคลและรถยนต์แท็กซี่ (นายณัฐชาติ จารุจินดา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ บมจ. ปตท. ให้สัมภาษณ์ผ่านรายการ Hard Topic ทาง Money Channel , 7 กรกฎาคม 2551) นอกจากนี้นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท.กล่าวว่า “ความต้องการใช้ก๊าซหุงต้ม (แอลพีจี) ที่เพิ่มขึ้น ทำให้ปีนี้ต้องนำเข้าแอลพีจี 4 แสนตัน” (ไทยรัฐ 11 กรกฎาคม 2551)
ประสาท มีแต้ม
1. คำนำและปัญหา ขณะนี้ได้มีการเรียกร้องให้สังคมมาร่วมกันสร้าง “การเมืองใหม่” บทความนี้จะยังไม่เสนอกระบวนการที่จะนำไปสู่การเมืองใหม่ แต่จะมองว่าการเมืองใหม่ควรจะมีหน้าตาเป็นอย่างไร พร้อมนำเสนอตัวอย่างที่เป็นจริงเพื่อให้เราได้เห็นทั้งแนวคิดและหน้าตาของการเมืองใหม่ชัดเจนขึ้น สังคมในการเมืองใหม่ควรจะเป็นสังคมที่ ผู้คนมีศักดิ์ศรี พึ่งตนเองได้ ทุกคนมีงานทำ มีความสุข การบริหารบ้านเมืองต้องโปร่งไส ตรวจสอบได้และ ปราศจากการคอร์รัปชัน ในที่นี้จะขอนำเสนอนโยบายและรูปธรรมด้านพลังงาน ทั้งนี้เพราะเรื่องพลังงานเป็นเรื่องใหญ่มาก กล่าวคือทุกๆ 100 บาทของรายได้ของคนไทย ต้องจ่ายไปกับค่าพลังงานถึง 18 บาท…
ประสาท มีแต้ม
ในขณะที่คนทั่วโลกกำลังเดือดร้อนกับราคาน้ำมันที่พุ่งสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์  แต่ผลกำไรของบริษัทน้ำมันขนาดยักษ์ของโลกกลับเพิ่มสูงขึ้นกว่าปีที่ผ่านมา มันช่างฝืนความรู้สึกในใจของมนุษย์ธรรมดาๆ ที่คิดว่า “เออ! เมื่อสินค้าราคาสูงขึ้น เขาน่าจะลดกำไรลงมามั่ง เพื่อไม่ให้ผู้บริโภคเดือดร้อนมากนัก”   แต่มันกลับเป็นตรงกันข้าม คือเพิ่มกำไรมากกว่าเดิม  โดยไม่สนใจใยดีกับเพื่อนร่วมโลกในขณะที่ผู้มีรายได้น้อยอย่างกรรมกรได้สะท้อนออกมาในวันแรงงานแห่งชาติว่า “ค่าครองชีพแพง แต่ค่าแรงเท่าเดิม”บทความนี้จะนำเสนอทั้งข้อมูลและความคิดเห็นใน 4 เรื่องต่อไปนี้ คือ (1)…
ประสาท มีแต้ม
๑.คำนำเมื่อ ๗ ปีก่อน  คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้คิดวิชาใหม่ขึ้นมาหนึ่งรายวิชา หากคำนึงถึงแนวคิด เนื้อหาและกระบวนการเรียนการสอนแล้ว อาจถือว่าได้วิชานี้เป็นวิชาแรกในประเทศไทยก็น่าจะได้  ผมจึงอยากจะเล่าให้ท่านผู้อ่านที่เป็นผู้จ่ายภาษีมาตลอดได้รับทราบครับ ด้วยขั้นตอนตามระเบียบของมหาวิทยาลัย เราได้เริ่มลงมือเปิดสอนจริงเมื่อ ๓ ปีมาแล้ว รายวิชานี้ชื่อว่า “วิทยาเขตสีเขียว (Greening the Campus)”  เป็นวิชาบังคับสำหรับนักศึกษาชั้นปีที่สามทุกคน เรื่องที่จะนำมาเล่าอย่างสั้นๆ นี้ ได้แก่ แนวคิด เนื้อหา กระบวนการเรียนการสอน  สิ่งที่นักศึกษาค้นพบและร่วมผลักดันขยายผล…
ประสาท มีแต้ม
ผมว่างเว้นจากการเขียนบทความมานานกว่าสองเดือนแล้ว จนอันดับบทความของผมที่เรียงตามเวลาที่เขียนในเว็บไซต์ “ประชาไท” ตกไปอยู่เกือบสุดท้ายของตารางแล้ว สาเหตุที่ไม่ได้เขียนเพราะผมป่วยเป็นโรคที่ทันสมัยคือ “โรคคอมพิวเตอร์กัด” ครับ มันมีอาการปวดแสบปวดร้อนไปทั่วทั้งหลัง พอฝืนทนเข้าไปทำงานอีกไม่เกินห้านาทีก็ถูก “กัด” ซ้ำอีก ราวกับมันมีชีวิตแน่ะที่นำเรื่องนี้มาเล่าก่อนในที่นี้ไม่ใช่อยากจะเล่าเรื่องส่วนตัว แต่อยากนำประสบการณ์ที่ผิดๆ ของผมมาเตือนท่านผู้อ่านโดยเฉพาะคนที่อยู่ในวัยหนุ่มสาว ท่านผู้อ่านที่สนใจจะเก็บเรื่องของผมไปเป็นบทเรียน…
ประสาท มีแต้ม
ผมเองไม่ใช่นักกฎหมาย แต่ได้ให้ความสนใจอย่างจริงจังในประเด็นพลังงานทั้งเรื่อง ปตท. และการไฟฟ้า ทั้งการเคลื่อนไหวเรื่องพลังงานหมุนเวียนมานานกว่า 10 ปีหลังคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุด (14 ธันวาคม) ในอีก 2 วันทำการต่อมารัฐบาลก็ได้ผ่านมติวิธีการจัดการรวมทั้งการคิดค่าเช่าท่อก๊าซฯให้เป็นไปตามคำพิพากษาของศาล โดยใช้เวลาพิจารณาเพียง 10 นาที สร้างความกังขาให้กับสังคมไทยเป็นอย่างมากประเด็นที่ผมสนใจในที่นี้มี 3 เรื่องดังต่อไปนี้หนึ่ง คำพิพากษาของศาลฯที่ว่า “การใช้อำนาจมหาชนของรัฐ” ในกรณีการก่อสร้างท่อส่งก๊าซธรรมชาตินั้นควรจะครอบคลุมไปถึงไหน  ในฐานะที่ไม่ใช่นักกฎหมาย…
ประสาท มีแต้ม
เรื่องราวที่ผมจะนำมาเล่าในที่นี้  ไม่ใช่เรื่องเทคนิคทางไฟฟ้า ไม่ใช่เรื่องการประหยัดพลังงานไฟฟ้าเพียงอย่างเดียว  แต่เป็นเรื่องของประสบการณ์การทำงานเชิงสังคมที่น่าสนใจของตัวผมเอง  ผมคิดว่าเรื่องนี้มีคุณค่าพอที่ผู้อ่านทั่วไปตลอดจนกลุ่มเพื่อนพ้องที่มุ่งมั่นทำงานเพื่อสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกระบวนการสีเขียว เพื่อสิ่งแวดล้อม เพื่อความเป็นธรรมและเพื่อนสันติภาพของโลก  จริงๆนะครับ ผมไม่ได้โม้ผมขอเริ่มเลยนะครับเราเคยสังเกตไหมครับว่า สวิทซ์ไฟฟ้าในที่ทำงานของเรา โดยเฉพาะที่เป็นสถานที่ราชการ เวลาเราเปิดสวิทซ์ ไฟฟ้าจะสว่างไปหลายดวง หลายจุดเป็นแถบๆ  ยิ่งเป็นที่สาธารณะ เช่น สำนักงาน…
ประสาท มีแต้ม
1. ความในใจผมขอพักเรื่องนโยบายสาธารณะด้านพลังงานซึ่งเป็นเรื่องใหญ่และสำคัญมากๆ สำหรับประเทศไทยและชาวโลกไว้ชั่วคราวครับ  ในบทความนี้ผมขอนำเรื่องภายในมหาวิทยาลัยที่ผมทำงานอยู่มาเล่าสู่กันฟังมันไม่ใช่เรื่องไกลตัวสำหรับผู้อ่าน  แต่มันสะท้อนให้เห็นถึงปัญหาในระบบราชการไทยที่ไม่ยอมเปลี่ยนแปลงแม้ว่าสถานการณ์ได้เปลี่ยนไปมากแล้ว  นอกจากนี้ผมมีเรื่องวิชาใหม่ที่คาดว่าเป็นวิชาแรกในประเทศไทยคือวิชา “ชุมชนมหาวิทยาลัยสีเขียว (Greening the campus)”…
ประสาท มีแต้ม
การแปรรูป ปตท. คือการปล้นประชาชน! ในช่วง ๓-๔ ปีที่ผ่านมา ในขณะที่ประชาชนชาวไทยทั้งประเทศกำลังเดือดร้อนกับราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้นเกือบสองเท่าตัว แต่บริษัทน้ำมันต่างๆในประเทศไทยกลับมีกำไรเพิ่มสูงขึ้นมากกว่านั้นในบทนี้ จะกล่าวถึงกิจการของบริษัท ปตท. จำกัดมหาชน และบริษัทอื่นๆบ้าง โดยย่อๆ เป็นข้อๆ ดังต่อไปนี้๑. บริษัท ปตท. จำกัด มหาชน ได้แปรรูปมาจาก การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย เมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๔  ตอนเริ่มต้นการแปรรูป กระทรวงการคลังถือหุ้น ๖๙% ปัจจุบันเหลือเพียง ๕๒.๔๘%ดังนั้น กำไรของ ปตท. ซึ่งเดิมเคยตกเป็นของรัฐทั้งหมด ๑๐๐% ก็จะเหลือเพียงตามสัดส่วนที่รัฐถือหุ้น  คงจำกันได้นะครับว่า หุ้น ปตท…