Skip to main content
1. คำนำ


เพื่อให้ท่านผู้อ่านได้ตัดสินใจว่าจะอ่านบทความนี้ต่อไปหรือไม่ ผมขอนำประเด็นสำคัญมาเสนอก่อน  ประเด็นคือการวางแผนผลิตก๊าซที่ผิดพลาดทำให้คนไทยทุกคนต้องควักเงินในกระเป๋าเพิ่มขึ้น

จากรายงานประจำปี 2551 ของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) พบว่า ในปี 2551 บริษัท ปตท. ต้องจ่ายค่า
"ไม่ซื้อก็ต้องจ่าย" ก๊าซจากโครงการไทย-มาเลเซีย (ซึ่งเป็นโครงการสร้างความขัดแย้งมาตั้งแต่รัฐบาลชวน หลีกภัย และทักษิณ ชินวัตร จนถึงปัจจุบัน) เป็นจำนวน 13,716 ล้านบาท

นอกจากนี้ค่าไม่ซื้อก็ต้องจ่ายจากโครงการท่อก๊าซไทย-พม่า(ที่คาราคาซังกันกันมาตั้งแต่ปี 2541) ก็ยังเรียกคืนได้ไม่หมด ยังคงเหลืออีกหนึ่งหมื่นกว่าล้านบาท รวมทั้งสองรายการทาง ปตท. ต้องจ่ายไปแล้วถึงประมาณ 2 หมื่น 4 พันล้านบาท

2. ค่าไม่ใช้ก็ต้องจ่ายคืออะไร?

ในการซื้อขายก๊าซระหว่างผู้ผลิต(ผู้ขุดในทะเล)กับผู้ซื้อมาขายต่อ(คือ ปตท.-ผูกขาดรายเดียวในประเทศ) ต้องมีสัญญาที่เรียกว่า
"ไม่ซื้อก็ต้องจ่าย" กล่าวคือสัญญาต้องบังคับไว้ล่วงหน้าว่าในแต่ละปีผู้ซื้อจะต้องซื้อก๊าซจำนวนเท่าใด ถ้าหากผู้ซื้อมีความจำเป็นที่ไม่สามารถรับซื้อได้ครบตามสัญญา ผู้ซื้อก็ต้องจ่ายเงินให้ครบตามจำนวนที่ได้ระบุไว้   เมื่อใดก็ตามที่ผู้ซื้อมีความจำเป็นมากขึ้น (เกินกว่าที่ระบุในสัญญา) ส่วนที่เกินก็ไม่ต้องจ่ายเงินเพิ่ม เพราะถือว่าได้จ่ายไปแล้ว

ปตท.เรียกเงินส่วนนี้เพื่อให้ฟังดีขึ้นว่า
"เงินจ่ายล่วงหน้าซื้อก๊าซ" แต่สาระก็เหมือนที่ผมกล่าวมาแล้วนั่นแหละครับ

โครงการท่อก๊าซไทย-พม่า ปตท.ก็ต้องเสียเงินส่วนนี้มาตลอด นับตั้งแต่ปี 2541 ที่เริ่มโครงการ ในปี 2544 ค่าไม่ใช้ก็ต้องจ่ายได้สูงถึง  29
, 257.9  ล้านบาท  เงินจำนวนนี้ก็ค่อย ๆ ลดลงเมื่อมีการใช้มากกว่าจำนวนที่ได้ระบุไว้ในสัญญา ในปี 2551 เงินจำนวนนี้ได้ลดลงมาอยู่ที่ 10,339.89  ล้านบาท

ถ้าถามว่า จ่ายเงินล่วงหน้าแล้วเสียหายตรงไหน? คำตอบก็คือค่าดอกเบี้ยและค่าเสียโอกาส สมมุติว่าโดยเฉลี่ย ค่าไม่ซื้อก็ต้องจ่ายมีค่าคงที่คือ 2 หมื่นล้านบาท ถ้าอัตราดอกเบี้ยทบต้นร้อยละ 6 ต่อปี ตลอด 10 ปีที่ผ่านมา เงินรวมก็จะเป็นประมาณ 3 หมื่น 6 พันล้านบาท

ไม่ใช้น้อยเลยเมื่อเทียบกับกำไรหลังการแปรรูปปีละ 1 แสนล้านบาทของ ปตท. ทั้งหมด

สำหรับโครงการท่อก๊าซไทย-มาเลเซีย ปีที่ผ่านมาเพิ่งเป็นปีแรกของสัญญารับก๊าซที่ผู้ซื้อคือ ปตท. จะต้องรับ  ในปีต่อ ๆ ไปจะเสียเพิ่มขึ้นแค่ไหน ผมจะไม่ขอกล่าวถึงในที่นี้ แต่จะขอย้อนอดีตให้ท่านผู้อ่านทราบว่า
"ภาคประชาชน" และตัวผมเองได้เคยเตือนว่าอย่างไรบ้าง

3. คำเตือนในอดีต

โปรดอย่าคิดว่าเป็นการ
"ฟื้นฝอยหาตะเข็บ"  หรือหาเรื่อง ปตท.  แต้ถ้าเรายังยืนยันที่จะสร้างสังคมใหม่หรือ "การเมืองใหม่" เรื่องนี้คือบทบาทที่จำเป็น (แต่ยังอ่อนด้อยอย่างมาก) ของสังคมไทย

โครงการท่อส่งก๊าซและโรงแยกก๊าซไทย-มาเลเซีย ได้รับการคัดค้านทั้งจากชาวบ้านในพื้นที่ กรรมาธิการสิ่งแวดล้อมของวุฒิสภา นักวิชาการกว่า 1,300 คนทั่วประเทศ  ขณะเดียวกันผู้คัดค้านบางส่วนก็ได้รับการประณามจากสื่อมวลชนบางส่วนและสังคมว่า  "ผู้คัดค้านเป็นพวกขัดขวางการพัฒนา พวกรับเงินต่างชาติ"

เมื่อเดือนมกราคมปี 2545  พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีคนใหม่ได้ลงมาพบกลุ่มผู้คัดค้านถึงพื้นที่โครงการ พร้อมบอกกับชาวบ้านว่า
"ไม่ว่ารัฐบาลจะตัดสินใจอย่างไรจะต้องอธิบายให้สังคมเข้าใจได้"

ผมและเพื่อนอาจารย์อีก 3 ท่านได้มีโอกาสไปชี้แจงให้นายกฯฟังจนดึก ผมรู้สึกว่านายกฯเห็นด้วยกับการนำเสนอของ
"นักวิชาการกลุ่มคัดค้าน"

หลังจากนั้นอาจารย์ทั้ง  4 คนก็ได้รับเชิญจากคณะทำงานของนายกทักษิณ ชินวัตร (หรือคณะ
"53 นายพล")   ให้ไปร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในฐานะฝ่ายคัดค้านกับข้าราชการระดับสูงที่เกี่ยวข้องอีกหลายกรม รวมทั้ง ดร.ปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการพลังงานแห่งชาติในขณะนั้นด้วย

การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเป็นอย่างเข้มข้นนานกว่า 7 ชั่วโมง ก่อนปิดการประชุม พลเอก ชัยศึก เกตุทัต (ต่อมาได้รับแต่งตั้งให้เป็นคณะกรรมการของ ปตท. ที่มีเบี้ยประชุมครั้งละกว่า 4 หมื่นบาท) ในฐานะประธานได้เปิดโอกาสให้ข้าราชการคนอื่น ๆ ที่ร่วมรับฟังด้วยแสดงความเห็นบ้าง ปรากฏว่ามีข้าราชการสายวิชาการท่านหนึ่งและเพียงท่านเดียวเท่านั้นได้ยกมือแสดงความคิดเห็นอย่างชัดถ้อยชัดคำสั้น ๆ ว่า
"เรื่องก๊าซผมเห็นด้วยกับฝ่ายคัดค้านเพราะมีเหตุผลและยังไม่มีความจำเป็นในขณะนี้  
ที่ประชุมเงียบกริบ ไม่มีคำพูดใด ๆ อีกจากท่านประธานฯ นอกจาก "ปิดประชุม"

ผมทราบในเวลาต่อมาว่า ข้าราชการท่านนี้ได้ลาออกจากราชการหลังจากนั้นไม่นานนัก  เรื่องที่ผมนำมาเล่าทั้งหมด ไม่ปรากฏว่าเป็นข่าวในสื่อมวลชน  ถ้าจะถามเหตุผลว่าเพราะอะไรก็คงคิดได้ไม่ยากนะครับ

โดยสรุป สิ่งที่นักวิชาการฝ่ายคัดค้านได้เตือนไว้สำหรับโครงการท่อส่งก๊าซไทย-พม่าและ ไทย-มาเลเซียก็เป็นจริงตามที่กล่าวแล้ว

อนึ่ง เท่าที่ผมค้นพบจากอินเทอร์เน็ตทราบว่า ปตท. จะสร้างท่อก๊าซไทย-พม่าอีกเส้นหนึ่ง เป็นเส้นที่สามให้แล้วเสร็จในปี  2555  จะซ้ำรอยเดิมหรือไม่ก็ต้องฝากให้สังคมช่วยกันติดตามนะครับ

4. ยังมีความเข้าใจผิดพลาดในโครงการท่อก๊าซไทย-มาเลเซียอีก

สังคมไทยถูกทำให้เชื่อโดยเจ้าของโครงการและหน่วยงานของรัฐว่า โครงการท่อก๊าซและโรงแยกก๊าซไทย-มาเลเซีย เป็นการนำก๊าซในพื้นที่ทับซ้อนระหว่างสองประเทศมาใช้ประโยชน์ในการพัฒนาประเทศและพัฒนาภาคใต้ โดยมีการลงทุนกันฝ่ายละครึ่งและใช้ประโยชน์กันฝ่ายละครึ่งหรือที่เรียกกันสั้น ๆ ว่า  
"50:50"  แต่ในความเป็นจริงหาได้เป็นเช่นนั้นไม่  

ความจริงคือก๊าซในทะเลที่เป็นส่วนของไทยให้นำไปใช้ที่มาบตาพุด ส่วนก๊าซของมาเลเซียให้นำมาแยกที่ประเทศไทยแล้วนำไปใช้ที่มาเลเซียผ่านแผ่นดินประเทศไทย แผนที่ข้างล่างนี้(มาจากคำบรรยายของดร.คุรุจิต นาครทรรพ รองปลัดกระทรวงพลังงาน 24 มีนาคม 2551) คงจะยืนยันในสิ่งที่ผมพูดได้

พื้นที่ในภาพที่เขียนว่า JDA ทางขวามือด้านล่างคือแหล่งก๊าซที่ว่าครับ   ก๊าซของไทยไปตามท่อไปทางทิศเหนือผ่านแหล่ง ARTHIT ไม่ได้มาขึ้นฝั่งที่สงขลาเห็น ๆ กันอยู่

อนึ่ง มีการอ้างกันว่า ก๊าซของไทยส่วนหนึ่งถูกนำมาใช้ที่โรงไฟฟ้าสงขลา เรื่องนี้เป็นความจริงครับ แต่จริงไม่หมด  ในขณะที่ทีการดำเนินการสร้างท่อก๊าซ โรงไฟฟ้ายังไม่อยู่ในแผน แผนสร้างโรงไฟฟ้ามาทีหลังเพื่อให้โครงการดูดีเท่านั้นเอง แต่ก็สร้างผลกระทบเรื่องโรงไฟฟ้ามากเกินไปตามมาอีก(ไม่ขอกล่าวในที่นี้)  มีผู้ที่ติดตามเรื่องท่อก๊าซมานานคนหนึ่งบอกผมว่า "ก๊าซที่นำมาใช้กับโรงไฟฟ้าเป็นก๊าซของไทยที่ไม่ได้ผ่านโรงแยกก๊าซ แต่ต่อท่อตรงมาจากแหล่งในทะเล ไม่ใช่ท่อที่ผ่านไปมาเลเซีย"

เท็จจริงอย่างไร หน่วยงานที่เกี่ยวข้องโปรดชี้แจงด้วย

5. ค่าผ่านท่อกับ "อำนาจมหาชนของรัฐ"

หลังจากศาลปกครองสูงสุดได้ตัดสินว่า ส่วนใดที่ทาง ปตท.(ก่อนการแปรรูป) ได้ใช้ "อำนาจมหาชนของรัฐ"  ไปเวนคืนที่ดิน เมื่อแปรรูปแล้วให้ ปตท. คืนเป็นสาธารณะสมบัติ

กล่าวเฉพาะ "โครงการไทย-มาเลเซีย" ก็มีการใช้อำนาจมหาชนของรัฐเช่นกัน ท่อก๊าซวางทั้งในทะเล ทางหลวงแผ่นดิน ฯลฯ   ทาง ปตท. ก็ไม่ยอมคืน

ขณะเดียวกัน เงินที่ได้จากค่าผ่านท่อนำก๊าซไปให้มาเลเซียใช้ซึ่งคิดเป็นประมาณวันละ 29 ล้านบาทก็ต้องแบ่งให้ทางมาเลเซียครึ่งหนึ่งอีกครึ่งหนึ่งให้กับบริษัท ปตท.

เมื่อเร็ว ๆ นี้ ทาง ปตท.ได้ประกาศขึ้นค่าผ่านท่อทั้งประเทศ มีผลตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2552 เป็นต้นไปจากเดิมคิดในอัตรา 19.74 บาทต่อล้านบีทียู เป็น 21.76 บาทต่อล้านบีทียู หรือเพิ่มขึ้น 2.02 บาท โดยคิดผลตอบแทนการลงทุน (ROE) สูงกว่าค่ามาตรฐาน คือ คิดถึงร้อยละ 18 และคิดต้นทุนเงินกู้ที่อัตรา 10.5 ต่อปี (แทนที่จะเป็นร้อยละ 6 อย่างที่ผมสมมุติ)

ค่าผ่านท่อในอัตราใหม่นี้ ทำให้เกิดต้นทุนในค่าไฟฟ้าถึง 18 สตางค์ต่อหน่วยไฟฟ้า การกำหนดผลตอบแทนสูงเกินกว่าธุรกิจอื่น ๆ และการขึ้นค่าผ่านท่อดังกล่าวย่อมส่งผลให้ค่าไฟฟ้าแพงขึ้นอย่างแน่นอน

สิ่งที่ติดใจผมมากในขณะนี้ก็คือ  "การใช้อำนาจมหาชนของรัฐไทย" ไปเอื้อประโยชน์ให้กับประเทศมาเลเซียนะซิ มันเป็นไปได้อย่างไร ใครก็ได้ช่วยตอบผมที!

บล็อกของ ประสาท มีแต้ม

ประสาท มีแต้ม
เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2551 สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ได้จัดเวทีเสวนาเรื่อง "9 คำถามคาใจ กรณี ปตท." ซึ่งเป็นประเด็นที่ประชาชนให้ความสนใจมาหลายปีนับตั้งแต่การแปรรูปเมื่อเดือนตุลาคมปี 2544 เวทีเสวนาประกอบด้วย ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่สื่อสารองค์กรและกิจการเพื่อสังคม  บมจ. ปตท. (คุณสรัญ รังคสิริ)  เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค (คุณสารี อ๋องสมหวัง) ดำเนินรายการโดยคุณวันชัย ตันติวิทยาพิทักษ์  บรรณาธิการนิตยสารสารคดี นอกจากนี้ยังมีนักวิชาการและประธานกรรมการบริหารบริษัทหลักทรัพย์ภัทรด้วย นักข่าวของ “ประชาไท” รายงานว่า “…
ประสาท มีแต้ม
นายทหารยศพันตรีท่านหนึ่ง (พ.ต.รัฐเขต แจ้งจำรัส) ได้ออกมาให้ข้อมูลกับประชาชนผ่านเวทีพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยว่า “ปิโตรเลียมซึ่งได้แก่น้ำมันและก๊าซธรรมชาติใต้แผ่นดินไทยทั้งบนบกและในทะเลทั้งหมดมีมูลค่าถึง 100 ล้านล้านบาท” เงินจำนวน 100 ล้านล้านบาท(ล้านสองครั้ง)นี้ ถ้าเอามาจัดสรรเป็นงบประมาณแผ่นดินในปีปัจจุบันก็จะได้ประมาณ 62 ปี เพราะงบประมาณปีหน้า (2552) มีประมาณ 1.6 ล้านล้านบาท ข้อมูลที่นายทหารผู้นี้นำเสนอล้วนเป็นข้อมูลของทางราชการที่เข้าใจยาก กระจัดกระจาย แต่ท่านได้นำมารวบรวม วิเคราะห์ แล้วสรุปให้ประชาชนธรรมดาสามารถเข้าใจได้ง่าย…
ประสาท มีแต้ม
1. ความเดิม จากปัญหาที่ผู้บริหารทั้งระดับผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่และผู้จัดการใหญ่ของ บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) “อ้าง” หลายครั้งหลายวาระด้วยกันว่า ก๊าซหุงต้มในประเทศไทยขาดแคลน ทาง บริษัท ปตท. จึงได้ออกมาบอกกับสาธารณะในสามประเด็นหลัก คือ (1) เสนอแนะให้รัฐบาลขึ้นราคาหรือลอยตัวราคาก๊าซหุงต้มให้เท่ากับราคาตลาดโลก(2) ในเดือนเมษายนที่ผ่านมาทาง ปตท. ได้นำเข้าก๊าซหุงต้มหรือแอลพีจีแล้วจำนวน2 หมื่นตัน ขณะเดียวกันผู้บริหารระดับสูงสุดอ้างว่าในปีนี้จะมีการนำก๊าซถึง 4 แสนตัน (3) ราคาก๊าซหุงต้มในตลาดโลกตันละเกือบพันเหรียญสหรัฐ แต่ราคาก๊าซในประเทศอยู่ที่ตันละประมาณ 300 เหรียญ…
ประสาท มีแต้ม
1. ประเด็นปัญหา ขณะนี้ บริษัท ปตท. ได้บอกกับประชาชนว่าก๊าซหุงต้มหรือที่เรียกกันในวงการว่าก๊าซแอลพีจี (Liquefied petroleum gas) ในประเทศไทยกำลังขาดแคลน และได้แนะนำให้รัฐบาลขึ้นราคาก๊าซชนิดนี้ โดยเฉพาะที่ใช้กับรถยนต์ส่วนบุคคลและรถยนต์แท็กซี่ (นายณัฐชาติ จารุจินดา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ บมจ. ปตท. ให้สัมภาษณ์ผ่านรายการ Hard Topic ทาง Money Channel , 7 กรกฎาคม 2551) นอกจากนี้นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท.กล่าวว่า “ความต้องการใช้ก๊าซหุงต้ม (แอลพีจี) ที่เพิ่มขึ้น ทำให้ปีนี้ต้องนำเข้าแอลพีจี 4 แสนตัน” (ไทยรัฐ 11 กรกฎาคม 2551)
ประสาท มีแต้ม
1. คำนำและปัญหา ขณะนี้ได้มีการเรียกร้องให้สังคมมาร่วมกันสร้าง “การเมืองใหม่” บทความนี้จะยังไม่เสนอกระบวนการที่จะนำไปสู่การเมืองใหม่ แต่จะมองว่าการเมืองใหม่ควรจะมีหน้าตาเป็นอย่างไร พร้อมนำเสนอตัวอย่างที่เป็นจริงเพื่อให้เราได้เห็นทั้งแนวคิดและหน้าตาของการเมืองใหม่ชัดเจนขึ้น สังคมในการเมืองใหม่ควรจะเป็นสังคมที่ ผู้คนมีศักดิ์ศรี พึ่งตนเองได้ ทุกคนมีงานทำ มีความสุข การบริหารบ้านเมืองต้องโปร่งไส ตรวจสอบได้และ ปราศจากการคอร์รัปชัน ในที่นี้จะขอนำเสนอนโยบายและรูปธรรมด้านพลังงาน ทั้งนี้เพราะเรื่องพลังงานเป็นเรื่องใหญ่มาก กล่าวคือทุกๆ 100 บาทของรายได้ของคนไทย ต้องจ่ายไปกับค่าพลังงานถึง 18 บาท…
ประสาท มีแต้ม
ในขณะที่คนทั่วโลกกำลังเดือดร้อนกับราคาน้ำมันที่พุ่งสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์  แต่ผลกำไรของบริษัทน้ำมันขนาดยักษ์ของโลกกลับเพิ่มสูงขึ้นกว่าปีที่ผ่านมา มันช่างฝืนความรู้สึกในใจของมนุษย์ธรรมดาๆ ที่คิดว่า “เออ! เมื่อสินค้าราคาสูงขึ้น เขาน่าจะลดกำไรลงมามั่ง เพื่อไม่ให้ผู้บริโภคเดือดร้อนมากนัก”   แต่มันกลับเป็นตรงกันข้าม คือเพิ่มกำไรมากกว่าเดิม  โดยไม่สนใจใยดีกับเพื่อนร่วมโลกในขณะที่ผู้มีรายได้น้อยอย่างกรรมกรได้สะท้อนออกมาในวันแรงงานแห่งชาติว่า “ค่าครองชีพแพง แต่ค่าแรงเท่าเดิม”บทความนี้จะนำเสนอทั้งข้อมูลและความคิดเห็นใน 4 เรื่องต่อไปนี้ คือ (1)…
ประสาท มีแต้ม
๑.คำนำเมื่อ ๗ ปีก่อน  คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้คิดวิชาใหม่ขึ้นมาหนึ่งรายวิชา หากคำนึงถึงแนวคิด เนื้อหาและกระบวนการเรียนการสอนแล้ว อาจถือว่าได้วิชานี้เป็นวิชาแรกในประเทศไทยก็น่าจะได้  ผมจึงอยากจะเล่าให้ท่านผู้อ่านที่เป็นผู้จ่ายภาษีมาตลอดได้รับทราบครับ ด้วยขั้นตอนตามระเบียบของมหาวิทยาลัย เราได้เริ่มลงมือเปิดสอนจริงเมื่อ ๓ ปีมาแล้ว รายวิชานี้ชื่อว่า “วิทยาเขตสีเขียว (Greening the Campus)”  เป็นวิชาบังคับสำหรับนักศึกษาชั้นปีที่สามทุกคน เรื่องที่จะนำมาเล่าอย่างสั้นๆ นี้ ได้แก่ แนวคิด เนื้อหา กระบวนการเรียนการสอน  สิ่งที่นักศึกษาค้นพบและร่วมผลักดันขยายผล…
ประสาท มีแต้ม
ผมว่างเว้นจากการเขียนบทความมานานกว่าสองเดือนแล้ว จนอันดับบทความของผมที่เรียงตามเวลาที่เขียนในเว็บไซต์ “ประชาไท” ตกไปอยู่เกือบสุดท้ายของตารางแล้ว สาเหตุที่ไม่ได้เขียนเพราะผมป่วยเป็นโรคที่ทันสมัยคือ “โรคคอมพิวเตอร์กัด” ครับ มันมีอาการปวดแสบปวดร้อนไปทั่วทั้งหลัง พอฝืนทนเข้าไปทำงานอีกไม่เกินห้านาทีก็ถูก “กัด” ซ้ำอีก ราวกับมันมีชีวิตแน่ะที่นำเรื่องนี้มาเล่าก่อนในที่นี้ไม่ใช่อยากจะเล่าเรื่องส่วนตัว แต่อยากนำประสบการณ์ที่ผิดๆ ของผมมาเตือนท่านผู้อ่านโดยเฉพาะคนที่อยู่ในวัยหนุ่มสาว ท่านผู้อ่านที่สนใจจะเก็บเรื่องของผมไปเป็นบทเรียน…
ประสาท มีแต้ม
ผมเองไม่ใช่นักกฎหมาย แต่ได้ให้ความสนใจอย่างจริงจังในประเด็นพลังงานทั้งเรื่อง ปตท. และการไฟฟ้า ทั้งการเคลื่อนไหวเรื่องพลังงานหมุนเวียนมานานกว่า 10 ปีหลังคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุด (14 ธันวาคม) ในอีก 2 วันทำการต่อมารัฐบาลก็ได้ผ่านมติวิธีการจัดการรวมทั้งการคิดค่าเช่าท่อก๊าซฯให้เป็นไปตามคำพิพากษาของศาล โดยใช้เวลาพิจารณาเพียง 10 นาที สร้างความกังขาให้กับสังคมไทยเป็นอย่างมากประเด็นที่ผมสนใจในที่นี้มี 3 เรื่องดังต่อไปนี้หนึ่ง คำพิพากษาของศาลฯที่ว่า “การใช้อำนาจมหาชนของรัฐ” ในกรณีการก่อสร้างท่อส่งก๊าซธรรมชาตินั้นควรจะครอบคลุมไปถึงไหน  ในฐานะที่ไม่ใช่นักกฎหมาย…
ประสาท มีแต้ม
เรื่องราวที่ผมจะนำมาเล่าในที่นี้  ไม่ใช่เรื่องเทคนิคทางไฟฟ้า ไม่ใช่เรื่องการประหยัดพลังงานไฟฟ้าเพียงอย่างเดียว  แต่เป็นเรื่องของประสบการณ์การทำงานเชิงสังคมที่น่าสนใจของตัวผมเอง  ผมคิดว่าเรื่องนี้มีคุณค่าพอที่ผู้อ่านทั่วไปตลอดจนกลุ่มเพื่อนพ้องที่มุ่งมั่นทำงานเพื่อสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกระบวนการสีเขียว เพื่อสิ่งแวดล้อม เพื่อความเป็นธรรมและเพื่อนสันติภาพของโลก  จริงๆนะครับ ผมไม่ได้โม้ผมขอเริ่มเลยนะครับเราเคยสังเกตไหมครับว่า สวิทซ์ไฟฟ้าในที่ทำงานของเรา โดยเฉพาะที่เป็นสถานที่ราชการ เวลาเราเปิดสวิทซ์ ไฟฟ้าจะสว่างไปหลายดวง หลายจุดเป็นแถบๆ  ยิ่งเป็นที่สาธารณะ เช่น สำนักงาน…
ประสาท มีแต้ม
1. ความในใจผมขอพักเรื่องนโยบายสาธารณะด้านพลังงานซึ่งเป็นเรื่องใหญ่และสำคัญมากๆ สำหรับประเทศไทยและชาวโลกไว้ชั่วคราวครับ  ในบทความนี้ผมขอนำเรื่องภายในมหาวิทยาลัยที่ผมทำงานอยู่มาเล่าสู่กันฟังมันไม่ใช่เรื่องไกลตัวสำหรับผู้อ่าน  แต่มันสะท้อนให้เห็นถึงปัญหาในระบบราชการไทยที่ไม่ยอมเปลี่ยนแปลงแม้ว่าสถานการณ์ได้เปลี่ยนไปมากแล้ว  นอกจากนี้ผมมีเรื่องวิชาใหม่ที่คาดว่าเป็นวิชาแรกในประเทศไทยคือวิชา “ชุมชนมหาวิทยาลัยสีเขียว (Greening the campus)”…
ประสาท มีแต้ม
การแปรรูป ปตท. คือการปล้นประชาชน! ในช่วง ๓-๔ ปีที่ผ่านมา ในขณะที่ประชาชนชาวไทยทั้งประเทศกำลังเดือดร้อนกับราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้นเกือบสองเท่าตัว แต่บริษัทน้ำมันต่างๆในประเทศไทยกลับมีกำไรเพิ่มสูงขึ้นมากกว่านั้นในบทนี้ จะกล่าวถึงกิจการของบริษัท ปตท. จำกัดมหาชน และบริษัทอื่นๆบ้าง โดยย่อๆ เป็นข้อๆ ดังต่อไปนี้๑. บริษัท ปตท. จำกัด มหาชน ได้แปรรูปมาจาก การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย เมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๔  ตอนเริ่มต้นการแปรรูป กระทรวงการคลังถือหุ้น ๖๙% ปัจจุบันเหลือเพียง ๕๒.๔๘%ดังนั้น กำไรของ ปตท. ซึ่งเดิมเคยตกเป็นของรัฐทั้งหมด ๑๐๐% ก็จะเหลือเพียงตามสัดส่วนที่รัฐถือหุ้น  คงจำกันได้นะครับว่า หุ้น ปตท…