Skip to main content

ที่คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มีวิชาบังคับให้นักศึกษาต้องเรียนอยู่วิชาหนึ่งจำนวน 3 หน่วยกิต ชื่อว่า “วิชาวิทยาเขตสีเขียว (greening the campus)” วัตถุประสงค์หลักของวิชานี้ก็คือ ให้นักศึกษาลุกขึ้นมาศึกษาปัญหาส่วนรวมหรือปัญหาสาธารณะที่อยู่ในวิทยาเขตของตนเอง แต่โดยมากมักจะเน้นไปที่ปัญหาสิ่งแวดล้อม เช่น ปัญหาการจราจร ปัญหาขวดน้ำพลาสติกที่มีมากอย่างไม่น่าเชื่อ ปัญหาการประหยัดพลังงาน และกระดาษ เป็นต้น


กระบวนการศึกษาเริ่มต้นจากการคิดโจทย์วิจัยร่วมกันของนักศึกษากลุ่มละ 7- 8 คน จากนั้นก็ใช้กระบวนการวิจัยทางวิทยาศาสตร์(และหรือสังคมศาสตร์) เมื่อได้ความรู้ที่อยู่ในรูปของรายงานแล้ว หากโครงงานใดน่าสนใจก็จะนำเสนอต่อผู้บริหารมหาวิทยาลัยตลอดจนสังคมภายนอกต่อไปด้วย


ในภาคการศึกษาที่ผ่านมา มีโครงการประหยัดไฟฟ้าที่ผมขอเรียกสั้น ๆ ว่า “ระบบการควบคุมแสงสว่างตามทางเดิน” ผู้ศึกษาส่วนมากเป็นนักศึกษาจากภาควิชาฟิสิกส์และคณิตศาสตร์


พวกเขาสังเกตว่า ตรงบริเวณทางเดินใต้อาคารของภาควิชาฯ มีการเปิดไฟฟ้าให้แสงสว่างตลอด 24 ชั่วโมงและตลอดทั้ง 365 วันด้วยซ้ำ (นักศึกษาเขาอ้างว่าอย่างนั้น) ไม่ว่าผู้คนจะเดินผ่านหรือไม่


ผมเองไม่ยืนยันว่าในบริเวณนั้นมีการเปิดไฟฟ้าตลอด 365 วันทั้งปีจริงหรือไม่ แต่มีการเปิดตอนกลางวันจริงและเปิดเต็มอัตราที่หลอดไฟมีอยู่ ทั้งนี้เพราะเป็นสวิตซ์รวม เปิดทีเดียวสว่างไปหลายดวง อย่างไรก็ตาม มีบางบริเวณของมหาวิทยาลัยที่มีการเปิดไฟฟ้าตลอดทั้งปีและตลอด 24 ชั่วโมงจริง ไม่ว่าจะมีคนเดินผ่านหรือไม่


ในแต่ละปี วิทยาเขตหาดใหญ่ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ต้องจ่ายค่าไฟฟ้าปีละประมาณ 150 ล้านบาท ซึ่งเป็นเงินก้อนโตทีเดียว แต่ไม่ทราบว่าเฉพาะที่เป็นแสงสว่างจะมีสัดส่วนสักเท่าใด ผู้บริหารมหาวิทยาลัยก็พยายามรณรงค์ให้ประหยัดไฟฟ้า แต่ไม่ค่อยมีมาตรการที่เป็นไปได้จริงเท่าที่ควร


กลับมาที่โครงงานของนักศึกษากันใหม่ครับ


หลังจากได้แนวคิดแล้ว พวกเขาก็นำมิเตอร์วัดไฟฟ้าไปติดในบริเวณนั้น เพื่อต้องการจะทราบว่า ในภาวะที่ยังไม่ได้ทำอะไรเลย จะมีการใช้ไฟฟ้าจริงสักเท่าใด


ผมถามนักศึกษาว่า “ทำไมต้องวัดด้วยละ คำนวณเอาก็ได้นิ” นักศึกษาบอกว่า “ไม่ได้หรอกอาจารย์ มันมีการใช้พลังงานทีบาลาดด้วย ต้องวัดให้แน่นอน” นี่ถือว่าเป็นความรู้ใหม่ของผม เพราะผมคิดว่าบริษัทผลิตหลอดไฟฟ้าได้บอกกำลังของทุกอย่างพร้อมแล้ว แต่ความจริงกลับเป็นคนละอย่าง


ในที่สุดก็เป็นไปตามที่นักศึกษาว่า หลังจากการวัดติดต่อกันนาน 68 ชั่วโมง พบว่าบาลาดกินไฟฟ้าไปถึง 35% ของพลังงานทั้งหมด


เมื่อได้ข้อมูลในสภาพที่ยังไม่มีการจัดการอะไรเลยแล้ว หลังจากนั้นก็นำอุปกรณ์ควบคุมเข้าไปติดตั้ง


อุปกรณ์นี้จะทำหน้าที่ตัดไฟฟ้าให้ดับเมื่อไม่ทีคนเดินผ่าน หรือมีคนอยู่แต่ไม่มีการเคลื่อนไหวใดๆ นักศึกษากลุ่มนี้เล่าให้ผมฟังว่า พวกเขาถูกเพื่อน ๆ ที่นั่งอ่านหนังสืออยู่ใกล้ ๆ ด่า นึกว่าผีหลอก เพราะอยู่ๆ ก็เกิดไฟดับเอง ความจริงแล้วถ้ามีการเคลื่อนไหว หรือยกมือยกไม้บ้างไฟฟ้าก็จะไม่ดับ


เมื่อคนเดินผ่านมาไฟฟ้าจะติดขึ้นทันที เมื่อคนผ่านไปแล้ว อีก 28 วินาทีหลอดไฟก็จะดับอีกครั้ง เป็นเช่นนี้ตลอดไป


ผลการทดลองติดต่อกันนานเกือบ 15 วัน (358.5 ชั่วโมง) พบว่าหลอดไฟขนาด 36 วัตต์จำนวน 4 หลอดใช้พลังงานไฟฟ้าไปทั้งสิ้น 37 หน่วย


โดยอาศัยข้อมูลพื้นฐานที่เก็บไว้ก่อนหน้านี้ (นาน 68 ชั่วโมง) สามารถคำนวณได้ว่า ถ้าไม่มีการติดตั้งอุปกรณ์ควบคุมใด ๆ ในช่วงเวลา 358.5 ชั่วโมงดังกล่าว จะใช้พลังงานไฟฟ้าไปถึง 80 หน่วย


นั่นคือ ภายในเวลาประมาณ 15 วัน ถ้ามีการติดตั้งอุปกรณ์ควบคุมแสงสว่าง หลอดไฟฟ้าขนาด 36 วัตต์จำนวน 4 หลอด สามารถประหยัดไฟฟ้าได้ถึง 43 หน่วย


หรือลดลงได้จากสภาพที่ไม่มีการควบคุมถึงกว่าเท่าตัว (ไม่ควบคุมใช้ 80 หน่วย ถ้าควบคุมใช้เพียง 37 หน่วย)


กล่าวให้ง่ายขึ้นจะได้ว่า เราได้ใช้ไฟฟ้าเกินความจำเป็นไปถึง 2.2 เท่าตัว

ทีนี้ลองมาคิดเป็นค่าใช้จ่าย เป็นตัวเงินกันบ้างซึ่งพอจะทำให้เรารู้สึกรู้สาขึ้นมาบ้าง


ถ้าค่าไฟฟ้าหน่วยละ 3.50 บาท จากหลอดไฟ 36 วัตต์จำนวน 4 หลอด ภายใน 15 วัน เราสามารถประหยัดได้ประมาณ 150 บาท ดังนั้นในเวลา 1 ปีเราสามารถประหยัดไฟฟ้าได้ถึง 3,600 บาท


เล่ามาตั้งนาน ผมยังไม่ได้บอกเลยว่า อุปกรณ์ควบคุมนี้คืออะไร ราคาเท่าไหร่ และหาซื้อได้ที่ไหน อุปกรณ์ชนิดนี้เรียกว่าพีไออาร์เซนเซอร์ (PIR sensor ย่อมาจาก Passive InfraRed sensor ค้นรายละเอียดรวมทั้งวงจรได้จากอินเตอร์เนต หาซื้อได้จากร้านจำหน่ายอุปกรณ์ไฟฟ้าที่เป็นร้านใหญ่ ๆหน่อย) ราคาตามที่นักศึกษาบอกคือ 1,705 บาท


นั่นก็คือ ถ้าควบคุมดังที่กล่าวแล้ว เราสามารถได้ทุนคืนจากค่าไฟฟ้าที่ประหยัดได้ภายในเวลาประมาณครึ่งปีเท่านั้น


สำหรับการติดตั้งอุปกรณ์ ในโครงงานชิ้นนี้นักศึกษาภาควิชาฟิสิกส์เขาติดตั้งกันเองครับ นอกจากจะติดตั้งกันเองแล้ว พวกเขาจะต้องจ่ายค่าอุปกรณ์เองด้วยเพราะคณะไม่มีนโยบายจะออกค่าใช้จ่ายให้นักศึกษา


หลังจากการนำเสนอผลการศึกษาต่อเพื่อนๆ ในชั้นเรียนเสร็จแล้ว ผมสังเกตได้ว่า นักศึกษาบางคนมีความภูมิใจในผลงานและในตัวเองมาก มีอยู่คนหนึ่งมาชวนผมคุยเรื่องปัญหาสิ่งแวดล้อมว่า “ตอนนี้ทะเลสาบสงขลาเป็นอย่างไรบ้างครับ เสื่อมโทรมไปเยอะไหม ตอนอยู่ที่โรงเรียนเก่าผมเคยไปร่วมกิจกรรมฟื้นฟูทะเลสาบ”


จากคำถามนี้ ผมคิดว่าประกายไฟแห่งการสร้างสรรค์ท้องถิ่นตามคำขวัญของวิชาที่ว่า “ห่วงใยโลกกว้าง สรรค์สร้างท้องถิ่น” ของนักศึกษาท่านนี้ยังคงมีพลังอยู่และพร้อมจะลุกโชนขึ้นทันทีเมื่อมีปัจจัยเกื้อหนุนพร้อม


ยังมีโครงงานดี ๆ ของนักศึกษาอีกหลายชิ้น ผมจะพยายามนำมาเล่าเมื่อมีโอกาส อนึ่ง ผมได้ขอให้นักศึกษาทุกกลุ่มได้สรุปผลการศึกษาของตนเองเพื่อเสนอต่อผู้บริหารที่เกี่ยวข้อง ผมอยากจะให้เขาเขียนลงสื่อสาธารณะด้วย แต่ต้องเรียนตามตรงว่า นักศึกษาของเรา(อาจจะรวมถึงสถาบันอื่นด้วย) ยังขาดทักษะในการเขียนและการสื่อสารเป็นอย่างมาก


กระบวนการของวิชาวิทยาเขตสีเขียว ไม่ได้พอใจอยู่แค่ผลการศึกษาในกระดาษเท่านั้น แต่ต้องการขยายผลการศึกษาออกไปสู่การปฏิบัติจริงในสังคมวงกว้างด้วย


กล่าวเฉพาะการใช้พลังงานของคนไทยเมื่อเทียบกับประเทศอื่น ถือว่าประเทศเรายังมีการใช้ที่ไม่มีประสิทธิภาพหรือใช้อย่างฟุ่มเฟือยมาก เราต้องช่วยกันปรับปรุงตนเองทุกภาคส่วนครับ


ขอขอบคุณนักศึกษากลุ่มนี้ที่นำความรู้ใหม่มาให้ผม แล้วผมก็ทำหน้าที่ขยายผลสู่สังคมวงกว้างต่อไปครับผมขออนุญาตทิ้งท้ายบทความนี้ด้วยคำพูดของใครก็ไม่ทราบได้ แต่ผมเห็นด้วย อยู่ในหนังสือ “หันหน้าเข้าหากัน” โดย มาร์กาเร็ต เจ. วีตเลย์ ว่า

ไม่มีอำนาจใดจะยิ่งใหญ่ไปกว่าที่ผู้คนในชุมชนได้ค้นพบสิ่งที่พวกเขาห่วงใย”

 

 

 

บล็อกของ ประสาท มีแต้ม

ประสาท มีแต้ม
เราเคยสงสัยและตั้งคำถามเสมอมาว่า ทำไมราคาน้ำมันสำเร็จรูป (รวมทั้งราคายางพารา) ในภูมิภาคเอเซียจึงถูกกำหนดจากประเทศสิงคโปร์
ประสาท มีแต้ม
ตลอดช่วงเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ราคาน้ำมันดิบและราคาน้ำมันที่ปั๊มในบ้านเราได้เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง นักวิเคราะห์บางคนคาดการณ์ว่าสิ้นปีนี้ราคาน้ำมันดิบจะสูงถึง 85 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล โดยที่ราคาเมื่อต้นเดือนมิถุนายนได้ขยับจาก 62 ถึง 68 ภายในเวลาเจ็ดวันเท่านั้น
ประสาท มีแต้ม
1. คำนำ บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ข้อ คือ หนึ่ง ให้เห็นตัวเลขค่าใช้จ่ายด้านไฟฟ้าของคนไทยโดยเฉลี่ยซึ่งค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับรายได้ และหากแผนผลิตไฟฟ้าดังกล่าวมีปัญหาแล้วจะส่งผลกระทบต่อผู้ใช้ไฟฟ้าอย่างไร สอง เพื่อเล่าถึงการจัดทำแผนผลิตไฟฟ้าที่ผูกขาดโดย "กลุ่มผู้เชี่ยวชาญ" จำนวนน้อยตลอดมาและจะชี้ให้เห็นถึงบางสิ่งที่ผมคิดว่า "น่าจะไม่ถูกต้อง" สาม หากท่านผู้อ่านได้เห็นปัญหาในข้อสองแล้ว จะได้เห็นความจำเป็นของ "การเมืองภาคประชาชน" ในการตรวจสอบโครงการของรัฐมากขึ้น
ประสาท มีแต้ม
1. คำนำ เพื่อให้ท่านผู้อ่านได้ตัดสินใจว่าจะอ่านบทความนี้ต่อไปหรือไม่ ผมขอนำประเด็นสำคัญมาเสนอก่อน  ประเด็นคือการวางแผนผลิตก๊าซที่ผิดพลาดทำให้คนไทยทุกคนต้องควักเงินในกระเป๋าเพิ่มขึ้น จากรายงานประจำปี 2551 ของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) พบว่า ในปี 2551 บริษัท ปตท. ต้องจ่ายค่า "ไม่ซื้อก็ต้องจ่าย" ก๊าซจากโครงการไทย-มาเลเซีย (ซึ่งเป็นโครงการสร้างความขัดแย้งมาตั้งแต่รัฐบาลชวน หลีกภัย และทักษิณ ชินวัตร จนถึงปัจจุบัน) เป็นจำนวน 13,716 ล้านบาท
ประสาท มีแต้ม
ในขณะที่วิกฤตเศรษฐกิจโลกที่เริ่มต้นจากถนนวอลล์สตรีทในสหรัฐอเมริกากำลังลุกลามไปอย่างรวดเร็วราวกับลาวาภูเขาไฟไปสู่ทุกถนนของโลก ในภาคใต้ของประเทศไทยโดยหน่วยงานของรัฐและการนิคมอุตสาหกรรมก็กำลังดำเนินการให้มีแผนพัฒนาภาคใต้ด้วยโครงการต่าง ๆ มากมาย ทั้งโดยเปิดเผยและแอบแฝง ตัวอย่างของโครงการเหล่านี้ได้แก่ นิคมอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ในจังหวัดนครศรีธรรมราช โครงการอุตสาหกรรมเหล็กต้นน้ำ จังหวัดชุมพรและสุราษฎร์ธานี โครงการขุดเจาะน้ำมันของบริษัทเซฟรอน ที่นครศรีธรรมราช ตลอดจนโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ถึง 3 โรง นอกจากนี้ยังมีนิคมอุตสาหกรรมที่จังหวัดตรัง และท่าเทียบเรือน้ำลึกในจังหวัดสงขลาและอีกหลายจังหวัด…
ประสาท มีแต้ม
  เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2552 กระทรวงพลังงานในฐานะผู้รับผิดชอบหรือจะเรียกว่าผู้จัดทำแผนผลิตไฟฟ้าเองได้จัดรับฟังความคิดเห็นของประชาชนเพื่อปรับปรุง "แผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้า" ในช่วงปี 2551 ถึง 2564 ซึ่งเป็นแผนที่ได้จัดทำไว้ก่อนปี 2551 ในการรับฟังครั้งนี้ก็เพื่อจะได้ปรับปรุงเป็นครั้งที่ 2 สาเหตุที่ต้องปรับปรุงก็เพราะปัญหาเศรษฐกิจถดถอยทั้งในระดับโลกและในระดับประเทศไทยด้วยนักวิชาการอิสระด้านพลังงานที่ไม่ใช่ข้าราชการของกระทรวงพลังงานก็ได้ออกมาแสดงความคิดเห็นที่น่าสนใจหลายอย่าง ขณะเดียวกันกลุ่มชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบจากโรงไฟฟ้าก็ได้ตั้งคำถามพร้อมแผ่นผ้าด้วยข้อความสั้น ๆ แต่เข้าใจง่ายว่า "…
ประสาท มีแต้ม
คำนำ เมื่อธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ประสบปัญหาขายไม่ได้เนื่องจากได้รับผลกระทบจากวิกฤติเศรษฐกิจของโลก นักการเมืองรวมทั้งว่าที่รัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องก็ได้เสนอมาตรการลดหย่อนภาษีค่าโอนบ้าน โดยจะเริ่มต้นตั้งแต่ปี 2552 เป็นต้นไป ผมขออนุญาตไม่แสดงความคิดเห็นในประเด็นดังกล่าวข้างต้น แต่ขอใช้หลักคิดเดียวกันนี้เพื่อตั้งคำถามว่า ทำไมรัฐบาลจึงไม่ใช้มาตรการทางภาษีเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการพืชน้ำมันซึ่งได้แก่ ไบโอดีเซล และแก๊สโซฮอล์ ซึ่งโยงใยเกี่ยวเนื่องกันตั้งแต่เจ้าของโรงงานจนถึงเกษตรกรผู้ปลูกพืชน้ำมัน ( ปาล์มน้ำมัน อ้อย ฯลฯ ) เหล่านี้บ้างเล่า?
ประสาท มีแต้ม
1. คำนำ เมื่อราคาน้ำมันลดลงมาจากลิตรละราว 40 บาทจากเมื่อ 4-5 เดือนก่อนมาอยู่ที่ราว ๆ 20 บาท ทำให้คนไทยเราก็รู้สึกสบายใจ บางคนถึงกับกล่าวว่า “ตอนนี้จะไปไหนมาไหนก็ไม่ค่อยได้คิดมากเหมือนเมื่อก่อนแล้ว” ในยุคที่การเมืองที่เต็มไปด้วยการฉ้อราษฎร์บังหลวง ผู้บริโภคจะพอใจอยู่กับตัวเลขที่อิงอยู่กับความรู้สึกเช่นนี้เพียงอย่างเดียวคงไม่ได้ เราจะต้องลุกขึ้นมาช่วยกันตรวจสอบ ถามหาความความเป็นธรรม ความพอดีอยู่ตลอดเวลา เมื่อพูดถึงความรู้สึกที่สบายใจขึ้นของคนไทยในขณะนี้ ทำให้ผมนึกเรื่อง “นัสรูดิน” ชายชาวอาหรับโบราณที่คนรุ่นหลังยังตัดสินไม่ได้ว่า เขาเป็นคนเฉลียวฉลาดหรือคนโง่กันแน่…
ประสาท มีแต้ม
1. คำนำ ก่อนจะเริ่มต้นเนื้อหา เรามาดูรูปการ์ตูนสนุก ๆ แต่บาดใจและอาจจะบาดตากันก่อนครับ ความหมายในภาพนี้ ไม่มีอะไรมาก นอกจากบอกว่านี่ไงหลักฐานที่พิสูจน์ว่าโลกเราร้อนขึ้นจริง สำหรับภาพนี้บอกว่า ผลการศึกษาพบว่าอุณหภูมิของน้ำในมหาสมุทรสูงขึ้น นักวิชาการ (และนักการเมือง) กำลังระดมกันแก้ปัญหาอย่างขยันขันแข็ง ขอขอบคุณเจ้าของภาพทั้งสองด้วย คราวนี้มาเข้าเรื่องกันครับ ขณะที่โลกของเรากำลังเผชิญกับวิกฤตการณ์ครั้งสำคัญ 4 ด้านพร้อม ๆ กัน คือ (1) วิกฤติภาวะโลกร้อน (2) วิกฤติพลังงานที่ทั้งขาดแคลน ราคาแพง ผูกขาดและก่อวิกฤติด้านอื่น ๆ (3) วิกฤติการเงินที่เพิ่งจะเกิดขึ้นหยก ๆ…
ประสาท มีแต้ม
คำนำ “...เวลานี้สังคมไทยมีอาการป่วยอย่างร้ายที่สุด คือ ป่วยทางปัญญา ขอให้พิจารณาดูเถิด เวลานี้ปัญหาสุขภาวะที่น่ากลัวที่สุดคือ ความป่วยทางปัญญา...” พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตโต) มีนาคม 2551 ท่ามกลางกระแสการคิดค้นเรื่อง “การเมืองใหม่” ซึ่งขณะนี้สังคมบางส่วนเริ่มเห็นภาพราง ๆ บ้างแล้วว่ามันเป็นอย่างไร แต่ยังไม่มีความชัดเจนมากนักว่า สังคมไทยจะก้าวไปสู่สภาพนั้นได้อย่างไร และสมมุติว่าเราสามารถเข้าไปสู่สภาพนั้นได้จริง ๆ แล้ว เราจะรักษาและพัฒนาการเมืองใหม่ให้ดียิ่งๆ ขึ้นไปอีกได้อย่างไร ในที่นี้ ผมจะขออนุญาตนำเสนอหลักการพื้นฐานมาใช้ตอบคำถามดังกล่าว ผมเรียกหลักการนี้ว่า “กฎ 3…
ประสาท มีแต้ม
เมื่อต้นเดือนเมษายน 2551 หนังสือพิมพ์หลายฉบับได้ลงข่าวว่า "พลังงานเผยไทยผลิตน้ำมันดิบสูงกว่าบรูไน คุยทดแทนนำเข้าปีนี้มหาศาล" (ไทยรัฐ 2 เมษายน 2551)    สาเหตุที่ผู้ให้ข่าวซึ่งก็คือข้าราชการระดับสูงของกระทรวงพลังงานได้นำประเทศไทยไปเทียบกับประเทศบรูไน ก็น่าจะเป็นเพราะว่าคนไทยเราทราบกันดีว่าประเทศบรูไนเป็นประเทศส่งออกน้ำมันรายหนึ่งของภูมิภาคนี้ ดังนั้นเมื่อประเทศไทยเราผลิตน้ำมันดิบได้มากกว่าก็น่าจะทำให้คนไทยเราหลงดีใจได้บ้าง  นาน ๆ คนไทยเราจะได้มีข่าวที่ทำให้ดีใจสักครั้ง   หลังจากอ่านข่าวนี้แล้ว ผมก็ได้ค้นหาความรู้เพิ่มเติมจากอินเทอร์เน็ตก็พบว่า…
ประสาท มีแต้ม
1. คำนำ ขณะนี้มีผู้คนจำนวนหนึ่งกำลังครุ่นคิดถึง "การเมืองใหม่" ซึ่งยังไม่เป็นที่แน่ชัดนักว่ามันคืออะไรกันแน่ ทราบแต่ว่า "การเมืองเดิม" ซึ่งก็คือการเมืองแบบตัวแทน (representative democracy) กำลังมีปัญหาหลายอย่างและรุนแรงขึ้นทุกขณะบทความนี้จะนำเสนอความล้มเหลวของ "การเมืองแบบตัวแทน" อย่างสั้นๆ พร้อมกับนำเสนอ "การเมืองแบบไฮเพอร์ (hyperpolitics)" ให้พอเป็นประกายเบื้องต้น หากสังคมนี้สนใจก็มีช่องทางให้ศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมกันต่อไป2. สาเหตุความล้มเหลวของการเมืองแบบตัวแทนเราท่องกันจนขึ้นใจมาตั้งแต่วัยเด็กแล้วว่า สาเหตุสำคัญของการมี "การเมืองแบบตัวแทน" คือเป็นเพราะคนมันเยอะ…