Skip to main content

1. ความเดิม


ในตอนที่ 1 ผมได้นำข้อมูลที่มาจากงานวิจัยของกระทรวงศึกษาธิการที่พบว่า นักเรียนทุกระดับชั้นของประเทศไทย ทั้งระดับ ป.6 , .3 และมัธยมปลายมีคะแนนเฉลี่ยไม่ถึงครึ่งทุกวิชา โดยวิชาที่สอบได้คะแนนน้อยที่สุดคือวิชาคณิตศาสตร์ ได้เพียงร้อยละ 29.6 เท่านั้น


ในตอนที่ 2 นี้ ผมจะกล่าวถึงปัญหาที่ได้ตั้งไว้ในชื่อบทความ ซึ่งผมคิดว่าน่าจะเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้คุณภาพการศึกษาเราตกต่ำ นอกจากนี้ ผมได้นำเสนอความคิดเห็นและความพยายามของผู้บริหารระดับสูงสุดของมหาวิทยาลัยด้วย

2. สาเหตุของปัญหาคุณภาพตกต่ำในทัศนะของอธิการบดี


ท่านอธิการบดีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (รศ.ดร. บุญสม ศิริบำรุงสุข) ได้ให้ความสนใจในการแก้ปัญหาดังกล่าว โดยเรียกประชุมอาจารย์ผู้สอนคณิตศาสตร์ทั้ง 5 วิทยาเขตพร้อมตั้งโจทย์ว่า “ทำอย่างไรจึงจะนำคณิตศาสตร์ไปสู่ศิษย์ให้ดีที่สุด”


ท่านอธิการไม่ได้วิเคราะห์เพื่อค้นหาสาเหตุหลัก-สาเหตุรองของปัญหา แต่ท่านกล่าวว่า “ปัจจุบันการสอบคัดเลือกนักเรียนเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัย (ทั่วประเทศ) นักเรียนมี 8 แสนคน มหาวิทยาลัยสามารถรับเด็กเข้ามา 6 แสนคนต่อปี จึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะรับเด็กอ่อนเข้ามา (เด็กขี้เบื่อ สมาธิสั้น ความสามารถในการสื่อสารน้อยลง) ดังนั้น ไม่มีทางที่จะหวนกลับไปยังสิ่งแวดล้อมที่เคยผ่านมา อาจารย์ไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากการปรับตัวให้เข้ากับเด็กหรือผู้เรียน”


นอกจากนี้ท่านยัง “ให้โอวาท” เพิ่มเติมอีกว่า “อาจารย์มหาวิทยาลัยเปรียบเสมือนปลั๊ก 3 ขา โดยที่ขาที่หนึ่ง เป็นผู้รู้ที่แท้จริง ลึกซึ้งในศาสตร์ และถ่ายทอดได้ ขาที่สอง รู้เทคนิคการถ่ายทอดให้เหมาะกับเด็กทั้งเก่ง ปานกลางและอ่อน ส่วนขาที่สาม คือความรู้สึกของความเป็นครู”

 

3. ปัญหาการให้คุณค่าของเวลาและทักษะการเรียนรู้


ผมเห็นด้วยกับคำกล่าวของท่าน แต่สิ่งที่ผมจะนำเสนอต่อไปนี้เป็นทัศนะของผมเอง และเป็นสิ่งที่ “ท่านยังไม่ได้พูด” ซึ่งเกี่ยวข้องกับทั้งตัวนักศึกษาและผู้บริหารที่ “ไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากการปรับตัว” เช่นเดียวกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน 3 ประเด็นต่อไปนี้คือ

(1) กรอบเวลามาตรฐานสำหรับการเรียนรู้ นั่นคือ จะต้องใช้เวลาเท่าใดในการจะเรียนรู้เรื่องใดเรื่องหนึ่ง

(2) การบริหารเวลา เมื่อรู้ว่าจะต้องใช้เวลานานเท่าใดในการทำกิจกรรมใดแล้ว ผู้เรียนรวมทั้งผู้บริหารด้วย ได้บริหารหรือจัดสรรเวลาตลอดทั้งภาคการศึกษาให้สอดคล้องกับสิ่งที่ “จำเป็นต้องทำ” หรือไม่ และ

(3) ทักษะในการเรียนรู้ซึ่งรวมถึงการฟัง การจดเล็คเชอร์ ซึ่งขณะนี้พบว่า แม้แต่ในกลุ่มนักศึกษาที่ถือกันว่า “เก่ง” ที่สุดแล้ว ยังคุยกันและลุกเข้าห้องน้ำระหว่างอาจารย์บรรยายราวกับเป็นชั้นเรียนเด็กอนุบาล

 

3.1 กรอบเวลามาตรฐานสำหรับการเรียนรู้


ตามปกติ คนเราจะใช้เวลาเพื่อทำอะไรเป็นเวลานานเท่าใด เขาก็จะมีค่าเฉลี่ยของเวลากันอยู่ เช่น ต้องนอนวันละกี่ชั่วโมงจึงจะเพียงพอกับความต้องการของร่างกาย เป็นต้น


ในการศึกษาก็เช่นกัน ในการเรียนระดับมหาวิทยาลัย องค์การยูเนสโก (UNESCO) ซึ่งเป็นองค์การศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ ได้กำหนดเกณฑ์มาตรฐานสำหรับการศึกษาในระดับมหาวิทยาลัยว่า ในการฟังคำบรรยายในห้องเรียนหนึ่งชั่วโมง นักศึกษาจะต้องใช้เวลาฝึกฝน ทำแบบฝึกหัด และค้นคว้าเพิ่มเติมด้วยตนเองอีกอย่างน้อยสองชั่วโมง


ถ้านักศึกษาลงเรียนทั้งภาคการศึกษาจำนวน 18 หน่วยกิต ดังนั้นเขาจะต้องใช้เวลานอกห้องเรียนเพิ่มเติมอีก 36 ชั่วโมง รวมเวลาทั้งหมดที่ใช้ไปกับการเรียนดังกล่าวจำนวน 54 ชั่วโมง เวลาที่ว่านี้เป็นเพียงขั้นต่ำเท่านั้น นักศึกษาที่อ่อนก็ต้องใช้เวลาที่มากกว่านี้จึงจะบรรลุความสำเร็จได้


ผมคิดว่าหลักข้อนี้เป็นกรอบมาตรฐานที่จำเป็นสำหรับนักศึกษาร้อยละ 99 ที่ต้องยกเว้นไปบ้างนั้น เผื่อไว้สำหรับพวกอัจฉริยะเท่านั้น


คำถามใหญ่ ๆ ก็คือ นักศึกษาส่วนใหญ่ของเราได้ปฏิบัติตามกรอบเวลานี้หรือไม่

 

3.2 การบริหารเวลา

ในแต่ละสัปดาห์มีเวลา 7x24 = 168 ชั่วโมง ถ้าเรานอนวันละ 8 ชั่วโมง รับประทานอาหาร 3 มื้อวันละ 3 ชั่วโมง อาบน้ำ เข้าส้วม (รวมปัสสาวะ) วันละ 2 ชั่วโมง นอกจากนี้ยังต้องเวลาที่ใช้ในการเดินทางอีก ถ้าเป็นนักศึกษาหอพักของมหาวิทยาลัยต่างจังหวัด คาดว่าวันละ 2 ชั่วโมง รวมสัปดาห์ละ 105 ชั่วโมง


เพียงกิจกรรม 4 อย่างที่ทุกคนไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ก็หมดเวลาไปแล้ว 105 ชั่วโมงต่อสัปดาห์หรือคิดเป็น 63% ของเวลาทั้งหมด ผมคิดว่าคุณภาพของนักศึกษาน่าจะวัดกันที่การใช้เวลาที่เหลืออีกสัปดาห์ละ 63 ชั่วโมง (หรือ 37%) ไปทำอะไรบ้าง ระหว่างเรียนในห้องเรียน ค้นคว้า ทำแบบฝึกหัด กับการทำกิจกรรมอย่างอื่นที่กลายเป็นวัฒนธรรมระหว่างรุ่นพี่กับรุ่นน้อง ที่ต้องใช้เวลาไปจำนวนมาก


ตัวอย่างที่แปลกมากสำหรับผม คือนักศึกษาชั้นปีที่สองคนหนึ่งบอกผมว่า บ่ายวันนี้จะไปรับน้องกลุ่มที่ต่างอำเภอ เป็นกิจกรรมที่ต้องไปค้างคืนที่รีสอร์ทหรูแห่งหนึ่ง (โดยเก็บเงินจากรุ่นพี่คนละมากกว่า 1,000 บาท)


ผมถามว่า “รับน้องภาควิชาเหรอ” เขาบอกไม่ใช่ รับน้องภาควิชานั้นเป็นอีกกิจกรรมหนึ่ง แต่นี่คือ ตอนเข้าปีหนึ่งมายังไม่มีภาค มีแต่กลุ่ม เช่น กลุ่มเอ นักศึกษาปีที่สองถึงสี่ที่เคยอยู่กลุ่มเอมาก่อนจะต้องไปร่วมรับน้องกลุ่มเอ


เรื่องนี้ไม่เคยมีมาก่อน นี่ยังไม่นับการรับน้องโรงเรียน น้องจังหวัด น้องโครงการทุน รับน้องตระกูล ฯลฯ ตลอดจนการจัดแข่งเชียร์กีฬาโดยไม่มีกีฬา (พิมพ์ไม่ผิดครับ!)


ถามอีกครั้งครับว่า เด็กจะเอาเวลาที่ไหนมาใช้กับกระบวนการเรียนรู้(ตำรา)ที่วัดกันด้วยเกรด

 

3.3 ทักษะในการเรียนรู้


ผมเข้าเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัยต่างประเทศหลายสถาบัน เช่น มหาวิทยาลัยคอร์เนล ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงระดับโลก พบว่า เขามีเอกสารรวมทั้งมีการสอนรายวิชาที่ให้นักศึกษาได้รู้จักคุณค่าของเวลา รู้จักการบริหารเวลา รู้จักการฟัง การคิด การเขียน แม้แต่การเว้นหน้ากระดาษสักกี่นิ้วในการจดเล็คเชอร์เขาก็สอนครับ ไม่น่าเชื่อว่าเขามีความละเอียดถึงเพียงนี้


แต่ในมหาวิทยาลัยของบ้านเราผมไม่เห็นครับ

ผมเคยถามนักศึกษาแพทย์คนหนึ่งที่ได้เกรด E ในวิชาที่ผมสอนว่า “ใช้เวลาในการศึกษาวิชานี้นานเท่าใด” ผมได้คำตอบว่า 8 ชั่วโมงสุดท้ายก่อนเข้าห้องสอบเท่านั้น


นักศึกษาปีที่ 4 คณิตศาสตร์(คนหนึ่ง) มาปรึกษาผมในวิชาสัมมนา (ตามบทความที่ตีพิมพ์ในวารสาร) โดยไม่มีกระดาษทดเลย


ตัวอย่างที่ยกมานี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของการขาดทักษะการเรียนรู้และการจัดการเวลาของนักศึกษา


ใครก็ตาม (ยกเว้นพวกอัจฉริยะ) ที่ขาดความรู้ในส่วนนี้ ก็จะเป็นเหมือนนิทานอีสปเรื่อง “อึ่งอ่างกับวัว” ที่แม่อึ่งอ่างพยายามพองตัวเองให้ลูกเห็นว่า รอยเท้าของสัตว์ที่มาเหยียบลูก ๆ ของตนตายไปนั้นมีขนาดเท่าใหญ่แค่ไหน ในที่สุดก็ท้องแตกตาย

 

 

เรื่องนักศึกษาประเมินเวลาที่ใช้ในการศึกษาน้อยเกินความเป็นจริงที่เป็นมาตรฐานสากล ก็เป็นบทกลับของนิทานเรื่องนี้ คือ งานหนักเท่าแม่วัว แต่นักศึกษาเราประเมินว่าเบาเท่าอึ่งอ่าง ผมไม่เข้าใจว่าทำไมผู้มีหน้าที่จัดการศึกษาจึงคิดบทกลับของนิทานเรื่องนี้ไม่ได้

 

4. การจัดสรรเวลาของผู้บริหาร


เรื่องนี้มี 3 ประเด็นใหญ่ ๆ ซึ่งจะขอกล่าวเพียงสั้น ๆ คือ

(1) ตามปกติ การจัดการศึกษาในระบบ 2 ภาค (semester) จะต้องใช้เวลา 16-18 สัปดาห์ แต่มหาวิทยาลัยจัดเวลาให้เพียง 16 สัปดาห์เท่านั้น เมื่อหักวันหยุดพิเศษอีก ก็จะเหลือเพียง 15 สัปดาห์เท่านั้น

(2) มหาวิทยาลัยไม่ได้ให้ความสำคัญกับกรอบเวลามาตรฐานของการเรียนรู้

(3) เวลาที่ใช้ในการเรียนแต่ละคาบ 50 นาที และเวลาสำหรับการเดินทางระหว่างคาบ 10 นาที ในขณะที่พื้นที่วิทยาเขตกว้างขวาง ส่งผลให้นักศึกษาเข้าเรียนสายเป็นประจำ นักศึกษาบางคนบอกว่า “เวลาเพียง 10 นาที แม้แต่เหาะไปเรียนก็ยังไม่ทันเลยคะ”


5.
สรุป


ผมยังคงมีกำลังใจและสัญญาว่า ผมจะใช้เวลาเพื่อเขียนเป็นหนังสือคู่มือให้กับนักศึกษาได้เข้าใจและเห็นคุณค่าของเวลา รวมทั้งทักษะการเรียนรู้ด้วย แม้จะเป็นเรื่องที่ท่านอธิการ “ยังไม่ได้พูด” ก็ตามครับ

 

 

บล็อกของ ประสาท มีแต้ม

ประสาท มีแต้ม
เราเคยสงสัยและตั้งคำถามเสมอมาว่า ทำไมราคาน้ำมันสำเร็จรูป (รวมทั้งราคายางพารา) ในภูมิภาคเอเซียจึงถูกกำหนดจากประเทศสิงคโปร์
ประสาท มีแต้ม
ตลอดช่วงเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ราคาน้ำมันดิบและราคาน้ำมันที่ปั๊มในบ้านเราได้เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง นักวิเคราะห์บางคนคาดการณ์ว่าสิ้นปีนี้ราคาน้ำมันดิบจะสูงถึง 85 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล โดยที่ราคาเมื่อต้นเดือนมิถุนายนได้ขยับจาก 62 ถึง 68 ภายในเวลาเจ็ดวันเท่านั้น
ประสาท มีแต้ม
1. คำนำ บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ข้อ คือ หนึ่ง ให้เห็นตัวเลขค่าใช้จ่ายด้านไฟฟ้าของคนไทยโดยเฉลี่ยซึ่งค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับรายได้ และหากแผนผลิตไฟฟ้าดังกล่าวมีปัญหาแล้วจะส่งผลกระทบต่อผู้ใช้ไฟฟ้าอย่างไร สอง เพื่อเล่าถึงการจัดทำแผนผลิตไฟฟ้าที่ผูกขาดโดย "กลุ่มผู้เชี่ยวชาญ" จำนวนน้อยตลอดมาและจะชี้ให้เห็นถึงบางสิ่งที่ผมคิดว่า "น่าจะไม่ถูกต้อง" สาม หากท่านผู้อ่านได้เห็นปัญหาในข้อสองแล้ว จะได้เห็นความจำเป็นของ "การเมืองภาคประชาชน" ในการตรวจสอบโครงการของรัฐมากขึ้น
ประสาท มีแต้ม
1. คำนำ เพื่อให้ท่านผู้อ่านได้ตัดสินใจว่าจะอ่านบทความนี้ต่อไปหรือไม่ ผมขอนำประเด็นสำคัญมาเสนอก่อน  ประเด็นคือการวางแผนผลิตก๊าซที่ผิดพลาดทำให้คนไทยทุกคนต้องควักเงินในกระเป๋าเพิ่มขึ้น จากรายงานประจำปี 2551 ของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) พบว่า ในปี 2551 บริษัท ปตท. ต้องจ่ายค่า "ไม่ซื้อก็ต้องจ่าย" ก๊าซจากโครงการไทย-มาเลเซีย (ซึ่งเป็นโครงการสร้างความขัดแย้งมาตั้งแต่รัฐบาลชวน หลีกภัย และทักษิณ ชินวัตร จนถึงปัจจุบัน) เป็นจำนวน 13,716 ล้านบาท
ประสาท มีแต้ม
ในขณะที่วิกฤตเศรษฐกิจโลกที่เริ่มต้นจากถนนวอลล์สตรีทในสหรัฐอเมริกากำลังลุกลามไปอย่างรวดเร็วราวกับลาวาภูเขาไฟไปสู่ทุกถนนของโลก ในภาคใต้ของประเทศไทยโดยหน่วยงานของรัฐและการนิคมอุตสาหกรรมก็กำลังดำเนินการให้มีแผนพัฒนาภาคใต้ด้วยโครงการต่าง ๆ มากมาย ทั้งโดยเปิดเผยและแอบแฝง ตัวอย่างของโครงการเหล่านี้ได้แก่ นิคมอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ในจังหวัดนครศรีธรรมราช โครงการอุตสาหกรรมเหล็กต้นน้ำ จังหวัดชุมพรและสุราษฎร์ธานี โครงการขุดเจาะน้ำมันของบริษัทเซฟรอน ที่นครศรีธรรมราช ตลอดจนโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ถึง 3 โรง นอกจากนี้ยังมีนิคมอุตสาหกรรมที่จังหวัดตรัง และท่าเทียบเรือน้ำลึกในจังหวัดสงขลาและอีกหลายจังหวัด…
ประสาท มีแต้ม
  เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2552 กระทรวงพลังงานในฐานะผู้รับผิดชอบหรือจะเรียกว่าผู้จัดทำแผนผลิตไฟฟ้าเองได้จัดรับฟังความคิดเห็นของประชาชนเพื่อปรับปรุง "แผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้า" ในช่วงปี 2551 ถึง 2564 ซึ่งเป็นแผนที่ได้จัดทำไว้ก่อนปี 2551 ในการรับฟังครั้งนี้ก็เพื่อจะได้ปรับปรุงเป็นครั้งที่ 2 สาเหตุที่ต้องปรับปรุงก็เพราะปัญหาเศรษฐกิจถดถอยทั้งในระดับโลกและในระดับประเทศไทยด้วยนักวิชาการอิสระด้านพลังงานที่ไม่ใช่ข้าราชการของกระทรวงพลังงานก็ได้ออกมาแสดงความคิดเห็นที่น่าสนใจหลายอย่าง ขณะเดียวกันกลุ่มชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบจากโรงไฟฟ้าก็ได้ตั้งคำถามพร้อมแผ่นผ้าด้วยข้อความสั้น ๆ แต่เข้าใจง่ายว่า "…
ประสาท มีแต้ม
คำนำ เมื่อธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ประสบปัญหาขายไม่ได้เนื่องจากได้รับผลกระทบจากวิกฤติเศรษฐกิจของโลก นักการเมืองรวมทั้งว่าที่รัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องก็ได้เสนอมาตรการลดหย่อนภาษีค่าโอนบ้าน โดยจะเริ่มต้นตั้งแต่ปี 2552 เป็นต้นไป ผมขออนุญาตไม่แสดงความคิดเห็นในประเด็นดังกล่าวข้างต้น แต่ขอใช้หลักคิดเดียวกันนี้เพื่อตั้งคำถามว่า ทำไมรัฐบาลจึงไม่ใช้มาตรการทางภาษีเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการพืชน้ำมันซึ่งได้แก่ ไบโอดีเซล และแก๊สโซฮอล์ ซึ่งโยงใยเกี่ยวเนื่องกันตั้งแต่เจ้าของโรงงานจนถึงเกษตรกรผู้ปลูกพืชน้ำมัน ( ปาล์มน้ำมัน อ้อย ฯลฯ ) เหล่านี้บ้างเล่า?
ประสาท มีแต้ม
1. คำนำ เมื่อราคาน้ำมันลดลงมาจากลิตรละราว 40 บาทจากเมื่อ 4-5 เดือนก่อนมาอยู่ที่ราว ๆ 20 บาท ทำให้คนไทยเราก็รู้สึกสบายใจ บางคนถึงกับกล่าวว่า “ตอนนี้จะไปไหนมาไหนก็ไม่ค่อยได้คิดมากเหมือนเมื่อก่อนแล้ว” ในยุคที่การเมืองที่เต็มไปด้วยการฉ้อราษฎร์บังหลวง ผู้บริโภคจะพอใจอยู่กับตัวเลขที่อิงอยู่กับความรู้สึกเช่นนี้เพียงอย่างเดียวคงไม่ได้ เราจะต้องลุกขึ้นมาช่วยกันตรวจสอบ ถามหาความความเป็นธรรม ความพอดีอยู่ตลอดเวลา เมื่อพูดถึงความรู้สึกที่สบายใจขึ้นของคนไทยในขณะนี้ ทำให้ผมนึกเรื่อง “นัสรูดิน” ชายชาวอาหรับโบราณที่คนรุ่นหลังยังตัดสินไม่ได้ว่า เขาเป็นคนเฉลียวฉลาดหรือคนโง่กันแน่…
ประสาท มีแต้ม
1. คำนำ ก่อนจะเริ่มต้นเนื้อหา เรามาดูรูปการ์ตูนสนุก ๆ แต่บาดใจและอาจจะบาดตากันก่อนครับ ความหมายในภาพนี้ ไม่มีอะไรมาก นอกจากบอกว่านี่ไงหลักฐานที่พิสูจน์ว่าโลกเราร้อนขึ้นจริง สำหรับภาพนี้บอกว่า ผลการศึกษาพบว่าอุณหภูมิของน้ำในมหาสมุทรสูงขึ้น นักวิชาการ (และนักการเมือง) กำลังระดมกันแก้ปัญหาอย่างขยันขันแข็ง ขอขอบคุณเจ้าของภาพทั้งสองด้วย คราวนี้มาเข้าเรื่องกันครับ ขณะที่โลกของเรากำลังเผชิญกับวิกฤตการณ์ครั้งสำคัญ 4 ด้านพร้อม ๆ กัน คือ (1) วิกฤติภาวะโลกร้อน (2) วิกฤติพลังงานที่ทั้งขาดแคลน ราคาแพง ผูกขาดและก่อวิกฤติด้านอื่น ๆ (3) วิกฤติการเงินที่เพิ่งจะเกิดขึ้นหยก ๆ…
ประสาท มีแต้ม
คำนำ “...เวลานี้สังคมไทยมีอาการป่วยอย่างร้ายที่สุด คือ ป่วยทางปัญญา ขอให้พิจารณาดูเถิด เวลานี้ปัญหาสุขภาวะที่น่ากลัวที่สุดคือ ความป่วยทางปัญญา...” พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตโต) มีนาคม 2551 ท่ามกลางกระแสการคิดค้นเรื่อง “การเมืองใหม่” ซึ่งขณะนี้สังคมบางส่วนเริ่มเห็นภาพราง ๆ บ้างแล้วว่ามันเป็นอย่างไร แต่ยังไม่มีความชัดเจนมากนักว่า สังคมไทยจะก้าวไปสู่สภาพนั้นได้อย่างไร และสมมุติว่าเราสามารถเข้าไปสู่สภาพนั้นได้จริง ๆ แล้ว เราจะรักษาและพัฒนาการเมืองใหม่ให้ดียิ่งๆ ขึ้นไปอีกได้อย่างไร ในที่นี้ ผมจะขออนุญาตนำเสนอหลักการพื้นฐานมาใช้ตอบคำถามดังกล่าว ผมเรียกหลักการนี้ว่า “กฎ 3…
ประสาท มีแต้ม
เมื่อต้นเดือนเมษายน 2551 หนังสือพิมพ์หลายฉบับได้ลงข่าวว่า "พลังงานเผยไทยผลิตน้ำมันดิบสูงกว่าบรูไน คุยทดแทนนำเข้าปีนี้มหาศาล" (ไทยรัฐ 2 เมษายน 2551)    สาเหตุที่ผู้ให้ข่าวซึ่งก็คือข้าราชการระดับสูงของกระทรวงพลังงานได้นำประเทศไทยไปเทียบกับประเทศบรูไน ก็น่าจะเป็นเพราะว่าคนไทยเราทราบกันดีว่าประเทศบรูไนเป็นประเทศส่งออกน้ำมันรายหนึ่งของภูมิภาคนี้ ดังนั้นเมื่อประเทศไทยเราผลิตน้ำมันดิบได้มากกว่าก็น่าจะทำให้คนไทยเราหลงดีใจได้บ้าง  นาน ๆ คนไทยเราจะได้มีข่าวที่ทำให้ดีใจสักครั้ง   หลังจากอ่านข่าวนี้แล้ว ผมก็ได้ค้นหาความรู้เพิ่มเติมจากอินเทอร์เน็ตก็พบว่า…
ประสาท มีแต้ม
1. คำนำ ขณะนี้มีผู้คนจำนวนหนึ่งกำลังครุ่นคิดถึง "การเมืองใหม่" ซึ่งยังไม่เป็นที่แน่ชัดนักว่ามันคืออะไรกันแน่ ทราบแต่ว่า "การเมืองเดิม" ซึ่งก็คือการเมืองแบบตัวแทน (representative democracy) กำลังมีปัญหาหลายอย่างและรุนแรงขึ้นทุกขณะบทความนี้จะนำเสนอความล้มเหลวของ "การเมืองแบบตัวแทน" อย่างสั้นๆ พร้อมกับนำเสนอ "การเมืองแบบไฮเพอร์ (hyperpolitics)" ให้พอเป็นประกายเบื้องต้น หากสังคมนี้สนใจก็มีช่องทางให้ศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมกันต่อไป2. สาเหตุความล้มเหลวของการเมืองแบบตัวแทนเราท่องกันจนขึ้นใจมาตั้งแต่วัยเด็กแล้วว่า สาเหตุสำคัญของการมี "การเมืองแบบตัวแทน" คือเป็นเพราะคนมันเยอะ…