Skip to main content


1.
คำนำ


ภาพที่ท่านเห็นอยู่นี้เป็นปกหน้าและหลังของเอกสารขนาดกระดาษ A4 ที่หนาเพียง 16 หน้า แม้ว่าหลายท่านอาจจะยังไม่คุ้นเคยกับศัพท์แสงที่ปรากฏ แต่ผมเชื่อว่าแววตาและท่าทางของเจ้าหนูน้อยในภาพคงทำให้ท่านรู้สึกได้ว่าเธอทึ่งและมีความหวัง บรรณาธิการกรุณาอย่าทำให้ภาพเล็กลงเพื่อประหยัดเนื้อที่ เพราะจะทำให้เราเห็นแววตาของเธอไม่สดใสเท่าที่ควร เอกสารนี้จัดทำโดย “สภาเพื่ออนาคตโลก” หรือ World Future Council (WFC) ค้นหาได้จาก www.worldfuturecouncil.org


WFC
มีสมาชิกที่มีชื่อเสียงมากอยู่ 50 ท่านจากทั่วโลก หนึ่งในนั้นเป็นคนไทยคือ ท่านอาจารย์สุลักษณ์ ศิวรักษ์


บทความนี้จะไม่กล่าวถึงรายละเอียดและวัตถุประสงค์ของ WFC (ทั้ง ๆ ที่น่าสนใจมาก) แต่ผมจะอธิบายถึงสาระสำคัญที่อยู่ในเอกสารฉบับนี้


นอกจากนี้ ผมเชื่อว่าท่านที่รู้สึกผิดหวังและหดหู่ใจกับความล้มเหลวของการประชุมระดับโลกเพื่อแก้ไขปัญหาสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงที่จัดโดยสหประชาชาติ (เรียกเป็นรหัสว่า COP15) เมื่อกลางเดือนธันวาคมปี 2552 คงจะรู้สึกดีขึ้น เพราะว่าสาระสำคัญของเอกสารฉบับนี้คือทางออกของการแก้ปัญหาโลกร้อนที่แท้จริง


ถ้าย้อนไปดูปกหลังของเอกสาร “นโยบายเพื่อการเปลี่ยนแปลงโลก” นี้ (ผมยังไม่บอกว่านโยบายนี้ชื่ออะไร เพราะหากแปลแล้วจะเข้าใจยาก) นโยบายนี้เน้นสาระสำคัญ 6 ประการที่เป็นปัญหาร่วมของโลกคือ (1) ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดอ๊อกไซด์ (2) การสร้างงาน (3) ความมั่นคงด้านพลังงาน (4) ความมั่นคงในการลงทุน (5) ส่งเสริม นวัตกรรมด้านเทคโนโลยี และ (6) สร้างการตลาดที่เป็นธรรม


จากสาระทั้ง 6 ทำให้เราคิดได้เองว่า ปัญหาโลกร้อนไม่ใช่เป็นแค่ปัญหาน้ำทะเลสูงขึ้น พายุและภัยธรรมชาติรุนแรงและบ่อยขึ้นเท่านั้น แต่เป็นเรื่องของการสร้างงานเพิ่มขึ้น การสร้างระบบตลาดที่เป็นธรรม รวมถึงการเอาใจใส่ดูแลนักลงทุนที่บางคนมองเป็นเรื่องเอารัดเอาเปรียบด้วย


ที่น่าสนใจมากก็คือว่า ทั้งหมดนี้เกี่ยวข้องกับการใช้พลังงานทั้งนั้น

 

2. กิจการใดปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากที่สุด


ก่อนที่เราจะแก้ปัญหาโลกร้อน เราต้องทราบเสียก่อนว่ากิจการหรือภาคการผลิตใดบ้างที่เป็นต้นเหตุทำให้เกิดปัญหาโลกร้อน


นักวิทยาศาสตร์พบว่า ภาคส่วนหรือกิจกรรมที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากเป็น 5 อันดับแรกเรียงตามลำดับจากมากไปน้อย คือ โรงไฟฟ้า (21.3%) กระบวนการผลิตในภาคอุตสาหกรรม (16.8%) เชื้อเพลิงในภาคการขนส่ง (14.0%) และผลิตผลภาคการเกษตร (12.5%) ทั้ง 5 อันดับนี้มีส่วนร่วมรวมกันถึง 64.4%

 

 

ถ้าคิดเป็นชนิดของก๊าซเรือนกระจก พบว่า ก๊าซ 3 ชนิด คือ คาร์บอนไดอ๊อกไซด์ (72% มาจากเชื้อเพลิงฟอสซิล) มีเทน (18% มาจากการเน่าเปื่อยของพืชซึ่งลดได้ค่อนข้างยาก) และ ไนตรัสอ๊อกไซด์ (9% มาจากปุ๋ยเคมี) มีส่วนทำให้โลกร้อนรวมกันถึง 99%


สรุปอีกครั้งหนึ่งว่า โรงไฟฟ้าเป็นตัวปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากที่สุด โดยทิ้งห่างอันดับสองคือกระบวนการผลิตในภาคอุตสาหกรรมถึง 4.5% ดังนั้น ถ้าจะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้ได้ อย่างเป็นมรรคเป็นผลและมีพลังแล้ว เราจึงควรเน้นไปที่การลดในภาคการผลิตไฟฟ้าเป็นหลัก


โจทย์ต่อไปก็คือ ลดได้จริงหรือ และลดได้อย่างไร


แต่ก่อนที่จะตอบโจทย์นี้ เรามาดูข้อเสนอและความเป็นจริงบางอย่างที่ได้เกิดขึ้นแล้ว เพื่อสร้างความมั่นใจในเบื้องต้นว่า “มันเป็นไปได้จริง ๆ”

 

3. ข้อเสนอและความเป็นจริงบางอย่าง


3.1
ข้อเสนอ


องค์กรที่ชื่อว่า การพัฒนาเทคโนโลยีพลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy Technology Development- RETD) ได้เสนอในที่ข้างๆ ห้องประชุมโลกร้อน (side-event) ที่กรุงโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก (COP15) เมื่อปลายปี 2552 ว่า ชาวโลกทั้งมวลจะต้องลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดอ๊อกไซด์ลง 85% ของระดับปัจจุบันภายในปี 2050 หรืออีก 40 ปีข้างหน้า

กราฟซ้ายมือ เป็นปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ทาง
RETD ต้องการให้ปล่อยได้ในปีต่าง ๆ จนถึงปี ค.. 2050 สำหรับกราฟทางขวามือเป็นการคาดหมายว่าจะต้องใช้พลังงานไฟฟ้าที่ผลิตจากพลังงานหมุนเวียนถึง 75% ของพลังงานไฟฟ้าทั้งหมดในปี 2050 ที่เหลือเป็นการผลิตจากนิวเคลียร์ ก๊าซธรรมชาติ ถ่านหินและอื่น ๆ


 

RETD เป็นองค์กรที่มีชื่อเสียง เขาย่อมมีเหตุผล (ซึ่งผมจะกล่าวต่อไป) ว่าจะทำอย่างไรจึงจะเป็นไปตามที่คาดหมายไว้ แต่ก่อนอื่น เรามาดูความเป็นจริงที่กลุ่มสหภาพยุโรปได้ดำเนินการไปแล้ว


3.2
ความเป็นจริงบางอย่าง


เพื่อเป็นการยืนยันว่า การใช้พลังงานหมุนเวียนแทนพลังงานฟอสซิลนั้นเป็นไปได้จริง ผมจึงได้นำข้อมูลการก่อสร้างโรงไฟฟ้าใหม่ของกลุ่มประเทศสหภาพยุโรปในปี 2551 (.. 2008) ซึ่งมีจำนวนทั้งหมด 23,851 เมกกะวัตต์ (ใกล้เคียงกับที่ประเทศไทยเรามีอยู่ทั้งหมด)

 

 

จากกราฟ เราจะเห็นได้ว่าการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลมมีมากเป็นอันดับหนึ่ง คือ 8,484 เมกกะวัตต์ สำหรับอันดับสามคือ พลังงานจากโซลาร์เซล (หรือจากแสงอาทิตย์) ถึง 4,200 เมกกะวัตต์


โรงไฟฟ้าทั้งสองประเภทนี้แทบจะไม่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเลย ที่น่าสังเกต คือ มีการสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เพียง 60 เมกกะวัตต์เท่านั้น


ในขณะที่ประเทศไทยเรา (โดยกลุ่มพ่อค้าพลังงานและนักการเมือง) กำลังจะตัดสินใจว่าจะสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์จำนวน 2,000 เมกกะวัตต์ที่จังหวัดใดภายในเดือนพฤษภาคมนี้


ผมเข้าใจว่า แรงผลักดันในเรื่องนี้ก็คงไม่ต่างอะไรการของบประมาณในกระทรวงสาธารณะสุขที่ถูกตรวจสอบว่าส่อไปในทางทุจริตไปแล้ว

 

4. นโยบายสำคัญเพื่อการเปลี่ยนแปลงโลก คืออะไร?


ผู้ที่ไม่เห็นด้วยกับการสร้างโรงไฟฟ้าจากพลังงานลม พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานชีวมวลฯลฯ กล่าวว่าจะทำให้ต้นทุนค่าไฟฟ้าสูงขึ้น เป็นความจริงหรือไม่


ผมขอเรียนว่า เป็นความจริงเพียงบางส่วน แต่ก็เป็นความเท็จบางส่วน


ที่เป็นความเท็จ เช่น โรงไฟฟ้าชีวมวลที่ใช้น้ำเสียจากโรงงานมันสำปะหลัง ขี้หมู โรงงานสกัดน้ำมันปาล์ม นอกจากจะเป็นการลดการปล่อยน้ำเสียลงในคูคลองสาธารณะแล้ว ค่าไฟฟ้าที่ผลิตได้ยังสามารถได้ทุนคืนภายในเวลาไม่เกิน 6 ปี ซึ่งไม่มีโรงไฟฟ้าพลังงานฟอสซิลประเภทใดสามารถทำได้


ในส่วนที่เป็นความจริง คือพลังงานแสงอาทิตย์ที่มีต้นทุนสูงมาก และพลังงานลมซึ่งยังมีต้นทุนสูงกว่าโรงไฟฟ้าพลังงานฟอสซิลอยู่เล็กน้อย


โจทย์ที่ต้องคิดและแก้ไขก็คือ รัฐบาลจะต้องทำอย่างไรเพื่อให้ธุรกิจไฟฟ้าที่ผลิตจากพลังงานหมุนเวียน (ซึ่งไม่ปล่อยก๊าซเรือนกระจก) สามารถผลิตได้โดยมีกำไรพอสมควรต่อการลงทุน


การกระทำของรัฐบาลเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว คือมาตรการทางกฎหมายที่เรียกว่า “Feed-in Tariffs” ตามชื่อของเอกสารข้างต้น หรือบางคนเรียกให้กระชับขึ้นว่า “Feed-in-Law”


ผมขอแปลตามความหมายที่แท้จริงว่า “กฎหมายว่าด้วยการป้อนกระแสไฟฟ้าที่ผลิตจากพลังงานหมุนเวียน” นี่คือเหตุผลที่ผมไม่ยอมแปลชื่อเอกสารนี้ตั้งแต่ตอนต้นของบทความ


มีบางท่านอาจรู้สึกแย้งอยู่ในใจว่า การใช้ไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนจะทำให้ผู้บริโภคต้องจ่ายค่าไฟฟ้าแพงขึ้น


ข้อแย้งนี้มีความจริงอยู่บ้างในเรื่องต้นทุนที่ต่างกันระหว่างพลังงานฟอสซิลกับพลังงานหมุนเวียน แต่นับวันต้นทุนจากพลังงานฟอสซิลจะเพิ่มสูงขึ้น ในขณะที่ต้นทุนพลังงานหมุนเวียนจะลดลง


จากการศึกษาของรัฐบาลเยอรมนีพบว่า ต้นทุนของสองชนิดนี้จะเท่ากันในประมาณปี ค.. 2035 หรืออีก 25 ปีข้างหน้า

ตัวอย่างที่เกิดขึ้นแล้วก็คือ ค่าไฟฟ้าที่ผลิตจากกังหันลมในปี 2004 และ 2010 ได้ลดลงเหลือเพียงร้อยละ 44 และร้อยละ 36 เมื่อเทียบกับการผลิตในปี 1991


ในปัจจุบันค่าไฟฟ้าจากกังหันลมในประเทศเยอรมนีราคาหน่วยละประมาณ 3.5 บาทเท่านั้น ราคานี้คือราคาที่ผู้บริโภคในระดับครัวเรือนจ่ายในประเทศไทย


เท่านี้ยังไม่พอ Sir Nicholas Stern ที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรีประเทศอังกฤษและหัวหน้าอีกหลายองค์กรกล่าวไว้ในเอกสาร WFC ว่า “ปัญหาโลกร้อนคือความผิดพลาดทางการตลาดที่ใหญ่ที่สุดที่ชาวโลกเคยประสบมา” ที่เป็นเช่นนี้เพราะ การตลาดของเชื้อเพลิงฟอสซิลไม่ได้คิดต้นทุนภายนอก (external cost) ซึ่งเป็นต้นเหตุทำให้เกิดปัญหามลพิษในสิ่งแวดล้อมและสภาวะโลกร้อน

 

5. กฎหมายว่าด้วยการป้อนกระแสไฟฟ้าที่ผลิตจากพลังงานหมุนเวียน


หลักการของกฎหมาย Feed-in Law ง่ายมากครับ คือ มีกฎหมายบังคับให้บริษัทที่รับจ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับผู้ใช้ปลายทางว่า จะต้องรับซื้อกระแสไฟฟ้าที่ผลิตจากเชื้อเพลิงพลังงานหมุนเวียนในราคาพิเศษ ในช่วงเวลาที่แน่นอนคือประมาณ 20 ปี ค่าใช้จ่ายที่เพิ่มสูงขึ้นผู้ใช้ไฟฟ้าทั้งหมดต้องร่วมกันรับผิดชอบ


ในปี 2549 ภายใต้กฎหมายฉบับนี้ทำให้ประเทศเยอรมนีมีการผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนประมาณ 11.8% ของไฟฟ้าทั้งหมด ภาระที่เพิ่มขึ้นทำให้แต่ละครอบครัวต้องใช้ค่าไฟฟ้าเพิ่มขึ้นประมาณครอบครัวละ 75 บาทต่อเดือน


ถ้าโยงกลับมาเป็นกรณีประเทศไทยเรา เนื่องจากชาวเยอรมนีใช้ไฟฟ้าประมาณ 3 เท่าของประเทศไทย ดังนั้น ทำให้เราคาดการณ์ได้ว่า ถ้าประเทศไทยสามารถผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนสัก 6% (ซึ่งต้องใช้เวลาอีกหลายปี) ด้วยใช้กฎหมายฉบับนี้


ครอบครัวคนไทยจะต้องจ่ายค่าไฟฟ้าเพิ่มขึ้นเพียงเดือนละ 13 บาทเท่านั้น

 

6. ผลดีด้านอื่น ๆ


ในปี พ.. 2549 ประเทศเยอรมนี สามารถลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดอ๊อกไซด์ได้ถึง 97 ล้านตัน หรือประมาณ 1.4% ของการปล่อยทั้งโลกรวมกัน ในด้านการจ้างงาน จากพลังงานหมุนเวียนในภาคไฟฟ้าเพียงอย่างเดียวมีการจ้างแรงงานถึง 2.14 แสนคน


มีการลงทุนปีละ 8.7 พันล้านยูโร หรือ 4.3 แสนล้านบาท ใกล้เคียงกับกรณีมาบตาพุดบ้านเรา


ในด้านความมั่นคงด้านพลังงาน เชื้อเพลิงพวกนี้ไม่มีวันหมดไปจากโลก ในด้านความมั่นคงของผู้ลงทุน นักลงทุนจะไปวิตกกังวลอะไรในเมื่อมีสัญญาผูกพันถึง 20 ปี


ในด้านการตลาดที่เป็นธรรม กฎหมายนี้ได้ระบุไว้ชัดเจนว่า ที่ใดลมไม่แรงมากแต่ยังสามารถผลิตไฟฟ้าได้ ให้รับซื้อในราคาที่แพงหน่อย ที่ใดลมแรงมากให้รับซื้อในราคาที่ถูกลงหน่อย


ในช่วง 5 ปีแรก ให้รับซื้อในราคาสูงหน่อย เพื่อให้ผู้ลงทุนได้รับผลตอบแทนสูงในช่วงแรก แต่ในอีก 15 ปีหลังให้ซื้อในราคาลดลงหน่อย


บริษัทใดที่ใช้เทคโนโลยีไม่สูงนัก ให้เปลี่ยนเป็นเทคโนโลยีใหม่ แล้วให้จ่ายค่าไฟฟ้าในราคาที่สูงขึ้น ผู้ใดลงไปผลิตในทะเล (เพราะบนพื้นดินเต็มความสามารถแล้ว) ค่าไฟฟ้าก็สูงกว่าผลิตจากบนบก


นี่ซิครับ คือการเอื้ออาทรที่แท้จริง


คำว่า Change ที่นักการเมืองใหญ่ ๆ ชอบพูดกันนั้น หาได้มีมาตรการใด ๆ รองรับเหมือนกับที่ผมได้กล่าวมาแล้วเลยครับ พลเมืองอย่างเราต้องรู้ให้เท่าทันครับ

บล็อกของ ประสาท มีแต้ม

ประสาท มีแต้ม
เราเคยสงสัยและตั้งคำถามเสมอมาว่า ทำไมราคาน้ำมันสำเร็จรูป (รวมทั้งราคายางพารา) ในภูมิภาคเอเซียจึงถูกกำหนดจากประเทศสิงคโปร์
ประสาท มีแต้ม
ตลอดช่วงเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ราคาน้ำมันดิบและราคาน้ำมันที่ปั๊มในบ้านเราได้เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง นักวิเคราะห์บางคนคาดการณ์ว่าสิ้นปีนี้ราคาน้ำมันดิบจะสูงถึง 85 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล โดยที่ราคาเมื่อต้นเดือนมิถุนายนได้ขยับจาก 62 ถึง 68 ภายในเวลาเจ็ดวันเท่านั้น
ประสาท มีแต้ม
1. คำนำ บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ข้อ คือ หนึ่ง ให้เห็นตัวเลขค่าใช้จ่ายด้านไฟฟ้าของคนไทยโดยเฉลี่ยซึ่งค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับรายได้ และหากแผนผลิตไฟฟ้าดังกล่าวมีปัญหาแล้วจะส่งผลกระทบต่อผู้ใช้ไฟฟ้าอย่างไร สอง เพื่อเล่าถึงการจัดทำแผนผลิตไฟฟ้าที่ผูกขาดโดย "กลุ่มผู้เชี่ยวชาญ" จำนวนน้อยตลอดมาและจะชี้ให้เห็นถึงบางสิ่งที่ผมคิดว่า "น่าจะไม่ถูกต้อง" สาม หากท่านผู้อ่านได้เห็นปัญหาในข้อสองแล้ว จะได้เห็นความจำเป็นของ "การเมืองภาคประชาชน" ในการตรวจสอบโครงการของรัฐมากขึ้น
ประสาท มีแต้ม
1. คำนำ เพื่อให้ท่านผู้อ่านได้ตัดสินใจว่าจะอ่านบทความนี้ต่อไปหรือไม่ ผมขอนำประเด็นสำคัญมาเสนอก่อน  ประเด็นคือการวางแผนผลิตก๊าซที่ผิดพลาดทำให้คนไทยทุกคนต้องควักเงินในกระเป๋าเพิ่มขึ้น จากรายงานประจำปี 2551 ของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) พบว่า ในปี 2551 บริษัท ปตท. ต้องจ่ายค่า "ไม่ซื้อก็ต้องจ่าย" ก๊าซจากโครงการไทย-มาเลเซีย (ซึ่งเป็นโครงการสร้างความขัดแย้งมาตั้งแต่รัฐบาลชวน หลีกภัย และทักษิณ ชินวัตร จนถึงปัจจุบัน) เป็นจำนวน 13,716 ล้านบาท
ประสาท มีแต้ม
ในขณะที่วิกฤตเศรษฐกิจโลกที่เริ่มต้นจากถนนวอลล์สตรีทในสหรัฐอเมริกากำลังลุกลามไปอย่างรวดเร็วราวกับลาวาภูเขาไฟไปสู่ทุกถนนของโลก ในภาคใต้ของประเทศไทยโดยหน่วยงานของรัฐและการนิคมอุตสาหกรรมก็กำลังดำเนินการให้มีแผนพัฒนาภาคใต้ด้วยโครงการต่าง ๆ มากมาย ทั้งโดยเปิดเผยและแอบแฝง ตัวอย่างของโครงการเหล่านี้ได้แก่ นิคมอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ในจังหวัดนครศรีธรรมราช โครงการอุตสาหกรรมเหล็กต้นน้ำ จังหวัดชุมพรและสุราษฎร์ธานี โครงการขุดเจาะน้ำมันของบริษัทเซฟรอน ที่นครศรีธรรมราช ตลอดจนโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ถึง 3 โรง นอกจากนี้ยังมีนิคมอุตสาหกรรมที่จังหวัดตรัง และท่าเทียบเรือน้ำลึกในจังหวัดสงขลาและอีกหลายจังหวัด…
ประสาท มีแต้ม
  เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2552 กระทรวงพลังงานในฐานะผู้รับผิดชอบหรือจะเรียกว่าผู้จัดทำแผนผลิตไฟฟ้าเองได้จัดรับฟังความคิดเห็นของประชาชนเพื่อปรับปรุง "แผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้า" ในช่วงปี 2551 ถึง 2564 ซึ่งเป็นแผนที่ได้จัดทำไว้ก่อนปี 2551 ในการรับฟังครั้งนี้ก็เพื่อจะได้ปรับปรุงเป็นครั้งที่ 2 สาเหตุที่ต้องปรับปรุงก็เพราะปัญหาเศรษฐกิจถดถอยทั้งในระดับโลกและในระดับประเทศไทยด้วยนักวิชาการอิสระด้านพลังงานที่ไม่ใช่ข้าราชการของกระทรวงพลังงานก็ได้ออกมาแสดงความคิดเห็นที่น่าสนใจหลายอย่าง ขณะเดียวกันกลุ่มชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบจากโรงไฟฟ้าก็ได้ตั้งคำถามพร้อมแผ่นผ้าด้วยข้อความสั้น ๆ แต่เข้าใจง่ายว่า "…
ประสาท มีแต้ม
คำนำ เมื่อธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ประสบปัญหาขายไม่ได้เนื่องจากได้รับผลกระทบจากวิกฤติเศรษฐกิจของโลก นักการเมืองรวมทั้งว่าที่รัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องก็ได้เสนอมาตรการลดหย่อนภาษีค่าโอนบ้าน โดยจะเริ่มต้นตั้งแต่ปี 2552 เป็นต้นไป ผมขออนุญาตไม่แสดงความคิดเห็นในประเด็นดังกล่าวข้างต้น แต่ขอใช้หลักคิดเดียวกันนี้เพื่อตั้งคำถามว่า ทำไมรัฐบาลจึงไม่ใช้มาตรการทางภาษีเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการพืชน้ำมันซึ่งได้แก่ ไบโอดีเซล และแก๊สโซฮอล์ ซึ่งโยงใยเกี่ยวเนื่องกันตั้งแต่เจ้าของโรงงานจนถึงเกษตรกรผู้ปลูกพืชน้ำมัน ( ปาล์มน้ำมัน อ้อย ฯลฯ ) เหล่านี้บ้างเล่า?
ประสาท มีแต้ม
1. คำนำ เมื่อราคาน้ำมันลดลงมาจากลิตรละราว 40 บาทจากเมื่อ 4-5 เดือนก่อนมาอยู่ที่ราว ๆ 20 บาท ทำให้คนไทยเราก็รู้สึกสบายใจ บางคนถึงกับกล่าวว่า “ตอนนี้จะไปไหนมาไหนก็ไม่ค่อยได้คิดมากเหมือนเมื่อก่อนแล้ว” ในยุคที่การเมืองที่เต็มไปด้วยการฉ้อราษฎร์บังหลวง ผู้บริโภคจะพอใจอยู่กับตัวเลขที่อิงอยู่กับความรู้สึกเช่นนี้เพียงอย่างเดียวคงไม่ได้ เราจะต้องลุกขึ้นมาช่วยกันตรวจสอบ ถามหาความความเป็นธรรม ความพอดีอยู่ตลอดเวลา เมื่อพูดถึงความรู้สึกที่สบายใจขึ้นของคนไทยในขณะนี้ ทำให้ผมนึกเรื่อง “นัสรูดิน” ชายชาวอาหรับโบราณที่คนรุ่นหลังยังตัดสินไม่ได้ว่า เขาเป็นคนเฉลียวฉลาดหรือคนโง่กันแน่…
ประสาท มีแต้ม
1. คำนำ ก่อนจะเริ่มต้นเนื้อหา เรามาดูรูปการ์ตูนสนุก ๆ แต่บาดใจและอาจจะบาดตากันก่อนครับ ความหมายในภาพนี้ ไม่มีอะไรมาก นอกจากบอกว่านี่ไงหลักฐานที่พิสูจน์ว่าโลกเราร้อนขึ้นจริง สำหรับภาพนี้บอกว่า ผลการศึกษาพบว่าอุณหภูมิของน้ำในมหาสมุทรสูงขึ้น นักวิชาการ (และนักการเมือง) กำลังระดมกันแก้ปัญหาอย่างขยันขันแข็ง ขอขอบคุณเจ้าของภาพทั้งสองด้วย คราวนี้มาเข้าเรื่องกันครับ ขณะที่โลกของเรากำลังเผชิญกับวิกฤตการณ์ครั้งสำคัญ 4 ด้านพร้อม ๆ กัน คือ (1) วิกฤติภาวะโลกร้อน (2) วิกฤติพลังงานที่ทั้งขาดแคลน ราคาแพง ผูกขาดและก่อวิกฤติด้านอื่น ๆ (3) วิกฤติการเงินที่เพิ่งจะเกิดขึ้นหยก ๆ…
ประสาท มีแต้ม
คำนำ “...เวลานี้สังคมไทยมีอาการป่วยอย่างร้ายที่สุด คือ ป่วยทางปัญญา ขอให้พิจารณาดูเถิด เวลานี้ปัญหาสุขภาวะที่น่ากลัวที่สุดคือ ความป่วยทางปัญญา...” พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตโต) มีนาคม 2551 ท่ามกลางกระแสการคิดค้นเรื่อง “การเมืองใหม่” ซึ่งขณะนี้สังคมบางส่วนเริ่มเห็นภาพราง ๆ บ้างแล้วว่ามันเป็นอย่างไร แต่ยังไม่มีความชัดเจนมากนักว่า สังคมไทยจะก้าวไปสู่สภาพนั้นได้อย่างไร และสมมุติว่าเราสามารถเข้าไปสู่สภาพนั้นได้จริง ๆ แล้ว เราจะรักษาและพัฒนาการเมืองใหม่ให้ดียิ่งๆ ขึ้นไปอีกได้อย่างไร ในที่นี้ ผมจะขออนุญาตนำเสนอหลักการพื้นฐานมาใช้ตอบคำถามดังกล่าว ผมเรียกหลักการนี้ว่า “กฎ 3…
ประสาท มีแต้ม
เมื่อต้นเดือนเมษายน 2551 หนังสือพิมพ์หลายฉบับได้ลงข่าวว่า "พลังงานเผยไทยผลิตน้ำมันดิบสูงกว่าบรูไน คุยทดแทนนำเข้าปีนี้มหาศาล" (ไทยรัฐ 2 เมษายน 2551)    สาเหตุที่ผู้ให้ข่าวซึ่งก็คือข้าราชการระดับสูงของกระทรวงพลังงานได้นำประเทศไทยไปเทียบกับประเทศบรูไน ก็น่าจะเป็นเพราะว่าคนไทยเราทราบกันดีว่าประเทศบรูไนเป็นประเทศส่งออกน้ำมันรายหนึ่งของภูมิภาคนี้ ดังนั้นเมื่อประเทศไทยเราผลิตน้ำมันดิบได้มากกว่าก็น่าจะทำให้คนไทยเราหลงดีใจได้บ้าง  นาน ๆ คนไทยเราจะได้มีข่าวที่ทำให้ดีใจสักครั้ง   หลังจากอ่านข่าวนี้แล้ว ผมก็ได้ค้นหาความรู้เพิ่มเติมจากอินเทอร์เน็ตก็พบว่า…
ประสาท มีแต้ม
1. คำนำ ขณะนี้มีผู้คนจำนวนหนึ่งกำลังครุ่นคิดถึง "การเมืองใหม่" ซึ่งยังไม่เป็นที่แน่ชัดนักว่ามันคืออะไรกันแน่ ทราบแต่ว่า "การเมืองเดิม" ซึ่งก็คือการเมืองแบบตัวแทน (representative democracy) กำลังมีปัญหาหลายอย่างและรุนแรงขึ้นทุกขณะบทความนี้จะนำเสนอความล้มเหลวของ "การเมืองแบบตัวแทน" อย่างสั้นๆ พร้อมกับนำเสนอ "การเมืองแบบไฮเพอร์ (hyperpolitics)" ให้พอเป็นประกายเบื้องต้น หากสังคมนี้สนใจก็มีช่องทางให้ศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมกันต่อไป2. สาเหตุความล้มเหลวของการเมืองแบบตัวแทนเราท่องกันจนขึ้นใจมาตั้งแต่วัยเด็กแล้วว่า สาเหตุสำคัญของการมี "การเมืองแบบตัวแทน" คือเป็นเพราะคนมันเยอะ…