Skip to main content
 

“...ถ้าอุณหภูมิผิวน้ำทะเลสูงขึ้น 1 องศาเซียลเซียส ความถี่ที่จะเกิดพายุชนิดรุนแรงจะเพิ่มขึ้นอีก 31% ... ในปี พ.ศ. 2643 อุณหภูมิดังกล่าวจะเพิ่มขึ้นจากปัจจุบัน 2 องศา”  

“ผลการวิจัยพบว่า ค่าความเสียหายที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ อาจจะมากกว่าผลผลิตทางเศรษฐกิจของคนทั้งโลก ทั้งนี้ภายในก่อนปี พ.ศ. 2608”
 
1. คำนำ

ภายในระยะเวลาไม่ถึง 30 วันของปลายปี 2553 ภัยพิบัติจากธรรมชาติได้เกิดขึ้นกับประเทศไทยกว่าครึ่งประเทศ ไม่ว่าจะเป็นน้ำท่วมภาคอีสาน ภาคกลาง รวมทั้งพายุและดินถล่มในภาคใต้ และถ้าเราสังเกตให้ดีจะพบว่าในระหว่างที่คนไทยกำลังประสบภัยพิบัติอยู่ ในบางประเทศก็กำลังผจญกับภัยธรรมชาติอีกแบบหนึ่งคือภูเขาไฟระเบิด

บทความนี้จะไม่ขอพรรณนาถึงความเสียหายในภาพรวมที่เกิดขึ้น เพราะท่านผู้อ่านคงได้รับทราบจากสื่อต่างๆเรียบร้อยแล้ว แต่จะขอนำผลการวิจัยทั้งของนักวิทยาศาสตร์และบริษัทประกันภัย เพื่อที่จะอธิบายว่า (1) ทำไมภัยธรรมชาติ (โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากพายุขนาดใหญ่) จึงเกิดถี่และดุร้ายขึ้นกว่าแต่ก่อนมาก และ (2) บริษัทประกันภัยที่ใหญ่เป็นอันดับ 6 ของโลกได้ศึกษาเรื่องค่าเสียหายจากการประกันภัยในอนาคตว่าอย่างไร
 
2. ประวัติพายุในประเทศไทย

ในช่วง 50 ปีมานี้ ประเทศไทยเราได้ประสบกับภัยจากพายุหรือวาตภัยครั้งใหญ่ ๆ จำนวน 4 ครั้ง นับตั้งแต่ (1) พายุโซนร้อน
“แฮเรียต” ที่แหลมตะลุมพุก อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช ในปี 2505  (2) อีก 27 ปีต่อมา พายุไต้ฝุ่น “เกย์” พัดเข้าสู่จังหวัดชุมพร ปี 2532 (3) อีก 8 ปีถัดมาอีกพายุไต้ฝุ่น “ลินดา”  พฤศจิกายน 2540 ใน 11 จังหวัดภาคใต้และภาคตะวันออก  และล่าสุด (4) พายุดีเปรสชัน เมื่อ วันที่ 1  พฤศจิกายน 2553 โดยเริ่มขึ้นฝั่งที่จังหวัดปัตตานีด้วยความเร็ว 55 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เข้าสงขลา พัทลุง นครศรีธรรมราช ตรัง และออกจากกระบี่เวลา 13.00 น. ของวันรุ่งขึ้นด้วยความเร็วลม  45 กิโลเมตรต่อชั่วโมง  

ผมเองมีประสบการณ์ตรงถึง 3 ครั้ง คือ ครั้งแรกและสองครั้งหลัง โดยเฉพาะครั้งแรกผมอยู่ห่างจากแหลมตะลุมพุกที่มีคนเสียชีวิตและสูญหายประมาณหนึ่งพันคนเพียง 4 กิโลเมตร เกือบเอาชีวิตไม่รอดได้เห็นศพไม่น้อยกว่า 5 ศพและยังจำภาพติดตามาถึงทุกวันนี้

แม้ความเร็วลมในครั้งหลังสุดจะน้อยกว่าทุกครั้งที่ผ่านมา แต่ได้สร้างความเสียหายในทรัพย์สินเป็นจำนวนมาก อาจจะมากกว่าทุกครั้งที่ผ่านมาหลายเท่าตัว
           
3. ผลการวิจัยจากนักวิทยาศาสตร์ 

จากงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ที่ตีพิมพ์ในวารสาร
“Nature” (3 กันยายน 2008) พาดหัวว่า “พายุเกิดถี่ขึ้นเพราะปัญหาโลกร้อน” พร้อมเสริมว่า “ความเร็วสูงสุดของพายุโซนร้อนได้เพิ่มสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2524 เป็นต้นมา”  

ข้อโต้เถียงกันว่า ความแรงของลมพายุ ความถี่ในการเกิด และระยะเวลาในการเกิดพายุมีความสัมพันธ์กับภูมิอากาศของโลกที่เพิ่มสูงขึ้นหรือไม่ จากความรู้พื้นฐานทางฟิสิกส์และการศึกษาด้วยแบบจำลองทางคณิตศาสตร์พบว่า   น้ำในมหาสมุทร์ที่มีอุณหภูมิสูงขึ้นจะมีพลังงานมากขึ้น แล้วพลังงานนี้จะแปรเปลี่ยนเป็นพลังงานลม

รายงานฉบับนี้ยังบอกอีกว่า
“อุณหภูมิของน้ำที่ผิวบนของทะเลที่สูงขึ้น 1 องศาเซียลเซียส จะทำให้ความถี่ในเกิดพายุ (ชนิดความเร็วระดับสูงสุดและรองสูงสุด) ถึง 31%  คือจะเพิ่มขึ้นจากปีละ 13 ครั้งเป็น 17 ครั้ง ผลการศึกษาพบว่า ในปี  ค.ศ. 2100  หรืออีก 90 ปี อุณหภูมิของน้ำทะเลจะเพิ่มเป็น 2 องศาเซียลเซียส”

ด้วยข้อมูลดังกล่าว เราคงคาดการณ์ได้เองว่า ความถี่จะเพิ่มมากขึ้นแค่ไหน ประวัติของพายุในประเทศไทยที่ได้กล่าวมาแล้วในหัวข้อที่ 2 คงพอจะเป็นพยานได้ดีถึงแนวโน้วดังกล่าว
 
4. คำเตือนจากบริษัทประกันภัย

ปัจจุบัน ภัยธรรมชาติที่มีขนาดใหญ่ ๆ ได้เกิดขึ้นมากและบ่อยกว่าเมื่อ 50 ปีที่แล้วถึง 3 เท่าตัว และถ้าสถานการณ์ยังคงเป็นเช่นนี้  บริษัทประกันภัยที่ชื่อย่อว่า
CGNU ซึ่งเป็นบริษัทประกันภัยที่ใหญ่เป็นอันดับ 6 ของโลกและใหญ่ที่สุดในประเทศอังกฤษ ได้ทำการศึกษาแล้วพบว่า “ความสูญเสียจากภัยธรรมชาติทั่วโลกในปี พ.ศ. 2608  จะมากกว่าผลผลิตทางเศรษฐกิจของคนทั้งโลกรวมกัน”

เฉพาะพายุเฮอริเคน
“Katrina” เพียงครั้งเดียวในปี 2548 ที่รัฐนิวออร์ลีน สหรัฐอเมริกา บริษัทประกันภัยต้องจ่ายค่าเสียหายสูงถึง 6 หมื่นล้านดอลลาร์ (ประมาณ 2 ล้านล้านบาทหรืองบประมาณของรัฐบาลไทยปี 2553) แต่ความเสียหายที่เจ้าของทรัพย์ต้องเสียไปจะมากกว่านี้ประมาณ 3- 4  เท่าตัว  

รายงานอีกฉบับหนึ่งกล่าวว่า
“ในประเทศยากจนหรือประเทศกำลังพัฒนา คนส่วนใหญ่ก็ไม่มีปัญญาจะทำประกันภัย มีเพียงน้อยกว่าร้อยละ 10 ของทรัพย์สินส่วนบุคคลเท่านั้นที่ได้ทำประกันภัย”

เจ้าของร้านขายคอมพิวเตอร์ร้านหนึ่งในหาดใหญ่บอกผมว่า
“ปกติร้านเราจะทำประกันภัยรวมทั้งน้ำท่วมทุกปี แต่มาถึงตอนต่อสัญญาปีนี้ทางบริษัทประกันได้ตัดเงื่อนไขน้ำท่วมออกไป โดยไม่บอกให้ทางร้านรู้เลย ราวกับบริษัทเป็นนกรู้แฮะ เพื่อน ๆ ร้านอื่นก็โดนแบบนี้เหมือนกัน”
 
5. ทัศนะของนักการเมืองกับโลกร้อน

สำหรับสาเหตุของโลกร้อนที่ทำให้เกิดพายุบ่อยและแรงขึ้น นักวิทยาศาสตร์ชั้นนำของโลกได้สรุปตรงกันว่า มาจากการใช้พลังงานหลัก 3 ชนิด คือ ถ่านหิน น้ำมัน และก๊าซธรรมชาติรวมกันถึง 70% ของสาเหตุทั้งหมดที่มนุษย์ก่อขึ้น แต่ผู้นำทั้งระดับโลกและระดับประเทศไม่สนใจจะแก้ไขอย่างจริงยัง ทั้ง ๆ ที่มีทางเลือกจากพลังงานหมุนเวียน เช่น ลม แสงอาทิตย์ ชีวมวล เป็นต้น

ในเดือนมกราคม 2548 ประธานองค์กรความร่วมมือระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (
IPCC) ได้กล่าวในที่ประชุม 114 ประเทศว่า “ชาวโลกได้มาถึงระดับที่อันตรายเรียบร้อยแล้วเพราะระดับความเข้มข้นของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์อันตราย” พร้อมกับเรียกร้องให้ทั่วโลกช่วยกันลด “ในทันที” แต่ไม่มีอะไรเป็นมรรคเป็นผล   แม้กระทั่งการประชุมระดับโลกที่กรุงโคเปนเฮเกนเมื่อปลายปี 2552 ก็ล้มเหลวอย่างไม่เป็นท่า
 
6. สรุป

จากที่ได้กล่าวมาแล้ว ภัยธรรมชาติเป็นผลมาจากปัญหาโลกร้อนซึ่งเป็นสาเหตุระดับโลกเพียงอย่างเดียว แต่ในความเป็นจริงแล้ว ยังมีสาเหตุอื่น ๆ ที่ระดับประเทศและระดับท้องถิ่นได้ร่วมกันก่อขึ้นมา  เช่น ทิศทางการพัฒนาที่มุ่งแต่อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจหรือจีดีพี โดยไม่คำนึงถึงสมดุลของระบบนิเวศน์  การสนใจแต่ภาคการส่งออกของกลุ่มทุนต่างชาติและนายทุนชาติส่วนน้อย ไม่สนใจปัญหาของประชาชนส่วนใหญ่ เป็นต้น

เมื่อสองภัยนี้มาประสาน คนส่วนใหญ่ก็เดือดร้อนอย่างที่ทราบกันแล้วและจะยิ่งรุนแรงกว่าเดิม จนสักวันหนึ่งแม้รัฐบาลและระบบทุนเองก็จะประสบกับภัยพิบัติเช่นกัน

แต่คราวนี้อาจจะไม่ใช่ภัยธรรมชาติแล้วนะครับ แต่จะเป็น “ภัยสังคม” ในความหมายของจริงที่เราเริ่มเห็นลางๆ กันบ้างแล้วนั่นเอง. 

 

 

บล็อกของ ประสาท มีแต้ม

ประสาท มีแต้ม
เราเคยสงสัยและตั้งคำถามเสมอมาว่า ทำไมราคาน้ำมันสำเร็จรูป (รวมทั้งราคายางพารา) ในภูมิภาคเอเซียจึงถูกกำหนดจากประเทศสิงคโปร์
ประสาท มีแต้ม
ตลอดช่วงเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ราคาน้ำมันดิบและราคาน้ำมันที่ปั๊มในบ้านเราได้เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง นักวิเคราะห์บางคนคาดการณ์ว่าสิ้นปีนี้ราคาน้ำมันดิบจะสูงถึง 85 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล โดยที่ราคาเมื่อต้นเดือนมิถุนายนได้ขยับจาก 62 ถึง 68 ภายในเวลาเจ็ดวันเท่านั้น
ประสาท มีแต้ม
1. คำนำ บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ข้อ คือ หนึ่ง ให้เห็นตัวเลขค่าใช้จ่ายด้านไฟฟ้าของคนไทยโดยเฉลี่ยซึ่งค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับรายได้ และหากแผนผลิตไฟฟ้าดังกล่าวมีปัญหาแล้วจะส่งผลกระทบต่อผู้ใช้ไฟฟ้าอย่างไร สอง เพื่อเล่าถึงการจัดทำแผนผลิตไฟฟ้าที่ผูกขาดโดย "กลุ่มผู้เชี่ยวชาญ" จำนวนน้อยตลอดมาและจะชี้ให้เห็นถึงบางสิ่งที่ผมคิดว่า "น่าจะไม่ถูกต้อง" สาม หากท่านผู้อ่านได้เห็นปัญหาในข้อสองแล้ว จะได้เห็นความจำเป็นของ "การเมืองภาคประชาชน" ในการตรวจสอบโครงการของรัฐมากขึ้น
ประสาท มีแต้ม
1. คำนำ เพื่อให้ท่านผู้อ่านได้ตัดสินใจว่าจะอ่านบทความนี้ต่อไปหรือไม่ ผมขอนำประเด็นสำคัญมาเสนอก่อน  ประเด็นคือการวางแผนผลิตก๊าซที่ผิดพลาดทำให้คนไทยทุกคนต้องควักเงินในกระเป๋าเพิ่มขึ้น จากรายงานประจำปี 2551 ของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) พบว่า ในปี 2551 บริษัท ปตท. ต้องจ่ายค่า "ไม่ซื้อก็ต้องจ่าย" ก๊าซจากโครงการไทย-มาเลเซีย (ซึ่งเป็นโครงการสร้างความขัดแย้งมาตั้งแต่รัฐบาลชวน หลีกภัย และทักษิณ ชินวัตร จนถึงปัจจุบัน) เป็นจำนวน 13,716 ล้านบาท
ประสาท มีแต้ม
ในขณะที่วิกฤตเศรษฐกิจโลกที่เริ่มต้นจากถนนวอลล์สตรีทในสหรัฐอเมริกากำลังลุกลามไปอย่างรวดเร็วราวกับลาวาภูเขาไฟไปสู่ทุกถนนของโลก ในภาคใต้ของประเทศไทยโดยหน่วยงานของรัฐและการนิคมอุตสาหกรรมก็กำลังดำเนินการให้มีแผนพัฒนาภาคใต้ด้วยโครงการต่าง ๆ มากมาย ทั้งโดยเปิดเผยและแอบแฝง ตัวอย่างของโครงการเหล่านี้ได้แก่ นิคมอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ในจังหวัดนครศรีธรรมราช โครงการอุตสาหกรรมเหล็กต้นน้ำ จังหวัดชุมพรและสุราษฎร์ธานี โครงการขุดเจาะน้ำมันของบริษัทเซฟรอน ที่นครศรีธรรมราช ตลอดจนโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ถึง 3 โรง นอกจากนี้ยังมีนิคมอุตสาหกรรมที่จังหวัดตรัง และท่าเทียบเรือน้ำลึกในจังหวัดสงขลาและอีกหลายจังหวัด…
ประสาท มีแต้ม
  เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2552 กระทรวงพลังงานในฐานะผู้รับผิดชอบหรือจะเรียกว่าผู้จัดทำแผนผลิตไฟฟ้าเองได้จัดรับฟังความคิดเห็นของประชาชนเพื่อปรับปรุง "แผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้า" ในช่วงปี 2551 ถึง 2564 ซึ่งเป็นแผนที่ได้จัดทำไว้ก่อนปี 2551 ในการรับฟังครั้งนี้ก็เพื่อจะได้ปรับปรุงเป็นครั้งที่ 2 สาเหตุที่ต้องปรับปรุงก็เพราะปัญหาเศรษฐกิจถดถอยทั้งในระดับโลกและในระดับประเทศไทยด้วยนักวิชาการอิสระด้านพลังงานที่ไม่ใช่ข้าราชการของกระทรวงพลังงานก็ได้ออกมาแสดงความคิดเห็นที่น่าสนใจหลายอย่าง ขณะเดียวกันกลุ่มชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบจากโรงไฟฟ้าก็ได้ตั้งคำถามพร้อมแผ่นผ้าด้วยข้อความสั้น ๆ แต่เข้าใจง่ายว่า "…
ประสาท มีแต้ม
คำนำ เมื่อธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ประสบปัญหาขายไม่ได้เนื่องจากได้รับผลกระทบจากวิกฤติเศรษฐกิจของโลก นักการเมืองรวมทั้งว่าที่รัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องก็ได้เสนอมาตรการลดหย่อนภาษีค่าโอนบ้าน โดยจะเริ่มต้นตั้งแต่ปี 2552 เป็นต้นไป ผมขออนุญาตไม่แสดงความคิดเห็นในประเด็นดังกล่าวข้างต้น แต่ขอใช้หลักคิดเดียวกันนี้เพื่อตั้งคำถามว่า ทำไมรัฐบาลจึงไม่ใช้มาตรการทางภาษีเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการพืชน้ำมันซึ่งได้แก่ ไบโอดีเซล และแก๊สโซฮอล์ ซึ่งโยงใยเกี่ยวเนื่องกันตั้งแต่เจ้าของโรงงานจนถึงเกษตรกรผู้ปลูกพืชน้ำมัน ( ปาล์มน้ำมัน อ้อย ฯลฯ ) เหล่านี้บ้างเล่า?
ประสาท มีแต้ม
1. คำนำ เมื่อราคาน้ำมันลดลงมาจากลิตรละราว 40 บาทจากเมื่อ 4-5 เดือนก่อนมาอยู่ที่ราว ๆ 20 บาท ทำให้คนไทยเราก็รู้สึกสบายใจ บางคนถึงกับกล่าวว่า “ตอนนี้จะไปไหนมาไหนก็ไม่ค่อยได้คิดมากเหมือนเมื่อก่อนแล้ว” ในยุคที่การเมืองที่เต็มไปด้วยการฉ้อราษฎร์บังหลวง ผู้บริโภคจะพอใจอยู่กับตัวเลขที่อิงอยู่กับความรู้สึกเช่นนี้เพียงอย่างเดียวคงไม่ได้ เราจะต้องลุกขึ้นมาช่วยกันตรวจสอบ ถามหาความความเป็นธรรม ความพอดีอยู่ตลอดเวลา เมื่อพูดถึงความรู้สึกที่สบายใจขึ้นของคนไทยในขณะนี้ ทำให้ผมนึกเรื่อง “นัสรูดิน” ชายชาวอาหรับโบราณที่คนรุ่นหลังยังตัดสินไม่ได้ว่า เขาเป็นคนเฉลียวฉลาดหรือคนโง่กันแน่…
ประสาท มีแต้ม
1. คำนำ ก่อนจะเริ่มต้นเนื้อหา เรามาดูรูปการ์ตูนสนุก ๆ แต่บาดใจและอาจจะบาดตากันก่อนครับ ความหมายในภาพนี้ ไม่มีอะไรมาก นอกจากบอกว่านี่ไงหลักฐานที่พิสูจน์ว่าโลกเราร้อนขึ้นจริง สำหรับภาพนี้บอกว่า ผลการศึกษาพบว่าอุณหภูมิของน้ำในมหาสมุทรสูงขึ้น นักวิชาการ (และนักการเมือง) กำลังระดมกันแก้ปัญหาอย่างขยันขันแข็ง ขอขอบคุณเจ้าของภาพทั้งสองด้วย คราวนี้มาเข้าเรื่องกันครับ ขณะที่โลกของเรากำลังเผชิญกับวิกฤตการณ์ครั้งสำคัญ 4 ด้านพร้อม ๆ กัน คือ (1) วิกฤติภาวะโลกร้อน (2) วิกฤติพลังงานที่ทั้งขาดแคลน ราคาแพง ผูกขาดและก่อวิกฤติด้านอื่น ๆ (3) วิกฤติการเงินที่เพิ่งจะเกิดขึ้นหยก ๆ…
ประสาท มีแต้ม
คำนำ “...เวลานี้สังคมไทยมีอาการป่วยอย่างร้ายที่สุด คือ ป่วยทางปัญญา ขอให้พิจารณาดูเถิด เวลานี้ปัญหาสุขภาวะที่น่ากลัวที่สุดคือ ความป่วยทางปัญญา...” พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตโต) มีนาคม 2551 ท่ามกลางกระแสการคิดค้นเรื่อง “การเมืองใหม่” ซึ่งขณะนี้สังคมบางส่วนเริ่มเห็นภาพราง ๆ บ้างแล้วว่ามันเป็นอย่างไร แต่ยังไม่มีความชัดเจนมากนักว่า สังคมไทยจะก้าวไปสู่สภาพนั้นได้อย่างไร และสมมุติว่าเราสามารถเข้าไปสู่สภาพนั้นได้จริง ๆ แล้ว เราจะรักษาและพัฒนาการเมืองใหม่ให้ดียิ่งๆ ขึ้นไปอีกได้อย่างไร ในที่นี้ ผมจะขออนุญาตนำเสนอหลักการพื้นฐานมาใช้ตอบคำถามดังกล่าว ผมเรียกหลักการนี้ว่า “กฎ 3…
ประสาท มีแต้ม
เมื่อต้นเดือนเมษายน 2551 หนังสือพิมพ์หลายฉบับได้ลงข่าวว่า "พลังงานเผยไทยผลิตน้ำมันดิบสูงกว่าบรูไน คุยทดแทนนำเข้าปีนี้มหาศาล" (ไทยรัฐ 2 เมษายน 2551)    สาเหตุที่ผู้ให้ข่าวซึ่งก็คือข้าราชการระดับสูงของกระทรวงพลังงานได้นำประเทศไทยไปเทียบกับประเทศบรูไน ก็น่าจะเป็นเพราะว่าคนไทยเราทราบกันดีว่าประเทศบรูไนเป็นประเทศส่งออกน้ำมันรายหนึ่งของภูมิภาคนี้ ดังนั้นเมื่อประเทศไทยเราผลิตน้ำมันดิบได้มากกว่าก็น่าจะทำให้คนไทยเราหลงดีใจได้บ้าง  นาน ๆ คนไทยเราจะได้มีข่าวที่ทำให้ดีใจสักครั้ง   หลังจากอ่านข่าวนี้แล้ว ผมก็ได้ค้นหาความรู้เพิ่มเติมจากอินเทอร์เน็ตก็พบว่า…
ประสาท มีแต้ม
1. คำนำ ขณะนี้มีผู้คนจำนวนหนึ่งกำลังครุ่นคิดถึง "การเมืองใหม่" ซึ่งยังไม่เป็นที่แน่ชัดนักว่ามันคืออะไรกันแน่ ทราบแต่ว่า "การเมืองเดิม" ซึ่งก็คือการเมืองแบบตัวแทน (representative democracy) กำลังมีปัญหาหลายอย่างและรุนแรงขึ้นทุกขณะบทความนี้จะนำเสนอความล้มเหลวของ "การเมืองแบบตัวแทน" อย่างสั้นๆ พร้อมกับนำเสนอ "การเมืองแบบไฮเพอร์ (hyperpolitics)" ให้พอเป็นประกายเบื้องต้น หากสังคมนี้สนใจก็มีช่องทางให้ศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมกันต่อไป2. สาเหตุความล้มเหลวของการเมืองแบบตัวแทนเราท่องกันจนขึ้นใจมาตั้งแต่วัยเด็กแล้วว่า สาเหตุสำคัญของการมี "การเมืองแบบตัวแทน" คือเป็นเพราะคนมันเยอะ…