Skip to main content

 

นักวิชาการไทยจำนวนมากอธิบายอะไรได้หลายอย่างยกเว้นสังคมไทยในแบบที่มันเป็นอยู่ เราจะได้ยินหลายคนสรุปง่ายๆ ว่ามันเข้าใจไม่ได้ ไม่เป็นสมัยใหม่ หรือเป็นอะไรก็ตามที่ที่สุดแล้วเราอาจพบว่ามันเป็นแค่การตั้งชื่อกันเล่นๆ ที่ชวนให้เรามองมันได้หยาบขึ้นเท่านั้น ไม่แน่ว่านิสัยแบบนี้อาจติดมากับการศึกษาที่พวกเราพบเจอมาตลอดชีวิต คือตัวเราเองและสิ่งที่เราเจอมันไม่มีค่าอะไรมากพอที่จะให้คนอื่นรับฟังเท่าๆ กับเหล่านักคิดในตำนานและตำราที่ได้รับความยอมรับว่าถูกต้อง และมักจะเป็นเหตุแห่งคะแนนของเรา นี่เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อมีการทัศนศึกษา เมื่อเราต้องสรุปว่าเราเรียนรู้อะไรมา เราจะสรุปสิ่งที่เราได้เรียนรู้ออกมาไม่ต่างจากสิ่งที่เกิดขึ้นในใบโฆษณาหรือป้ายให้ข้อมูล แม้ว่าวันนั้นเราจะไม่มีสมาธิเลยเพราะแม่โทรมาบอกว่าหมาตาย สิ่งที่เราสรุปออกมาก็จะเป็นปีที่สถานที่นั้นก่อตั้ง ชื่อผู้อำนวยการ และอื่นๆ ส่วนความเศร้าของเราที่ปะทะกับพื้นที่นั้น เราทำเหมือนกับว่ามันไม่เคยเกิดขึ้นจริง และไม่ได้เรียนรู้อะไรเลยจากมัน 

พี่เจนเรียกตัวเองว่านักเขียนศิลปะ นักวิจารณ์ศิลปะ แต่ความสนใจพี่เจนมีต่อโลกนั้นมากไปกว่าโลกของศิลปะ เขาคิดว่าความรู้และอื่นๆ ของโลกอาจจะดีขึ้นได้หากลักษณะบางอย่างของวรรณกรรมและศิลปะถูกเปิดเผยว่ามีอยู่และแบ่งปันออกไปสู่แวดวงต่างๆ (รวมไปถึงแบ่งปันกลับเข้าไปในแวดวงศิลปะและวรรณกรรมเองที่มักจะถูกเขาวิจารณ์ว่ามันขาดอยู่ในหลายโอกาส) คือความสามารถในการ มีเสียงเป็นของตัวเอง มองเห็นโลกและถ่ายทอดมันออกมาในแบบที่ตัวเองเห็น อนุญาตให้เรื่องส่วนตัวกลืนกลายไปกับเรื่องของโลก ก็เพราะมันเป็นเช่นนั้นจริงๆ เราต่างเริ่มมองโลกจากตัวเอง 

ราคาจ่ายของการซ่อนเสียงและแกล้งตาย 

ทว่าหลายครั้งเราเห็นนักวิชาการ (หรือใครๆ) สบายใจที่จะซ่อนน้ำเสียงของตัวเอง นั่นทำให้ การแบ่งปันหรือสิ่งที่ผมจะพูดถึงต่อไปนี้เป็นไปไม่ได้  

หากเรามีนักวิชาการไทยสองคนที่พูดในนามเพลโตกับโสเครติส (นักเรียนสองคนที่พูดในนามอาจารย์ของตัวเอง) สิ่งที่เราจะได้จากการแบ่งปันนั้นคือการแบ่งปันระหว่างร่างทรงเพลโตกับร่างทรงโสเครติส และนั่นจะไม่ให้อะไรกับสังคมของเรา รวมไปถึงสังคมกรีกโบราณ เพราะมันพากันวางฐานของบทสนทนาไว้ที่สิ่งที่ลอยออกไปจากตัว ปัญหาจริงๆ จะไม่ถูกนำขึ้นมาพูดถึง แต่จะถูกบดบังไปด้วยการสนทนาว่าแต่ละคนกำลังพูดถึงเพลโตและโสเครติสได้ถูกต้องหรือไม่ ในทางหนึ่งมีคนพร้อมจะกล่าวถึงประโยชน์ของการทำเช่นนั้น ก็ให้เขากล่าว สำหรับผม ค่อนข้างไม่มีอะไรจะกล่าวในทำนองนั้นเพิ่มขึ้นมาอีกแล้ว  

น้ำเสียงของตัวเองสำคัญอย่างไร? ผมอยากย้อนกลับไปที่บทความที่แปล มันชื่อ ดินแดนของเหล่าวาฬเหล่าสุดท้าย บทความนั้นตั้งคำถามว่าเราจะเข้าใจความใหญ่ของโลกทั้งใบหรือวาฬหนึ่งตัวได้อย่างไร เมื่อเราเองสามารถมองเห็นอยู่แค่นี้ มีมือที่เล็กเท่านี้ จมูกที่ดมได้เท่านี้ และความสามารถในการคิดถึงสิ่งต่างๆ ที่ติดอยู่กับวัฒนธรรมของเราเองแต่เพียงเท่านี้ อันที่จริงบทความมันยาวพอดู แต่สรุปได้ง่ายๆ คือเราสามารถเป็นตัวเราเองและรับรู้ถึงมันในแบบที่เราทำได้ และยินยอมที่จะแบ่งปันมันกับคนอื่น รวมถึงยินยอมให้คนอื่นแบ่งปันมันกับเรา เราเข้าไปยุ่งกับทุกอย่างในวาฬหนึ่งตัวไม่ได้ แต่เราคุยกับเพื่อนที่ยุ่งกับส่วนอื่นของมันได้ เราทั้งเชื่อในตนเองและคนอื่นพร้อมๆ กัน นั่นหมายความว่าเราอาจสงสัยทุกๆ อย่างพร้อมๆ กัน และนั่นคือบทสนทนา 

มันไม่ได้ยากต่จะเป็นจริงไปได้อย่างไรหากทั้งเราและเพื่อนของเราไม่มีใครเลยสักคนที่เข้าไปยุ่งกับวาฬด้วยตัวเอง และแทนที่จะแบ่งปันกันว่าแต่ละคนเห็นวาฬมาอย่างไร เรากลับแบ่งปันกันว่า แต่ละคนเห็นวาฬมาถูกต้องตามที่ใครสักคนก่อนหน้านี้เห็นหรือไม่  

วาฬในการเปรียบเทียบนี้ กลายเป็น ที่อื่น ที่โครงการของพี่ตุ้มเชิญชวนให้นักเล่าเรื่องแต่ละคนเลือกไปตามความสนใจ ที่อื่นที่เต็มไปด้วยมนตราของความไม่รู้ และเป็นที่อื่นที่ผลักดันให้เราสนทนาด้วยตัวเอง นักเล่าเรื่องจึงอาจต้องการที่อื่นมากกว่าที่ของตัวเองเพื่อที่จะสะท้อนเสียงของตัวเองออกมา อาจเพราะว่าในที่ของเขา เสียงของเขายากยิ่งที่จะแยกออกจากเสียงอื่นๆ รอบๆ ตัว เป็นไปได้หรือไม่ว่าเมื่อเขาได้ยินเสียงของตัวเองในทื่อื่นแล้ว เขาอาจกลับมาได้ยินเสียงของตัวเอง (หรือเสียงอื่น) ในที่ของตัวเองต่างออกอีกไปเช่นกัน  

เรารู้ว่า คนสุพรรณต่างจากคนที่อื่นอย่างไร ก็ต่อเมื่อเราได้รู้ว่าคนที่อื่นเป็นอย่างไร เราอาจไม่มีวันได้รู้เลยว่าสำเนียงของเรานี้ถูกเรียกว่า เหน่อหากเราไม่เคยได้ยินสำเนียงกรุงเทพ และหากเราเป็นคนกรุงเทพที่ไม่เคยเอาสำเนียงกรุงเทพไปพูดกับคนในที่อื่น เราอาจไม่เคยรู้เลยว่าเราก็สามารถรู้สึกว่าตัวเองกำลัง เหน่อ หรือผิดแปลกแตกต่างอย่างรุนแรงได้ ทั้งที่เรารับรู้มาตลอดว่าวิธีการพูดของเราเป็นของกลาง เป็นสากลในประเทศนี้ 

ที่บางปะกง ผมเห็นตะปูดอกหนึ่งถูกตอกติดกับผนังกำแพงและใช้เป็นที่แขวนสายฉีดก้น นึกขึ้นมาได้ว่าผมไม่มีวันทำแบบนั้นได้ เพื่อนคนกรุงเทพลูกหลานชนชั้นกลาง คนที่เรียนรู้และเติบโตมาด้วยการศึกษาแบบเดียวกัน บ้านใกล้ๆ กัน เดินห้างเดียวกัน พวกเรามองไม่เห็นเลยว่าตะปูดอกหนึ่งเป็นอะไรได้บ้างนอกจากเอาไว้ตอกไม้ และนึกไม่ออกว่าอะไรที่สามารถใช้ยึดสายฉีดก้นเอาไว้กับกำแพงได้มากกว่าสิ่งที่เรียกว่า ที่ยึดสายฉีดก้น หรืออะไรทำนองนั้นที่วางขายอยู่ที่แผนกสุขภัณฑ์เท่านั้น 

เราอาจไม่มีวันรู้สิ่งเหล่านี้ได้เลย หากไม่เคยแบ่งปันความเป็นตัวเรากับความเป็นคนอื่น ในที่อื่น หรือที่ใดๆ 

ส่งท้าย 

การฆ่าตัวตายก่อนบทสนทนากลายเป็นวิธีการศึกษาในบ้านเรา เป็นวิธีการทำคะแนนให้ดีที่เราใช้มาทั้งชีวิต ในสถานการณ์แบบนี้ ความรู้ที่เรารู้มากลายเป็นผู้หยิบใช้เราไปทำงานต่างๆ มากกว่าเราเป็นผู้หยิบใช้มันมาสร้างสรรค์สิ่งต่างๆ ไม่มากก็น้อย เราจะกลายเป็นเครื่องจักรที่ทำงานให้กับนักสร้างสรรค์ในอดีต เมื่อเรามีแต่ความกลัวว่าจะเข้าใจตามเขาได้ไม่ถูกต้อง มากกว่าความใคร่รู้ที่จะทดลองว่าความเข้าใจที่เรามีต่อเขากลายเป็นอะไรได้บ้าง  

หากสิ่งนี้ต้องการการแก้ไข เป็นไปได้ว่ามันอาจเป็นการกำหนดกรอบการทำงานด้านการศึกษาเอาไว้อย่างง่ายที่สุดว่า จะไม่ทำให้ความรู้ใดสำคัญมากไปกว่าผู้เรียนรู้ 

นอกไปจากความสำคัญในการให้ผู้เรียนรู้เลือกสิ่งที่จะเรียนรู้ด้วยตัวเองแล้ว สิ่งที่เราอาจจะเน้นย้ำต่อไปคือความสำคัญที่ว่าเขาเองเป็นอย่างไรต่อสิ่งที่เขาเลือก ดังที่เราจะได้เห็นในเรื่องเล่าของพวกเขา ซึ่งไม่ได้จะบอกเราว่าที่ที่พวกเขาไปมีความกว้างกี่ตารางวา แต่มันอาจเป็นวัฒนธรรมศึกษาเมื่อนักเล่าเรื่องมุสลิมต้องใช้ชีวิตอยู่ในเชียงราย มันอาจเป็นญาณวิทยาเมื่อนักศึกษาปรัชญาพบว่าแหล่งอ้างอิงปรัชญาสังคมของเขาคือสวนเกษตรปลอดสารพิษ มันอาจเป็นชายแดนศึกษา ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ จริยศาสตร์ เมื่อนักเล่าเรื่องคนหนึ่งบังเอิญพบกับกองเสื้อผ้าที่จะส่งไปที่ศูนย์อพยพ มันคือความรัก ความคำนึงถึง ความรู้สึก ความแตกต่าง ความสับสน ความรู้ เป็นเรื่องของเขา และเป็นเรื่องของเรา มันคืออะไรอีกมากมายที่ยังไม่มีชื่อเรียก ซึ่งเป็นเรื่องของเขา และเป็นเรื่องของเรา  

และอย่างไรก็ตาม การมีน้ำเสียงเป็นของตัวเองที่เพิ่งกล่าวถึงนี้ ไม่ใช่ความมั่นใจว่าตัวเองใหญ่กว่าวาฬและจะสามารถอธิบายวาฬได้ด้วยตัวคนเดียว หากแต่เป็นความตระหนักที่ว่าเราจำเป็นต้องมีน้ำเสียงของตัวเองเพื่อเอาไปแบ่งปันกับคนอื่นๆ ที่ตัวเล็กๆ พอๆ กับเรา และเผชิญหน้ากับวาฬไปด้วยกัน  

ขอเชิญคุณ เผชิญหน้ากับเขา และวาฬ

 

ภาพ: https://www.reddit.com/r/thalassophobia/comments/84q6n0/a_blue_whale_compared_to_a_human/

 

บล็อกของ Storytellers

Storytellers
 วันที่ 08/11/2018 – 09/11/2018 เวลา 3.53 น.
Storytellers
กาลครั้งหนึ่ง มีเด็กหญิงคนหนึ่งชื่อว่า น้องสาว เธอได้เป็นหนึ่งใน 20 คน ที่โชคดีได้ออกเดินทางไปที่ต่างๆ แต่มีกฎว่าเลือกได้เพียงแค่ 1 ที่ น้องสาวเลือกสถานที่ไกลที่สุด เท่าที่จะไกลได้ ในการเดินทางน้องสาวจะต้องขึ้นยานไป โดยที่ในยานจะมีลูกเรือค่อยให้บริการ และลูกเรือคนนี้จะพูดทุกครั้งที่มีคนใหม่มา
Storytellers
ผมเป็นคนๆหนึ่งที่ชอบในความท้าทาย ชอบการหาประสบการณ์และรู้สึกตื่นเต้นทุกครั้งเมื่อได้เจอสิ่งใหม่ๆ เด็กใต้คนหนึ่งที่เคยสุขสบายมาก่อนเที่ยวไหนก็ได้ที่อยากไป รู้สึกว่าปัจจัยต่างๆทำให้เราเกิดการเรียนรู้ด้วยตัวเองได้เป็นอย่างดี เพราะมีกำลังพอที่พาตัวเองไปสู่การเรียนรู้ที่มันหลากหลาย แต่รู้ไหมว่าเมื่อโช
Storytellers
ในยุคนี้มันคงถึงเวลาต้องยอมรับได้แล้ว ว่าการศึกษาที่ให้ผู้เรียนเป็นแค่ผู้ฟัง แล้วเอาผลคะแนนเป็นตัววัดนั้น ไม่สามารถใช้ได้กับทุกคนเสมอไปหรอก ผมเองก็เป็นคนหนึ่ง ที่เกรดไม่ได้ตีเอาซะเลย แต่เชื่อผมเถอะ ว่ามนุษย์ทุกคนเติบโตด้วยการเรียนรู้มากกว่าอายุอยู่แล้ว หลังจากได้ลงพื้นที่การเรียนรู้บนดอยไปแล้ว คำ
Storytellers
 หลังจากส่งบทความไปกับทาง Story tellers in journey ก็ไม่ได้สมหวังตั้งแต่แรกอย่างเพื่อนๆ ทั้ง 19 คนที่ได้ไป Workshop กันหรอก ฮ่าๆ แต่หลังจากนั้นก็มี G-mail เด้งมาจากพี่ตุ้ม จำได้ว่าตอนนั้นกำลังพรีเซ้นท์งานอยู่ ในวันที่ 5 พฤศจิกายน ว่ามีคนสละสิทธิ์ และให้เราได้ไปเข้าร่วมกิจกรรม และบังเอิญตรงที
Storytellers
 หลังจากจบทริปไปเชียงรายในครั้งนั้น ฉันพยายามนั่งครุ่นคิดอยู่นานว่าจะเขียน จะเล่าเรื่อง จะถ่ายทอดเรื่องราวอย่างไรให้คนที่ได้อ่านรู้สึกอินไปกับฉัน
Storytellers
ใครจะไปคิดว่าวันหนึ่ง เด็กสาวที่มีถิ่นกำเนิดอยู่ที่จังหวัดใต้สุดสยาม จะกำลังมุ่งหน้าสู่ดินแดนเหนือสุดสยามอย่าง ‘เชียงราย’ ทุกอย่างเกิดขึ้นเร็วมากราวกับฝันไป เพราะฉันเพิ่งตัดสินใจและเริ่มวางแผนได้เพียงในเวลาไม่ถึง 24 ชั่วโมงก่อนออกเดินทาง รู้ตัวอีกที ฉันก็กำลังนั่งรถทัวร์มุ่งหน้าสู่เชียงรายเสียแล้
Storytellers
 "นี่เป็นประสบการณ์ไปต่างจังหวัดเองครั้งแรกของผม" 
Storytellers
 “เอ๊ะ! มีอีเมลอะไรส่งมาที่กล่องข้อความ”       อีเมลฉบับนั้นมีใจความว่า “ยินดีด้วย คุณได้รับการคัดเลือกเป็น 1 ใน 21 ของโครงการ storytellers in journey”
Storytellers
      การออกเดินทางครั้งนี้ เราได้มีจุดหมายที่ ม่อนแสงดาว จังหวัดเชียงราย เรากำลังแบกเป้ที่เต็มไปด้วยความตื่นเต้นและความคาดหวังอย่างเต็มเปี่ยมที่พร้อมจะเรียนรู้อย่างเต็มที่
Storytellers
ฉันเห็น I ฉันคิด โดย อดิศักดิ์  โกเมฆฉันเห็นฉันคิด
Storytellers
ศูนย์การเรียนที่ผมเรียนชื่อ ศูนย์การเรียนโจ๊ะมาโลลือหล่า ชื่อโรงเรียนของผมนั้นเป็นภาษาปกาเกอญอแปลเป็นภาษาไทยว่า“โรงเรียนวิถีชีวิต” โรงเรียนขอผมนั้นตั้งอยู่บนดอยที่หมู่บ้านสบลานซึ่งศูนย์การเรียนนั้นก็มีสิทธิเหมือนโรงเรียนสามารถออกวุฒิการศึกษาได้แต่มันมีสิ่งที่ไม่เหมือนโรงเรียนอยู่นั้นก็คือการจัดกา