Skip to main content

เสียงไก่ขันสลับกับเสียงกลองจากวัดบนภูเขาดังกระชันถี่ขึ้น เหมือนเป็นสัญญาณบอกว่ายามเช้าใกล้เริ่มต้นขึ้นแล้ว ในรอบหนึ่งเดือน เสียงกลองยามเช้าจากวัดจะดังอยู่ ๘ ครั้งต่อเดือน เพื่อเป็นสัญญาณบอกให้ชาวบ้านรู้ว่า ‘วันนี้วันพระ’


เมื่อลองมาไล่เรียงตัวเลขบนปฏิทินก็รู้ว่า วันนี้เป็นวันเพ็ญขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๖ ในทางพุทธศาสนาแล้ว วันนี้ถือเป็นวันก่อเกิดสิ่งมหัศจรรย์ ๓ อย่างพร้อมกัน คือวันนี้เป็นวันประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพานขององค์สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้เป็นปฐมบทแห่งศาสนาพุทธ


ไก่ขันครั้งสุดท้ายล่วงเข้ามา หลายบ้านเริ่มตื่นขึ้นมาก่อไฟหนึ่งข้าว และทำอาหารเช้า พอพระอาทิตย์โผล่พ้นขอบฟ้าได้ไม่นาน ทิวแถวของผู้คนในหมู่บ้านก็เดินตามกันขึ้นไปตามทางเดินอันไปสู่ลานวัด ในมือของแต่ละคนมีกระติ๊บข้าวเหนียว และอาหาร บางคนมีดอกไม้ และน้ำสำหรับนำไปกรวด เพื่ออุทิศส่วนกุศลไปหาเจ้ากรรมนายเวรทั้งหลาย บนบ่าของแต่ละคนจะมีผ้าสไบขนาดกว้างประมาณ ๒ คืบพาดเฉียงเอาไว้ทั้งชายหญิง ใบหน้าของแต่ละคนอิ่มเอิบ ในทิวแถวของชาวบ้านที่เดินขึ้นไปบนวัด ใช่ว่าจะมีแต่คนในหมู่บ้านเท่านั้น ยังมีชาวบ้านจากหมู่บ้านอื่นๆ อยู่ในกลุ่มของชาวบ้านทั้งหมดด้วย


ในความเป็นจริงแล้ว วัดแห่งนี้มีพระจำพรรษาอยู่เพียงรูปเดียว แต่วันนี้ถือเป็นกรณีพิเศษ พระในวัดจึงเพิ่มขึ้นมาอีก ๕ รูป ความพิเศษของวันนี้จะมีขึ้นหลังพระฉันภัตตาหารเช้าเสร็จสิ้น เพราะในตอนสายของวันนี้ ชาวบ้านจะได้ร่วมกันจัดงาน ‘บวชน้ำ สร้างวังสงวน’


บวชน้ำ’ เมื่อได้ฟังคำนี้ครั้งแรกความฉงนสนเท่ห์ก็ตามมา เพราะไม่เคยได้ยินมาสักครั้งเลยว่าแม่น้ำทั้งสายสามารถบวชได้เช่นเดียวกับคน แต่ความฉงนสนเท่ห์อยู่ได้ไม่นาน คำเฉลยเพื่อคลายความสงสัยก็เกิดขึ้น เมื่อแนวโฮมของหมู่บ้าน และนายบ้านได้นั่งถกเถียงกันเรื่องนี้


อาจารย์อยู่วัดเพิ่นเว้าว่า ท่าเฮาจะบวชน้ำนี่ เฮาต้องยกสิม (อุโสถ) ลงไปไว้ในน้ำ พระก็ต้องมี ๑๒ ตนขึ้นไป ท่าจั่งซั่นมันสิบวชบ่ได้” แนวโฮม (ผู้อาวุโสและเป็นที่เคารพนับถือของคนในหมู่บ้าน) ออกความเห็นพร้อมกับเล่าเรื่องที่พระอาจารย์ที่วัดฝากมาถามนายบ้าน

มันบ่มันบวชแนวนั้นหนา คือเอาเพิ่นมาสูดเจริญพระพุทธมนต์ เพราะท่าเฮาสิบวชแท้มันกะบ่ได้ แต่นี่เฮาเอาเพิ่นมาสูด และกะให้ศีลให้พร ท่าเอาอาจราย์มาสูดแล้วคนมันกะสิย้าน บ่กล้ามาเฮ็ดหยังกับบ่อนที่เฮาบวช” นายบ้าน (ผู้ใหญ่บ้าน) อธิบาย

ท่าจั่งซั่นกะฮู้แล้ว เดียวสิได้ขึ้นไปบอกพระอาจารย์เพิ่น”

23_7_01


จากคำตอบที่ได้รับมาการ ‘บวชน้ำ’ ในความหมายของชาวบ้านแตกต่างจากการบวชเป็นพระในพุทธศาสนา เพราะการบวชน้ำไม่ต้องมีการเสพงัน ไม่มีการไปอยู่วัด เพื่อเป็นนาค ไม่มีไตรจีวร การบวชน้ำในความหมายของชาวบ้านคือ การร่วมกันอุปโลกน์พื้นที่แห่งใดแห่งหนึ่งในแม่น้ำให้เป็นพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ และพื้นที่แห่งความเคารพนับถือ ความเชื่อของคนทั้งหมู่บ้าน


ทำไมต้องบวชน้ำ?” ใครบางคนเอ่ยถามนายบ้าน หลังร่วมกันกินข้าวสามัคคีในตอนเย็นแล้วเสร็จ

เฮาต้องบวช พอบวชน้ำแล้ว ซาวบ้านเพิ่นสิเคารพนับถือ มันคือกับเฮาบวชคนให้เป็นพระ พอบวชเป็นพระแล้ว คนกะให้ความเคารพนับถือ”


23_7_02


บางทีการเริ่มต้นจากจุดเล็กๆ ก็ก้าวไปสู่กฏเกณฑ์ใหญ่ๆ เช่นกันพื้นที่เล็กๆ แห่งนี้เมื่อมีการบวชแล้ว และชาวบ้านให้ความเคารพก็จะไม่มีผู้ใดจะเข้าไปทำอะไรไม่ดีในพื้นที่แห่งนั้น เพราะหากใครทำก็จะเป็นบาปติดตัวไป


หลังชาวบ้านกลับลงมาจากวัด คนหนุ่มสาวของหมู่บ้านได้พากันมาขนของขึ้นใส่รถ ทั้งเก้าอี้ โต๊ะ ถ้วย จาน ชาม และหม้อแกง รถไถนาเดินตามดัดแปลงแบบนั่งขับส่งเสียงคำรามก้อง ก่อนที่คนขับจะหักพวงมาลัยพารถเลี้ยวออกสู่ถนนไปสู่บริเวณจัดงาน


ก่อนที่คนหนุ่มสาวจะมาช่วยกันขนของ คนเฒ่า แนวโฮม เฒ่าจ้ำได้เดินทางออกไปบริเวณจัดงานล่วงหน้าแล้ว เพื่อบอกกล่าวให้เจ้าที่รับรู้ว่า วันนี้ชาวบ้านจะได้จัดงานขึ้นที่บริเวณแห่งนี้ เมื่อเฒ่าจ้ำจุดเทียนบอกกล่าวเจ้าที่เสร็จ เหล้าขาว หมากพูลก็ถูกนำมาวางไว้ข้างกัน


ตะวันสายโด่งขึ้นมาแล้ว เสียงประกาศเชิญชวนให้ชาวบ้านออกเดินทางไปยังบริเวณพิธีดังแว่วมา สิ้นเสียงประกาศได้ไม่นาน ชาวบ้านก็ทยอยกันไปสู่บริเวณงาน หลายคนในหมู่บ้านได้รับมอบหมายหน้าที่แตกต่างกันออกไป กลุ่มสาวหนุ่มได้รับหน้าที่ดูแลแขกที่มาร่วมงาน กลุ่มปกส.บ้านมีหน้าที่ดูแลความสงบเรียบร้อย ในมือปกส.บ้านจึงมีอาวุธอยู่ในมือดูน่าเกรงขาม ส่วนเฒ่าแก่ แนวโฮมได้รับหน้าที่ให้ดูแลพิธีกรรมทางศาสนา ส่วนรองนายบ้านคนที่ ๑ ได้รับหน้าที่เป็นพิธีกรดำเนินรายการตลอดงาน ดูเหมือนว่างานนี้จะเป็นงานแรกของรองนายบ้าน เพราะเมื่ออาทิตย์ที่ผ่านมา แกเพิ่งเสร็จจากการอบรมวิธีการพูด และการเป็นพิธีกร


สถานที่บวชน้ำห่างออกมาจากหมู่บ้านประมาณ ๓๐๐ เมตร ชาวบ้านเรียกว่า ‘วังคกห้วยก่อง –คก หมายถึง บริเวณที่เว้าเข้าไปในริมฝั่งแม่น้ำมีขนาดลึก และเป็นที่วางไข่ของปลา คกเป็นหนึ่งในระบบนิเวศของแม่น้ำโขง’ ที่มาที่ไปของชื่อคกแห่งนี้ นายบ้านบอกว่า ถามผู้เฒ่าผู้แก่ก็ไม่ค่อยรู้ แต่หลายคนบอกว่าเรียกตามที่คนไทยมาตั้งไว้ เพราะบริเวณแถบนี้เคยมีคนไทเลยมาอาศัยอยู่ก่อน


พูดถึงการอพยพเคลื่อนย้ายเข้ามาอยู่ในบริเวณนี้ ใช่ว่าจะมีแต่คนไทยที่เข้ามาอยู่ก่อน หลังคนไทยกลุ่มแรกที่มาตั้งถิ่นฐานเคลื่อนย้ายกลับข้ามไปยังฝั่งขวาแม่น้ำโขงแล้ว ชาวบ้านปากส่วนจากบ้านปากเซือม แขวงหลวงพระบางก็อพยพเคลื่อนย้ายหนีภัยสงครามฝรั่งมาอยู่เป็นกลุ่มถัดมา ในช่วงเริ่มแรกของการตั้งหมู่บ้าน คนไม่มากมีบ้านเพียง ๖ หลัง ตั้งกระจายไปตามลำห้วยหาง จากนั้นก็มีการขยายตัวเพิ่มขึ้น จนกลายมาเป็นหมู่บ้านที่ได้รับการแต่งตั้งอย่างเป็นทางการว่า บ้านห้วยหาง อยู่ในเขตปรกครองของเมืองสังข์ทอง แขวงนครหลวงเวียงจัน หลังขึ้นตรงกับเขตการปกครองเมืองสังข์ทอง บ้านห้วยหางก็กลายเป็นหมู่บ้านสุดท้ายในเขตปกครองของเมืองสังข์ทองที่เชื่อมต่อกับเขตปกครองของเมืองสานคามไปโดยปริยาย ปัจจุบันบ้านห้วยหางมี ๘๘ หลังคาเรือนมีประชากร ๒๑๕ คน มีโรงเรียนที่สอนถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ ๑ แห่ง มีวัด ๑ แห่ง และในวัดมีพระจำพรรษา ๑ รูป บ้านห้วยหางอยู่ตรงข้ามกับบ้านห้วยเหียม บ้านปากครอบ และบ้านคกเว้า ตำบลหาดคำภีร์ อำเภอปากชม จังหวัดเลยในทางฝั่งไทย


เมื่อต่างหน้า (ตัวแทน) ของทางเจ้าเมือง (นายอำเภอ) เดินทางมาถึง พิธีการบวชน้ำจึงเริ่มขึ้นอย่างเป็นทางการ เสียงพระสงฆ์สวดมนต์ดังขึ้นมาจากตลิ่งริมแม่น้ำสิ้นสุดลงเอาเมื่อพิธีเริ่มดำเนินไปได้ร่วม ๒ ชั่วโมง หลังเสร็จพิธี พระสงฆ์ ๑ รูป และเฒ่าแก่แนวโฮมอีก ๔-๕ คนก็เดินนำหน้าพระไปยังริมแม่น้ำ เพื่อปล่อยปลาดุกลงสู่แม่น้ำ เพื่อเป็นหมุดหมายแรกว่า การบวชน้ำ และสร้างวังสงวนได้ผ่านพิธีกรรมทางศาสนาเสร็จสิ้นแล้ว


ภายหลังเมื่อพิธีกรรมทางศาสนาเสร็จสิ้นลง รองนายบ้านก็ได้กล่าวแนะนำแขกที่มาร่วมงาน ซึ่งส่วนมากมาจากกลุ่มท้อนเงิน (กลุ่มออมทรัพย์) ภายใต้การนำพาของโครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับผู้หญิง สหพันธ์แม่ญิงลาวของหลายหมู่บ้านในเมืองสังข์ทอง รวมทั้งต่างหน้า (ตัวแทน) ของท่านเจ้าเมืองสังข์ทอง


ผ้าแพรสีแดงคลุมป้ายขนาดใหญ่ค่อยๆ เลื่อนออกจากกัน เสียงลูกโป่งแตกดังขึ้น นิมิตรหมายแห่งพิธีการทางฆาราวาสก็ได้เริ่มขึ้นเช่นกัน บนป้ายไม้ดู่ขนาดใหญ่ที่ซ่อนอยู่หลังผ้าแพรสีแดง มีข้อความเขียนเอาไว้ว่า กฏระเบียบเขตวังสงวนคกห้วยก่อง


วังสวงน’ หมายถึงเขตอนุรักษ์พันธ์ปลาที่ชาวบ้านร่วมกันจัดตั้งขึ้น

พีธีการต่างๆ ได้สิ้นสุดลงเมื่อเวลาล่วงเข้าไปเกือบเที่ยง ในที่สุดเวลาที่หลายคนรอคอยก็มาถึง เมื่อพาบายศรีถูกยกออกมาวาง และการบายศรีสู่ขัวญก็เริ่มขึ้น เมื่อการบายศรีสู่ขัวญจบลงวงข้าวสามัคคีจึงถูกจัดขึ้นพร้อมกับเสียงขับทุ่มหลวงพระบาง ด้วยสำเนียงคนหลวงพระบางดั้งเดิมที่คลอไปกับเสียงระนาด เสียงกลอง และเสียงซ้อ


ต่อไปมื้อหน้าแต่ละบ้านฮิมน้ำของอยู่เมืองสังข์ทองนี่ต้องมีวังสงวนทั้งเหมิด บ่ซั่นมื้อหน้าลูกหลานสิบ่มีปลากิน”


เอื้อยจากกลุ่มท้อนเงินบางคนเอ่ยออกมา ขณะการเดินทางจากกันเพื่อไปสู่เป้าหมายต่อไปของแต่ละคนได้เริ่มต้นขึ้นในตอนบ่ายคล้อย...

 

 

บล็อกของ สุมาตร ภูลายยาว

สุมาตร ภูลายยาว
วารสารวรรณศิลป์บนแผ่นดินลาว ลมหนาวและความร้อนแล้งโชยผ่านยอดขุนเขาด้านทิศตะวันตกแห่งเมืองหลวงของราชอาณาจักรล้านนามาแผ่วๆ แล้วฤดูกาลแห่งความเหน็บหนาวก็เดินทางมาอีกครั้งพร้อมกับลมสายลมนั้น
สุมาตร ภูลายยาว
สี่พันดอน: บ้านของคนและปลา เมื่อเอ่ยถึงสี่พันดอนเชื่อว่าหลายคนที่เคยไปเยือนคงจินตนาการถึงได้ แต่สำหรับคนที่ไม่เคยไปเยือนคงงุนงงไม่น้อยว่าหมายถึงอะไร คำว่า ‘สี่พันดอน’ เป็นชื่อเรียกเกาะ ดอนต่างๆ ที่เกิดขึ้นในแม่น้ำโขงในเขตเมืองโขง แขวงจำปาสัก ภาคใต้ของประเทศลาว ดินแดนแห่งนี้ได้ถูกเรียกขานว่า สี่พันดอน เพราะเต็มไปด้วยเกาะน้อยใหญ่ที่มีจำนวนมากมายเรียงรายอยู่ในแม่น้ำโขงที่มีความกว้างกว่า ๑๔ กิโลเมตร เกาะต่างๆ เริ่มขึ้นที่เมืองโขงและยาวลงไปจนถึงชายแดนลาว-กัมพูชาที่บ้านเวินคามกับเมืองสตรึงเตร็ง ในจำนวนเกาะที่มีอยู่มากมาย เกาะใหญ่ที่สุดชื่อ ‘ดอนโขง’ คำว่า ‘ดอน’…
สุมาตร ภูลายยาว
เจ้าม้าศึกสีเทา ๒,๒๐๐ ซีซี ทะยานไปตามทางลูกรังสีแดงเบื้องหลังฝุ่นคลุ้งตลบ หากมีรถวิ่งตามมาคงบอกได้คำเดียวว่า ‘ขอโทษ’ ก่อนจะถึงทางแยกเสียงโทรศัพท์ของผู้ไปถึงก่อนก็บอกให้ตรงมาตามทางอย่าได้เลี้ยวซ้ายเป็นอันขาด เพราะนั่นหมายถึงการหลงทางจะเกิดขึ้น
สุมาตร ภูลายยาว
การเดินทางเที่ยวนี้มีผู้หญิงนำ เช้านี้เป็นอีกวันที่ตื่นเช้ากว่าวันอื่น แต่หากว่าเมื่อเทียบกับชาวบ้านทั่วไปแล้ว ถือว่ายังสาย โดยเฉพาะกับพ่อค้าแม่ค้าการตื่นนอนตอน ๖ โมงเช้านั้นถือว่าสายมากแล้ว เช้านี้กว่าจะเปิดเปลือกตาตื่นช่างหนักหนาสาหัส ราวกับว่าเปือกตาทั้งสองข้างถูกปิดทับไว้ด้วยเทปกาวชั้นดี หลังล้างหน้าแปรงฟันเสร็จ สมองยังคงงุนงง อาจเป็นเพราะช่วงนี้พักผ่อนไม่ค่อยพอ รวมทั้งมีเรื่องหลายเรื่องให้ได้คิด แต่เพราะงานที่ทำจึงต้องบังคับตัวเองให้ลุกจากที่นอน
สุมาตร ภูลายยาว
จะแกคนเลี้ยงวัวผู้ไม่เคยขุ่นมัวในหัวใจ ผมจำได้ว่าพบชายคนนี้ครั้งแรกเมื่อเข้าไปบ้านสองพี่น้อง เขาดูแปลกกว่าคนอื่นในหมู่บ้าน เพราะเขาเป็นผู้ชายคนเดียวในหมู่บ้านที่ไว้ผมยาว เค้าโครงใบหน้าของเขาราวกับถอดแบบออกมาจากหัวหน้าชนเผ่าของอินเดียนแดง
สุมาตร ภูลายยาว
การงานของชีวิตที่ตกค้าง ฝนเทลงมาอีกวันแล้ว...เสียงสังกะสีดังราวกับมีก้อนหินนับล้านร่วงลงมาใส่ เย็นวันนี้มีเรื่องราวให้ขบคิดมากมาย กลับมาจากการประชุมที่เคร่งเครียด อันนับว่าเป็นการงานส่วนหนึ่งของชีวิต เล่นเอาเหนื่อยสายตัวแทบขาด แล้วยังมีงานอะไรที่ยังไม่ได้ทำอีกไหมนี่
สุมาตร ภูลายยาว
บันทึกในค่ำคืนที่เปลี่ยนผ่านกับนิทรรศการที่ไม่ได้จัด สายฝนของเดือนกันยายนโปรยสายลงมาทั้งวัน เราออกเดินทางจากเชียงของมาแต่ตอนเช้าด้วยรถคันเล็ก บนกระบะทางตอนท้ายบรรทุกเอกสารต่างๆ รวมทั้งนิทรรศการมาเต็ม รถต้องจดหลายครั้ง เพื่อห่มผ้ายางกันฝนให้ของบนกระบะรถ เราผ่านมากว่าครึ่งทาง ฝนยังไม่มีทีท่าว่าจะหยุดตก ซ้ำร้ายยังตกลงมาหนักกว่าเดิม รถวิ่งทำความเร็วได้ไม่มากนัก ทั้งที่ความเป็นจริงแม้ฝนจะไม่ตก มันก็ไม่เคยวิ่งได้เร็วกว่าที่วิ่งอยู่เท่าใดนัก
สุมาตร ภูลายยาว
เมฆสีดำเหนือฟ้าด้านตะวันออกส่งสายฝนลงมาตั้งแต่เช้าจนล่วงบ่าย แม่น้ำเป็นสีชานมเย็น เศษขยะ ขอนไม้ ท่อนไม้ และต้นไม้ลอยมากับสายน้ำ และไหลไปตามแรงเฉื่อยของกระแสน้ำ
สุมาตร ภูลายยาว
เช้านี้เหมือนกับทุกเช้าในช่วงนี้พ่อท่อน ยาแก้วเดินทอดน่องในสวนบนดอนทรายริมฝั่งแม่น้ำโขงเพื่อดูแปลงมะเขือราว ๔ ไร่ ในใจพ่อท่อนเองไม่อยากเก็บมะเขือในตอนนี้แม้ว่าจะถึงช่วงเวลาในการเก็บแล้ว สาเหตุที่ทำให้พ่อท่อนไม่อยากเก็บมะเขือในตอนนี้ เพราะราคามะเขือต่ำกว่าปีที่ผ่านมา ปีนี้มะเขือหนึ่งหมื่น (๑๒ กิโลกรัม) ขายส่งจากสวนได้เงิน ๑๒ บาท
สุมาตร ภูลายยาว

รถตู้วิ่งไปบนถนนลาดยางมะตอยที่บางช่วงเป็นหลุมเป็นบ่อ ถนนสายนี้เป็นเส้นทางจากจังหวัดกระแจะไปอำเภอสามบอ เพราะถนนไม่ค่อยดีนัก ระยะทาง ๓๕ กิโลเมตรต้องใช้เวลาเกือบ ๑ ชั่วโมงจึงถึงจุดหมาย เมื่อรถตู้ทั้ง ๓ คันจอดสงบนิ่งลงตรงประตูหน้าวัด ผู้โดยสารในรถตู้ก็พากันทยอยลงจากรถ เบื้องล่างของถนนเป็นแม่น้ำสายใหญ่ คนท้องถิ่นเรียกแม่น้ำสายนี้ว่า ‘โตนเลของ-แม่น้ำของ-โขง’ แม้ยังไม่สายมากนัก แต่แสงแดดก็ส่องประกายร้อนแรงเหนือสายน้ำ ฟ้ากว้างเปล่าแปนเป็นสีฟ้าไกลสุดสายตาหยั่งถึง บนสายน้ำเรือหลายลำจอดลอยลำอยู่ ใกล้กับเรือตรงโคนต้นจามจุรีมีเด็ก ๓-๔ คนนั่งอยู่ ถัดจากโคนต้นจามจุรีไปมีเรือลำหนึ่งลอยลำอยู่…
สุมาตร ภูลายยาว
จากพื้นที่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำที่แม่น้ำโขงไหลผ่าน ผู้คนสองฝั่งได้ใช้ประโยชน์จากแม่น้ำที่มีความยาว ๔,๙๐๔ กิโลเมตรสายนี้ไม่ต่ำกว่า ๑๐๐ ล้าน ลักษณะการใช้ประโยชน์ก็แตกต่างกันออกไปตามแต่สภาพของพื้นที่ ในช่วงที่ไหลผ่านประเทศไทยตั้งแต่จังหวัดเชียงรายจนถึงจังหวัดอุบลราชธานี ก็มีผู้คนไม่จำนวนไม่น้อยได้ใช้ประโยชน์ในด้านแตกต่างกันออกไป ผู้ใหญ่ใช้หาปลา และใช้พื้นที่ตามหาดทรายที่โผล่พ้นน้ำ และริมฝั่งทำการเกษตร เด็กๆ ใช้เป็นห้องเรียนสำหรับฝึกหาปลา และว่ายน้ำ
สุมาตร ภูลายยาว
  ผาชันเป็นหมู่บ้านอีกแห่งหนึ่งที่อยู่ริมแม่น้ำโขงอยู่ในเขตอำเภอโพธิ์ไทร จังหวัดอุบลราชธานี หมู่บ้านแห่งนี้มีเรื่องราวน่าสนใจหลายอย่าง เริ่มแรกเดิมทีก่อนเดินทางไปถึง ผมจินตนาการถึงหมู่บ้านแห่งนี้ในรูปแบบต่างๆ และพอเดินทางไปถึงบ้านผาชันเป็นครั้งแรก ซึ่งอยู่ในหน้าฝน ผมก็พบว่า ในฤดูฝนหมู่บ้านแห่งนี้กลายเป็นเกาะขนาดย่อมๆ ชาวบ้านบอกว่า "ในฤดูฝน น้ำจากห้วยจะไหลจนท่วมสะพาน และถนนที่เข้าสู่หมู่บ้าน การเดินทางเข้าหมู่บ้านต้องใช้เรือข้ามลำห้วยแล้วไปต่อรถ" ร่องรอยของคำพูดปรากฏให้เห็นเมื่อผมเดินทางเข้าสู่หมู่บ้าน รถข้ามสะพานที่น้ำในลำห้วยเริ่มปริ่มอยู่ใต้สะพาน…