Skip to main content

เสียงไก่ขันสลับกับเสียงกลองจากวัดบนภูเขาดังกระชันถี่ขึ้น เหมือนเป็นสัญญาณบอกว่ายามเช้าใกล้เริ่มต้นขึ้นแล้ว ในรอบหนึ่งเดือน เสียงกลองยามเช้าจากวัดจะดังอยู่ ๘ ครั้งต่อเดือน เพื่อเป็นสัญญาณบอกให้ชาวบ้านรู้ว่า ‘วันนี้วันพระ’


เมื่อลองมาไล่เรียงตัวเลขบนปฏิทินก็รู้ว่า วันนี้เป็นวันเพ็ญขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๖ ในทางพุทธศาสนาแล้ว วันนี้ถือเป็นวันก่อเกิดสิ่งมหัศจรรย์ ๓ อย่างพร้อมกัน คือวันนี้เป็นวันประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพานขององค์สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้เป็นปฐมบทแห่งศาสนาพุทธ


ไก่ขันครั้งสุดท้ายล่วงเข้ามา หลายบ้านเริ่มตื่นขึ้นมาก่อไฟหนึ่งข้าว และทำอาหารเช้า พอพระอาทิตย์โผล่พ้นขอบฟ้าได้ไม่นาน ทิวแถวของผู้คนในหมู่บ้านก็เดินตามกันขึ้นไปตามทางเดินอันไปสู่ลานวัด ในมือของแต่ละคนมีกระติ๊บข้าวเหนียว และอาหาร บางคนมีดอกไม้ และน้ำสำหรับนำไปกรวด เพื่ออุทิศส่วนกุศลไปหาเจ้ากรรมนายเวรทั้งหลาย บนบ่าของแต่ละคนจะมีผ้าสไบขนาดกว้างประมาณ ๒ คืบพาดเฉียงเอาไว้ทั้งชายหญิง ใบหน้าของแต่ละคนอิ่มเอิบ ในทิวแถวของชาวบ้านที่เดินขึ้นไปบนวัด ใช่ว่าจะมีแต่คนในหมู่บ้านเท่านั้น ยังมีชาวบ้านจากหมู่บ้านอื่นๆ อยู่ในกลุ่มของชาวบ้านทั้งหมดด้วย


ในความเป็นจริงแล้ว วัดแห่งนี้มีพระจำพรรษาอยู่เพียงรูปเดียว แต่วันนี้ถือเป็นกรณีพิเศษ พระในวัดจึงเพิ่มขึ้นมาอีก ๕ รูป ความพิเศษของวันนี้จะมีขึ้นหลังพระฉันภัตตาหารเช้าเสร็จสิ้น เพราะในตอนสายของวันนี้ ชาวบ้านจะได้ร่วมกันจัดงาน ‘บวชน้ำ สร้างวังสงวน’


บวชน้ำ’ เมื่อได้ฟังคำนี้ครั้งแรกความฉงนสนเท่ห์ก็ตามมา เพราะไม่เคยได้ยินมาสักครั้งเลยว่าแม่น้ำทั้งสายสามารถบวชได้เช่นเดียวกับคน แต่ความฉงนสนเท่ห์อยู่ได้ไม่นาน คำเฉลยเพื่อคลายความสงสัยก็เกิดขึ้น เมื่อแนวโฮมของหมู่บ้าน และนายบ้านได้นั่งถกเถียงกันเรื่องนี้


อาจารย์อยู่วัดเพิ่นเว้าว่า ท่าเฮาจะบวชน้ำนี่ เฮาต้องยกสิม (อุโสถ) ลงไปไว้ในน้ำ พระก็ต้องมี ๑๒ ตนขึ้นไป ท่าจั่งซั่นมันสิบวชบ่ได้” แนวโฮม (ผู้อาวุโสและเป็นที่เคารพนับถือของคนในหมู่บ้าน) ออกความเห็นพร้อมกับเล่าเรื่องที่พระอาจารย์ที่วัดฝากมาถามนายบ้าน

มันบ่มันบวชแนวนั้นหนา คือเอาเพิ่นมาสูดเจริญพระพุทธมนต์ เพราะท่าเฮาสิบวชแท้มันกะบ่ได้ แต่นี่เฮาเอาเพิ่นมาสูด และกะให้ศีลให้พร ท่าเอาอาจราย์มาสูดแล้วคนมันกะสิย้าน บ่กล้ามาเฮ็ดหยังกับบ่อนที่เฮาบวช” นายบ้าน (ผู้ใหญ่บ้าน) อธิบาย

ท่าจั่งซั่นกะฮู้แล้ว เดียวสิได้ขึ้นไปบอกพระอาจารย์เพิ่น”

23_7_01


จากคำตอบที่ได้รับมาการ ‘บวชน้ำ’ ในความหมายของชาวบ้านแตกต่างจากการบวชเป็นพระในพุทธศาสนา เพราะการบวชน้ำไม่ต้องมีการเสพงัน ไม่มีการไปอยู่วัด เพื่อเป็นนาค ไม่มีไตรจีวร การบวชน้ำในความหมายของชาวบ้านคือ การร่วมกันอุปโลกน์พื้นที่แห่งใดแห่งหนึ่งในแม่น้ำให้เป็นพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ และพื้นที่แห่งความเคารพนับถือ ความเชื่อของคนทั้งหมู่บ้าน


ทำไมต้องบวชน้ำ?” ใครบางคนเอ่ยถามนายบ้าน หลังร่วมกันกินข้าวสามัคคีในตอนเย็นแล้วเสร็จ

เฮาต้องบวช พอบวชน้ำแล้ว ซาวบ้านเพิ่นสิเคารพนับถือ มันคือกับเฮาบวชคนให้เป็นพระ พอบวชเป็นพระแล้ว คนกะให้ความเคารพนับถือ”


23_7_02


บางทีการเริ่มต้นจากจุดเล็กๆ ก็ก้าวไปสู่กฏเกณฑ์ใหญ่ๆ เช่นกันพื้นที่เล็กๆ แห่งนี้เมื่อมีการบวชแล้ว และชาวบ้านให้ความเคารพก็จะไม่มีผู้ใดจะเข้าไปทำอะไรไม่ดีในพื้นที่แห่งนั้น เพราะหากใครทำก็จะเป็นบาปติดตัวไป


หลังชาวบ้านกลับลงมาจากวัด คนหนุ่มสาวของหมู่บ้านได้พากันมาขนของขึ้นใส่รถ ทั้งเก้าอี้ โต๊ะ ถ้วย จาน ชาม และหม้อแกง รถไถนาเดินตามดัดแปลงแบบนั่งขับส่งเสียงคำรามก้อง ก่อนที่คนขับจะหักพวงมาลัยพารถเลี้ยวออกสู่ถนนไปสู่บริเวณจัดงาน


ก่อนที่คนหนุ่มสาวจะมาช่วยกันขนของ คนเฒ่า แนวโฮม เฒ่าจ้ำได้เดินทางออกไปบริเวณจัดงานล่วงหน้าแล้ว เพื่อบอกกล่าวให้เจ้าที่รับรู้ว่า วันนี้ชาวบ้านจะได้จัดงานขึ้นที่บริเวณแห่งนี้ เมื่อเฒ่าจ้ำจุดเทียนบอกกล่าวเจ้าที่เสร็จ เหล้าขาว หมากพูลก็ถูกนำมาวางไว้ข้างกัน


ตะวันสายโด่งขึ้นมาแล้ว เสียงประกาศเชิญชวนให้ชาวบ้านออกเดินทางไปยังบริเวณพิธีดังแว่วมา สิ้นเสียงประกาศได้ไม่นาน ชาวบ้านก็ทยอยกันไปสู่บริเวณงาน หลายคนในหมู่บ้านได้รับมอบหมายหน้าที่แตกต่างกันออกไป กลุ่มสาวหนุ่มได้รับหน้าที่ดูแลแขกที่มาร่วมงาน กลุ่มปกส.บ้านมีหน้าที่ดูแลความสงบเรียบร้อย ในมือปกส.บ้านจึงมีอาวุธอยู่ในมือดูน่าเกรงขาม ส่วนเฒ่าแก่ แนวโฮมได้รับหน้าที่ให้ดูแลพิธีกรรมทางศาสนา ส่วนรองนายบ้านคนที่ ๑ ได้รับหน้าที่เป็นพิธีกรดำเนินรายการตลอดงาน ดูเหมือนว่างานนี้จะเป็นงานแรกของรองนายบ้าน เพราะเมื่ออาทิตย์ที่ผ่านมา แกเพิ่งเสร็จจากการอบรมวิธีการพูด และการเป็นพิธีกร


สถานที่บวชน้ำห่างออกมาจากหมู่บ้านประมาณ ๓๐๐ เมตร ชาวบ้านเรียกว่า ‘วังคกห้วยก่อง –คก หมายถึง บริเวณที่เว้าเข้าไปในริมฝั่งแม่น้ำมีขนาดลึก และเป็นที่วางไข่ของปลา คกเป็นหนึ่งในระบบนิเวศของแม่น้ำโขง’ ที่มาที่ไปของชื่อคกแห่งนี้ นายบ้านบอกว่า ถามผู้เฒ่าผู้แก่ก็ไม่ค่อยรู้ แต่หลายคนบอกว่าเรียกตามที่คนไทยมาตั้งไว้ เพราะบริเวณแถบนี้เคยมีคนไทเลยมาอาศัยอยู่ก่อน


พูดถึงการอพยพเคลื่อนย้ายเข้ามาอยู่ในบริเวณนี้ ใช่ว่าจะมีแต่คนไทยที่เข้ามาอยู่ก่อน หลังคนไทยกลุ่มแรกที่มาตั้งถิ่นฐานเคลื่อนย้ายกลับข้ามไปยังฝั่งขวาแม่น้ำโขงแล้ว ชาวบ้านปากส่วนจากบ้านปากเซือม แขวงหลวงพระบางก็อพยพเคลื่อนย้ายหนีภัยสงครามฝรั่งมาอยู่เป็นกลุ่มถัดมา ในช่วงเริ่มแรกของการตั้งหมู่บ้าน คนไม่มากมีบ้านเพียง ๖ หลัง ตั้งกระจายไปตามลำห้วยหาง จากนั้นก็มีการขยายตัวเพิ่มขึ้น จนกลายมาเป็นหมู่บ้านที่ได้รับการแต่งตั้งอย่างเป็นทางการว่า บ้านห้วยหาง อยู่ในเขตปรกครองของเมืองสังข์ทอง แขวงนครหลวงเวียงจัน หลังขึ้นตรงกับเขตการปกครองเมืองสังข์ทอง บ้านห้วยหางก็กลายเป็นหมู่บ้านสุดท้ายในเขตปกครองของเมืองสังข์ทองที่เชื่อมต่อกับเขตปกครองของเมืองสานคามไปโดยปริยาย ปัจจุบันบ้านห้วยหางมี ๘๘ หลังคาเรือนมีประชากร ๒๑๕ คน มีโรงเรียนที่สอนถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ ๑ แห่ง มีวัด ๑ แห่ง และในวัดมีพระจำพรรษา ๑ รูป บ้านห้วยหางอยู่ตรงข้ามกับบ้านห้วยเหียม บ้านปากครอบ และบ้านคกเว้า ตำบลหาดคำภีร์ อำเภอปากชม จังหวัดเลยในทางฝั่งไทย


เมื่อต่างหน้า (ตัวแทน) ของทางเจ้าเมือง (นายอำเภอ) เดินทางมาถึง พิธีการบวชน้ำจึงเริ่มขึ้นอย่างเป็นทางการ เสียงพระสงฆ์สวดมนต์ดังขึ้นมาจากตลิ่งริมแม่น้ำสิ้นสุดลงเอาเมื่อพิธีเริ่มดำเนินไปได้ร่วม ๒ ชั่วโมง หลังเสร็จพิธี พระสงฆ์ ๑ รูป และเฒ่าแก่แนวโฮมอีก ๔-๕ คนก็เดินนำหน้าพระไปยังริมแม่น้ำ เพื่อปล่อยปลาดุกลงสู่แม่น้ำ เพื่อเป็นหมุดหมายแรกว่า การบวชน้ำ และสร้างวังสงวนได้ผ่านพิธีกรรมทางศาสนาเสร็จสิ้นแล้ว


ภายหลังเมื่อพิธีกรรมทางศาสนาเสร็จสิ้นลง รองนายบ้านก็ได้กล่าวแนะนำแขกที่มาร่วมงาน ซึ่งส่วนมากมาจากกลุ่มท้อนเงิน (กลุ่มออมทรัพย์) ภายใต้การนำพาของโครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับผู้หญิง สหพันธ์แม่ญิงลาวของหลายหมู่บ้านในเมืองสังข์ทอง รวมทั้งต่างหน้า (ตัวแทน) ของท่านเจ้าเมืองสังข์ทอง


ผ้าแพรสีแดงคลุมป้ายขนาดใหญ่ค่อยๆ เลื่อนออกจากกัน เสียงลูกโป่งแตกดังขึ้น นิมิตรหมายแห่งพิธีการทางฆาราวาสก็ได้เริ่มขึ้นเช่นกัน บนป้ายไม้ดู่ขนาดใหญ่ที่ซ่อนอยู่หลังผ้าแพรสีแดง มีข้อความเขียนเอาไว้ว่า กฏระเบียบเขตวังสงวนคกห้วยก่อง


วังสวงน’ หมายถึงเขตอนุรักษ์พันธ์ปลาที่ชาวบ้านร่วมกันจัดตั้งขึ้น

พีธีการต่างๆ ได้สิ้นสุดลงเมื่อเวลาล่วงเข้าไปเกือบเที่ยง ในที่สุดเวลาที่หลายคนรอคอยก็มาถึง เมื่อพาบายศรีถูกยกออกมาวาง และการบายศรีสู่ขัวญก็เริ่มขึ้น เมื่อการบายศรีสู่ขัวญจบลงวงข้าวสามัคคีจึงถูกจัดขึ้นพร้อมกับเสียงขับทุ่มหลวงพระบาง ด้วยสำเนียงคนหลวงพระบางดั้งเดิมที่คลอไปกับเสียงระนาด เสียงกลอง และเสียงซ้อ


ต่อไปมื้อหน้าแต่ละบ้านฮิมน้ำของอยู่เมืองสังข์ทองนี่ต้องมีวังสงวนทั้งเหมิด บ่ซั่นมื้อหน้าลูกหลานสิบ่มีปลากิน”


เอื้อยจากกลุ่มท้อนเงินบางคนเอ่ยออกมา ขณะการเดินทางจากกันเพื่อไปสู่เป้าหมายต่อไปของแต่ละคนได้เริ่มต้นขึ้นในตอนบ่ายคล้อย...

 

 

บล็อกของ สุมาตร ภูลายยาว

สุมาตร ภูลายยาว
หากท่วงทำนองของสายน้ำในฤดูฝนคือท่วงทำนองของเพลงร๊อคที่โหมกระหน่ำดุเดือดด้วยเสียงกระเดื่องกลองสลับกับเสียงเบสหนักๆ ปนกับเสียงร้องอันแหลมคม และสูงปรี้ดของนักร้อง สำหรับท่วงทำนองของสายน้ำในหน้าแล้งที่อยู่ในฤดูหนาว ท่วงทำนองของสายน้ำอันปกคลุมไปด้วยหมอกหนาวคงเป็นเสียงเพลงบูลล์หม่นเศร้า และในช่วงหน้าแล้ง ท่วงทำนองของสายน้ำคงเป็นท่วงทำนองของเพลงแคนอันเศร้าสร้อยอ้อยอิ่ง ชวนให้คิดถึงบรรยากาศของท้องทุ่ง และดินแตกระแหงของผืนดินอีสาน ฤดูแต่ละฤดูที่ผ่านไป หากแม่น้ำพูดได้ น้ำคงอยากบอกอะไรกับมนุษย์ผู้ได้ชื่อว่าใช้ประโยชน์จากแม่น้ำมากที่สุด อย่างน้อยคนที่ผิดหวังพลาดหวัง…
สุมาตร ภูลายยาว
ในชีวิตผมถือว่า สองปีที่ผ่านมา ผมโชคดีไม่น้อยที่มีโอกาสได้ไปยังสถานที่ที่ตัวเองไม่คาดคิดว่าจะได้ไป สถานที่ที่ว่านั่นคือ ‘สันเขื่อน’ และจุดสำรวจที่จะมีการสร้างเขื่อนบนแม่น้ำโขงในตอนล่าง ไล่ตั้งแต่ปากแบ่ง หลวงพระบาง ไซยะบุรี ปากลาย ปากชม และบ้านกุ่ม จำนวนพื้นที่ที่กล่าวมาทั้งหมดแถบทุกพื้นที่ได้มีการสำรวจศึกษาความเป็นไปได้ของพื้นที่ในการก่อสร้างเขื่อนหมดแล้วการไปในแต่ละครั้ง บางทีก็ต้องทำตัวให้กลมกลืนกับพื้นที่โดยการปลอมตัวเป็นนักท่องเที่ยวผู้อยากรู้อยากเห็น และที่สำคัญต้องตีสนิทกับคนท้องถิ่น เพื่อจะได้เดินทางไปสู่เป้าหมายง่ายขึ้น ในจำนวนพื้นที่ที่กล่าวมาทั้งหมด หากไม่นับรวมปากชมแล้ว…
สุมาตร ภูลายยาว
-ห้องพัก ๒๐๑, เฮือนพักเพียงจัน,หลวงพระบาง- สายฝนที่โปรยสายลงมาอย่างหนักตั้งแต่ตอนกลางคืนหายไปเมื่อตอนเช้าตรู่ ฟ้ากลับมาเป็นสีฟ้าใสอีกครั้ง หลังจากผู้คนของเมืองตื่นจากหลับใหลในอ้อมกอดของบ้านพักอบอุ่น ความเคลื่อนไหวจึงปรากฏ ถนนแต่ละสายผู้คนเริ่มพลุกพล่านโดยเฉพาะส่วนที่เป็นตลาด หลายครั้งที่มาถึงเมืองนี้ในการดำรงอยู่ของเมืองยังคงมีเรื่องราวให้น่าค้นหาในมุมมองอันหลากหลายมากขึ้น การมาถึงเมืองนี้ในแต่ละช่วงเวลาที่แตกต่างกันย่อมมีเรื่องเล่าแตกต่างกันออกไปด้วย การมาหลวงพระบางในครั้งนี้ก็เช่นกัน เรามาถึงในตอนเกือบ ๓ ทุ่ม สายฝนยังตกลงมา…
สุมาตร ภูลายยาว
ลมหนาวพัดข้ามยอดเขามา ตอซังข้าวลู่ลงแนบพื้นดิน น้ำในแม่น้ำหมันแห้งขอดลงตามฤดูกาล ถัดจากแม่น้ำขึ้นไปเป็นภูเขา แม่น้ำหมันมีต้นกำเนิดจากภูโลมโลอันเป็นเทือกเขาของเทืือกเขาเพชรบูรณ์ สายน้ำเล็กๆ ที่เป็นเส้นเลือดใหญ่ของคนอำเภอด่านซ้ายไหลเอื่อยช้าคล้ายคนเพิ่งหายจากการป่วยไข้ แม่น้ำหมันช่วงที่ไหลผ่านอำเภอด่านซ้ายไปจนถึงบ้านปากหมัน ตรงที่แม่น้ำหมันเดินทางไปบรรจบกับแม่น้ำเหืองมีความยาวทั้งสิ้น ๖๖ กิโลเมตร ตลอดริมสองฝั่งแม่น้ำจะมีต้นไผ่จำนวนมากขึ้นอยู่เป็นระยะ ต้นไผ่-แม่น้ำหมัน-คนริมฝั่งน้ำมีความสำคัญต่อกันจนแยกขาดจากกันไม่ได้
สุมาตร ภูลายยาว
หลังได้รับมอบหมายให้เป็นหนึ่งในคณะกรรมการตัดสินภาพวาดของเด็กๆ ที่ประกอบไปด้วยเด็กจากช่วงชั้นต่างๆ ตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ ของโรงเรียนบ้านคกเว้า ตำบลหาดคำภีร์ อำเภอปากชม จังหวัดเลย ข้าพเจ้าเองแบ่งรับแบ่งสู้ในตอนแรก เพราะโดยส่วนตัวแล้วการเป็นกรรมการประเภทนี้มีเงื่อนไขหลายอย่าง สำคัญกรรมการควรมีความรู้ทางศิลปะมาบ้าง เพื่อให้ผลการตัดสินออกมาดูน่าเชื่อถือ แต่สวนทางกันอย่างสิ้นเชิง ข้าพเจ้าไม่มีความรู้ทางศิลปะเอาเสียเลย อย่างมากก็พอรู้ว่ารูปไหนสวยไม่สวย ซ้ำร้ายเรื่องของทฤษฏีสีแล้ว ข้าพเจ้าไม่รู้เอาเสียเลย แม้จะเคยลองวาดรูปอยู่บ้าง แต่ก็งูๆ ปลาๆ…
สุมาตร ภูลายยาว
โศกนาฏกรรมสองฝั่งน้ำ มีเรื่องเล่าเกี่ยวกับสายน้ำเรื่องหนึ่งที่ผู้เฒ่าปกากะญอ มักเล่าให้ลูกหลานฟังอยู่เสมอ เรื่องเล่าเรื่องนี้มีอยู่ว่า ‘นานมาแล้วมีเจ้าเมืององค์หนึ่งจะตึกแค-กั้นน้ำ เพื่อจับปลาในแม่น้ำสาละวิน ให้ลูกที่อยากกิน ปลาตัวนี้ใหญ่มาก ส่วนหัวของปลาอยู่โจโหละกุย-วังน้ำใหญ่อยู่ในเขตสาละวินตอนกลาง ลำตัวของปลายาวลงไปตามลำน้ำ ส่วนหางอยู่ที่แจแปนทีลอซู แต่ก็มีเรื่องที่ทำให้ชาวบ้านชาวเมืองตกอกตกใจ เพราะหากว่าเลือดหรือน้ำมันจากปลาตัวนี้ไหลลงพื้นดินเมื่อใด แผ่นดินก็จะลุกเป็นไฟ เมื่อชาวบ้านทราบข่าวก็เกิดความกังวลว่า เมื่อน้ำท่วมบ้านแล้วไม่รู้ว่าจะหนีไปอยู่ที่ไหน…
สุมาตร ภูลายยาว
การพัฒนาบนคราบน้ำตาคนชายขอบ ในอดีตอันยาวไกลของแม่น้ำสายนี้เคยไหลอย่างอิสระมาตลอด แต่แม่น้ำนานาชาติสายสำคัญแห่งนี้อาจมิได้ไหลอย่างอิสระต่อไปอีกแล้ว เพราะปัจจุบันแม่น้ำสายนี้ได้ถูกผลักดันให้เข้าไปอยู่ในแผนพัฒนาต่างๆ แผนพัฒนาที่สำคัญ คือแผนพัฒนาพลังงานไฟฟ้า โดยเฉพาะกับประเทศไทย แม่น้ำสาละวินกลายเป็นแม่น้ำยุทธศาสตร์สำคัญสายหนึ่งที่น้ำในแม่น้ำจะถูกนำมาแปรเป็นกระแสไฟฟ้า ภายใต้วาทะกรรมของนักพัฒนาที่ว่า ‘พื้นที่ชายขอบของประเทศมีคนอยู่น้อย และผู้ที่ได้รับผลกระทบย่อมมีส่วนน้อยเช่นกัน’
สุมาตร ภูลายยาว
ผู้คนแห่งสาละวิน  สาละวิน ถือเป็นสายน้ำแห่งกลุ่มชาติพันธุ์อย่างแท้จริง เพราะสองฟากฝั่งลุ่มน้ำสาละวิน ตั้งแต่เทือกเขาหิมาลัยลงมาจนถึงอ่าวเมาะตะมะ ในเขตหุบเขาอันไกลโพ้นในประเทศจีนก็มีกลุ่มชาติพันธุ์อาศัยอยู่ไม่น้อยกว่า ๑๔ กลุ่ม โดยส่วนใหญ่เป็นชาวนู ลีซู และตู๋หลง เมื่อล่องตามน้ำลงมาจนถึงพรมแดนพม่า-จีน พม่า-ไทยก็มีกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ อาศัยอยู่มากมายไม่ต่ำกว่า ๑๖ กลุ่ม เช่น นู ลีซู ไทยใหญ่ กะยา กะยัน กะเหรี่ยง และมอญ กลุ่มชาติพันธุ์เหล่านี้ล้วนมีภาษา ตัวอักษร วรรณคดี ศิลปวัฒนธรรม และประเพณีของตนเอง ในบรรดากลุ่มชาติพันธุ์ที่มีอยู่หลากหลายบนลุ่มน้ำแห่งนี้ กลุ่มยินตาเล…
สุมาตร ภูลายยาว
สาละวินบนนิยามของความหลากหลาย สาละวิน บนเส้นทางงานวิจัยชาวบ้าน งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาครอบคลุมพื้นที่ลุ่มน้ำสาละวิน ตลอดแนวพรมแดนไทย-พม่า โดยได้มีการศึกษาข้อมูลพื้นฐานในประเด็นพันธุ์ปลา เครื่องมือหาปลาพื้นบ้าน การทำเกษตร พรรณพืชในป่า และสังคมวัฒนธรรมของชาวปกาะกญอ เพื่อนำมาอธิบายความสลับซับซ้อนของระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพในลุ่มน้ำสาละวิน และวิถีชีวิต เศรษฐกิจ สังคมวัฒนธรรมของชุมชนที่ตั้งอยู่บนฐานของระบบนิเวศดังกล่าว ตลอดจนพิธีกรรม และความเชื่อของชุมชนในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ผลการศึกษาพบว่า แม่น้ำสาละวิน ตลอดพรมแดนไทย-พม่า มีระบบนิเวศที่สลับซับซ้อน อาทิ แก่ง วังน้ำ หาดทราย…
สุมาตร ภูลายยาว
ระบบนิเวศลุ่มน้ำสาละวิน ระบบนิเวศลุ่มน้ำสาละวิน ถือว่า มีความสำคัญต่อภูมิภาคนี้เป็นอย่างมาก เนื่องจากแม่น้ำสาละวินเป็นแม่น้ำนานาชาติสายสุดท้ายในภูมิภาคนี้ที่ยังไม่ได้ถูกล่ามโซ่ด้วยเขื่อน นักนิเวศวิทยาได้จัดให้แม่น้ำสาละวินเป็นศูนย์กลางของการกระจายพันธุ์ไม้สักของโลก พื้นที่ลุ่มน้ำสาละวิน เป็นพื้นที่ที่มีความหลากหลายทางชีวภาพสูง มีระบบนิเวศสลับซับซ้อนเนื่องจากเป็นพื้นที่ต่อเนื่องระหว่างเขตชีวภูมิศาสตร์ย่อยอินโดจีนกับพื้นที่ต่อเนื่องจากชีวภูมิศาสตร์สิโนหิมาลายันหรือเขตชีวภูมิศาสตร์ย่อยอินเดีย แต่ก็เป็นที่น่าเสียดายว่า เกือบครึ่งศตวรรษที่ผ่านมา การศึกษาระบบนิเวศวิทยาของแม่น้ำสาละวิน มีอยู่น้อยมาก…
สุมาตร ภูลายยาว
หลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ สหราชอาณาจักรได้คืนอิสรภาพให้กับพม่า ภายหลังพม่าได้รับอิสรภาพ ในปี ๒๔๙๐ นายพลอู่อองซาน ผู้นำพม่าในขณะนั้นก็ถูกสังหารเสียชีวิต การล้มเหลวลงอย่างสิ้นเชิงของสัญญาปางโหลง จึงเกิดขึ้น เมื่อคำมั่นในสัญญาปางโหลงไม่เป็นผล ชนกลุ่มน้อยกลุ่มต่างๆ จึงได้จับอาวุธลุกขึ้นสู้กับรัฐบาลทหารพม่า เพื่อแยกตัวเป็นรัฐอิสระและปกครองตนเอง ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำสาละวิน จึงเกิดกองกำลังปลดปล่อยขึ้นหลายกลุ่ม เขตรอยต่อพรมแดนไทย-พม่าริมฝั่งแม่น้ำสาละวิน ด้านตะวันตก เป็นดินแดนที่กล่าวได้ว่า กฎหมายอาจไม่มีความสำคัญ ทุกชีวิตที่ยังมีลมหายใจ จึงอยู่ภายใต้กฎของปืน และความเหลื่อมล้ำในการดำเนินชีวิต…
สุมาตร ภูลายยาว
พ่อตู้เริญได้เล่านิทานเรื่องนี้ให้ผมฟังขณะเรานั่งหย่อนอารมณ์ในบ้านของแก เพื่อรอฝนหายจากฟ้า เดือนตุลาคมแล้ว ฝนยังมิจากจางเลย ลมหนาวมิมีทีท่าว่าจะพัดมา สายฝนเทลงมาจั่กๆ พ่อตู้เริญต้องเล่านิทานเรื่องนี้ด้วยเสียงดัง เพื่อจะให้ผมได้ยินถนัด ผมกดเครื่องบันทึกเสียงเพื่อบันทึกเสียงการเล่านิทานของพ่อตู้เอาไว้ เพราะคิดว่าจะเก็บเอามาเล่าต่อให้คนอื่นได้ฟังด้วย พ่อตู้เริญเล่าว่า... นานมาแล้ว ยุคสมัยก่อนการเกิดขึ้นของพุทธศาสนา องค์อินทร์ผู้เป็นนายของทุกสิ่ง และทรงสร้างทุกสิ่งในจักรวาลได้นั่งตรวจยามสามตา เพื่อตรวจดูทุกสรรพสัตว์ใตอานัติของตนเอง แล้วในญาณนั้นก็ปรากฏการเกิดขึ้นของพระพุทธศาสนา…