Skip to main content

โศกนาฏกรรมสองฝั่งน้ำ


มีเรื่องเล่าเกี่ยวกับสายน้ำเรื่องหนึ่งที่ผู้เฒ่าปกากะญอ มักเล่าให้ลูกหลานฟังอยู่เสมอ เรื่องเล่าเรื่องนี้มีอยู่ว่า


นานมาแล้วมีเจ้าเมืององค์หนึ่งจะตึกแค-กั้นน้ำ เพื่อจับปลาในแม่น้ำสาละวิน ให้ลูกที่อยากกิน ปลาตัวนี้ใหญ่มาก ส่วนหัวของปลาอยู่โจโหละกุย-วังน้ำใหญ่อยู่ในเขตสาละวินตอนกลาง ลำตัวของปลายาวลงไปตามลำน้ำ ส่วนหางอยู่ที่แจแปนทีลอซู แต่ก็มีเรื่องที่ทำให้ชาวบ้านชาวเมืองตกอกตกใจ เพราะหากว่าเลือดหรือน้ำมันจากปลาตัวนี้ไหลลงพื้นดินเมื่อใด แผ่นดินก็จะลุกเป็นไฟ


เมื่อชาวบ้านทราบข่าวก็เกิดความกังวลว่า เมื่อน้ำท่วมบ้านแล้วไม่รู้ว่าจะหนีไปอยู่ที่ไหน หลังจากความเป็นห่วงของชาวบ้านแพร่ออกไปจากปากสู่ปาก มารชื่อมะกอลี ก็ทราบเรื่อง จึงขออาสามาขัดขวางการตึกแคของเจ้าเมือง โดยครั้งแรกมารมะกอลีไปบอกท่านเจ้าเมืองว่า ลูกตาย ช่วยไปทำศพให้หน่อย เจ้าเมืองซึ่งกำลังจะกั้นน้ำอยู่ก็ตอบกลับมาว่า ลูกตายไปก็มีลูกใหม่ได้


เมื่อพูดจบเจ้าเมือง ก็เริ่มทำงานของตนต่อไปไม่สนใจเจ้ามารมะกอลี หลังจากเห็นว่าเจ้าเมืองไม่สนใจ มารมะกอลีก็จากไป แต่จากไปไม่นานก็กลับมาใหม่แล้วบอกกับเจ้าเมืองว่า เมียตายช่วยไปทำศพให้หน่อยเถิด เจ้าเมืองก็ตอบกลับมาว่า เมียตายก็หาเมียใหม่ได้ แล้วเจ้าเมืองก็กั้นน้ำต่อไป


เมื่อบอกกับเจ้าเมืองถึง ๒ ครั้งไม่สำเร็จ ในครั้งที่สามมะกอลีก็มาบอกกับเจ้าเมืองว่า แม่ตายช่วยไปทำศพให้หน่อยเถิด เจ้าเมืองไม่รู้จะตอบไปอย่างไร จึงต้องเลิกกั้นน้ำ และตามเจ้ามะกอลี กลับไปยังเมือง พอกลับไปถึงเมืองก็พบว่า ทุกคนยังอยู่ครบ ดังนั้นเจ้าเมืองจึงไม่ได้กั้นน้ำสาละวิน ตามที่ใจปรารถนา และชาวบ้านก็ได้อยู่กันอย่างปรกติสุขเรื่อยมา


จากเรื่องเล่าที่ยกมา ปัจจุบันเรื่องเล่าเรื่องนี้กลายเป็นข้อปฏิบัติสำหรับชาวปกากะญอที่ยึดถือกันเสมอมา ข้อปฏิบัติที่ว่าคือ เมื่อมีการกั้นน้ำเอาหรือที่ชาวบ้านเรียกว่า ตึกแค ภายหลังเอาปลาเสร็จแล้ว คนที่กั้นน้ำจะต้องปล่อยน้ำให้ไหลเป็นอิสระ เพราะถ้าไม่ปล่อยน้ำ ในปีต่อไปก็จะไม่มีปลากินอีก ด้วยการใช้ทรัพยากรอย่างรู้คุณค่า คำสอนผ่านเรื่องเล่าเรื่องนี้จึงเป็นคำสอนที่ลูกหลานแห่งเผ่าพันธุ์ยึดมั่นถือมั่นมาจนถึงปัจจุบัน การกั้นไม่ให้น้ำไหลเป็นอิสระจึงถือเป็นข้อห้ามสำหรับชนเผ่าปกาปะญอ


ตั้งแต่ผมเกิดมา ก็เห็นสาละวิน ถูกทำลายมาหลายครั้งแล้ว สมัยก่อนก็สัมปทานป่า นายทุนเข้ามาตัดป่ากันจนเกือบจะหมด พอป่าใกล้หมดก็มาโทษชาวบ้านว่าเป็นคนทำ ตอนนี้ชาวบ้านไปเผาไร่ก็โดนจับ ทำไร่ไม่ได้ แล้วจะให้พวกเราทำอะไรกิน ตอนนี้ก็ได้ข่าวว่าจะมาสร้างเขื่อนอีก ผมเคยไปดูเขื่อนที่ตากมา พอมีเขื่อนน้ำท่วม ปลาก็น้อย คนก็ถูกย้าย ต่อไปถ้ามีเขื่อน แม่น้ำสาละวิน ก็จะไม่มีอะไรหลงเหลือไปถึงลูกหลานพวกเรา

วิชัย อำพรนภา ชาวบ้านโพซอ จังหวัดแม่ฮ่องสอน


ในเขตพม่า แม่น้ำสาละวิน ไหลผ่านรัฐฉาน เข้ารัฐคะยา รัฐกะเหรี่ยง และรัฐมอญ หลายเขตที่กล่าวมายังคงมีการสู้รบระหว่างชนกลุ่มน้อยผู้เป็นเจ้าของพื้นที่กับทหารพม่า โดยเฉพาะในรัฐฉาน และรัฐกะเหรี่ยง เป็นเขตที่มีการรายงานถึงการละเมิดสิทธิมนุษยชนโดยทหารพม่าในรูปแบบต่างๆ มากที่สุด ตั้งแต่ข่มขืนผู้หญิง บังคับใช้แรงงานทาส บังคับให้อพยพ จากรายงานขององค์กรมนุษยธรรมชายแดนพม่าหรือทีบีบีซี ได้สรุปจำนวนผู้อพยพในแต่ละพื้นที่ในปี ๒๕๔๗ เอาไว้ว่ามีจำนวนมากถึง ๕๒๖,๐๐๐ คน


และในปี ๒๕๓๙ มีหมู่บ้านนับพันถูกประกาศให้เป็นพื้นที่ ‘เขตยิงอิสระ’


เมื่อถูกขับไล่ออกนอกพื้นที่ ชาวบ้านไม่สามารถกลับมาเอาข้าวของของได้อีก เพราะถ้ากลับเข้าไปในพื้นที่จะถูกยิง บ่อยครั้งเช่นกันที่พื้นที่ในเขตการสู้รบ ชาวบ้านจะถูกทหารพม่ายิงทิ้งอย่างไร้ความปราณี โดยเฉพาะพื้นที่บริเวณการสร้างโรงไฟฟ้าลอปิต๊ะ จากหนังสือการสร้างเขื่อนภายใต้รัฐบาลทหารพม่า ซึ่งเป็นรายงานของกลุ่มวิจัยด้านการพัฒนาคะเรนนี ได้นำเสนอรายงานเอาไว้ว่า เมื่อมีการสร้างเขื่อนโมเบีย เพื่อผันน้ำให้กับโรงไฟฟ้าลอปิต๊ะ ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมกินบริเวณกว้างถึง ๒๐๗ ตารางกิโลเมตร และจากการสร้างเขื่อนในครั้งนั้นทำให้มีผู้เดือนร้อนที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมต้องอพยพถึง ๘,๐๐๐ คน ที่สำคัญคือในช่วงฤดูฝน เขื่อนจะปล่อยน้ำทำลายพืชผลทางการเกษตรซึ่งกำลังอยู่ในช่วงการเริ่มต้นของฤดูการทำเกษตร


นอกจาก ทหารพม่าจะบังคับให้ชาวบ้านโยกย้ายออกจากพื้นที่แล้ว ในที่ที่มีการสู้รบ ชาวบ้านจำนวนมากมายต้องอาศัยหลบซ่อนภัยอยู่ในอาศัยอยู่ในป่าสาละวิน เพื่อเอาชีวิตรอดไปวันๆ และในที่สุดคนจำนวนมากเหล่านั้นก็กลายเป็นผู้พลัดถิ่นภายในประเทศของตนเอง (Internally Displaced Persons-IDPs) ซึ่งคงไม่ต้องบอกกล่าวว่า ความเจ็บปวดที่เกิดขึ้นกับผู้คนที่กลายเป็นคนพลัดถิ่นบนแผ่นดินเกิดของตัวเองจะมีมากมายเพียงใด


นโยบายการพัฒนาต่างๆ ของรัฐบาลทหารพม่า เราคงกล่าวได้เต็มปากว่า พวกเขาไม่เคยสนใจ คนพื้นถิ่นผู้เป็นเจ้าของแผ่นดิน เพราะหลายโครงการที่เกิดขึ้น ทั้งโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้า การวางท่อก๊าซ การสร้างเขื่อน รัฐบาลทหารพม่าก็ไม่เคยสนใจว่า จะเกิดสิ่งใดขึ้นกับผู้คนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ของโครงการ


คงไม่ต้องกล่าวซ้ำว่า เมื่อมีการสร้างเขื่อนบนแม่น้ำสาละวิน น้ำจะท่วมเข้าไปในฝั่งพม่า หรือมีทหารพม่าเข้ามา ‘คุ้มกัน’ พื้นที่มากขึ้น เมื่อทหารเข้ามาในพื้นที่มาก คนที่เป็นเจ้าของพื้นที่ก็จะถูกให้บังคับโยกย้ายไปอยู่ที่อื่น ในเมื่อบ้านอยู่ไม่ได้แล้วจะให้คนเหล่านี้หลบหนีไปไหน นอกจากหนีมาพึ่งแผ่นดินไทย


และในอนาคตเมื่อมีโครงการสร้างเขื่อนในแม่น้ำสาละวินมากขึ้น แผ่นดินไทยคงเต็มไปด้วยระลอกคลื่นผู้ลี้ภัยมหาศาลจากพม่า มิต้องกล่าวถึงผู้ลี้ภัยร่วมแสนคนที่อาศัยอยู่ตามค่ายผู้ลี้ภัยต่างๆ แถบชายแดนไทย-พม่าในทุกวันนี้


หากมีโอกาสได้ถามผู้ลี้ภัยคนหนึ่งคนใด คำตอบที่ชัดเจนจากพวกเขาคงเป็นคำตอบที่ว่า พวกเรารอคอยวันที่พม่าเกิดสันติสุข และพวกเราก็จะได้หวนคืนสู่มาตุภูมิ


แน่ละเมื่อมีการสร้างเขื่อน แผ่นดินที่ผู้ลี้ภัยส่วนหนึ่งหวังว่าจะได้เดินทางกลับไปต้องจมอยู่ใต้น้ำหลังการสร้างเขื่อน แล้วในอนาคตผู้ลี้ภัยเหล่านี้จะเป็นเช่นใด พวกเขาจะเป็นผู้ลี้ภัยถาวรที่ไม่มีแม้กระทั่งบ้านให้กลับอีกต่อไปกระนั้นหรือ


หากมีการสร้างเขื่อนชีวิตของประชาชนจำนวนมากต้องสูญเสีย และเดือดร้อนนับหมื่นแสน ยังไม่ต้องคำนึงถึงผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมที่จะต้องเกิดขึ้นตามมาระหว่างและหลังการสร้างเขื่อน


ย้อนกลับมามองฝั่งประเทศไทย หากว่ามีการสร้างเขื่อนบนแม่น้ำสาละวิน แม้ว่าประเทศไทยจะไม่มีสงคราม แต่ก็มีผู้คนจำนวนไม่น้อยที่ต้องอพยพหนีน้ำท่วม ในขณะที่รัฐไทยไม่ได้มองความเป็นจริงว่า ผู้คนริมฝั่งแม่น้ำสาละวิน เขาอยู่ที่นี้มานาน และพวกเขาก็มีวิถีชีวิตที่สัมพันธ์กับป่า และแม่น้ำอย่างแยกออกจากกันไม่ได้ เมื่อป่าและน้ำถูกทำลาย คนเหล่านี้จะเป็นเช่นไร


พ่อหลวงนุ ชำนาญคีรีไพร กล่าวว่า

พวกเราอยู่กับป่า กินกับป่า พวกเราอยู่ตรงนี้มานาน จะมาสร้างเขื่อนเอาไฟฟ้าไปให้ใครใช้ก็ไม่รู้ พอเขาเอาไฟไปแล้ว พวกเราก็เดือดร้อน พวกเรามีบัตรประชาชนเป็นคนไทย พอสร้างเขื่อนจะมาให้พวกเราอพยพ ทั้งที่เราเป็นคนไทยจะให้เราเป็นผู้อพยพในประเทศของเราเองทำไม แม่น้ำมันดีอยู่แล้ว มันได้ไหลจะไปสร้างเขื่อนกั้นน้ำไม่ให้ไหลทำไม สร้างเขื่อนได้ไฟ แต่รู้ไหมว่า คนจำนวนไม่น้อยจะเดือดร้อน’


บทเรียนซ้ำซาก ที่ปรากฏให้เห็นอยู่เสมอมาคือ เมื่อมีการสร้างเขื่อนหมู่บ้านที่อยู่ใกล้กับบริเวณสร้างเขื่อนก็จะถูกอพยพ หากเขื่อนบนแม่น้ำสาละวิน ถูกสร้างก็ยังไม่มีใครรู้ว่าจะต้องอพยพคนที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมไปอยู่ในที่ใดภายหลังการสร้างเขื่อน แล้ววิถีชีวิตของคนอยู่ป่าที่เคยชินกับการทำไร่ และไม่ต้องพึ่งพาระบบเศรษฐกิจในระบบของทุนนิยมเช่นปัจจุบัน


พวกเขาจะทำอย่างไรต่อไปเมื่อวิถีชีวิตต้องปรับเปลี่ยน แม้กลุ่มผู้มีอำนาจในสังคมจะบอกว่า บางทีคนส่วนน้อยต้องเสียสละให้คนส่วนใหญ่บ้าง บทเรียนที่ผ่านมาก็แสดงให้เห็นอยู่แล้วว่า เราปล่อยให้ผู้เสียสละประสพความลำบากมามากต่อมากแล้ว และพวกเขาก็เป็นผู้สังเวยชะตากรรมที่ตัวเองไม่ได้สร้างอยู่ร่ำไป


ถึงเวลาหรือยังที่จะยอมรับว่า แม่น้ำสาละวิน คือ บ้านของคนนับแสน และถึงเวลาหรือยังที่จะยอมรับว่า เขื่อนขนาดใหญ่ไม่ใช่คำตอบสุดท้ายของเรื่องการจัดการน้ำ


ความสัมพันธ์ของคนกับสายน้ำมีมาเนิ่นนาน สายน้ำยังมีความหมายในหลายๆ ทาง ทั้งทางสังคม วัฒนธรรม และจิตวิญญาณของผู้คนสองฝั่งน้ำ การที่มนุษย์ได้พึ่งพาอาศัยน้ำ มนุษย์จึงได้ก่อเกิดวัฒนธรรมประเพณีที่แสดงออกให้เห็นถึงการเคารพนอบน้อมธรรมชาติ


นอกเหนือจากนั้นแล้ว บนสายน้ำเดียวกัน มนุษย์ยังได้เรียนรู้ที่จะรักษาสายน้ำไว้เพื่อประโยชน์ของตนเอง และปฏิเสธไม่ได้ว่า ผู้คนสองฝั่งแม่น้ำสาละวิน รักและหวงแหนแม่น้ำที่พวกเขาได้ใช้ประโยชน์ ด้วยความรักที่มีต่อแม่น้ำผู้เฒ่าผู้แก่จึงคอยย้ำเตือนลูกหลานแห่งเผ่าพันธุ์อยู่เสมอว่า

อ่อทีกะต่อที อ่อก่อกะต่อก่อ กินน้ำรักษาน้ำ อยู่ป่ารักษาป่า”


และปฏิเสธอีกไม่ได้เช่นกันว่า ดิน น้ำ ป่า คน ล้วนเป็นความสมดุลที่ตั้งอยู่บนความหลากหลายโดยแท้จริง ฉะนั้นแล้วเมื่อมนุษย์คิดกอบโกยเอาประโยชน์จากธรรมชาติ เราควรคิดให้ดีว่า

เมื่อเราใช้ประโยชน์จากธรรมชาติ เราเคารพในธรรมชาติ และศรัทธาในความเท่าเทียมกันของมนุษย์แล้วหรือยัง’


ข้อมูลประกอบการเขียน


เขื่อนสาละวิน: โศกนาฏกรรมสองแผ่นดิน, แผ่นดิน สายน้ำ และลมหายใจของกลุ่มชาติพันธุ์ที่จะจมใต้น้ำ, รายงานข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับโครงการเขื่อนบนแม่น้ำสาละวิน, ๒๕๔๖

การสร้างเขื่อนภายใต้รัฐบาลทหารพม่า,จัดทำโดยกลุ่มวิจัยด้านการพัฒนาของกลุ่มคะเรนนี, ๒๕๔๙

ผ่าสาละวินก่อนจะสิ้นป่าผืนสุดท้าย,โดยยอด ยิ่งยวด,

การพลัดถิ่นฐานภายในประเทศ และสภาวะเปราะบางของผู้พลัดถิ่นในประเทศพม่าแถบตะวันออก,โดยองค์การมนุษยธรรมชายแดนไทย-พม่า และเพื่อนไร้พรมแดน

งานวิจัยปกากะญอสาละวิน,วิถีน้ำ วิถีป่าของปกากะญอสาละวิน, โดยคณะนักวิจัยปกากะญอ สาละวิน, ศูนย์พัฒนาเครือข่ายเด็กและชุมชน, เครือข่ายแม่น้ำเอเชียตะวันออกเฉียงใต้,๒๕๔๘

ขอบคุณข้อมูลจากโครงการแม่น้ำเพื่อชีวิต เครือข่ายแม่น้ำเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ขอบคุณเครือข่ายชาวบ้านลุ่มน้ำสาละวินยวมเมยทุกคนที่ร่วมกันรังสรรค์สิ่งดีงามด้วยการปกป้องแผ่นดินเกิด

หมายเหตุ: งานชิ้นนี้ตีพิมพ์ครั้งแรกหนังสือ “โศกนาฏกรรมคนชายขอบ”




บล็อกของ สุมาตร ภูลายยาว

สุมาตร ภูลายยาว
หากท่วงทำนองของสายน้ำในฤดูฝนคือท่วงทำนองของเพลงร๊อคที่โหมกระหน่ำดุเดือดด้วยเสียงกระเดื่องกลองสลับกับเสียงเบสหนักๆ ปนกับเสียงร้องอันแหลมคม และสูงปรี้ดของนักร้อง สำหรับท่วงทำนองของสายน้ำในหน้าแล้งที่อยู่ในฤดูหนาว ท่วงทำนองของสายน้ำอันปกคลุมไปด้วยหมอกหนาวคงเป็นเสียงเพลงบูลล์หม่นเศร้า และในช่วงหน้าแล้ง ท่วงทำนองของสายน้ำคงเป็นท่วงทำนองของเพลงแคนอันเศร้าสร้อยอ้อยอิ่ง ชวนให้คิดถึงบรรยากาศของท้องทุ่ง และดินแตกระแหงของผืนดินอีสาน ฤดูแต่ละฤดูที่ผ่านไป หากแม่น้ำพูดได้ น้ำคงอยากบอกอะไรกับมนุษย์ผู้ได้ชื่อว่าใช้ประโยชน์จากแม่น้ำมากที่สุด อย่างน้อยคนที่ผิดหวังพลาดหวัง…
สุมาตร ภูลายยาว
ในชีวิตผมถือว่า สองปีที่ผ่านมา ผมโชคดีไม่น้อยที่มีโอกาสได้ไปยังสถานที่ที่ตัวเองไม่คาดคิดว่าจะได้ไป สถานที่ที่ว่านั่นคือ ‘สันเขื่อน’ และจุดสำรวจที่จะมีการสร้างเขื่อนบนแม่น้ำโขงในตอนล่าง ไล่ตั้งแต่ปากแบ่ง หลวงพระบาง ไซยะบุรี ปากลาย ปากชม และบ้านกุ่ม จำนวนพื้นที่ที่กล่าวมาทั้งหมดแถบทุกพื้นที่ได้มีการสำรวจศึกษาความเป็นไปได้ของพื้นที่ในการก่อสร้างเขื่อนหมดแล้วการไปในแต่ละครั้ง บางทีก็ต้องทำตัวให้กลมกลืนกับพื้นที่โดยการปลอมตัวเป็นนักท่องเที่ยวผู้อยากรู้อยากเห็น และที่สำคัญต้องตีสนิทกับคนท้องถิ่น เพื่อจะได้เดินทางไปสู่เป้าหมายง่ายขึ้น ในจำนวนพื้นที่ที่กล่าวมาทั้งหมด หากไม่นับรวมปากชมแล้ว…
สุมาตร ภูลายยาว
-ห้องพัก ๒๐๑, เฮือนพักเพียงจัน,หลวงพระบาง- สายฝนที่โปรยสายลงมาอย่างหนักตั้งแต่ตอนกลางคืนหายไปเมื่อตอนเช้าตรู่ ฟ้ากลับมาเป็นสีฟ้าใสอีกครั้ง หลังจากผู้คนของเมืองตื่นจากหลับใหลในอ้อมกอดของบ้านพักอบอุ่น ความเคลื่อนไหวจึงปรากฏ ถนนแต่ละสายผู้คนเริ่มพลุกพล่านโดยเฉพาะส่วนที่เป็นตลาด หลายครั้งที่มาถึงเมืองนี้ในการดำรงอยู่ของเมืองยังคงมีเรื่องราวให้น่าค้นหาในมุมมองอันหลากหลายมากขึ้น การมาถึงเมืองนี้ในแต่ละช่วงเวลาที่แตกต่างกันย่อมมีเรื่องเล่าแตกต่างกันออกไปด้วย การมาหลวงพระบางในครั้งนี้ก็เช่นกัน เรามาถึงในตอนเกือบ ๓ ทุ่ม สายฝนยังตกลงมา…
สุมาตร ภูลายยาว
ลมหนาวพัดข้ามยอดเขามา ตอซังข้าวลู่ลงแนบพื้นดิน น้ำในแม่น้ำหมันแห้งขอดลงตามฤดูกาล ถัดจากแม่น้ำขึ้นไปเป็นภูเขา แม่น้ำหมันมีต้นกำเนิดจากภูโลมโลอันเป็นเทือกเขาของเทืือกเขาเพชรบูรณ์ สายน้ำเล็กๆ ที่เป็นเส้นเลือดใหญ่ของคนอำเภอด่านซ้ายไหลเอื่อยช้าคล้ายคนเพิ่งหายจากการป่วยไข้ แม่น้ำหมันช่วงที่ไหลผ่านอำเภอด่านซ้ายไปจนถึงบ้านปากหมัน ตรงที่แม่น้ำหมันเดินทางไปบรรจบกับแม่น้ำเหืองมีความยาวทั้งสิ้น ๖๖ กิโลเมตร ตลอดริมสองฝั่งแม่น้ำจะมีต้นไผ่จำนวนมากขึ้นอยู่เป็นระยะ ต้นไผ่-แม่น้ำหมัน-คนริมฝั่งน้ำมีความสำคัญต่อกันจนแยกขาดจากกันไม่ได้
สุมาตร ภูลายยาว
หลังได้รับมอบหมายให้เป็นหนึ่งในคณะกรรมการตัดสินภาพวาดของเด็กๆ ที่ประกอบไปด้วยเด็กจากช่วงชั้นต่างๆ ตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ ของโรงเรียนบ้านคกเว้า ตำบลหาดคำภีร์ อำเภอปากชม จังหวัดเลย ข้าพเจ้าเองแบ่งรับแบ่งสู้ในตอนแรก เพราะโดยส่วนตัวแล้วการเป็นกรรมการประเภทนี้มีเงื่อนไขหลายอย่าง สำคัญกรรมการควรมีความรู้ทางศิลปะมาบ้าง เพื่อให้ผลการตัดสินออกมาดูน่าเชื่อถือ แต่สวนทางกันอย่างสิ้นเชิง ข้าพเจ้าไม่มีความรู้ทางศิลปะเอาเสียเลย อย่างมากก็พอรู้ว่ารูปไหนสวยไม่สวย ซ้ำร้ายเรื่องของทฤษฏีสีแล้ว ข้าพเจ้าไม่รู้เอาเสียเลย แม้จะเคยลองวาดรูปอยู่บ้าง แต่ก็งูๆ ปลาๆ…
สุมาตร ภูลายยาว
โศกนาฏกรรมสองฝั่งน้ำ มีเรื่องเล่าเกี่ยวกับสายน้ำเรื่องหนึ่งที่ผู้เฒ่าปกากะญอ มักเล่าให้ลูกหลานฟังอยู่เสมอ เรื่องเล่าเรื่องนี้มีอยู่ว่า ‘นานมาแล้วมีเจ้าเมืององค์หนึ่งจะตึกแค-กั้นน้ำ เพื่อจับปลาในแม่น้ำสาละวิน ให้ลูกที่อยากกิน ปลาตัวนี้ใหญ่มาก ส่วนหัวของปลาอยู่โจโหละกุย-วังน้ำใหญ่อยู่ในเขตสาละวินตอนกลาง ลำตัวของปลายาวลงไปตามลำน้ำ ส่วนหางอยู่ที่แจแปนทีลอซู แต่ก็มีเรื่องที่ทำให้ชาวบ้านชาวเมืองตกอกตกใจ เพราะหากว่าเลือดหรือน้ำมันจากปลาตัวนี้ไหลลงพื้นดินเมื่อใด แผ่นดินก็จะลุกเป็นไฟ เมื่อชาวบ้านทราบข่าวก็เกิดความกังวลว่า เมื่อน้ำท่วมบ้านแล้วไม่รู้ว่าจะหนีไปอยู่ที่ไหน…
สุมาตร ภูลายยาว
การพัฒนาบนคราบน้ำตาคนชายขอบ ในอดีตอันยาวไกลของแม่น้ำสายนี้เคยไหลอย่างอิสระมาตลอด แต่แม่น้ำนานาชาติสายสำคัญแห่งนี้อาจมิได้ไหลอย่างอิสระต่อไปอีกแล้ว เพราะปัจจุบันแม่น้ำสายนี้ได้ถูกผลักดันให้เข้าไปอยู่ในแผนพัฒนาต่างๆ แผนพัฒนาที่สำคัญ คือแผนพัฒนาพลังงานไฟฟ้า โดยเฉพาะกับประเทศไทย แม่น้ำสาละวินกลายเป็นแม่น้ำยุทธศาสตร์สำคัญสายหนึ่งที่น้ำในแม่น้ำจะถูกนำมาแปรเป็นกระแสไฟฟ้า ภายใต้วาทะกรรมของนักพัฒนาที่ว่า ‘พื้นที่ชายขอบของประเทศมีคนอยู่น้อย และผู้ที่ได้รับผลกระทบย่อมมีส่วนน้อยเช่นกัน’
สุมาตร ภูลายยาว
ผู้คนแห่งสาละวิน  สาละวิน ถือเป็นสายน้ำแห่งกลุ่มชาติพันธุ์อย่างแท้จริง เพราะสองฟากฝั่งลุ่มน้ำสาละวิน ตั้งแต่เทือกเขาหิมาลัยลงมาจนถึงอ่าวเมาะตะมะ ในเขตหุบเขาอันไกลโพ้นในประเทศจีนก็มีกลุ่มชาติพันธุ์อาศัยอยู่ไม่น้อยกว่า ๑๔ กลุ่ม โดยส่วนใหญ่เป็นชาวนู ลีซู และตู๋หลง เมื่อล่องตามน้ำลงมาจนถึงพรมแดนพม่า-จีน พม่า-ไทยก็มีกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ อาศัยอยู่มากมายไม่ต่ำกว่า ๑๖ กลุ่ม เช่น นู ลีซู ไทยใหญ่ กะยา กะยัน กะเหรี่ยง และมอญ กลุ่มชาติพันธุ์เหล่านี้ล้วนมีภาษา ตัวอักษร วรรณคดี ศิลปวัฒนธรรม และประเพณีของตนเอง ในบรรดากลุ่มชาติพันธุ์ที่มีอยู่หลากหลายบนลุ่มน้ำแห่งนี้ กลุ่มยินตาเล…
สุมาตร ภูลายยาว
สาละวินบนนิยามของความหลากหลาย สาละวิน บนเส้นทางงานวิจัยชาวบ้าน งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาครอบคลุมพื้นที่ลุ่มน้ำสาละวิน ตลอดแนวพรมแดนไทย-พม่า โดยได้มีการศึกษาข้อมูลพื้นฐานในประเด็นพันธุ์ปลา เครื่องมือหาปลาพื้นบ้าน การทำเกษตร พรรณพืชในป่า และสังคมวัฒนธรรมของชาวปกาะกญอ เพื่อนำมาอธิบายความสลับซับซ้อนของระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพในลุ่มน้ำสาละวิน และวิถีชีวิต เศรษฐกิจ สังคมวัฒนธรรมของชุมชนที่ตั้งอยู่บนฐานของระบบนิเวศดังกล่าว ตลอดจนพิธีกรรม และความเชื่อของชุมชนในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ผลการศึกษาพบว่า แม่น้ำสาละวิน ตลอดพรมแดนไทย-พม่า มีระบบนิเวศที่สลับซับซ้อน อาทิ แก่ง วังน้ำ หาดทราย…
สุมาตร ภูลายยาว
ระบบนิเวศลุ่มน้ำสาละวิน ระบบนิเวศลุ่มน้ำสาละวิน ถือว่า มีความสำคัญต่อภูมิภาคนี้เป็นอย่างมาก เนื่องจากแม่น้ำสาละวินเป็นแม่น้ำนานาชาติสายสุดท้ายในภูมิภาคนี้ที่ยังไม่ได้ถูกล่ามโซ่ด้วยเขื่อน นักนิเวศวิทยาได้จัดให้แม่น้ำสาละวินเป็นศูนย์กลางของการกระจายพันธุ์ไม้สักของโลก พื้นที่ลุ่มน้ำสาละวิน เป็นพื้นที่ที่มีความหลากหลายทางชีวภาพสูง มีระบบนิเวศสลับซับซ้อนเนื่องจากเป็นพื้นที่ต่อเนื่องระหว่างเขตชีวภูมิศาสตร์ย่อยอินโดจีนกับพื้นที่ต่อเนื่องจากชีวภูมิศาสตร์สิโนหิมาลายันหรือเขตชีวภูมิศาสตร์ย่อยอินเดีย แต่ก็เป็นที่น่าเสียดายว่า เกือบครึ่งศตวรรษที่ผ่านมา การศึกษาระบบนิเวศวิทยาของแม่น้ำสาละวิน มีอยู่น้อยมาก…
สุมาตร ภูลายยาว
หลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ สหราชอาณาจักรได้คืนอิสรภาพให้กับพม่า ภายหลังพม่าได้รับอิสรภาพ ในปี ๒๔๙๐ นายพลอู่อองซาน ผู้นำพม่าในขณะนั้นก็ถูกสังหารเสียชีวิต การล้มเหลวลงอย่างสิ้นเชิงของสัญญาปางโหลง จึงเกิดขึ้น เมื่อคำมั่นในสัญญาปางโหลงไม่เป็นผล ชนกลุ่มน้อยกลุ่มต่างๆ จึงได้จับอาวุธลุกขึ้นสู้กับรัฐบาลทหารพม่า เพื่อแยกตัวเป็นรัฐอิสระและปกครองตนเอง ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำสาละวิน จึงเกิดกองกำลังปลดปล่อยขึ้นหลายกลุ่ม เขตรอยต่อพรมแดนไทย-พม่าริมฝั่งแม่น้ำสาละวิน ด้านตะวันตก เป็นดินแดนที่กล่าวได้ว่า กฎหมายอาจไม่มีความสำคัญ ทุกชีวิตที่ยังมีลมหายใจ จึงอยู่ภายใต้กฎของปืน และความเหลื่อมล้ำในการดำเนินชีวิต…
สุมาตร ภูลายยาว
พ่อตู้เริญได้เล่านิทานเรื่องนี้ให้ผมฟังขณะเรานั่งหย่อนอารมณ์ในบ้านของแก เพื่อรอฝนหายจากฟ้า เดือนตุลาคมแล้ว ฝนยังมิจากจางเลย ลมหนาวมิมีทีท่าว่าจะพัดมา สายฝนเทลงมาจั่กๆ พ่อตู้เริญต้องเล่านิทานเรื่องนี้ด้วยเสียงดัง เพื่อจะให้ผมได้ยินถนัด ผมกดเครื่องบันทึกเสียงเพื่อบันทึกเสียงการเล่านิทานของพ่อตู้เอาไว้ เพราะคิดว่าจะเก็บเอามาเล่าต่อให้คนอื่นได้ฟังด้วย พ่อตู้เริญเล่าว่า... นานมาแล้ว ยุคสมัยก่อนการเกิดขึ้นของพุทธศาสนา องค์อินทร์ผู้เป็นนายของทุกสิ่ง และทรงสร้างทุกสิ่งในจักรวาลได้นั่งตรวจยามสามตา เพื่อตรวจดูทุกสรรพสัตว์ใตอานัติของตนเอง แล้วในญาณนั้นก็ปรากฏการเกิดขึ้นของพระพุทธศาสนา…