Skip to main content


ลมหนาวพัดข้ามยอดเขามา ตอซังข้าวลู่ลงแนบพื้นดิน น้ำในแม่น้ำหมันแห้งขอดลงตามฤดูกาล ถัดจากแม่น้ำขึ้นไปเป็นภูเขา แม่น้ำหมันมีต้นกำเนิดจากภูโลมโลอันเป็นเทือกเขาของเทืือกเขาเพชรบูรณ์ สายน้ำเล็กๆ ที่เป็นเส้นเลือดใหญ่ของคนอำเภอด่านซ้ายไหลเอื่อยช้าคล้ายคนเพิ่งหายจากการป่วยไข้


แม่น้ำหมันช่วงที่ไหลผ่านอำเภอด่านซ้ายไปจนถึงบ้านปากหมัน ตรงที่แม่น้ำหมันเดินทางไปบรรจบกับแม่น้ำเหืองมีความยาวทั้งสิ้น ๖๖ กิโลเมตร ตลอดริมสองฝั่งแม่น้ำจะมีต้นไผ่จำนวนมากขึ้นอยู่เป็นระยะ ต้นไผ่-แม่น้ำหมัน-คนริมฝั่งน้ำมีความสำคัญต่อกันจนแยกขาดจากกันไม่ได้


คนริมแม่น้ำหมันในอำเภอด่านซ้ายเล่าให้ฟังว่า แม่น้ำหมันในช่วงหน้าแล้งกับหน้าฝนจะต่างกันอย่างสิ้นเชิง ในหน้าฝนน้ำจากแม่น้ำจะไหลเอ่อเข้าท่วมไร่นา บ้านเรือนทั้งสองฝั่งแม่น้ำ แต่ในช่วงหน้าแล้งน้ำในแม่น้ำจะเหือดลง ถึงอย่างไรก็ตามแม้น้ำจะเหือดลง แต่ชาวบ้านส่วนหนึ่งก็ได้อาศัยน้ำในแม่น้ำทำนาปรัง เพราะในช่วงหน้าฝนน้ำท่วม ผลผลิตที่ได้จึงน้อย การทำนาปรังในช่วงหน้าแล้งจึงมีผลผลิตที่มาชดเชยในฤดูการทำนาปกติ แน่ละ การทำนาปรัง น้ำย่อมมีส่วนสำคัญอย่างมาก แต่น้ำที่ชาวนาในเขตอำเภอด่านซ้ายผันเข้านานั้นมาจากที่ไหน คำถามถูกเฉลยออกมา เมื่อเราเดินทางออกจากอำเภอด่านซ้ายมุ่งหน้าสู่อำเภอท่าลี่


จากข้อมูลที่เพื่อนร่วมทางได้มาทำให้คำถามนี้กระจ่างขึ้น น้ำที่ชาวนาในเขตอำเภอด่านซ้ายผันเข้านามาจากน้ำในแม่น้ำหมันนั่นเอง แล้วชาวนาผันน้ำจากแม่น้ำขึ้นมาได้ยังไงนั่นเป็นอีกหนึ่งคำถามที่ตามมา


หลังรถวิ่งเรื่อยไปบนถนน เราก็ได้พบคำตอบของคำถามเมื่อมองเห็นชิงช้าสวรรค์ขนาดใหญ่อยู่ริมแม่น้ำ ภายหลังที่รถจอดสงบนิ่งริมข้างทาง ผู้โดยสารทยอยลงจากรถมุ่งหน้าที่สู่ริมฝั่งแม่น้ำ โดยมีเป้าหมายอยู่ที่ชิงช้าสวรรค์ในแม่น้ำ เมื่อไปถึงความจริงของการจัดการน้ำจึงกระจ่างแจ้งขึ้นเป็นลำดับ

 

 

ชาวนาที่ทำนาปรังและนาปีอาศัยผันน้ำจากแม่น้ำหมันโดยวิธีการตามภูมิปัญญาชาวนาคือใช้ระหัดวิดน้ำเข้านาหรือที่คนท้องถิ่นในเขตอำเภอด่านซ้ายเรียกว่า ‘พัด’ การผันน้ำเข้ามาโดยวิธีการใช้พัด ชาวนาเรียกว่า ‘การพัดน้ำ’ การพัดน้ำเป็นภูมิปัญญาในการจัดการน้ำมาแต่โบราณกาล โดยอาศัยธรรมชาติจากการไหลของสายน้ำมาใช้ให้เกิดประโยชน์


ส่วนประกอบต่างๆ ของพัดประกอบด้วยขาธนู กงล้อ ใบพัด บั้ง หรือกระบอกตักน้ำ ฮางรินหรือรางสำหรับให้น้ำไหลไปสู่นา ในประเทศไทยระหัดวิดน้ำมีชื่อเรียกต่างๆ กันไป ทางภาคเหนือเรียกว่า ‘หลุก’ ทางภาคกลาง และภาคอีสานเรียกว่า ‘กังหันวิดน้ำ’ หรือ ‘ระหัดวิดน้ำ’ ขณะที่ชาวนาในแถบแม่น้ำหมันอำเภอด่านซ้ายเรียกว่า ‘พัดหรือพัดน้ำ’


การทำพัดจะเริ่มขึ้นในช่วงเดือน ๖ (พฤษภาคม) การทำพัดชาวนาเรียกว่า ‘การตีพัด’ ก่อนการตีพัดแต่ละครั้ง ชาวนาจะเดินทางขึ้นภูเขา เพื่อหาไม้เนื้อแข็งมาทำขาธนู หลังจากนั้นก็จะตัดไม้ไผ่ที่เกิดขึ้นตามริมฝั่งแม่น้ำหมันมาทำเป็นส่วนประกอบต่างๆ ของพัด เช่น ใบพัด บั้งตักน้ำ ฮางรินเป็นต้น


หลังได้วัสดุอุปกรณ์ทั้งหมดมาแล้ว ชาวนาก็จะลงมือประกอบพัดโดยการตัดไม้ไผ่จำนวนมากกั้นเป็นฝายในแม่น้ำ และปล่อยช่องให้น้ำไหลออกหนึ่งช่อง สาเหตุที่ต้องกั้นน้ำเป็นฝายนั้นก็เพื่อบังคับทิศทางการไหลของน้ำให้แคบลง เมื่อน้ำมีทิศทางการไหลแคบลง น้ำก็จะไหลแรงขึ้น หลังกั้นฝายเสร็จก็เริ่มการสร้างกงล้อขนาดใหญ่คล้ายกับชิงช้าสวรรค์ขึ้นในทางน้ำที่เว้นช่องไว้ จากนั้นก็มัดบั้งติดกับกงล้อ และต่อเชื่อมฮางรินรองรับน้ำที่ถูกเทลงจากบั้ง น้ำจากฮางรินก็จะไหลเข้าไปตามพื้นที่ต่างๆ ในผืนนา


ส่วนประกอบของพัดน้ำเกือบทั้งหมดทำขึ้นจากไม้ไผ่ การตีพัดแต่ละครั้งก็จะใช้ไม้ไผ่ใหม่ทั้งหมด ยกเว้นเพลาหรือดุมแกนกลางของพัดที่ทำจากไม้เนื้อแข็ง ดุมจะใช้อันเก่าไปเรื่อยๆ จนกว่าจะผุพัง การใช้พัดจะใช้ปีต่อปี เมื่อเสร็จหน้านา น้ำเหือดลงก็จะเลิกใช้ พอถึงหน้านาใหม่ก็มาตีพัดใหม่ แต่ก็มีข้อยกเว้นสำหรับบางพื้นที่ ชาวนาที่ทำนาปรังบางแปลงก็ยังใช้พัดในหน้าแล้งอยู่เช่นที่บ้านนาดี เจ้าของนาผู้เป็นเจ้าของพัดยังอาศัยน้ำจากพัดเข้านาเพื่อใหน้ำกับข้าวนาปรัง เทคนิคในการทำพัดจะอยู่ที่ต้องตั้งกลง้อด้านหนึ่งให้เอียง เพื่อให้น้ำจากบั้งสามารถถ่ายเทลงมายังฮางรินได้


ปัจจุบันตลอดระยะทาง ๖๖ กิโลเมตรของลำน้ำหมันจากด่านซ้ายถึงปากหมัน ชาวบ้านยังใช้พัดผันน้ำเข้านาประมาณคร่าวๆ ราว ๑๐๐ ตัว และแนวโน้นในอนาคต จำนวนพัดก็เริ่มลดลงเรื่อยๆ ส่วนหนึ่งมาจากเครื่องสูบน้ำเข้ามาแทนที่ของพัด และบางส่วนก็มากจากความตื้นเขินของแม่น้ำจนไม่สามารถที่จะทำพัดได้ พัดจะทำงานได้ดีในช่วงหน้าฝน ส่วนในหน้าแล้งพัดก็ไม่ได้ใช้งาน


หากมองต่างมุมออกไป การจัดการน้ำตามวิธีการโบราณเช่นนี้มักได้รับการปฏิเสธจากหน่วยงานของทางราชการทั้งในระดับล่างสุดจนถึงระดับประเทศ สาเหตุคงเพราะการผันน้ำเข้านาโดยการใช้พัดนั้นเป็นสิทธิแบบปัจเจกที่ชาวบ้านผู้มีนาอยู่ติดน้ำเป็นเจ้าของพื้นที่ในการทำ และอีกสาเหตุหนึ่งการทำพัดไม่ได้ใช้งบของทางราชการ หากทำฝายแล้วทำคลองส่งน้ำ หน่วยงานราชการก็จะได้ประโยชน์จากโครงการอยู่บ้างไม่มากก็น้อย


ในอนาคตคงบอกได้ว่า การทำชิงช้าสวรรค์ผันน้ำเข้านาของชาวนาในลุ่มแม่น้ำหมัน อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลยคงลดน้อยถอยลงไป ซึ่งการลดลงก็มาจากหลายสาเหตุ และแน่ละหนึ่งในนั้นย่อมมีการพูดถึงมายาคติเรื่องการทำพัดทำให้เกิดน้ำท่วม และแม่น้ำตื้นเขิน แต่ความจริงคงไม่ได้เป็นเช่นนั้น เพราะการทำพัดในช่วงหน้าฝนน้ำจะท่วมตลิ่งเป็นปกติอยู่แล้ว และส่วนหนึ่งสาเหุตที่น้ำท่วมก็มาจากทั้งสองข้างของแม่น้ำหมันเป็นภูเขา แม่น้ำหมันจึงเป็นพื้นที่รับน้ำที่สำคัญ


อีกอย่างหนึ่ง ตัวพัดไม่ได้ตั้งขวางแม่น้ำ แต่ตั้งอยู่ริมแม่น้ำ ความตื้นเขินที่เกิดขึ้นหาได้เป็นความตื้นเขินของแม่น้ำไม่ แต่เป้นความตื้นเขินของหน่วยงานราชการมากกว่าที่พยายามหยัดเยียดความเป็นผู้ร้ายให้กับองค์ความรู้ของชาวนา



จากมายาคติดังกล่าวจึงนำไปสู่ทิศทางในการทำร้ายองค์ความรู้ในการจัดการน้ำของชาวนาในระยะยาว และแน่นอนที่สุด การทำลายองค์ความรู้ของชาวนาจะทำลายจนหมดสิ้นได้ก็คือการสร้างองค์ความรู้ใหม่ขึ้นมา องค์ความรู้ใหม่ที่ถูกสร้างขึ้นมา คือการผันน้ำเข้านาโดยใช้เครื่องสูบน้ำรวมทั้งการทำฝายแล้วทำคลองส่งน้ำ และแน่ละหลังการทำคอลงส่งน้ำ ชาวนาย่อมได้ใช้น้ำฟรีในช่วงแรก แต่เมื่อไหร่ก็ตามที่ พรบ
.น้ำออกมา ชาวนาจะต้องจ่ายค่าน้ำเพิ่มนอกเหนือจากการจ่ายค่าปุ๋ย และค่ายาฆ่าแมลง


ลมหนาวที่มากับฤดูแล้งพัดแบ่วเบา พอๆ กับพัดตัวสุดท้ายที่บ้านนาดีหลังเสร็จหน้านายังทำงานท่ามกลางลมหนาวเหนือริมน้ำหมันอย่างแบ่วเบาเช่นกัน อีกนานไหมที่องค์ความรู้ของชาวนาในเรื่องการจัดการน้ำโดยการสร้างพัดจะหายไป คำตอบอยู่ที่ชาวนาเอง หากเมื่อใดก็ตามที่ชาวนายังคงแข็งขืนต่อระบบการจัดการน้ำของรัฐได้ ตราบนั้นพัดก็ยังคงหมุนอยู่เช่นเดิม แม้จะลดน้อยลงไปตามกาลเวลาก็ตามที...

 

 

บล็อกของ สุมาตร ภูลายยาว

สุมาตร ภูลายยาว
วารสารวรรณศิลป์บนแผ่นดินลาว ลมหนาวและความร้อนแล้งโชยผ่านยอดขุนเขาด้านทิศตะวันตกแห่งเมืองหลวงของราชอาณาจักรล้านนามาแผ่วๆ แล้วฤดูกาลแห่งความเหน็บหนาวก็เดินทางมาอีกครั้งพร้อมกับลมสายลมนั้น
สุมาตร ภูลายยาว
สี่พันดอน: บ้านของคนและปลา เมื่อเอ่ยถึงสี่พันดอนเชื่อว่าหลายคนที่เคยไปเยือนคงจินตนาการถึงได้ แต่สำหรับคนที่ไม่เคยไปเยือนคงงุนงงไม่น้อยว่าหมายถึงอะไร คำว่า ‘สี่พันดอน’ เป็นชื่อเรียกเกาะ ดอนต่างๆ ที่เกิดขึ้นในแม่น้ำโขงในเขตเมืองโขง แขวงจำปาสัก ภาคใต้ของประเทศลาว ดินแดนแห่งนี้ได้ถูกเรียกขานว่า สี่พันดอน เพราะเต็มไปด้วยเกาะน้อยใหญ่ที่มีจำนวนมากมายเรียงรายอยู่ในแม่น้ำโขงที่มีความกว้างกว่า ๑๔ กิโลเมตร เกาะต่างๆ เริ่มขึ้นที่เมืองโขงและยาวลงไปจนถึงชายแดนลาว-กัมพูชาที่บ้านเวินคามกับเมืองสตรึงเตร็ง ในจำนวนเกาะที่มีอยู่มากมาย เกาะใหญ่ที่สุดชื่อ ‘ดอนโขง’ คำว่า ‘ดอน’…
สุมาตร ภูลายยาว
เจ้าม้าศึกสีเทา ๒,๒๐๐ ซีซี ทะยานไปตามทางลูกรังสีแดงเบื้องหลังฝุ่นคลุ้งตลบ หากมีรถวิ่งตามมาคงบอกได้คำเดียวว่า ‘ขอโทษ’ ก่อนจะถึงทางแยกเสียงโทรศัพท์ของผู้ไปถึงก่อนก็บอกให้ตรงมาตามทางอย่าได้เลี้ยวซ้ายเป็นอันขาด เพราะนั่นหมายถึงการหลงทางจะเกิดขึ้น
สุมาตร ภูลายยาว
การเดินทางเที่ยวนี้มีผู้หญิงนำ เช้านี้เป็นอีกวันที่ตื่นเช้ากว่าวันอื่น แต่หากว่าเมื่อเทียบกับชาวบ้านทั่วไปแล้ว ถือว่ายังสาย โดยเฉพาะกับพ่อค้าแม่ค้าการตื่นนอนตอน ๖ โมงเช้านั้นถือว่าสายมากแล้ว เช้านี้กว่าจะเปิดเปลือกตาตื่นช่างหนักหนาสาหัส ราวกับว่าเปือกตาทั้งสองข้างถูกปิดทับไว้ด้วยเทปกาวชั้นดี หลังล้างหน้าแปรงฟันเสร็จ สมองยังคงงุนงง อาจเป็นเพราะช่วงนี้พักผ่อนไม่ค่อยพอ รวมทั้งมีเรื่องหลายเรื่องให้ได้คิด แต่เพราะงานที่ทำจึงต้องบังคับตัวเองให้ลุกจากที่นอน
สุมาตร ภูลายยาว
จะแกคนเลี้ยงวัวผู้ไม่เคยขุ่นมัวในหัวใจ ผมจำได้ว่าพบชายคนนี้ครั้งแรกเมื่อเข้าไปบ้านสองพี่น้อง เขาดูแปลกกว่าคนอื่นในหมู่บ้าน เพราะเขาเป็นผู้ชายคนเดียวในหมู่บ้านที่ไว้ผมยาว เค้าโครงใบหน้าของเขาราวกับถอดแบบออกมาจากหัวหน้าชนเผ่าของอินเดียนแดง
สุมาตร ภูลายยาว
การงานของชีวิตที่ตกค้าง ฝนเทลงมาอีกวันแล้ว...เสียงสังกะสีดังราวกับมีก้อนหินนับล้านร่วงลงมาใส่ เย็นวันนี้มีเรื่องราวให้ขบคิดมากมาย กลับมาจากการประชุมที่เคร่งเครียด อันนับว่าเป็นการงานส่วนหนึ่งของชีวิต เล่นเอาเหนื่อยสายตัวแทบขาด แล้วยังมีงานอะไรที่ยังไม่ได้ทำอีกไหมนี่
สุมาตร ภูลายยาว
บันทึกในค่ำคืนที่เปลี่ยนผ่านกับนิทรรศการที่ไม่ได้จัด สายฝนของเดือนกันยายนโปรยสายลงมาทั้งวัน เราออกเดินทางจากเชียงของมาแต่ตอนเช้าด้วยรถคันเล็ก บนกระบะทางตอนท้ายบรรทุกเอกสารต่างๆ รวมทั้งนิทรรศการมาเต็ม รถต้องจดหลายครั้ง เพื่อห่มผ้ายางกันฝนให้ของบนกระบะรถ เราผ่านมากว่าครึ่งทาง ฝนยังไม่มีทีท่าว่าจะหยุดตก ซ้ำร้ายยังตกลงมาหนักกว่าเดิม รถวิ่งทำความเร็วได้ไม่มากนัก ทั้งที่ความเป็นจริงแม้ฝนจะไม่ตก มันก็ไม่เคยวิ่งได้เร็วกว่าที่วิ่งอยู่เท่าใดนัก
สุมาตร ภูลายยาว
เมฆสีดำเหนือฟ้าด้านตะวันออกส่งสายฝนลงมาตั้งแต่เช้าจนล่วงบ่าย แม่น้ำเป็นสีชานมเย็น เศษขยะ ขอนไม้ ท่อนไม้ และต้นไม้ลอยมากับสายน้ำ และไหลไปตามแรงเฉื่อยของกระแสน้ำ
สุมาตร ภูลายยาว
เช้านี้เหมือนกับทุกเช้าในช่วงนี้พ่อท่อน ยาแก้วเดินทอดน่องในสวนบนดอนทรายริมฝั่งแม่น้ำโขงเพื่อดูแปลงมะเขือราว ๔ ไร่ ในใจพ่อท่อนเองไม่อยากเก็บมะเขือในตอนนี้แม้ว่าจะถึงช่วงเวลาในการเก็บแล้ว สาเหตุที่ทำให้พ่อท่อนไม่อยากเก็บมะเขือในตอนนี้ เพราะราคามะเขือต่ำกว่าปีที่ผ่านมา ปีนี้มะเขือหนึ่งหมื่น (๑๒ กิโลกรัม) ขายส่งจากสวนได้เงิน ๑๒ บาท
สุมาตร ภูลายยาว

รถตู้วิ่งไปบนถนนลาดยางมะตอยที่บางช่วงเป็นหลุมเป็นบ่อ ถนนสายนี้เป็นเส้นทางจากจังหวัดกระแจะไปอำเภอสามบอ เพราะถนนไม่ค่อยดีนัก ระยะทาง ๓๕ กิโลเมตรต้องใช้เวลาเกือบ ๑ ชั่วโมงจึงถึงจุดหมาย เมื่อรถตู้ทั้ง ๓ คันจอดสงบนิ่งลงตรงประตูหน้าวัด ผู้โดยสารในรถตู้ก็พากันทยอยลงจากรถ เบื้องล่างของถนนเป็นแม่น้ำสายใหญ่ คนท้องถิ่นเรียกแม่น้ำสายนี้ว่า ‘โตนเลของ-แม่น้ำของ-โขง’ แม้ยังไม่สายมากนัก แต่แสงแดดก็ส่องประกายร้อนแรงเหนือสายน้ำ ฟ้ากว้างเปล่าแปนเป็นสีฟ้าไกลสุดสายตาหยั่งถึง บนสายน้ำเรือหลายลำจอดลอยลำอยู่ ใกล้กับเรือตรงโคนต้นจามจุรีมีเด็ก ๓-๔ คนนั่งอยู่ ถัดจากโคนต้นจามจุรีไปมีเรือลำหนึ่งลอยลำอยู่…
สุมาตร ภูลายยาว
จากพื้นที่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำที่แม่น้ำโขงไหลผ่าน ผู้คนสองฝั่งได้ใช้ประโยชน์จากแม่น้ำที่มีความยาว ๔,๙๐๔ กิโลเมตรสายนี้ไม่ต่ำกว่า ๑๐๐ ล้าน ลักษณะการใช้ประโยชน์ก็แตกต่างกันออกไปตามแต่สภาพของพื้นที่ ในช่วงที่ไหลผ่านประเทศไทยตั้งแต่จังหวัดเชียงรายจนถึงจังหวัดอุบลราชธานี ก็มีผู้คนไม่จำนวนไม่น้อยได้ใช้ประโยชน์ในด้านแตกต่างกันออกไป ผู้ใหญ่ใช้หาปลา และใช้พื้นที่ตามหาดทรายที่โผล่พ้นน้ำ และริมฝั่งทำการเกษตร เด็กๆ ใช้เป็นห้องเรียนสำหรับฝึกหาปลา และว่ายน้ำ
สุมาตร ภูลายยาว
  ผาชันเป็นหมู่บ้านอีกแห่งหนึ่งที่อยู่ริมแม่น้ำโขงอยู่ในเขตอำเภอโพธิ์ไทร จังหวัดอุบลราชธานี หมู่บ้านแห่งนี้มีเรื่องราวน่าสนใจหลายอย่าง เริ่มแรกเดิมทีก่อนเดินทางไปถึง ผมจินตนาการถึงหมู่บ้านแห่งนี้ในรูปแบบต่างๆ และพอเดินทางไปถึงบ้านผาชันเป็นครั้งแรก ซึ่งอยู่ในหน้าฝน ผมก็พบว่า ในฤดูฝนหมู่บ้านแห่งนี้กลายเป็นเกาะขนาดย่อมๆ ชาวบ้านบอกว่า "ในฤดูฝน น้ำจากห้วยจะไหลจนท่วมสะพาน และถนนที่เข้าสู่หมู่บ้าน การเดินทางเข้าหมู่บ้านต้องใช้เรือข้ามลำห้วยแล้วไปต่อรถ" ร่องรอยของคำพูดปรากฏให้เห็นเมื่อผมเดินทางเข้าสู่หมู่บ้าน รถข้ามสะพานที่น้ำในลำห้วยเริ่มปริ่มอยู่ใต้สะพาน…