Skip to main content

ในยามเย็น หลังแสงตะเกียงสว่างขึ้น ความสว่างของแสงไฟตะเกียงก็ตัดกับท้องฟ้ามืดครึ้มไร้ดวงดาวแต้มขอบฟ้า ดูเหมือนว่ายามนี้สายฝนต้นฤดูมาถึงแล้ว ในที่ไกลออกไปฟ้าแลบแปลบปลาบ ทุกครั้งที่ฟ้าแลบ ความสว่างที่เกิดขึ้นเพียงสั้นๆ ทำให้ฟ้าสีดำดูน่ากลัว ไม่นานนักหลังฟ้าร้องเข้ามาใกล้ สายฝนปานฟ้ารั่วก็โถมถั่งลงมา

ยามนี้ปลาหลายชนิดอพยพขึ้นเหนือ เพื่อวางไข่ จะเหลือเพียงปลาบางชนิดเท่านั้นอพยพขึ้นมาช่วงน้ำลด ในช่วงนี้ คนหาปลาไหลมองก็จะเริ่มยุติการหาปลาลง เพราะน้ำในแม่น้ำเป็นน้ำใหญ่หาปลาลำบาก ช่วงน้ำใหญ่นี่เองถือว่าธรรมชาติได้จัดการมนุษย์ และดูแลรักษาตัวเองไปด้วยพร้อมกัน

ในแต่ละฤดูธรรมชาติได้ส่งสัญญาณบอกคนหาปลาให้เฝ้าสังเกตฤดูการอพยพของปลา เพื่อให้คนหาปลาได้ใช้เครื่องมืออันเหมาะสมกับการหาปลาของพวกเขา

นอกจากคนหาปลาจะสังเกตธรรมชาติรอบตัวแล้ว คนหาปลายังสังเกตการอพยพของปลาแต่ละชนิด เพื่อจะได้คาดการณ์ล่วงหน้าได้ถูกต้องว่า เมื่อปลาชนิดไหนอพยพขึ้นมาแล้ว ต่อไปปลาชนิดไหนจะอพยพตามขึ้นมาบ้าง

ชายชราบอกว่า “ในช่วงเดือน ๕ (เดือนเมืองทางภาคเหนือหมายถึงเดือนมีนาคม) ปลาแกงจะขึ้นมาแล้ว พอปลาแกงขึ้นมา ปลาเพี้ย ปลาโมง ก็จะขึ้นตามมา บางทีในช่วงปลาขึ้นถ้าหาปลาได้ก็จะได้ปลาเป็นฝูงเลยทีเดียว มีอยู่ครั้งหนึ่ง ปลาสะโม้ติดมองรอบเดียวได้เกือบร้อย แต่ตัวไม่ใหญ่ประมาณ ๓ นิ้ว

นอกจากคนหาปลาจะรู้เรื่องการอพยพของปลาแล้ว คนหาปลาก็ยังต้องรู้พฤติกรรมของปลาในช่วงต่างๆ อีกด้วย ปลาฝาไม--ตะพาบน้ำ มันจะดุร้ายในช่วงเดือน ๘ ถ้ากินเบ็ดแล้วเวลาเราไปดู ถ้าไปเหยียบโดนสายเบ็ดหรือไปจับสายเบ็ด มันจะแกว่งไปมาใส่เรา ไมของปลาฝาไมจะมีลักษณะเหมือนหับหางของแลนหรือตัวตะกวด เวลามีคนเข้าใกล้ มันจะแกว่งหางของมันใส่เพื่อป้องกันภัยที่จะเกิดกับมัน ไมของปลาฝาไมยาวราวครึ่งวาจะมีโคนใหญ่และเรียวแหลมด้านปลาย ถ้ามันฟาดโดนเราจะปวด”

“แล้วพ่อเฒ่าเคยโดนมันฟาดหรือเปล่า”
“เคยโดนหลายครั้งอยู่ เวลาโดนมันฟาดแล้วจะเจ็บตรงจุดที่มันฟาด”
“แล้วพ่อเฒ่าทำอย่างไรถึงหาย”
“ก็เอายาขี้ผึ้งใส่ ถ้าไม่หายกินยาปวดหาย อย่างยาปวดหายนี่กินก่อนครึ่งหนึ่งแล้วเอาอีกครึ่งหนึ่งมาผสมกับยาผึ้งแล้วเอาโปะไว้ตรงไมมันปัก จากนั้นก็เอาไปอิงไฟ สักพักก็ไม่ปวดแล้ว”

“แล้วพ่อเฒ่าเคยเล่าเรื่องการรักษาแบบนี้ให้ใครฟังหรือเปล่า”
“เล่าให้ฟังหมดแหล่ะ โดยเฉพาะลูกๆ ที่ไปหาปลาด้วยกัน เล่าให้มันฟังหมด เล่าไปก็สอนมันไปด้วย มันจะได้รู้เวลาเราไม่อยู่จะได้เอาตัวรอดได้”
“พ่อเฒ่า ผมเคยได้ยินมาว่าคนโบราณสมัยก่อนเขาเอาไมปลาฝาไมตากแห้งไว้ไล่ผีปอบใช่ไหม”
“ใช่ คนสมัยก่อนเขาเอาไมปลาฝาไมไว้ไล่ผีปอบจริง แต่ก่อนบ้านนี้เคยมี ตอนนี้ไม่มีแล้วเอาให้ลูกไปหมด”

ในความคิดของผม ชายชราเป็นคนไม่หวงความรู้ หากรู้มากก็บอกมาก รู้น้อยก็บอกน้อย ไม่เคยหวงวิชาความรู้ ชายชราช่างแตกต่างกับหลายๆ คน บางคนที่ผมรู้จัก ความรู้ของพวกเขาไม่เคยแจกจ่ายไปยังคนอื่น ซ้ำร้ายบางคนยังอาศัยความรู้ที่มีมากกว่าคนอื่นมากอบโกยเอาผลประโยชน์เพื่อตัวเองเพียงอย่างเดียว ในสังคมของเมืองใหญ่แล้ว หลายคนยิ่งใช้ความรู้ที่ตัวเองมีมากกว่าคนอื่น เพื่อตักตวงเอาประโยชน์ให้ได้มากที่สุด น้อยนักหนาที่เราจะได้พบเห็นการแบ่งปันความรู้ให้กับคนอื่นอย่างเต็มใจ...

ครั้งหนึ่งมีคนหนุ่มอายุคราวลูกอยากรู้วิธีการสานตุ้มปลาเอี่ยน ชายชราก็สอนคนหนุ่มรุ่นลูกคนนั้น ในขณะสอน ชายชราไม่ได้สอนเพียงวิธีการทำตุ้มอย่างเดียว ชายชรายังสอนวิธีการใส่ ลักษณะพื้นที่ใช้เครื่องมือ รวมทั้งการใช้เหยื่อล่อปลาไหลให้เข้ามาในตุ้ม หลังจากคนหนุ่มรุ่นลูกคนนั้นได้วิชาความรู้จากชายชราไป เขาก็นำไปใช้ ต่อมาเมื่อถึงฤดูฝนชายชราก็มีปลาไหลกินไม่ได้ขาด เพราะคนหนุ่มคราวลูกนำมาให้

สำหรับคนร่วมสายน้ำ การพึ่งพาอาศัยกันและกัน ในด้านต่างๆ ไม่ได้มีเพียงด้านเดียว บางครั้งชายชราวางเบ็ดแล้วไม่ได้กลับไปดู ชายชราก็ฝากให้คนหาปลาอีกที่หาปลาอยู่ใกล้ๆ ดูให้ บ่อยครั้งที่ได้ปลาในรูปแบบนี้ เมื่อได้ปลาในแต่ละครั้งชายชราเองก็จะแบ่งให้กับคนหาปลาคนนั้นด้วย ถ้าครั้งไหนไม่ได้แบ่งเป็นปลาไปให้ ชายชราก็ชักชวนคนหาปลาคนนั้นมาทำลาบปลากินที่กระท่อมของแกแทน

พูดถึงคนหาปลาอีกคนที่หาปลาอยู่ใกล้กับชายชรา ในความเป็นจริง คนหาปลาคนนี้อายุอ่อนกว่าชายชราไม่มากนัก คนหาปลาคนนี้สร้างกระท่อมขึ้นมาไม่ไกลจากกระท่อมของชายชรา บ่อยครั้งคนหาปลาคนนี้มักจะมายังกระท่อมของชายชรา ในวันที่คนหาปลาคนนี้มาถึงกระท่อมของชายชรา วงข้าวจะลากยาวตั้งแต่หัวค่ำไปจนเหล้าหยดสุดท้ายหมด ห้วงยามเช่นนี้แม้เกิดขึ้นไม่บ่อย แต่ทุกครั้งที่เกิดขึ้นดูเหมือนว่า คนหาปลาทั้งสองจะมีความสุขกับมันเป็นพิเศษ

บ่อยครั้งเช่นกันวงข้าวลากยาวไปจนดึกดื่น ในการดื่มกินแต่ละครั้ง ชายชรามักเล่าเรื่องราวต่างๆ  ในแม่น้ำสายนี้ให้คนอื่นฟังอยู่เสมอ ทุกเรื่องที่ชายชรานำมาเล่า ชายชราบันทึกเรื่องราวเหล่านั้นไว้บนสมุดอันเขียนด้วยดินสอคือชีวิตทั้งชีวิต

วิถีทางที่เป็นอยู่ของชายชรา บางครั้งการได้อยู่กับธรรมชาติ และเห็นความงามการเปลี่ยนผ่านของฤดูกาลต่างๆ แล้ว สิ่งเหล่านี้คงได้กล่อมเกลาให้ชายชราเป็นคนอ่อนโยน และคิดถึงคนอื่นพอๆ กับการคิดถึงตัวเอง...

แสงแดดของยามเช้าในฤดูฝนหลบหายเข้าไปในเฆมสีดำ ไม่ยอมออกมาทำหน้าที่เหมือนเดิม แม้ว่าตอนนี้จะสายแล้วก็ตามที ปีนี้ฝนตกมามากกว่าทุกปี น้ำขึ้นเร็ว บางคนปลูกข้าวโพดไว้ตามริมฝั่งน้ำเก็บข้าวโพดไม่ทันน้ำก็เอ่อท่วม พอถึงวันเก็บข้าวโพดต้องพายเรือเก็บกันเลยทีเดียว

หากจะพูดตามความจริงแล้ว ถึงฝนจะตกมากเพียงใด น้ำในแม่น้ำก็คงไม่ขึ้นเร็ว แต่ ๔-๕ ปีที่ผ่านหลังจากมีข่าวการสร้างเขื่อนในตอนบนของแม่น้ำ ผู้คนริมฝั่งน้ำรวมทั้งคนหาปลา ทุกคนต่างเห็นความเปลี่ยนแปลงของแม่น้ำ บ่อยครั้งที่น้ำขึ้นมา ๓ วัน พอวันที่ ๔ น้ำลง ในความเป็นจริงแล้ว แม่น้ำสายนี้ตั้งแต่อดีตมาไม่เคยเป็นอย่างนี้ พอถึงช่วงหน้าฝนน้ำก็จะเอ่อและท่วมนองไปจนถึงออกพรรษา พอออกพรรษาแล้วหลังลอยกระทงน้ำก็จะลดลง แม่น้ำเป็นอยู่เช่นนี้มาชั่วนาตาปี แต่พอการก่อสร้างเขื่อนเกิดขึ้น ความเปลี่ยนแปลงอันยิ่งใหญ่ก็เดินทางมาอย่างไม่บอกกล่าว

หลังการเปลี่ยนแปลงของแม่น้ำ ชายชราก็หาปลาได้น้อยลง บางวันหาปลาทั้งเช้า-เย็น ปลาตัวเดียวก็ไม่ได้ บ่อยครั้งที่หาปลาไม่ได้ ชายชราก็กลับมาครุ่นคิดถึงเรื่องราวในอดีตมากขึ้น ลึกลงไปในแววตาของชายชรา ทุกครั้งที่แกนึกถึงเรื่องราวในหนหลัง น้ำตาจะเอ่อท่วมดวงตาของชายชราอยู่เสมอ

นอกจากในตอนบนของแม่น้ำจะถูกกั้นด้วยเขื่อนแล้ว ชายชราก็ได้ข่าวมาอีกว่ามีเรือใหญ่เดินทางมาถึงเชียงแสน เรือใหญ่เดินทางมาพร้อมกับการระเบิดแก่งหิน เมื่อระเบิดแก่งหินออก ปลาที่อาศัยอยู่ตามแก่งก็ไม่มี เพราะแก่งหินในแม่น้ำคือบ้านของปลา เมื่อไม่มีแก่งก็ไม่มีปลา เมื่อไม่มีปลาคนหาปลาก็หาปลาไม่ได้

ภายใต้ความคิดของมนุษย์ที่จะเอาชนะธรรมชาติ มนุษย์จึงจัดการธรรมชาติให้อยู่ภายใต้การควบคุมของตัวเอง อย่างเรื่องราวที่ชายชราเล่าให้ผมฟังนั้นก็เช่นกัน ในความคิดของคนหาปลาคนหนึ่งไม่มีใครล่วงรู้ได้ว่า พวกเขาคิดเรื่องราวใด เมื่อพวกเขามองเห็นความเปลี่ยนแปลงของแม่น้ำอันเป็นธนาคารขนาดใหญ่ของพวกเขา

ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ในช่วงแรกชายชราไม่อาจทำความคุ้นเคยกับมันได้ แต่พอหลายปีผ่านไป ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นก็เป็นความปกติในสายตาของชายชรา แต่ทุกครั้งที่มีคนถามถึงความเปลี่ยนแปลง ชายชราก็จะเล่าให้ฟังด้วยความคับแค้นในใจ มีอยู่ครั้งหนึ่งมีคนถามชายชราว่า ถ้าเขามาระเบิดหินตรงที่ใช้หาปลาจะทำยังไง

ชายชราได้บอกกับคนที่ถามว่า หากทำจริงก็จะบอกคนที่มาทำว่า
“จะเอามันออกทำไม ถ้าเอาออกแล้วมันเกิดไม่ดีขึ้นมา มันต่อกลับมาไม่ได้ หินมันไม่ใช่กระดาษ ถ้าเป็นกระดาษเราฉีกแล้วเอากาวมาต่อกลับไปใหม่ได้ แต่หินเอากาวมาต่อใหม่ไม่ได้ อย่าทำเลยปล่อยมันไว้อย่างนั้นแหละ ถ้าเรือมันมาไม่ได้ทำไมเราไม่ทำเรือให้เหมาะสมกับแม่น้ำ ถ้าหน้าแล้งก็ใช้เรือลำเล็ก มันก็มาได้ ไม่ใช่ว่าทำแม่น้ำให้เหมาะสมกับเรือ แค่เขาคิดว่าสิ่งที่อยู่ในน้ำคือตัวขัดขวางการเดินเรือ เขาก็คิดผิดแล้ว คนจีนนี่ก็แปลกนะ เหมาเจ๋อตงยังเคยบอกเลยว่า ถ้าเราจะทำรองเท้า เราต้องตัดเกือกใส่เท้า ไม่ใช่ตัดเท้าไปใส่เกือก แก่งหินที่อยู่ในน้ำมันเป็นบ้านของปลา ถ้าระเบิดแล้วปลาก็ไม่มีที่อยู่ เอาแก่งหินออกก็เหมือนเรากำลังฆ่าแม่ของเรา”

ผมเองก็ไม่เข้าใจเช่นกันว่า คำว่า ‘แม่’ ที่ชายชรากล่าวถึงนั้นหมายถึงอะไร แต่ผมรับรู้ได้ว่า ชายชราก็เป็นห่วงสายน้ำสายนี้ไม่น้อยกว่าคนอื่นๆ

‘แม่’ ในความหมายของชายชราอาจหมายถึงสิ่งใดก็ตามที่ให้ชีวิตกับเรา และเราพึ่งพาอาศัยมีชีวิตอยู่มาได้ สิ่งนั้นย่อมได้รับการเรียกว่า แม่ ไม่ได้แตกต่างจากแม่ผู้ให้กำเนิดของเรา เพราะแม่ผู้ให้กำเนิดของเราก็ดูแลเราและให้เราพึ่งพาอาศัยอยู่ได้ตลอดเวลา

แม้ว่าความคิดของชายชราอาจจะเป็นความคิดจากคนตัวเล็กๆ ในมุมมองของใครหลายคน แต่สำหรับผมแล้ว ผมถือว่านี่เป็นความคิดอันยิ่งใหญ่ของคนธรรมดาสามัญคนหนึ่งที่ยินดีจะเข้าร่วมเพื่อปกป้องสิ่งที่ตัวเองเคยได้พึ่งพาอาศัย แม้ว่าการปกป้องอาจบรรลุเป้าหมายช้าก็ตามที

จากความรักที่ชายชรามีต่อสายน้ำสายนี้ จึงไม่แปลกนัก คำที่กลั่นออกมาจากดวงใจของชายชราและออกมาเป็นคำพูดว่า ‘ถ้าเราเอาแก่งหินในสายน้ำโขงออกก็เหมือนกับว่าเรากำลังฆ่าแม่’

ในวันนี้แม่น้ำกำลังเปลี่ยนไป แต่จิตใจของคนบางคนกลับไม่เคยเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะชายชราแห่งคนนี้ ชายชรารักสายน้ำสายนี้เท่าๆ กับชีวิตของแก เพราะสายน้ำได้ให้ชีวิต และให้เรื่องราวมากมายโดยมิคาดหวังว่าคนเช่นชายชราจะรักและเทิดทูนแม่น้ำสายนี้เพียงใด แม่น้ำได้ให้ประโยชน์กับมนุษย์มากมาย และแม่น้ำก็ไม่เคยเรียกร้องให้ผู้คนผู้ได้รับประโยชน์หันกลับมาห่วงใยแม่น้ำ แต่การที่คนจะตระหนักถึงความรักต่อสายน้ำนั้น ล้วนเกิดมาจากบ่อน้ำแห่งความทรงจำเกี่ยวกับแม่น้ำถ่ายเทออกมาจากจิตใจของคนเราอย่างแท้จริง และบ่อน้ำแห่งความทรงจำเกี่ยวกับแม่น้ำของใครจะได้รับการถ่ายเทออกมาจิตใจก่อนกันเท่านั้นเอง

สำหรับชายชรา บ่อน้ำแห่งความทรงจำเกี่ยวกับแม่น้ำสายน้ำนี้ของแกได้เกิดขึ้นแล้ว และมันจะยังคงอยู่อย่างนี้ไปจนกว่าชีวิตของแกจะเดินทางจากโลกนี้ไปสู่เชิงตะกอนอันเป็นฉากจบของชีวิตคนหนึ่งคน

บล็อกของ สุมาตร ภูลายยาว

สุมาตร ภูลายยาว
จากประวัติศาสาตร์ที่มีการบันทึกทั้งเป็นอักษร และไม่มีอักษร การสร้างเขื่อนเพื่อกักเก็บน้ำ และทำกิจกรรมอย่างอื่นมีมาหลายร้อยปีแล้ว หากนึกถึงเขื่อนหลายคนอาจนึกถึงสิ่งก่อสร้างขนาดใหญ่ที่ขวางกั้นลำน้ำ และเมื่อนึกถึงเขื่อน เรานึกถึงอะไรเกี่ยวกับเขื่อนบ้าง แน่ละบางคนอาจตอบว่าไฟฟ้า บางคนอาจตอบว่าสถานที่ท่องเที่ยวรวมไปถึงน้ำเพื่อการเกษตร แต่สิ่งหนึ่งที่เราลืมนึกถึงไปเมื่อพูดถึงเขื่อน คือเรื่องราวเล็กๆ ในบริเวณสร้างเขื่อน ทั้งเรื่องของป่าไม้ ที่ดิน สัตว์ป่า และรวมไปถึงเรื่องราวของผู้คนที่ต้องอพยพออกจากพื้นที่ก่อการสร้างเขื่อน “ทองปาน”…
สุมาตร ภูลายยาว
เราต่างรู้ชัดแจ้งเห็นจริงว่า บนดาวเคราะห์ที่ชื่อว่าโลก อันมีสันฐานเป็นทรงกลมคล้ายผลส้มใบนี้มีน้ำมากกว่าพื้นดิน แต่สิ่งหนึ่งที่เราหลายคนอาจไม่รู้คือ เรื่องการแบ่งพรมแดนแผ่นดินโดยใช้แม่น้ำเป็นเส้นแบ่ง คนในยุคสมัยก่อนคิดได้ยังไงว่า แม่น้ำส่วนไหนเป็นของประเทศใด เพราะธรรมชาติแม่น้ำมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา    ในเอเชียของเรามีแม่น้ำหลายสายที่ถูกขีดแบ่งเป็นเส้นพรมแดน ไม่ว่าจะเป็นเส้นแบ่งหมู่บ้านกับหมู่บ้าน ตำบลกับตำบล จังหวัดกับจังหวัด และประเทศกับประเทศ และบ่อยครั้งที่การแบ่งแม่น้ำออกเป็นพรมแดน คนที่อยู่ริมน้ำไม่เคยได้มีส่วนร่วมอย่างแท้จริง…
สุมาตร ภูลายยาว
“มื้ออื่นไปแต่เช้าเด้อ เดี๋ยวพ่อสิไปเอิ้นดอก” ถ้อยคำสุดท้ายของชายวัย ๖๐ กว่าที่นั่งอยู่ในบ้านดังแว่วออกมา ขณะเรากำลังเดินจากกระท่อมของพ่อเฒ่ามา หลังพระอาทิตย์ลับขอบฟ้าไปไม่นาน หมู่บ้านจมอยู่ในความมืด ถ้าเป็นเมื่อ ๑๐ กว่าปีก่อนในตอนเย็นเช่นนี้หมู่บ้านจะเงียบกว่าที่เป็นอยู่ เพราะคนในหมู่บ้านยังไม่ได้เดินทางกลับมาจากไร่
สุมาตร ภูลายยาว
หลังมุ่งแก้ปัญหาการขาดน้ำใช้ในฤดูแล้งมาตลอดระยะเวลา ๒ ปี ชาวบ้านหลวงบางส่วนจึงมุ่งหน้าเดินทางขึ้นสู่ภูเขา เพื่อไปสู่ขุนห้วย ผู้ชายบางคนถือมีด บางคนถือจอบ ผู้หญิงหาบเครื่องครัวทั้งพริก ถ้วย ชาม เดินตามทางเดินเล็กๆ มุ่งหน้าสู่จุดหมายเดียวกัน เสียงดังมาจากเบื้องหน้าให้เร่งฝีเท้าในการเดินทางขึ้นอีก เพราะเป้าหมายใกล้ถึงแล้วชาวบ้านเหล่านี้เดินทางเพื่อไปสู่เป้าหมายใดกัน เมื่อขบวนเดินทางพ้นจากที่ราบอันเป็นไร่ข้าวโพดไปแล้วก็มุ่งหน้าขึ้นสู่ขุนห้วยอันเป็นต้นกำเนิดของห้วยหลวง ที่ขุนห้วยมีชาวบ้านบางส่วนเดินล่วงหน้าไปรออยู่ก่อนแล้ว เมื่อขบวนใหญ่เดินมาสมทบในภายหลัง พิธีการบูชาเทพแถนผีป่าผีน้ำก็เริ่มขึ้น…
สุมาตร ภูลายยาว
ลำเซียงทาล่องไหลมาเนิ่นนาน.....ทานทน ฝน-ร้อน-หนาวปล่อยไอหมอกขาวลอยล่องสู่ท้องฟ้าเมฆมหึมาก่อฝน....เหนือโป่งขุนเพชรในหุบห้วยล้วนร่องธารที่ผ่านมาเวลานาฑีไม่มีใครรู้เพียงกระพริบไหวของสายตาแห่งหมู่เมฆลมโยกเยกฝนใหญ่โปรยปรายลำเซียงทามาจากหุบห้วยใหญ่ไหลล่องผ่านปี-เดือนไผ่ไหวเหนือสายน้ำลำเซียงทายามลมผ่านผิวปลิดปลิวเคว้งคว้างพลิ้วไหวอ่อนโยนลำเซียงทาโอบอุ้ม-อุ่นเอื้อโป่งขุนเพชร,เทพสถิตย์, ชัยภูมิ ,๒๕๔๗
สุมาตร ภูลายยาว
แม่น้ำเกิดมาจากสายฝน-สายฝนเกิดจากแม่น้ำ นานมาแล้วต้นกำเนิดของแม่น้ำ และสายฝนมาจากที่เดียวกัน ทุกสิ่งล้วนสัมพันธ์เชื่อมโยง เช่นเดียวกับแม่น้ำสายใหญ่ที่หล่อเลี้ยงผู้คนในแถบอีสานใต้ แม่น้ำสายนี้ชื่อว่า ‘แม่น้ำมูน’ มีต้นกำเนิดจากสายน้ำเล็กๆ บริเวณเขาแผงม้า จังหวัดนครราชสีมา หลังจากนั้นก็ไหลเรื่อยผ่านสุรินทร์ บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ ก่อนไหลลงบรรจบกับแม่น้ำโขงที่บริเวณแม่น้ำสองสีในอำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี ลำน้ำสายยาวได้หล่อเลี้ยงชีวิตผู้คนมาหลายชั่วอายุคน ตั้งแต่หลายปีตลอดการไหลของแม่น้ำมีเรื่องราวหลายเรื่องเกิดขึ้น…
สุมาตร ภูลายยาว
ฉันเคยสงสัยอยู่ว่า คนเราเมื่อเดินทางไกลข้ามคืนข้ามวัน เราล้วนได้รับความเหนื่อยล้า แต่เมื่อไปถึงปลายทาง เราจะสลัดทิ้งความเหนื่อยล้าได้ยังไง คำถามเช่นนี้ไม่เคยเป็นคำตอบเลยสำหรับฉัน เพราะบ่อยครั้งที่เริ่มต้นเดินทางไกล–อันหมายถึงระยะทาง ทุกครั้งเมื่อถึงจุดหมาย ฉันหวังเพียงได้เอนตัวลงพักพอหายเหนื่อยแล้วค่อยคลี่คลายชีวิตไปสู่ทิศทางอย่างอื่น แต่นั้นก็เป็นเพียงความคิดที่วูบเข้ามา ความจริงการจะทำเช่นนั้นไม่เคยเกิดขึ้นเลย โดยเฉพาะกับการเดินทางครั้งนี้ หลังรถโดยสารปรับอากาศสายเชียงใหม่-อุบลราชธานี พาผู้โดยสารออกเดินทางยาวนานถึง ๑๗ ชั่วโมงจอดสงบนิ่งลงที่ท่ารถห่างออกมาจากตัวเมือง…
สุมาตร ภูลายยาว
พ่อเฒ่าฟาน ดิน กัน แห่งหมู่บ้านทรีอาน (หมู่บ้านแห่งสันติ) หมู่บ้านริมแม่น้ำซมฮอง (แม่น้ำแดง) เส้นเลือดใหญ่ของชาวฮานอยยืนตระหง่านบนหัวเรือ หากไม่มีการถามไถ่คงยากที่จะคาดเดาอายุของพ่อเฒ่าได้ ปีนี้พ่อเฒ่าอายุ ๖๔ แล้ว ขณะพ่อเฒ่ายืนตระหง่านตรงหัวเรือ สายลมหนาวของเดือนมกราคมยังคงพัดมาเย็นเยือก ในสายลมหนาวนั้นมีฝนปนมาเล็กน้อย พ่อเฒ่าบอกว่า ฝนตกช่วงเดือนธันวาคม-มีนาคมที่ฮานอยเป็นเรื่องธรรมดา แต่ที่ไม่ธรรมดาคือความหนาว เพราะปลายปีที่ผ่านมาจนถึงต้นปี ๕๑ ความหนาวเย็นที่พัดมาขนาดหนักเช่นนี้เกิดขึ้นแล้ว ๓ ครั้ง ว่ากันว่าอากาศที่เปลี่ยนแปลง คงเป็นเพราะโลกเรามันร้อนขึ้นในเรือมีผม และเพื่อนร่วมทางอีก ๒ คน…
สุมาตร ภูลายยาว
หลังการเดินทางอันเหนื่อยล้าด้วยการล่องเรือข้ามวันข้ามคืนในแม่น้ำโขงสิ้นสุดลง ผมพบว่าตัวเองกลายเป็นคนติดการฟังเป็นชีวิตจิตใจ บางครั้งในยามเย็นที่ขี่รถมอเตอร์ไซค์ (ขออภัยที่ไม่ใช้จักรยาน เพื่อการประหยัดพลังงาน) ไปซื้อกับข้าว ผมพบว่า รถเข็นขายอาหารสำเร็จรูปจำพวกแกงถุงของลุงรัญเจ้าเก่าในซอยวัดโป่งน้อยมีเรื่องเล่าหลายเรื่องให้ผมต้องนิ่งฟังเรื่องเล่าหลายเรื่องที่ผู้ซื้อนำมาเล่าให้พ่อค้าฟัง และหลายเรื่องเช่นกันที่พ่อค้าได้นำมาเล่าให้ลูกค้าฟัง บางเรื่องที่ผมได้ยิน ผมก็เลยผ่านเลยไป แบบว่าฟังพอผ่านๆ แต่บางเรื่องต้องนำกลับมาคิดต่อ…
สุมาตร ภูลายยาว
แม่น้ำโขงถือว่าเป็นแม่น้ำแห่งพรมแดนสายสำคัญที่ไหลเป็นเส้นแบ่งของหลายประเทศมีผู้คนจำนวนไม่น้อยได้ใช้ประโยชน์จากแม่น้ำสายนี้  ในจำนวนของคนริมสองฝั่งแม่น้ำโขงมีคนจำนวนไม่น้อยรับรู้ได้ว่า วันนี้มีอะไรเกิดขึ้นกับแม่น้ำสายที่พวกเขาคุ้นเคย ฤดูหนาวแม่น้ำสีคล้ายน้ำโอวันติลไหลเอื่อยๆ เหมือนคนหายใจรวยรินใกล้สิ้นลมหายใจเต็มที แม่น้ำไม่เป็นเหมือนเมื่อก่อนที่เคยเป็นมา เมื่อรับรู้ความเปลี่ยนแปลงเช่นนี้ ชาวบ้านห้วยลึก หมู่ ๔ อำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงรายที่ได้อาศัยประโยชน์จากแม่น้ำมาหลายชั่วอายุคนจึงได้รวมตัวกันทำพิธีสืบชะตาให้กับแม่น้ำ…
สุมาตร ภูลายยาว
“สาละวินไม่มีคน” คือคำพูดของบรรดานักพัฒนาผู้แสวงหากำไรบนหนทางของการพัฒนาลุ่มน้ำแห่งนี้ได้ยกขึ้นมาบอกกล่าวจนชินหู แต่หากได้ลงมาล่องเรือเลียบเลาะสายน้ำชายแดนแห่งนี้ จะพบว่าแม่น้ำนานาชาติสายที่ยาวที่สุดในภูมิภาคอุษาคเนย์ที่ยังคงไหลอย่างอิสระแห่งนี้เป็นบ้าน เป็นชีวิตของผู้คนมากมาย โดยเฉพาะกลุ่มชาติพันธุ์ที่อาศัยอยู่ในผืนป่าตลอดสองฝั่งน้ำงานวิจัยปกากญอ “วิถีแม่น้ำและผืนป่าของปกากญอสาละวิน” ได้จัดทำโดยนักวิจัยชาวบ้าน ปกากญอ หรือชาวไทยเชื้อสายกะเหรี่ยงจาก ๕๐ หย่อมบ้านในพื้นที่ลุ่มน้ำสาละวินบนพรมแดนไทย-พม่า เขต อ.แม่สะเรียง และ อ.สบเมย จ.แม่ฮ่องสอน…
สุมาตร ภูลายยาว
ลมหนาวพัดข้ามมาจากขุนเขา บางคนบอกว่าลมหนาวพัดมาจากไซบีเรีย ซึ่งสังเกตได้จากการดูนกอพยพหนีหนาวมา บางคนก็บอกว่าลมหนาวพัดมาจากเทือกเขาสูงของประเทศจีน เมื่อลมหนาวมาเยือน เพียงต้นฤดูหนาวเช่นนี้ก็สามารถสัมผัสได้ทางผิวกายที่เริ่มแห้งลงเรื่อยๆ และป่าเริ่มเปลี่ยนสีพร้อมผลัดใบไปกับลมแล้งในความหนาวเย็นนั้น เขาเดินทางรอนแรมฝ่าสายน้ำอันเชี่ยวกรากของหน้าแล้งไปตามลำน้ำสายหนึ่งที่อยู่สุดเขตแดนประเทศไทยด้านตะวันตก เขาก็ไม่รู้เช่นกันว่าทำไมเขาต้องมายังที่แห่งนี้ เพราะในส่วนลึกของหัวใจของเขามันไม่ได้เรียกร้องให้เขาเดินทางมายังที่แห่งนี้เลย ในห้วงแห่งกาลเวลาอย่างนี้ไม่มีใครรับรองได้ว่าจะไม่มีอะไรเกิดขึ้น‘สบเมย’…