Skip to main content

หลังการเดินทางอันเหนื่อยล้าด้วยการล่องเรือข้ามวันข้ามคืนในแม่น้ำโขงสิ้นสุดลง ผมพบว่าตัวเองกลายเป็นคนติดการฟังเป็นชีวิตจิตใจ บางครั้งในยามเย็นที่ขี่รถมอเตอร์ไซค์ (ขออภัยที่ไม่ใช้จักรยาน เพื่อการประหยัดพลังงาน) ไปซื้อกับข้าว ผมพบว่า รถเข็นขายอาหารสำเร็จรูปจำพวกแกงถุงของลุงรัญเจ้าเก่าในซอยวัดโป่งน้อยมีเรื่องเล่าหลายเรื่องให้ผมต้องนิ่งฟัง

เรื่องเล่าหลายเรื่องที่ผู้ซื้อนำมาเล่าให้พ่อค้าฟัง และหลายเรื่องเช่นกันที่พ่อค้าได้นำมาเล่าให้ลูกค้าฟัง บางเรื่องที่ผมได้ยิน ผมก็เลยผ่านเลยไป แบบว่าฟังพอผ่านๆ แต่บางเรื่องต้องนำกลับมาคิดต่อ และคิดเอาเองเป็นวรรคเป็นเวรเสียด้วยอย่างเช่นเรื่องที่ผมจะเล่าให้ฟังต่อไปนี้

ลุงรัญเล่าให้ฟังว่า “หลังจากประเทศเราได้รัฐบาลใหม่ คนที่ถูกขนานนามว่า รากหญ้ามีความยินดีปรีดาเป็นอย่างมาก เพราะนโยบายเก่าๆ ที่รัฐบาลชุดที่ผ่านมาได้เคยทำไว้จะถูกนำมาสานต่ออีกครั้ง อย่างโครงการเงินล้านก็จะกลับมาอีกครั้ง และนโยบายหลายส่วนคนทั้งประเทศก็จะได้รับผลประโยชน์ อย่างโครงการผันน้ำโขงให้คนในภาคอีสานที่รัฐบาลโดยท่านผู้นำที่หน้าตาไม่ค่อยหล่อแถมพูดไม่เพราะในบางครั้งกำลังตัดสินใจที่จะทำ คนอีสานก็ได้ประโยชน์ เพราะจะได้ทำนากันตลอดปี ที่สำคัญแผ่นดินอีสานที่ได้รับการขนานนามว่า เป็นดินแดนแห่งความแห้งแล้งก็จะได้ไม่แล้งอีกต่อไป”

นอกจากลุงรัญจะพูดถึงโครงการนี้แล้ว แกยังพูดถึงอีกหลายโครงการของรัฐบาลจนผมนึกว่า แกเป็นโฆษกรัฐบาลที่มีหน้าที่แถลงนโยบายของรัฐบาล หลังนิ่งฟังการแถลงนโยบายของรัฐบาลโดยคนรากหญ้าเสร็จสิ้นลง กับข้าว ๓-๔ อย่างก็ถูกส่งใส่มือ ก่อนออกจากร้านค้ารถเข็ญขวัญใจคนรากหญ้า ผมกลับรู้สึกอิ่มใจจาการฟังครั้งนี้อย่างประหลาด และรู้สึกว่าตัวเองไม่เคยนิ่งฟังอะไรได้นานอย่างนี้มาก่อน

เมื่อกลับมาถึงบ้านกับข้าวก็ถูกนำไปวางไว้บนขันโตกในห้องครัว แล้วผมก็มานั่งครุ่นคิดอะไรบางอย่างตรงม้านั่งนอกบ้าน ผมจะไม่คิดมากเลยหากว่า เรื่องที่ผมได้ยินเป็นเรื่องไกลตัวผม แต่เรื่องที่ผมได้ยินเป็นเรื่องใกล้ตัวผมจนยากที่จะสลัดมันหลุดทิ้งไปได้ อย่างที่ ๑ ในฐานะลูกอีสาน ผมไม่เคยปฏิเสธว่าอีสานไม่แห้งแล้ง และที่สำคัญน้ำก็เป็นส่วนหนึ่งที่มีความสำคัญต่อคนอีสานมากเช่นกัน แต่ในขณะที่รัฐบาลหลังการรัฐประหาร และดูเหมือนว่า หลังการเลือกตั้งแล้วเสร็จ และได้เป็นแกนนำรัฐบาลสมใจ ท่านผู้นำก็เริ่มเสนอนโยบายใหม่ๆ หลายอย่าง หนึ่งในนั้นที่ท่านผู้นำย้ำเป็นนักหนาว่า จะต้องทำให้ได้คือ โครงการผันแม่น้ำโขง เพื่อคนอีสาน

หากว่ารัฐบาลใหม่อยู่ครบเทอม (๔ ปี) โครงการนี้อาจดำเนินไปข้างหน้า สิ่งที่เป็นคำถามของผมคือว่า รัฐบาลใหม่จริงใจกับพี่น้องคนอีสานมากน้อยแค่ไหน? ในฐานะคนอีสานคนหนึ่ง ผมกลับคิดว่า รัฐบาลใหม่ไม่ได้มีความจริงใจต่อคนอีสานเลยแม้แต่น้อย ถึงแม้ว่าท่านจะนำเสนอโครงการผันน้ำ เพื่อแผ่นดินอีสานจะได้มีน้ำใช้ และอีสานก็จะไม่แล้งอีกต่อไป คนอีสานจะได้ทำนาทั้งปี ที่สำคัญคนอีสานจะต้องไม่พลัดถิ่นอีกต่อไป อะไรเป็นสาเหตุที่รัฐบาลนี้ไม่มีความจริงใจให้กับคนอีสานในทัศนะของผม

หากมองไปที่นโยบายเรื่องการผันน้ำโขงเพื่อแผ่นดินอีสาน เราจะได้พบว่า มันเป็นเพียงนโยบายที่จงใจหลอกคนอีสานโดยตรง เพราะน้ำโขงที่จะผันมาให้คนอีสานใช้ ซึ่งในทางวิชาการเรียกว่า การผันน้ำระบบท่อ การผันน้ำจากแม่น้ำโขงนั้น รัฐบาลยังคงไม่ได้ศึกษาอย่างแท้จริงว่า วันนี้เกิดอะไรขึ้นกับแม่น้ำโขง และน้ำที่ผันมานั้นคนอีสานผู้เป็นเจ้าของพื้นที่จะได้ใช้ประโยชน์ช่วงไหน อีกอย่างหนึ่งสิ่งที่รัฐบาลใหม่ต้องทบทวนโครงการนี้ให้ดีคือ วันนี้เรารู้อย่างแท้จริงแล้วหรือยังว่า น้ำโขงที่จะผันมานั้น คุณภาพของน้ำเหมาะสมกับการทำเกษตรในหน้าแล้งแล้วหรือยัง?

การผันน้ำโขงผ่านท่อแล้วนำมาเก็บไว้ในอ่างเก็บน้ำ หากน้ำที่ผันมาเป็นช่วงหน้าฝน สารเคมีในภาคเกษตรที่โดนฝนชะล้างลงสู่แม่น้ำ เราก็จะได้อ่างเก็บน้ำที่เต็มไปด้วยสารเคมี และน้ำที่นำมาเก็บไว้บนอ่างเก็บน้ำ เพื่อรอการปล่อยน้ำในช่วงหน้าแล้ง น้ำในอ่างเก็บน้ำก็เสี่ยงที่จะมีความเน่าเสีย และนี่คือคำถามอีกข้อหนึ่งว่ารัฐบาลใหม่จริงใจกับคนอีสานมากมายแค่ไหน ท่านถึงกล้าปล่อยน้ำเสียจากการกักเก็บในอ่างมาสู่ไร่นาของคนอีสาน

เราในฐานะคนอีสานเห็นดีเห็นงามกับโครงการนี้แล้วหรือยัง และเราพร้อมที่จะเป็นเหยื่อจากการหลอกลวงแล้วหรือยัง หากว่าเราพร้อมแล้ว สิ่งที่เราต้องติดตามกันต่อไปคือ เมื่อเขาปล่อยน้ำไปแล้ว การจัดการน้ำที่ไหลไปตามท่อจะอยู่ในมือของใคร ชาวบ้านคนท้องถิ่นหรือว่าเจ้าหน้าที่รัฐ และงบบริหารจัดการจะมาจากไหน แน่ละสิ่งหนึ่งที่ปฏิเสธไม่ได้คือ เมื่อน้ำถูกปล่อยไปสู่ไร่นาของผู้ใด ผู้ใช้น้ำก็จะต้องจ่ายค่าน้ำในจำนวนที่เราใช้ไป และเมื่อเวลานั้นมาถึง พี่น้องชาวอีสานดินแดนที่ราบสูงอันอุดมไปด้วยความแห้งแล้ง เราก็จะได้พบความจริงที่ว่า ‘ในน้ำมีปลา ในนามีมิเตอร์’

คำว่า ‘ของฟรีไม่มีในโลก’ คงเป็นคำพูดที่ใช้ได้จริงเมื่อเวลานั้นมาถึง ในฐานะคนอีสานคนหนึ่งจึงได้แต่เพียงอยากบอกพี่น้องคนอีสานด้วยกันว่า เราจะยอมเป็นเหยื่อของนอมินีกระนั้นหรือ หรือว่าเราจะต้องร้องเพลงถึงเขาหลอกแต่เต็มใจให้หลอก ผมในฐานะลูกอีสานไม่อยากให้พี่น้องคนอีสานต้องเป็นอย่างนั้น และยอมรับชะตากรรมอย่างนั้น ถึงเวลาแล้วหรือยังที่เราจะลุกขึ้นมาบอกท่านผู้นำของเราว่า ‘พอกันทีกับการหลอกลวง และโกหกของท่าน’ และท่านผู้นำเสนอโครงการนี้เสร็จอย่าลืมจับจมูกของตัวเองนะครับว่า มันยาวขึ้นมาเพิ่มเหมือนพิน๊อคคิโอหรือเปล่า...

บล็อกของ สุมาตร ภูลายยาว

สุมาตร ภูลายยาว
หากท่วงทำนองของสายน้ำในฤดูฝนคือท่วงทำนองของเพลงร๊อคที่โหมกระหน่ำดุเดือดด้วยเสียงกระเดื่องกลองสลับกับเสียงเบสหนักๆ ปนกับเสียงร้องอันแหลมคม และสูงปรี้ดของนักร้อง สำหรับท่วงทำนองของสายน้ำในหน้าแล้งที่อยู่ในฤดูหนาว ท่วงทำนองของสายน้ำอันปกคลุมไปด้วยหมอกหนาวคงเป็นเสียงเพลงบูลล์หม่นเศร้า และในช่วงหน้าแล้ง ท่วงทำนองของสายน้ำคงเป็นท่วงทำนองของเพลงแคนอันเศร้าสร้อยอ้อยอิ่ง ชวนให้คิดถึงบรรยากาศของท้องทุ่ง และดินแตกระแหงของผืนดินอีสาน ฤดูแต่ละฤดูที่ผ่านไป หากแม่น้ำพูดได้ น้ำคงอยากบอกอะไรกับมนุษย์ผู้ได้ชื่อว่าใช้ประโยชน์จากแม่น้ำมากที่สุด อย่างน้อยคนที่ผิดหวังพลาดหวัง…
สุมาตร ภูลายยาว
ในชีวิตผมถือว่า สองปีที่ผ่านมา ผมโชคดีไม่น้อยที่มีโอกาสได้ไปยังสถานที่ที่ตัวเองไม่คาดคิดว่าจะได้ไป สถานที่ที่ว่านั่นคือ ‘สันเขื่อน’ และจุดสำรวจที่จะมีการสร้างเขื่อนบนแม่น้ำโขงในตอนล่าง ไล่ตั้งแต่ปากแบ่ง หลวงพระบาง ไซยะบุรี ปากลาย ปากชม และบ้านกุ่ม จำนวนพื้นที่ที่กล่าวมาทั้งหมดแถบทุกพื้นที่ได้มีการสำรวจศึกษาความเป็นไปได้ของพื้นที่ในการก่อสร้างเขื่อนหมดแล้วการไปในแต่ละครั้ง บางทีก็ต้องทำตัวให้กลมกลืนกับพื้นที่โดยการปลอมตัวเป็นนักท่องเที่ยวผู้อยากรู้อยากเห็น และที่สำคัญต้องตีสนิทกับคนท้องถิ่น เพื่อจะได้เดินทางไปสู่เป้าหมายง่ายขึ้น ในจำนวนพื้นที่ที่กล่าวมาทั้งหมด หากไม่นับรวมปากชมแล้ว…
สุมาตร ภูลายยาว
-ห้องพัก ๒๐๑, เฮือนพักเพียงจัน,หลวงพระบาง- สายฝนที่โปรยสายลงมาอย่างหนักตั้งแต่ตอนกลางคืนหายไปเมื่อตอนเช้าตรู่ ฟ้ากลับมาเป็นสีฟ้าใสอีกครั้ง หลังจากผู้คนของเมืองตื่นจากหลับใหลในอ้อมกอดของบ้านพักอบอุ่น ความเคลื่อนไหวจึงปรากฏ ถนนแต่ละสายผู้คนเริ่มพลุกพล่านโดยเฉพาะส่วนที่เป็นตลาด หลายครั้งที่มาถึงเมืองนี้ในการดำรงอยู่ของเมืองยังคงมีเรื่องราวให้น่าค้นหาในมุมมองอันหลากหลายมากขึ้น การมาถึงเมืองนี้ในแต่ละช่วงเวลาที่แตกต่างกันย่อมมีเรื่องเล่าแตกต่างกันออกไปด้วย การมาหลวงพระบางในครั้งนี้ก็เช่นกัน เรามาถึงในตอนเกือบ ๓ ทุ่ม สายฝนยังตกลงมา…
สุมาตร ภูลายยาว
ลมหนาวพัดข้ามยอดเขามา ตอซังข้าวลู่ลงแนบพื้นดิน น้ำในแม่น้ำหมันแห้งขอดลงตามฤดูกาล ถัดจากแม่น้ำขึ้นไปเป็นภูเขา แม่น้ำหมันมีต้นกำเนิดจากภูโลมโลอันเป็นเทือกเขาของเทืือกเขาเพชรบูรณ์ สายน้ำเล็กๆ ที่เป็นเส้นเลือดใหญ่ของคนอำเภอด่านซ้ายไหลเอื่อยช้าคล้ายคนเพิ่งหายจากการป่วยไข้ แม่น้ำหมันช่วงที่ไหลผ่านอำเภอด่านซ้ายไปจนถึงบ้านปากหมัน ตรงที่แม่น้ำหมันเดินทางไปบรรจบกับแม่น้ำเหืองมีความยาวทั้งสิ้น ๖๖ กิโลเมตร ตลอดริมสองฝั่งแม่น้ำจะมีต้นไผ่จำนวนมากขึ้นอยู่เป็นระยะ ต้นไผ่-แม่น้ำหมัน-คนริมฝั่งน้ำมีความสำคัญต่อกันจนแยกขาดจากกันไม่ได้
สุมาตร ภูลายยาว
หลังได้รับมอบหมายให้เป็นหนึ่งในคณะกรรมการตัดสินภาพวาดของเด็กๆ ที่ประกอบไปด้วยเด็กจากช่วงชั้นต่างๆ ตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ ของโรงเรียนบ้านคกเว้า ตำบลหาดคำภีร์ อำเภอปากชม จังหวัดเลย ข้าพเจ้าเองแบ่งรับแบ่งสู้ในตอนแรก เพราะโดยส่วนตัวแล้วการเป็นกรรมการประเภทนี้มีเงื่อนไขหลายอย่าง สำคัญกรรมการควรมีความรู้ทางศิลปะมาบ้าง เพื่อให้ผลการตัดสินออกมาดูน่าเชื่อถือ แต่สวนทางกันอย่างสิ้นเชิง ข้าพเจ้าไม่มีความรู้ทางศิลปะเอาเสียเลย อย่างมากก็พอรู้ว่ารูปไหนสวยไม่สวย ซ้ำร้ายเรื่องของทฤษฏีสีแล้ว ข้าพเจ้าไม่รู้เอาเสียเลย แม้จะเคยลองวาดรูปอยู่บ้าง แต่ก็งูๆ ปลาๆ…
สุมาตร ภูลายยาว
โศกนาฏกรรมสองฝั่งน้ำ มีเรื่องเล่าเกี่ยวกับสายน้ำเรื่องหนึ่งที่ผู้เฒ่าปกากะญอ มักเล่าให้ลูกหลานฟังอยู่เสมอ เรื่องเล่าเรื่องนี้มีอยู่ว่า ‘นานมาแล้วมีเจ้าเมืององค์หนึ่งจะตึกแค-กั้นน้ำ เพื่อจับปลาในแม่น้ำสาละวิน ให้ลูกที่อยากกิน ปลาตัวนี้ใหญ่มาก ส่วนหัวของปลาอยู่โจโหละกุย-วังน้ำใหญ่อยู่ในเขตสาละวินตอนกลาง ลำตัวของปลายาวลงไปตามลำน้ำ ส่วนหางอยู่ที่แจแปนทีลอซู แต่ก็มีเรื่องที่ทำให้ชาวบ้านชาวเมืองตกอกตกใจ เพราะหากว่าเลือดหรือน้ำมันจากปลาตัวนี้ไหลลงพื้นดินเมื่อใด แผ่นดินก็จะลุกเป็นไฟ เมื่อชาวบ้านทราบข่าวก็เกิดความกังวลว่า เมื่อน้ำท่วมบ้านแล้วไม่รู้ว่าจะหนีไปอยู่ที่ไหน…
สุมาตร ภูลายยาว
การพัฒนาบนคราบน้ำตาคนชายขอบ ในอดีตอันยาวไกลของแม่น้ำสายนี้เคยไหลอย่างอิสระมาตลอด แต่แม่น้ำนานาชาติสายสำคัญแห่งนี้อาจมิได้ไหลอย่างอิสระต่อไปอีกแล้ว เพราะปัจจุบันแม่น้ำสายนี้ได้ถูกผลักดันให้เข้าไปอยู่ในแผนพัฒนาต่างๆ แผนพัฒนาที่สำคัญ คือแผนพัฒนาพลังงานไฟฟ้า โดยเฉพาะกับประเทศไทย แม่น้ำสาละวินกลายเป็นแม่น้ำยุทธศาสตร์สำคัญสายหนึ่งที่น้ำในแม่น้ำจะถูกนำมาแปรเป็นกระแสไฟฟ้า ภายใต้วาทะกรรมของนักพัฒนาที่ว่า ‘พื้นที่ชายขอบของประเทศมีคนอยู่น้อย และผู้ที่ได้รับผลกระทบย่อมมีส่วนน้อยเช่นกัน’
สุมาตร ภูลายยาว
ผู้คนแห่งสาละวิน  สาละวิน ถือเป็นสายน้ำแห่งกลุ่มชาติพันธุ์อย่างแท้จริง เพราะสองฟากฝั่งลุ่มน้ำสาละวิน ตั้งแต่เทือกเขาหิมาลัยลงมาจนถึงอ่าวเมาะตะมะ ในเขตหุบเขาอันไกลโพ้นในประเทศจีนก็มีกลุ่มชาติพันธุ์อาศัยอยู่ไม่น้อยกว่า ๑๔ กลุ่ม โดยส่วนใหญ่เป็นชาวนู ลีซู และตู๋หลง เมื่อล่องตามน้ำลงมาจนถึงพรมแดนพม่า-จีน พม่า-ไทยก็มีกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ อาศัยอยู่มากมายไม่ต่ำกว่า ๑๖ กลุ่ม เช่น นู ลีซู ไทยใหญ่ กะยา กะยัน กะเหรี่ยง และมอญ กลุ่มชาติพันธุ์เหล่านี้ล้วนมีภาษา ตัวอักษร วรรณคดี ศิลปวัฒนธรรม และประเพณีของตนเอง ในบรรดากลุ่มชาติพันธุ์ที่มีอยู่หลากหลายบนลุ่มน้ำแห่งนี้ กลุ่มยินตาเล…
สุมาตร ภูลายยาว
สาละวินบนนิยามของความหลากหลาย สาละวิน บนเส้นทางงานวิจัยชาวบ้าน งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาครอบคลุมพื้นที่ลุ่มน้ำสาละวิน ตลอดแนวพรมแดนไทย-พม่า โดยได้มีการศึกษาข้อมูลพื้นฐานในประเด็นพันธุ์ปลา เครื่องมือหาปลาพื้นบ้าน การทำเกษตร พรรณพืชในป่า และสังคมวัฒนธรรมของชาวปกาะกญอ เพื่อนำมาอธิบายความสลับซับซ้อนของระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพในลุ่มน้ำสาละวิน และวิถีชีวิต เศรษฐกิจ สังคมวัฒนธรรมของชุมชนที่ตั้งอยู่บนฐานของระบบนิเวศดังกล่าว ตลอดจนพิธีกรรม และความเชื่อของชุมชนในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ผลการศึกษาพบว่า แม่น้ำสาละวิน ตลอดพรมแดนไทย-พม่า มีระบบนิเวศที่สลับซับซ้อน อาทิ แก่ง วังน้ำ หาดทราย…
สุมาตร ภูลายยาว
ระบบนิเวศลุ่มน้ำสาละวิน ระบบนิเวศลุ่มน้ำสาละวิน ถือว่า มีความสำคัญต่อภูมิภาคนี้เป็นอย่างมาก เนื่องจากแม่น้ำสาละวินเป็นแม่น้ำนานาชาติสายสุดท้ายในภูมิภาคนี้ที่ยังไม่ได้ถูกล่ามโซ่ด้วยเขื่อน นักนิเวศวิทยาได้จัดให้แม่น้ำสาละวินเป็นศูนย์กลางของการกระจายพันธุ์ไม้สักของโลก พื้นที่ลุ่มน้ำสาละวิน เป็นพื้นที่ที่มีความหลากหลายทางชีวภาพสูง มีระบบนิเวศสลับซับซ้อนเนื่องจากเป็นพื้นที่ต่อเนื่องระหว่างเขตชีวภูมิศาสตร์ย่อยอินโดจีนกับพื้นที่ต่อเนื่องจากชีวภูมิศาสตร์สิโนหิมาลายันหรือเขตชีวภูมิศาสตร์ย่อยอินเดีย แต่ก็เป็นที่น่าเสียดายว่า เกือบครึ่งศตวรรษที่ผ่านมา การศึกษาระบบนิเวศวิทยาของแม่น้ำสาละวิน มีอยู่น้อยมาก…
สุมาตร ภูลายยาว
หลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ สหราชอาณาจักรได้คืนอิสรภาพให้กับพม่า ภายหลังพม่าได้รับอิสรภาพ ในปี ๒๔๙๐ นายพลอู่อองซาน ผู้นำพม่าในขณะนั้นก็ถูกสังหารเสียชีวิต การล้มเหลวลงอย่างสิ้นเชิงของสัญญาปางโหลง จึงเกิดขึ้น เมื่อคำมั่นในสัญญาปางโหลงไม่เป็นผล ชนกลุ่มน้อยกลุ่มต่างๆ จึงได้จับอาวุธลุกขึ้นสู้กับรัฐบาลทหารพม่า เพื่อแยกตัวเป็นรัฐอิสระและปกครองตนเอง ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำสาละวิน จึงเกิดกองกำลังปลดปล่อยขึ้นหลายกลุ่ม เขตรอยต่อพรมแดนไทย-พม่าริมฝั่งแม่น้ำสาละวิน ด้านตะวันตก เป็นดินแดนที่กล่าวได้ว่า กฎหมายอาจไม่มีความสำคัญ ทุกชีวิตที่ยังมีลมหายใจ จึงอยู่ภายใต้กฎของปืน และความเหลื่อมล้ำในการดำเนินชีวิต…
สุมาตร ภูลายยาว
พ่อตู้เริญได้เล่านิทานเรื่องนี้ให้ผมฟังขณะเรานั่งหย่อนอารมณ์ในบ้านของแก เพื่อรอฝนหายจากฟ้า เดือนตุลาคมแล้ว ฝนยังมิจากจางเลย ลมหนาวมิมีทีท่าว่าจะพัดมา สายฝนเทลงมาจั่กๆ พ่อตู้เริญต้องเล่านิทานเรื่องนี้ด้วยเสียงดัง เพื่อจะให้ผมได้ยินถนัด ผมกดเครื่องบันทึกเสียงเพื่อบันทึกเสียงการเล่านิทานของพ่อตู้เอาไว้ เพราะคิดว่าจะเก็บเอามาเล่าต่อให้คนอื่นได้ฟังด้วย พ่อตู้เริญเล่าว่า... นานมาแล้ว ยุคสมัยก่อนการเกิดขึ้นของพุทธศาสนา องค์อินทร์ผู้เป็นนายของทุกสิ่ง และทรงสร้างทุกสิ่งในจักรวาลได้นั่งตรวจยามสามตา เพื่อตรวจดูทุกสรรพสัตว์ใตอานัติของตนเอง แล้วในญาณนั้นก็ปรากฏการเกิดขึ้นของพระพุทธศาสนา…