Skip to main content

การศึกษาทำความเข้าใจและอธิบายโลกทางสังคม ต้องวางอยู่บนฐานสำคัญสองประการ 1) ตระหนักว่าปรากฏการณ์ทางสังคมเป็นผลผลิตของมนุษย์ ไม่ได้เกิดขึ้นและดำรงอยู่ได้ด้วยตัวมันเอง 2) ตระหนักว่าผู้คนหรือองค์กรที่มีส่วนในการสร้างและ/หรือรักษาสภาพปรากฏการณ์หนึ่ง ๆ ทางสังคมไว้ มีมากกว่ากลุ่มเดียว ฝ่ายเดียว ขั้วเดียว หรือชนชั้นเดียว

งานวิจัยคลาสสิคของเอมิล ดูร์ไกม์ (Émile Durkheim) เรื่อง การฆ่าตัวตาย [1] อันเป็นหมุดหมายสำคัญในการสถาปนาวิธีการศึกษาแบบสังคมวิทยา ก็วางอยู่บนหลักการดังกล่าวข้างต้น เพราะ แม้การฆ่าตัวตายเกิดจากการตัดสินใจของตัวผู้ตายเอง แต่ดูร์ไกม์ได้วิเคราะห์และแสดงให้เห็นว่า จำนวนคนฆ่าตัวตายจะมีมากในช่วงเวลาที่กิจกรรมหรือปฏิสัมพันธ์ทางสังคมมีความเข้มข้น และ ในสภาวะที่การบูรณาการทางสังคม (Social Integration) ขาดสมดุล ด้วยเหตุนี้ จำนวนคนฆ่าตัวตายในเมืองจึงมีมากกว่าในชนบท ในฤดูร้อนมากกว่าในฤดูหนาว ในช่วงเวลากลางวันมากกว่ากลางคืน โดยคนฆ่าตัวตายมักเป็นคนโสดมากกว่าคนที่แต่งงานแล้ว และ เป็นคนที่ไม่มีลูกมากกว่าคนที่มีลูกแล้ว (โสด ไม่มีลูก = ขาดแรงยึดเหนี่ยวทางสังคม) เป็นต้น

การเกิดขึ้นและดำรงอยู่ของปรากฏการณ์แรงงานต่างด้าวแบบผิดกฎหมาย ก็เช่นกัน ส่วนหนึ่ง มันคือผลจากความปรารถนาของตัวแรงงานเอง เช่นความปรารถนาจะมีงานที่ให้ค่าตอบแทนสูง มีเงิน มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ทั้งต่อตนเองและกับครอบครัว ในมุมนี้ ปรากฏการณ์แรงงานต่างด้าวในประเทศไทย เช่นเดียวกับปรากฏการณ์แรงงานไทยในต่างประเทศ ทั้งที่ถูกและผิดกฎหมาย จึงเป็นภาพสะท้อนความล้มเหลวของโครงสร้างสังคมรัฐบ้านเกิดที่มิอาจตอบโจทย์การมีคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชนจำนวนหนึ่งได้

แต่อีกส่วนหนึ่ง การจ้างแรงงานต่างด้าว โดยเฉพาะกลุ่มแรงงานที่ลักลอบเข้าเมืองแบบผิดกฏหมาย คือผลพวงจากกลไกการทำงานของระบบเศรษฐกิจเสรีนิยม ที่บรรดานายจ้างน้อยใหญ่ในประเทศเจ้าบ้าน (Host Country) มีความต้องการแรงงาน “ราคาถูก” และ “ไร้อำนาจต่อรอง” เพื่อลดต้นทุนและความยุ่งยากในการประกอบการ ปรากฏการณ์นี้เอง คือสิ่งที่เอ็มมานูเอล แตร์เรย์ (Emmanuel Terray - นักมานุษยวิทยาชาวฝรั่งเศส) เรียกว่า “la délocalisation sur place[2] หรือ “การโยกย้ายฐานการผลิตแบบอยู่กับที่” ซึ่งเป็นรูปแบบการจ้างงานที่อำนวยความสะดวกและสร้างความได้เปรียบด้านต้นทุนการผลิตแก่ผู้ประกอบการมากกว่าการโยกย้ายฐานการผลิตในรูปแบบปกติ

โดยทั่วไป การโยกย้ายฐานการผลิต (Delocalization, Offshoring) หมายถึงการเคลื่อนย้ายหรือโอนถ่ายงานบางส่วน เช่นการผลิตและการประกอบชิ้นส่วนสินค้า จากประเทศของผู้ประกอบการไปยังประเทศอื่นที่มีค่าแรงต่ำกว่า ซึ่งโดยส่วนมากแรงงานราคาถูกมักอยู่ในประเทศโลกที่สาม อย่างไรก็ตาม แม้จะมีข้อได้เปรียบด้านค่าแรง แต่การย้ายฐานการผลิตแบบปกตินี้ ก็มีข้อจำกัดและสร้างความวุ่นวายหลายอย่างให้กับผู้ประกอบการ เช่น ต้นทุนค่าขนส่งสินค้าที่เพิ่มขึ้น (ในอุตสาหกรรมบางประเภทผู้ประกอบการต้องนำสินค้าที่ผลิตแล้วกลับมายังประเทศตนเองก่อน หรือประเทศฐานการผลิตอยู่ไกลจากตลาดขายสินค้า เป็นต้น) และ ความไม่แน่นอนของสถานการณ์ทางการเมือง กฏหมาย หรือนโยบายทางเศรษฐกิจของประเทศที่ตั้งฐานการผลิต เป็นต้น

ดังนั้น เช่นเดียวกับการโยกย้ายฐานการผลิตแบบปกติที่เราคุ้นเคย “การโยกย้ายฐานการผลิตแบบอยู่กับที่” นำมาซึ่งข้อได้เปรียบด้านค่าแรงแก่ผู้ประกอบการ เพราะแรงงานต่างด้าว โดยเฉพาะแบบผิดกฏหมายนั้น ส่วนใหญ่ได้รับค่าตอบแทนต่ำกว่าอัตราค่าแรงขั้นต่ำของประเทศเจ้าบ้าน ทั้งนี้ โดยที่ยังไม่ต้องพิจารณาไปถึงว่ารายได้ของแรงงานเหล่านี้สอดคล้องหรือไม่กับงานของพวกเขาที่มักมีลักษณะ Dirty, Demanding และ Dangerous หรือที่ Stephen Castles เรียกว่า 3-D Jobs [3]

แต่ สิ่งที่ทำให้ “การโยกย้ายฐานการผลิตแบบอยู่กับที่” แตกต่างและสร้างข้อได้เปรียบให้แก่ผู้ประกอบการมากกว่า “การโยกย้ายฐานการผลิตแบบปกติ” คือ แรงงานต่างด้าวแบบผิดกฎหมายไม่มีหลักประกัน ไม่ได้รับการคุ้มครอง และไม่สามารถเรียกร้องใด ๆ จากนายจ้างได้ นอกจากนี้ ผู้ประกอบการเหล่านี้ยังไม่ต้องเผชิญกับข้อเสียเปรียบเรื่องระยะทางขนส่งสินค้า หรือปัญหาที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์ทางการเมืองและเศรษฐกิจ หรือสังคมและวัฒนธรรมที่ซับซ้อนของประเทศที่ตั้งฐานการผลิตอีกด้วย

ที่สำคัญ “การโยกย้ายฐานการผลิตแบบอยู่กับที่” ช่วยลดภาระความวุ่นวายของผู้ประกอบการในการเสาะแสวงหาพื้นที่อันเป็นแหล่งแรงงานราคาถูก เพราะเป็นตัวแรงงานเองที่จะทำทุกวิถีทางเพื่อเดินทางข้ามชายแดนมาหางานทำ แม้บางครั้งพวกเขาต้องเสียค่านายหน้าและจ่ายส่วยให้ตัวแทนอำนาจรัฐที่คอยแสวงหาผลประโยชน์ก็ตาม

_______

[1] Émile Durkheim, Le suicide, Paris : Félix Alcan, 1897.

[2] Emmanuel Terray, « Le travail des étrangers en situation irrégulière ou la délocalisation sur place », in Étienne Balibar, Monique Chemillier-Gendreau, Jacqueline Costa-Lascoux et Emmanuel Terray, Sans-papiers : l’archaïsme fatal, Paris : La Découverte, 1999.

[3] Stephen Castles, « Migration and Community Formation under Conditions of Globalization », International Migration Review, New York : Center for Migration Studies of New York, vol. 36, n°4, p.1143–1168, 2002.

โดย วิจิตร ประพงษ์

บล็อกของ un sociologue normal

un sociologue normal
หนังเรื่อง สัปเหร่อ (2566) กระแสแรงแค่ไหน รายได้รวมทั่วประเทศกว่า 500 ล้านบาท [ข้อมูลจาก Major Group* ณ วันที่ 23 ต.ค. 2566] น่าจะบ่งบอกได้เป็นอย่างดี
un sociologue normal
โลกของหนังสือเด็กสำหรับผมคือโลกที่ผมไม่เคยมีโอกาสได้เข้าไปสัมผัสมาก่อน และแยกไม่ออกว่าหนังสือเด็กคืออะไร แตกต่างจากหนังสือผู้ใหญ่ยังไง? ทำไมต้องมีการแบ่งอายุคนอ่านด้วย  
un sociologue normal
จดหมายเปิดผนึกถึงพรรคการเมืองทุกพรรคพวกเราประชาชนผู้สนใจการพัฒนาสังคม อยากทราบว่า ท่านมีนโยบายด้านการศึกษาและการสนับสนุนการพัฒนาบุคลากรจากตำบลหรืออำเภอต่าง ๆ อย่างไรบ้างแล้วท่านพอรู้จั
un sociologue normal
ถ้าจะกล่าวว่า "หนังเกาหลีเป็นหนังสร้างชาติ" ก็เป็นการกล่าวที่ไม่เกินไปนัก อุตสาหกรรมหนังเกาหลีได้พัฒนาอย่างต่อเนื่องจนขยายความนิยมได้ทั่วโลก ด้วยพล็อตเรื่องที่เป็นเฉพาะตัวและเปลี่ยนแปลงไปตามภัยคุกคามชาติในแต่ละยุคสมัย สำหรับ 30 ปีที่แล้วภัยคุกคามแห่งชาติของเกาหลีใต้คือ สายลับเกาห
un sociologue normal
ในช่วงเวลาที่ผ่านมา การเพิ่มขึ้นของจำนวนนักศึกษาไทยเป็นสิ่งที่รับรู้ตรงกันทั้งจากประสบการณ์ที่เราพบเจอและในทางสถิติ ในปีการศึกษา 2535 ประเทศไทยมีจำนวนนักศึกษาในระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่าขึ้นไป (ปวส.
un sociologue normal
ตามที่กระทรวงศึกษาธิการเตรียมจะเปิดรับสมัครเพิ่มเติมโครงการ 1 อำเภอ1ทุน รุ่นที่ 3 รอบที่ 2 ประจำปีการศึกษา 2555 โดยมีนโยบายจะเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์และคุณสมบัติของผู้ขอรับทุน คือ ผู้สมัครไม่ต้องยื่นหลักฐานรับรองรายได้ของครอบครัวจากเดิมที่จำกัดรายได้ไม่เกิน 1.5แสนบาทต่อปี และเพิ่มเกณฑ์คะแนนขั้นต่ำในก
un sociologue normal
คำกล่าวของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ที่มีต่อคณะนักเรียนทุนรัฐบาลโครงการหนึ่งอำเภอหนึ่งทุน (One District One Scholarship) หรือทุนโอดอส (ODOS) ในโอกาสที่นักเรียนทุนฯ สำเร็จการศึกษา ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล วันศุกร์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2554 เวลา 11.00 น.
un sociologue normal
คำกล่าวของ พ.ต.ท. [ยศขณะนั้น] ดร.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ที่มีต่อคณะนักเรียนทุนรัฐบาลโครงการหนึ่งอำเภอหนึ่งทุน (One District One Scholarship) หรือโอดอส (ODOS) ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล วันศุกร์ที่ 11 มิถุนายน 2547 เวลา 10.00 น. 
un sociologue normal
การศึกษาทำความเข้าใจและอธิบายโลกทางสังคม ต้องวางอยู่บนฐานสำคัญสองประการ 1) ตระหนักว่าปรากฏการณ์ทางสังคมเป็นผลผลิตของมนุษย์ ไม่ได้เกิดขึ้นและดำรงอยู่ได้ด้วยตัวมันเอง 2) ตระหนักว่าผู้คนหรือองค์กรที่มีส่วนในการสร้างและ/หรือรักษาสภาพปรากฏการณ์หนึ่ง ๆ ทางสังคมไว้ มีมากกว่ากลุ่มเดียว ฝ่ายเดียว ขั้วเดีย
un sociologue normal
"รู้จักเลอแป้นมั้ย ที่ว่าเป็นเผด็จการน่ะ? ยายเคยทำแม่บ้านบ้านเค้านะ ซักผ้า รีดผ้า เก็บห้อง...
un sociologue normal
และแล้วพวกเราก็ต้องไกลบ้าน มีเพียงวิญญาณและเงาเดินทางเป็นเพื่อน ทะเลทรายและขุนเขารออยู่เบื้องหน้า ลัดเลาะฟันฝ่า บุกป่าข้ามผ่านชายแดน และหลังจากนั้น... สุดแต่ประสงค์ของเบื้องบน
un sociologue normal
“การศึกษาเรื่องของชีวิตนั้น เราต้องศึกษาจากประชาชนผู้เป็นเจ้าของชีวิต ไม่ใช่ศึกษาจากหนังสือของนักคิดของพวกมีปัญญาที่นั่งคิดนั่งฝันเอาเอง” --เสนีย์ เสาวพงศ์. ความรักของวัลยา. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มติชน. 2548. หน้า 48.