Skip to main content

ตามที่กระทรวงศึกษาธิการเตรียมจะเปิดรับสมัครเพิ่มเติมโครงการ 1 อำเภอ1ทุน รุ่นที่ 3 รอบที่ 2 ประจำปีการศึกษา 2555 โดยมีนโยบายจะเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์และคุณสมบัติของผู้ขอรับทุน คือ ผู้สมัครไม่ต้องยื่นหลักฐานรับรองรายได้ของครอบครัวจากเดิมที่จำกัดรายได้ไม่เกิน 1.5แสนบาทต่อปี และเพิ่มเกณฑ์คะแนนขั้นต่ำในการสอบผ่านข้อเขียนจากเดิมร้อยละ 60 เป็นร้อยละ 801  ส่งผลให้กลุ่มอดีตนักเรียนทุนของโครงการนี้ทั้งรุ่นที่ 1 และ 2 ได้ทำจดหมายเปิดผนึกถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ดร.สุชาติ ธาดาธำรงเวช) เพื่อเรียกร้องให้มีการทบทวนการเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์ดังกล่าว


ในจดหมายฯ ระบุว่าไม่เห็นด้วยอย่างยิ่งกับการเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์ เพราะ “การกีดกันนักเรียนยากจนที่สอบข้อเขียนได้คะแนนน้อย ด้วยการยืดหยุ่นและเปิดช่องโหว่ให้นักเรียนฐานะดีที่มีแนวโน้มจะสอบข้อเขียนได้คะแนนสูงสามารถสมัครทุนนี้ได้ ขัดแย้งกับวัตถุประสงค์ของโครงการ”  และ “ถือเป็นการตอกย้ำและผลิตซ้ำความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาในสังคมไทยให้ดำรงอยู่ต่อไป”

อย่างไรก็ตาม นอกจากข้อเรียกร้องจะไม่ส่งผลให้มีการทบทวนใดๆ  คำตอบและปฏิกิริยาของ “ผู้ใหญ่” ต่อสถาณการณ์ที่เกิดขึ้น ยังสะท้อนถึงแนวคิดที่แฝงไปด้วย “อคติ” และ “วาระซ่อนเร้น” ที่มีนัยยะสำคัญในหลายมิติ

เช่น ทั้ง ๆ ที่การร่างจดหมายฯและการรวบรวมรายชื่อผู้สนับสนุน ได้กระทำอย่างเปิดเผยโดยกลุ่มนักเรียนทุนฯ ผ่านเครือข่าย internet social network แต่ รมว. ศธ. กลับคิดว่าการเรียกร้องครั้งนี้ “ไม่น่าจะใช้ตัวเด็กที่ร้องเรียนเอง” และ “น่าจะมีสปายอยู่เบื้องหลัง... เพราะบางคนก็อยู่ต่างประเทศ ไม่น่าจะรู้เรื่องนี้เร็ว”4

การกล่าวในลักษณะนี้จึงเป็นการลดดทอนความชอบธรรมของการร้องเรียนและเบี่ยงเบนความสนใจจากเนื้อหาสาระของจดหมายฯ และที่สำคัญเป็นการสะท้อนว่าระบบการศึกษาไทยอาจมีปัญหา เพราะ “ผู้ใหญ่ ใน ศธ.” ไม่เชื่อในศักยภาพของ “นักเรียนทุน” และ “เยาวชน” ซึ่งก็คือ “ประชาชน” ผู้เป็นผลผลิตทั้งทางตรงและทางอ้อมของกระทรวงศึกษาฯ เอง  

และทัศนคติของปลัดกระทรวงศึกษาฯ (ดร. ศศิธารา พิชัยชาญณรงค์) ที่มองการเรียกร้องครั้งนี้เป็นเพียงการแสดงออกของ “วัยรุ่นเลือดร้อน” ที่ “ติดวัฒนธรรมฝรั่ง” และ “ยังไม่เข้าใจสภาพความเป็นจริงของสังคมไทย”5  ซึ่งสะท้อนถึงสิทธิและเสรีภาพของการแสดงความเห็นในสังคมประชาธิปไตยที่ประเทศไทยมีพัฒนาการอย่างน่าคลางแคลงใจ เพราะการเสนอแนวคิดแย้งหรือการแสดงความเห็นต่างในสังคม ถูกสงวนไว้สำหรับคนเพียงบางกลุ่มหรือบางชนชั้นเท่านั้น เช่นกรณีการเรียกร้องและเสนอความเห็นเรื่องการปรับเปลี่ยนหลักเกณฑ์ของโครงการนี้ ที่ “ผู้ใหญ่” เท่านั้นเป็นผู้มีสิทธิ์คิดและตัดสินใจ ไม่ใช่เรื่องของ “เด็ก”

ส่วนที่เกรงว่าการปรับหลักเกณฑ์ใหม่จะเป็นการเปิดช่องและเอื้อให้คนรวยมาสอบนั้น รมว.ศธ. ได้ให้เหตุผลที่แทบจะไม่มีความเป็นเหตุเป็นผล ว่า“ปกติแล้วคนมีฐานะร่ำรวย ไม่ใช่ว่าจะมีสติปัญญาที่เก่ง แต่อาจจะพร้อมมากกว่าและไม่ได้หมายความว่าคนกลุ่มนี้จะสอบได้” และที่สำคัญ “คนมีฐานะส่วนใหญ่ใช้ทุนส่วนตัวส่งลูกหลานไปเรียนต่างประเทศเอง ดังนั้น คงไม่ทบทวนอะไรตามที่เรียกร้อง”6  

เป็นที่รับรู้และยอมรับกันมานานแล้ว ว่าสติปัญญาของคนไม่ได้เกี่ยวกับฐานะหรือชาติกำเนิด แต่ประเด็นคือการให้ “คนรวย” ที่สามารถเข้าถึงข้อมูลความรู้ที่ดีกว่าหรือมีโอกาสเรียนพิเศษมาสอบแข่งกับ “คนจน” ที่แทบจะไม่มีโอกาสเหล่านั้น คำถามคือ ใครจะสอบได้คะแนนมากกว่า?  ส่วนตรรกะประเภท “รวยแล้วไม่อยากได้ทุน” หรือ “รวยแล้วไม่ต้องการอะไรอีก” สังคมไทยยังเรียนรู้ไม่พออีกหรือว่าเป็นจริงหรือไม่ ?

คนรวยที่ขยันและเรียนเก่งเป็นเรื่องน่าชื่นชม ซึ่งรัฐบาลจะส่งเสริมโดยให้ทุนไปเรียนต่อเพื่อจะได้กลับมาช่วยกันพัฒนาประเทศก็เป็นเรื่องที่สมควร แต่ต้องไม่ใช่ทุน “หนึ่งอำเภอหนึ่งทุน” เพราะมันขัดกับวัตถุประสงค์ของโครงการที่ต้องการเปิดโอกาสให้คนจนที่เรียนดีในระดับหนึ่งได้ทุนไปเรียนต่อ ที่สำคัญ นั่น “เป็นการตอกย้ำและผลิตซ้ำอย่างหนักหน่วงถึงความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาในสังคมไทย ที่นักเรียนยากจนต้องเสียเปรียบนักเรียนที่มีฐานะดีในหลาย ๆ ด้าน7”

การยกเลิกเกณฑ์รายได้ครอบครัวที่เอื้อให้คนรวยสมัครทุนนี้ได้และเพิ่มเกณฑ์คะแนนการสอบผ่านข้อเขียน โดยอ้างว่าเพื่อเปิดกว้างแก่คนทุกฐานะและให้ได้เด็กที่เก่งสมกับการลงทุน ตลอดจนการกล่าวหาว่ามีผู้อยู่เบื้องหลังเพื่อลดความชอบธรรมและจงใจไม่รับฟัง “ข้อเรียกร้อง” ของ “วัยรุ่นเลือดร้อน” ต่อการเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์ดังกล่าว จึงเท่ากับเป็นการสยบยอมต่อความไม่เท่าเทียมกันของมาตรฐานการศึกษาไทยอย่างเป็นรูปธรรม กล่าวคือ เป็นการยอมรับว่าความเหลื่อมล้ำมีอยู่จริง และแทนที่จะหาทางแก้ไขหรือหาวิธีลดช่องว่างลง (เช่นโครงการ "หนึ่งอำเภอหนึ่งทุน" ตามแนวทางเดิม) กลับน้อมรับเอาผลผลิตของระบบที่ไม่เท่าเทียมนั้นมาต่อยอดและผลิตซ้ำ*

__________

*หมายเหตุ : บทความนี้เผยพร่ครั้งแรกในมติชนออนไลน์ ดู : วิจิตร ประพงษ์. 2555. “โครงการ 1 อำเภอ 1 ทุน : ฤาจะสยบยอมต่อความไม่เท่าเทียมไปตลอดกาล”. มติชนออนไลน์. http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1335245093 [ปัจจุบัน, 5 ตุลาคม 2561, ไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลได้แล้ว]

บล็อกของ un sociologue normal

un sociologue normal
หนังเรื่อง สัปเหร่อ (2566) กระแสแรงแค่ไหน รายได้รวมทั่วประเทศกว่า 500 ล้านบาท [ข้อมูลจาก Major Group* ณ วันที่ 23 ต.ค. 2566] น่าจะบ่งบอกได้เป็นอย่างดี
un sociologue normal
โลกของหนังสือเด็กสำหรับผมคือโลกที่ผมไม่เคยมีโอกาสได้เข้าไปสัมผัสมาก่อน และแยกไม่ออกว่าหนังสือเด็กคืออะไร แตกต่างจากหนังสือผู้ใหญ่ยังไง? ทำไมต้องมีการแบ่งอายุคนอ่านด้วย  
un sociologue normal
จดหมายเปิดผนึกถึงพรรคการเมืองทุกพรรคพวกเราประชาชนผู้สนใจการพัฒนาสังคม อยากทราบว่า ท่านมีนโยบายด้านการศึกษาและการสนับสนุนการพัฒนาบุคลากรจากตำบลหรืออำเภอต่าง ๆ อย่างไรบ้างแล้วท่านพอรู้จั
un sociologue normal
ถ้าจะกล่าวว่า "หนังเกาหลีเป็นหนังสร้างชาติ" ก็เป็นการกล่าวที่ไม่เกินไปนัก อุตสาหกรรมหนังเกาหลีได้พัฒนาอย่างต่อเนื่องจนขยายความนิยมได้ทั่วโลก ด้วยพล็อตเรื่องที่เป็นเฉพาะตัวและเปลี่ยนแปลงไปตามภัยคุกคามชาติในแต่ละยุคสมัย สำหรับ 30 ปีที่แล้วภัยคุกคามแห่งชาติของเกาหลีใต้คือ สายลับเกาห
un sociologue normal
ในช่วงเวลาที่ผ่านมา การเพิ่มขึ้นของจำนวนนักศึกษาไทยเป็นสิ่งที่รับรู้ตรงกันทั้งจากประสบการณ์ที่เราพบเจอและในทางสถิติ ในปีการศึกษา 2535 ประเทศไทยมีจำนวนนักศึกษาในระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่าขึ้นไป (ปวส.
un sociologue normal
ตามที่กระทรวงศึกษาธิการเตรียมจะเปิดรับสมัครเพิ่มเติมโครงการ 1 อำเภอ1ทุน รุ่นที่ 3 รอบที่ 2 ประจำปีการศึกษา 2555 โดยมีนโยบายจะเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์และคุณสมบัติของผู้ขอรับทุน คือ ผู้สมัครไม่ต้องยื่นหลักฐานรับรองรายได้ของครอบครัวจากเดิมที่จำกัดรายได้ไม่เกิน 1.5แสนบาทต่อปี และเพิ่มเกณฑ์คะแนนขั้นต่ำในก
un sociologue normal
คำกล่าวของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ที่มีต่อคณะนักเรียนทุนรัฐบาลโครงการหนึ่งอำเภอหนึ่งทุน (One District One Scholarship) หรือทุนโอดอส (ODOS) ในโอกาสที่นักเรียนทุนฯ สำเร็จการศึกษา ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล วันศุกร์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2554 เวลา 11.00 น.
un sociologue normal
คำกล่าวของ พ.ต.ท. [ยศขณะนั้น] ดร.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ที่มีต่อคณะนักเรียนทุนรัฐบาลโครงการหนึ่งอำเภอหนึ่งทุน (One District One Scholarship) หรือโอดอส (ODOS) ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล วันศุกร์ที่ 11 มิถุนายน 2547 เวลา 10.00 น. 
un sociologue normal
การศึกษาทำความเข้าใจและอธิบายโลกทางสังคม ต้องวางอยู่บนฐานสำคัญสองประการ 1) ตระหนักว่าปรากฏการณ์ทางสังคมเป็นผลผลิตของมนุษย์ ไม่ได้เกิดขึ้นและดำรงอยู่ได้ด้วยตัวมันเอง 2) ตระหนักว่าผู้คนหรือองค์กรที่มีส่วนในการสร้างและ/หรือรักษาสภาพปรากฏการณ์หนึ่ง ๆ ทางสังคมไว้ มีมากกว่ากลุ่มเดียว ฝ่ายเดียว ขั้วเดีย
un sociologue normal
"รู้จักเลอแป้นมั้ย ที่ว่าเป็นเผด็จการน่ะ? ยายเคยทำแม่บ้านบ้านเค้านะ ซักผ้า รีดผ้า เก็บห้อง...
un sociologue normal
และแล้วพวกเราก็ต้องไกลบ้าน มีเพียงวิญญาณและเงาเดินทางเป็นเพื่อน ทะเลทรายและขุนเขารออยู่เบื้องหน้า ลัดเลาะฟันฝ่า บุกป่าข้ามผ่านชายแดน และหลังจากนั้น... สุดแต่ประสงค์ของเบื้องบน
un sociologue normal
“การศึกษาเรื่องของชีวิตนั้น เราต้องศึกษาจากประชาชนผู้เป็นเจ้าของชีวิต ไม่ใช่ศึกษาจากหนังสือของนักคิดของพวกมีปัญญาที่นั่งคิดนั่งฝันเอาเอง” --เสนีย์ เสาวพงศ์. ความรักของวัลยา. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มติชน. 2548. หน้า 48.