Skip to main content

หนังเรื่อง สัปเหร่อ (2566) กระแสแรงแค่ไหน รายได้รวมทั่วประเทศกว่า 500 ล้านบาท [ข้อมูลจาก Major Group* ณ วันที่ 23 ต.ค. 2566] น่าจะบ่งบอกได้เป็นอย่างดี

สัปเหร่อ นำมาซึ่งคำวิพากษ์วิจารณ์ (คำชม) จำนวนมากในหลายประเด็น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการแสดง/นักแสดง เพลงประกอบ ภาพ บท และเนื้อเรื่อง ที่มีทั้งความน่ากลัวปนตลกและความดราม่า ผสมผสานกันอย่างลงตัว ลื่นไหล จริงใจ เป็นธรรมชาติ ตามสไตล์หนังจากค่าย "จักรวาลไทบ้าน"

สำหรับข้อคิด หรือจริงๆ อาจจะเรียกว่าสิ่งที่หนังพยายามชวนให้คนดูได้ฉุกคิดและตระหนัก หลักๆ น่าจะเป็นเรื่องการปล่อยวางอดีต เลิกอาลัยอาวรณ์คนที่จากไปแล้ว และการให้ความสำคัญกับปัจจุบัน เห็นคุณค่าคนที่ยังมีชีวิตอยู่

ฉากพิธีเคาะโลงเรียกคนตายมากินข้าว (ที่ไม่สามารถลุกมากินได้แล้ว) ฉากพิธีตัดสายสัมพันธ์ระหว่างคนเป็นกับคนตาย ประโยคที่วิญญาณ "ใบข้าว" ถามกึ่งเตือนสติ "เซียง" ทำนองว่า "จะพอได้หรือยัง จะปล่อยเธอไปได้หรือยัง” และประโยคที่สัปเหร่อ “ศักดิ์” (พ่อ) บอกกับ "เจิด" (ลูก) ว่าให้  "มีความสุขกับปัจจุบัน" ล้วนสะท้อนข้อชวนคิดต่างๆ ดังกล่าว

อีกประเด็นชวนคิดเกี่ยวกับการปล่อยวาง ที่น่าสนใจมากๆ จากหนังเรื่องนี้ คือวิธีคิดของสัปเหร่อ “ศักดิ์” ในการเลี้ยงลูก หรือการจัดวางความสัมพันธ์ระหว่างพ่อ-ลูก ผู้ใหญ่-วัยรุ่น คนรุ่นเก่า-คนรุ่นใหม่

ในหนัง ถ้าเราสังเกตดีๆ สัปเหร่อ “ศักดิ์” ไม่เคยพูดแม้แต่ครั้งเดียว ทั้งพูดตรงๆ อ้อมๆ ตัดพ้อ ประชดประชัน หรือแม้แต่การแสดงสีหน้าแววตา ว่าอยากให้ลูก (ทั้ง “เจิด” และ “แจ๊ค”) มาเป็นสัปเหร่อต่อจากตัวเอง

หากมองอย่างผิวเผิน เราอาจคิดว่าสัปเหร่อ “ศักดิ์” ก็แค่พ่อแม่ทั่วๆ ไปที่ตามใจลูก ลูกอยากเรียนอะไร อยากทำงานอะไร ก็ให้เรียน ก็ให้เป็น ลูกคนโตอยากเป็นหมอ (อนามัย) ก็ให้เป็น ลูกคนเล็กอยากเป็นทนายก็จะให้เป็น ลูกไม่อยากเป็นสัปเหร่อ ก็ไม่บังคับฝืนใจ หรือ "ไซโค" เชิงสัญลักษณ์ใดๆ

แต่สำหรับคนที่เคยสัมผัสและพอรู้จักสภาพสังคมชนบทอีสาน จะเข้าใจดีว่า พ่อแม่แบบสัปเหร่อ “ศักดิ์” ไม่ใช่คนตามใจลูกในความหมายของการเอาอกเอาใจ สปอยล์ มีอะไรประเคนให้ทุกอย่าง หรืออะไรทำนองนั้น

เพราะนอกจากสถานะทางการเงินจะไม่เอื้อให้ทำอย่างนั้นแล้ว พ่อแม่แบบสัปเหร่อ “ศักดิ์” คือคนที่เคยและกำลังสัมผัสอย่างลึกซึ้งด้วยตนเองจนตระหนักเป็นอย่างดีว่า อาชีพที่พวกตนทำอยู่นั้น สภาวะชีวิตที่พวกตนกำลังเผชิญอยู่นั้น ไม่ว่าจะเป็นอาชีพสัปเหร่อ ชาวไร่ ชาวนา กรรมกร แรงงานรับจ้าง ฯลฯ ต่างก็ไม่ได้นำมาซึ่งความอยู่ดีกินดี

เมื่อเป็นเช่นนั้น พ่อแม่แบบสัปเหร่อ “ศักดิ์” ซึ่งเป็นตัวแทนพ่อแม่อีกจำนวนมากในสังคมชนบทอีสาน จะเอาความชอบธรรมอะไร จะเอาเหตุผลอะไร จะเอาข้ออ้างอะไร และที่สำคัญ จะตอบตัวเองอย่างไร เพื่อไปบังคับให้ลูกหลานมีอนาคตที่เจ็บปวดในแบบที่ตัวเองเคยประสบมาแล้วทั้งชีวิต ?

พ่อแม่แบบสัปเหร่อ “ศักดิ์” ผ่านร้อนผ่านหนาวมามากพอ พวกเขาจึงไม่ไร้เดียงสาถึงขนาดที่จะยังเชื่ออย่างไม่ลืมหูลืมตา ว่าเป็นอะไรก็ได้ อยู่ที่ไหนก็ได้ ทำอาชีพอะไรก็ได้ ถ้าเราขยัน สักวันเราจะประสพผลสำเร็จ มีกิน มีใช้ และมีคนเห็นคุณค่า

พ่อแม่แบบสัปเหร่อ “ศักดิ์” เข้าใจโลกความเป็นจริงมากพอ พวกเขาจึงไม่โลกสวยถึงขนาดที่จะฉุดรั้งอนาคตลูกหลานไว้ด้วยคำกดดันที่ฉาบด้วยคำอ้อนวอนน้ำเน่า ว่าลูกหลานควรภูมิใจและต้องสืบสานอาชีพเก่าแก่ของพ่อแม่ไว้

ประโยคที่สัปเหร่อ “ศักดิ์” บอกกับ "เจิด" ในตอนท้ายของหนัง ว่าให้ "มีความสุขกับสิ่งที่ลูกเลือก” จึงเป็นคำพูดหนึ่งที่สะท้อนการปล่อยวางของผู้ใหญ่ในสังคม ที่ยินดีให้อิสระคนรุ่นใหม่ได้เลือกอนาคตตัวเอง แม้ทางเลือกนั้นอาจนำไปสู่การล่มสลายของบางสิ่งที่เก่าแก่และมีมานานก็ตาม

-----

* https://www.facebook.com/MajorGroup/posts/746875407469538?ref=embed_post

โดย วิจิตร ประพงษ์

บล็อกของ un sociologue normal

un sociologue normal
หนังเรื่อง สัปเหร่อ (2566) กระแสแรงแค่ไหน รายได้รวมทั่วประเทศกว่า 500 ล้านบาท [ข้อมูลจาก Major Group* ณ วันที่ 23 ต.ค. 2566] น่าจะบ่งบอกได้เป็นอย่างดี
un sociologue normal
โลกของหนังสือเด็กสำหรับผมคือโลกที่ผมไม่เคยมีโอกาสได้เข้าไปสัมผัสมาก่อน และแยกไม่ออกว่าหนังสือเด็กคืออะไร แตกต่างจากหนังสือผู้ใหญ่ยังไง? ทำไมต้องมีการแบ่งอายุคนอ่านด้วย  
un sociologue normal
จดหมายเปิดผนึกถึงพรรคการเมืองทุกพรรคพวกเราประชาชนผู้สนใจการพัฒนาสังคม อยากทราบว่า ท่านมีนโยบายด้านการศึกษาและการสนับสนุนการพัฒนาบุคลากรจากตำบลหรืออำเภอต่าง ๆ อย่างไรบ้างแล้วท่านพอรู้จั
un sociologue normal
ถ้าจะกล่าวว่า "หนังเกาหลีเป็นหนังสร้างชาติ" ก็เป็นการกล่าวที่ไม่เกินไปนัก อุตสาหกรรมหนังเกาหลีได้พัฒนาอย่างต่อเนื่องจนขยายความนิยมได้ทั่วโลก ด้วยพล็อตเรื่องที่เป็นเฉพาะตัวและเปลี่ยนแปลงไปตามภัยคุกคามชาติในแต่ละยุคสมัย สำหรับ 30 ปีที่แล้วภัยคุกคามแห่งชาติของเกาหลีใต้คือ สายลับเกาห
un sociologue normal
ในช่วงเวลาที่ผ่านมา การเพิ่มขึ้นของจำนวนนักศึกษาไทยเป็นสิ่งที่รับรู้ตรงกันทั้งจากประสบการณ์ที่เราพบเจอและในทางสถิติ ในปีการศึกษา 2535 ประเทศไทยมีจำนวนนักศึกษาในระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่าขึ้นไป (ปวส.
un sociologue normal
ตามที่กระทรวงศึกษาธิการเตรียมจะเปิดรับสมัครเพิ่มเติมโครงการ 1 อำเภอ1ทุน รุ่นที่ 3 รอบที่ 2 ประจำปีการศึกษา 2555 โดยมีนโยบายจะเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์และคุณสมบัติของผู้ขอรับทุน คือ ผู้สมัครไม่ต้องยื่นหลักฐานรับรองรายได้ของครอบครัวจากเดิมที่จำกัดรายได้ไม่เกิน 1.5แสนบาทต่อปี และเพิ่มเกณฑ์คะแนนขั้นต่ำในก
un sociologue normal
คำกล่าวของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ที่มีต่อคณะนักเรียนทุนรัฐบาลโครงการหนึ่งอำเภอหนึ่งทุน (One District One Scholarship) หรือทุนโอดอส (ODOS) ในโอกาสที่นักเรียนทุนฯ สำเร็จการศึกษา ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล วันศุกร์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2554 เวลา 11.00 น.
un sociologue normal
คำกล่าวของ พ.ต.ท. [ยศขณะนั้น] ดร.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ที่มีต่อคณะนักเรียนทุนรัฐบาลโครงการหนึ่งอำเภอหนึ่งทุน (One District One Scholarship) หรือโอดอส (ODOS) ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล วันศุกร์ที่ 11 มิถุนายน 2547 เวลา 10.00 น. 
un sociologue normal
การศึกษาทำความเข้าใจและอธิบายโลกทางสังคม ต้องวางอยู่บนฐานสำคัญสองประการ 1) ตระหนักว่าปรากฏการณ์ทางสังคมเป็นผลผลิตของมนุษย์ ไม่ได้เกิดขึ้นและดำรงอยู่ได้ด้วยตัวมันเอง 2) ตระหนักว่าผู้คนหรือองค์กรที่มีส่วนในการสร้างและ/หรือรักษาสภาพปรากฏการณ์หนึ่ง ๆ ทางสังคมไว้ มีมากกว่ากลุ่มเดียว ฝ่ายเดียว ขั้วเดีย
un sociologue normal
"รู้จักเลอแป้นมั้ย ที่ว่าเป็นเผด็จการน่ะ? ยายเคยทำแม่บ้านบ้านเค้านะ ซักผ้า รีดผ้า เก็บห้อง...
un sociologue normal
และแล้วพวกเราก็ต้องไกลบ้าน มีเพียงวิญญาณและเงาเดินทางเป็นเพื่อน ทะเลทรายและขุนเขารออยู่เบื้องหน้า ลัดเลาะฟันฝ่า บุกป่าข้ามผ่านชายแดน และหลังจากนั้น... สุดแต่ประสงค์ของเบื้องบน
un sociologue normal
“การศึกษาเรื่องของชีวิตนั้น เราต้องศึกษาจากประชาชนผู้เป็นเจ้าของชีวิต ไม่ใช่ศึกษาจากหนังสือของนักคิดของพวกมีปัญญาที่นั่งคิดนั่งฝันเอาเอง” --เสนีย์ เสาวพงศ์. ความรักของวัลยา. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มติชน. 2548. หน้า 48.