Skip to main content

 

โดย กฤษฎา ศุภวรรธนะกุล ศูนย์ข่าว TCIJ

 

เขี้ยว เล็บ ประสาทสัมผัส และมัดกล้ามอันทรงพลัง คือพรสวรรค์และอาวุธที่ธรรมชาติ-กระบวนการวิวัฒนาการ-หยิบยื่นแก่เหล่าสัตว์นักล่า ช่วยให้มันตะเกียกตะกายขึ้นไปยืนอยู่ ณ จุดสูงสุดของห่วงโซ่อาหาร

เคยอ่านเจอ หมีกริซลี่ตัวเต็มวัยสามารถตะปบหัวลูกวัวให้แหลกได้ในคราวเดียวเหมือนเราขยำเต้าหู้ ฉลามมีฆานประสาทคมกริบสามารถรับรู้คาวเลือดจางๆ ในท้องทะเล แม้เหยื่อเคราะห์ร้ายจะอยู่ห่างไกล หรือเสือ-ราชาแห่งป่าเขตร้อน-ที่ไม่เพียงเป็นยอดนักล่า คำรามและสาบกายที่ทำให้ทั้งป่าหยุดหายใจ แต่สรีระหน้าตาของมันยังหล่อเหลาและภูมิฐานสุดๆ

หลายปีก่อนผมมีโอกาสสนทนากับนักวิจัยเสือมือ 1 ของเมืองไทย คุณศักดิ์สิทธิ์ ซิ้มเจริญ เขาสั่นคลอนจินตภาพเกี่ยวกับเสือของผมจนแตกละเอียด พร้อมๆ กับเปิดมุมมองใหม่แก่ผม

เขาบอกว่า เสือไม่ได้เก่งกล้าสามารถดังที่เราเข้าใจ พูดแบบแรงๆ ด้วยคำพูดของผมเอง สถานะของเสือในป่า เต็มที่ก็เป็นได้แค่ ‘ผู้เก็บกวาด’ เหยื่อของมัน ถ้าไม่เด็กเกินไป แก่เกินไป ก็ต้องพิการ ป่วย บาดเจ็บ อ่อนแอ หรือโง่ ถ้าเป็นกระทิงหนุ่มฉกรรจ์หรือกวางป่าเปรียวๆ  ชะรอยเจ้าป่าจะวิ่งไล่ไม่ทันด้วยซ้ำ

..................

วิวัฒนาการหลายแสนปี จากโครมันยอง นีแอนเดอร์ธัล เรื่อยมาจนเป็นมนุษย์ปัจจุบัน เราไม่ได้รับมอบพรสวรรค์-เขี้ยว เล็บ พละกำลัง ฯลฯ-เหมือนสัตว์อื่นๆ ลองนึกดูว่าถ้ามนุษย์มีความสามารถเฉกเช่นสัตว์อะไรจะเกิดขึ้น สมมติว่าคนคนหนึ่งกระโดดได้เหมือนตัวหมัด หมอนี่จะกระโดดได้ไกลกว่ามนุษย์แมงมุมเสียอีก หรือมีพละกำลังเท่ากับมด เขาก็คงฉีกรถยนต์เป็นชิ้นๆ เหมือนฉีกขนมปัง

...พระเจ้าตัดสินใจถูกแล้ว

สิ่งที่มนุษย์ได้รับจากธรรมชาติคือมันสมอง จากห้วงเวลากำเนิดโลกถึง ณ ขณะนี้ ประวัติศาสตร์มนุษย์เป็นห้วงเวลาสั้นๆ เพียงกระผีก สั้นมากเมื่อเทียบกับผู้ครองโลกก่อนหน้าเรา-ไดโนเสาร์ ห้วงเวลาสั้นๆ นี้ ‘สมอง’ กลับสามารถพามนุษย์ตะเกียกตะกายสู่จุดสูงสุดของห่วงโซ่อาหาร

เราเอาชนะสัตว์ผู้ล่าทุกชนิดและลากพวกมันลงจากบัลลังก์

................

กลางเดือนกุมภาพันธ์ ผมอ่านเจอข่าวชิ้นหนึ่ง ระบุว่า 8 ประเทศที่มีอาณาเขตติดต่อกับทวีปอาร์กติกหรือขั้วโลกเหนือได้ร่วมกันก่อตั้งสำนักเลขาธิการของสภาอาร์กติกขึ้นอย่างเป็นทางการที่เมืองโตรอนโต ประเทศแคนาดา มันเป็นสัญญาณว่าประเทศเหล่านี้พร้อมบุกเบิกทวีปน้ำแข็งอันลี้ลับแห่งนี้ ไม่ว่าจะเป็นด้านการทูต การค้า และวิทยาศาสตร์

ฟังดูดีใช่มั้ยครับ? เนื้อข่าวยังบอกต่อไปอีกว่า การที่ 8 ประเทศดันมากระตือรือร้นในช่วงนี้ ทั้งที่สภาอาร์กติกก่อตั้งมาได้ 17 ปีแล้ว เป็นเพราะแรงกดดันจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและภาวะโลกร้อน

ผมพอจะเดาได้ว่าคุณกำลังคิดอะไรอยู่ แต่วัตถุประสงค์แท้จริงของการก่อตั้งสำนักเลขาธิการของสภาอาร์กติกอย่างเป็นทางการอาจทำร้ายจิตใจกว่าที่คิด

เปล่า, พวกเขาไม่ได้เป็นห่วงบ่วงใยทวีปน้ำแข็ง เพียงแต่ผลสำรวจครั้งล่าสุดของสำนักธรณีวิทยาสหรัฐฯ ปี 2551 พบว่า ใต้ก้อนน้ำแข็งมหึมาอาจมีก๊าซธรรมชาติที่ยังไม่ได้สำรวจสูงถึง 30 เปอร์เซ็นต์ของทั้งโลก กับแหล่งน้ำมันอีก 13 เปอร์เซ็นต์ของแหล่งน้ำมันทั่วโลก ซึ่ง 8 ประเทศเชื่อว่าการที่น้ำแข็งขั้วโลกกำลังละลายอย่างรวดเร็วจะช่วยเปิดทางให้เข้าถึงแหล่งพลังงานมหาศาลได้

.................

หลังวันที่ 9 พฤศจิกายน 2532 กำแพงเบอร์ลินที่เคยกั้นขวางเยอรมนีตะวันตกและตะวันออกหักรานลง เป็นเหตุการณ์ที่ถูกอุปโลกน์กลายๆ ว่า คือสัญญาณแจ่มชัดว่าโลกนี้ (ยัง) ไม่มีที่อยู่ยืนให้แก่แนวคิดทางสังคม-การเมือง-เศรษฐกิจแบบอื่นอีกแล้ว นอกเสียจากเสรีนิยมประชาธิปไตย แน่นอน มันผูกพ่วงมากับระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม

ผมไม่ค่อยให้ราคานัก หากใครบางคนจะแปะป้าย ‘สลิ่ม’ ไว้กลางหน้าผากของผม เมื่อผมตั้งแง่ ตั้งคำถาม และมองทุนนิยมอย่างหวาดระแวง (ผมไม่ใช้ทั้งไอแพด ไอโฟน หรือสมาร์ทโฟนใดๆ-จะทำให้ผมดู ‘ดัดจริต’ น้อยลงหรือเปล่า ถ้าจะวิพากษ์วิจารณ์ทุนนิยม) พูดกันตามตรง ทุนนิยมก็มีทั้งภาพที่สุภาพอ่อนโยนและกักขฬะหยาบคาย เสียดายที่อย่างหลังค่อนข้างมีฤทธิ์เดชมากกว่า ถ้าเราไม่หมั่นลงแส้ มันก็มักหันมาแว้งกัด

ความโดดเด่นประการหนึ่งของทุนนิยมคือการเสาะหาโอกาสกลางวิกฤต ซึ่งเป็นได้ทั้งโอกาสที่สุภาพและหยาบคายอีกเช่นกัน กรณีนี้ ผมคิดว่าเข้าข่ายหยาบคาย (มาก) ปัญหาโลกร้อนส่วนหนึ่งเกิดจากการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลที่ปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ขึ้นไประรานชั้นบรรยากาศ ส่งสะท้อนให้น้ำแข็งขั้วโลกแตกละลาย อากาศแปรปรวน และด้วยพลังแห่งมันสมองบวกพลังแห่งทุนนิยมผ่านกระบวนการใช้เหตุผลที่คงจะมีเหตุผลในแบบทุนนิยม-แต่ผมไม่มีวันเข้าใจ สภาอาร์กติกกลับเห็นว่า ยิ่งน้ำแข็งขั้วโลกเหนือละลายเร็วเท่าไรยิ่งดี แหล่งก๊าซธรรมชาติและน้ำมันกำลังรอให้กอบโกย มนุษย์ไม่ต้องกริ่งเกรงว่าจะไม่มีแหล่งเชื้องเพลิงฟอสซิลให้ถลุง ยิ่งถลุงใช้ก็ยิ่งทำให้น้ำแข็งขั้วโลกละลายเร็วยิ่งขึ้นอีก และก็ยิ่งเข้าถึงเชื้อเพลิงฟอสซิลมากขึ้นอีกไปเรื่อยๆ ...เป็นวงจรที่กัดกินตนเอง

ว่าแต่...มันผิดแผกจากเรื่องอื่นๆ บนโลกใบนี้หรือ? ไม่, บ่อยกว่าบ่อยที่มนุษย์หยิบชิ้นส่วนต่างๆ จากความพึงพอใจส่วนตนประกอบสร้างเป็น ‘เหตุผล’ เพื่อสร้างความชอบธรรมแก่การกระทำที่ ‘ไร้เหตุผล’

.............

สาวน้อยคนหนึ่งเคยเล่าความใฝ่ฝันให้ผมฟังว่า เธออยากจะไปขั้วโลกเหนือ อยากดื่มด่ำกับแสงเหนือ (ถ้าเป็นไปได้ผมก็อยากเห็นเช่นกัน) การโบยบินตามความฝันนี้ไม่ง่ายดาย แต่ผมเริ่มไม่แน่ใจว่า เมื่อทุกอย่างพร้อมจะมีขั้วโลกเหนือและแสงเหนือหลงรอดหรือไม่

เราเอาชนะสัตว์ผู้ล่าทุกชนิดและลากพวกมันลงจากบัลลังก์ บัดนี้ มนุษย์ยึดครองบัลลังก์ ณ จุดสูงสุดของห่วงโซ่อาหารแทน ผมคิดว่ามนุษย์ไม่มีทางขึ้นไปได้สูงกว่านี้อีกแล้วบนห่วงโซ่อาหาร

แต่บนเส้นทางวิวัฒนาการ มนุษย์อาจเดินผ่านมาเพียงต้นๆ ทางเท่านั้น หมายความว่ายังมีเขี้ยวเล็บอีกมากที่กระบวนการทางธรรมชาติซ่อนเร้นไว้ และผมเชื่อว่าธรรมชาติมีเหตุผลจำเป็นบางประการที่ต้องปกปิดมัน อย่างไรก็ตาม กระบวนการวิวัฒนาการยังดำเนินต่อไป

หากถึงวันนั้น ผม สาวน้อย และมนุษย์คนอื่นๆ อาจหยัดยืนบนขั้วโลกเหนือในฐานะผู้ล่าสูงสุดที่ไม่ได้รู้สึกอินังขังขอบกับแสงเหนืออีกต่อไป

หากถึงวันนั้น มนุษย์จะมีรูปร่างหน้าตาอย่างไร ยากที่จะตอบ แต่ผมไม่มั่นใจสักเท่าไรว่า มนุษย์...จะหล่อเหลา ภูมิฐาน และทำหน้าที่ได้ดีเยี่ยงเดียวกับราชาแห่งป่า

บล็อกของ กฤษฎา ศุภวรรธนะกุล

กฤษฎา ศุภวรรธนะกุล
ขณะที่เขียนอยู่นี้ #ประเทศกูมี มียอดวิวเกือบ 7 ล้านแล้ว ผมนี่ฟังหลายรอบมาก พร้อมโยกเยกไปตามจังหวะและซึมซับเนื้อหาเข้าไปในหัวใจ
กฤษฎา ศุภวรรธนะกุล
ตั้งแต่วัยรุ่นที่พอจะรับรู้ความเป็นไปของสังคมบ้าง ผมพบเจอ ‘วิธีคิด’ ในการใช้ชีวิตประมาณห้าหกชนิด ตั้งแต่สโลว์ไลฟ์ สโลว์ฟู้ด การกลับไปใช้ชีวิตเป็นชาวนา มินิมัลลิสม์ ฮุกกะ และล่าสุดที่ออกมาไล่เรี่ยกันคือลุกกะและอิคิไก แล้วยังมีการเผยแพร่ลัทธิความฝันแบบเข้มข้นของสื่อมวลชน สินค้า บริการ จนถึงโค้ช นัก
กฤษฎา ศุภวรรธนะกุล
 กฤษฎา ศุภวรรธนะกุล 
กฤษฎา ศุภวรรธนะกุล
กฤษฎา ศุภวรรธนะกุล วันนี้มีเหตุให้ไปร่วมวงแลกเปลี่ยน ถกเถียง ประเด็นการไม่นับถือศาสนา มีหลายบทสนทนาที่น่าสนใจเลยคิดว่าน่าจะนำมาแบ่งปันและถกเถียงกันต่อ
กฤษฎา ศุภวรรธนะกุล
กฤษฎา ศุภวรรธนะกุลในหนังสือ 'SUM 40 เรื่องเล่าหลังความตาย' ของ David Eagleman มีอยู่ตอนหนึ่งกล่าวถึงสรวงสวรรค์ที่ดวงวิญญาณของบุคคลผู้มีชื่อเสียงในประวัติศาสตร์ยังคงว่ายเวียนอยู่บนสรวงสวรรค์แห่งนั้น
กฤษฎา ศุภวรรธนะกุล
กฤษฎา ศุภวรรธนะกุล รับงานเลี้ยงชีพชิ้นเล็กๆ มาชิ้นหนึ่ง เนื้องานคือการสัมภาษณ์เรื่องราวชีวิตบุคคล นำมาร้อยเรียงบอกกล่าวสู่คนอ่าน ปรากฏว่าบทสนทนาที่ดำเนินไป ชักพาให้เกิดความคิดคำนึงอันหลากหลาย ณ ส่วนใดส่วนหนึ่งของสมองและหัวใจ
กฤษฎา ศุภวรรธนะกุล
กฤษฎา ศุภวรรธนะกุล ‘วัยหนุ่ม ข้าต้องการมีเพื่อนมากมายวัยกลางคน ข้าต้องการมีเพื่อนที่ดีวัยชรา ข้าเพียงต้องการเป็นเพื่อนที่ดีของใครสักคน’
กฤษฎา ศุภวรรธนะกุล
 กฤษฎา ศุภวรรธนะกุล"ถึงผมจะไม่เห็นด้วยกับสิ่งที่คุณพูด แต่ผมจะปกป้องสิทธิในการพูดของคุณด้วยชีวิต" วอลแตร์“จินตนาการสำคัญกว่าความรู้” อัลเบิร์ต ไอสไตน์
กฤษฎา ศุภวรรธนะกุล
กฤษฎา ศุภวรรธนะกุล TCIJเป็นอีกครั้งที่วัดธรรมกายออกมาธุดงค์กลางนคร แล้วก็ถูกสวดยับไปตามระเบียบ ซึ่งคงห้ามปรามกันไม่ได้
กฤษฎา ศุภวรรธนะกุล
 กฤษฎา ศุภวรรธนะกุลพนักงานบริการหญิงหรือ Sex Worker นางหนึ่งเดินจับจ่ายซื้อหากับชาวต่างประเทศ เธอพูดกับลูกค้าของเธอว่าI shop. You pay.
กฤษฎา ศุภวรรธนะกุล
กฤษฎา ศุภวรรธนะกุล TCIJมนุษย์ล้วนตั้งจุดหมายปลายทางของตนเองและพยายามฟันฝ่าไปให้ถึง โดยส่วนใหญ่ล้มลุกคลุกคลาน บ้างล้มแรงเสียจนไร้แรงยืนอีกครั้ง เป็นสัดส่วนน้อยกว่ามากที่ถึงจุดหมายปลายทาง นี่คงเป็นเหตุผลทำให้ ‘ความฝัน’ เป็นสิ่งสูงค่าในสายตามนุษย์ยุคปัจจุบัน
กฤษฎา ศุภวรรธนะกุล
กฤษฎา ศุภวรรธนะกุล TCIJ