Skip to main content

บล็อกกาซีน ประชาไท

Hit & Run
    ช่วงนี้มีแต่เรื่องวุ่นวาย ส่วนตัวความจริงแล้วไม่อยากยุ่งเพราะเป็นคนรักสงบและถึงรบก็ขลาด แต่ไม่ยุ่งคงไม่ได้เพราะมันใกล้ตัวขึ้นทุกที ระเบิดมันตูมตามก็ถี่ขึ้นทุกวัน จนไม่รู้ใครเป็นตัวโกง ใครเป็นพระเอก เลยขอพาหันหน้าหาวัดพูดเรื่องธรรมะธรรมโมบ้างดีกว่า แต่ไม่รับประกันว่าพูดแล้วจะเย็นลงหรือตัวจะร้อนรุมๆ ขัดใจกันยิ่งกว่าเดิม ยังไงก็คิดเสียว่าอ่านขำๆ พอฆ่าเวลาปลายสัปดาห์ก็แล้วกัน.....
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
เมื่อผมย้าย มาอยู่ที่สามหลัง ได้รู้จักกับครอบครัวหนึ่ง บ้านใกล้กัน สามีภรรยาอยู่ในวัยทำงาน ขยันทั้งคู่ เขามีบุตรชาย คนหนึ่งเป็นเด็กที่น่าสนใจ น่าเรียนรู้ ผลการเรียนเกรด 4 ทุกวิชา ตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 ...อยู่ในครรภ์มารดา 7 เดือนเศษก็คลอด หลังคลอดต้องนอนห้องไอซียู อีก 1 เดือน เพราะร่างกายไม่แข็งแรง ปอดไม่ปรกติ หมอต้องเจาะรักษา จากนั้นมานอนพักฟื้นที่ห้องพิเศษอีก 7 วัน จึงกลับบ้านได้ ขณะเรียนหนังสือ เวลาว่างชอบอ่านหนังสือเสมอ ปั่นจักรยานเล่นในหมู่บ้าน มือถือหนังสือ ท่อนแขนกดแฮนด์รถไว้ อ่านหนังสือไปด้วย จนคนในครอบครัวต้องว่ากล่าว เกรงจะได้รับอันตราย ในด้านสัมมาคารวะ ระเบียบวินัย มักมีปัญหาเสมอๆ เช่น ปิดสวิตช์ไฟข้ามศีรษะผู้ใหญ่ ดึงหนังสือจากมือผู้ใหญ่โดยไม่ขออนุญาต ตักอาหารในช้อนผู้ใหญ่อย่างน่าตาเฉย จนคนในวงอาหารส่งเสียงต่อว่าและสั่งสอน เด็กคนนี้ชื่อ “กุ๊กไก่”
แพร จารุ
พื้นที่ป่าในประเทศไทย เป็นพื้นที่ที่มีคนอาศัยอยู่ก่อนแล้ว โดยเฉพาะชุมชนชาวเขาทั้งหลายที่อาศัยก่อน ต่อมาพื้นที่ป่าก็ถูกประกาศเป็นพื้นที่ในเขตอุทยานแห่งชาติ หลายแห่งที่พยายามเอาคนออกจากป่า ตัวอย่างการย้ายคนออกจากพื้นที่เดิมมีอยู่หลายแห่ง ซึ่งส่งผลกระทบต่อชีวิตผู้คนที่ถูกย้ายและสังคมโดยรวมเป็นอย่างมาก เพราะทำให้เกิดปัญหาการย้ายถิ่นจากชนบทสู่เมือง การอพยพแรงงาน และปัญหาอื่นๆ ติดตามมาอีกมากมาย ทางออกหนึ่งก็คือการสนับสนุนให้คนที่อยู่ในป่าได้อยู่ในพื้นที่เดิมและดูแลป่าด้วยดังนั้น การทำความเข้าใจ ให้คนอยู่กับป่าได้และดูแลป่า น่าจะเป็นทางเลือกที่ดี มีคำถามว่า คนที่อยู่ในป่าเขาควรจะได้ใช้ทรัพยากรหรือไม่ ทรัพยากรเป็นสิ่งที่ต้องใช้ ทุกคนต่างใช้ทรัพยากรธรรมชาติกันทั้งนั้น ไม่ว่าคุณจะอยู่ตรงไหนของประเทศ แต่จะใช้อย่างไรให้ยั่งยืน หรือใช้อย่างไรไม่ให้หมด นี่เป็นคำถามที่ทุกคนต้องตอบ
รวิวาร
ตลาดแห่งนั้นเงียบ เป็นระเบียบและเย็นฉ่ำ ไม่มีคนขายนั่งประจำอยู่หลังกองสินค้า มีเพียงพนักงานเก็บเงินคนหนึ่งนั่งอยู่ใกล้ประตูทางออก เสียงดนตรีบรรเลงเบาๆ กล่อมเกลาบรรยากาศ ข้าวของมากมายเรียงรายอยู่บนชั้นสูง ยืนเข้าแถวราวกับทหาร ระหว่างชั้นแต่ละชั้นเกิดช่องลึกยาว พอเหมาะพอเจาะสำหรับเด็กๆ เล่นซ่อนหา... เรามาจากโลกข้างนอก ออกมาจากพาหนะคู่ชีพบุโรทั่งที่คอยรับใช้มาอย่างซื่อสัตย์ จึงไม่กล้าบ่นที่แอร์ไม่เย็น และฝนสาดเปียกปลายผมเพราะกระจกหน้าต่างไม่อาจปิดสนิท (... ขอบคุณนะที่พาไปทุกที่ ไม่รู้เจ้าจะน้อยใจหรือเปล่าที่บางครั้งฉันก็แอบฝันถึงรถคันใหม่อยู่เหมือนกัน)
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
“พี่ ไปแค้มป์แม่หละกันไม๊” ดาด้าตัวละครเก่าของผมเอ่ยถาม ระหว่างที่เรานั่งรถไปจังหวัดกระบี่ “ตาก อะนะ” ผมทำตาลุก มันเป็นสถานที่หนึ่งที่ฝันว่าจะไปถ่ายรูป “วันไหน” “เนี่ย กลับจากนี่แหละ” มหาดไทยอนุญาตให้ออฟฟิศของดาด้า เข้าไปถ่ายทำเรื่องกลุ่มมุสลิมในแค้มป์ ผมนั่งนับนิ้ว เอ มันตรงกับวันอะไรหว่า !! “เออ นายเขียนแคนโต้แล้วถ่ายรูปมาลงคอลัมน์เรานะ” เสียดายครับ @@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@
นาลกะ
วรรณกรรมเยาวชนส่วนใหญ่ มักมุ่งเน้นให้เยาวชนขยันหมั่นเพียรในการศึกษาเล่าเรียน เรียนให้จบชั้นสูง ๆ เพื่อที่จะได้มีอาชีพการงานที่ดีในอนาคต หรืออดทนกัดฟันสู้ต่อความยากลำบาก ต่อความด้อยโอกาสกระทั่งเอาชนะได้ในที่สุด กล่าวอีกแบบก็คืออดทนทำดีเข้าไว้เพื่อตัวเองนั่นแหละที่จะได้ดี หรือถ้าไม่เป็นไปตามลักษณะข้างต้น วรรณกรรมเยาวชนที่เขียน ๆ กันก็มักจะเน้นการใช้จินตนาการจนหลุดลอยจากโลกแห่งความเป็นจริง กลายเป็นวรรณกรรมเยาวชนเชิงแฟนตาซีที่อะไร ๆ ก็ดูสวยงามไปหมด เหมือนเป็นการพาเยาวชนคนอ่านหลบหนีไปจากโลกจริงสู่โลกจินตนาการของภาษา แต่วรรณกรรมเรื่อง “กะลาสีเรือผู้กล้าหาญ” ประพันธ์โดย “จังว่าง” ฝีมือการแปลของ “เหมยและพลับพลึง” และจัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ “เม็ดทราย” นั้นมีจุดมุ่งหมายต่างออกไปอย่างสำคัญ
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
มิใช่ บ่อ จากท่อธารบาดาลใสหลั่งรินไหล มิรู้แล้ง แห้งเหือดหายเป็นเพียง บ่อ น้ำฟ้ามาซึมทรายหลั่งรินสาย มาหล่อเลี้ยง - เพียงชั่วกาลมิใช่ บ้านดวงใจ อุ่นไอรักแค่ เพิงพัก หลบร้อนอันกร่อนกร้านริมวิถี คดเคี้ยว เปลี่ยว กันดารเป็นทางผ่าน เป็นที่พัก - นักเดินทางมิใช่ แสงดาว ชี้ชัดปลุกศรัทธาแทนดวงตาดวงใจผู้ไร้ร้างเป็นเพียง แสงหิ่งห้อย - ลอยเลือนรางอยู่ท่ามกลางคืนเดือนมืดอันยืดยาวและมิใช่ สมณะ ผู้ละโลกย์พ้นทุกข์โศกเวียนว่ายกายสีขาวยังเป็นแค่ ปุถุชน คนมากคาวยังมิก้าวพ้น ตัณหา ราคีใดคือ ตัวฉัน ที่เห็นเป็นจริงอยู่อยากให้ดูเท่าที่เห็นเป็นจริงไว้ไม่เคยฟังอยากให้ฟังอย่างตั้งใจเพื่อจักได้มองเห็นตามความจริงแท้เพื่อจักได้ คลายความเขลา เข้าใจผิดเพื่อจักได้ รื้อ ความคิด ผิด มาแก้แม้ความจริง ( จะ ) สารเลว เกินเหลียวแลแต่...ไม่เคยทำร้ายเราเท่าความลวง.กระท่อมทุ่งเสี้ยว เชียงใหม่
องค์ บรรจุน
สุกัญญา เบาเนิด งานบำเพ็ญกุศลถวายพระศพสมเด็จพระพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เมื่อวันที่ ๑๒ ตุลาคม ๒๕๕๑ ที่ผ่านมา ซึ่งชมรมเยาวชนมอญกรุงเทพฯและชาวไทยเชื้อสายมอญจากทั่วประเทศร่วมกันเป็นเจ้าภาพ ถึงแม้จะเหน็ดเหนื่อยในฐานะกรรมการจัดงาน แต่ก็รู้สึกอิ่มเอมใจกับภาพที่เห็นและบรรยากาศที่ได้สัมผัส ถือเป็นงานใหญ่ที่คนมอญได้แสดงออกซึ่งขนบธรรมประเพณีอันดีงาม มิเสียชื่อที่เป็นชนชาติที่รุ่งเรืองทางด้านอารยธรรมมาก่อน ดังนั้นเพื่อเป็นการรักษาและสืบทอดธรรมเนียมมอญโบราณ และเป็นการถวายพระกุศลแด่พระศพสมเด็จพระพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ จึงจัดให้มีพิธีสำคัญ ได้แก่ พิธีเทาะอะโย่งกย้าจก์ หรือพิธีสมโภชพระพุทธรูป พิธีรำสามถาด พิธีมอญร้องไห้ และมอญรำ พิธีการและพิธีกรรมได้ดำเนินไปตลอดทั้งวัน ในงานสิ่งที่สะดุดตาเห็นจะเป็นอื่นไปไม่ได้นั่นคือการแต่งกายของผู้ที่มาร่วมงานนับพันคน ถึงแม้ว่าส่วนใหญ่จะแต่งขาวดำเป็นหลัก และส่วนน้อยจะเป็น “ชุดประจำชาติ” (โสร่ง/ผ้าถุงแดงเสื้อขาว) ของพี่น้องชาวมอญเมืองมอญซึ่งก็โดดเด่นไม่แพ้กัน แต่น่าเสียดายว่าชุดการแต่งกายแบบนี้จะเคยถูกดูหมิ่นและรังเกียจว่าเป็นการแต่งกายของแรงงานต่างด้าว เช่นที่มหาชัยก็เคยถูกห้ามสวมใส่มาแล้ว แต่อย่างน้อยในงานนี้อาจทำคนในสังคมไทยได้เข้าใจ และมองเห็นความเป็นมอญได้อย่างเต็มตาเต็มใจมากยิ่งขึ้น
suchana
  ค่ายโหมเรารักษ์จะนะ : ตอนที่ ๑ ตามรอยประวัติศาสตร์เมืองจะนะ               ช่วงเดือนตุลาคมเป็นช่วงที่โรงเรียนต่างๆปิดภาคการเรียนการสอน  เด็กๆหลายคนมีกิจกรรมต่างๆมากมายระหว่างปิดภาคเรียน  แต่มีผู้ปกครองกลุ่มหนึ่งได้นั่งพุดคุยจนนำไปสู่การจัดกิจกรรมค่ายเยาวชนในช่วงเวลาแบบนี้ให้กับลูกหลานและเด็กๆในชุมชนค่ายโหมเรารักษ์จะนะจัดขึ้นระหว่างวันที่ ๒๕-๒๖ ตุลาคม ๒๕๕๑  ณ บ่อโชนรีสอร์ท  อำเภอจะนะ  จังหวัดสงขลา  โดยมีน้องๆเยาวชนจากหลากหลายพื้นที่จากอำเภอจะนะ  จังหวัดสงขลาร่วมสี่สิบชีวิตมาเข้าค่ายร่วมกันเพื่อเรียนรู้เรื่องทรัพยากรธรรมชาติในชุมชน และเรียนรู้เรื่องราวและตามรอยประวัติศาสตร์เมืองจะนะ  ซึ่งเป็นค่ายเป็นค่ายที่มีความหลากหลายสูงมากเพราะมีน้องเล็กๆตั้งแต่น้องป.๒ถึงพี่เรียนระดับปริญญาตรี  และมีผู้ปกครองอาสาสมัครเข้ามาเป็นพี่เลี้ยงค่ายและร่วมคิด ร่วมกำหนดกระบวนการจัดค่ายเอง โดยได้รับความร่วมมือจากศูนย์พลเมืองเด็กสงขลาในการให้คำปรึกษานายกิตติภพ  สุทธิสว่าง ผู้ประสานเครือข่ายผลกระทบนโยบายสาธารณะ ในโครงการดับบ้านดับเมืองเรียนรู้อยู่ดีที่ปากใต้ เล่าว่าสืบเนื่องจากการศูนย์การเรียนรู้วิถีธรรมชาติเพื่อชุมชน ตำบลบ้านนา ได้จัดและสร้างกระบวนการเรียนรู้ศิลปะสร้างสุขให้กับเยาวชนในชุมชนทุกวันอาทิตย์  และได้มีการจัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์เพื่อวิถีชีวิตชุมชน ตำบลบ้านนา อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา  โดยทำการฝากเงินและพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันระหว่างสมาชิกในทุกวันเสาร์แรกของเดือน จากการแลกเปลี่ยนของสมาชิกทำให้เห็นว่าสภาพชุมชนและสังคมในปัจจุบันเป็นลักษณะต่างคนต่างอยู่ ขาดการพึ่งพาอาศัยและดูแลซึ่งกันและกันเหมือนเช่นชุมชนในอดีต  และเยาวชนในชุมชนหันเหไปพึ่งพิงเทคโนโลยีสมัยใหม่มากขึ้นเรื่อยๆได้แก่ โทรทัศน์ คอมพิวเตอร์ดังนั้นจึงมีความเห็นว่าทางศูนย์น่าจะมีการจัดกิจกรรมให้กับเยาวชนในชุมชน  ในช่วงระหว่างที่โรงเรียนปิดภาคเรียน เพื่อสร้างกิจกรรมและกระบวนการเรียนรู้ทางเลือกให้กับเยาวชน  และน่าสร้างกิจกรรมให้เยาวชนได้เรียนรู้การอยู่ร่วมกันกับผู้อื่น ได้เรียนรู้การพึ่งตนเองและการพึ่งพาทรัพยากรธรรมชาติของชุมชนมากกว่าการพึ่งพา ที่สำคัญควรจัดกระบวนการเรียนรู้ความเป็นมาประวัติศาสตร์ของเมืองจะนะ ซึ่งเป็นท้องถิ่นที่อยู่อาศัย เพื่อให้เยาวชนได้เรียนรู้รากฐานของชุมชนและสร้างความภาคภูมิใจในชุมชนท้องถิ่นช่วงเช้าวันที่ ๒๕ หลังจากที่แนะนำตัวและทำความรู้จักกันของชาวค่ายแล้วน้องๆเยาวชนได้เรียนรู้ถึงวิถีชีวิตของชาวประมงพื้นบ้านตำบลสะกอม มี "บังหมาน" นายดลรอหมาน โต๊ะกาวี ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ ๗ บ้านบ่อโชนผู้ใหญ่ใจดีมาเล่าเรื่องราวความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรในท้องทะเลตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันให้น้องๆได้ฟัง  หลังจากนั้นมีการแบ่งกลุ่มน้องๆออกเป็น ๔กลุ่มเพื่อลงพื้นที่ศึกษาวิถีประมงพื้นบ้าน ได้แก่กลุ่มเรียนรู้การหาหอยเสียบและการกัดเซาะชาดหาด  กลุ่มศึกษาแพปลา  เพื่อเรียนรู้ตั้งแต่ขั้นตอนการหาปลาและนำปลาขึ้นฝั่งปลดปลาจากอวน  กลุ่มศึกษาการหากินริมชาดหาด ซึ่งกลุ่มนี้ค่อนข้างตื่นเต้นกันมากเพราะเดินไปพบการตกเบ็ดได้ปลากระเบน ขนาดเกือบ ๕กิโล  กลุ่มการทำกะปิบ้านปากบาง  หลังจากนั้นช่วงบ่ายเด็กๆได้ประมวลสิ่งที่ได้เรียนรู้โดยการสื่องานผ่านงานศิลปะช่วงแดดร่มลมตกน้องๆได้ล้อมวงฟังเรื่องเล่าเมืองจะนะโดยคุณตาใจดี ครูวิสุทธิ์  สุทธิสว่าง อายุ 74 ปี ผู้ก่อตั้งโรงเรียนสุทธิ์รักษ์  และ อาจารย์จรูญ  หยูทอง  จากสถาบันทักษิณคดีศึกษา  มหาวิทยาลัยทักษิณ   เป็นช่วงเวลาที่น้องๆนั่งฟังอย่างตั้งอกตั้งใจเริ่มแรกอาจารย์จรูญ บอกน้องๆชาวค่ายว่ารู้สึกหนักใจมากเมื่อต้องมาพูดเรื่องประวัติในค่ายนี้เนื่องจากความหลายหลายของชาวค่ายที่ร่วมฟังที่อายุหลากหลาย และเรื่องประวัติศาสตร์เป็นเรื่องที่เล่าได้ยาก  อาจารย์จรูญเล่าว่าจากการสืบค้นประวัติศาสตร์เมืองจะนะ เป็นประวัติศาสตร์ของการต่อสู้กับอำนาจรัฐจากส่วนกลางและส่วนภูมิภาคหรือท้องถิ่นที่สืบทอด-สัมปทานอำนาจมากจากส่วนกลางโดยตลอด  ตั้งแต่ยุคไพร่ส่วยดีบุก สมัยรัตนโกสินตอนต้นจนถึงมาในยุคคัดค้านโครงการท่อส่งก๊าซและโรงแยกก๊าซธรรมชาติไทย-มาลเซียและโรงไฟฟ้าจะนะ    เมืองจะนะต้องส่งส่วยดีบุกให้กับเมืองหลวงและมีการจัดตั้งนายหมวด นายกองเข้าคุมไพร่ส่วยทำดีบุกมากถึง ๙ หมวด นอกจากนั้นจะนะยังมีท้องที่ที่ราบลุ่มใช้เพาะปลูกและมีลำคลอง ๒ สาย คือ คลองสะกอมและคลองนาทับ ชาวไทยมุสลิมทางเมืองมลายูจึงอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานทำประมงและเพาะปลูกตั้งแต่ปลาสมัยอยุธยาจนกระทั่งปีพ.ศ.๒๔๓๙ จะนะมีฐานะเป็นเมืองขนาดเล็กขึ้นกับเมืองพัทลุงในระยะแรกและเมืองสงขลา  เมืองจะนะต้องส่งส่วยดีบุก   ส่วยกระดาน  และเสื่ออาสนะกันแซงเตยให้เมืองหลวง จากการศึกษาประวัติศาสตร์จะนะทำให้เห็นว่าประวัติศาสตร์ของเมืองจะนะและชาวเมืองมีความสัมพันธ์กับกระบวนการต่อสู้เพื่อปกป้องตนเองมาโดยตลอด ทั้งในยุคสมบูรณาญาสิทธิราชย์ หรือยุค "ยุคกินเมือง"และยุคทุนนิยม-เสรีนิยมหรือ "ยุคเหมาเมือง" และล้วนเป็นการต่อสู้ที่เกี่ยวเนื่องกับผลประโยชน์เรื่องทรัพยากรธรรมชาติที่รัฐสร้างความไม่ชอบธรรมให้กับประชาชนคุณตาวิสุทธิ์  ของเด็กๆเล่าว่าความรุ่งเรืองของเมืองจะนะในอดีตแบ่งได้ ๕ ยุค ได้แก่ ยุคดีบุก  ยุคไก่ปิ้ง   ยุคส้มจุก  ยุคนกเขา และยุคอุตสาหกรรม"จะนะก่อนนี้มีดีหลายอย่าง                      เขาช่วยสร้างให้เจริญเพลินเห็นจะนะดีบุกไม่ลำเค็ญ                               ช่วยให้เป็นเมืองดังที่ตั้งใจเหมืองลิวงส่งให้พาไปขาย                        สร้างรายได้ให้ประเทศวิเศษใหญ่คนงานเหมืองดีบุกก็ดีใจ                          ต่างก็มีเงินใช้สบายตัวยุคต่อมาไก่ปิ้งเมืองจะนะขึ้นชื่อมากโดยเฉพาะบริเวณสถานีรถไฟจะนะมีการขายกันอย่างคึกคัก จนต้องมีการให้สินบนคนขับรถไฟเพื่อให้รถไฟออกจากสถานีช้าลง พอรถไฟออกจะเห็นฝูงกาฝูงใหญ่บินตามเพื่อกินเศษกระดูกไก่ที่คนบนรถไฟทิ้งลงข้างทาง  แต่ไก่ปิ้งจะนะหมดความนิยมเมื่อพ่อค้าแม่ค้าหัวใสใช้เนื้อไก่น้อยเอาแป้งทอดหลอกทำให้หนาเพื่อให้ได้กำไรมากขึ้นหลังจากนั้นไก่ย่างจึงหมดความนิยมลงยุครุ่งเรืองอีกยุคหนึ่งคือยุคส้มจุก  "ส้มจุกจะนะ"เป็นที่เลื่องลือเรื่องรสชาติ เป็นที่นิยมมีปลูกกันมากในอดีต เมื่อถึงฤดูเก็บเกี่ยวมีการขนใส่รถไฟเป็นโบกี้เพื่อไปขายยังเมืองกรุง  บริเวณสถานีจะคึกคักมากเต็มไปด้วยส้มจุกใส่กระชอมเตรียมขนขึ้นรถไฟ ดังที่คุณตาวิสุทธิ์ได้สื่อสารผ่านกลอนว่า "ส้มจุกจะนะนี้หนามาดัง              ทุกคนหวังได้กินไม่ทนไหวรสชาติช่างหอมหวานซ่านหัวใจ     ส้มเมืองใดไม่เหมือนเฉือนที่นี่น้ำขาวคูแคแน่เต็มที่                    ส้มจุกนี้ปลูกมากท่านว่าศรีต่างส่งมาขายหน้าสถานี              ตลาดนี้รวมส่งต่อก.ท.ม.สองตู้รถไฟไปก.ท.ม                     ทุกวันรอส่งไปไม่ต้องขอกิ่งตอนก็ขายดีมีคนรอ                  ขายไม่พอต้องจองหายข้องใจ"จากการที่ส้มจุกจะนะได้รับความนิยมมากและมีชื่อเสียงล่ำลือ ทุกภาคต้องการผลผลิตไปขายทางเกษตรอำเภอจึงเข้ามาส่งเสริมและแนะนำการใช้ปุ๋ยเคมี ซึ่งนั่นคือสาเหตุความล่มสลายของส้มจุกเมืองจะนะ  เพราะหลังจากนั้นเกิดโรคระบาดส้มจุกล้มตายลงจำนวนมาก หัวใจสำคัญของส้มจุกในอดีตคือการใช้ปุ๋ยคอก มูลสัตว์ซึ่งเป็นทรัพยากรที่มีอยู่ในชุมชนเท่านั้น            ยุคนกเขาชวา เป็นยุคที่นกเขามีชื่อเสียงและสร้างรายได้มากมายให้กับอำเภอจะนะและมาถึงยุคปัจจุบันคือยุคอุตสาหกรรมจะนะเป็นเมืองเล็กๆแต่มีอุตสาหกรรมขนาดใหญ่เช่นโรงแยกก๊าซและโรงไฟฟ้าจะนะ  นกเขากำลังจะมีปัญหาอาจล่มสลายของนกเขาของดีเมืองจะนะอีกครั้งหนึ่งหากเกิดมลพิษที่กระทบต่อนกเขา  สิ่งที่คุณตาวิสุทธิ์กังวลต่ออนาคตลูกหลานที่สุดคือกลัวว่าเมืองจะนะจะเป็นดังมาบตาพุด              จากประวัติศาสตร์ของเมืองจะนะจะเห็นว่าอดีตเมืองจะนะมีความอุดมสมบูรณ์ด้านทรัพยากรมากมาย  แต่ต้องหมดไปเนื่องจากส่วนกลางมาเอาทรัพยากรจากชุมชนและการส่งเสริมที่ผิดที่ผิดทาง             หลังจากที่ฟังเรื่องเล่าเมืองจะนะ น้องๆได้ลงเล่นสัมผัสน้ำทะเลแล้วหัวค่ำน้องๆแต่ละกลุ่มได้วางแผนเตรียมตัวเป็นนักสำรวจรุ่นจิ๋วที่จะไปตามรอยประวัติศาสตร์เมืองจากจะนะจากคำบอกเล่าในช่วงเย็นเรื่องราวจะเป็นอย่างไร ลุ้นระทึกเพียงไรค่อยอ่านกันในตอนที่ ๒ดีกว่านะจ๊ะ   หมายเหตุคำว่า "โหมเรา"   เป็นภาษาถิ่นใต้หมายถึง    พวกเราคำว่า "บัง"          ใช้เรียกผู้ชายที่นับถือศาสนาอิสลาม มีศักดิ์เป็นพี่ 
สวนหนังสือ
นายยืนยง    ชื่อหนังสือ : อาถรรพ์แห่งพงไพร ผู้เขียน : ดอกเกด ผู้แปล : ศรีสุดา ชมพันธุ์ ประเภท : นวนิยายรางวัลซีไรต์ พิมพ์ครั้งที่ 1 ตุลาคม 2549 จัดพิมพ์โดย : สำนักพิมพ์เสมสิกขาลัย กลับบ้านสวนคราวที่แล้ว ตู้หนังสือยังคงสภาพเดิม ละอองฝุ่นเหมือนได้ห่อหุ้มมันให้พ้นจากสายตาผู้คน ไม่ก็ผู้คนเองต่างหากเล่าที่ห่อหุ้มตัวเองให้พ้นจากหนังสือ นอกจากตู้หนังสือที่เงียบเหงาแล้ว รู้สึกมีสมาชิกใหม่มาเข้าร่วมขบวนความเหงาอีกสามสิบกว่าเล่ม น่าจะเป็นของน้องสาวที่ขนเอามาฝากไว้ ฉันจึงจัดเรียงมันใหม่ในตู้ใบเล็กที่วางอยู่ข้างกัน ดูเป็นบ้านที่หนังสือเข้าครอบครองพื้นที่ส่วนใหญ่ ราวมันเองต่างหากที่เป็นเจ้าของบ้าน แต่หนังสือนั้นหากไร้คนอ่าน คุณค่าของมันจะอยู่ที่ตรงไหน เป็นเฟอร์นิเจอร์ประกาศรสนิยมเจ้าของบ้านเท่านั้นหรือ ก่อนกลับเข้าเมือง ฉันหยิบวรรณกรรมแปลเล่มหนึ่งมาด้วย เพราะอยากรู้จักนักเขียนจากประเทศนี้ขึ้นมา
เด็กใหม่ในเมือง
(ก่อนจะเริ่มบทความ...คุณผู้อ่านรู้สึกไหมครับ ว่าชื่อบทความกับชื่อผม มันคล้องจองกันพิลึก อิอิ...)  ไม่รู้ว่าท่านผู้อ่านจะมีศิลปิน หรือวงดนตรีใดๆ ที่เมื่อมีอัลบั้มใหม่ของพวกเขา / เธอ ออกวางแผง เราก็ไม่รีรอที่จะรีบไปหาอัลบั้มมาเป็นเจ้าของโดยพลันหรือเปล่า สำหรับตัวผม...โมเดิร์นด็อกสร้างความรู้สึกแบบนี้ให้ผมตลอดมา ตั้งแต่สมัยผมควักเงิน 60 บาทจากกระเป๋านักเรียนสีกากีออกจากกระเป๋า และคว้าอัลบั้ม “โมเดิร์นด็อก” (ที่มีชื่อเล่นว่าอัลบั้ม “เสริมสุขภาพ”) จากแผงเทป จนถึงวันนี้ วันที่โมเดิร์นด็อกมีอัลบั้ม “ทิงนองนอย” ออกมาเป็นอัลบั้มใหม่ ความรู้สึกนั้นก็ยังเกิดกับผมไม่แปรเปลี่ยน เพราะในแต่อัลบั้ม โมเดิร์นด็อกจะกลับมาพบกับเราในรูปแบบที่ไม่ซ้ำเดิม ตั้งแต่การเป็นผู้นำกระแสอัลเทอร์เนทีฟ (โมเดิร์นด็อก), การนำกลิ่นอายของดนตรีอิเล็กทรอนิกส์ (คาเฟ่), งานทดลองที่วัดใจทั้งคนทำและคนฟัง (Love me love my life) งานอคูสติก (Very Common of moderndog), การกลับสู่ความเรียบง่าย (แดดส่อง) มาถึงวันนี้ หลังจากอัลบั้ม “แดดส่อง” มา 4 ปี (ซึ่งระหว่างนั้น โมเดิร์นด็อกก็ยังคงตระเวนเล่นสดอย่างสม่ำเสมอ สลับกับโปรเจ็กต์ย่อยต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการร่วมงานในโปรเจ็กต์ “น้ำคือชีวิต” ร่วมกับคาราบาวและเฉลียง, โปรเจ็กต์ BoydPod และการร่วมงานในอัลบั้ม “มนต์เพลงคาราบาว” เป็นต้น) ในวันที่โมเดิร์นด็อกออกนอกร่มเงาของเบเกอรี่ มิวสิค และออกอัลบั้มภายใต้สังกัดของตัวเอง และในวันที่วงการเพลงแตกต่างจากวันที่ผมยังใส่กางเกงขาสั้นสีกากีมากมายเหลือเกิน ผมจึงสนใจว่า ในคราวนี้โมเดิร์นด็อกจะมาไม้ไหนอีก ;-)
เงาศิลป์
ละไอหมอกลอยเรี่ยอาบยอดไม้ ยามแสงเช้าสาดส่องทั่วลานไร่ รอบๆ กายคล้ายความฝัน นานนับปีแล้ว ที่ฉันไม่ได้เดินทางไกล ฤดูกาลเช่นนี้ มักกระซิบเรียกหาให้โลดแล่นออกไปตามใจตน แต่คราวนี้งานหนักในไร่ยังคงเร่งเร้าอยู่ตรงหน้า ยิ่งยามต้นไม้โบกไหว สบัดเรียวใบชุ่มเขียวให้คลายสี แล้วปล่อยให้ลมแล้งแต้มสีเหลืองจางๆ ลงแทน ฉันยิ่งต้องเร่งทำงาน หยิบสมุดบันทึกออกมาอ่านอย่างไม่ตั้งใจ กลับพบบางอย่างที่ชวนขำ ฤดูหนาวของปีนั้น ฉันได้เร่ร่อนท่องเที่ยวไปท่ามกลางความขัดแย้งที่บานปลายไปจนถึงขั้นสู้รบฆ่าฟันกันรายวัน และได้เห็นภาพการประท้วงที่วุ่นวายบนท้องถนน เกือบทั่วทั้งประเทศ บนรถไฟ จากเมืองแคนดี้ สู่เมืองเอลล่า ประเทศศรีลังกา (ภาพถ่ายไม่สะอาด และชัดเจนนักเพราะสแกนมาจากสไลด์เก่า)

แท็กล่าสุด

แท็กยอดนิยม