Skip to main content

บล็อกกาซีน ประชาไท

สุทธิดา มะลิแก้ว
ก่อนอื่นต้องขอออกตัวก่อนว่า โดยส่วนตัวแล้ว เห็นด้วยกับเรื่อง การไม่ขับรถหลังจากได้ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หรือที่ที่มีการรณรงค์ที่เรียกว่า “เมาไม่ขับ” และเห็นด้วยกับการรณรงค์ไม่ให้ดื่มเหล้าในวัด หรือศาสนสถานต่างๆ และยังเห็นด้วยอีกกับการรณรงค์ให้คนลด ละ เลิกการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ลงบ้าง เพื่อเห็นแก่สุขภาพและเพื่อเป็นการประหยัดงบประมาณในการรักษาพยาบาล อันเนื่องมาจากโรคหรือความเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นเนื่องจากการดื่มสุรา รวมทั้ง การเชิญชวนให้งดดื่มเหล้าในช่วงเข้าพรรษา สำหรับประชาชนที่เป็นพุทธศาสนิกชน เพื่อเป็นการถือศีลถือเป็นการสร้างมงคลให้กับชีวิตก็เป็นเรื่องที่เห็นด้วยเช่นกัน ทว่า กลับรู้สึกไม่สบายใจอย่างยิ่งที่เห็นแคมเปญที่นำเสนอออกมาทางโทรทัศน์เมื่อเร็วๆ นี้ เพื่อให้คนเลิกดื่มเหล้าในช่วงเข้าพรรษา ขออนุญาตเล่าให้ฟังในที่นี้สักเล็กน้อยเผื่อท่านที่ไม่ได้ชมโฆษณา คือ มีฉากที่เป็นร้านประมาณร้านข้าวต้ม หรือ ลาบ น้ำตก (อาจประมาณร้านข้างทาง) คนที่นั่งกันอยู่กลุ่มหนึ่งเป็นผู้ชายล้วนๆ ที่ดูก็รู้ว่าตั้งใจจะเสนอให้เป็นคนในชนชั้นผู้ใช้แรงงาน ผู้ชายคนหนึ่งกำลังปรับทุกข์กับผู้ชายที่ท่าทางอาวุโสกว่า และคล้ายกับว่าเคยมีบุญคุณต่อกันยกมือไหว้พร้อมพูดว่า “ผมนับถือเหมือนพ่อผมเลย” ในขณะที่คนที่ถูกไหว้นั้นนั่งอยู่แสดงความเห็นใจ และขณะเดียวกันก็ตะโกนออกไปสั่งอาหารว่า “น้อง เอาเหมือนเดิม แบนนึง” คนทั้งร้านถึงกับชะงักหันมามองด้วยสายตาตำหนิ และคนที่นั่งร่วมโต๊ะเดียวกัน 2-3 คน รวมทั้งคนที่พูดว่านับถือก็ลุกขึ้นเดินหนี ในขณะเดียวกันก็มีเสียงบรรยาย “เอ้า เสียเลย” แล้ว ก็เป็นเสียงบรรยายต่อด้วยน้ำเสียงประชดประชันและเน้นๆ ว่า “คนที่กินเหล้าช่วงเข้าพรรษานี่ แย่” ต่อจากนั้นก็มีเบอร์โทรศัพท์สายด่วนเลิกเหล้าขึ้นมาโดยไม่มีเสียงบรรยายใดๆ
สุมาตร ภูลายยาว
เสียงไก่ขันสลับกับเสียงกลองจากวัดบนภูเขาดังกระชันถี่ขึ้น เหมือนเป็นสัญญาณบอกว่ายามเช้าใกล้เริ่มต้นขึ้นแล้ว ในรอบหนึ่งเดือน เสียงกลองยามเช้าจากวัดจะดังอยู่ ๘ ครั้งต่อเดือน เพื่อเป็นสัญญาณบอกให้ชาวบ้านรู้ว่า ‘วันนี้วันพระ’ เมื่อลองมาไล่เรียงตัวเลขบนปฏิทินก็รู้ว่า วันนี้เป็นวันเพ็ญขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๖ ในทางพุทธศาสนาแล้ว วันนี้ถือเป็นวันก่อเกิดสิ่งมหัศจรรย์ ๓ อย่างพร้อมกัน คือวันนี้เป็นวันประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพานขององค์สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้เป็นปฐมบทแห่งศาสนาพุทธ ไก่ขันครั้งสุดท้ายล่วงเข้ามา หลายบ้านเริ่มตื่นขึ้นมาก่อไฟหนึ่งข้าว และทำอาหารเช้า พอพระอาทิตย์โผล่พ้นขอบฟ้าได้ไม่นาน ทิวแถวของผู้คนในหมู่บ้านก็เดินตามกันขึ้นไปตามทางเดินอันไปสู่ลานวัด ในมือของแต่ละคนมีกระติ๊บข้าวเหนียว และอาหาร บางคนมีดอกไม้ และน้ำสำหรับนำไปกรวด เพื่ออุทิศส่วนกุศลไปหาเจ้ากรรมนายเวรทั้งหลาย บนบ่าของแต่ละคนจะมีผ้าสไบขนาดกว้างประมาณ ๒ คืบพาดเฉียงเอาไว้ทั้งชายหญิง ใบหน้าของแต่ละคนอิ่มเอิบ ในทิวแถวของชาวบ้านที่เดินขึ้นไปบนวัด ใช่ว่าจะมีแต่คนในหมู่บ้านเท่านั้น ยังมีชาวบ้านจากหมู่บ้านอื่นๆ อยู่ในกลุ่มของชาวบ้านทั้งหมดด้วย ในความเป็นจริงแล้ว วัดแห่งนี้มีพระจำพรรษาอยู่เพียงรูปเดียว แต่วันนี้ถือเป็นกรณีพิเศษ พระในวัดจึงเพิ่มขึ้นมาอีก ๕ รูป ความพิเศษของวันนี้จะมีขึ้นหลังพระฉันภัตตาหารเช้าเสร็จสิ้น เพราะในตอนสายของวันนี้ ชาวบ้านจะได้ร่วมกันจัดงาน ‘บวชน้ำ สร้างวังสงวน’
วาดวลี
นานมาแล้วที่ฉันเคยได้ยินประโยคที่ว่า “แค่กระพริบตา โลกก็เปลี่ยน” แล้วเคยคิดเล่นๆ ว่า อะไรก็ตามที่เปลี่ยนไปแบบฉับพลัน หรือ เปลี่ยนจากหน้ามือเป็นหลังนั้น คงไม่ได้เกิดบ่อยนัก และหากจะเกิดขึ้นจริง ทุกอย่างล้วนมีสาเหตุ มีสัญญาณเตือนมาก่อน อยู่ที่เราจะสังเกตหรือไม่ก็เท่านั้น แต่สำหรับเรื่องของพี่ชาย พอจะทำให้ฉันเชื่อได้บ้างว่า กับเรื่องบางเรื่องนั้น การเปลี่ยนแปลงก็ไม่ได้มีอะไรมาเตือนล่วงหน้า
องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุนเราต่างเกิดมาพร้อมข้อมูลส่วนบุคคล สามารถสืบย้อนโคตรวงศ์กลับไปได้ไม่รู้จบ ผิวพรรณ ฐานะ และเชื้อชาติของผู้ให้กำเนิดย่อมเป็นข้อมูลที่เกิดรอล่วงหน้า เป็นมรดกสืบสันดานมาต่อไป ส่วนศาสนาและการศึกษาถูกป้อนขณะอยู่ในวัยที่ยังไม่อาจเลือกเองเป็น หลังจากนั้นหากต้องการแก้ไขก็ทำได้เองตามชอบ ศัลยกรรมทำสีผิว ผ่าตัดแปลงเพศ หรือแม้แต่เปลี่ยนศาสนา กระทั่งสัญชาติก็เปลี่ยนกันได้ ยกเว้น “เชื้อชาติ” ที่ไม่มีใครสามารถเปลี่ยน ในงานเสวนา “มอญในสยามประเทศ (ไทย) ชนชาติ บทบาท และบทเรียน” เมื่อวันที่ ๓๐ พฤษภาคม ๒๕๕๑ ณ ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร อาจารย์สุจิตต์ วงษ์เทศ กล่าวถึงความล้าหลังคลั่ง “เชื้อชาติ” ว่า เป็นสิ่งสมมุติที่เกิดภายหลังความเป็นคน“...ความเป็นคนควรมาก่อนความเป็นมอญ ความเป็นเขมร หรือความเป็นไทยมาทีหลัง ...ประชาชาติในสุวรรณภูมิมีใครบ้างไม่ทราบ เป็นมอญหรือเปล่าก็ไม่ทราบ เป็นเขมรหรือเปล่าไม่รู้ แต่เป็นคนแหงๆ เพราะไม่มีชื่อชนชาติ อย่างกรณีโครงกระดูกที่พบที่บ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี (อายุประมาณ 3000 ปีมาแล้ว) บอกว่าเป็นโครงกระดูกคนไทยก็บ้า แต่ถ้าบอกว่าไม่ใช่ไทยก็ซังกะบ๊วย อย่างไรก็ตามนั่นล้วนเป็นบรรพชนของ South East Asia …...แม้แต่สำนึกความเป็นมอญ มันเพิ่งเกิดทีหลังคือในรุ่นรัตนโกสินทร์เมื่อครั้งรัชกาลที่ 4 เขียนเท้าความถึงมอญ แต่ความเป็นมอญนี้ไม่เกี่ยวกับอยุธยาและไม่เกี่ยวเลยกับทวารวดี เพราะมอญช่วงนั้นก็กลืนกลายเป็นไทยไปนานแล้ว ส่วนปัจจุบัน ‘ความเป็นไทย’ มันก็กลืนหมดและบังคับให้คนเป็น ‘ไทย’ ถ้าไม่เป็นมึงตาย…”
ฐาปนา
เช้าตรู่ของวันอากาศดีเสียงตามสายประกาศให้สมาชิกสหกรณ์การเกษตร เข้าประชุมโดยพร้อมเพรียงกันตอนบ่ายโมงตรง ณ ศาลาของหมู่บ้านพอบ่ายโมงครึ่ง สมาชิกสหกรณ์ฯ ก็มากันพร้อมหน้าเจ้าหน้าที่สหกรณ์มากันสามคน คนที่ดูอาวุโสกว่าใคร พูดมากกว่าใคร และเรียกเสียงหัวเราะได้มากกว่าใคร เป็นหัวหน้าชาวบ้านที่เข้าร่วมประชุมได้รับกระดาษคนละหนึ่งแผ่น ปากกาคนละหนึ่งด้าม อ่านดู ก็เห็นว่าเป็นแบบฟอร์มสำรวจเรื่อง “ความพอเพียงในครัวเรือน”
ประกายไฟ
  ษัษฐรัมย์ ธรรมบุษดี กลุ่มประกายไฟ            "รัฐสวัสดิการ เป็นระบบที่อยู่ตรงข้ามกับระบบทุนนิยมทั้งทางปฏิบัติและตรรกะ แต่ระบบทุนนิยมจะดำรงอยู่ไม่ได้หากปราศจากรัฐสวัสดิการ"วอลเตอร์ คอร์ปี ทำไมต้องสังคมนิยมประชาธิปไตย? สำหรับฝ่ายซ้ายทั่วไปอาจตั้งข้อสงสัยกับหัวข้อ ว่าสังคมนิยมมันต้องเป็นประชาธิปไตยในตัวอยู่แล้วมิใช่หรือ  แล้วทำไมต้องมีประชาธิปไตยต่อท้าย มันมีด้วยหรือ สังคมนิยมที่ไม่เป็นประชาธิปไตย....เพื่อความเข้าใจตรงกัน...การใช้คำว่าสังคมนิยมประชาธิปไตย(Socialism Democracy)ในที่นี้เพื่อเป็นภาพสะท้อนระบบเศรษฐกิจสังคมที่เราสามารถจินตนาการถึงได้ในบริบทปัจจุบัน ที่ก้าวหน้ากว่ารัฐอุตสาหกรรมทั่วไปในยุโรปตะวันตก ซึ่งเรียกกันทั่วไปว่า สังคมประชาธิปไตย(Social Democracy) พูดง่ายๆคือแบบหลังเป็นรัฐทุนนิยมประชาธิปไตยทั่วไปที่มีฐานคติการอยู่ร่วมกันระหว่างชนชั้นดังนั้น รัฐจึงมีหน้าที่ในการจัดการกับความไม่เท่าเทียมต่างๆในสังคมเพื่อ ให้สังคมสามารถอยู่รอดด้วยกันได้ (ดังที่ได้เสนอไปในบทความว่าด้วยการปฏิรูปการเมืองของลัทธิแก้) ขณะที่อย่างแรก-สังคมนิยมประชาธิปไตยที่เราจะพูดถึงคือระบบเศรษฐกิจการเมืองที่มองสังคมอยู่บนฐานของความขัดแย้งทางชนชั้น และรัฐของชนชั้นล่าง(ซึ่งพรรคการเมืองของผู้ใช้แรงงานอาจชนะการเลือกตั้งในระบบรัฐสภา) ต้องจัดสรรผลประโยชน์ให้ชนชั้นล่างซึ่งเป็น คนส่วนใหญ่ในสังคมมากที่สุด มีการต่อสู้ทางชนชั้นตลอดเวลา.....และแม้ประชาชนยังกินดีอยู่ดีก็ยังมีสำนึกผลประโยชน์ทางชนชั้นสูงและรัฐบาลไม่ว่าพรรคซ้ายหรือขวาก็มิอาจที่จะลดทอนผลประโยชน์ทางชนชั้นได้ ประเทศที่มีแนวทางใกล้เคียงกับแนวคิดนี้ ที่พอจะจัดได้ก็เช่น สวีเดน เดนมาร์ค ฟินแลนด์ และนอร์เวย์ โดยเฉพาะสวีเดนที่ไม่มีทรัพยากรน้ำมัน หรือทรัพยากรธรรมชาติอะไรมากมายเช่นประเทศเพื่อนบ้าน คงมีแต่อุตสาหกรรม และเกษตรเท่านั้น (ซึ่งไทยยังมีโรงงานและพื้นที่การเกษตรมากกว่าแน่นอน)  แต่ก็ยังคงความเป็นสังคมนิยมประชาธิปไตยอย่างเหนียวแน่น และเมื่อการจัดวัดคุณภาพชีวิตประชากรประเทศกลุ่มนี้ก็ติดอันดับต้นๆทุกครั้งไป สาเหตุที่เราจำเป็นต้องพูดถึงแนวทางสังคมนิยมประชาธิปไตย....คงไม่พ้นเรื่องการประกาศ6มาตรการฉุกเฉิน6เดือนของรัฐบาลเพื่อบรรเทาผลกระทบประชาชนในภาวะน้ำมันแพง อันประกอบด้วย 1.มาตรการลดภาษีน้ำสรรพสามิตน้ำมันทั้งดีเซล ก๊าซโซฮอลล์ ทั้ง 91 และ 95 2.มาตรการชะลอปรับราคาก๊าซหุงต้ม 3.มาตรการลดค่าใช้จ่ายน้ำประปาของครัวเรือน 4.ลดค่าใช้จ่ายค่าไฟฟ้าของครัวเรือน 5.มาตรการลดค่าเดินทางรถโดยสารประจำทาง และ6.มาตรการลดค่าใช้จ่ายเดินทางรถไฟชั้น 3  แม้จะมีข้อถกเถียงว่ามีสาระเป็นไปในลักษณะประชานิยมเพื่อซื้อสียงประชาชนล่วงหน้าจากกลุ่มพันธมิตร แต่สำหรับภาคประชาชนแล้วนี่คือโอกาสที่เราต้องผลักดันหลักคิดอะไรบางอย่างเพื่อโหนกระแส 6มาตรการ6เดือน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ข้อสามและข้อสี่ ซึ่งมีลักษณะเป็นประเด็นทางชนชั้นอย่างชัดเจน ที่ยกเลิกการเก็บค่าน้ำ-ไฟสำหรับผู้ที่ใช้น้ำไฟ-น้อยไม่ถึงกำหนด รวมถึงการโดยสารรถโดยสารไม่ปรับอากาศฟรี (แม้จะแปลกๆที่ฟรีคันเว้นคัน) ไม่ใช่เรื่องแปลกที่เราจะชื่นชม กับนโยบายเหล่านี้ เราอาจตั้งคำถามต่อไปอีกได้ว่า รัฐบาลพลังประชาชน มีแนวโน้มที่จะพัฒนาไทยสู่ สังคมประชาธิปไตย สังคมนิยมประชาธิปไตย หรือกระทั่งสร้างรัฐสวัสดิการได้หรือไม่? ...คำถามนี้เป็นคำถามใหญ่ พรรคไทยรักไทย(พลังประชาชน) ทำให้แปลกใจได้เสมอ กับนโยบายสวัสดิการสังคมต่างๆ แต่ประเด็นสำคัญที่เราต้องเน้นย้ำถึงตรรกะในการชื่นชมนโยบายเหล่านี้ของเรา ว่ามันไม่ใช่เกิดจากความใจดีมีเมตตาของรัฐบาล....อาจจะฟังดูมองแบบกลไกลแต่ก็สามารถอธิบายได้ว่า นโยบายต่างๆเป็นภาพสะท้อนความขัดแย้งทางชนชั้นที่มีอยู่ในสังคมทั้งเปิดเผยและซ่อนเร้น  รัฐบาลนายทุนไม่โง่ขนาดที่จะไม่รู้ว่าสภาพทุกวันนี้วิกฤติมาก ค่าครองชีพที่สูงขึ้นกว่าร้อยละ40 ไม่มีทางให้ชนชั้นล่างยอมจำนนกับระบบได้อย่างมีความสุข 6 มาตรการฉุกเฉินสู่รัฐสวัสดิการ? มีข้อถกเถียง เสมอว่านโยบายดังกล่าวจะยั่งยืนยาวนานแค่ไหน   เราจำเป็นต้องเน้นย้ำว่าการจัดสวัสดิการต้องดีขึ้นและไม่สามารถที่จะยกเลิกได้ ปัญหาอยู่ที่งบประมาณของรัฐบาล...ซึ่งตรงนี้สามารถตอบคำถามได้ว่า รัฐบาลพลังประชาชน คงไม่สามารถพัฒนาสู่ สังคมประชาธิปไตย หรือสังคมนิยมประชาธิปไตยอย่างแน่นอน เพราะไม่มีนโยบายใดที่จะไปสะกิดขนหน้าแข้งของนายทุน งบประมาณการจัดการต่างๆย่อมมีจำกัดอย่างแน่นอน  เส้นทางที่เป็นไปได้คือ การจัดสวัสดิการแบบเครือข่ายปลอดภัยทางสังคม(Social Safety Net) ซึ่งภาคประชาชนส่วนหนึ่งพยายามผลักดันให้เกิดขึ้น ซึ่งรัฐบาลก็พยายามสนับสนุนเพราะ จัดการได้ง่ายกว่า...และไม่กระทบต่อชนชั้นนายทุน เพราะงบประมาณยังคงเป็นเศษเนื้อที่พวกเขาโยนให้ แค่มีการจัดการที่เป็นระบบมากขึ้นเท่านั้นเอง   ภาพการ์ตูนล้อการลดการเก็บภาษีอัตราก้าวหน้า ปัญหาทางการคลังต้องแก้ไข ด้วยการเก็บภาษีมรดกและภาษีอัตราก้าวหน้า....เรื่องนี้เป็นเรื่องที่พูดกันมามากแล้ว แต่เพื่อการขยายวงของการถกเถียงให้กว้างขวางขึ้น...เราจำเป็นต้องเข้าใจตรรกะของวิธีการคิดของการเก็บภาษีอัตราก้าวหน้า ในแบบสังคมนิยมประชาธิปไตย ซึ่ง คนส่วนใหญ่ของประเทศจะได้ประโยชน์ มีผลสำรวจพบว่าถ้าไทยเก็บภาษีเงินได้อัตราก้าวหน้า ถึงร้อยละ50 จะมีผู้ได้รับประโยชน์ถึงร้อยละ62ของประชากรประเทศ-ซึ่งคนกลุ่มนี้คือผู้ที่ได้รับประโยชน์โดยไม่ต้องจ่ายภาษีเพิ่ม ยังไม่นับรวมผู้ที่จ่ายภาษีเพิ่ม แต่ได้รับผลประโยชน์ด้านความมั่นคงที่ตนไม่เคยได้รับ สำหรับเมืองไทยผู้ที่เสียประโยชน์เป็นเพียงส่วนน้อยนิดของประเทศซึ่งชีวิตมั่นคงด้วยการสะสมทุนรุ่นต่อรุ่นและไม่ประสบปัญหาเดือดร้อนยามเกิดวิกฤติเศรษฐกิจ....พูดง่ายๆคือถ้ามีการเก็บภาษีอัตราก้าวหน้า....ผู้ที่มีรายได้ ต่ำกว่า2หมื่นบาทอาจไม่ต้องเสียภาษีด้วยซ้ำ เพราะเท่านี้พวกเขาก็แทบไม่เพียงพอต่อการดำรงชีพแล้วด้วย แต่เราควรไปเก็บภาษีจากบรรษัทยักษ์ใหญ่ ผู้บริหารCEOต่างๆ หรือหากเราคิดด้วยฐานของชนชั้นนายทุน การเก็บภาษีอัตราก้าวหน้าสร้างรัฐสวัสดิการก็ไม่ได้เป็นอะไรที่เลวร้ายเสมอไป พวกเขาสามารถออกจากบ้านกำแพงสูงได้โดยไม่ต้องระวังเรื่องอาชญากรรม แม้แต่กับบรรษัทยักษ์ใหญ่เอง ก็สามารถประหยัดค่าใช้จ่ายในการทำประกันบริษัทเอกชนให้พนักงานได้ รัฐสวัสดิการจะเป็นการลดความกดดันของผู้ประกอบการจากการประท้วงของผู้ใช้แรงงาน เพราะชนชั้นแรงงานที่รวมตัวกันข้ามสถานประกอบการในกลุ่มวิชาชีพเดียวกันก็จะไปกดดันเรียกร้องกับรัฐบาลเองเป็นไปได้แค่ไหน? เรื่องเหล่านี้ไม่ใช่เรื่องยกเมฆขึ้นมา  สวีเดนและประเทศแทบสแกนดิเนเวีย เป็นกลุ่มประเทศที่มีบรรยากาศน่าลงทุนที่สุดในโลกทั้งๆที่มีภาษีสูงอันดับต้นๆของโลก เราลองคิดภาพดูถ้าเราสามารถใช้จุดเปลี่ยนจาก 6มาตรการ6เดือนของรัฐบาลผลักดันให้เกิดการเก็บภาษีอัตราก้าวหน้า และพัฒนาสวัสดิการให้ก้าวไกลมากกว่าแค่6มาตรการ เช่นรถเมล์ของรัฐบาลควรจะฟรีทุกสาย และในสายที่รถเอกชนร่วมบริการ รัฐบาลก็ควรจัดบริการเพิ่มขึ้น เรื่องน้ำมันและพลังงานควรเข้าไปควบคุม ปตท หรือบริษัทกลั่นน้ำมันต่างๆ  รวมถึงรัฐวิสาหกิจต่างๆ ที่แปรรูป รวมถึงมหาวิทยาลัย ต้องโอนกลับมาเป็นของรัฐอีกครั้ง ค่าแรงขั้นต่ำควรกำหนดลอยตัวตามค่าครองชีพ-เช่นราคาน้ำมันเพื่อให้สอดคล้องกับการดำรงชีพอย่างมีเกียรติและศักดิ์ศรี และขยายสวัสดิการทุกอย่างให้รอบด้าน ทุกวันนี้เราเสียงบประมาณประเทศไปด้วยเรื่องไม่เป็นเรื่องเช่น งบประมาณด้านทหารและความมั่นคง งบประมาณด้านการรณรงค์ของฝ่ายจารีตนิยม ของกระทรวงวัฒนธรรม เงินเดือนของนักการเมืองมากมายมหาศาล ทั้งสส. และสว. และแม้กระทั่ง ค่าใช้จ่ายให้ ชนชั้นอภิสิทธิ์ในสังคมที่เปล่าประโยชน์ไม่ว่าจะมองจากมุมมองของฝ่ายซ้ายหรือขวาที่คิดแล้วร้อยละ3ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ  เมื่อพิจารณากลุ่มประเทศสังคมนิยมประชาธิปไตย  เราจะพบว่านักการเมืองของประเทศเหล่านั้นมีเงินเดือนมากกว่าพนักงานไปรษณีย์อยู่ไม่กี่เท่า ซึ่งตรงข้ามกับเมืองไทยปัจจุบันโดยสิ้นเชิง จาก 6 มาตรการ เราจะพบหลายฝ่ายออกมาวิพากษ์วิจารณ์ แต่แม้กระนั้น ในฝ่ายเสรีนิยมทางเศรษฐกิจ ก็ยังออกมาสนับสนุนและพูดว่า นโยบายดังกล่าวออกมาช้าเกินไป ซึ่งตรงนี้จะตรงกับหลักคิดของ วอลเตอร์ คอร์ปี นักวิชาการด้านแรงงาน ที่ว่า รัฐสวัสดิการเป็นระบบที่อยู่ตรงข้ามกับระบบทุนนิยมแต่ระบบทุนนิยมต้องการการมีอยู่ของรัฐสวัสดิการ เพราะสามารถแก้ไขปัญหาเงินเฟ้อได้ แต่จากข้อสัมภาษณ์ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ก็ทำให้เราต้องระมัดระวัง เพราะพวกเขาบอกว่าเห็นด้วยกับมาตรการดังกล่าว เพราะค่าใช้จ่ายไม่มากเกินไป ซึ่งเราต้องเน้นย้ำต่อไปว่าเราไม่สามารถพอพอใจกับเศษเนื้อเหล่านี้แน่นอนงานเขียน จากครรภ์มารดาถึงเชิงตะกอน ของ ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ยังคงสามารถอธิบายถึงสิ่งที่เราควรเรียกร้องได้ดี....เราจำเป็นต้องตั้งคำถามต่อเหล่าชนชั้นปกครอง ต่อไปว่าแล้วเหตุใดเราจะมีชีวิตแบบนั้นไม่ได้ มองกลับไปที่เหล่าประเทศสังคมนิยมประชาธิปไตยอีกครั้ง ลองคิดดูถ้าวันหนึ่งประเทศของเราเป็นอย่างนั้น เราไม่ต้องดิ้นรนจนสิ้นลมหายใจ เช่นปัจจุบัน เราไม่ต้องไปหารายได้เสริม ดิ้นรนกับชีวิต เพราะเราก็ไม่รู้จะทำไปทำไม ด้วยเหตุผลคือรัฐจัดสรรคุณภาพชีวิตที่ดีให้เราอยู่แล้ว การหาเงินมามากก็นำสู่การเสียภาษีมาก  แต่ไม่ได้หมายความว่า ทำให้คนขาดแรงจูงใจในการทำงาน เราพบว่า แรงงานในสวีเดน กว่า ร้อยละ26 ทำงานโดยไม่มีเงินเดือน ...ในฐานะอาสาสมัคร มูลนิธิ และหน่วยงานสาธารณะในชุมชน เพียงแค่มองพื้นที่อื่นที่เราไม่คุ้นเคยไม่รู้จักมากมายมากไปกว่าคำบอกเล่าและตัวหนังสือ มันจะดีแค่ไหนถ้าประเทศของเรา....สถานที่ที่เราผูกพันและคุ้นเคยเป็นอย่างนั้นบ้าง ....เมื่อไรที่เราจะเปลี่ยนจากสัตว์(ที่แก่งแย่งแข่งขัน) สู่การเป็นมนุษย์ (ที่โอบอุ้มกัน) เสียทีโดยสรุปแล้ว 6 มาตรการฉุกเฉินเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญอย่างยิ่งที่เราต้องผลักดันให้ก้าวหน้าขึ้นไป สร้างพื้นที่ถกเถียงเกี่ยวกับเรื่องนี้ให้ขยายมากขึ้น ก้าวหน้ามากขึ้น และทำลายมายาภาพที่ชนชั้นนายทุนสร้างขึ้นมา....สังคมนิยมประชาธิปไตย ...รัฐสวัสดิการ....ไม่ไกลขนาดที่เป็นไปไม่ได้...................เอกสารอ้างอิง1.สุรพล ปธานวนิช นโยบายสังคม : เส้นทางสู่รัฐสวัสดิการ กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547 2.ไมเออร์, โทมัส อนาคตของสังคมประชาธิปไตย = The future of social democracy นนทบุรี : เอส. บี. คอนซัลติ้ง, 2550 3.คณะทำงานการกระจายรายได้ สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สวัสดิการพื้นฐาน (Social Safety Net) : รากฐานความเป็นธรรมทางรายได้ : สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ,กรุงเทพฯ 2550 4.Samuelsson, Kurt From great power to welfare state : 300 years of Swedish social development London : Allen & Unwin, 1972 5.หนังสือพิมพ์ออนไลน์ประชาไท  รัฐบาลผลัก6 มาตรการรับมือวิกฤตน้ำมัน นักวิชาการชี้ใช้เงินซื้อประชาชน http://www.prachatai.com/05web/th/home/12856 16/7/2551  
dinya
ตอนที่แล้วเล่าถึง “หลุมยุบ” หรือ Sinkhole ในต่างประเทศไปแล้ว คราวนี้มาดูหลุมยุบในบ้านเรากันบ้างนะคะ ย้อนไปเมื่อ 3 ปีที่แล้ว ตั้งแต่เหตุการณ์คลื่นยักษ์สึนามิเป็นต้นมา (2547) หลายคนบอกว่า มีข่าวหลุมยุบให้ฟังอยู่เรื่อยๆ แต่ไม่รู้ว่ามีมากน้อยแค่ไหน มาดูตัวเลขที่กันดีกว่าค่ะ หลุมยุบในประเทศไทย ในระยะเวลา 3 ปีที่ผ่านมา กรมทรัพยากรธรณีแจ้งว่า มี “หลุมยุบ” ที่ได้รับแจ้งและเข้าไปตรวจสอบแล้วถึง 53 หลุม ใน 16 จังหวัด แน่ะ ไม่นับรวมกับที่เราสังเกตไม่เห็น อยู่ลึกจนไม่มีใครพบ หรือ พบแล้วแต่ไม่ได้แจ้งนะคะ ในวันเดียวกับเหตุการณ์คลื่นยักษ์สึนามิ คือ 26 ธันวาคม 2547 นั้น เกิดขึ้นพร้อมกันทีเดียว 19 จุด ส่วนใหญ่เกิดใน 4 จังหวัด คือ สตูล พังงา กระบี่ และตรัง บางส่วนเกิดในอ่าวไทยและจังหวัดเลย
เมธัส บัวชุม
ผมใส่เครื่องหมายไปยาลน้อยหลังคำว่า “ม็อบพันธมิตร ฯ” ด้วยละไว้ในฐานที่เข้าใจว่าผู้อ่านแต่ละคนสามารถที่จะเลือกใส่คำต่อท้ายคำว่า “พันธมิตร” ลงไปได้ตามที่เห็นสมควร เพราะรู้สึกกระดากละอายเกินกว่าที่จะเรียกกลุ่มนี้ด้วยชื่อเต็ม ๆ ที่ต่อท้ายด้วยคำว่า “ประชาชนเพื่อประชาธิปไตย” ครั้งแล้ว ครั้งเล่าที่คนกลุ่มนี้แสดงให้เห็นถึงลักษณะที่ตรงกันข้ามกับคำว่า “ประชาชนเพื่อประชาธิปไตย” คือมีแต่ความใจแคบ เอาแต่ใจตนเอง ขาดความอดทนอดกลั้นทางการเมือง ความอดทนอดกลั้นทางการเมืองที่เป็นคุณลักษณะสำคัญของการอยู่ร่วมกัน (เพราะจะได้ไม่ต้องฆ่ากัน) นอกจากขาดความอดทนอดกลั้นแล้วกลุ่มพันธมิตร ฯ ยังทำร้ายคนที่คิดเห็นต่างออกไปจากพวกตน โดยไม่สนใจต่อสายตาของสาธารณชนผู้เป็นกลางที่เฝ้ามองอยู่ว่าจะรู้สึกนึกคิดอย่างไรหรือไม่กลัวเลยว่าจะสูญเสียมวลชนที่ยังไม่ตัดสินใจเลือกข้าง พฤติกรรมและบุคลิกแบบนี้มีแต่เผด็จการเท่านั้นที่ทำได้
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
ที่เห็นเห็นเป็นกันนั้นมิใช่                แต่ที่ลึกลงไปมิได้เห็นนั่นแหละคือความจริงสิ่งซ่อนเร้น     เป็นต้นตอเป็นธาตุแท้อันแน่ชัดที่เห็นเห็นเป็นเพียงแค่หน้ากาก        ที่เห็นเห็นเป็นแค่ฉากที่เขาจัดเป็นละครบทเก่าที่เขาคัด               นำมายัดเยียดหลอกเราทุกเช้าเย็นความเป็นจริงธาตุแท้แบอยู่ไหน       เขาซ่อนไว้-แต่ไม่ยากถ้าอยากเห็นลองดูสิ...ลองแตะต้องทองเขาเล่น   แล้วจะเห็นความเป็นจริงทุกสิ่งอันทองทั้งหมดของเขาอยู่ที่ไหน          เขาย่อมพลีชีวิตไว้ในที่นั่นทุกอณูธาตุแท้ย่อมยืนยัน               เพื่อยึดมั่น-อยู่ในกรอบการครอบครองและอำนาจที่เขามีอยู่ในมือ             มีหรือจะมิใช้ไว้คอยจ้องแสวงหาพูนเพิ่มเติมกองทอง           ให้ตัวเองกับพวกพ้องท้องเดียวกันที่เห็นเห็นจึงเป็นแค่หน้ากาก            เป็นเพียงฉากที่เขาจัดให้เราฝันเป็นเพียงเกมที่เขาเล่นฟาดฟัน         ด้วยเดิมพันเพื่อพวกเขาเข้าสภาทองทั้งหมดของเราอยู่ที่ไหน           ระวังไว้เขาจะออกมาค้นหาตามวิสัยหมาจิ้งจอกต้องออกล่า        สืบสันดานมาทุกยุคทุกผู้คนโอ้ ละหนอบ้านเมืองเรา...ไม่ว่าใครขึ้นไปก็เท่านั้น                  ไปแปรผันไปตวงตักเอามรรคผลเพื่อตระกูลเพื่อพวกพ้องพี่น้องตน      โดยการปล้นเอาจาก...คนยากไร้สังคมเราบ้านเมืองเราก็เท่านี้            ไม่ว่าดี เลว น้อยมาก มาจากไหนทั้งผู้นำผู้ตามเราน่าเศร้าใจ               เหมือนผลไม้เน่าทั้งสวน-ชวนอาเจียน. กระท่อมทุ่งเสี้ยว เชียงใหม่
รวิวาร
ทุกเช้า ฉันตื่นขึ้นมาดูโลกสวยงาม ถอดกลอนประตูบ้าน ก้าวออกมานอกชาน ต้นไม้ภูเขาเขียวแจ่ม น้ำเงินเย็นตา แซมด้วยเหลืองสว่างตามพุ่มไม้ใบหญ้า บานบุรีสีชมพูม่วงผลิบานไม่หยุดจนกิ่งผอมค้อมคล้อย ส่วนลำไยของเจ้านกน้อยทยอยกันสุก ฉันเป็นคนสวน ทำงานอยู่ในสวนอักษร เช้านี้กลับฝันหวานถึงสวนบนดินที่ยังไม่ได้ลงแรง เราจะปลูกดอกไม้ได้ทันหน้าฝนไหมนะ ใจมันเตลิดเพริดไปแล้ว คิดถึงราชาวดี ซอมพอสีส้ม เหลือง ชมพู ไอรีสสีเหลืองที่ต้องไปขอกล้า รวมทั้งว่านสี่ทิศสีขาว กุหลาบสีชมพูอมขาวซึ่งไม่ใช่แบบพิมพ์นิยมรีสอร์ต เครือออน ไฟเดือนห้ากับดอกอะไรจำชื่อไม่ได้ แต่จำรูปร่างหน้าตา ลักษณะ ที่อยู่อาศัยได้ติดใจ ฉันพร่ำเพ้อบอกลูกสาว ไม่ต้องห่วงนะ แม่จะทำให้ที่นี่มีอาหารและผลไม้หวาน ๆ ไว้เพาะเลี้ยงบำรุงลูก จะมีเตยหอมหรือว่านข้าวใหม่ไว้ใส่ขนม มีอ้อย สับปะรด มันสำปะหลังไว้ให้เจ้ากินยามว่าง ป้าแขส่งฝักโสนมาให้แล้ว ถ้าขึ้นได้ นี่คือต้นโสนจากคลองบางกอกน้อยเชียวนะ ทำขนมดอกโสนได้ด้วยนอกจากผัดกับไข่ ลูกยังไม่รู้จักหัวสาคูที่ยายทวดเคยต้มเป็นของทานเล่นยามบ่ายเลย หัวสาคูกรอบ ๆ มัน ๆ รวมทั้งหัวมันม่วง กับมะโข่หรือมะมู้ ที่เป็นลูกสีน้ำตาลบูดเบี้ยวตะปุ่มตะป่ำ แต่ข้างในเป็นสีม่วงสวยแสนอร่อย
นกพเนจร
ทุกชีวิตล้วนมีศักดิ์ศรีและคุณค่าเท่าเทียมกัน มันเป็นคำพูดงดงามที่ลอยลมมาจากสังคมอุดมคติ...ที่ไหนสักแห่งที่ไม่ได้อยู่บนโลกใบนี้ ลืมตาตื่น แล้วก้าวเดินออกนอกประตูให้ความจริงพุ่งชน ถ้าไม่พยายามหลอกตัวเองจนเกินงาม-ทุกชีวิตล้วนมีราคาไม่เท่ากัน โหดร้าย แต่เป็นจริง (ผมกำลังพูดถึงในกรณีของสิ่งมีชีวิตที่เรียกว่า ‘คน’ เท่านั้น ยังไม่ต้องนับรวมถึงหมู หมา กา ไก่ แมลงวัน ต้นชบา หรือมะขาม ‘คน’ ยังไม่พร้อมที่จะให้คุณค่าของสิ่งมีชีวิตประเภทอื่นเท่าเทียมกับตน) ผมเลี่ยงไม่ใช้คำว่า ‘คุณค่า’ หรือ ‘ศักดิ์ศรี’ เพราะผมเชื่อว่าทุกคนมีอยู่เท่ากัน แต่หากเป็นคำว่า ‘ราคา’ -คำที่ใช้ตีคุณค่าของบางสิ่งออกมาเป็นรูปตัวเลข-ผมก็พอจะยืนยันได้ว่าไม่เท่ากัน การได้เป็นนกลอยลมไปเห็น-ฟัง-เขียนตามแห่งหนต่างๆ ทำให้ผมเชื่อเช่นนั้น และเมื่อแต่ละชีวิตมี ‘ราคา’ ไม่เท่ากัน การให้ ‘ศักดิ์ศรี’ และ ‘คุณค่า’ ต่อชีวิตผู้คนจึงพลอยบิดเบี้ยวและไม่เท่ากันตามไปด้วย
แพร จารุ
ฉันได้เดินทางมายังหมู่บ้านแห่งหนึ่ง ตั้งใจจะมาเที่ยวตามป่าเขาแค่อยากเปลี่ยนบรรยากาศ   รัฐบาล โดยนายอำเภอ และอุทยานแห่งชาติ จัดให้มีงานบวชป่า และส่งมอบอาวุธปืน มีหนังสือจากหน่วยงานของรัฐมาถึงผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านในเย็นวันหนึ่ง มีเสียงพูดกันเบา จับใจความได้ว่า พวกเขากังวล เพราะพวกเขาไม่มีปืนจะไปมอบ ฉันฟังอย่างไม่เข้าใจ ไม่รู้พวกเขาว่าจะกังวลทำไม ไม่มีก็ไม่ต้องมอบ บอกไปว่าเราไม่มีก็จบ ก็ไม่มีจะเอามาจากไหน

แท็กล่าสุด

แท็กยอดนิยม