My Dear Friends : ฉันจะแก่และตายอย่างมีศักดิ์ศรี

My Dear Friends เป็นหนึ่งในละครที่ช่อง tvN ซึ่งเป็นช่องเคเบิ้ลทีวีของเกาหลีใต้ สร้างขึ้นเพื่อฉลองครบรอบ 10 ปี ของการจัดตั้งสถานี และละครเรื่องนี้เพิ่งออกอากาศจบไปเมื่อไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา ซึ่งได้รับเสียงตอบรับจากผู้ชมในประเทศเกาหลีใต้เป็นอย่างดี 

 

แม้การเปิดตัวละครก่อนออกอากาศจริง จะขับเน้นเรื่องความรักหนุ่มสาวของพระเอกที่เป็นนักวาดภาพหนังสือและและนางเอกที่เป็นนักเขียน แต่เมื่อละครเรื่องนี้ออกอากาศไปแล้ว ชีวิตของหนุ่มสาวทั้งสองกลายเป็นเสี้ยวหนึ่งของการดำเนินเรื่อง ที่ให้ความสำคัญกับการบอกเล่าชีวิตในช่วงบั้นปลายของ แม่และเพื่อนแม่ของนางเอก ที่อยู่ในช่วงอายุเฉลี่ย 70 ปี

 

แม่ของนางเอกเป็นเจ้าของกิจการร้านอาหารจานด่วนที่รับภาระดูแลแม่ชราอายุกว่า 90 ปีที่เป็นเกษตรกรในชนบทที่หูตึง กับพ่อที่เจ็บป่วยเรื้อรังและน้องชายที่อายุห้างกันหลายสิบปีที่เป็นคนพิการจากการทำงานเป็นช่างไฟฟ้า ซึ่งมีความฝันเพียงสองอย่าง คือ อยากให้นางเอกได้แต่งงานกับพระเอก และอยากให้เธอเขียนหนังสือสักเล่มให้เป็นที่ระลึกกับเธอและกลุ่มเพื่อนรักของเธอ

 

เพื่อนรักของเธอ เป็นกลุ่มผู้หญิงอายุไล่เลี่ยกัน คนหนึ่งเป็นนักแสดงหญิงที่มีชือเสียงโด่งดังและมีงานแสดงอย่างสม่ำเสมอ มีพี่สาวเป็นเจ้าของกิจการคาเฟ่เล็กๆ ในชนบทและเป็นเจ้าของตึกและที่ดินจำนวนมากในโซล เพื่อนอีกคนหนึ่งเป็นดั่งนกในกรงทองตั้งแต่เด็กจนถึงวัยนี้ ได้สามีรวยและลูกๆ ทุกคนมีความเจริญก้าวหน้าในทางอาชีพและเศรษฐกิจกันทุกคน ส่วนเพื่อนอีกคนนหนึ่ง เป็นแม่บ้านโดยแท้ ดูแลสามีและลูกสาวทั้งหมดตั้งแต่แต่งงานใหม่ๆ จนกระทั่งวันที่เธออายุ 70 กว่า ซึ่งค่าตอบแทนจากการดูแลลูกทั้งสี่คนและผัวคนเดียวของเธอ นำไปเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับการพยาบาลแม่ของเธอที่นอนเป็นผักในบ้านพักคนชรามาแล้วกว่า 10 ปี

ฟังดูแล้วเป็นละครที่ไม่น่าจะสนุกเอาเสียเลย เพราะมีแต่เรื่องของคนแก่จะลงโลงทั้งนั้น 

โลกของหญิงชราทั้งหมดที่เดินเรื่องอยู่นี้ ต่างประสบกับความเป็น "ชีวิต" ที่เข้มข้นมาตั้งแต่ยังสาว  พวกเธอเริ่มต้นชีวิตมาคล้ายกัน รับการศึกษาขั้นต่ำจากรัฐในช่วงที่เกาหลียังเป็นดินแดนแผ่นเดียวกันอยู่ โดยที่ไม่มีใครได้เรียนมหาวิทยาลัยได้ใช้ชีวิตหนุ่มสาวอย่างที่เราเข้าใจในยุคสมัยนี้ ทุกคนต่างต้องออกเผชิญหน้ากับชีวิตที่มีการงานและครอบครัวเป็นแก่นสารในชีวิต ต้องเติบโต ต้องมีครอบครัวที่ดี ต้องเลี้ยงลูกและพ่อแม่ญาติพี่น้องให้ได้, ความคาดหวังให้ชีวิตต้อง "รอด" ที่ติดตั้งมาตั้งแต่สาวๆ นี้เอง ทำให้ชีวิตในวัยชราของพวกเธอก็ยังคงต้องยืนให้รอดจนกว่าจะถึงวันตาย 

 

ช่วงชีวิตวัยสาวที่ผ่านมา พวกเธอตั้งหน้าตั้งตาทำทุกอย่าง อย่างสุดความสามารถเพื่อให้ได้พบกับชีวิตบั้นปลายที่สุขสบาย...

 

แต่เปล่าเลยเมื่อเธอทั้งหมดพบว่า แก่แล้วก็ต้องเผชิญหน้าต่อสู้แบบคนแก่

แม่ของนางเอกตรวจพบภายหลังว่าเป็นมะเร็งและก้อนเนื้อในระบบย่อยอาหาร เช่นเดียวกับเพื่อนสนิทที่เคยผ่าตัดและรักษาโรคมะเร็งเต้านมมากว่า 5 ครั้ง และเพื่อนของเธออีกคนหนึ่งต้องพบกับภาวะโรคสมองเสื่อมอย่างรวดเร็ว ที่พาให้คนรอบข้างทุกคนต้องร่วมจมไปกัยสถานการณ์ที่ควบคุมไม่ได้อันเกิดจากผลข้างเคียงในทางอารมณ์และจิตใจจากโรคดังกล่าวไปพร้อมกัน 

และสุดท้ายสิ่งที่ทำมาทั้งชีวิต โดยเฉพาะทรัพย์สินเงินทองทั้งหลายที่หามาได้ กลับต้องหมดเปลืองไปกับการทุ่มทิ้งไปกับการรักษาพยาบาลตัวเองและคนรอบข้างที่เลยเส้นชีวิตมาอยู่ในจุดที่เป็นคนชรา

คนชราเหล่านี้ มีศักดิ์ศรีมากพอที่จะอยู่ดูแลตัวเองโดยไม่ให้เป็นภาระให้ตกไปถึงลูกหลานและสังคม แต่มันก็เป็นไปไม่ได้ เพราะสุดท้าย สังคมและครอบครัวก็เป็นสองสิ่งที่จะโอบอุ้มพวกเธอและพวกเขาทั้งหลาย ให้ดำรงชีพอยู่ได้แม้ในสภาวะที่ไม่สมบูรณ์ในทางร่างกายเพราะความชราและโรคภัยต่างๆ ได้อย่างมีศักดิ์ศรีความเป็นคน

ในภาวะที่บ้านเรากำลังตั้งคำถามเรื่องความเป็นกฎหมายสูงสุดว่าให้สิทธิกับคนแก่หรือไม่ ด้วยความเวทนาอย่างแสนสาหัสจากแนวความคิดที่เห็นคนในรัฐตั้งแต่เกิดมาจนตายเป็นภาระสังคมที่สมควรจ่ายเงินงบประมาณแผ่นดินที่มาจากภาษีประชาชนเป็นดั่งเศษเดนให้กับพวกที่น่าเวทนาอย่างเด็กที่เกิดจากครอบครัวจนๆ คนจนๆ รวมไปถึงคนแก่เจียนตายตนๆ นี้เอง มันเป็นความแสนเศร้าที่ละครอย่าง My Dear Friends เรื่องนี้ยังไปไม่ถึง เพราะละครเรื่องนี้มาด้วยแนวความคิดที่แตกต่างจากแนวความคิดของผู้มีอำนาจในรัฐไทยอย่างสุดขั้ว ด้วยการมองต่างกันในเชิงคุณค่าว่าคนแก่และคนเจ็บในสังคมเกาหลีใต้ ไม่ใช่ภาระ แต่พวกเขาคือคนที่ก่อสร้างสังคมมาทำให้เกาหลีใต้เป็นเกาหลีใต้อย่างวันนี้ และรัฐต้องตอบแทนคุณค่าให้สมศักดิ์ศรีด้วยโครงสร้างรัฐสวัสดิการ

ในขณะที่สังคมไทย สอนให้กราบเท้าคนแก่ไม่กี่คนที่เชื่อว่ามีพระคุณต่อชาติบ้านเมือง และทิ้งคนแก่ทั่วไปทั้งหลายที่เจ็บป่วย ให้กลายเป็นขอทานแบบเงินเอาจากรัฐอย่างเห็นแก่ได้เดือนละไม่กี่ร้อยบาท

นางเอกถามยายของเธอในฉากสุดท้ายของเรื่องว่า ชีวิตคืออะไร 
ยายของเธอตอบว่า "มันก็ไม่มีอะไรมากนักหรอก"

ก็จริงของเธอที่ว่ามันไม่มีอะไรมากนักหรอก...
เราแค่ต้องการชีวิตที่อยู่และตายอย่างมีศักดิ์ศรีก็เท่านั้นเอง

Witch’s Court : #metoo กับผู้ที่ไม่เข้าถึงความเป็นธรรมทางเพศ

เมื่อต้นสัปดาห์ก่อน กระแสความเคลื่อนไหว #metoo ในเกาหลีใต้ ได้มาถึงจุด "พีค" ของการชุมนุมและรณรงค์เรื่องการยุติความรุนแรงและการคุมคามทางเพศในเกาหลีใต้ เพราะนักการเมืองดาวรุ่งในฝั่งพรรคประชาธิปไตย, อัน ฮี-จุง ถูกเปิดเผยพฤติกรรมการกระทำความรุนแรงและล่วงละเมิดทางเพศต่อผู้ใต้บังคับบัญชา คือ คิม จิ-อั

Save me : การปลดแอกตนจาก"ศาสนา"กับความเป็นปัญหาในรัฐฆราวาส

ความเชื่ออื่นนอกเหนือลัทธิขงจื่อแบบโชซอนถูกกำจัดโดยองค์รัฐาธิปัตย์มาโดยเสมอ แม้แต่จะใช้ข้ออ้างเรื่องการนับถือพุทธศาสนาของเหล่าบรรดาขุนนางมาป้ายสีเพื่อล้มล้างอำนาจทางการเมืองของฝ่ายตรงกันข้าม เป็นเรื่องที่เกิดโดยตลอดภายใต้ความเป็นรัฐศาสนาจารีตแบบเต็มตัว ปลายยุคสมัยแห่งราชวงศ์โชซอนเองก็ได้เกิดโศกนา

I Can Hear Your Voice : เสียงที่เงียบจนแสบแก้วหู

จางฮเยซอง เป็นทนายความที่ได้รับการคัดเลือกให้ปฏิบัติหน้าที่ในฐานะของทนายความแห่งรัฐ ( Public Defender ) เพราะพูดความจริงต่อคณะกรรมการสัมภาษณ์ว่า เธออยากเป็นทนายความที่ได้รับเงินเดือนประจำจากรัฐ อย่างที่ไม่ต้องทำงานหนักอย่างอัยการและไม่ต้องกังวลเรื่องรายรับที่ไม่แน่นอนจากการที่เป็นทนายความอิสระ 

Whisper : เสียงกระซิบที่เงียบจนแสบแก้วหูและราคาจ่ายที่แพงเกินจริงสำหรับความจริง

ชินยองจู เชื่อมั่นว่าความจริงจะพิชิตความเท็จได้ ในฐานะของลูกสาวของพ่อและในฐานะนักสืบของประชาชน การพิสูจน์ความบริสุทธิ์ในข้อกล่าวหาที่พ่อของเธอต้องตกเป็นฆาตกรด้วยพยานหลักฐานและคำเบิกความที่เสนอต่อศาล จะเป็นเสียงที่ดังและทรงพลังพอที่จะทำให้ กระบวนการยุติธรรมทางอาญาที่ดำเนินกระบวนพิจารณาโดยผู้พิพากษ