Skip to main content
 

จันทร์  ในบ่อ

 

หายหน้ากันไประยะหนึ่งสำหรับคอลัมภ์หนังรายสัปดาห์ของประชาไท ‘Blogazine' เลยขออนุญาตทำหน้าที่คั่นเวลาแทน นพพร ชูเกียรติศิริชัย' ที่ช่วงนี้กำลังยุ่งกับการอพยพย้ายถิ่นฐาน ถ้าทุกอย่างลงตัวแล้วจะกลับมาทำหน้าที่เหมือนเดิมครับ ส่วนช่วงคั่นเวลาสัปดาห์นี้ผมขอชวนคุยเรื่อง ปืนใหญ่จอมสลัด' ที่กำลังลงโรงฉายเลยแล้วกัน 

 

คงไม่ต้องการันตีคุณภาพให้มากขึ้นเมื่อปืนใหญ่จอมสลัดเป็นฝีมือกำกับเรื่องล่าสุดโดย นนทรีย์ นิมิตรบุตร' และเขียนบทโดย วินทร์ เลียววารินทร์' นักเขียนรางวัลซีไรต์ ใช้ทุนสร้างร่วม 200 ล้านบาท ภาพยนตร์ออกฉายปฐมทัศน์ครั้งแรกในเทศกาลภาพยนตร์เมืองคานส์ 2008 ต่อมาออกฉายในเทศกาลภาพยนตร์เวนิส ออกฉายรอบกาล่า ในงานเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติกรุงเทพฯ ปี 2008 เปิดตัวรายได้สัปดาห์แรกที่ 31.6 ล้านบาท กระแสตอบรับจึงถือว่าดี บทความนี้จึงขอแค่ทำหน้าที่วิพากษ์วิจารณ์ไปตามเรื่องตามราวเท่านั้น

ปืนใหญ่จอมสลัด ออกตัวไว้แล้วว่าเป็นหนังแนวแฟนตาซีที่หยิบประวัติศาสตร์ลังกาสุกะ (มลายูปตานี) ในช่วงศตวรรษที่ 17 มาวางเป็นโครงหลักของเรื่อง ความน่าสนใจอยู่ที่ประวัติศาสตร์ช่วงนี้เป็นของกลุ่มชนชาติหนึ่งในสยามที่ห่างไกลจากความรับรู้อย่างปราศจากอคติของคนไทยทั่วไป ไม่มีในบทเรียน และยังไม่เคยมีการทำออกมาในรูปแบบภาพยนตร์ เป็นช่วงที่รัฐปัตตานีหรือปตานีเป็นอิสระจากสยาม (กรุงศรีอยุธยา) เป็นยุคทองของการค้าขายทางสำเภาทะเล เป็นเมืองท่าที่สำคัญในคาบสมุทรมลายูและมีความพิเศษในด้านการปกครองคือมี กษัตริยา' หรือมี ผู้หญิง' แห่งราชวงศ์ศรีวังสาปกครองติดต่อกันถึง 4 รุ่น ได้แก่ รายาฮิเจา รายาบิรู รายาอุงงู และรายากูนิง เป็นกษัตริยาพระองค์สุดท้าย การสิ้นพระชนม์ของเธอที่กัมปุง ปันจอร์ พ.ศ.2231 ถือเป็นการสิ้นสุดช่วงสมัยการปกครองโดยกษัตริยาอย่างสมบูรณ์

 

ปืนใหญ่จอมสลัดได้ตัดเอาเฉพาะประวัติศาสตร์ช่วงปลายสมัยของรายาฮิเจา (จารุณี สุขสวัสดิ์) แห่งราชวงศ์ศรีวังสา (ครองราชย์ 2127 - 2159) เชื่อมต่อสมัยรายาบิรู (ณัฐรดา อภิธนานนท์) มาสร้างโดยมี อุงงู' (แอนนา แฮมบาวริส) เป็นตัวละครหลักในการสร้างความรู้สึกสะเทือนใจด้วยปมที่ต้องเลือกระหว่างความรักส่วนตัวกับความเสียสละเพื่อแผ่นดิน

 

แต่เมื่อผู้กำกับออกตัวไว้ว่าเป็นหนังแนวแฟนตาซีมากกว่าหนังอิงประวัติศาสตร์ ผมจึงขอไม่แตะไปถึงความถูกผิดทางประวัติศาสตร์และขอยกให้เป็นหน้าที่ของนักวิชาการประวัติศาสตร์มลายูที่จะต้องอธิบายเพื่อสร้างความเข้าใจให้สังคมไทยอันหลากหลายต่อไป ตั้งแต่ประเด็นคำว่า ลังกาสุกะ' ที่หนังเลือกจะหยิบมาใช้อย่างค่อนข้างตั้งใจและเลี่ยงจะไม่ใช้คำว่า ปตานี' หรือ ปัตตานี' ตามประวัติศาสตร์ของพื้นที่

 

ส่วนอีกประเด็นหนึ่งที่หนังเลือกที่จะเลี่ยงไปก็คือ ภาษา' เพราะในขณะที่หนังต้องการสื่อถึงความเป็นพื้นที่การค้านานาชาติ ภาษา' ถูกนำมาเป็นสัญลักษณ์ที่สื่อผ่านบรรดาผู้ปกครองของรัฐให้สามารถพูดได้หลากภาษาไม่ว่าจะเป็นไทย จีน อังกฤษ แต่ภาษา มลายู' อันเป็นภาษาของพื้นที่กลับถูกยกเว้นไว้ราวกับตั้งใจกีดกันไม่ให้มีปรากฏในหนังแม้สักฉาก   

 

อย่างไรก็ตาม สำหรับประเด็นหลักที่อยากจะนำมาแลกเปลี่ยนกันในที่นี้ คือ การใช้สัญลักษณ์ที่สื่อความหมายถึงกระบวนการเรียกร้องสันติภาพที่เหมือนมีเจตนาบ่งชี้ไปยัง คนในพื้นที่ขัดแย้ง' อันหมายถึง 3 จังหวัดชายแดนใต้ โดยใช้ฉากจาก ประวัติศาสตร์มลายู' มาสะท้อน ความขัดแย้ง' ของปัจจุบัน  

 

ปืนใหญ่จอมสลัดเลือกการใช้ สี' เป็นสัญลักษณ์แทนคุณค่าให้เข้าใจได้อย่างง่ายๆผ่านการแบ่งฝ่ายออกมาอย่างชัดเจน สีขาว' เป็นสัญลักษณ์แทน ฝ่ายดี' ส่วน สีดำ' เป็นสัญลักษณ์แทน ฝ่ายเลว' โดยมีวิชา ดูหลำ' อันลึกลับเป็นเกณฑ์วัดความดีความชั่ว  

 

ทั้งนี้ ท่ามกลางสถานการณ์ความขัดแย้งแบบแก้แค้นและหักล้างกันไปมาไม่ว่าจะเป็นกลุ่มอำนาจหรือเรื่องส่วนตัว เหยื่อผู้ได้รับผลกระทบ ปืนใหญ่จอมสลัดเลือกใช้วิธีการจัดการปัญหาด้วยการเรียกร้องไปที่ปัจเจกบุคคลในระดับจิตวิญญาณ โดยบอกให้ หยุด' เพื่อตัดวงจรของการแก้แค้นอันเกิดจากตัวเองออกไม่ว่าจะผ่านประสบการณ์อันเลวร้ายสักเพียงใดก็ตาม และแสดงภาพการแก้แค้นนั้นเป็นความมุ่งหมายของฝ่าย สีดำ' และการพยายามควบคุมหรือปล่อยวางเป็นเรื่องของฝ่าย สีขาว'  

 

เมื่อหนังมีวิชาดูหลำเป็นเกณฑ์วัดความดีชั่วแล้วก็มีตัวละคร กระเบนขาว' (สรพงษ์ ชาตรี) เป็นสัญลักษณ์ของการถ่ายทอดแทนครูหรือผู้สอนให้รู้จักแนวทางที่ควรเดิน แต่กระนั้นแม้แต่ครูเองก็ตาม เมื่อฝึกวิชา  ดูหลำแล้วหากจิตใจไม่มั่นคงก็อาจไม่สามารถควบคุม ความมืด' ในตัวเองได้ 

 

อาจเป็นการตีความที่เกินไปและสุ่มเสี่ยงต่อความอ่อนไหว แต่ในเมื่อหนังเรื่องนี้เป็นภาพสะท้อนของสถานการณ์ปัจจุบัน หนังจึงคล้ายกำลังกระซิบบอกให้เรานึกถึงศาสนาอิสลามอัน ลึกลับ' ในสายตา คนนอก' และบรรดาโต๊ะครูตามปอเนาะต่างๆก็กำลังทำหน้าที่ของกระเบนขาว' อย่างลึกซึ้ง

 

ดังนั้น เมื่อ กระเบนขาว' ถูกท้าทายความมั่นคงทางจิตใจด้วยการเกือบต้องสูญเสีย ลูกชาย' หรือ เจ้าชายราไว' (เอก โอรี) ที่บทวางเอาไว้ให้ว่าเป็นฝ่ายผู้ร้ายอย่างแจ่มแจ้งแล้ว วิชาดูหลำหรือ คำสอน' ก็กลายเป็นดาบสองคมที่มีไว้หล่อเลี้ยงความแค้น ครอบงำ และกลายร่างเป็น กระเบนดำ' ที่มีพลังเพิ่มพูนขึ้น แต่ก็หมายความถึงความกระหายเลือดที่มากขึ้น และการแก้แค้นก็เป็นวงจรของการเข่นฆ่ากันไปมาไม่รู้จบอันเป็นปมของสถานการณ์ความขัดแย้งใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ในปัจจุบัน

 

เช่นเดียวกับ อีกาดำ' (วินัย ไกรบุตร) ลูกศิษย์ของ กระเบนดำ' และสมุนของ เจ้าชายราไว' ที่นอกจากฝึกวิชาดูหลำแล้วยังถูกวางความแค้นไว้ให้จากการต้องสูญเสียคนรักเพราะการไปลอบสังหารรายาฮิเจา ผู้นำสูงสุดแห่งลังกาสุกะ เพื่อปูทางยึดอำนาจให้เจ้าชายราไว แต่ผิดพลาดจึงถูก ยะรัง' (เดี่ยว ชูพงษ์ ช่างปรุง) ทหารองครักษ์สังหาร อย่างไรก็ตามหนังได้สร้างความรู้สึกสาสมจากความตาย เสมือนเป็นกรรมของฝ่ายผู้ร้ายที่ก่อขึ้น

 

แต่ในเส้นทางที่คล้ายกันเพียงแต่บทถูกวางไว้แล้วว่าเป็นฝ่ายดี สิ่งที่เกิดขึ้นกับ ปารี' (อนันดา เอฟเวอริ่งแฮม) จึงเดินไปยังปลายทางที่ตรงกันข้าม ดังนั้นแม้ปารีจะถูกท้าทายด้วยสถานการณ์ที่ต้องสูญเสียภรรยาหรือถูกกลุ่มเจ้าชายราไวฆ่าล้างหมู่บ้าน และเป็นผู้ฝึกวิชาดูหลำตั้งแต่เด็ก เงื่อนไขทั้งหมดภายใต้ความแค้นทำให้ความมืดในใจแข็งกล้าขึ้นและพลังก็สูงขึ้น แต่เมื่อมี ความรัก' และการรู้จัก ปล่อยวาง' จึงทำให้ไม่หลงไปเป็น ปารีดำ' เป็นผู้รักสันติด้วยการเลือกที่จะช่วยลังกาสุกะ ฆ่า' ผู้รุกราน ดังคำกล่าวของเขาในช่วงท้ายเรื่องว่า "เรามาเพื่อหยุด"

 

แต่กระบวนการทางสันติวิธีหรือการตัดวงจรความแค้นแบบที่ปารีเลือกใช้นั่นเองกลับไม่ได้แตกต่างอะไรมากนักกับกระบวนการสันติวิธีของรัฐและคนใน ชาติไทย' มองไปในสถานการณ์ความขัดแย้ง 3 จังหวัดชายแดนใต้ที่เป็น คนมลายู'

 

ประการแรกความเจ็บปวดจากการสูญเสียคงไม่สามารถหยุด' ได้ง่ายดายนัก หากไม่มีความรู้สึกถึงการได้รับความเป็นธรรมและมีการเยียวยาที่เหมาะสม อีกประการหนึ่ง หนังกลับได้สร้างความชอบธรรมในการ ฆ่า' หากมีกลุ่มบุคคลที่กำลังสร้างความไม่มั่นคงให้กับรัฐ เป็นคนอื่น และกลุ่มอำนาจอื่นที่ไม่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับตนเองจึงสามารถถูกรัฐฆ่าให้ตายหรือกวาดล้างได้ แต่เมื่อปารีถูกวางตัวให้เป็นฝ่ายสีขาว แม้เป็นกลุ่มชาวบ้านที่รวมกลุ่มกันเป็น โจรสลัด' แต่การปล้นฆ่าโจรกลุ่มอื่นจึงเป็นความดี และเมื่อเริ่มต้นมีความรักครั้งใหม่กับอุงงูจึงมีความผูกพันธ์ทางใจกับฝ่ายรัฐหรือลังกาสุกะ (หลังภรรยาถูกฆ่าตายอย่างโหดร้ายไม่กี่เดือน) เขาจึงได้รับความชอบธรรมจากคนดูเพียงพอให้หยุดฝ่ายสีดำได้ด้วยการ ฆ่า' และกวาดล้างขบวนการฝ่ายตรงข้ามให้หายไปเพื่อตัดวงจรความแค้นที่ตามล้างกันไม่รู้จบ

 

สิ่งที่สะท้อนผ่านหนังจึงย้อนกลับมาหาตัวเราเองผ่านการทำให้เรารู้สึกตลอดเวลาว่าการเป็นพวกเดียวกันกับ ฝ่ายดี' จะทำให้เรามีความชอบธรรมในการฆ่า คนอื่น' ได้มากกว่า ในขณะที่ฝ่ายสีดำจะไม่สามารถอธิบายว่า หยุดด้วยการฆ่า' ได้ด้วยเหตุผลแบบเดียวกัน

 

นอกจากนี้ ปืนใหญ่จอมสลัดยังสร้างผลิตคำอธิบายให้กับรัฐให้สร้างความชอบธรรมในการผูกขาด อำนาจ' โดยมี มหาปืนใหญ่' หรือองค์ความรู้ในการผลิตเป็นสัญลักษณ์ของแสนยานุภาพที่ทุกฝ่ายต้องการช่วงชิง

 

ดังนั้นเมื่อบทหนังเลือกที่จะเลี่ยงการมีอยู่ของรัฐปตานีที่สถาปนาขึ้นแล้วในคาบสมุทรมลายู ภายใต้การคุกคามที่รายล้อมและสั่นคลอนความมั่นคงไม่ว่าจะทั้งจากมหาอำนาจในยุคนั้นอย่างกรุงศรีอยุธยา หรือรัฐอื่นที่ก่อตัวขึ้นมาในเช่นกัน เช่น ยะโฮร์ ปาหัง หรือกลุ่มอิสระอื่นๆที่รวมตัวกันเป็น โจรใต้' อีกหลายกลุ่ม การดักปล้นสินค้าและอาวุธจึงมีความหมายของการไม่ยอมรับอำนาจและช่วงชิงผลประโยชน์ของรัฐส่วนกลาง

 

การย้อนกลับไปใช้คำว่า อาณาจักรลังกาสุกะ' จึงสร้างความหมายของการปฏิเสธการมีอยู่ของรัฐอิสลามในคาบสมุทรมลายูที่ตั้งตัวเป็นอิสระจากสยาม และลังกาสุกะในความรับรู้ของผู้ดูก็ไม่ได้แตกต่างไปจากการกำลังดูหนังประวัติศาสตร์ของกรุงศรีอยุธยาอีกเรื่องหนึ่ง และเมื่อ ลังกาสุกะ' ถูกวางตัวตนให้เป็น กรุงศรีอยุธยา' ใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ก็คงอนุมานต่อได้ว่า กรุงศรีอยุธยา' เท่ากับ สยาม' และ สยาม' ก็คือ ไทย' ในปัจจุบัน ดังนั้นเมื่อมีคนอื่น (กลุ่มโจรสลัด = กลุ่มมลายูแบ่งแยกดินแดน) มาท้าทายอำนาจและมีอาวุธ (มหาปืนใหญ่ = การปล้นปืน การลอบวางระเบิด การลอบสังหาร ฯลฯ) ที่มีแสนยานุภาพจึงเป็นเรื่องที่ยอมไม่ได้

 

ปืนใหญ่จอมสลัดจึงได้ผูกเรื่องและวางฝ่ายคนดีทั้งหมดรวมกันไว้ที่ ลังกาสุกะ' อันเป็นภาพตัวแทนของรัฐส่วนกลาง ในขณะที่ผู้ท้าทายทั้งหมดถูกวางไว้ที่ ฝ่ายดำ' เป็นกลุ่มโจร เป็นคนเลวแถมยังต่อต้านรัฐ ดังนั้นความหมายสุดท้ายที่แฝงไว้ก็คือพวกเหล่านี้ล้วนกำจัดได้

  

ปืนใหญ่จอมสลัดจึงเป็นหนังที่น่าเสียดายอีกเรื่องหนึ่ง ทั้งที่มีความพร้อมในหลายๆด้าน มีความแหลมคมของสถานการณ์ปัจจุบันที่อาจช่วยนำไปสู่ความสนใจในพื้นที่และประวัติศาสตร์ท้องถิ่นเพื่อสร้างความเข้าใจที่ลดอคติอย่างแท้จริงได้ งบประมาณสนับสนุนก็ถือว่าไม่ขี้เหร่ และที่สำคัญคือมีนักแสดงฝีมือดีไม่ว่าจะดารารุ่นเก๋าอย่างสรพงษ์ ชาตรี หรือจารุณี สุขสวัสดิ์ มีพระเอกมากฝีมืออย่างอนันดา เอฟเวอริ่งแฮม มีนักแสดงที่ล้วนจดจำบทบาทกันได้จากฝีมือที่ฝากไว้เมื่อครั้ง  ‘2499  อันธพาลครองเมือง' ไม่ว่าจะเป็นเจษฎาพร ผลดี, อรรถพร ธีมากร, ชาติชาย งามสรรพ์, หรือศุภกร กิจสุวรรณ 

 

แต่หนังไม่ค่อยปล่อยให้ตัวละครเหล่านั้นได้แสดงอารมณ์ออกมาอย่างเป็นธรรมชาติอย่างหนังที่นนทรีเคยทำในเรื่องที่ผ่านมาไม่ว่าจะเป็น 2499 เองหรือในหนังเรื่อง นางนาก' ก็ตาม แต่กลับดูเหมือนจะสนใจโปรดัคชั่นหรูหราอลังการเสียมากกว่า

 

ดังนั้น ปืนใหญ่จอมสลัด แม้ว่ามีภาพของนักแสดงมากมายปรากฏตัวออกมา แต่กลับถูกลดทอนให้กลายเป็นบรรยากาศของงานเลี้ยงรุ่นที่แค่ยืมหน้ามาใช้ให้กล้องวิ่งผ่าน ที่สำคัญยังยืมรูปแบบการนำเสนอจากหนังเรื่องอื่นๆมาใช้มากเกินกว่าการเป็นแรงบันดาลใจจนทำให้เสียความเป็นตัวของตัวเองในการทำหนัง ไม่ว่าจะเป็นคาแร็กเตอร์ตัวละครอย่างกระเบนขาว/ดำที่ชวนให้นึกถึงพ่อมดแกนดาร์ฟ พวกโจรสลัดที่ไม่สลัดภาพของแจ็ค สแปโร่ ส่วนคิวบู๊ก็เหมือนจะโชว์ออฟจนเป็นองค์บากภาค 1 ครึ่ง หรือฉากในรั้วในวังก็ไม่ได้ทำให้รู้สึกว่าแตกต่างอะไรไปจากนเรศวรหรือสุริโยไทของหม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล

 

ที่สำคัญ การยอมตายเพื่อชูอุดมการชาติแบบกามิกาเซ่ของ ยะรัง' ทหารองครักษ์แห่งลังกาสุกะในตอนท้ายเรื่อง คงเป็นสัญญาณแทนคำตอบของหนังทั้งเรื่องไปแล้วว่า มหาปืนใหญ่' กระบอกนี้กำลังเล็งไปที่ใครกันแน่....

บล็อกของ Cinemania

Cinemania
  ธวัชชัย ชำนาญหนังรักโรแมนติกเป็นอะไรที่คนไทยให้ความสนใจโดยเฉพาะกลุ่มวัยทีนทั้งหลาย อย่างที่เพิ่งเข้าโรงไปอีกเรื่องก็คือ Happy Birthday เป็นความรักแบบโศกซึ้งน้ำตาซึมแห่งปีไปเลยก็ว่าได้ สาวๆหลายคนออกมาคงรำพันกับตัวเองไม่น้อย "ผู้ชายแบบนี้ยังมีอีกไหมหนอ"แต่สัปดาห์นี้ กระผมขอนำความรักในอีกแบบหนึ่งมาเสนอ เป็นหนังรักแห่งแดนอิเหนา หรืออาจเรียกได้ว่าเป็นหนังรักแนวของประเทศมุสลิม คือเป็นหนังรักที่มีศาสนา จารีต ประเพณี และกฎหมายเข้ามาเกี่ยวข้องกับชีวิตรักของตัวละคร อย่างน้อยๆ หนังเรื่องนี้เป็นการสร้างสรรค์ให้วงการหนังแนวโรแมนติกในอีกมุมมองหนึ่งของความรักหนังเรื่องนี้ชื่อ ‘Ayat Ayat Cinta'…
Cinemania
 พิชญ์ รัฐแฉล้ม   " องค์บาก 2 " ภาพยนตร์แนวแอ็คชั่นฟอร์มยักษ์ส่งท้ายปี 2551 นำแสดงโดย ‘จา' พนม ยีรัมย์ หรือ ‘โทนี่จา' ในวงการภาพยนต์โลก ถือฤกษ์มงคล 5 ธันวาคม เข้าฉาย ทีมผู้สร้างวางเป้าหมายไว้ ‘องค์บาก 2' จะต้องประสบความสำเร็จอย่างงดงามสวนกระแสภาวะเศรษฐกิจโลกในปัจจุบัน บัดนี้..ผ่านมาแล้วสองสัปดาห์เต็มที่ภาพยนตร์ได้ออกฉายให้แฟนๆ จา พนม ที่ชื่นชอบภาพยนตร์แนวแอ็กชั่นได้สัมผัสอย่างเต็มตา และได้รับการตอบรับจากแฟน จา พนม เป็นอย่างดีจนสามารถฉลองความสำเร็จของรายได้ที่ทะลุเป้าหมายร้อยล้านในสัปดาห์ที่ผ่านมาอย่างไรก็ตาม เป็นที่รู้ๆกัน ‘องค์บาก 2'…
Cinemania
  หมายเหตุ: “บันทึกอิสรา” แสดงที่มะขามป้อมสตูดิโอ ในวันที่ 9-15 ธันวาคม เวลา 19.30น. เสาร์-อาทิตย์ เวลา 14.00น.  รายละเอียดเพิ่มเติมสามารถดูไปที่ www.makhampomstudio.net        “เรื่องราว... ถ้าไม่เล่าสู่กันฟัง คนข้างหลังก็จะลืม... เลือนราง” เนื้อร้องท่อนหนึ่งจากละครร้องเรื่อง “บันทึกอิสรา” ว่าเอาไว้ ชวนให้นึกเห็นด้วยไม่น้อย ทุกวันนี้ถ้าจะย้อนกลับไปดูประวัติศาสตร์ที่ผ่านพ้นมา ก็พบว่า ประวัติศาสตร์ของหลายๆ อย่างในประเทศนี้ไม่เคยจะสมบูรณ์เสียที ประวัติศาสตร์บางแบบแม้จะเรียนแล้วก็ต้องเรียนอีก…
Cinemania
ไก่ย้อย หมายเหตุ: จดหมายฉบับนี้สร้างขึ้นจากเรื่องจริงแต่แอบอิงวิธีการนำเสนอจากภาพยนตร์เรื่อง ‘เพื่อนสนิท’ โดยสมมติเหตุการณ์ว่าเป็นภาคต่อของภาพยนตร์ต้นฉบับ หากใครยังไม่มีโอกาสได้รับชมภาพยนตร์เรื่องนี้ บางทีก็อาจจะไม่เข้าใจมุกเห่ยๆ ของผู้เขียน  ส่วนใครที่ไม่อยากอ่านจดหมายฉบับนี้ ผู้เขียนก็ขอร้องว่าอย่าอ่านเลยนะพวกคุณ   ถึงเพื่อนๆ หากพวกแกได้อ่านจดหมายฉบับนี้ ฉันขอร้องพวกแกอย่างหนึ่งนะว่า “อย่าคิดมาก” เพราะที่ผ่านมาเหตุการณ์บ้านเมือง และวงการวิชาการของไทยมันก็มีเรื่องซีเรียสมากมายกันพออยู่แล้ว ฉะนั้นพวกแกอย่าเสียเวลาเปลืองมันสมองเพื่อขบคิดกับจดหมายบ้าๆ บอๆ ของฉันอยู่เลย…
Cinemania
  จันทร์ ในบ่อ 20th Century Boys หรือเด็กในศตวรรษที่ 20 เป็นภาพยนตร์ที่นำเรื่องราวจากการ์ตูนชื่อเดียวกันมาสร้าง (การ์ตูนชื่อไทยว่า แกงค์นี้มีป่วน) เป็นผลงานเรื่องเด่นจากค่าย Shogakukan แต่งโดย Naoki Urasawa คนเดียวกับผู้เขียน Monster (คนปีศาจ)  20th Century Boys ยังคว้ารางวัลการ์ตูนยอดเยี่ยมครั้งที่ 48 จาก Shogakukan  รางวัลชนะเลิศในงาน Media Art ครั้งที่ 6 ของทบวงวัฒนธรรมญี่ปุ่น และรางวัลการ์ตูนยอดเยี่ยม ครั้งที่ 25 จาก Kodansha คอการ์ตูนเองคงรู้ดีถึงความยอดเยี่ยม ส่วนฉบับภาพยนตร์ดูแล้วก็คิดว่าว่าไม่เสียรสชาติครับ ด้วยข้อจำกัดของหนังด้านเวลาเมื่อเปรียบเทียบกับเนื้อหา…
Cinemania
จันทร์  ในบ่อ หายหน้ากันไประยะหนึ่งสำหรับคอลัมภ์หนังรายสัปดาห์ของประชาไท ‘Blogazine' เลยขออนุญาตทำหน้าที่คั่นเวลาแทน ‘นพพร ชูเกียรติศิริชัย' ที่ช่วงนี้กำลังยุ่งกับการอพยพย้ายถิ่นฐาน ถ้าทุกอย่างลงตัวแล้วจะกลับมาทำหน้าที่เหมือนเดิมครับ ส่วนช่วงคั่นเวลาสัปดาห์นี้ผมขอชวนคุยเรื่อง ‘ปืนใหญ่จอมสลัด' ที่กำลังลงโรงฉายเลยแล้วกัน   คงไม่ต้องการันตีคุณภาพให้มากขึ้นเมื่อปืนใหญ่จอมสลัดเป็นฝีมือกำกับเรื่องล่าสุดโดย ‘นนทรีย์ นิมิบุตร' และเขียนบทโดย ‘วินทร์ เลียววารินทร์' นักเขียนรางวัลซีไรต์ ใช้ทุนสร้างร่วม 200 ล้านบาท ภาพยนตร์ออกฉายปฐมทัศน์ครั้งแรกในเทศกาลภาพยนตร์เมืองคานส์ 2008…
Cinemania
  จันทร์  ในบ่อ หายหน้ากันไประยะหนึ่งสำหรับคอลัมภ์หนังรายสัปดาห์ของประชาไท ‘Blogazine' เลยขออนุญาตทำหน้าที่คั่นเวลาแทน ‘นพพร ชูเกียรติศิริชัย' ที่ช่วงนี้กำลังยุ่งกับการอพยพย้ายถิ่นฐาน ถ้าทุกอย่างลงตัวแล้วจะกลับมาทำหน้าที่เหมือนเดิมครับ ส่วนช่วงคั่นเวลาสัปดาห์นี้ผมขอชวนคุยเรื่อง ‘ปืนใหญ่จอมสลัด' ที่กำลังลงโรงฉายเลยแล้วกัน   คงไม่ต้องการันตีคุณภาพให้มากขึ้นเมื่อปืนใหญ่จอมสลัดเป็นฝีมือกำกับเรื่องล่าสุดโดย ‘นนทรีย์ นิมิตรบุตร' และเขียนบทโดย ‘วินทร์ เลียววารินทร์' นักเขียนรางวัลซีไรต์ ใช้ทุนสร้างร่วม 200 ล้านบาท ภาพยนตร์ออกฉายปฐมทัศน์ครั้งแรกในเทศกาลภาพยนตร์เมืองคานส์ 2008…
Cinemania
  นพพร ชูเกียรติศิริชัยImagine : John LennonImagine there's no heavenIt's easy if you tryNo hell below usAbove us only skyImagine all the people  Living for todayImagine there's no countriesIt isn't hard to doNo greed or hungerAnd no religion tooImagine all the people  Living life in peaceYou may say I'm a dreamerBut I'm not the only oneI hope someday you'll join usAnd the world will live as oneImagine no possessionsI wonder if you canNothing to kill or die forA brotherhood of manImagine all the peopleSharing all the worldผมเคยได้ยินและได้ฟังเพลง Imagine…
Cinemania
  นพพร ชูเกียรติศิริชัย  อังกฤษ ปี ค.ศ. 1983 ยุคที่รองเท้า ‘บู้ท' สไตล์ Dr.Matins ทรงผม ‘สกรีนเฮด' เสื้อเชิ้ต ‘ลายสก๊อต' และกางเกงยีนส์ คือสัญลักษณ์แห่ง ‘อำนาจ' ที่เหนือกว่าชนชาติอื่นในหมู่เยาวชนชาวอังกฤษ ‘ชอน' เด็กชายวัย 12 ผู้ฝังใจอยู่กับการสูญเสียพ่อไปในสมรภูมิเกาะฟอร์คแลนด์ (สงครามแย่งชิงเกาะฟอร์แลนด์ระหว่างประเทศอังกฤษและ อาเจนติน่า) กำลังเริ่มต้นค้นหาชีวิตในวัยหนุ่มกับกลุ่มเยาวชนรุ่นพี่  เขาถูกสอนให้รู้จักกับความเป็นกลุ่มก้อน หรือความเป็นสถาบันผ่านเครื่องแต่งกายสไตล์ขาโจ๋เมืองผู้ดีในช่วงต้นคริสตศตวรรษที่ 20 เขาถูกสอนให้รู้จักกับความเป็น ‘ชาย' ผ่าน ‘เกมส์'…
Cinemania
ชญานุช เล็กตระกูลชัย    ภาพจาก http://en.wikipedia.org/wiki/Mona_Lisa_Smile   “ศิลปะคืออะไร อะไรที่ทำให้มันดีหรือแย่ แล้วใครเป็นคนกำหนด” “ศิลปะไม่ใช่ศิลปะ จนกว่าจะมีคนบอกว่าใช่… มันมีมาตรฐาน เทคนิค องค์ประกอบ สี และหัวข้อ” (บางส่วนของบทสนทนาระหว่างตัวละคร ‘แคเธอรีน วัตสัน’ (จูเลีย โรเบิร์ตส์) อาจารย์ประจำภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ และ ‘เบ็ตตี้ วอร์เร็น’ (เคิร์สเตน ดันสต์) นักศึกษาสาวจากวิทยาลัยเวสลี่ย์คอลเลจ) ปรัชญา ศิลปะ และกระบวนการทำให้ ‘หญิง’ เป็น ‘หญิง’ ภาพยนตร์เรื่อง Mona Lisa smile นำเสนอภาพสะท้อนของสังคมตะวันตก (ทั้งยุโรป และอเมริกา) ในช่วงต้น…
Cinemania
  นพพร ชูเกียรติศิริชัย  ภาพจาก http://www.japclub.com/dvd_box/j-bics/2008_may/Crows-Zero.htm    ผมเป็นผู้หนึ่งที่รู้สึกอิดหนาระอาใจกับสถานการณ์บ้านเมืองของเรา (หรือเปล่า?) ในช่วงหลายสัปดาห์ที่ผ่านมา เพราะผมไม่เคยคาดคิดว่า ภาพการไล่กระทืบกันอย่างเมามันด้วยความมุ่งหวังที่จะพิชิตฝ่ายตรงข้าม (ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายไหน) จะเกิดขึ้นในสังคมที่เที่ยวประกาศกับใครต่อใครว่าเป็นสังคมที่ยึดมั่นอยู่ในพระพุทธศาสนาอย่างเข้มข้น ‘ฉากชีวิตจริง’ นั้นดุเด็ดเผ็ดมันกว่า ‘หนังบู๊’ ที่ดูผ่านหน้าจอหลายเท่านัก และดูจะสยดสยองกว่า ‘คลิปวีดีโอเด็กนักเรียนตบกัน’ เป็นไหนๆ  ส่วน ‘…
Cinemania
  นพพร ชูเกียรติศิริชัย   "to prove the Faustian dream to be a nightmare" ผมมีโอกาสประสบพบกับประโยคภาษาอังกฤษข้างต้นเป็นครั้งแรกในหนังสือ ‘POST MODERN : ชะตากรรมโพสต์โมเดิร์นในอุ้งมือนักปรัชญาการเมืองโบราณ' ของ อาจารย์ไชยันต์ ไชยพร และตั้งแต่วันนั้นผมก็ไม่เคยคิดว่าผมจะต้องนึกถึงมันอีกเลยไม่ว่าจะในกรณีใดๆ แต่แล้ววันดีคืนดี ในขณะที่ผมกำลังนั่งเพลิดเพลินเจริญอารมณ์อยู่กับภาพยนตร์เรื่อง Hellboy 2 : The Golden Army หลายๆ ฉาก หลายๆ ตอนในภาพยนตร์กลับทำให้มันสมองของผมเกิดระลึกถึงคำอธิบายเกี่ยวกับ ‘the Faustian dream' ของอาจารย์ไชยันต์ (ไชยพร) ขึ้นมาอย่างกระทันหัน …