Skip to main content

Between the Frames

E-mail: betweentheframes@gmail.com

:::Spoil::: บทความนี้เปิดเผยเนื้อหาที่สำคัญของภาพยนตร์ :::Spoil:::

 

"All those gathered here will know that it is not by sword or spear that the LORD saves; for the battle is the LORD's, and He will give all of you into our hands."

                                                                                                                                                                1 Samuel 17:47

ยากที่จะเชื่อว่าอเมริกาเป็นประเทศที่ดีพร้อม ขอฟันธงไว้ ณ ที่นี้ว่า ถ้าในอนาคตอันใกล้นี้อเมริกาสำรวจความคิดเห็นของคนบ้านตัวเองว่า เสียหาย' (ที่เกิดจากสงครามอิรัก) ไปมากแค่ไหน รับรองว่าเมื่อถึงวันนั้น คนส่วนใหญ่จะบอกว่า มันเข้าขั้นฉิบหาย' แล้ว และจะไม่ลังเลที่จะอ้างถึงหนังอย่าง In the Valley of Elah

แน่นอน หนังเรื่องนี้เป็นผลงานการเขียนบท และกำกับของ Paul Haggis โดยได้โครงเรื่องคร่าวๆ มาจากบทความชื่อ Death and Dishonor เกี่ยวกับ Richard Davis ในนิตยสาร Playboy ที่เขียนโดย Mark Boal จากนั้นก็เปลี่ยนแปลงรายละเอียด เพิ่มมิติให้กับหนัง ผลที่ได้คือเรื่องราวที่นอกจากจะตีแผ่ความป่วยไข้ ความโศกเศร้า และความทรมาน ของสังคมอเมริกัน ที่ปกปิดไว้ด้วยหน้ากากแห่งความรักชาติ ด้วยการใช้วรรณศิลป์ภาพยนตรืที่นอกจากจะลุ่มลึก ซับซ้อน และทรงพลังแล้ว ในเวลาเดียวกันยัง วิพากษ์และตอกย้ำการสูญเสีย ความเป็นมนุษย์' แบบบาดลึกถึงก้นบึ้งหัวใจอีกด้วย

ในขณะที่ผู้กำกับตามแบบฉบับ Hollywood ไม่มีจุดยืน จะไม่ลังเลที่จะ ขาย' เรื่องราว In the Valley of Elah ในรูปแบบการสืบสวนฆาตกรรมทั่วไปที่มักจะพบได้ตามซีรี่ส์ CSI โดยใช้ส่วนผสม 1.) มีคนหายตัวไป มีสถานที่เกิดเหตุ มีปริศนา 2.) คนที่หายตัวไปนั้นกลายเป็นศพ 3.) การย่ำเท้าตามรอยหาข้อเท็จจริงจนกว่าจะได้ตัวคนร้าย 4.) จบเรื่องแบบหักมุม แต่หนังเรื่องนี้ ไม่ได้การลุ้นระทึกเหมือนหนังสืบสวนสอบสวนทั่วๆไป เพราะไม่ได้มีปริศนาอะไรซับซ้อน ไม่ได้จบแบบที่พระเอกที่เป็นตัวละครแบนเหมือนกระดาษแข็ง คลี่คลายคดีได้แล้วก็จบกัน ตรงกันข้าม...เรื่องนี้ไม่มีอะไรเกินจริง และทุกอย่างดูจริงจังจนถึงขั้นหดหู่สุดขั้ว

ถ้ามองแบบตื้นๆ ก็น่าจะฟันธงได้ว่า  In the Valley of Elah ไม่ต่างอะไรกับ A Few Good Men หรือ  Courage under Fire ทว่า Paul Haggis กลับใช้เรื่องราวที่เรียบง่ายแต่ซ่อน สาร' ที่ท้าทายคนดู โดยหนังเปิดเรื่องด้วยสัปดาห์แรกหลังจากการกลับจากประจำการในอิรักของทหารหนุ่ม Michael ‘Doc' Deerfield (Jonathan Tucker) หายตัวไปจากกองบังคับการอย่างไร้ร่องรอยและถูกขึ้นทะเบียนทหารว่าหายไปโดยไม่ได้รับอนุญาต (AWOL=Absence Without Official Leave)

Hank Deerfield (Tommy Lee Jones) อดีตทหารผ่านศึก และ Joan Deerfield (Susan Sarandon) รับทราบข่าวนี้ทางโทรศัพท์ Hank เริ่มรู้สึกแปลกใจที่ได้ข่าวลูกชายเดินทางกลับจากอิรักร่วมสัปดาห์แล้ว จึงเดินทางมาไถ่ถามข่าวคราวลูกชายถึงค่ายทหารต้นสังกัดลูกชาย พร้อมขอความช่วยเหลือจากทั้งหน่วยงานทหาร และหน่วยงานราชการพลเรือนปกติช่วยตามหาตัวลูกชาย แต่ก็ดูจะไม่มีใครให้คำตอบที่กระจ่างได้ ซ้ำหน่วยงานราชการพลเรือนยังโยนเรื่องให้หน่วยงานทหารเป็นผู้ทำคดีนี้มากกว่า Hank จึงตัดสินใจออกตามหาลูกชายโดยความช่วยเหลือจากนักสืบตำรวจ Emily Sanders (Charlize Theron) จนต่อมาก็พบว่าลูกชายของเขาถูกฆ่าตายอย่างเหี้ยมโหดนอกค่ายทหาร ศพถูกเฉือนออกเป็นชิ้นๆ และจุดไฟเผาไหม้เกรียม

ขณะที่ปฏิบัติการตามล่าหาความจริงนำไปสู่ความจริงที่ว่า ลูกชายของเขากลายเป็นศพไปแล้ว  Hank และ Emily รู้สึกได้ว่ากำลังถูกหลอกล่อซึ่งเกี่ยวพันกับข้าราชการทหารชั้นผู้ใหญ่ ความจริงที่เกี่ยวข้องกับ Michael ขณะที่ปฏิบัติการอยู่ที่อิรักได้ถูกเปิดเผยขึ้นและ Hank จำเป็นต้องพิจารณาและประเมินความเชื่อที่เคยมีมาทั้งหมดเพื่อที่จะไขความลับการหายตัวไปของลูกชาย เกิดอะไรขึ้นที่อิรักที่ส่งผลกระทบต่อลูก และความจริงที่น่าหดหู่ของสงครามอิรัก

ในขณะที่ Crash เน้นที่ประเด็นเหยียดผิว In the Valley of Elah กลับสำรวจประเด็นสำคัญๆ อย่างเรื่อง ความเป็นชายชาตรี การเมือง สงคราม กองกำลังทหารอเมริกัน อิรัก และไม่ได้ทำหน้าที่แค่สะท้อนวิถีชีวิตของทหารอเมริกันผ่านตัวละครหลายๆ ตัว ตั้งแต่ Hank ซึ่งอดีตเป็นทหารผ่านศึกสงครามเวียดนาม และภาคภูมิใจในความเป็นทหารของตน ไปจนถึงพลทหารทั้งหลายที่เป็นเพื่อนๆ ของพลทหาร Mike ลูกชายที่ไปร่วมปฏิบัติการรบในอิรักด้วยกัน แต่ Paul Haggis ใส่โครงเรื่องคู่ขนานหลายโครงเรื่องที่สะท้อน และ ให้ภาพที่ทั้ง ไปด้วยกัน' และ เปรียบต่างกัน' และ เชื่อมโยงกัน' โดยให้มีแกนกลางอยู่ที่ ปฏิบัติการตามล่าหาความจริง'ของ Hank และ Emily ขนานกับเรื่องที่มาจากกล้องมือถือซึ่ง Michael เป็นคนถ่าย เป็นมุมมองของลูกชายในฐานะพลทหารที่ได้ประสบการณ์ตรงจากสงครามอิรัก และถ้าพิจารณาจากเนื้อหาแล้วในกล้องแล้ว กลับให้ ความจริง' มากกว่า สิ่งที่ Hank และ Emily สืบหาเสียอีก นี่คือสิ่งที่วรรณศิลป์ใช้เรียก  irony เพราะจากมุมมองของลูกชายแล้ว ทหาร' ที่ประชาชนและรัฐบาลอเมริกันพากันใช้ความรักชาติแปะป้ายเอาไว้ว่าเป็น วีรบุรุษ' แท้จริงแล้วได้กระทำสิ่งที่ไม่ต่างอะไรกับ เดนมนุษย์' เลย หรือพูดอีกแง่หนึ่งก็คือ สงครามได้ทำลาย ความเป็นมนุษย์' ของคนที่ร่วมสงครามไปเรียบร้อยแล้ว

เทียบกับเรื่อง Crash แล้ว โครงสร้างในเรื่องนี้กลับแน่นกว่าอีก เพราะโครงเรื่องรองไปด้วยกันกับโครงเรื่องหลัก อีกโครงเรื่องรองที่สำคัญก็คือ ตอนต้นเรื่อง Emily กำลังจัดการคดีที่ดูเหมือนจะไม่เกี่ยวอะไรกับโครงเรื่องหลัก เมื่อภรรยาคนหนึ่งเข้าร้องเรียนเรื่องสามีผู้มีแผลในใจและกลับมาจากสงครามหมาดๆ เขาอำมหิต ขนาดฆ่าสุนัขด้วยการกดให้มันจมน้ำตายอย่างช้าๆ ต่อหน้าลูกของพวกเขาเอง แต่ Emily กลับตอบไปว่าทางการไม่สามารถทำอะไรได้เพราะว่าเขาทำกับ สุนัข' ไม่ใช่ คน'

ไม่มีใครรู้ แต่คนใกล้ชิดรู้ ทั้งลูกและภรรยารู้ดี  แต่ไม่มีใครยื่นมือเข้าไปทำอะไร จนกระทั่งเกิดเรื่องที่ภรรยาถูกสามีฆ่าแบบเดียวกันนั่นแหละ ถึงได้ทำให้  Emily ได้คิด คดีเล็กๆ นี้เองที่ตอกย้ำให้เห็นถึงผลพวงของสงคราม ว่าได้สร้างบาดแผลที่มองไม่เห็นขึ้นแล้ว และจะมีสักกี่คนที่จะตระหนักถึงเศษซากสงคราม ที่กลับมาให้เห็นในรูป พลทหารที่เสียสติ' ไปแล้ว ผลพวงและบาดแผลของสงครามที่เหลือทิ้งไว้ให้ ไม่ได้ส่งผลต่ออิรักเท่านั้น แต่กลับส่งผลต่อคนอเมริกันทางบ้านด้วย

น่าตลกอยู่ในทีที่ก่อนจะมีการเดินหน้าเข้าสู่สงครามนี้ ได้มีคนเตือนแล้วเตือนอีกถึงผลลัพธ์อันใหญ่หลวงที่จะตามมา แต่รัฐบาลที่มีประชาชนอเมริกันส่วนใหญ่หนุนหลังอยู่ ก็ไม่ได้สนใจ ยังคงเดินหน้าต่อไป ณ วินาทีนี้ ไม่ได้มีแค่ตัวทหารและครอบครัวของทหารเท่านั้นที่ต้องรับเคราะห์จากสิ่งที่ตัวเองก่อขึ้น แต่ทั้งประเทศกำลังเผชิญชะตากรรมเดียวกัน กำลังถูกกดน้ำ จมน้ำตายอย่างช้าๆ ไม่ต่างจากสุนัข และภรรยา ในเรื่อง

ชื่อของหนังมาจาก 1 Samuel 17:47 คำว่า Valley of Elah อยู่ในภาคพันธสัญญาเดิม คือสถานที่ที่ David ต่อสู้เอาชนะนักรบฟิลิสเทียนาม Goliath ตัว David เป็นเด็กเลี้ยงแกะตัวเล็กที่สามาราถเอาขนะ Goliath ได้  Hank เล่าเรื่องนี้ให้ ลูกของ Emily ซึ่งบังเอิญชื่อ David เหมือนในเรื่องที่ Hank เล่าให้ฟัง Hank อธิบายให้  David ฟังว่าหัวใจของเรื่องอยู่ที่ ความกล้าหาญ' ยืนหยัดต่อสู้กับศัตรูไม่ว่าจะน่ากลัวเพียงใด ถึง David จะมีความกลัว แต่ David ก็ยังมีความกล้าหาญ และสามารถทำในสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ด้วย Hank อธิบายต่อว่าการที่จะเอาชนะศัตรูตัวเอ้นั้น ต้องล่อให้มันเข้ามาใกล้และล้มมันลง แบบที่ David ใช้หนังสติ๊กคว่ำ Goliath ( "draw 'em close, and you take 'em down.") พอเล่าจบ Emily บอกกับ David ว่านี่ไม่ใช่เรื่องจริงนะ Hank ตอบกลับทันควันว่าเป็นเรื่องจริงเพราะเรื่องนี้ก็อยู่ในคัมภีร์อัลกุรอ่านด้วย  ("Of course it's true. It's even in the Koran.")

สำหรับ Hank การจะเอาชนะคนชั่วนั้นต้องใช้ ความกล้าหาญ' และ ศรัทธา' ทำให้ David เลิกกลัวความมืดจากที่ต้องบอกให้ Emily แง้มประตูให้แสงเข้ามาในห้องนอนไว้ก่อนจะนอน Paul Haggis ไม่ได้ใส่เรื่องเล่านี้เข้ามาเพื่อสอน David เท่านั้น แต่เพื่อใส่ความหมายนัยที่เป็นแก่นเรื่องหลักของหนัง

การจะเอาชนะศัตรูต้องใช้ความกล้าหาญอย่างมาก ไม่ว่าศัตรูนั้นจะเป็นกองกำลังทหารอเมริกัน, การตายของลูกชาย, สิ่งที่เคยทำผิดไว้ในอดีต, ความฝันที่ปลุกให้ Hank ตื่นทั้งที่ตัวไม่เข้าใจ หรือกระทั่ง การพยายามใช้ชีวิตแบบปรกติหลังจากผ่านมรสุมชีวิต บางครั้งการหาข้อเท็จจริง ก็ง่ายกว่าการเผชิญหน้ากับความจริงมากเอาการอยู่ด้วย เพราะต้องอาศัยความกล้าเป็นพลังขับเคลื่อนในการเผชิญหน้าความจริงอันอัปลักษณ์

Paul Haggis ยังใช้เรื่องของ David กับ Goliath มาขนานกับสมรภูมิที่ Hank กำลังเผชิญ เพื่อจะค้นหาความจริงเกี่ยวกับลูกชาย และยังขนานกับสมรภูมิรบระหว่างทหารอเมริกันกับกลุ่มต่อต้านอเมริกาในอิรักอีกด้วย น่าสนใจตรงที่เรื่องของ David กับ Goliath ไม่ชี้ชัดลงไปแบบฟันธงว่าใครเป็น David และใครเป็น Goliath กันแน่ เพราะสามารถมองในรูปแบบของ allegory ได้ด้วย Hank อาจจะเห็นว่าตัวเองเป็น David กำลังสู้กับ กองกำลังทหารอเมริกันที่เป็น Goliath หรือ David อาจจะเป็น ความพยายามหาความจริงเกี่ยวกับการตายของลูกชาย Hank และ Goliath อาจเป็นความพยายาม/อำนาจของทางทหารที่จะปกปิดความจริงไม่ให้  Hank หรือใครก็ตามรู้

มองในแง่ของ  extended metaphor (ไม่ใช่แค่ metaphor อย่างเดียว) ที่สามารถส่งสารมากกว่าหนึ่งความหมาย  Hank อาจจะเห็นว่าตัวเองเป็น David กำลังสู้กับ ความรักชาติ' ของตัวเอง เป็น Goliath หรืออิรักเองก็เป็น Goliath หรือกองกำลังทหารที่ประจำการในอิรัก ก็เป็น Goliath ได้เหมือนกัน

มองจากอีกมุม Hank กับ Emily อาจจะเห็นว่าตัวเองเป็น David สู้กับตัวแทนกองกำลังทหารที่เป็น Goliath ถ้ามองจากอีกมุม Hank ซึ่งในหลายๆ ด้านเป็นตัวแทนของคนอเมริกัน กำลังทำตัวเหมือนคนอิสราเอลใน 1 Samuel 17:47 ยินดีที่จะเสียสละส่ง David ในรูปทหารไปตายในสงครามเพียงเพื่อเหตุผลทางการเมือง และถ้ามองจากอีกมุมแบบ irony อเมริกานี่แหละ ที่เป็น Goliath สู้กับ Iraq ที่เป็น David (สังเกตว่ามีเรื่องที่เกี่ยวกับเด็กๆ ในอิรักปรากฏอยู่เรื่อยๆ ตลอดทั้งเรื่อง)

Paul Haggis ไม่ได้ใช้แค่เรื่องของ David กับ Goliath มาเพิ่มมิติและความลุ่มลึกให้กับหนังเท่านั้น แต่ยังใส่ธงชาติอเมริกันเป็นสัญลักษณ์ที่นักวิจารณ์สัมพเวสีหลายคนเห็นว่าใส่เข้ามาแบบสั่วๆ แต่ผมกลับเห็นว่า ธงชาติอเมริกันเป็นสัญลักษณ์ที่ใส่มาได้ลงตัวเพื่อรับใช้ "สาร" ที่ต้องการส่งไปท้าทายแต่ไม่ดูถูกคนดูอีกด้วย

ธงชาติอเมริกันเป็นสัญลักษณ์ของ ความรักชาติ' และ สงคราม' และตัวผู้กำกับเองก็ใส่องค์ประกอบนี้เข้ามาเพื่อจะบอกว่าสงครามอิรักนั้นไม่ได้ให้อะไรที่เป็นสิ่งสร้างสรรค์เลย ในตอนต้น ขณะที่กำลังขับรถออกไปที่ฐานทัพเพื่อติดตามเรื่องของลูกชาย Hank อดีตทหารผ่านศึกสังเกตเห็นคนงานกำลังจัดวางธงชาติอเมริกันกลับหัว ในฐานะคนรักชาติก็ไม่รีรอที่จะเข้าไปแก้และชี้แจงถึงความสำคัญและความหมายนัยของการชักธงขึ้นสู่ยอดเสาแบบกลับหัว แต่ในตอนจบ หลังจากกลับมาบ้านจากฐานทัพ  Hank ทราบความจริงทุกประการเกี่ยวกับลูกชาย และเพื่อนๆ ของลูก รวมทั้งความอัปยศของกองทัพอเมริกาแล้ว Hank กลับมาบ้านได้รับพัสดุที่ลูกชายส่งมาให้ทางไปรษณีย์ก่อนตาย เป็นธงชาติอเมริกันมาพร้อมกับรูปถ่ายที่ลูกชายถ่ายกับทีมทหารและในรูปนั้นก็มีธงชาติอเมริกาโบกสะบัดอยู่ด้วย Hank จัดแจงเอาธงไปที่โรงเรียน และชักธงกลับหัวขึ้นสู่ยอดเสา เอาเทปพันเชือกไว้กับยอดเสา และบอกกับเจ้าหน้าที่ว่าให้เอาไว้อย่างนี้ตลอดห้ามแก้ ความหมายนัยของฉากนี้คือ ภายใต้หน้ากากแห่งความรักชาติ อเมริกากำลังเผชิญ ความป่วยไข้' ความโศกเศร้า' ความระทมทุกข์' ความทรมาน' ไม่ว่าจะรู้ตัวหรือไม่ก็ตาม อย่างที่ Hank บอกกับกับเจ้าหน้าที่ตอนต้นเรื่อง ธงชาติกลับหัวเป็นการส่ง สาร' ว่า ขอความช่วยเหลือ และยังเป็นสัญลักษณ์ของความเดือดร้อนภายในของประเทศ บอกกับอเมริกันชนว่าจะทำเป็นทองไม่รู้ร้อนไม่ได้แล้ว

การแสดง' ใน In the Valley of Elah ถือเป็นจุดแข็งสำคัญในเรื่อง โดยเฉพาะ Jones กับบท Hank ด้วยบทพูดไม่มากมาย หากแต่ด้วยการแสดงชั้นบรมครูที่ได้เปิดเผยอีกหลายสิ่งหลายอย่างของอดีตทหารผ่านศึกคนนี้ สื่ออกมาทั้งแววตา สีหน้า ท่าทางอย่างหมดจด Hank เป็นอดีตทหารผ่านศึกที่หล่อหลอมตัวตนได้น่าชื่นชม เคร่งต่อระเบียบวินัย ขัดรองเท้าก่อนนอนทุกคืน จัดเตียงทุกเช้า Jones แสดงได้เยี่ยมมากซ่อนความรู้สึกขัดแย้งและสับสนในใจระหว่าง ความรักชาติ' กับ สิ่งที่ชาติทำกับตัวเองและลูก'

ด้วยความที่เป็นอดีตทหารผ่านศึกทำให้รู้จัก ขั้นตอน' และ ทางหนีทีไล่' ทั้งของทางกองทัพและตำรวจได้อย่างดี เชื่อว่าทุกคนในกองทัพนั้นโกหก แทนที่จะทำการสอบปากคำเพื่อนของลูกชาย Hank กลับหลอกล่อด้วยการใช้เหล้าบุหรี่ ให้เพื่อนของลูกแต่ละคนค่อยๆ คายความลับออกมาเพื่อปะติดปะต่อทีหลัง และยังตีความรายละเอียดหลักฐานจากที่เกิดเหตุได้เก่งกว่าตำรวจที่ควรจะทำหน้าที่นี้ด้วยซ้ำ

ทหารผ่านศึกส่วนใหญ่เมื่อกลับมาบ้าน มักจะไม่ใช่คนเดียวกับที่คนทางบ้านรู้จัก Hank ก็คงเป็นแบบเดียวกัน คนดูอาจจะไม่แน่ใจว่า Hank กำลังคิดอะไรอยู่ แต่สามารถรู้สึกได้ว่าตัวละครรู้สึกอย่างไรบ้าง จากสีหน้า สายตา ภาษากายที่ Jones แสดง สังเกตสีหน้าของ Hank ตอนที่รู้ว่าพบศพลูกชายแล้ว เป็นภาพที่ปวดใจสำหรับคนเป็นพ่อแม่เหลือเกิน ดูฉากนี้แล้วแทบหัวใจสลาย กลั้นน้ำตาแทบไว้ไม่อยู่

Jones ทำให้คนดูสัมผัสได้ว่า Hank กำลังจะน้ำตาไหลแต่ในเวลาเดียวกันก็ไม่ยอมให้มันไหลออกแม้แต่หยดเดียว ทำได้เพียงแค่ยื่นมือให้ภรรยาจับเอาไว้และพยายามพาภรรยาออกจากห้องเก็บศพ Hank ต้องจ้องเขาไปในเศษดวงตาที่เจ็บปวดของลูก และกลายเป็นพ่อผู้สูญเสียไปแทบจะทันทีเช่นกัน และในขณะเดียวกันก็ตระหนักว่าสงครามได้เปลี่ยนแปลงชีวิตลูกชายไปจนสุดที่ลูกชายจะทนได้แล้ว

คนดูสัมผัสได้ถึงความเศร้าที่คนเป็นพ่อต้องอัดอั้นเอาไว้ รู้ว่าตัวเองได้พลาดอะไรไปมากมายนัก และจะไม่ได้ยินเสียงร้องขอความช่วยเหลือจากลูกอีกต่อไปแล้ว

Theron เองก็ไม่แพ้กันกับบท Emily ตำรวจหญิงคนเดียวในสถานี และเป็นคนเดียวในสถานีตำรวจที่ช่วย Hank สืบคดีอย่างจริงจัง และยังเล่นเป็นแม่เลี้ยงลูกคนเดียว คดีฆาตกรรม Mike เป็นโอกาสเดียวที่ Emily จะได้แสดงฝีมือตำรวจและต้องเหยีบตาปลาเพื่อนร่วมงานอีกหลายคน รวมทั้งหัวหน้า (Josh Brolin) เพื่อสะสางคดีให้ได้ บุคลิกกับการทำงานดูเหมือน Emily จะทำได้ดีกว่าผู้ชายด้วยซ้ำ

สังเกตความสัมพันธ์ระหว่างสองตัวละครนี้ให้ดี จะพบว่า ทั้งคู่เป็นตัวละครที่ต่างกัน แต่ต้องมาร่วมงานกัน ถึงแม้ว่า Hanks จะดูเก่งกว่าด้วยประสบการณ์ที่โชกโชน Emily ก็ไม่ได้รู้สึกกลัวอะไร หนำซ้ำยังทำหน้าที่ของตัวเองได้ดีกว่าที่เคยทำมาด้วย

Susan Sarandon แม้จะได้บทเล็ก แต่มีพลังมาก แสดงให้เราเห็นว่า นักแสดงตัวจริง'  สามารถ แสดงได้อย่างมีพลัง' แม้ว่าจะไม่มีเวลาบนจอให้แสดงมากนัก ในฉากที่ดื้อดึงเพื่อจะมาดูหน้าลูกชายด้วยตัวเอง และเป็นครั้งสุดท้าย โดยมี Hank ยืนอยู่ข้างๆ ภาพของลูกชายที่บิดเบี้ยวไป และเหลือไว้แค่ซาก เพียงแค่นั้น ตั้งแต่วินาทีที่ Hank โอบรั้งภรรยาตัวเองไว้ จนกระทั่งพาเดินออกจากห้องเก็บศพไป Sarandon สุดยอดกับบทแม่ที่ต้องหัวใจสลายกับการสูญเสียลูกชายคนสุดท้ายที่มีอยู่ ทำเอาคนดูหัวใจสลายได้แบบไม่รู้ตัว ฉากนี้ เปรียบต่าง' กับบทของ Hank ตรงที่ Joan ได้แสดงอารมณ์สุดๆ อย่างที่แม่ที่เสียลูกชายสมควรรู้สึก ขณะที่ Hank ต้องเก็บอารมณ์โศกเศร้าเอาไว้กับตัว บวกกับความรู้สึกขัดแย้งในใจแบบทวีคูณ

คนดูจะได้สัมผัสความโศกเศร้า ที่คนเป็นพ่อและแม่ซ่อนเอาไว้ผ่านการแสดงของ Jones และ Sarandon สังเกตความสัมพันธ์ระหว่างสองตัวละครนี้ให้ดี จะพบว่า Joan รัก Hank มาก แต่ก็โทษ Hank ที่เป็นสาเหตุให้เธอต้องเสียลูกทั้งสองคนไปกับสงครามอันไร้สาระ

ทั้งสามคนได้เล่นบทที่ซับซ้อนและท้าทายมาก และยิ่งน่าสนใจมากขึ้น เมื่อนำเข้ามาใส่ในบริบทของแต่ละฉาก แทนที่ Paul Haggis จะให้ สาร' ของหนังออกมาปากคำพูดของตัวละครแบบตรงๆ กลับทำในสิ่งที่น่ายกย่องกว่า คือใช้การแสดงของตัวละครส่ง สาร' ผ่าน บุคลิกตัวละคร สภาพแวดล้อม การแสดงออกของตัวละคร เหตุการณ์ที่ตัวละครต้องเผชิญ และปฏิกิริยาที่ต้อเหตุการณ์นั้น

ด้วยตัวหนังที่ส่งสารอันแสนจะหดหู่ Paul Haggis กลับสามารถ ยกระดับเรื่องราวของ Hank กับลูกชายให้มาเป็น allegory ระดับชาติ และส่ง สาร' ที่ไปได้ไกลมากกว่าแค่เรื่องการเมือง เมื่อสัปดาห์ที่ผ่ามามีการประโคมข่าวครบรอบปีที่ 5 ของ สงครามอิรัก และย่างเข้าปีที่ 6 ผ่านสถานีโทรทัศน์ยักษ์ใหญ่ทุกสถานีในอเมริกา ทั้งยอดทหารชาวอเมริกันผู้เสียชีวิตจากสงครามอิรักที่เพิ่มขึ้นจนมากกว่า 4,000 นาย ทหารบาดเจ็บอีกกว่า 29,000 นาย และกำลังเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ใครที่ยังไม่โดนล้างสมองโดยสื่อที่ไร้จริยธรรมก็ควรจะตระหนักรู้ว่า ประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกาที่เฮงซวยที่สุดในโลก ได้สร้างความสูญเสียครั้งใหญ่ของอเมริกันชน ชนิดที่ทิ้งสงครามเวียดนามแบบไม่ติดฝุ่น

จนกระทั่งวันนี้ ยังไม่มีใครสามารถให้เหตุผลที่ฟังขึ้นได้เลยว่า ทหารที่เสียชีวิตไปนั้น เป็นไปเพื่ออะไรกันแน่  ในสมรภูมิที่รัฐบาลอเมริกันอ้างว่าเป็นการทำเพื่อชาตินั้น แต่สำหรับมุมมองของทหารผู้เสียสละกลับไม่ได้งามงด ไม่ได้เต็มไปด้วยอุดมการณ์เลิศหรูเหมือนหนังแอ็คชั่นทั่วไป ตรงกันข้าม หากไม่เสียชีวิตหรือบาดเจ็บ บรรดาทหารผู้รักชาติทั้งหลาย ต่างกลับมาในสภาพที่เต็มไปด้วยบาดแผลทางจิตใจ และบางครั้งมันยังส่งผลร้ายมายังครอบครัวหรือคนที่รักอีกด้วย

In the Valley of Elah เหมาะสำหรับคนชอบเอาไปคิดต่อและไม่หวั่นที่จะเผชิญหน้ากับปัญหา กล้าพูดถึงปัญหา และไม่ปล่อยให้ปัญหานั้น ส่งต่อไปเป็นภาระยังคนรุ่นลูกรุ่นหลาน เป็นหนังที่ออกมาได้ถูกที่ถูกเวลา และถูกอารมณ์จริงๆ

ห้ามพลาดด้วยประการทั้งปวง

 

 

--------------------------------------------------------------

ตามไปอ่านต่อได้ที่บล็อกของ Between the frames

http://www.oknation.net/blog/betweentheframes

http://blog.nationmultimedia.com/betweentheframes/

บล็อกของ Cinemania

Cinemania
  ธวัชชัย ชำนาญหนังรักโรแมนติกเป็นอะไรที่คนไทยให้ความสนใจโดยเฉพาะกลุ่มวัยทีนทั้งหลาย อย่างที่เพิ่งเข้าโรงไปอีกเรื่องก็คือ Happy Birthday เป็นความรักแบบโศกซึ้งน้ำตาซึมแห่งปีไปเลยก็ว่าได้ สาวๆหลายคนออกมาคงรำพันกับตัวเองไม่น้อย "ผู้ชายแบบนี้ยังมีอีกไหมหนอ"แต่สัปดาห์นี้ กระผมขอนำความรักในอีกแบบหนึ่งมาเสนอ เป็นหนังรักแห่งแดนอิเหนา หรืออาจเรียกได้ว่าเป็นหนังรักแนวของประเทศมุสลิม คือเป็นหนังรักที่มีศาสนา จารีต ประเพณี และกฎหมายเข้ามาเกี่ยวข้องกับชีวิตรักของตัวละคร อย่างน้อยๆ หนังเรื่องนี้เป็นการสร้างสรรค์ให้วงการหนังแนวโรแมนติกในอีกมุมมองหนึ่งของความรักหนังเรื่องนี้ชื่อ ‘Ayat Ayat Cinta'…
Cinemania
 พิชญ์ รัฐแฉล้ม   " องค์บาก 2 " ภาพยนตร์แนวแอ็คชั่นฟอร์มยักษ์ส่งท้ายปี 2551 นำแสดงโดย ‘จา' พนม ยีรัมย์ หรือ ‘โทนี่จา' ในวงการภาพยนต์โลก ถือฤกษ์มงคล 5 ธันวาคม เข้าฉาย ทีมผู้สร้างวางเป้าหมายไว้ ‘องค์บาก 2' จะต้องประสบความสำเร็จอย่างงดงามสวนกระแสภาวะเศรษฐกิจโลกในปัจจุบัน บัดนี้..ผ่านมาแล้วสองสัปดาห์เต็มที่ภาพยนตร์ได้ออกฉายให้แฟนๆ จา พนม ที่ชื่นชอบภาพยนตร์แนวแอ็กชั่นได้สัมผัสอย่างเต็มตา และได้รับการตอบรับจากแฟน จา พนม เป็นอย่างดีจนสามารถฉลองความสำเร็จของรายได้ที่ทะลุเป้าหมายร้อยล้านในสัปดาห์ที่ผ่านมาอย่างไรก็ตาม เป็นที่รู้ๆกัน ‘องค์บาก 2'…
Cinemania
  หมายเหตุ: “บันทึกอิสรา” แสดงที่มะขามป้อมสตูดิโอ ในวันที่ 9-15 ธันวาคม เวลา 19.30น. เสาร์-อาทิตย์ เวลา 14.00น.  รายละเอียดเพิ่มเติมสามารถดูไปที่ www.makhampomstudio.net        “เรื่องราว... ถ้าไม่เล่าสู่กันฟัง คนข้างหลังก็จะลืม... เลือนราง” เนื้อร้องท่อนหนึ่งจากละครร้องเรื่อง “บันทึกอิสรา” ว่าเอาไว้ ชวนให้นึกเห็นด้วยไม่น้อย ทุกวันนี้ถ้าจะย้อนกลับไปดูประวัติศาสตร์ที่ผ่านพ้นมา ก็พบว่า ประวัติศาสตร์ของหลายๆ อย่างในประเทศนี้ไม่เคยจะสมบูรณ์เสียที ประวัติศาสตร์บางแบบแม้จะเรียนแล้วก็ต้องเรียนอีก…
Cinemania
ไก่ย้อย หมายเหตุ: จดหมายฉบับนี้สร้างขึ้นจากเรื่องจริงแต่แอบอิงวิธีการนำเสนอจากภาพยนตร์เรื่อง ‘เพื่อนสนิท’ โดยสมมติเหตุการณ์ว่าเป็นภาคต่อของภาพยนตร์ต้นฉบับ หากใครยังไม่มีโอกาสได้รับชมภาพยนตร์เรื่องนี้ บางทีก็อาจจะไม่เข้าใจมุกเห่ยๆ ของผู้เขียน  ส่วนใครที่ไม่อยากอ่านจดหมายฉบับนี้ ผู้เขียนก็ขอร้องว่าอย่าอ่านเลยนะพวกคุณ   ถึงเพื่อนๆ หากพวกแกได้อ่านจดหมายฉบับนี้ ฉันขอร้องพวกแกอย่างหนึ่งนะว่า “อย่าคิดมาก” เพราะที่ผ่านมาเหตุการณ์บ้านเมือง และวงการวิชาการของไทยมันก็มีเรื่องซีเรียสมากมายกันพออยู่แล้ว ฉะนั้นพวกแกอย่าเสียเวลาเปลืองมันสมองเพื่อขบคิดกับจดหมายบ้าๆ บอๆ ของฉันอยู่เลย…
Cinemania
  จันทร์ ในบ่อ 20th Century Boys หรือเด็กในศตวรรษที่ 20 เป็นภาพยนตร์ที่นำเรื่องราวจากการ์ตูนชื่อเดียวกันมาสร้าง (การ์ตูนชื่อไทยว่า แกงค์นี้มีป่วน) เป็นผลงานเรื่องเด่นจากค่าย Shogakukan แต่งโดย Naoki Urasawa คนเดียวกับผู้เขียน Monster (คนปีศาจ)  20th Century Boys ยังคว้ารางวัลการ์ตูนยอดเยี่ยมครั้งที่ 48 จาก Shogakukan  รางวัลชนะเลิศในงาน Media Art ครั้งที่ 6 ของทบวงวัฒนธรรมญี่ปุ่น และรางวัลการ์ตูนยอดเยี่ยม ครั้งที่ 25 จาก Kodansha คอการ์ตูนเองคงรู้ดีถึงความยอดเยี่ยม ส่วนฉบับภาพยนตร์ดูแล้วก็คิดว่าว่าไม่เสียรสชาติครับ ด้วยข้อจำกัดของหนังด้านเวลาเมื่อเปรียบเทียบกับเนื้อหา…
Cinemania
จันทร์  ในบ่อ หายหน้ากันไประยะหนึ่งสำหรับคอลัมภ์หนังรายสัปดาห์ของประชาไท ‘Blogazine' เลยขออนุญาตทำหน้าที่คั่นเวลาแทน ‘นพพร ชูเกียรติศิริชัย' ที่ช่วงนี้กำลังยุ่งกับการอพยพย้ายถิ่นฐาน ถ้าทุกอย่างลงตัวแล้วจะกลับมาทำหน้าที่เหมือนเดิมครับ ส่วนช่วงคั่นเวลาสัปดาห์นี้ผมขอชวนคุยเรื่อง ‘ปืนใหญ่จอมสลัด' ที่กำลังลงโรงฉายเลยแล้วกัน   คงไม่ต้องการันตีคุณภาพให้มากขึ้นเมื่อปืนใหญ่จอมสลัดเป็นฝีมือกำกับเรื่องล่าสุดโดย ‘นนทรีย์ นิมิบุตร' และเขียนบทโดย ‘วินทร์ เลียววารินทร์' นักเขียนรางวัลซีไรต์ ใช้ทุนสร้างร่วม 200 ล้านบาท ภาพยนตร์ออกฉายปฐมทัศน์ครั้งแรกในเทศกาลภาพยนตร์เมืองคานส์ 2008…
Cinemania
  จันทร์  ในบ่อ หายหน้ากันไประยะหนึ่งสำหรับคอลัมภ์หนังรายสัปดาห์ของประชาไท ‘Blogazine' เลยขออนุญาตทำหน้าที่คั่นเวลาแทน ‘นพพร ชูเกียรติศิริชัย' ที่ช่วงนี้กำลังยุ่งกับการอพยพย้ายถิ่นฐาน ถ้าทุกอย่างลงตัวแล้วจะกลับมาทำหน้าที่เหมือนเดิมครับ ส่วนช่วงคั่นเวลาสัปดาห์นี้ผมขอชวนคุยเรื่อง ‘ปืนใหญ่จอมสลัด' ที่กำลังลงโรงฉายเลยแล้วกัน   คงไม่ต้องการันตีคุณภาพให้มากขึ้นเมื่อปืนใหญ่จอมสลัดเป็นฝีมือกำกับเรื่องล่าสุดโดย ‘นนทรีย์ นิมิตรบุตร' และเขียนบทโดย ‘วินทร์ เลียววารินทร์' นักเขียนรางวัลซีไรต์ ใช้ทุนสร้างร่วม 200 ล้านบาท ภาพยนตร์ออกฉายปฐมทัศน์ครั้งแรกในเทศกาลภาพยนตร์เมืองคานส์ 2008…
Cinemania
  นพพร ชูเกียรติศิริชัยImagine : John LennonImagine there's no heavenIt's easy if you tryNo hell below usAbove us only skyImagine all the people  Living for todayImagine there's no countriesIt isn't hard to doNo greed or hungerAnd no religion tooImagine all the people  Living life in peaceYou may say I'm a dreamerBut I'm not the only oneI hope someday you'll join usAnd the world will live as oneImagine no possessionsI wonder if you canNothing to kill or die forA brotherhood of manImagine all the peopleSharing all the worldผมเคยได้ยินและได้ฟังเพลง Imagine…
Cinemania
  นพพร ชูเกียรติศิริชัย  อังกฤษ ปี ค.ศ. 1983 ยุคที่รองเท้า ‘บู้ท' สไตล์ Dr.Matins ทรงผม ‘สกรีนเฮด' เสื้อเชิ้ต ‘ลายสก๊อต' และกางเกงยีนส์ คือสัญลักษณ์แห่ง ‘อำนาจ' ที่เหนือกว่าชนชาติอื่นในหมู่เยาวชนชาวอังกฤษ ‘ชอน' เด็กชายวัย 12 ผู้ฝังใจอยู่กับการสูญเสียพ่อไปในสมรภูมิเกาะฟอร์คแลนด์ (สงครามแย่งชิงเกาะฟอร์แลนด์ระหว่างประเทศอังกฤษและ อาเจนติน่า) กำลังเริ่มต้นค้นหาชีวิตในวัยหนุ่มกับกลุ่มเยาวชนรุ่นพี่  เขาถูกสอนให้รู้จักกับความเป็นกลุ่มก้อน หรือความเป็นสถาบันผ่านเครื่องแต่งกายสไตล์ขาโจ๋เมืองผู้ดีในช่วงต้นคริสตศตวรรษที่ 20 เขาถูกสอนให้รู้จักกับความเป็น ‘ชาย' ผ่าน ‘เกมส์'…
Cinemania
ชญานุช เล็กตระกูลชัย    ภาพจาก http://en.wikipedia.org/wiki/Mona_Lisa_Smile   “ศิลปะคืออะไร อะไรที่ทำให้มันดีหรือแย่ แล้วใครเป็นคนกำหนด” “ศิลปะไม่ใช่ศิลปะ จนกว่าจะมีคนบอกว่าใช่… มันมีมาตรฐาน เทคนิค องค์ประกอบ สี และหัวข้อ” (บางส่วนของบทสนทนาระหว่างตัวละคร ‘แคเธอรีน วัตสัน’ (จูเลีย โรเบิร์ตส์) อาจารย์ประจำภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ และ ‘เบ็ตตี้ วอร์เร็น’ (เคิร์สเตน ดันสต์) นักศึกษาสาวจากวิทยาลัยเวสลี่ย์คอลเลจ) ปรัชญา ศิลปะ และกระบวนการทำให้ ‘หญิง’ เป็น ‘หญิง’ ภาพยนตร์เรื่อง Mona Lisa smile นำเสนอภาพสะท้อนของสังคมตะวันตก (ทั้งยุโรป และอเมริกา) ในช่วงต้น…
Cinemania
  นพพร ชูเกียรติศิริชัย  ภาพจาก http://www.japclub.com/dvd_box/j-bics/2008_may/Crows-Zero.htm    ผมเป็นผู้หนึ่งที่รู้สึกอิดหนาระอาใจกับสถานการณ์บ้านเมืองของเรา (หรือเปล่า?) ในช่วงหลายสัปดาห์ที่ผ่านมา เพราะผมไม่เคยคาดคิดว่า ภาพการไล่กระทืบกันอย่างเมามันด้วยความมุ่งหวังที่จะพิชิตฝ่ายตรงข้าม (ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายไหน) จะเกิดขึ้นในสังคมที่เที่ยวประกาศกับใครต่อใครว่าเป็นสังคมที่ยึดมั่นอยู่ในพระพุทธศาสนาอย่างเข้มข้น ‘ฉากชีวิตจริง’ นั้นดุเด็ดเผ็ดมันกว่า ‘หนังบู๊’ ที่ดูผ่านหน้าจอหลายเท่านัก และดูจะสยดสยองกว่า ‘คลิปวีดีโอเด็กนักเรียนตบกัน’ เป็นไหนๆ  ส่วน ‘…
Cinemania
  นพพร ชูเกียรติศิริชัย   "to prove the Faustian dream to be a nightmare" ผมมีโอกาสประสบพบกับประโยคภาษาอังกฤษข้างต้นเป็นครั้งแรกในหนังสือ ‘POST MODERN : ชะตากรรมโพสต์โมเดิร์นในอุ้งมือนักปรัชญาการเมืองโบราณ' ของ อาจารย์ไชยันต์ ไชยพร และตั้งแต่วันนั้นผมก็ไม่เคยคิดว่าผมจะต้องนึกถึงมันอีกเลยไม่ว่าจะในกรณีใดๆ แต่แล้ววันดีคืนดี ในขณะที่ผมกำลังนั่งเพลิดเพลินเจริญอารมณ์อยู่กับภาพยนตร์เรื่อง Hellboy 2 : The Golden Army หลายๆ ฉาก หลายๆ ตอนในภาพยนตร์กลับทำให้มันสมองของผมเกิดระลึกถึงคำอธิบายเกี่ยวกับ ‘the Faustian dream' ของอาจารย์ไชยันต์ (ไชยพร) ขึ้นมาอย่างกระทันหัน …