Skip to main content

 

“ไม่มีพ่อแม่ ไม่มีความฝัน ไม่มีเพื่อน ไม่มีสิ่งที่อยากทำ ทุกอย่างเปลี่ยนไปเมื่อมีคัพเข้ามา คัพทำให้ฉันกล้าเลี้ยวไปในเส้นทางที่ไม่รู้จัก ไปในที่ที่ไม่เคยไป ถ้ามีคัพแล้วละก็ที่ไหนก็ไปได้”

                คำพูดถึงความรู้สึกที่มีต่อมอเตอร์ไซด์ Super Cub จากปากของเด็กสาวม.ปลายชื่อ โคกุมะ นักเรียนทุนยากจน ที่จากประวัติน่าจะเป็นเด็กกำพร้าที่อาศัยอยู่ในเมืองแห่งนี้ เมื่อถึงขึ้นม.ปลาย เธอต้องปั่นจักรยานขึ้นเนินไปยังโรงเรียนอันแสนลำบากยากเย็น ทำให้โคกุมะเป็นเด็กสาวที่ไม่มีเพื่อน ไม่มีมนุษยสัมพันธ์ใด ๆ ไม่เข้าชมรม ไม่คุยกับใคร นั่งกินข้าวคนเดียว และ กลับบ้านคนเดียว เพราะ การขี่จักรยานนั้นใช้พลังงานมากทำให้เธอไม่คิดจะไปไหน จนกระทั่ง วันหนึ่งเธอมองเห็นเด็กสาวคนหนึ่งที่ขี่จักรยานนำหน้าเธอไปอย่างมีความสุข เธอคิดว่า ต้องเปลี่ยนแปลงตัวเอง และ นำมาสู่การซื้อ Super Cub มือสอง ที่ที่จะทำให้เธอเปลี่ยนแปลงแล้วไปไกลกว่านี้ในอนาคต

                ผลงานที่เสมือนเป็นโฆษณามอเตอร์ไซด์ Super Cub ขนาดยาวนี้ เป็นผลงานจากไลท์โนเวลของ โทเนะ โคเค็ง ออกวางจำหน่ายมาจนถึงเล่ม 7 แล้ว และ มีการทำเป็นมังงะหรือหนังสือการ์ตูนออกวางจำหน่ายภายใต้ลิขสิทธิ์ของ Kadokawa ก่อนจะกลายเป็นอนิเมชั่นฉายทาง Muse Asia ทั้งหมด 12 ตอน และ พึ่งฉายตอนจบไปเมื่อไม่นานมานี้ แน่นอนว่า ตัวเรื่องได้รับกระแสตอบรับค่อนข้างดี เนื่องจากเป็นเรื่องที่ดูสบาย ๆ สโลวไลฟ์ และ มีความเติมเต็มหัวใจของตัวเองอย่างยิ่ง

                สิ่งที่น่าสนใจในอนิเมชั่นเรื่องนี้นอกจากพัฒนาการของตัวละครเอกอย่าง โคกุมะ ที่ค่อย ๆ เปลี่ยนแปลงไปจากเด็กสาวเงียบ ๆ กลายเป็นยัยตัวแสบ บ้าระห้ำ แสบสันต์ และ เป็นจอมซิ่งในเรื่องได้อย่างน่าตกใจ ชีวิตไม่มีสีสันของเธอเริ่มมีเพื่อนเข้ามาทีละน้อย อาทิ เรโกะ เพื่อนร่วมห้องที่มีความฝันอยากขี่ฮันเตอร์ไปพิชิตเขาฟูจิ หรือ ชิอิ เด็กสาวบ้านรวยตัวเล็กที่อยากทำร้านของบ้านให้เป็นร้านสไตล์อิตาลี การมาของทั้งคู่มาจากการขี่คัพของโคกุมะเองที่ได้ยื่นมือเข้าไปและช่วยเหลือทั้งสองคนจนกลายเป็นสิ่งมีค่าอย่างมากสำหรับเธอ

                เด็กสาวคนนี้เปลี่ยนแปลงกลายเป็นคนที่กล้า และ พร้อมรับมือกับเรื่องราวของตัวเอง

                แน่นอนว่า ตัวเรื่องพูดถึง Super Cub แบบนี้ คงไม่แปลกหรอกหากผู้สนับสนุนหลักของเรื่องนี้คือ Honda น่ะเอง ที่กล่าวว่า น่าจะเป็นผลงานโคกันระหว่าง Honda กับ นิยายเรื่องนี้ที่ทำให้ออกมาเป็นเหมือนงานโฆษณาชั้นดีเพื่อฉลองยอดขายของ Super Cub หนึ่งร้อยล้านคัน และ ยังคงเป็นมอเตอร์ไซด์คลาสสิคที่ยังมีคนสนใจและสะสมอย่างมากมาย

               

แถมกล่าวว่า พอเรื่องนี้ออกฉายคนก็อยากได้ Super Cub มาขับกันทีเดียว

                นี่คือ พลังของการโฆษณาที่แฝงอยู่ในเรื่องนี้

                นอกจากการขายมอเตอร์ไซด์แล้ว สิ่งที่เรื่องนี้ใส่ลงไปนั้นคือ การพูดถึงวัฒนธรรมท้องถิ่น การท่องเที่ยว รวมไปถึงชนบทบ้านเมืองยังดีที่ทำให้เราต้องมองย้อนกลับมาว่า อนิเมชั่นที่สามารถทำให้เราอยากไปเที่ยวหรืออยากไปอยู่เมืองเหล่านี้ได้ทันที

                มันคือ พลังของสิ่งที่เรียกว่า Soft Power

                ซึ่งญี่ปุ่นนั้นนับว่า เก่งมากในการสอดแทรกการโฆษณาทั้งสถานที่ท่องเที่ยว สินค้าไปจนถึงวัฒนธรรมลงไปได้อย่างแนบเนียน และ ไม่ยัดเยียด แถมยังสะท้อนถึงภาพการเมือง การปกครอง และระบบประชาธิไคยที่แตกต่างจากประเทศของเราอย่างมาก ซึ่ง Super Cub ทำให้เรามองเห็นภาพน่าสนใจเกี่ยวกับพลังของ Soft Power จากอนิเมชั่นเรื่องนี้

  1. น้ำประปากินได้ ถนนสีขาว ขยะมีถังรองรับ  การพัฒนาของท้องถิ่นที่มีประสิทธิภาพ

                Super Cub ดำเนินเรื่องอยู่ในเมืองโฮคุโตะ จังหวัดยามานางิ ของประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นจังหวัดที่อยู่ภาคกลางของญี่ปุ่น และ ถูกล้อมรอบด้วยหุบเขาจนเหมือนถูกตัดขาดจากโลกภายนอกอย่างสิ้นเชิง พูดตรง ๆ คือ ที่นี่ไม่มีอะไรน่าสนใจเลยสำหรับโคกุมะที่ใช้ชีวิตในเมืองนี้แบบไร้สีสันและเบื่อหน่าย (ด้วยว่า เป็นนักเรียนทุน และ ขี่จักรยานไปมาในเมืองนี้) จนกระทั่งเธอได้ซื้อ Super Cub มือสองมาในราคา 10000 เยน ชีวิตของเธอก็เปลี่ยนไป แต่สิ่งที่ทำให้เราสอนใจคือ เมืองโฮคุโตะที่โคกุมะอยู่นี่ละ

                แม้จะเป็นเมืองที่อยู่กลางเขา ไกลปืนเที่ยง แต่ ตัวเมืองนี้ก็เรียกได้ว่า เป็นเมืองที่มีสาธารนูปโภคพร้อมสรรพ และ ทำออกมาอย่างดี ไม่ลวก ๆ หรือ ตั้งเสาไฟกินรีเล่น ๆ ถนนในเรื่องถูกลาดยางทำอย่างดี เช่นเดียวกับเสาไฟที่มีตั้งเอาไว้แทบทุกจุดส่งผลให้ถนนแทบไม่มีความมืดเลย

                เรียกได้ว่า ปลอดภัยอย่างแจ่มแจ้ง

                รวมทั้งไฟแดงที่ถูกติดตั้งและทำงานตลอด 24 ชั่วโมง

                แต่ที่เรียกได้ว่า เป็นสิ่งที่ทำให้คนดูถึงกับฮือฮาก็คือ ฉากที่โคกุมะไปเยี่ยมบ้านของเรโกะ และ เรโกะถามว่า จะชงกาแฟให้ แต่โคกุมะบอกว่า ขอน้ำเปล่าพอ สิ่งที่เราได้เห็นคือ เรโกะไปเปิดน้ำประปาแล้วเอาให้โคกุมะทานแทน

                ฉากนี้สร้างความฮือฮาให้กับคนดูมาก ๆ เพราะ ในประเทศไทยเรานั้น แม้จะความพยายามหลายต่อหลายครั้งจะทำให้น้ำประปากินได้ (โดยเฉพาะกรุงเทพที่มีการตั้งที่ดื่มน้ำก๊อกเอาไว้ตามทางด้วยซ้ำ แต่ปัจจุบันมันอยู่ในสภาพร้าง ฝุ่นจับ และ ไม่มีใครใช้อยู่จำนวนมาก) นี่ไม่รวมในจังหวัดอื่น ๆ ที่น้ำก๊อกอยู่ในสภาพกินไม่ได้ ดำบ้าง เป็นโคลนบ้าง บ่งบอกถึงสุขภาวะอนามัยของน้ำประปาอย่างดี

                นั้นทำให้คนไทยส่วนมากนิยมซื้อน้ำดื่มกินกันมาก เพราะ สะอาดปลอดภัยได้มากกว่า และ ทำให้น้ำดื่มในไทยมีราคาไม่แพงมากนัก

                ในขณะที่ญี่ปุ่นนั้นน้ำประปาได้รับการดูแลอย่างดีจนสะอาดและกินได้อย่างแท้จริง แถมยังเป็นสวัสดิการที่ประชาชนควรจะได้อีกต่างหาก ดังนั้นน้ำดื่มบรรจุขวดของญี่ปุ่นจึงมีราคาที่แพงกว่าด้วยเหตุผลนี้ (และยังมีการทำให้มันเป็นน้ำแร่ หรือ น้ำเกลือแร่ต่างจากน้ำเปล่าธรรมดาน่ะเอง)

                ความฮือฮานี้สะท้อนถึงการพัฒนาท้องถิ่นผ่านประชาชนเป็นศูนย์กลาง ผู้ว่า และ องค์กรส่วนท้องถิ่นต้องทำการเลือกตั้งแทบทั้งหมด โดยไม่มีการแต่งตั้งจากส่วนจังหวัดเลย ข้าราชการทำงานตามนโยบายจากส่วนท้องถิ่นที่ได้รับการเลือกตั้งมาอย่างเต็มที่

                ทำให้ท้องถิ่นสามารถทำนโยบายต่าง ๆ ทั้งการดูแลเมือง ปรับปรุงสาธารณูปโภค และ นโยบายส่งเสริมอื่น ๆ อาทิ เรื่องนี้ที่เป็นอนิเมะโปรโมทการท่องเที่ยวของโฮคุโตะไปพร้อม ๆ กัน

                ไม่ใช่แค่ Super Cub แนวคิดนี้ยังมีปรากฏในอนิเมชั่นอื่น ๆ อาทิ Zombieland Saga ที่เป็นอนิเมะโปรโมทจังหวะซากะ หรือ Yuru Camp อนิเมชั่นตั้งแคมป์ไฟที่โปรโมทเมืองยามานาชิจนกลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่ผู้คนไปตามรอยกัน และ สร้างเม็ดเงินจำนวนมากให้กับท้องถิ่นอย่างมหาศาล

 

                แม้จะมีการต่อต้านหรือทำท่าเบื่อหน่ายนักท่องเที่ยวจากคนในท้องถิ่นบ้าง แต่ความสำเร็จและรายได้ที่เข้ามาก็มากพอจะทำให้บอกได้ว่า การสนับสนุนของท้องถิ่นทำให้อนิเมชั่นเหล่านี้สร้างเม็ดเงินและความน่าสนใจให้กับเมืองได้อย่างดี

                เมื่อมีเงิน นอกจาก งบประมาณรัฐ และ ความคิดสร้างสรรค์ของคนญี่ปุ่นและเข้าใจวัฒนธรรมซอฟพาวเวอร์ก็ไปพัฒนาท้องถิ่นได้แบบเต็มที่

                เราจึงเห็นโคกุมะขี่ Super Cub บนถนนไร้ฝุ่น เรียบด้วยลาดยางอย่างดี ไฟข้างทางสว่างมองเห็นด้านหน้าได้ชัดเจน ถังขยะพร้อม รวมทั้ง น้ำประปากินได้ แก๊สเข้าถึงทุกครัวเรือน

                มันคือ ภาพของพลังอำนาจของชุมชนที่มีต่อการเลือกตัวแทนและประชาธิปไตยอันเข้มแข็งที่ประชาชนมีส่วนร่วมในการปกครองท้องถิ่นตั้งแต่ต้นจนปลายน้ำทีเดียว

  1. วัฒนธรรมบ้าน ๆ ทำยังไงให้ป๊อป

                เบื่อไหมครับ บางทีที่เวลาดูผลงานบันเทิงของประเทศเรา แล้วเจอการจับยัดฉากขายของต่าง ๆ มาแบบยัดเยียด เช่น อยู่ ๆ ตัวละครก็ไปลอยกระทง หรือ ไปโปรโมทที่นั้นที่นี่ทั้งที่ไม่เกี่ยวกับเนื้อเรื่องเลย หรือ การจับยัดโฆษณามาดื้อ ๆ จนบางทีคนดูต้องขำ แม้ว่าจะเป็นสิ่งที่ผู้ผลิตหรือผู้สนับสนุนต้องการแต่ความไม่แนบเนียนนี่ละทำให้เรารู้สึกเหมือนถูกผลักออกจากเรื่องอย่างชัดเจน ตรงนี้เหมือนทางอนิเมชั่นเรื่องนี้และเรื่องอื่น ๆ จะรู้ดีว่า คนดูต้องการความจริงใจกับสารและไม่ยัดเยียดจนรำคาญ ดังนั้น อนิเมชั่นหลาย ๆ เรื่องของญี่ปุ่นจึงใส่วัฒนธรรม และ อื่น ๆ ไปอย่างแนบเนียน

                ตัวอย่างที่น่าสนใจคือ วัฒนธรรมด้านศาสนาของญี่ปุ่นที่เราคุ้นชินกัน อาทิ การไปไหว้พระที่ศาลเจ้าในวันขึ้นปีใหม่ การร่ายรำอวยพรของมิโกะ การเสี่ยงเซียมซีโชคดี หรือ การเที่ยววัดและเมืองโบราณของเกียวโตและโอซาก้า ถูกใส่ลงมาอย่างแนบเนียนจนเป็นหนึ่งเดียวกับเรื่อง และ ทำให้คนดูรู้สึกและเข้าใจวัฒนธรรมของคนญี่ปุ่นหรือสิ่งที่ท้องถิ่นนั้นมีได้อย่างชัดเจน

                Super Cub เองก็มีฉากที่เรียกว่า เป็นการขายของทางวัฒนธรรมอยู่หลายตอน อาทิ การไปทัศนศึกษาของโคกุมะ ที่เจ้าตัวขี่ Super Cub มุ่งหน้าไปยังเมืองคามาคุระ ทั้งที่พึ่งขอลาเนื่องจากไข้ขึ้นไปหมาด ๆ ทว่าเมื่อไข้ลดลง เธอกลับขี่มอเตอร์ไซด์มุ่งหน้าไปที่คามาคุระนับร้อย ๆ กิโลเมตร ซึ่งระหว่างทางก็ต้องผ่านสถานที่ต่าง ๆ มากมายที่ถูกถ่ายทอดให้เห็นผ่านสายตาของเธอ

                รวมทั้งตอนจบของเรื่องนี้ที่ โคกุมะ ชิอิ และ เรโกะ ขี่มอเตอร์ไซด์มุ่งหน้าไปคิวชู ผ่านเมืองต่าง ๆ สามวันสามคืน ระหว่างพวกเธอผ่านสถานที่ท่องเที่ยวต่าง ๆ ที่ล้วนแล้วเป็นหน้าตาของจังหวัดและเมืองที่ผ่าน ๆ นั้น อาทิ ทะเลสาบบิวะ ในจังหวัดชิงะ เสาโอโทริกลางน้ำในจังหวัดฮิโรชิม่า เนินทรายทตโทริ จังหวัดทตโทริ ตลาดปลาและอาหารสดที่เมืองซากไกมินาโตะ หรือ สะพานแขวน คันมง ที่เชื่อมไปยังคิวชู ซึ่งจะเห็นเกาะกันริวที่ มิยาโมโตะ มูซาชิ ซามูไรอันดับหนึ่งของญี่ปุ่นดวลกับซาซากิ โคจิโร่ คู่ปรับสำคัญของตนเอง

                จนไปจบที่การดูซากุระที่สวนโอมูระที่นางาซากิ

                จะเห็นว่า พวกเธอได้ขี่ Super Cub แวะเวียนไปตามเมืองต่าง ๆ ผ่านสถานที่ต่าง ๆ ให้เราได้เห็นและได้รู้จักกันอย่างไม่ยัดเยียดใด ๆ แถมยังมีผลให้เรารู้สึกว่า อยากไปเที่ยวตามรอยพวกเธอบ้างเหมือนกัน

Zombie Land Saga

                ไม่ใช่แค่เรื่องนี้เท่านั้น Zombieland Saga เป็นตัวอย่างที่ดีมาก ๆ ในการขายวัฒนธรรมเหล่านี้อย่างไม่ขัดเขินใด ๆ ตั้งแต่ซีซั่นแรก เราได้เห็นประเพณีต่าง ๆ และวัฒนธรรมของเมืองซากะ อาทิ การแข่งขันโคลนที่พวกไอดอลในเรื่องมาแข่งกัน หรือ กระทั่งการแข่งเรือยนต์ที่แทบจะเป็นเอกลักษณ์ของเมืองนี้ทีเดียว

                นี่รวมทั้งผลงานอย่าง Your Name ของชินไค มาโคโตะ ที่นอกอนิเมชั่นจะทำเงินถล่มทลายแล้ว ยังทำให้สถานที่ท่องเที่ยวที่ต้นแบบของเรื่องได้รับการโปรโมทและชื่นชมจากแฟน ๆ ทั่วโลกที่อยากไปสัมผัส หรือ งานประเพณีอย่างงานดอกไม้ไฟ งานวัด หรือ กระทั่งเทศกาลอื่น ๆ ก็ถูกพูดถึงจนแทบเป็นสิ่งที่คนดูรู้จักและคุ้นชินในงานเหล่านี้ไปแล้ว

                เพราะมันไม่ได้ยัดเยียด แต่ทำให้ดูเป็นธรรมชาติและน่าค้นหา กับ แตะต้องได้โดยไม่นำไปเป็นของสูง เป็นสินค้าที่พร้อมจะส่งออกให้กับคนได้สัมผัสมันอย่างแท้จริง

                นี่คือ สิ่งที่อนิเมชั่นญี่ปุ่นทำได้โดดเด่นอย่างมาก ณ เรื่องนี้

                ในขณะวัฒนธรรมของไทยเราเต็มไปด้วยความยุ่งยาก เข้าใจไม่ได้ และ กลายเป็นของสูงจนคนเริ่มปฏิเสธมันมากขึ้น หากจะทำให้คนหันมาสนใจวัฒนธรรมหรือขายของเหล่านี้ให้กลายเป็นวัฒนธรรมป๊อปได้นั้น เราต้องหาจุดร่วมสำคัญว่า ทำยังไงให้คนเข้าถึงและไม่ได้เหยียดหยามย้ำใส่วัฒนธรรมอื่นแบบที่เคยผ่าน ๆ มา (มีภาพยนตร์ไทยหลายเรื่องเชิดชูตรงนี้มากเกินไปจนกลายเป็นเหมือนสร้างศัตรูไม่เป็นมิตรและล้มเหลวไปในที่สุด)

                ซึ่งหวังว่า เราจะได้เรียนรู้จากตรงนี้ สิ่งที่ญี่ปุ่น เกาหลี หรือ ไต้หวัน และ จีนทำน่ะเอง

  1. อิสรภาพ และ ความหวังที่มีต่อเยาวชน

                ถ้านั่งมองอนิเมชั่นเรื่องนี้และหลายเรื่อง ๆ ในญี่ปุ่นหลายเรื่องดี ๆ นั้นเราจะมันคือเรื่องท้องถิ่นนิยมแบบชัดเจน อาทิ ตัวเรื่องไม่ได้กระจุกอยู่แค่ในเมืองหลวง หรือ พื้นที่เจริญแล้ว แต่มักจะเป็นเมืองเล็ก ๆ หรือพื้นที่ชนบทที่มีเรื่องราวให้เล่ามากกว่า อาทิ เมืองโฮคุโตะที่เป็นตัวเมืองหลักในเรื่อง Super Cup ก็เป็นเมืองในภาคกลางของญี่ปุ่นที่ถูกภูเขาล้อมรอบจนแทบไม่มีอะไรโดดเด่น ซากะใน Zombieland Saga ก็เป็นเมืองเล็ก ๆ ที่ไม่มีอะไรโดดเด่นอะไรเลย แถมยังบ้านนอกสุดกู่ นี่ยังไม่รวมถึงเมืองในอนิเมชั่นอื่น ๆ อาทิ จังหวัดชิงะใน K-On หรือ เมืองซาชิริกาฮะมาใน คานากาวะ จากเรื่อง เรื่องฝันปั่นป่วยของผมกับรุ่นพี่บันนี่เกิร์ล เป็นต้น การเซ็ตติ้งในพื้นที่เหล่านี้นอกจากการโฆษณาให้กับพื้นที่หรือจังหวัดนั้น ๆ แล้ว ยังมีผลให้เนื้อหาแปลกตา และ เข้ากันกับนิสัยของตัวเอกในเรื่อง

                หากมองภาพก่อนหน้านี้ที่มิซึฮะ ใน Your Name อยากจะไปเมืองบ้านนอกของตัวเองแล้วไปอยู่ในโตเกียว ส่อในถึงความฝันของเด็ก ๆ ที่อยากไปให้พ้นจากความน่าเบื่อ และ ไม่มีอะไรเลยของเมืองตัวเอง อนิเมชั่นในช่วงสี่ห้าปีหลังกลับต่างออกไป เมื่อมันพูดถึงอิสรภาพและการพัฒนาเมืองของตัวเองอย่างสุดกำลังโดยคนรุ่นใหม่

                อย่างที่เราทราบกัน ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ และ มีเด็กเกิดน้อยลงมาก หลายเมืองมีอัตราการเกิดต่ำ และ เป็นวิกฤตสำคัญของประเทศ นำมาสู่การพยายามดึงคนจากประเทศอื่น ๆ พื้นที่อื่น ๆ เข้ามาทั้งในเรื่องกฎหมาย ภาษี และ การทำมาหากิน เรียกได้ว่า เป็นความพยายามอย่างมากที่จะให้พลิกฟื้นเมืองและประเทศให้กลับมาคึกคักมากขึ้น

                เพราะผู้ใหญ่รู้ดีว่า พวกเขาไม่ได้อยู่ค้ำฟ้า ต่อจากนี้ คนที่จะมาดูแลเมืองและประเทศนี้คือ เหล่าเด็ก ๆ และ คนรุ่นใหม่

                พวกเขาจะเปลี่ยนแปลงและทำให้มันดีขึ้น

                เหมือนที่ตัวของโคกุมะ เรโกะ และ ชิอิ เลือกเปลี่ยนแปลงตัวเองและค่อย ๆ ก้าวเท้าไปในอนาคตที่ตัวเองได้เลือกเอง หรือ เหล่า ไอดอลซอมบี้ที่นอกจากจะพยายามทำสิ่งที่ตัวเองไม่สามารถทำได้ให้สำเร็จแล้ว พวกเธอยังพยายามเปลี่ยนแปลงซากะให้ดีขึ้น แม้จะตายไปแล้ว พวกเธอก็ส่งต่อไฟแห่งการเปลี่ยนแปลงและอิสรภาพต่อให้กับบรรดาแฟน ๆ และ รุ่นน้องที่มีชีวิตได้ลุกขึ้นสู้กันต่อไป

                ไม่แปลกหากว่า ตอนจบของเรื่อง Super Cub จะพูดถึงทางเดิน อิสรภาพ และ ความเชื่อมั่นในอนาคตของตัวเอง ซึ่งคงต้องบอกว่า มันคือ สิ่งที่การ์ตูน อนิเมะ ไลท์โนเวลของญี่ปุ่นพยายามสื่อมาตลอดในช่วงหลายปีนี้ ว่า อนาคตเป็นของเด็ก ๆ

                จงเชื่อมั่นในสิ่งที่พวกเขาเลือก

                และสร้างอิสรภาพให้พวกเขาได้สร้างอนาคตกันต่อไป

ป.ล. ทั้ง Zombieland Saga และ Super Cub สามารถหาชมแบบลิขสิทธิ์ซับไทยได้ที่ Youtube ช่อง Muse Thailand ครับ 

ป.ล. น้องโคกุมะไปเป็นนางแบบรณรงค์การขับขี่จารจรให้กับสถานีตำรวจยามางิชิด้วยครับ 

บล็อกของ Mister American

Mister American
               สำหรับหลายคน หนังเรื่องแรกเป็นเสมือนความฝันอันงดงามที่อยากจะทำให้สำเร็จ แต่สำหรับผู้กำกับหลายคนนั้นหนังเรื่องแรกของพวกเขานั้นไม่ได้สวยงามหรืออกมาราบรื่นอย่างที่คิด บางคนถูกไล่ออกจากโปรเจ็ท บางคนเกือบสติแตก หรือ บางคนก็เจอการกดดันจากอิทธิพลที่
Mister American
            "วิญญาณคือ ความทรงจำที่ตกค้าง ไม่ว่าจะเป็นความทรงจำที่ดีหรือเลวร้าย มันจะยังคงอยู่และปรากฏขึ้นเสมอ"
Mister American
              ระหว่างที่ผมกำลังนั่งเขียนต้นฉบับอยู่ตอนนี้ภาพยนตร์ซอมบี้ทุนต่ำเรื่องใหม่จากเกาะญี่ปุ่นที่มีชื่อว่า One Cut of the dead กำลังสร้างกระแสครั้งใหญ่ให้กับวงการหนัง เมื่อ หนังซอมบี้ทุนต่ำเรื่องนี้ทำรายได้ถล่มทลายไปแล้วทั่วโลกกว่า 10 ล้า
Mister American
คิชิดะ จุน เป็นเด็กหนุ่มมัธยมปลายที่มองเห็นคนตายได้ และ ข้าง ๆ เขานั้นมี ฮายาคาวะ เคียวโกะ เพื่อนสมัยเด็กที่ถูกฆ่าตายและมาปรากฏตัวอยู่เคียงข้างเขา ท่ามกลางเรื่องราวสยองขวัญ ลึกลับที่เกิดขึ้นรอบตัวเขา
Mister American
                คงไม่ต้องแปลกใจหาก KOE NO KATACHI หรือ รักไร้เสียง อนิเมชั่นเรื่องดังจากญี่ปุ่นโดยฝีมือผลงานของสตูดิโอ Kyoto Animation หรือที่เรียกติดปากนักดูอนิเมะว่า เกียวอนิเมะ ผู้ผลิตอนิเมชั่นชื่อดังอย่าง Clannad , Kanon , K-on  เป็นต้น จะกลายเป็นห
Mister American
              คงไม่ใช่ความน่าแปลกหรือประหลาดใจอีกแล้วกับปรากฏการณ์หนังอีสานถล่มเมืองที่นับจากผู้บ่าวไทบ้านภาคแรกเข้าฉายในปี 2014 และทำเงินไปได้อย่างมากมายในแผ่นดินอีสานนั้นจะทำให้เกิดหนังลูกอีสานหน้าใหม่ขึ้นอย่างมากมาย และแน่นอนว่า ความสำเร็จนี้ได้ต่อยอดให้หนังอ
Mister American
               ณ ช่วงเวลานี้คงไม่มีอนิเมชั่นเรื่องใดถูกกล่าวถึงและพูดมากกว่า อนิเมชั่นเรื่องล่าสุดของชินไค มาโคโตะ ผู้กำกับอนิเมชั่นดราม่าชื่อดังอย่าง 5 centimeters per second หรือ The Garden of word อย่าง Your Name หรือ Kimi No Nawa (หลับตาฝันถึงชื
Mister American
คงไม่ต้องแปลกใจว่า หากจะมองหาหนังไทยสักเรื่องที่น่าหยิบมาพูดถึงหนังเรื่อง ผู้บ่าวไทบ้าน 2 ตอน แจกข้าวหาแม่ใหญ่แดง นั้นเป็นหนึ่งในหนังที่ควรหยิบมาพูดมากเรื่องหนึ่งในขณะนี้นอกจากจะเป็นหนังภาคต่อที่สานความสำเร็จมาจากภาคแรกที่สร้างปรากฏหนังท้องถิ่นนิยมให้เกิดขึ้นในวงการภาพยนตร์ไทย เมื่อหนังเล็ก ๆ นี้
Mister American
                นี่คือ การกลับมาที่ทุกคนรอคอย ภายหลังจาก ก็อตซิลล่าฮอลลีวู้ดของ กาเรธ เอ็ดเวริ์ดออกอาละวาดไปในปี 2014 และแน่นอนว่า มันทำให้ชื่อของก็อตซิลล่าลืมตาตื่นขึ้นอีกครั้ง ทว่า สำหรับแฟน ๆ เดนตายของก็อตซิลล่านั้นคงค่อนข้างที่จะผิดหวังที่ได้เห็นก็อตซิล
Mister American
คงไม่มีอะไรต้องพูดมากนอกจากนี่คือ ภาพยนตร์ซอมบี้ที่ดีที่สุดในรอบหลายปี และที่สำคัญนี่ไม่ใช่หนังที่สร้างโดยฮอลลีวู้ดแต่เป็นเกาหลีใต้ ประเทศที่มีอุตสาหกรรมภาพยนตร์ของเอเชียที่เรียกว่าเป็นเบอร์หนึ่งไปแล้วในด้านคุณภาพของหนังที่นอกจากฮอลลีวู้ดแล้วมีเพียงประเทศนี้ที่ทำหนังออกมาได้สากลและสนุกในแบบที่ทุก
Mister American
ยังคงเป็นช่วงเวลาเศรษฐกิจยังไม่มีวี่แววว่าจะ ฟื้นตัวเสียที ในช่วงปลายปี 2015 นี้ทุกอย่างยังคงมองไม่เห็นว่า อนาคตจะเป็นเช่นไร กระนั้นเองสำหรับงานหนังสือแห่งชาติ เดือนตุลาคมนี้ยังคงเป็นช่วงเวลาร้อนแรงของบรรดาค่ายไลท์โนเวลต่าง ๆ มากมายที่ต่างเตรียมกระสุนดินดำ หรือ ออกหนังสือมาเพื่อจูงใจนักอ่านทั้งหล