Skip to main content

การขึ้นภูกระดึงอย่างไร้ความพร้อม กลับทำให้ฉันได้สิ่งดีๆมากมาย

คุณนิมิตร เจ้าหน้าที่ป่าไม้ตำแหน่งลูกจ้างชั่วคราว ได้เขียนจดหมายน้อยอย่างไม่เป็นทางการ ให้ฉันถือไปยื่นให้กับเจ้าหน้าที่บนภู ที่เป็นเพื่อนกัน ในจดหมายเขียนว่า
“ช่วยดูแลคนที่ถือจดหมายฉบับนี้ด้วย ตามสมควร”

ที่อาคารลงทะเบียนบนภู ฉันยื่นจดหมายให้กับเจ้าหน้าที่ คะเนจากหน้าตา เขาคนนั้นคงมีอายุพอๆกับฉัน เมื่ออ่านจบเขามองหน้าฉันอย่างเฉยเมย บอกว่าบ้านพักเต็มหมดแล้ว เหลือแต่เต๊นท์  ฉันบอกว่าฉันตั้งใจจะพักเต๊นท์อยู่แล้ว

“มากันกี่คน” น้ำเสียงห้วนๆ  ไม่รู้ทำไม
“คุณเห็นกี่คนล่ะคะ คุณเห็นแค่ไหนก็แค่นั้นล่ะค่ะ” ฉันตอบกึ่งยียวน แต่ในใจอยากให้เขาเห็นเป็นหลายคนเสียนัก บางทีอาจมีใครบางคนตามฉันมาก็ได้

เพราะมีเรื่องลี้ลับเกิดขึ้น ในคืนที่ฉันมาถึงเชิงภู

ฉันมาถึงสำนักงานที่เชิงภูกระดึง ราวๆ สี่ทุ่ม คุณนิมิตรผู้ใจดีชวนให้ไปนอนที่บ้านของเขา บอกว่ามีลูกและภรรยาอยู่ด้วยไม่ต้องกังวล ฉันขอบคุณ บอกว่าขอที่พักง่ายๆ ตื่นเช้าฉันจะได้ขึ้นภูทันที

ที่บ้านพักรับรองหลังใหญ่ ยังมีห้องว่างแต่แขกที่เป็นนักท่องเที่ยวกลุ่มใหญ่ยึดครองห้องไปสองห้อง เหลือหนึ่งห้องสำหรับฉัน ประเมินสถานการณ์ฉันคงไม่ได้หลับแน่ เพราะพวกเขากำลังตั้งวงเฮฮากันสุดเหวี่ยง จึงได้มาพักที่เรือนพักของยาม อยู่ใกล้สำนักงาน แต่อยู่ไกลกลุ่มบ้านพักทั้งหลายพอสมควร ชวนวังเวงใจ แม้มีไฟฟ้าสลัวๆกระจายทั่วพื้นที่

เรือนพักยาม มีพื้นที่ขนาด 1 X 2 เมตร แค่เปิดประตูแล้วล้มตัวลงนอน  แต่เจ้ากรรมแม้กลอนประตูก็ยังไม่มี ด้วยความง่วงและอ่อนเพลีย  ที่นอนบางๆกลิ่นสาบๆ ก็พอทนได้(อยู่แล้ว) เอากระเป๋าเสื้อผ้าวางกั้นประตู ถ้าใครเปิดเข้ามาอย่างน้อยกระป๋าก็ต้องส่งเสียงก่อน

ราวตี 4 กว่าๆ ฉันเห็นผู้ชายแต่งกายด้วยเครื่องแบบป่าไม้ สีเขียวอ่อน หน้าตาดี ท่าทางขี้เล่น อายุราวๆ 28 ปี พยายามเปิดประตู เหมือนจะหยอกล้อฉัน พอฉันตื่นเขาก็เดินหนีไป โดยจูงเด็กผู้หญิงคนหนึ่งไปด้วย  เธอนุ่งชุดกระโปรงติดกัน ผมยาวมัดห้อยย้อยเป็นหางม้า ดูน่ารัก ฉันตกใจว่าทำไมเขามาแกล้งฉัน ดึกดื่นอย่างนี้ทำไมไม่รู้จักนอนกันอีก ด้วยความโมโหเล็กน้อย จึงเปิดประตู ตั้งใจว่าจะตะโกนถามว่า มาล้อเล่นกันทำไม

ฉันทะลึ่งพรวดลุกขึ้นนั่ง..รู้ตัวอีกที อ้าว....ฝันนี่นา  ขยับประตูดู ทุกอย่างยังปกติ แต่ภาพเมื่อกี้นี้เหมือนจริงมาก จนกระทั่งฉันไม่เชื่อว่าตัวเองฝัน แต่ก็ล้มตัวลงนอนพลางสวดมนต์แผ่เมตตา คิดในใจว่าสงสัยจะเจอดี (ฉันจะสวดมนต์ก่อนนอนและนังสมาธิเป็นประจำ ในทุกสถานที่โดยไม่มีข้อยกเว้น แต่จะสวดมนต์สั้นหรือยาว ขึ้นอยู่กับความสะดวก

เช้าตรู่ คุณนิมิตร เอาเครื่องบันทึกเสียงที่เขารับไปซ่อมให้ (เพราะสายพานขาด) มาให้ เพราะฉันจำเป็นต้องใช้ทำงานข้างบน (นี่เป็นอีกคนที่จำไม่ลืมในน้ำใจ)

ฉันถามเขาว่า เคยมีเจ้าหน้าที่ป่าไม้ และเด็กผู้หญิงน่าตาน่ารักวัยประมาณ 7 ขวบ เสียชีวิตที่นี่บ้างหรือเปล่า คนถูกถามมองหน้าฉันแบบตกตะลึง

“เจอดีเข้าแล้วเหรอ” คราวนี้ฉันตะลึงบ้าง เมื่อเขาบอกว่า
“มีครับ เขายิงตัวตาย ยิงลูกสาว ยิงเมียก่อน แล้วยิงตัวเอง แต่ว่าเมียรอด”.......โอ้...สวรรค์ ฉันคราง
“เขาน้อยใจ ทะเลาะกับเมียระแวงว่าเมียมีผู้ชายคนอื่นน่ะครับ”

คุณนิมิตรบอกว่า มีนักท่องเที่ยวที่โชคดีได้เจอพ่อลูกเดินเล่นอยู่แถวนี้เหมือนกัน

ฉันเดินขึ้นภูกระดึงอย่างช้าๆ สวดมนต์แผ่เมตตาแก่วิญญาณพ่อลูกและวิญญาณทั้งหลายตามรายทาง ที่ฉันรู้มาว่า นานมาแล้วมีดินถล่มตรงผาสุดท้ายก่อนขึ้นสันแปภูกระดึง นักศึกษาจากจุฬาลงกรณ์ สังเวยชีวิตมาแล้ว

นี่คือเหตุที่ฉันตอบคุณเจ้าหน้าที่ไปอย่างยียวนเล็กๆ ในใจอยากให้เป็นอย่างนั้นจริงๆ ฉันจะได้อุ่นใจในการเผชิญโชคบนภูกระดึง

การมีใครบางคนอารักษ์ขา โดยที่คนอื่นมองไม่เห็น ไม่เลวนะ...

เอาล่ะเข้าเรื่อง...

สรุปว่าการทำงานหนนี้ ฉันเก็บภาพ เก็บข้อมูลบนภูกระดึงอย่างสบายๆ เพราะเมื่อเริ่มกางเต๊นท์  แว่วเสียงเจ้าหน้าที่ตะโกนถามกันว่า
“ไหนล่ะผู้หญิงที่ขึ้นมาคนเดียว”

ฉันเงยหน้าจากการปักสมอดิน ตะโกนตอบไปว่า
“อยู่นี่ค่ะ”

จากนั้น ทุกค่ำคืน เจ้าหน้าที่หนุ่มน้อยหนุ่มใหญ่ทั้งหลาย จะมานั่งผิงไฟ ดื่มกาแฟ พูดคุยที่เต๊นท์ฉัน สลับกับการเดินสำรวจดูแลความสงบแก่นักท่องเที่ยวจำนวนหลายพัน (อาจถึงหมื่น)

พวกเขาสุภาพ แม้บางคนจะถามตรงๆว่า
“ไม่กล้วหรือ ที่มาคนเดียว” ฉันบอกว่าคนเดียวที่ไหน คนเป็นพันๆ นั่งๆนอนๆ อยู่บนนี้ ยั้วเยี้ยไปหมด เขาหัวเราะ
“ไม่เหงาหรือ” นั่น...บางคำถาม ที่ต้องคิดก่อนตอบ และฉันก็ตอบว่า
“มาทำงาน ไม่มีเวลาเหงา ไม่มีเวลากลัว” คนถามคงพอใจในคำตอบ ฉันจึงได้รับการดูแลดุจญาติมิตรตลอดเวลา 5 วันที่อยู่บนนั้น

ยามเดินป่า ไปดูต้นน้ำพอง นักท่องเที่ยวทั่วไปต้องจ่ายค่าทัวร์คนละประมาณ 200 บาท (ถ้าจำไม่ผิด) ต้องห่อข้าวไปกินเอง และเผื่อเจ้าหน้าที่ที่นำด้วย ส่วนฉัน..เจ้าหน้าที่บอกว่า ไม่ต้องครับผมเตรียมไว้ให้แล้วทุกอย่าง

ฉันมีหน้าที่ถ่ายรูปเก็บข้อมูล แม้แต่ขาตั้งกล้องก็มีคนแบกให้  ทุกอย่างล้วนสะดวกดายเพราะฉันมาดี จึงได้เจอกับคนดีๆ

แม้แต่เรื่องเสื้อผ้า หรือผ้าห่ม ที่ต้องไปเช่าจากร้านอาหารของคุณป้ามะลิ เธอยังให้ยืมผ้าซิ่นส่วนตัวอีกสองผืน เมื่อรู้ว่าฉันมีเสื้อผ้าสำรองเพียงชุดเดียว

ต้องขอบคุณขาข้างหัก..ที่เป็นแรงบันดาลใจให้ฉันอยากปีนภูกระดึง จนเจอสิ่งดีๆ ผู้คนดีๆ และบางอย่างที่บอกไม่ได้ว่าดีหรือไม่ดี

แต่สิ่งแรกที่ฉันทำเมื่อกลับลงมาข้างล่าง  คือ...สังฆทาน

บล็อกของ เงาศิลป์

เงาศิลป์
  พักหลังๆนี้ลูกอ่านหนังสือเยอะมาก บางครั้งไม่มีหนังสือใหม่มาให้อ่าน ลูกจะเฝ้ารอคนที่รับปากว่าจะเอาหนังสือมาให้ หรือว่าเมื่อพ่อไปในเมือง ลูกก็รอว่าน่าจะมีหนังสือมาให้บ้าง
เงาศิลป์
 
เงาศิลป์
กระปุก หมาเพื่อนรักของลูกต้องกลับไปบ้านบัว เพราะพ่อพามันมาเยี่ยมลูกเพียงไม่กี่วันเท่านั้น วันที่มันกลับไปกับพ่อ ลูกมองตามอย่างอาลัย แต่คงเข้าใจในความจำเป็น แม้จะรักมันมากแต่ลูกก็รู้ว่ามันต้องกลับไป เพราะที่นี่ไม่ใช่ที่อยู่ของมัน
เงาศิลป์
ในราวกลางเดือนมิถุนายน ลูกยังลุกขึ้นนั่งได้เองบ้าง และบันทึกประจำวัน นอกจากจะเป็นเรื่องการกินยา อาหาร ที่คล้ายๆกันในแต่ละวัน จะแตกต่างไปบ้างเมื่ออาหารบางอย่างที่ตรวจต่อมไทมัสแล้วกินไม่ได้ ทั้งที่วันก่อนๆเคยกินได้ เช่น บันทึกของวันที่ 19 มิถุนายน ลูกเขียนว่า กินแกงอ่อมไม่ได้
เงาศิลป์
ลูกทำสมาธิด้วยการภาวนาพุทโธตั้งแต่ครั้งแรกที่หลวงพ่อมาสอนให้ ลูกจะนอนหลับตานิ่งๆภาวนา เมื่อวานนี้ แม่ชีคนสวยของลูก มาแนะนำว่า เวลาบริหารร่างกาย ด้วยการยกแขน ยกขา คู้เหยียด จากที่เคยนับจำนวนครั้ง ให้เปลี่ยนมาเป็นท่อง พุท-โธ ยามที่หดขาเข้า พร้อมกับหายใจเข้า ท่องว่าพุท ยามที่เหยียดขาออก พร้อมทั้งหายใจออก ลูกก็ท่องว่า โธ ลูกก็ทำตามนั้น
เงาศิลป์
วันที่ 13 มิถุนายน พ่อต้องไปบรรยายเรื่องเครือข่ายอินแปงกับการพัฒนาสังคมเกษตรกรรมรอบเทือกภูพานที่สกลนคร ลูกตื่นแต่เช้าตรู่ พร้อมพ่อ ในเวลา 03.55 น. พ่อออกไปแล้วลูกนอนต่อ จนตื่นราวๆเจ็ดโมงเช้า เปิดเสียงเทศน์ของหลวงพ่อที่ลูกบันทึกไว้ในโทรศัพท์ฟังวันนี้สดชื่นมาก พ่อบอกว่าหน้าตาแจ่มใส ฉี่ ถ่ายเหลืองเป็นก้อนปกติ(เยอะ) ชงยาญี่ปุ่นกิน แล้วอ่านคำภาวนาอุทิศบุญและคำอธิษฐานบารมีหลวงพ่อกับแม่ชีมาเยี่ยม หลวงพ่อเทศน์สอน ทำสมาธิ แม่ชีคนใหม่สวย จบ doctor บอกว่าจะเอาอาหารเสริมถั่วเหลืงผสมงาดำมาให้ หลวงพ่อกับแม่ชีกลับกินฟักทองแม่ชีเอาอาหารเสริมมาให้ ตรวจแล้วกินไม่ได้
เงาศิลป์
หนึ่งอาทิตย์ที่มาอยู่วัด ในบันทึกของลูกยังเขียนถึงเรื่องอาหารการกินที่เป็นของชอบส่วนตัว เช่น ขนมขาไก่ ทองม้วน ยังมีเรื่องบันเทิงเริงรมย์แทรกเป็นระยะ คือ ดู CD การ์ตูน อ่านหนังสือนิยายที่เป็นบทย่อจากละครโทรทัศน์ ลูกยังมีความรู้สึกนึกคิดแบบเด็กๆยังอยากได้กระเป๋าสตังค์คิดตี้ ยังมีอารมณ์หิวที่เกิดขึ้นรุนแรงจนร้องไห้งอแงยามดึก
เงาศิลป์
เราสามคน พ่อแม่ลูก กลายเป็นคนวัดไปแล้ว อ้อ บางวันมีน้านีมาจากสกลฯ ช่วยทำกับข้าวด้วย และยังผู้รู้เรื่องธรรมชาติบำบัดอีกหลายคน ที่มาช่วยแนะนำสิ่งที่ดีๆให้ แต่แม่ยังต้องเดินไปทำอาหารที่โรงครัวของวัด ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากที่พักของเรานัก ที่นั่นสะอาดและกว้างโล่ง มีน้ำประปาภูเขาให้ใช้อย่างสะดวกสบายเหลือเฟือ อันที่จริงก็ใช้กันทุกมุมวัดอยู่แล้ว เพราะว่าน้ำประปาที่ว่านี้ คือน้ำที่ผุดขึ้นมาเป็นน้ำพุเล็กๆ ที่อยู่อีกฟากหนึ่งของภู ความสูงของพื้นที่ซึ่งสูงกว่าที่วัด หลวงพ่อจึงสร้างประปาภูเขาขึ้นมาอย่างง่ายดาย มีถังน้ำพักน้ำ ณ จุดที่มีน้ำพุหนึ่งลูก แล้วใส่ท่อให้มันวิ่งมาตามท่อน้ำ…
เงาศิลป์
แม่กับพ่อเริ่มทำสวนผักข้างๆ กุฏิ ผักที่ปลูกง่ายที่สุดคือต้นอ่อมแซ่บ พืชตระกูลล้มลุก กลีบดอกบอบบางสีม่วงอมชมพู สีของมันสวยหวานสดใส คนทั่วไปเรียกว่า บุษบาริมทาง แต่คนอีสานมองเห็นเป็นของกินได้ จึงเรียกอ่อมแซ่บ คงมาจากการแกงอ่อมแล้วอร่อยกระมัง ลูกแม่ต้องกินทุกวัน เป็นเมนูผักลวก
เงาศิลป์
เช้าวันที่ 6 มิถุนายน ลูกตื่นเต้นมาก แม่รู้ เมื่อถึงวันที่ต้องเดินทางมาอยู่วัดกับหลวงพ่อ วันนั้นลูกตื่นตั้งแต่เช้าตรู่ เตรียมเก็บเข้าของเครื่องใช้ส่วนตัวใส่กระเป๋าคิดตี้ใบเล็กสีชมพูหวานแหววของลูก แต่เพราะลูกยังมีอาการตัวร้อนเป็นไข้รุมๆ ทำให้แม่กับพ่อเป็นห่วง เราจึงวางแผนเดินทางในตอนเย็น วันนั้นลูกร่าเริงมาก และเขียนบันทึกว่า วันศุกร์ที่ 6 มิถุนายน 2551 วันแห่งความสุขและความสงบวันนี้ตื่นขึ้นมายิ้มรับวันใหม่ด้วยใจที่เบิกบาน มีความสุขในสมุดบันทึกสุขภาพอีกเล่ม ลูกเขียนไว้ว่า
เงาศิลป์
ตอนที่ 5 บันทึกของลูก  รูปรอยต่างๆของลูก ยังคงอยู่เหมือนที่เคยมีลูก แม้แต่ภายในห้องนอน ทุกอย่างยังถูกจัดวางเหมือนเดิม บ้านไม้หลังเล็กๆใต้ถุนสูงแบบโบราณ ซุกตัวอยู่ใต้ร่มเงาไม้น้อยใหญ่หลังนี้ มีห้องนอนสองห้อง ห้องหนึ่งเป็นของลูก ที่เตียงนอนยังมีหนังสือเล่มโปรดวางไว้ที่หัวเตียง อาจมีแปลกออกไปบ้างคือสมุดบันทึกเล่มเล็กๆ 4 เล่ม ที่ลูกเขียนทุกวันเกือบทุกเวลา เพราะลูกตั้งใจบันทึกกิจกรรมการดูแลตัวเองและบทธรรมะเอาไว้ ตลอดเวลาสี่เดือนของความป่วยไข้ แม้กระทั่งวันสุดท้าย โดยที่ไม่มีใครร้องขอให้ทำ
เงาศิลป์
การที่คนป่วยคนหนึ่ง ได้เลือกหนทางรักษาตัวเองด้วยตัวเอง น่าจะมีองค์ประกอบอยู่สองอย่างที่สำคัญ นั่นคือ หนึ่ง ความรู้ที่มีพร้อมในเรื่องวิธีการรักษาที่ตัวเองเลือก สอง ความไม่รู้ในวิธีการใดๆ แต่ต้องตัดสินใจเลือกในสิ่งที่คิดว่าสะดวกทั้งต่อตนเองและคนดูแล