Skip to main content

 

พักหลังๆนี้ลูกอ่านหนังสือเยอะมาก บางครั้งไม่มีหนังสือใหม่มาให้อ่าน ลูกจะเฝ้ารอคนที่รับปากว่าจะเอาหนังสือมาให้ หรือว่าเมื่อพ่อไปในเมือง ลูกก็รอว่าน่าจะมีหนังสือมาให้บ้าง

วันนี้พ่อต้องไปส่งปุ้ยที่มุกดาหารจะฝากให้พ่อหาไข่ไก่บ้าน ธัญพืชนิวทรี ปากกา พ่อต้องกลับมาก่อนบ่าย 3 โมงเพราะว่ายาบ่าย 3 โมงหมดแล้ว ขอให้ป้าอ้อยฝากหนังสือธิเบตมาให้ด้วยเถิด

 

การอ่านหนังสือที่มากและมีบางเล่มที่อ่านยาก ทำให้พ่อกับแม่ฉงนใจว่าทำไมลูกจึงเข้าใจได้อย่างลึกซึ้ง ถ้าค้นกลับไปดูในหน้าบันทึกเก่าๆ จะเห็นชื่อหนังสือแปลกๆ ที่เกี่ยวกับธิเบต อินเดียอยู่หลายเล่ม หรือที่เป็นเรื่องเมืองไทย หนังสือนั้นมักจะเป็นหนังสือธรรมะ

 

รายชื่อหนังสือบางส่วน ที่ลูกอ่านผ่านมา ในช่วงสองเดือน

 

ธิเบต หลั่งเลือดบนหลังคาโลก

อุทยานธรรม ของท่านมิลาเรปะ

มิลากรูบัม

ชีวิตและคำสอนของซองคาปะ

ศิลปะแห่งความสุข

อนาคตอันเก่าแก่

พระราชวังกลางสายรุ้ง

รูป เงา ขุนเขา ทะเลสาป

ลมหายใจแห่งขุนเขา แชงกรีลา ลี่เจียง ย่าติง

หิมาลัยในความทรงจำ

ประวัติหลวงปู้มั่น

หลวงตาปล่อยเต่า

35 อุบาสก พุทธสาวก

รัตนนารี

เบอร์มิวดา สามเหลี่ยมอาถรรพ์

ฯลฯ

 

ที่ลูกชอบอ่านมาก คือ รัตนนารี อุทยานธรรม ของท่านมิลาเรปะ และ ประวัติหลวงปู่มั่น ลูกเขียนไว้ว่า

หลวงพ่อเอาหนังสือเรื่อง อุทยานธรรมของท่านมิลาเรปะ มาให้อ่าน อ่านแล้วลึกซึ้งดีมาก

ส่วนเล่มที่เกี่ยวกับประวัติหลวงปู่มั่น ลูกจะวางไว้ที่หัวเตียงตลอดเวลา

 

เหตุนี้กระมัง ที่ทำให้ลูกมีความฝันที่จะไปเรียนรู้ศาตร์ต่างๆที่ธิเบต

วันนี้อากาศดีมาก แต่ก็หนาวเย็นอยู่บ้าง กระปุกก็คงมีความสุขด้วย อ่านหนังสือ หิมาลัยในความทรงจำ อ่านแล้วยิ่งกระตุ้นให้อยากไปธิเบตมากขึ้น ไปศึกษาศิลปวัฒนธรรม พระพุทธศาสนาและเรื่องต่างๆ

 

ผู้ใหญ่ที่ชอบอ่านหนังสือแนวนี้ แม้จะอ่านมากและบ่อยเพียงใด ก็ไม่ใช่เรื่องที่น่าแปลกใจ แต่สำหรับลูก เด็กผู้หญิงคนหนึ่ง ที่เคยชอบอ่านการ์ตูนหรือหนังสือประกอบละครโทรทัศน์ กลับหันมาอ่านหนังสือธรรมะที่มีเนื้อหาละเอียดลึกซึ้ง อย่างใจจดใจจ่อ หมายถึงสิ่งใดกัน

 

หากวัดความประณีตของจิตจากการเขียนบันทึกในแต่ละนาที นับว่าต้องมีจิตที่แน่วแน่ มีความสุขที่จะทำ เพื่อเชื่อมโยงไปถึงการดูแลร่างกายและจิตใจให้อยู่ในภาวะสมดุล แต่การอ่านหนังสือบางเล่ม ต้องใช้สมาธิจิตมากกว่าเช่น อุทยานธรรมของท่านมิลาเรปะ ผู้อ่านจะต้องอ่านด้วยใจที่สงบนิ่ง จดจ่ออยู่กับถ้อยคำ จนจินตนาการไปถึงน้ำเสียงแห่งองค์คุรุผู้จารจารึกถ้อยคำนั้นได้เลยทีเดียว

 

 

 

บล็อกของ เงาศิลป์

เงาศิลป์
  พักหลังๆนี้ลูกอ่านหนังสือเยอะมาก บางครั้งไม่มีหนังสือใหม่มาให้อ่าน ลูกจะเฝ้ารอคนที่รับปากว่าจะเอาหนังสือมาให้ หรือว่าเมื่อพ่อไปในเมือง ลูกก็รอว่าน่าจะมีหนังสือมาให้บ้าง
เงาศิลป์
 
เงาศิลป์
กระปุก หมาเพื่อนรักของลูกต้องกลับไปบ้านบัว เพราะพ่อพามันมาเยี่ยมลูกเพียงไม่กี่วันเท่านั้น วันที่มันกลับไปกับพ่อ ลูกมองตามอย่างอาลัย แต่คงเข้าใจในความจำเป็น แม้จะรักมันมากแต่ลูกก็รู้ว่ามันต้องกลับไป เพราะที่นี่ไม่ใช่ที่อยู่ของมัน
เงาศิลป์
ในราวกลางเดือนมิถุนายน ลูกยังลุกขึ้นนั่งได้เองบ้าง และบันทึกประจำวัน นอกจากจะเป็นเรื่องการกินยา อาหาร ที่คล้ายๆกันในแต่ละวัน จะแตกต่างไปบ้างเมื่ออาหารบางอย่างที่ตรวจต่อมไทมัสแล้วกินไม่ได้ ทั้งที่วันก่อนๆเคยกินได้ เช่น บันทึกของวันที่ 19 มิถุนายน ลูกเขียนว่า กินแกงอ่อมไม่ได้
เงาศิลป์
ลูกทำสมาธิด้วยการภาวนาพุทโธตั้งแต่ครั้งแรกที่หลวงพ่อมาสอนให้ ลูกจะนอนหลับตานิ่งๆภาวนา เมื่อวานนี้ แม่ชีคนสวยของลูก มาแนะนำว่า เวลาบริหารร่างกาย ด้วยการยกแขน ยกขา คู้เหยียด จากที่เคยนับจำนวนครั้ง ให้เปลี่ยนมาเป็นท่อง พุท-โธ ยามที่หดขาเข้า พร้อมกับหายใจเข้า ท่องว่าพุท ยามที่เหยียดขาออก พร้อมทั้งหายใจออก ลูกก็ท่องว่า โธ ลูกก็ทำตามนั้น
เงาศิลป์
วันที่ 13 มิถุนายน พ่อต้องไปบรรยายเรื่องเครือข่ายอินแปงกับการพัฒนาสังคมเกษตรกรรมรอบเทือกภูพานที่สกลนคร ลูกตื่นแต่เช้าตรู่ พร้อมพ่อ ในเวลา 03.55 น. พ่อออกไปแล้วลูกนอนต่อ จนตื่นราวๆเจ็ดโมงเช้า เปิดเสียงเทศน์ของหลวงพ่อที่ลูกบันทึกไว้ในโทรศัพท์ฟังวันนี้สดชื่นมาก พ่อบอกว่าหน้าตาแจ่มใส ฉี่ ถ่ายเหลืองเป็นก้อนปกติ(เยอะ) ชงยาญี่ปุ่นกิน แล้วอ่านคำภาวนาอุทิศบุญและคำอธิษฐานบารมีหลวงพ่อกับแม่ชีมาเยี่ยม หลวงพ่อเทศน์สอน ทำสมาธิ แม่ชีคนใหม่สวย จบ doctor บอกว่าจะเอาอาหารเสริมถั่วเหลืงผสมงาดำมาให้ หลวงพ่อกับแม่ชีกลับกินฟักทองแม่ชีเอาอาหารเสริมมาให้ ตรวจแล้วกินไม่ได้
เงาศิลป์
หนึ่งอาทิตย์ที่มาอยู่วัด ในบันทึกของลูกยังเขียนถึงเรื่องอาหารการกินที่เป็นของชอบส่วนตัว เช่น ขนมขาไก่ ทองม้วน ยังมีเรื่องบันเทิงเริงรมย์แทรกเป็นระยะ คือ ดู CD การ์ตูน อ่านหนังสือนิยายที่เป็นบทย่อจากละครโทรทัศน์ ลูกยังมีความรู้สึกนึกคิดแบบเด็กๆยังอยากได้กระเป๋าสตังค์คิดตี้ ยังมีอารมณ์หิวที่เกิดขึ้นรุนแรงจนร้องไห้งอแงยามดึก
เงาศิลป์
เราสามคน พ่อแม่ลูก กลายเป็นคนวัดไปแล้ว อ้อ บางวันมีน้านีมาจากสกลฯ ช่วยทำกับข้าวด้วย และยังผู้รู้เรื่องธรรมชาติบำบัดอีกหลายคน ที่มาช่วยแนะนำสิ่งที่ดีๆให้ แต่แม่ยังต้องเดินไปทำอาหารที่โรงครัวของวัด ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากที่พักของเรานัก ที่นั่นสะอาดและกว้างโล่ง มีน้ำประปาภูเขาให้ใช้อย่างสะดวกสบายเหลือเฟือ อันที่จริงก็ใช้กันทุกมุมวัดอยู่แล้ว เพราะว่าน้ำประปาที่ว่านี้ คือน้ำที่ผุดขึ้นมาเป็นน้ำพุเล็กๆ ที่อยู่อีกฟากหนึ่งของภู ความสูงของพื้นที่ซึ่งสูงกว่าที่วัด หลวงพ่อจึงสร้างประปาภูเขาขึ้นมาอย่างง่ายดาย มีถังน้ำพักน้ำ ณ จุดที่มีน้ำพุหนึ่งลูก แล้วใส่ท่อให้มันวิ่งมาตามท่อน้ำ…
เงาศิลป์
แม่กับพ่อเริ่มทำสวนผักข้างๆ กุฏิ ผักที่ปลูกง่ายที่สุดคือต้นอ่อมแซ่บ พืชตระกูลล้มลุก กลีบดอกบอบบางสีม่วงอมชมพู สีของมันสวยหวานสดใส คนทั่วไปเรียกว่า บุษบาริมทาง แต่คนอีสานมองเห็นเป็นของกินได้ จึงเรียกอ่อมแซ่บ คงมาจากการแกงอ่อมแล้วอร่อยกระมัง ลูกแม่ต้องกินทุกวัน เป็นเมนูผักลวก
เงาศิลป์
เช้าวันที่ 6 มิถุนายน ลูกตื่นเต้นมาก แม่รู้ เมื่อถึงวันที่ต้องเดินทางมาอยู่วัดกับหลวงพ่อ วันนั้นลูกตื่นตั้งแต่เช้าตรู่ เตรียมเก็บเข้าของเครื่องใช้ส่วนตัวใส่กระเป๋าคิดตี้ใบเล็กสีชมพูหวานแหววของลูก แต่เพราะลูกยังมีอาการตัวร้อนเป็นไข้รุมๆ ทำให้แม่กับพ่อเป็นห่วง เราจึงวางแผนเดินทางในตอนเย็น วันนั้นลูกร่าเริงมาก และเขียนบันทึกว่า วันศุกร์ที่ 6 มิถุนายน 2551 วันแห่งความสุขและความสงบวันนี้ตื่นขึ้นมายิ้มรับวันใหม่ด้วยใจที่เบิกบาน มีความสุขในสมุดบันทึกสุขภาพอีกเล่ม ลูกเขียนไว้ว่า
เงาศิลป์
ตอนที่ 5 บันทึกของลูก  รูปรอยต่างๆของลูก ยังคงอยู่เหมือนที่เคยมีลูก แม้แต่ภายในห้องนอน ทุกอย่างยังถูกจัดวางเหมือนเดิม บ้านไม้หลังเล็กๆใต้ถุนสูงแบบโบราณ ซุกตัวอยู่ใต้ร่มเงาไม้น้อยใหญ่หลังนี้ มีห้องนอนสองห้อง ห้องหนึ่งเป็นของลูก ที่เตียงนอนยังมีหนังสือเล่มโปรดวางไว้ที่หัวเตียง อาจมีแปลกออกไปบ้างคือสมุดบันทึกเล่มเล็กๆ 4 เล่ม ที่ลูกเขียนทุกวันเกือบทุกเวลา เพราะลูกตั้งใจบันทึกกิจกรรมการดูแลตัวเองและบทธรรมะเอาไว้ ตลอดเวลาสี่เดือนของความป่วยไข้ แม้กระทั่งวันสุดท้าย โดยที่ไม่มีใครร้องขอให้ทำ
เงาศิลป์
การที่คนป่วยคนหนึ่ง ได้เลือกหนทางรักษาตัวเองด้วยตัวเอง น่าจะมีองค์ประกอบอยู่สองอย่างที่สำคัญ นั่นคือ หนึ่ง ความรู้ที่มีพร้อมในเรื่องวิธีการรักษาที่ตัวเองเลือก สอง ความไม่รู้ในวิธีการใดๆ แต่ต้องตัดสินใจเลือกในสิ่งที่คิดว่าสะดวกทั้งต่อตนเองและคนดูแล