Skip to main content

20080410 ภาพประกอบ 1

“โชค ไปเที่ยวในป่ากันดีกว่า น้าได้กลิ่นดอกไม้หอม”
เขาพยักหน้า วางเครื่องมือทำงานไว้ในที่ร่มแล้วคว้าขวดน้ำดื่มติดมือมาแทน เจ้าหมาหนุ่มสองตัวรีบมุ่งหน้ามาสมทบโดยไม่ต้องส่งเสียงเรียก เพราะการเคลื่อนไหวของเราอยู่ในสายตาของมันเสมอ

แค่เอื้อมเท่านั้น...ที่ฉันจะหาความสุขอันลึกซึ้งได้ แต่บ่อยครั้งที่ฉันแข็งใจไม่แวะเข้าไปในป่า เนื่องจากงานในไร่กำลังเร่งรีบ และยามนี้เป็นเวลาปิดเทอมใหญ่ “โชค” จึงมีเวลามาช่วยงานได้เต็มวัน เขาเป็นเพื่อนร่วมงานที่ขยัน เป็นครูสอนงานที่ดีให้แก่ฉันในบางกรณี และพร้อมที่จะเป็นผู้เรียนรู้งานได้อย่างน่าชื่นชม ฉันแอบดูเขาทำงาน มองร่างผ่ายผอมในวัยเพียงสิบห้าปี ที่ต้องตรากตรำงานกลางแจ้งอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยเพื่อเก็บเงินไว้เรียนหนังสือหรือซื้อหาสิ่งที่ชอบของตนเองโดยไม่รบกวนผู้เป็นพ่อแม่

“ต้นไม้กำลังผลิใบอ่อนดูคล้ายงานเลี้ยงเพิ่งเริ่มต้น” ฉันคิด ขณะที่ย่ำเท้าไปบนยอดหญ้าอ่อนๆ พื้นดินเปียกชุ่มน้ำฝนที่หลั่งสายมาทุกค่ำคืน

“น้าศิลป์ดูนี่สิครับ นี่รอยของหนูที่มากินรากต้นเพ็ก  หลายตัวเลย” โชคตื่นเต้นพลางชี้ให้ฉันดู คืนนี้เขาจะมาวางบ่วงดักหนู ฉันสงสัยว่ามันจะไม่เดินออกนอกเส้นทางบ้างเหรอ เขาบอกว่า “ไม่”

มิน่า จึงมีคติของคนภาคอีสานที่ว่า “ทางหนู หนูไต่ ทางไหน่ ไหน่เดิน”

เราเดินเลาะมาตามร่องน้ำ ซึ่งบัดนี้มีน้ำเต็มปริ่ม ทั้งที่เมื่อสิบกว่าวันก่อนบริเวณนี้คือความร้อนแล้งแห้งผาก ไม้ยืนต้นโกร๋นไร้ใบราวกับตายซากไปแล้ว แต่ทุกอย่างก็เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ราวกับเนรมิต

20080410 ภาพประกอบ 2

ฉันตามหากลิ่นหอมของดอกไม้ป่า แต่สายตาของโชคกำลังเสาะส่ายหาของกิน  เราต่างมีความสุข สนุกกับการค้นหาซอกมุมลี้ลับที่ตนต้องการ

“ระวังนะน้าศิลป์ ตรงนั้นเป็นเพิงถ้ำของงูจงอาง น้าไพเคยโดนมันไล่กวดมาแล้ว” โชคเตือนเบาๆแต่ก็ยังก้าวตามฉันมา หมาสองตัวกำลังเมามันกับการขุดคุ้ยอะไรบางอย่างอยู่ตรงนั้น ฉันจุ๊ปากเรียกให้ถอยห่าง พวกมันทำท่าลังเล

ตรงนั้นคือลานหินก้อนใหญ่ขนาดเกือบเท่าบ้านหลังย่อมๆ ที่ซ้อนกันเป็นชั้นๆ  มี “โสก” หรือแอ่งน้ำเล็กๆ เหมาะแก่การดักหาอาหารของสัตว์นักล่า หรือแม้กระทั่งคน ร่องรอยการขุดหาอาหารยังใหม่สด มีกบ เขียด อึ่งชุกชุม มีกระทั่งแมงดา
                            
แต่สายตาของฉันกลับมองเห็นกล้วยไม้ป่าที่ตั้งช่อดอกตูม และเหนือขึ้นไป คือ ช่อดอกสีชมพูบอบบาง แซมด้วยกลีบใบสีแดงอมม่วง โชคเรียกมันว่า “ต้นติ้วป่า”

ระหว่างสีชมพูสะพรั่งพรึ่บยังแทรกด้วยสีเหลืองหอมกรุ่นของดอกช้างน้าว

20080410 ภาพประกอบ 3

และแล้วสิ่งที่ฉันตามหาก็เผยตัว มันคือ “ดอกสีดาป่า” ที่มีหน้าตาคล้ายดอกพุดใหญ่ มีกลิ่นหอมเย็นคล้ายดอกลั่นทม

20080410 ภาพประกอบ 4

“โอ้สวรรค์ ใครกันนะที่เห็นความลี้ลับของป่าไพรว่าป่าเถื่อน ฉันว่าเขามองข้ามบางสิ่งบางอย่างไปจริงๆ”

บล็อกของ เงาศิลป์

เงาศิลป์
  พักหลังๆนี้ลูกอ่านหนังสือเยอะมาก บางครั้งไม่มีหนังสือใหม่มาให้อ่าน ลูกจะเฝ้ารอคนที่รับปากว่าจะเอาหนังสือมาให้ หรือว่าเมื่อพ่อไปในเมือง ลูกก็รอว่าน่าจะมีหนังสือมาให้บ้าง
เงาศิลป์
 
เงาศิลป์
กระปุก หมาเพื่อนรักของลูกต้องกลับไปบ้านบัว เพราะพ่อพามันมาเยี่ยมลูกเพียงไม่กี่วันเท่านั้น วันที่มันกลับไปกับพ่อ ลูกมองตามอย่างอาลัย แต่คงเข้าใจในความจำเป็น แม้จะรักมันมากแต่ลูกก็รู้ว่ามันต้องกลับไป เพราะที่นี่ไม่ใช่ที่อยู่ของมัน
เงาศิลป์
ในราวกลางเดือนมิถุนายน ลูกยังลุกขึ้นนั่งได้เองบ้าง และบันทึกประจำวัน นอกจากจะเป็นเรื่องการกินยา อาหาร ที่คล้ายๆกันในแต่ละวัน จะแตกต่างไปบ้างเมื่ออาหารบางอย่างที่ตรวจต่อมไทมัสแล้วกินไม่ได้ ทั้งที่วันก่อนๆเคยกินได้ เช่น บันทึกของวันที่ 19 มิถุนายน ลูกเขียนว่า กินแกงอ่อมไม่ได้
เงาศิลป์
ลูกทำสมาธิด้วยการภาวนาพุทโธตั้งแต่ครั้งแรกที่หลวงพ่อมาสอนให้ ลูกจะนอนหลับตานิ่งๆภาวนา เมื่อวานนี้ แม่ชีคนสวยของลูก มาแนะนำว่า เวลาบริหารร่างกาย ด้วยการยกแขน ยกขา คู้เหยียด จากที่เคยนับจำนวนครั้ง ให้เปลี่ยนมาเป็นท่อง พุท-โธ ยามที่หดขาเข้า พร้อมกับหายใจเข้า ท่องว่าพุท ยามที่เหยียดขาออก พร้อมทั้งหายใจออก ลูกก็ท่องว่า โธ ลูกก็ทำตามนั้น
เงาศิลป์
วันที่ 13 มิถุนายน พ่อต้องไปบรรยายเรื่องเครือข่ายอินแปงกับการพัฒนาสังคมเกษตรกรรมรอบเทือกภูพานที่สกลนคร ลูกตื่นแต่เช้าตรู่ พร้อมพ่อ ในเวลา 03.55 น. พ่อออกไปแล้วลูกนอนต่อ จนตื่นราวๆเจ็ดโมงเช้า เปิดเสียงเทศน์ของหลวงพ่อที่ลูกบันทึกไว้ในโทรศัพท์ฟังวันนี้สดชื่นมาก พ่อบอกว่าหน้าตาแจ่มใส ฉี่ ถ่ายเหลืองเป็นก้อนปกติ(เยอะ) ชงยาญี่ปุ่นกิน แล้วอ่านคำภาวนาอุทิศบุญและคำอธิษฐานบารมีหลวงพ่อกับแม่ชีมาเยี่ยม หลวงพ่อเทศน์สอน ทำสมาธิ แม่ชีคนใหม่สวย จบ doctor บอกว่าจะเอาอาหารเสริมถั่วเหลืงผสมงาดำมาให้ หลวงพ่อกับแม่ชีกลับกินฟักทองแม่ชีเอาอาหารเสริมมาให้ ตรวจแล้วกินไม่ได้
เงาศิลป์
หนึ่งอาทิตย์ที่มาอยู่วัด ในบันทึกของลูกยังเขียนถึงเรื่องอาหารการกินที่เป็นของชอบส่วนตัว เช่น ขนมขาไก่ ทองม้วน ยังมีเรื่องบันเทิงเริงรมย์แทรกเป็นระยะ คือ ดู CD การ์ตูน อ่านหนังสือนิยายที่เป็นบทย่อจากละครโทรทัศน์ ลูกยังมีความรู้สึกนึกคิดแบบเด็กๆยังอยากได้กระเป๋าสตังค์คิดตี้ ยังมีอารมณ์หิวที่เกิดขึ้นรุนแรงจนร้องไห้งอแงยามดึก
เงาศิลป์
เราสามคน พ่อแม่ลูก กลายเป็นคนวัดไปแล้ว อ้อ บางวันมีน้านีมาจากสกลฯ ช่วยทำกับข้าวด้วย และยังผู้รู้เรื่องธรรมชาติบำบัดอีกหลายคน ที่มาช่วยแนะนำสิ่งที่ดีๆให้ แต่แม่ยังต้องเดินไปทำอาหารที่โรงครัวของวัด ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากที่พักของเรานัก ที่นั่นสะอาดและกว้างโล่ง มีน้ำประปาภูเขาให้ใช้อย่างสะดวกสบายเหลือเฟือ อันที่จริงก็ใช้กันทุกมุมวัดอยู่แล้ว เพราะว่าน้ำประปาที่ว่านี้ คือน้ำที่ผุดขึ้นมาเป็นน้ำพุเล็กๆ ที่อยู่อีกฟากหนึ่งของภู ความสูงของพื้นที่ซึ่งสูงกว่าที่วัด หลวงพ่อจึงสร้างประปาภูเขาขึ้นมาอย่างง่ายดาย มีถังน้ำพักน้ำ ณ จุดที่มีน้ำพุหนึ่งลูก แล้วใส่ท่อให้มันวิ่งมาตามท่อน้ำ…
เงาศิลป์
แม่กับพ่อเริ่มทำสวนผักข้างๆ กุฏิ ผักที่ปลูกง่ายที่สุดคือต้นอ่อมแซ่บ พืชตระกูลล้มลุก กลีบดอกบอบบางสีม่วงอมชมพู สีของมันสวยหวานสดใส คนทั่วไปเรียกว่า บุษบาริมทาง แต่คนอีสานมองเห็นเป็นของกินได้ จึงเรียกอ่อมแซ่บ คงมาจากการแกงอ่อมแล้วอร่อยกระมัง ลูกแม่ต้องกินทุกวัน เป็นเมนูผักลวก
เงาศิลป์
เช้าวันที่ 6 มิถุนายน ลูกตื่นเต้นมาก แม่รู้ เมื่อถึงวันที่ต้องเดินทางมาอยู่วัดกับหลวงพ่อ วันนั้นลูกตื่นตั้งแต่เช้าตรู่ เตรียมเก็บเข้าของเครื่องใช้ส่วนตัวใส่กระเป๋าคิดตี้ใบเล็กสีชมพูหวานแหววของลูก แต่เพราะลูกยังมีอาการตัวร้อนเป็นไข้รุมๆ ทำให้แม่กับพ่อเป็นห่วง เราจึงวางแผนเดินทางในตอนเย็น วันนั้นลูกร่าเริงมาก และเขียนบันทึกว่า วันศุกร์ที่ 6 มิถุนายน 2551 วันแห่งความสุขและความสงบวันนี้ตื่นขึ้นมายิ้มรับวันใหม่ด้วยใจที่เบิกบาน มีความสุขในสมุดบันทึกสุขภาพอีกเล่ม ลูกเขียนไว้ว่า
เงาศิลป์
ตอนที่ 5 บันทึกของลูก  รูปรอยต่างๆของลูก ยังคงอยู่เหมือนที่เคยมีลูก แม้แต่ภายในห้องนอน ทุกอย่างยังถูกจัดวางเหมือนเดิม บ้านไม้หลังเล็กๆใต้ถุนสูงแบบโบราณ ซุกตัวอยู่ใต้ร่มเงาไม้น้อยใหญ่หลังนี้ มีห้องนอนสองห้อง ห้องหนึ่งเป็นของลูก ที่เตียงนอนยังมีหนังสือเล่มโปรดวางไว้ที่หัวเตียง อาจมีแปลกออกไปบ้างคือสมุดบันทึกเล่มเล็กๆ 4 เล่ม ที่ลูกเขียนทุกวันเกือบทุกเวลา เพราะลูกตั้งใจบันทึกกิจกรรมการดูแลตัวเองและบทธรรมะเอาไว้ ตลอดเวลาสี่เดือนของความป่วยไข้ แม้กระทั่งวันสุดท้าย โดยที่ไม่มีใครร้องขอให้ทำ
เงาศิลป์
การที่คนป่วยคนหนึ่ง ได้เลือกหนทางรักษาตัวเองด้วยตัวเอง น่าจะมีองค์ประกอบอยู่สองอย่างที่สำคัญ นั่นคือ หนึ่ง ความรู้ที่มีพร้อมในเรื่องวิธีการรักษาที่ตัวเองเลือก สอง ความไม่รู้ในวิธีการใดๆ แต่ต้องตัดสินใจเลือกในสิ่งที่คิดว่าสะดวกทั้งต่อตนเองและคนดูแล