Skip to main content

ไม่รู้ว่าทำไมนักวิชาการที่ชอบใช้ทฤษฎีเมืองนอกเมืองนา ประเภทท่องจำขี้ปากฝรั่งมาพูด (สังเกตดูจากบทความวิชาการที่มักมีวงเล็บภาษาอังกฤษ มีเชิงอรรถในแต่ละหน้าเกือบครึ่งหน้ากระดาษ ฉันไม่ได้รังเกียจหลักการวิชาการของต่างชาติที่มีมาก่อนเรา เพียงแต่สงสัยว่า ตรงไหนกันหนอคือความคิดสร้างสรรค์ที่มาจากสมองของคนเขียน...?) ชอบเอาทฤษฎีมาทดสอบพฤติกรรมเอากับคนเล็กคนน้อย คนที่ไม่ค่อยมีปากมีเสียงในสังคม โดยมักมีคำถามและ “คำพิพากษา” ต่อคนกลุ่มน้อยกลุ่มต่างๆ เมื่อพบเจอคนชาติพันธุ์นุ่งห่มชุดประจำชาติของเขาในกิจกรรมสำคัญ ก็ล้วนมีคำพูดถากถางเสียดสี และพูดคุยกันในกลุ่มของตัวเองแบบเห็นเป็นเรื่องขำ


เวลามีงานแบบนี้ที ถือโอกาสแต่งตัวอวดกันเต็มที่”

ปกติก็ไม่ได้แต่งแบบนี้ พอมีงานก็ลุกขึ้นมาใส่กัน เฟคชัดๆ...”

แต่งตัวแบบวันวานยังหวานอยู่ ของปลอมทั้งนั้น”บริบทการแสดงออกของเขา เป็นต้น


การตั้งธงเอาไว้กับชาวบ้านแบบนี้ ชาวบ้านที่ไหนจะมีความรู้ท่วมหัวเท่านักวิชาการที่จะลุกขึ้นมาตีฝีปากด้วยไหว อีตอนลงพื้นที่เพื่อต้องการไปเก็บข้อมูลที่บ้านเขาก็ทำเป็นจริงใจ แสร้งเป็นพวกเดียวกัน ถามไถ่ซักไซ้เอาข้อมูลจนหนำใจ กลับมาถึงสถาบันหน่วยงานตัวเองก็เที่ยวเอาข้อมูลที่ชาวบ้านบอกเล่าให้มาประสาซื่อนั้น นำมาวิพากษ์วิจารณ์จนชาวบ้านดูราวกับมนุษย์หิน อย่างนี้แถวบ้านผมเรียกว่า “เนรคุณแหล่งข้อมูล”


ลำพังในห้องเสวนา ที่นักวิชาการสายพันธุ์มานุษยวิทยามักชอบเอาทฤษฎีมาถกเถียงกันคอเป็นเอ็น สิ่งที่ถกเถียงกันนั้นก็ไม่ได้ถกเถียงกันบนพื้นฐานความคิดเห็นของตัวเองเป็นส่วนใหญ่ ไปเอาความคิดทฤษฎีคนอื่นที่อ่านเจอมาคนละทฤษฎี เชื่อต่างกัน แล้วก็นำมาถกเถียงกันในฐานะสาวกผู้ซื่อสัตย์ต่อทฤษฎีนั้นๆ ฉันมองไม่เห็นประโยชน์ปัจจุบัน และดูไร้แก่นสารอย่างน้อยก็ในสายตาของฉัน แต่เอาเถอะการที่เขาจะเถียงกันในที่ทางของพวกเขาก็ช่างเถิด แต่การจะเอาทฤษฎีมาเม้าท์ชาวบ้านร้านตลาดนั้นบอกได้เลยว่า มันช่างไร้จริยธรรมเสียจริงนะคุณ


เชื่อหรือไม่ว่านักวิชาการพวกนี้หลายคนเวลาลงพื้นที่เก็บข้อมูลก็ใส่ชุดพื้นเมืองลงพื้นที่เพราะต้องการสร้างความกลมกลืนกับชาวบ้าน (แต่ในความเป็นจริงแล้วสุดจะแปลกแยก ทำเป็นซดเหล้าขาว เคี้ยวหมากปากแดง สิ้นเปลืองของชาวบ้านเขาเปล่าๆ) ส่วนในเวทีประชุมวิชาการก็ใส่เสื้อผ้าฝ้ายและผ้าคลุมไหล่ดูละม้ายเอ็นจีโอ สวมประโปรงบางเบาหรือกางเกงแสล็คกลีบโง้งในชั่วโมงสอนหนังสือหรือเวลาไปร่วมงานสังคมชั้นสูง ชุดครุยยาวกรุยกรายผ้าหนาหลายชั้นในวันรับใบประกาศด๊อกเตอร์ ชุดกระโปรงสีขาวฟูฟ่องหรือสูทหนาเตอะแถมเนคไทรัดต้นคอของบ่าวสาวในวันแต่งงานอย่างกะคนเมืองหนาว คำถามก็คือในเมื่อชีวิตประจำวันไม่ได้แต่งตัวแบบนี้ จู่ๆก็ลุกขึ้นมาแต่ง ใช้ได้หรือไม่ ผิดรัฐธรรมนูญหรือเปล่า ผิดผีไหม


...
ก็คำถามเดียวกับที่นักวิชาการเหล่านี้ถามกับคนอื่นนั่นแหละ

คำตอบของฉันก็คือ มันก็น่าจะแต่งได้ตามกาลเทศะของมัน


ในกรณีของคนที่ปฏิเสธสังคม ปฏิเสธการรับพระราชทานปริญญาบัตร ปฏิเสธงานแต่งงาน ที่จะเป็นแสดงว่าจำยอมอยู่ในชุดที่แสดงความสูญสิ้นอิสระภาพท่ามกลางสายตาผู้คนมากมาย หรือแต่งกายแบบประจานตัวเองว่าพินอบพิเทาศักดินา มันก็อาจตอบโจทย์สำหรับบางคนที่ทำอย่างนั้นได้เหมือนกัน หากภายในใจมีทฤษฎีฝรั่งค้ำคอ รวมทั้งหากการกระทำเช่นนั้นมันทำให้คนรอบข้างมีความสุข โดยไม่มีคำถาม ก็ถือเป็นสิ่งที่ดี ฉันอนุโมทนาด้วย


คนชาติพันธุ์ที่แต่งตัวในชุดประจำชาติของเขาในวาระพิเศษนานๆ ครั้ง โดยไม่ได้แต่งในชีวิตประจำวัน เพราะเขาหลายคนมีแต่ชาติไม่มีประเทศ เขาจึงต้องการพื้นที่แสดงออกแค่บางวันบางเวลา เขาแต่งโดยมีนัยยะอะไรบางอย่างที่ต้องการจะบอกเล่ากับคนพวกเดียวกัน และอีกนัยยะหนึ่งสำหรับคนต่างพวก ที่นักวิชาการเหล่านี้ไม่มีวันจะเข้าใจ


นกเอี้ยงเอ๋ย... เอ็งจงบินไปเสียจากไหล่ของนักวิชาการเหล่านี้เถิด ไหล่ของนักวิชาการผู้หลงไหลและมัวเมาในทฤษฎี นักวิชาการผู้ปฏิเสธความจริงที่ทิ่มแทงจิตใต้สำนึกของตัวเองอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน ฉันได้แต่หวังว่านักวิชาการเหล่านี้เขาคงจะไม่ใส่ชุดนอนลายแตงโมไปประชุมกับอธิการบดี นุ่งกางเกงตีเทนนิสไปถวายสังฆทานที่วัด ใส่ชุดดำไปเยี่ยมคุณลุงที่โรงพยาบาล ใส่สูทสีแดงไปงานศพคุณตา หรือนุ่งกระโจมอกไปโดดสระที่โอเรียนเต็ล ฉันเชื่อว่าคุณๆ แต่ละคนเขาคงจะมีคำตอบให้กับตัวเองกันทั้งนั้น ซึ่งคนชาติพันธุ์เขาก็มีคำตอบที่พอเหมาะพอดีให้ตัวเขาเองเหมือนกัน อย่าไปตั้งประเด็นในเรื่องแบบนี้นักเลย มันไม่เห็นสร้างสรรค์ตรงไหน

 

 

 

บล็อกของ องค์ บรรจุน

องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุนเราต่างเกิดมาพร้อมข้อมูลส่วนบุคคล สามารถสืบย้อนโคตรวงศ์กลับไปได้ไม่รู้จบ ผิวพรรณ ฐานะ และเชื้อชาติของผู้ให้กำเนิดย่อมเป็นข้อมูลที่เกิดรอล่วงหน้า เป็นมรดกสืบสันดานมาต่อไป ส่วนศาสนาและการศึกษาถูกป้อนขณะอยู่ในวัยที่ยังไม่อาจเลือกเองเป็น หลังจากนั้นหากต้องการแก้ไขก็ทำได้เองตามชอบ ศัลยกรรมทำสีผิว ผ่าตัดแปลงเพศ หรือแม้แต่เปลี่ยนศาสนา กระทั่งสัญชาติก็เปลี่ยนกันได้ ยกเว้น “เชื้อชาติ” ที่ไม่มีใครสามารถเปลี่ยน ในงานเสวนา “มอญในสยามประเทศ (ไทย) ชนชาติ บทบาท และบทเรียน” เมื่อวันที่ ๓๐ พฤษภาคม ๒๕๕๑ ณ ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร อาจารย์สุจิตต์ วงษ์เทศ กล่าวถึงความล้าหลังคลั่ง “เชื้อชาติ” ว่า…
องค์ บรรจุน
ภาสกร อินทุมาร ๑ จำได้ว่าเมื่อตอนที่ผมริเป็นนักดนตรีไทยใหม่ๆ ในวัยเด็ก และได้ฟังเพลง “ราตรีประดับดาว” เป็นครั้งแรกนั้น ผมรู้สึกว่าเพลงนี้ช่างเพราะเหลือเกิน เพราะทั้งทำนองและเนื้อร้อง โดยที่เนื้อร้องมีอยู่ว่า… วันนี้                                 แสนสุดยินดี พระจันทร์วันเพ็ญ ขอเชิญสายใจ                       …
องค์ บรรจุน
ขนิษฐา คันธะวิชัย ข้าพเจ้าทราบข่าวว่าในวันที่ 2 พฤษภาคม 2551 ได้เกิดพายุไซโคลนนาร์กีส จากอ่าวเบ็งกอร์  อันที่ได้สร้างความเสียหายทางด้านชีวิต และทรัพย์สินแก่ประชาชนชาวพม่า ที่อาศัยอยู่ในเขตตอนล่างของประเทศจีน จนถึงกลุ่มชนมอญ กระเหรี่ยง เป็นจำนวนมากโดยเป็นตัวแทนรัฐบาล ประชาชน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ข้าพเจ้าขอแสดงความเสียใจ และเห็นใจมายังท่าน และประชาชนชาวพม่า จะสามารถฟื้นฟูเขตที่เกิดความเสียหายจากภัยพิบัติในครั้งนี้ด้วยความเคารพและนับถืออย่างสูงนครหลวงเวียงจันทน์ วันที่ 5 พฤษภาคม 2551  ข้างต้นนี้เป็นสาส์นแสดงความเสียใจที่ฯพณฯท่านบัวสอน บุบผานุวง นายกรัฐมนตรีแห่ง…
องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุน“มอญอะไร นุ่งผ้าถุงลายนี้ มีผ่าหลังด้วย มอญเค้าไม่มีกันหรอก” นักวิชาการมหาวิทยาลัยเปิดแถวเมืองนนท์ชี้ให้ดู“มอญของแท้ต้องโสร่งแดง นุ่งลอยชายแบบพระประแดงนั่นน่ะมอญแปลง เอาแบบกรมศิลป์มาใส่...” พิธีกรสุดเริ่ดดอกเตอร์หมาดๆ รายการเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ข้างตำราพูดเสียงยาวแล้วยังจะอีกพะเรอเกวียน ตำหนิ ติ บ่น ก่น ด่า ถากถาง ตั้งความฝัน คาดหวังให้เป็น ขีดเส้นให้ตาม- - - - - - - - - - -จิตรกรรมฝาผนังวัดบางแคใหญ่ สมุทรสงคราม สมัย ร. 2 เป็นภาพสาวมอญนุ่งผ้าแหวกผ่านกลุ่มชายหนุ่ม และถูกเกี้ยวพาราสี
องค์ บรรจุน
ภาสกร อินทุมาร๑เดือนกุมภาพันธ์เป็นเดือนที่คนไทยในกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ อย่างน้อย ๒ กลุ่ม คือ จีนและมอญ  มีกิจกรรมทางวัฒนธรรมที่ผูกโยงอยู่กับ “อัตลักษณ์” (identity) ของชาติพันธุ์แห่งตน นั่นก็คือ “วันตรุษจีน” หรือการเฉลิมฉลองการขึ้นปีใหม่ตามคติจีน ที่รวมถึงการรำลึกถึงบรรพชนของตน และ “วันรำลึกชนชาติมอญ” ที่คนไทยในกลุ่มชาติพันธุ์มอญจากหลายจังหวัดทั่วประเทศมารวมตัวเพื่อกันทำบุญให้แก่บรรพชนผู้ล่วงลับ และร่วมกันจัดกิจกรรมทางวัฒนธรรม คนจีนและคนมอญได้เข้ามาตั้งถิ่นฐานในอาณาบริเวณที่เรียกว่าประเทศไทยในปัจจุบันตั้งแต่ก่อนการสถาปนาความเป็น “รัฐชาติ” (nation state) มาเนิ่นนาน…
องค์ บรรจุน
ขนิษฐา คันธะวิชัยอากาศช่วงนี้ช่างร้อนระอุได้ใจยิ่งนัก แม้ว่าฝนจะตกลงมาอย่างหนักในบางที แต่ก็ไม่ได้ช่วยให้หายร้อนแต่ประการใด ร้อนๆ แบบนี้พาให้หงุดหงิดง่าย แต่พ่อฉันมักจะสอนว่า “นี่คือธรรมชาติที่มันต้องเกิด เราต้องเข้าใจธรรมชาติ คนที่ไม่เข้าใจและโมโห หงุดหงิดกับธรรมชาติคือคนเขลา และจะไม่มีความสุข” *******************
องค์ บรรจุน
สุกัญญา เบาเนิดในช่วงเวลาของการแสวงประสบการณ์ ผู้เขียนมีความใฝ่ฝันมานานแล้วว่าครั้งหนึ่งในชีวิตขอให้ได้มีโอกาสทำงานโบราณคดีในภาคเหนือสักครั้ง  ดังนั้น เมื่อราวกลางปีพ.ศ. ๒๕๓๙ ผู้เขียนจึงเดินทางขึ้นเหนือและ เริ่มต้นงานแรกที่จังหวัดลำปาง คืองานบูรณะซ่อมแซมวิหารจามเทวี วัดปงยางคก ตำบลปงยางคก อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง จากนั้นอีกไม่กี่เดือนเมื่องานที่ลำปางเสร็จสิ้นลง ก็เดินทางต่อมาที่เชียงใหม่ เพื่อทำการขุดศึกษาทางโบราณคดีที่เจดีย์เหลี่ยม หรือ กู่คำ เจดีย์สำคัญของเวียงกุมกาม ตลอดเวลาที่มองเห็นซากปรักหักพังของวัดร้างในเวียงกุมกาม น่าแปลกใจที่ตอนนั้นยังไม่ได้มีความคิดเกี่ยวกับมอญเท่าไรนัก…
องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุนวงดนตรีพื้นเมืองของแต่ละชาติย่อมมีเอกลักษณ์เป็นของตนเอง แต่กระนั้นวงดนตรีที่อยู่ในภูมิภาคใกล้เคียงกัน ไม่ว่าพม่า มอญ ไทย ลาว เขมร ย่อมมีความคล้ายคลึงกันเพราะต่างได้รับอิทธิพลซึ่งกันและกัน โดยเฉพาะดนตรีมอญกับไทยมีความใกล้เคียงกันมาก ทั้งเครื่องดนตรีและทางดนตรี เหตุเพราะไทยรับเอาอิทธิพลของดนตรีมอญมาไม่น้อย ในเมืองไทยจึงมีเพลงมอญเก่าแก่หลงเหลืออยู่มากมาย เช่น แประมังพลูทะแย กชาสี่บท ดอมทอ ขะวัวตอฮ์ เมี่ยงปล่ายหะเลี่ย เป็นต้น [1] รวมทั้งครูเพลงมอญในเมืองไทยยังได้มีการแต่งเพลงไทยสำเนียงมอญขึ้นมาอีกมากมาย เช่น มอญรำดาบ มอญดูดาว (เพลงประจำมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์) มอญอ้อยอิ่ง มอญแปลง…
องค์ บรรจุน
ขนิษฐา คันธะวิชัยสมาชิกชมรมเยาวชนมอญกรุงเทพรื่นเริงบันเทิงใจและปลาบปลื้มชื่นชม...เคยมีคนบอกกับฉันว่า ฉันไม่ควรไปร่วมงานวันชาติมอญในเมืองมอญเพราะฉันต้องเคารพความศักดิ์สิทธิ์ของพิธีกรรมและความเป็นชนชาติของชาวมอญ จึงทำให้ฉันไม่แน่ใจว่าการใช้คำ “รื่นเริงบันเทิงใจ” หรือ “ปลาบปลื้มชื่นชม” จะเป็นการสมควรหรือไม่ แต่นั่นก็คือความรู้สึกที่ฉันได้รับจากการไปงานวันชาติมอญครั้งที่ 61 ที่จัดขึ้น ณ หมู่บ้านบ่อญี่ปุ่น (ปะลางเจปาน) ด่านเจดีย์สามองค์ ซึ่งเป็นหมู่บ้านมอญที่อยู่นอกพรมแดนประเทศไทย งานวันชาติมอญนี้จัดกันหลายที่ทั่วโลกที่มีชุมชนมอญอยู่ ทั้งในไทย มาเลเซีย เกาหลีใต้ อังกฤษ แคนาดา สิงคโปร์ สหรัฐอเมริกา…
องค์ บรรจุน
ภาสกร อินทุมาร“วันรำลึกชนชาติมอญ” ที่จัดขึ้นทุกปีนั้น ปีนี้ จัดขึ้นระหว่างวันที่ ๒-๓ กุมภาพันธ์ ณ วัดบ้านไร่เจริญผล ตำบลพันท้ายนรสิงห์ อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร ด้วยความร่วมมือของชมรมเยาวชนมอญกรุงเทพ วัดบ้านไร่เจริญผล และพี่น้องชาวมอญจากหลายๆ พื้นที่ก่อนงานจะเริ่ม พวกเรา-คณะเตรียมงาน ประมาณ ๑๐ คน ได้เดินทางไปยังสถานที่จัดงานตั้งแต่วันที่ ๑ เพื่อเตรียมความพร้อมต่างๆ ตั้งแต่การตกแต่งบริเวณงานด้วยธงราวรูปหงส์ที่พวกเราทำขึ้น, การผูกผ้าและจัดดอกไม้, การตกแต่งเวที, การติดตั้งนิทรรศการเคลื่อนที่, การเตรียมสถานที่สำหรับทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้บรรพชนมอญ ฯลฯ…
องค์ บรรจุน
สุกัญญา เบาเนิดและแล้วสิ่งที่ไม่ต้องการให้เกิดขึ้นก็เกิดขึ้นจนได้....เมื่อเช้าตรู่ของวันเสาร์ที่ ๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑ วันแรกของการจัดงานวันรำลึกชนชาติมอญครั้งที่ ๖๑ ณ วัดบ้านไร่เจริญผล ตำบลพันท้ายนรสิงห์ อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร โดย วัดและชุมชนมอญบ้านไร่เจริญผล ร่วมกับชมรมเยาวชนมอญกรุงเทพฯ ข้าพเจ้าตื่นขึ้นพร้อมกับเสียงตระหนกของเพื่อนคนหนึ่งที่วิ่งกระหืดกระหอบนำข่าวของเช้านี้มาบอก “....เร็วๆมาดู อะไรนี่ ...ยกโขยง มากันเป็นร้อยเลยว่ะ...เต็มวัดไปหมด .....”  ในทันทีนั้นข้าพเจ้าจึงชะโงกหน้ามองจากหน้าต่างชั้นบนของศาลาการเปรียญที่พวกเราอาศัยซุกหัวนอนกันตั้งแต่เมื่อคืนเพื่อมาเตรียมจัดงาน…
องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุน“ทะแยมอญ” เป็นการละเล่นพื้นบ้านของมอญอย่างหนึ่ง สำหรับท่านที่ไม่เคยได้ยินมาก่อน คงหลับตานึกภาพไม่ออก แต่อธิบายให้ฟังเพิ่มเติมว่า เป็นการแสดงที่ให้อารมณ์คล้ายๆ การแสดงลำตัดของไทย เป็นการร้องโต้ตอบด้วยปฏิภาณกวี มีทั้งเรื่องธรรมและเกี้ยวพาราสีของนักแสดงชายหญิงประกอบวงมโหรีมอญ คนที่ฟังไม่ออกก็อาจเฉยๆ แต่หากเป็นคนมอญรุ่นที่หิ้วเชี่ยนหมากมานั่งฟังด้วยแล้วละก็ เป็นได้เข้าถึงอารมณ์เพลง ต้องลุกขึ้นร่ายรำตามลีลาของมโหรี หรือบางช่วงอาจเพลินคารมพ่อเพลงแม่เพลงที่โต้กลอนกันถึงพริกถึงขิง อาจต้องหัวเราะน้ำหมากกระเด็นไปหลายวาทีเดียวทะแยมอญบ้านเจ็ดริ้ว อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร ถ่ายเมื่อราวปี…