Skip to main content

1.

ฤดูหนาว...
เชื่อว่าใครหลายคนคงรู้สึกชื่นชอบฤดูกาลนี้กันเป็นพิเศษ
บางคนชื่นชอบเพราะชีวิตได้สัมผัสกับไอหนาว หมอกขาว ตะวันอุ่น...
หลายคนอาจหลงรักดอกไม้ที่พากันแข่งชูช่อเบ่งบานล้อลมหนาวกันดื่นดาษ
บางคนอาจชื่นชอบ เพราะเป็นฤดูกาลแห่งการถวิลหาความหลัง
ที่ครั้งหนึ่งนั้นมีหัวใจที่เคยระรื่นชื่นสุข
บางคนอาจชื่นชอบเพราะความสะอาดสดของอากาศของฤดูหนาว

ทว่าเมื่อหันไปมองคนอีกกลุ่มหนึ่งบนดอยสูง ในพื้นที่ทุรกันดารและห่างไกล...
ฤดูหนาวกลับกลายเป็นความทารุณ โหดร้ายมากพอๆ กับความตายกันเลยทีเดียว
ใช่, ความหนาว
ทำให้หลายชีวิตต้องเผชิญกับความเป็นความตายมานับไม่ถ้วนแล้วหละ

นึกไปถึงร่างอันบอบบาง เนื้อตัวสั่นเทาของพ่อเฒ่าแม่เฒ่า
ที่นั่งงอเข่าอยู่ข้างเตาไฟในเพิงกระท่อมไม้ไผ่โย้เย้ใกล้ผุพัง

คิดถึงเธอ เด็กๆ บนดอยภู ที่เนื้อตัวผ่ายผอมมอมแมม สวมเสื้อเก่าบางและฉีกขาด
นั่งล้อมวงผิงไฟอยู่ข้างกองไฟที่ใกล้จะมอดดับในคืนหนาวเหน็บ

หรือว่าความหนาว
คือสิ่งที่โลกได้บรรจุเอาไว้ในหลักสูตรแห่งการต่อสู้
และเรียนรู้ ชะตากรรม
ว่าชีวิตเอย...จงผจญ อดทน
และฝ่าฟันเพื่ออยู่รอดให้ถึงวันพรุ่ง...

2.

1

2

เมื่อสัปดาห์ก่อน ผมกลับจาก อ.ฝาง
มาพร้อมกับภาพถ่ายและความต้องการของชีวิตคนเล็กๆ กลุ่มหนึ่ง
ทางการไทยและคนไทย เรียกพวกเขาว่า “ปะหล่อง”
ในขณะที่พวกเขาเรียกตัวเองว่า “ดาระอั้ง”
พวกเขาคือเผ่าพันธุ์พื้นเมืองที่ไม่ชอบความรุนแรง
ต้องระเหเร่ร่อนหนีตายจากสงครามความขัดแย้งในเขตพม่า
กระทั่งพาครอบครัวหอบลูกหนีถอยร่นข้ามมายังฝั่งไทย
ทุกวันนี้ เขาได้มาขออาศัยสร้างกระท่อมไม้ไผ่อยู่บนเนินเขา
ในเขต อ.ฝาง ไม่ไกลนักจากรอยตะเข็บชายแดน

3

4

แหละนี่คือถ้อยคำขอความเมตตาส่งผ่านมา...

“บนดอยเล็กๆ ทางไปหน่วยจัดการต้นน้ำแม่เผอะ อ.ฝาง จ.เชียงใหม่
มีชาวปะหล่อง (ดาระอั้ง) ซึ่งอพยพมาบ้าง ตั้งถิ่นฐานแถบนี้มาแต่เดิมบ้าง
อยู่กันเป็นชุมชนเล็กๆ อาศัยการรับจ้างและปลูกข้าวไร่ ทำมาหากินไปตามประสา
หนาวปีนี้อุณหภูมิต่ำ และลดลงรวดเร็วจนน่ากลัว วันสองวันที่ผ่านมา
เช้าๆ บนดอยแห่งนี้อุณหภูมิราว 6-8 องศา
เด็กๆ และผู้หญิง รวมทั้งผู้เฒ่าผู้แก่ เจ็บป่วยกันมาก
หากใครมีผ้าห่มเก่า หรือผ้าห่มสภาพที่พอใช้งานได้ กับเสื้อกันหนาว
เสื้อวอร์ม กางเกงวอร์ม หมวกไหมพรม ถุงมือ ถุงเท้า ฯลฯ ทุกขนาด...
สามารถส่งไปร่วมทำบุญได้ที่ี่
มูลนิธิเมตตาธรรมรักษ์ ตู้ ปณ.53 อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ 50110
หรือติดต่อ คุณน้อย อาภาวดี งามขำ 0867575156
โปรดอภัย ที่บางเวลาสัญญาณไม่ค่อยดี
(เจ้าหน้าที่มูลนิธิจะรวบรวมแล้วนำไปให้กับพี่น้องปะหล่องเหล่านั้นเร็วที่สุดเท่าที่จะเร็วได้...
และขอความกรุณางดบริจาคเป็นเงิน
เพราะเป็นการเพิ่มภาระในการจัดซื้อจัดหาแก่คนทำงานมูลนิธิเล็กๆ แห่งนั้น)”



3.

“อ้าย...ช่วยขอบริจาคเสื้อกันหนาว ผ้าห่มให้หน่อย...”
เสียงของน้องสาวอีกคนหนึ่งแว่วมาทางโทรศัพท์ไร้สาย
เธอเป็นคนเชียงดาวแต่ขึ้นไปเป็นครูดอยอยู่บนดอยสูงแถบ อ.อมก๋อม จ.เชียงใหม่
บอกว่าบนดอยตอนนี้หนาวมากๆ
"เอ็นดูละอ่อน บ่มีผ้าห่ม เสื้อกันหนาวกันเลย..." น้ำเสียงเธอวิงวอน

ล่าสุด, ผมนัดพบเธอข้างล่าง เธอเอารูปถ่ายบรรยากาศของเด็กๆ ชนเผ่าปว่าเก่อญอ หรือกะเหรี่ยงโปว์ รวมทั้งภาพศูนย์การเรียนฯ (น่าจะเป็นเพิงพัก หรือโรงนามากกว่า) มาให้ ก่อนบอกย้ำว่า อยากได้ผ้าห่ม เสื้อกันหนาว อุปกรณ์สำหรับเด็กนักเรียน รวมทั้งทุนที่จะนำไปจัดในกิจกรรมวันเด็กดอย ที่จะจัดขึ้นในวันเสาร์ที่ 12 มกรา 51 นี้...

5

6

เธอบอกเล่าให้ฟังว่า..ที่ตั้งของศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา "แม่ฟ้าหลวง" บ้านห้วยลอก ตั้งอยู่ภายในชุมชนบ้านห้วยลอก ซึ่งเป็นชุมชนชาวปว่าเก่อญอ อยู่กัน 64 ครัวเรือน จำนวนประชากรทั้งหมด 316 คน หมู่ที่ 18 ต.นาเกียน อ.อมก๋อย จ.เชียงใหม่ อำเภอที่ว่ากันว่าทุรกันดารห่างไกลที่สุดของ จ.เชียงใหม่

ระยะทางอยู่ห่างจากตัวอำเภออมก๋อยถึง 50 กิโลเมตร บนถนนลูกรัง เป็นหลุมเป็นบ่อ ขรุขระและสูงชัน หน้าแล้งต้องใช้เวลาเดินทางลงไปตัวอำเภอกว่า 3 ชั่วโมง

ส่วนหน้าฝนไม่ต้องพูดถึง หมู่บ้านแทบถูกตัดขาดจากโลกถายนอก ถนนปิด รถยนต์เข้าออกไม่ได้ ต้องอาศัยมอเตอร์ไซค์วิบาก ซึ่งต้องต้องใช้เวลาปีนป่ายขึ้นไปเป็นวันเลยทีเดียว

แน่นอน ชาวบ้านส่วนใหญ่จึงใช้การเดินเท้า เมื่อจำเป็นต้องลงมาติดต่อกับเมืองข้างล่าง

7

8

และเมื่อถึงยามหน้าหนาวครั้งใด...ทุกคนก็อยู่กับความหนาวเหน็บ เนื่องจากบนดอยสูง อากาศเย็นมาก ผู้คนจะคลายหนาวด้วยกองไฟ บางหลังคาเรือนก็ไม่มีผ้าห่มที่จะเพียงพอต่อสมาชิกในบ้าน จะซื้อก็ไม่เงินซื้อ เพราะชาวบ้านที่นั่นยากจน เพราะมีปัญหาเรื่องน้ำในการทำการเกษตร ต้องทำไร่ได้เฉพาะในหน้าฝนเท่านั้น

ผมฟังเธอเล่าแล้วก็อดคิดไปต่างๆ นานา ไม่ได้...
คิดไปถึงเมื่อครั้งที่ผมเคยเป็นครูดอย แล้วมานั่งมองน้องสาวคนนี้
ผ่านไปเป็นสิบปี เหตุการณ์บนดอยก็ยังเหมือนเดิม...
และยังมองเห็นความแปลกแยก ความเหลื่อมล้ำที่ซ่อนซุกอยู่ในดงดอยอยู่เช่นเดิม เมื่อหันมามอง เปรียบเทียบกับหลายๆ ชีวิตในเมืองใหญ่

น่าสนใจ น่าเห็นใจและสงสารเธอ...
เมื่อรู้ว่าเธอ ครูผู้หญิงคนเดียว แต่ต้องรับผิดชอบทุกอย่างด้วยตัวเองเพียงลำพัง
สอนหนังสือดูแลเด็กในหมู่บ้านทั้งหมดถึง 82 คน
(ซึ่งเมื่อนึกถึงตอนที่ตัวเองเคยสอนในช่วงนั้น ผมรับผิดชอบเด็กทั้งหมด 50กว่าคน นั่นก็ถือว่าเยอะมากแล้ว)

"เด็กบางคนไม่มีเสื้อกันหนาว ไม่มีรองเท้าใส่เลยนะอ้าย..." เธอเล่าให้ฟังในวันนั้น

9

10

11

12


4.

มาถึงตรงนี้...ผมรับปากว่า จะช่วยเป็นธุระประชาสัมพันธ์เชิญชวนมิ่งมิตรผู้มีจิตเมตตา ช่วยบริจาคผ้าห่ม เสื้อกันหนาว หมวกไหมพรม...รวมทั้งทุนสำหรับเด็กดอยและพี่น้องชนเผ่าปะหล่อง ซึ่งทุกท่านสามารถส่งเป็นพัสดุทางไปรษณีย์ เพื่อง่ายต่อการรับ

ได้ที่

องอาจ เดชา
เลขที่ 159/34 ถนนเจ็ดยอด ซอย 7
ต.ช้างเผือก อ.เมือง
จ.เชียงใหม่
50300

หรือจะส่งไปให้พี่น้องชนเผ่าปะหล่อง (ดาระอั้ง) โดยตรงที่
มูลนิธิเมตตาธรรมรักษ์
ตู้ ปณ.53 อ.ฝาง
จ.เชียงใหม่ 50110

และเมื่อรวบรวมได้มากพอแล้ว ก็จะได้นำขนส่งไปยังพื้นที่ต่อไปครับ

บล็อกของ ภู เชียงดาว

ภู เชียงดาว
ผมรู้ว่าสี่ห้าปีมานี้ ผมเขียนบทกวีได้ไม่กี่ชิ้น อาจเป็นเพราะต้องอยู่กับโลกข่าวสารที่จำเป็นต้องเร่งและเร็ว หรืออาจเป็นเพราะว่ามีบางสิ่งบางอย่างบดบัง จนหลงลืมมองสิ่งที่รอบข้าง มองเห็นอะไรพร่ามัวไปหมด หรือว่าเรากำลังหลงลืมความจริง...ผมเฝ้าถามตัวเอง...  อย่างไรก็ตามเถอะ...มาถึงตอนนี้ ผมกำลังพยายามฝึกใช้ชีวิต ให้อยู่กับความฝันและความจริงไปพร้อมๆ กัน ช่วงนี้ หลังพักจากงานสวน ผมจึงมีเวลาอยู่กับความเงียบลำพัง เพ่งมองภายในและสิ่งรายรอบมากยิ่งขี้น และผมเริ่มบันทึกบทกวีแคนโต้เหมือนสายน้ำ หลั่งไหล อย่างต่อเนื่อง ทุกวันๆ ตามดวงตาที่เห็น ตามหัวใจได้สัมผัสต้อง บ่อยครั้งมันมากระทบทันใด ไม่รู้ตัว…
ภู เชียงดาว
เกือบสามเดือนแล้วที่ผมพาตัวเองกลับมาอยู่ในหุบเขาบ้านเกิด ชีวิตส่วนใหญ่จึงขลุกอยู่แต่ในสวน ไม่ค่อยได้เดินทางไปไหนไกล แต่ผมกลับไม่รู้สึกว่าเหงาหรือห่างไกลกับผู้คนเลย เพราะในแต่ละเดือนมักมีมิ่งมิตรเดินทางมาเยี่ยมเยือนหากันตลอด  และทำให้ผมรู้อีกอย่างหนึ่งว่า...บางทีการอยู่นิ่งก็หมายถึงการเดินทาง ใช่ ผมหมายถึงว่า ในขณะที่ผมอยู่ในสวน หากยังมีผู้คนเดินทางแวะเวียนมาหา และที่น่าสนใจมากกว่านั้นก็คือ ผมยังมองเห็นเมล็ดพันธุ์เดินทางมายังสวนอย่างต่อเนื่อง “ผมเอาเมล็ดพันธุ์มาฝาก...” นักเดินทางคนหนึ่งเดินทางไกลมาจากสงขลา ล้วงเอาเมล็ดพันธุ์ที่ใส่ไว้ในกล่องฟิล์มยื่นให้ ขณะผมกำลังง่วนทำงานอยู่ในสวน
ภู เชียงดาว
หลังดินดำน้ำชุ่ม เขาหยิบเมล็ดพันธุ์หลากหลายมากองวางไว้ตรงหน้า มีทั้งเมล็ดผักกาดดอยที่พ่อนำมาให้ เมล็ดฟักทองที่พี่สาวฝากมา นั่นเมล็ดแตงกวา เมล็ดหัวผักกาด ถั่วพุ่ม ผักบุ้ง บวบหอม ผักชี ฯลฯ เขาค่อยๆ ทำไปช้าๆ ไม่เร่งรีบ ทั้งหว่านทั้งหยอดไปทั่วแปลง เสร็จแล้วเดินไปหอบใบหญ้าแฝกที่ตัดกองไว้ตามคันขอบรอบบ้านปีกไม้มาปูบนแปลงผักแทนฟางข้าว ให้ความชุ่มชื้นแก่ดินหลังจากนั้น เขามองไปรอบๆ แปลงริมรั้วยังมีพื้นที่ว่าง เขาเดินไปถอนกล้าตำลึง ผักปลัง ผักเชียงดา มะเขือ พริก อัญชัน ตะไคร้ ขิง ข่า กระเพรา โหระพา สาระแหน่ ฯลฯ มาปลูกเสริม หยิบลูกมะเขือเครือ(ที่หลายคนเรียกกันว่าฟักแม้วหรือซาโยเต้)…
ภู เชียงดาว
ในช่วงสองเดือน ก่อนที่เขาจะตัดสินใจลาออกจากงานประจำ เกือบทุกเสาร์-อาทิตย์ เขาใช้เวลาเทียวขึ้นเทียวล่องระหว่างเมืองกับสวนในหุบเขาบ้านเกิด เพื่อวางแผนลงมือทำสวนผักหลังบ้าน แน่นอน- -เพราะเขาบอกกับตัวเองย้ำๆ ว่าหากคิดจะพามนุษย์เงินเดือน กลับไปใช้ชีวิตแบบนั้นได้ จำเป็นอย่างยิ่งจะต้องมีฐานที่มั่น และมีผักไม้ไซร้เครือเตรียมไว้ให้พร้อม ให้พออยู่พอกินเสียก่อน ใช่ เขาหมายถึงการสร้างฐานความมั่นคงทางอาหาร ด้วยการปลูกพืชผักสวนครัวหลังบ้าน   หลายคนอาจบอกว่า งานทำสวนนั้นไม่ใช่เรื่องยาก เหมือนกับงานสาขาอาชีพอื่น แต่ก็อีกนั่นแหละ เขากลับมองว่า งานสวนไม่ใช่เรื่องยาก แต่ก็ไม่ใช่เรื่องง่าย…
ภู เชียงดาว
1. ในชีวิตคนเรานั้นคงเคยตั้งคำถามที่ไม่แตกต่างกันเท่าใดนัก คำถามคลาสสิกหนึ่งนั้นคือ...“คนเราต้องการอะไรในชีวิต!?...” คำตอบส่วนใหญ่ก็คงหนีไม่พ้นต้องการปัจจัยสี่ในการดำรงชีวิต ...อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย ยารักษาโรค หากปัจจุบัน ‘เงิน’ กลับกลายเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดของคนเรา แน่นอน, เมื่อเอาเงินเป็นตัวกำหนดชะตากรรม,ชีวิต จึงทำให้ทุกคนต้องดิ้นรนเพียงเพื่อให้ได้มาทุกสิ่งทุกอย่าง จนทำให้ชีวิตหลายชีวิตนั้นขวนขวายทำงานกันอย่างหน่วงหนัก ‘การงาน’ ได้กระชากลากเหวี่ยงเรากระเด็นกระดอนไปไกลและไกล ให้ออกไปเดินบนถนนของความโลภ ไปสู่เมืองของความอยาก ไปสู่กงล้อของการไขว่คว้าที่หมุนวนอยู่ไม่รู้จบ…
ภู เชียงดาว
ค่ำนั้น, ฟ้าเริ่มครึ้มมัวหม่นเมฆฝน ข้ายืนจดจ้องฝูงมดดำเคลื่อนขบวนมหึมา ไต่ไปบนปีกไม้ไปหารวงรังแตนเกาะริมขอบหน้าต่างบ้านปีกไม้ หมู่มดยื้อแย่งขนไข่แตนกันออกจากรัง อย่างต่อเนื่อง ขณะฝูงแตนบินว่อนไปมาด้วยสัญชาติญาณ คงตระหนกตกใจระคนโกรธขึ้งเคียดแค้น แต่มิอาจทำอะไรพวกมันได้ เหล่าฝูงมดอาศัยพลพรรคนับพันนับหมื่นชีวิต ใช้ความได้เปรียบเข้าปล้นรังไข่พวกมันไปหมดสิ้น ไม่นาน ขบวนมดจำนวนมหาศาลก็ถอยทัพกลับไป ฝูงแตนไม่รู้หายไปไหน เหลือเพียงรังแตนที่กลวง ว่างเปล่า
ภู เชียงดาว
ในที่สุด, ผมก็พาตัวเองกลับคืนสู่บ้านเกิดอีกครั้ง หลังจากโชคชะตาชักชวนชีวิตลงไปอยู่ในโลกของเมืองตั้งหลายขวบปี การกลับบ้านครั้งนี้ ผมกะเอาไว้ว่า จะขอกลับไปพำนักอย่างถาวร หลังจากชีวิตเกือบค่อนนั้นระหกระเหินเดินทางไปหลายหนแห่ง ผ่านทุ่งนา ภูเขา แม่น้ำ ทางป่า ถนนเมือง... จนทำให้บ้านเกิดนั้นเป็นเพียงคนรู้จักที่ไม่คุ้นเคย เป็นเหมือนโรงเตี๊ยมพักผ่อนชั่วคราวก่อนออกเดินทางไกล อย่างไรก็ตามได้อะไรมากและหลากหลาย... สำหรับทุกสิ่งทุกอย่างที่เข้ามาสู่,ชีวิตการกลับบ้านเกิดหนนี้, เหมือนกับว่าไปเริ่มสู่จุดเริ่มต้นและก่อเกิด ผมบอกกับหลายคนว่ากำลังเกิดใหม่เป็นหนที่สามจากบ้านเกิด เข้ามาเรียนในเวียง…
ภู เชียงดาว
‘ลุ่มน้ำแม่ป๋าม’ ถือว่าเป็นลุ่มน้ำสาขาหลักที่สำคัญของแม่น้ำปิงอีกสายหนึ่งของอำเภอเชียงดาว ที่เราจะมองข้ามไปไม่ได้เลย เมื่อย้อนทวนขึ้นไปบนความสลับซับซ้อนของต้นกำเนิดน้ำแม่ป๋าม หรือที่หลายคนเรียกกันว่า ตาน้ำ จะพบว่าอยู่บริเวณชุมชนบ้านแม่ปาคี ต.สันทราย ของ อ.พร้าว ก่อนจะลัดเลาะไหลอ้อมตีนดอยผาแดง ลงสู่หุบห้วยบริเวณบ้านป่าตึงงาม โดยมีสายน้ำย่อยอีกสายหนึ่ง คือน้ำแม่ป๋อย ได้ไหลมารวมกับน้ำแม่ป๋ามตรงสบน้ำบ้านออน ต.ปิงโค้ง อ.เชียงดาว นอกจากนั้นยังมีลำน้ำแม่มาดอีกสายหนึ่ง ซึ่งมีขุนน้ำอยู่บริเวณป่าเชิงดอยบ้านปางโม่ ก็ได้ไหลมาสมทบกับน้ำแม่ป๋าม แล้วค่อยไหลผ่านหมู่บ้านแม่ป๋าม…
ภู เชียงดาว
มองไปในความกว้างและเวิ้งว้าง ทำให้ผมอดครุ่นคิดไปลึกและไกล และพลอยให้อดนึกหวั่นไหวไม่ได้ หากภูเขา ทุ่งนาทุ่งไร่ สายน้ำ และวิถีชีวิตในหมู่บ้านเกิดของผมต้องเปลี่ยนไป เมื่อมีสิ่งแปลกปลอมที่อยู่นอกเหนือธรรมชาติเข้ามาเยือน
ภู เชียงดาว
‘…เรารู้ซึ้งถึงสิ่งนี้ โลกนี้มิใช่ของมนุษย์ มนุษย์ต่างหากที่เป็นสมบัติของโลก สิ่งนี้เรารู้ ทุกสิ่งทุกอย่างล้วนเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กันเหมือนดังสายเลือดในครอบครัวเดียวกัน ทุกสิ่งทุกอย่างล้วนเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์ สิ่งใดก็ตามที่เกิดขึ้นแก่โลก ย่อมเกิดขึ้นแก่บุตรธิดาของโลกด้วย มนุษย์ไม่ใช่ผู้สานทอใยแห่งชีวิต เขาเป็นเพียงเส้นใยหนึ่งในนั้น สิ่งใดก็ตามที่เขาทำต่อข่ายใยนั้น ก็เท่ากับกระทำต่อตนเอง...’จดหมายโต้ตอบของหัวหน้าเผ่าอินเดียนแดงที่ซีแอตเติ้ลจากหนังสือ ‘ณ ที่ดวงตะวันฉายแสง ข้าจะไม่สู้รบอีกต่อไป’วันชัย ตันติวิทยาพิทักษ์ : แปล และเรียบเรียง
ภู เชียงดาว
  ผมยืนอยู่บนเนินเขาเหนือหมู่บ้าน จ้องมองภาพเคลื่อนไหวไปเบื้องหน้า... เป็นภาพที่คุ้นเคยที่ยังคงสวยสด งดงาม และเรียบง่ายในความรู้สึกผม ภาพชาวนาในท้องทุ่ง ภาพหุบเขาผาแดงที่มีป่าไม้กับลำน้ำแม่ป๋ามไหลผ่านคดโค้งเลียบเลาะระหว่างตีนดอยกับทุ่งนา ก่อนรี่ไหลลงไปสู่ลำน้ำปิง แม่น้ำในใจคนล้านนามานานนักนาน
ภู เชียงดาว
(1)ดอกฝนหล่นโปรยมาทายทักแล้ว,ในห้วงต้นฤดูหอมกลิ่นดินกลิ่นป่าอวลตรลบไปทั่วทุกหนแห่งหัวใจหลายดวงชื่นสดในชีวิตวิถีถูกปลุกฟื้นตื่นให้เริ่มต้นใหม่อีกคราครั้ง…ตีนเปลือยย่ำไปบนดินนุ่มชุ่มชื้น,เช้าวันใหม่ไต่ตามสันดอย ไปในไร่ด้วยกันนะน้องสาวผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกัน  ช่วยกันทำงานๆพี่ใช้เสียมลำไม้ไผ่กระทุ้งดิน  น้องหยิบเมล็ดข้าวหยอดใส่หลุมไม่เร่งรีบ ไม่บ่นท้อ ในความเหน็ดหน่ายเสร็จงานเราผ่อนคลาย  เอนกายผ่อนพักใต้เงาไม้ใหญ่แล้วพี่จะกล่อมให้, ด้วยเพลงพื้นบ้านโบราณขับขาน