Skip to main content

วันนี้ได้โอกาสมาเยือน “ประชาไท” แบบไม่ตั้งใจ เพราะปวดหัวเป็นไข้เล็กน้อย จึงถือโอกาสไม่ไปทำงานในวันอาทิตย์นอกเวลาเพื่อเคลียร์งานที่ทำไม่ทันในวันธรรมดา ถามตนเองว่าให้เวลากับงานมากเกินไป จนลืมมองดูสุขภาพตนเองหรือไม่ คำตอบคือ “ไม่” เพราะจำได้ว่าสมัยอยู่ต่างประเทศก็ทำแบบเดียวกัน แล้วก็ทำได้ด้วย ปัญหามีน้อยกว่า แต่เป็นเพราะว่าทางโน้นมีระบบงานที่ให้เสรีภาพในการทำงานมากพอสมควร มีปรัชญาในการทำงานที่เหมาะสมกว่า เมื่อเปรียบกับงานตรงนี้


การทำงานในระบบตะวันตกนั้น ส่วนมากจะเน้นเนื้องานและเป้าหมาย ส่วนการเมืองในองค์กรนั้น ก็มีดุเดือดเลือดพล่านไม่แพ้กันนัก แต่ต่างกันในเรื่องการคัดสรรบุคคลเข้าทำงาน ที่ใช้ระบบ “merit” ที่ชัดเจนกว่า ในที่นี้เช่นกันไม่ได้บอกว่าปลอดการเมือง เพราะว่าที่นั่นก็มีและมีมากด้วย แต่หากว่ามีระบบอื่นมาตรวจเช็คได้เช่นกัน ทำให้คนที่เข้ามาโดยไม่โปร่งใสและไม่เหมาะสมจริง ต้องกระเด็นไปง่ายๆ (ยกเว้นกรณีอดีตประธานาธิบดีคนนั้น) ทำให้การทำงานในองค์กรไม่สะดุดจนเกินไปนัก แต่ก็มีเหมือนกันที่มีการล้มไม่เป็นท่าขององค์กรที่ว่ามีแต่คนเก่งๆทำงานกัน เช่น Enron ทั้งนี้เป็นเพราะเล่นการเมืองและสกปรกกันจนไม่เหลือ (เรียกว่าเก่งแต่ชั่ว) ก็ไม่ไหวเช่นกัน


ในเมืองไทยน่าสงสารกว่าคือ นอกจากไม่เก่งแล้ว การเมืองนั้นดกดื่นอย่างไม่น่าเชื่อ ที่เป็นเช่นนี้เพราะระบบการทำงานของไทยนั้น ได้รับอิทธิพลจากโครงสร้างสังคมวัฒนธรรมภายนอกไหลท้นเข้าไป ซึ่งถือเป็นเรื่องธรรมดา เนื่องจากองค์กรเป็นระบบย่อยของสังคมใหญ่ ย่อมได้รับอิทธิพลต่างๆเป็นธรรมดา โดยผ่านองค์ประกอบที่สำคัญคือ “บุคลากร” ที่เป็นส่วนทำให้เกิดองค์กรและวัฒนธรรมองค์กร ดังนั้นการที่ได้บุคลากรแบบใดมาก็ย่อมทำให้องค์กรมีลักษณะเช่นนั้น เช่น ความว่องไว ความเฉื่อยชา ความชิงดีชิงเด่น ความถ้อยทีถ้อยอาศัย และที่สำคัญมากกว่านั้นคือบุคลากรที่ทำหน้าที่บริหาร ซึ่งมีบทบาทในการกำหนดทิศทางขององค์การ ซึ่งหากไม่มีมีฝีมือและไม่มีคุณธรรมก็จบกัน


ในวัฒนธรรมไทย มีปัญหามากมาย ซึ่งก็เป็นที่ประจักษ์และศึกษากันมานานแล้วในสมัยสงครามโลกครั้งที่2 และหลังจากนั้นเล็กน้อยเรื่อยมาจนสมัยสงครามเวียตนาม ซึ่งได้มีนักมานุษยวิทยาวัฒนธรรมของสหรัฐฯมาทำวิจัยในเมืองไทย เช่น Ruth Benedict ที่เขียน Thai Culture and Behavior ในปี 1952 จากนั้นก็มีขบวนนักสังคมศาสตร์ทำการศึกษามาเรื่อยๆ ปัจจุบันก็ยังได้รับอิทธิพลจากงานวิจัยดังกล่าวบ้าง ปัญหาที่นักมานุษยวิทยาพูดถึงเมืองไทยส่วนมากคือ มีลำดับชั้นในสังคม (social hierarchy)สูง ความไม่ขยัน ความที่รักสนุก และไม่มองอะไรในอนาคตมากนัก นอกจากทำบุญเพื่อหวังผลชาติหน้า จึงไม่แปลกใจที่ปัจจุบันสังคมไทยก็ไม่ขยับไปไหน และที่น่ากลัวกว่าเดิมคือ เราเป็นได้แค่ประเทศที่รับจ้างผลิตแต่เราไม่มีกระบวนการที่จะสร้างเทคโนโลยีได้เองพร้อมทั้งมีประชากรที่พร้อมจะสุขเอาเผากิน สนุกและบันเทิงไปวันๆ


น่าเสียดายที่ในช่วงนั้นไม่มีใครกล้าพูดถึงเรื่องโครงสร้างเชิงอำนาจมากนัก อาจเป็นเพราะเป็นช่วงสงครามเย็น ที่ไม่มีใครอยากพูดถึงแนวคิดเชิงมาร์กซิสท์ ทำให้ขาดมิติที่มาคิดพิเคราะห์ได้ แม้ในปัจจุบันนี้ใครที่จะพูดเรื่องนี้ก็มีปัญหา เพราะยังมีซากเดนของกลุ่มต่อต้านคอมมิวนิสต์เดิม หรือขวาชิดติดขอบ คอยกำหนดแนวคิดของกระแสหลักในไทย ใครก็ตามที่หลุดออกนอกกรอบที่ขวากำหนดให้ ก็กลายเป็นซ้ายทันที ทั้งที่ไม่ใช่ซ้ายแม้สักกระผีก เอาเป็นว่าหากไม่ใช่แบบที่ขวากำหนดให้ ต้องเป็นซ้ายเท่านั้น ผีแนวคิขวาตกขอบตัวนี้เลยไม่มีวันตายคอยหลอนหลอกสังคมไทยให้งมงายมาตลอด


ปัจจุบัน มีการตั้งคำถามจากบางกลุ่มขึ้นมา แต่นั่นก็ไม่ได้หมายความความว่าจะโปร่งใส เพราะฝ่ายนั้นก็จ้องจะสร้างฐานอำนาจขึ้นมา และในที่สุดหากเกิดชนะขึ้นมา (ซึ่งไม่ง่ายนักหรอก) ฝ่ายอำนาจใหม่นี้ก็ไม่ต่างจากฐานอำนาจเดิมแล้วกดขี่ผู้คนอีก เป็นการสร้างซ้ำโครงสร้างอำนาจในสังคมด้วยกลุ่มใหม่ แต่คนไทยก็ยังคงเป็น Underdog ไปตลอด จึงเป็นเรื่องที่ช่วยให้กลุ่มอำนาจไหนๆก็สบาย เพราะคนไทยปกครองง่าย


เมื่อสังคมใหญ่เป็นแบบนั้น สังคมระดับองค์กรก็จำลองแบบกันมาอย่างไม่ผิดเพี้ยน ยิ่งระบบราชการชัดเจนเป็นที่สุด ระบบอุปถัมภ์เห็นได้ชัด เป็นเพราะการปูนบำเหน็จต่างๆมาจากส่วนกลางทั้งสิ้น และส่วนกลางก็มาจากศูนย์กลางอำนาจนั่นเอง การสวามิภักดิ์ต่อส่วนกลางย่อมยังประโยชน์ต่อผู้นั้น วงจรการพัฒนาจึงไปไหนไม่ได้ ใครๆก็อยากเข้ากับส่วนกลางหรือเป็นส่วนกลางเสียเอง จากนั้นก็สืบต่อทายาททางอำนาจกันต่อๆไป


แม้กระทั่งการเขียนบทความทำนองนี้ ผู้เขียนยังต้องระวัง เพราะว่าการระบุอะไรชัดเจนเกินไปย่อมก่อให้เกิดภัยเข้าตัว ในสังคมที่มีการสอดส่องกันมาก ไม่เกิดผลดีต่อใคร ยิ่งผู้มีอำนาจชอบใช้โดยอ้างว่า “เพื่อสังคมวัฒนธรรมอันดีงาม” หรือ “เพื่อความมั่นคงปลอดภัยของประเทศชาติ” อะไรทำนองนี้ ย่อมถือเป็นเรื่องที่สร้างอำนาจอันชอบธรรมที่จริงๆแล้วไม่ชอบธรรมให้เกิดขึ้น เพื่อนำมาขัดขวางผู้ที่คิดต่างหรือฝ่ายตรงข้าม ทำให้นึกถึงแนวคิดที่เรียกว่า แมคคาธี่อิซึ่ม McCarthyism (อ่านเพิ่มเติมได้ที่ http://www.people.umass.edu/pokpongj/02-01.htm) ที่ทำให้สหรัฐฯเองเกิดความแตกแยกแบบไม่เข้าท่าเพราะมามัวแต่ระวังกันและกัน


ทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนมือที่มีอำนาจ ในเดือน สิงหาคม-กันยายน มีการวิ่ง 100 เมตรกันทุกหน่วยงาน ผู้เขียนได้ยินอะไรสนุกๆมากขึ้น ข่าวลือ ข่าวเล่าอ้างมีเต็มทุกหัวระแหง แต่ไม่มีใครคุยเลยว่าระบบที่ใหม่ๆ ในการบริหารจัดการและสร้างคุณภาพที่แท้จริงในการทำงานจะเกิดขึ้น มีแต่อะไรที่เป็นปาหี่ เช่น การอภิปราย บรรยาย เวิร์คช็อป เปรอะไปหมด แต่แล้วก็ยังทำงานกันแบบเดิมๆ เป็นเพราะเรียนแล้วมาทำจริงไม่ได้ทั้งสิ้น หรือ ขนาดคนสอนเองยังไม่สามารถทำได้ในหน่วยงานตนเอง แต่ก็บังอาจมาสอน


ตอนนี้ เห็นมีการรณรงค์ การรักเมืองไทยกันเต็มไปหมด ผู้เขียนขำทุกครั้งเวลาได้ยินว่า การรักเมืองไทยมีวิธีการตามที่รัฐบาลบอกมา พูดง่ายๆคือการเป็นเด็กดีของรัฐบาลคือการรักเมืองไทย จึงได้แต่ถามว่าหากเป็นเด็กหลังห้องของรัฐบาลไทย แต่เป็นเด็กหัวแถวของความคิดต่างนี่ คงโดนตราหน้าว่า “ไม่รักเมืองไทย” เป็นแน่ การที่กำหนดการณรงค์เช่นนี้อาจให้เกิดรอยร้าวลึกมากกว่าเดิม เพราะการสร้าง “เรา-เขา” ไม่ได้ทำให้เกิดความเข้าใจได้เร็วนัก เพราะคนที่ไม่เข้าข้างใครก็เป็น “อื่น” ไปได้ อีกทั้งอาจเป็นการการปลุกผีชาตินิยมย่อมถือเป็นอันตรายมากกว่าคุณประโยชน์ ในระยะยาว


ไม่เข้าใจเหมือนกันว่าทำไมจึงคิดกันแบบง่ายๆ ได้อย่างนี้ น่ากลัวเหลือเกิน เรื่องนี้ขอจบแบบขำๆแต่สลดใจแบบนี้แล้วกัน

 

 

 

บล็อกของ แพ็ท โรเจ้อร์

แพ็ท โรเจ้อร์
ช่วงนี้ได้พักบ้างหลังจากที่ไม่ได้พักเลยสัปดาห์ละ 7 วัน ทำงานมันทุกวัน พอได้เวลาอู้จึงขออู้บ้าง แท้จริงไม่ใช่อู้แต่น้อย แต่เดิมต่างหากที่โดนงานแย่งเวลาส่วนตัวออกไป
แพ็ท โรเจ้อร์
จั่วหัวแบบภาษาเก่าๆ สมัยเรียนปริญญาตรีเมื่อเกือบ30ปีที่แล้ว สมัยนั้น กรุงเทพฯ เพิ่งฉลองครบ 200 ปีใหม่ๆ สมัยนั้น คำว่า สตรอเบอร์รี่ ไม่ได้แปลว่า “สะ-ตอ-แหล” แบบปัจจุบัน เวลาคนไหนมีความรัก มักจะโดนเพื่อนๆแซวว่า กำลังกิน สตรอเบอร์รี่ มาจากคำว่า เลิฟ สตอรี่ Love Story ที่เป็นหนังฮิตในช่วงยุค 40 กว่าปีนั้น ดังนั้นเดี๋ยวนี้เวลาผู้เขียนได้ยินคำว่า สตรอเบอร์รี่ มักนึกถึงความรักมากกว่า ความไม่ดี
แพ็ท โรเจ้อร์
กลายเป็นว่าตอนนี้ผู้เขียนเกิดอาการไม่สามารถไปทำงานได้ในวันอาทิตย์ เพราะรู้สึกเหนื่อยล้าอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน  (ทั้งที่ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาลุยได้ ไม่รู้เหนื่อย) จึงอยากพักให้เต็มที่ โดยไม่ต้องออกไปผจญภัยกับมหาชนนอกบ้าน เพราะไปไหนมีคนยั้วเยี้ยไปหมด ตามประสาเศรษฐกิจที่ขยายตัวมาก่อนจนหุบไม่ลง ผู้คนต้องซื้อและจับจ่ายกันแบบบ้าคลั่งเหมือนกับว่าของนี่แจกฟรี เลยบอกกับตนเองว่าขออยู่บ้านสักวันเถิด หากไม่ต้องออกไปทำงานที่คั่งค้างหรือรู้สึกเหนื่อยจนเกินไป
แพ็ท โรเจ้อร์
วันนี้ได้โอกาสมาเยือน “ประชาไท” แบบไม่ตั้งใจ เพราะปวดหัวเป็นไข้เล็กน้อย จึงถือโอกาสไม่ไปทำงานในวันอาทิตย์นอกเวลาเพื่อเคลียร์งานที่ทำไม่ทันในวันธรรมดา ถามตนเองว่าให้เวลากับงานมากเกินไป จนลืมมองดูสุขภาพตนเองหรือไม่ คำตอบคือ “ไม่” เพราะจำได้ว่าสมัยอยู่ต่างประเทศก็ทำแบบเดียวกัน แล้วก็ทำได้ด้วย ปัญหามีน้อยกว่า แต่เป็นเพราะว่าทางโน้นมีระบบงานที่ให้เสรีภาพในการทำงานมากพอสมควร มีปรัชญาในการทำงานที่เหมาะสมกว่า เมื่อเปรียบกับงานตรงนี้
แพ็ท โรเจ้อร์
หลายเพลาที่ผู้เขียนหายตัวไปจากเว็บนี้ ด้วยมีภาระกิจที่มากมายล้นหัวล้นหูเพราะผู้ใหญ่ส่งมาตามที่หัวโขนกำหนด เลยหมดแรงทุกครั้งที่ถึงบ้าน อีกทั้งมีคนสนิทที่ต้องการการดูแลเอาใจใส่แบบเข้มข้น เป็นเรื่องที่ต้องรับผิดชอบส่วนตัวอย่างสมัครใจ จึงไม่มีเวลาจะผลิตงานตรงนี้ อีกอย่างหลายครั้งก็ท้อใจเพราะว่าผลงานที่เขียนไม่ “แรง” เท่าไรนัก ส่วนแฟนประจำที่มีอยู่บ้างก็สไตล์คล้ายๆกันคือ ไม่ชอบโฉ่งฉ่าง ไม่ชอบสร้างประเด็นมากนัก งานก็เลยค่อยๆไป ที่น่าขำคือได้ยินคนมาบอกว่าเป็นคน “แรง” จากปากอดีตนักเขียนคนหนึ่งใน “ประชาไท” เลยมานั่งคิดเหมือนกันว่าที่แรงน่ะ แรงตรงไหน หลากความคิดเอาเถอะไม่ว่ากัน คนเรามีหลายแบบได้ข่าวจาก…
แพ็ท โรเจ้อร์
  ช่วงนี้เป็นช่วงที่มีงานรับปริญญากันมาก ผู้เขียนก็ต้องไปมีส่วนในงานแบบนี้ทุกปีนับตั้งแต่เรียนจบมา 11 ปีที่แล้ว เพราะสายงานนั้นบังคับให้ต้องร่วม บทความนี้จึงเป็นบทความที่ไม่เกี่ยวกับองค์การโดยตรงสักครั้งหนึ่ง แต่เกี่ยวกับ "คน" ที่รับปริญญาและคนที่เกี่ยวข้อง การรับปริญญาในเมืองนอกนั้น ไม่ได้เป็นพิธีที่ยิ่งใหญ่เหมือนเมืองไทย แต่ถามว่ามีคนมาชุมนุมกันมั้ยตอบว่ามี แต่การทำมากินสำคัญกว่า หลายคนจึงไม่ได้สนใจว่าต้องรับหรือไม่ หากต้องย้ายเมืองไปทำงานทีอื่นหรือกลับบ้านไปก่อนวันรับปริญญา กระนั้นเมืองนอกคือสหรัฐฯในที่นี้ (บางแห่งมีการรับปีละสองหน และบางแห่งมีการรับปีละหน…
แพ็ท โรเจ้อร์
เป็นที่รู้กันว่ามีการสูญเสียของพระบรมวงศ์ระดับสูงในช่วงหลังปีใหม่ที่ผ่านมา เล่นเอาหลายคนต้องขุดชุดดำขึ้นมาใส่แทบไม่ทัน เพราะผู้เขียนไม่เคยมีชุดดำกับเค้ามาก่อน เสื้อเชิ้ตขาวก็ไม่เคยมีมากว่า 10 ปีแล้ว เพราะอยู่เมืองนอกก็ไม่ได้ไปงานศพใคร ทั้งเป็นคนชอบเสื้อสีๆ นอกจากนี้ก็มองว่าสีดำทำให้ร้อนเนื่องจากดูดความร้อนง่าย การเป็นคนขี้ร้อนจึงเลี่ยงชุดทางการที่มีสีดำ ส่วนสีขาวนั้นไม่ชอบมาแต่ไหน เพราะเป็นคนไม่ค่อยระวังตัว เปรอะเปื้อนง่าย การใส่เสื้อขาวตอนเป็นนักเรียนนี่ทำให้ทางบ้านปวดหัวมาตลอดเพราะขาวเป็นดำปี๋ทุกครั้งที่ถึงบ้าน โชคดีที่มีเสื้อทับข้างนอกแบบลำลองเป็นสีดำ จึงสวมทับแก้ขัดไปก่อน…
แพ็ท โรเจ้อร์
ไม่กี่วันที่ผ่านมาสังคมไทยก็ได้มีการเลือกตั้งส.ส. ไปแล้ว น่าตื่นเต้นเล็กน้อย เพราะลุ้นกับเค้าเหมือนกันว่าใครจะมา และใครจะไป พลางให้นึกถึงเลือกตั้งที่สหรัฐฯ เมื่อ สาม-สี่ปีที่ผ่านมา ทำให้เห็นว่าอะไรที่จับกระแส “ประชานิยม” ได้ก็มักชนะ ไม่ว่าจะด้วยสาเหตุใด เช่น ชอบหรือกลัว เพราะกระแสประชานิยมไม่ได้ดูที่อะไรมากกว่า พวกมากลากไป หากพวกมากคิดเป็น ก็ดีไป ถ้าคิดไม่เป็นก็ซวยไป ทั้งนี้ คนที่รับความซวยคือคนทั้งหมด ไม่ใช่แค่คนที่เป็นพวกมาก หลายครั้งพวกมากก็เป็นพวกมากที่ไรัคุณภาพ แต่หลายครั้งก็เป็นพวกมากที่มีคุณภาพได้เช่นกัน แต่โอกาสที่จะเกิดนั้นมีน้อยกว่ามาก มีหลายคนถามว่าทำไมจึงเป็นเช่นนี้ …
แพ็ท โรเจ้อร์
หลายอาทิตย์ที่ผ่านมา ผู้เขียนไม่ได้มีเวลาและมีพลังงานมากพอที่จะผลิตงานมาที่ “ประชาไท” เลย เนื่องจากภาระงานต่างๆ ที่รับผิดชอบอยู่มีอย่างมากมาย จนเมื่อไรที่กลับถึงบ้านก็พร้อมที่จะวิ่งไปที่เตียงนอนแล้วก็หลับผล็อยไปตรงนั้น แล้วตื่นขึ้นมากับวันใหม่ เพื่อทำงานที่ค้างไว้ให้เสร็จและคอยผจญกับงานใหม่ที่จะเข้ามา ไม่ว่าจะชอบหรือไม่ก็ตาม ไม่รู้ว่าจะเรียกว่า “ชอบงานที่ทำ” หรือเป็นเพราะ “มีความรับผิดชอบต่องาน” หลายครั้งตอบว่าอย่างหลังน่าจะเหมาะกว่าเรื่องความรับผิดชอบนั้นสามารถมองได้หลายแบบ ผู้เขียนมีบุคคลรอบข้างที่มีลักษณะรับผิดชอบที่น้อยที่สุดตามกฏระเบียบ นั่นหมายถึงความรับผิดชอบที่น้อยที่สุด…
แพ็ท โรเจ้อร์
ผู้เขียนได้รับเชิญจากหน่วยงานหนึ่งให้เป็นกรรมการตัดสินการประกวดสุนทรพจน์ภาษาอังกฤษเมื่อไม่นานมานี้  รู้สึกหัวเสียกับคุณภาพของผู้เข้าประกวดเป็นอย่างมาก เพราะว่าไม่มีคุณภาพในระดับที่เรียกว่าใช้ได้เลย ปัญหานอกเหนือจากความสามารถทางภาษาอังกฤษทั่วไปแล้ว  เรื่องของเนื้อความซึ่งไม่ว่าในภาษาใดก็ตามต้องมีโครงสร้าง การผูกเรื่อง และคุณค่าทางวาทวิทยาในตัวเอง น่าเสียดายที่เมืองไทยไม่มีการสอนการวิเคราะห์วาทะอย่างเป็นแก่นสาร หากมีก็แค่การมองแบบการใช้ภาษาไทยธรรมดา หรือการใช้ภาษาอังกฤษธรรมดา ไม่มีการส่งเสริมอย่างแท้จริงในสิ่งที่เรียกว่า speech criticism/rhetorical criticism 1…
แพ็ท โรเจ้อร์
พัทยาลาก่อน   ร้องโดย รุ่งฤดี แพ่งผ่องใสลมทะเล พัดมาหาดพัทยา ครวญคลั่งฟังเหมือนมนต์ภวังค์วอนหวีดหวัง ครางว่ายังรักเธอ รักเธอพร่ำเพ้อละเมอ รอท่ายังฝืนกลืน น้ำตาฝันจนกว่า ชีพวาย*ครวญครางไป ใยกันเกลียวคลื่นนั้นมัน ชวนวิ่งว่ายแล้วล่ม ร่างร้างตายหาย อาวรณ์ลาแล้วลา ขอลาโอ้พัทยา ลาก่อนชีวิตคือ ละครฉันมันอ่อนโลกเอย(เนื้อเพลงและฟังเพลงได้ที่ blue balloon, bloggang.com)สองวันสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา ไปพัทยาเพราะต้องพาคนสนิทไปพักผ่อน ตามที่สัญญากันไว้ คนสนิทเป็นวัยรุ่นช่วงกลางเกือบปลาย เป็นคนยุคใหม่ที่เรียกว่าไม่มองอะไรเกินกว่าตัวกู อันนี้ไม่รวมกับกระบวนการพัฒนาทางจิตวิทยาที่เป็นในทุกรุ่น ทุกสังคม…
แพ็ท โรเจ้อร์
I HAVE NOTHING (Whitney Houston) Share my life, Take me for what I am. 'Cause I'll never change All my colors for you. Take my love, I'll never ask for too much, Just all that you are And everything that you do. I don't really need to look Very much further/farther, I don't wanna have to go Where you don't follow. I will hold it back again, This passion inside. Can't run from myself, There's nowhere to hide. (Your love I'll remember forever.) Chorus: Don't make me close one more door, I don't wanna hurt anymore. Stay in my arms if you dare, Or must I imagine you there. Don't walk away from me…