Skip to main content

จอมพล ป. ในตำแหน่ง"ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์และนายกรัฐมนตรี"โดยการทำรัฐประหาร

พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล

เมื่อคณะเจ้า"ขัดขวาง"การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญฉบับเจ้าเพื่อยกเลิกตามวิถีทางรัฐธรรมนูญ(แต่ฝ่ายเจ้าไม่ยอมเซ็นต์)
คณะรัฐบาลของจอมพล ป. พิบูลสงคราม จึงฉีกรัฐธรรมนูญฉบับเจ้า (ฉบับปี ๒๔๙๒)
และสั่ง "ปลด" ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ที่มีพฤติการณ์เป็นเสี้ยนหนามในการจัดทำรัฐธรรมนูญ
โดยนำเอารัฐธรรมนูญของคณะราษฎรกลับเอามาใช้อีกครั้งโดยการแก้ไขเพิ่มเติมปี ๒๔๙๕
ระหว่างนั้นในหลวงไม่ประทับอยู่ในราชอาณาจักร
คณะรัฐบาลของจอมพล ป.พิบูลสงคราม จึงประกาศใช้อำนาจโดยตรงโดยไม่ต้องผ่านกษัตริย์ไปในครานั้น

การรัฐประหาร คือ การกระทำต่อตัวบทรัฐธรรมนูญหรือรากฐานของรัฐให้เปลี่ยนแปลงไปโดยวิถีทางที่ผิดกฎหมาย อันเป็นการแย่งชิงอำนาจอธิปไตยหรืออำนาจรัฐ ไปเป็นของ "ฝ่ายเดียวกับผู้ก่อการรัฐประหาร" เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของการกระทำรัฐประหาร ฉะนั้น การรัฐประหารสำเร็จแล้วอำนาจไปอยู่ที่ใคร ผู้นั้นเองเป็น "ฝ่ายเดียวกับคณะรัฐประหาร" จะโดยชัดแจ้ง (สั่งการ) หรือโดยปริยาย (ยินยอมโดยการนิ่ง) เป็นต้น และใครสูญสิ้นอำนาจไปจากระบบการเมืองภายหลังรัฐประหาร องค์กรนั้นแหละที่เป็นปฏิปักษ์ต่อฝ่ายรัฐประหาร

ดังกล่าวข้างต้นเป็นการคิดในลำดับเหตุผลสามัญและสอดรับในทางหลักวิชา แต่ก็น่ากังขาในคำอธิบายของ บวรศักดิ์ อุวรรณโณ ในตำรา "กฎหมายมหาชน เล่ม ๒" ว่า ทุกครั้งเมื่อรัฐประหารสำเร็จแล้ว อำนาจอธิปไตยย่อมย้อนกลับไปเป็นของ "กษัตริย์"[๑] เป็นไม่น้อย และเป็นคำอธิบายที่ชอบกลอย่างยิ่งต่อบทบาท "คนรับใช้บริการเขียนตำราของฝ่ายอนุรักษ์นิยม"

อย่างไรก็ตาม เราก็พบว่ามีรัฐประหารอยู่ครั้งหนึ่งในปี ๒๔๙๔ ที่อำนาจอธิปไตยไม่ได้ไหลย้อนกลับไปที่กษัตริย์ เป็นแน่แท้ ในคราวที่รัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม สั่งปลด "ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์" (กลางอากาศ) แล้วตั้งคณะรัฐมนตรีขึ้นเป็นผู้ใช้ "อำนาจแทนพระเจ้าแผ่นดิน" แทน ตามคำบอกเล่าของ พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในขณะนั้น ทรงเล่าว่า

"วันที่ ๒๙ พฤศจิกายน ๒๔๙๔ เวลาค่ำรัฐมนตรีบางคนมาหา ขอให้ลงชื่อล้มรัฐธรรมนูญที่กำลังใช้อยู่ ถามเหตุก็บอกรวม ๆ ว่ามันใช้ไม่ได้ เพราะไม่มีทางปราบปรามคอมมิวนิสต์ได้พอเพียง ได้ชี้แจงว่าเหตุมันไม่น่าจะอยู่ที่รัฐธรรมนูญกระมังและถึงอย่างไร ๆ ก็ขอให้ระลึกว่า อีก ๓ วันเท่านั้น พระเจ้าอยู่หัวก็จะเสด็จกลับถึงพระนคร ไม่ควรจะด่วนทำอะไรลงไป ไว้ถวายให้ท่านทรงพระราชวิจารณ์จะดีกว่า ทางรัฐบาลไม่ยอม แม้ตอนดึกนายกรัฐมนตรีจะได้มาเองก็ไม่ยอมรออยู่ดี พอก็ไม่ยอมลงชื่อ ครั้นวันรุ่งขึ้นมีประกาศทางราชการว่า คณะรัฐมนตรีชั่วคราวถืออำนาจแทนพระเจ้าแผ่นดิน ได้ยกเลิกรัฐธรรมนูญแล้ว ก็สิ้นพูดกัน"[๒]

 กล่าวได้ว่า ในวันที่ ๓๐ พฤศจิกายน ถึงวันที่ ๒ ธันวาคม ๒๔๙๔ เป็นช่วงระยะเวลาที่ "จอมพล ป. พิบูลสงคราม" ทำหน้าที่เป็นพระเจ้าแผ่นดิน แทนในหลวง หรือกล่าวโดยตำแหน่งที่ปลดผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ที่ในหลวงทรงตั้งทิ้งไปเสีย (กลางอากาศ) ระหว่างนั้น "จอมพล ป. พิบูลสงคราม" เป็นผู้ทรงและใช้อำนาจอธิปไตยโดยแท้จริง โดยอำนาจรัฐประหาร แต่จอมพล ป. ยังเลือกที่จะให้มีกษัตริย์อยู่ต่อไป เมื่อทรงนิวัติกลับพระนคร ในหลวงจึงรับมอบอำนาจจาก "นายกรัฐมนตรีและผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์" ไปดำรงตำแหน่งกษัตริย์ต่อไป และจอมพล ป. ก็กลับมาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีดั่งเดิม เดินหน้าดำเนินการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญต่อไปจนสำเร็จ." (เหตุการณ์นี้เป็นความพยายามของรัฐบาลจอมพล ป. ในการนำเอารัฐธรรมนูญ ๒๔๗๕ กลับมาใช้อีกครั้งโดยแก้ไขเพิ่มเติม ประกาศใช้ในปี ๒๔๙๕)
______________________________
[๑] บวรศักดิ์ อุวรรณโณ, "กฎหมายมหาชน เล่ม ๒ : การแบ่งแยกกฎหมายมหาชน-เอกชน และพัฒนาการกฎหมายมหาชนในประเทศไทย" พิมพ์ครั้งที่ ๕, กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๕๐, หน้า ๒๔๔.
[๒] พิทยลาภพฤติยากร, พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่น, "อัตตชีวประวัติ" (อนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยลาภพฤติยากร ๑๕ ธันวาคม ๒๕๑๗) หน้า ๑๔๖.

บล็อกของ พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล

พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
โต้พระยานิติวิบัติดำน้ำลึก (กิตติศักดิ์ ปรกติ) เรื่องหลักความมีส่วนได้เสียและข้อห้ามนั่งพิจารณาคดีของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญในคดี "ที่มา สว."พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
 การนิรโทษกรรมประชาชนตามกรอบร่างพรบ.ฉบับวรชัยฯ ไม่ขัดหลักเสมอภาค พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล กรรมาธิการวิสามัญพิจาร
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
คดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพในสมัยพระเจ้าท้ายสระ คดี Oia Sennerat v. Alexander Hamilton (ค.ศ. ๑๗๑๙)พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
ความชอบด้วยกฎหมายวิธีพิจารณาความ :กรณี ร.๙ พิพากษาคดีในศาล?พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
รวบรวมข้อมูลการเดินทางเยือนต่างประเทศของพระบรมวงศานุวงศ์ (๑ ม.ค.-๑๒ ก.ย.๒๕๕๖)พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
กรณีบอย โกสิยพงษ์ เรื่องสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
 ประธานรัฐสภากับการประท้วงของประชาธิปัตย์ชกต่อยตำรวจสภาพุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
[ร่าง]งบประมาณแผ่นดินสำหรับรักษาเกียรติสถาบันกษัตริย์ พ.ศ. ๒๕๕๗พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
ตอบ แคเธอรีน บาววี เรื่องสิทธิเลือกตั้งสตรี ร.ศ.๑๑๖พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
ต้นตอของคำอธิบายเรื่องมิให้นำ "บทยกเว้นความผิด" มาใช้แก่ความผิดฐานหมิ่นกษัตริย์พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
กระบวนการสร้างมโนทัศน์ต่อความผิดฐานหมิ่นกษัตริย์ ว่าด้วยการดูหมิ่น พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
ศาลไทยในยุคก่อนทำสนธิสัญญาเบาว์ริงพุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล