ข้อพิจารณาเรื่องความผิดฐานข่มขืนและความรับผิดทางกฎหมายอาญา: วิพากษ์การดำรงอยู่ของโทษประหารชีวิต (โดยสังเขป)
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
เมื่อเกิดข่าวคราวข่มขืนสะเทือนขวัญคราใด บรรดานักศีลธรรมก็จะออกมาเรียกร้องให้บัญญัติความผิดฐานข่มขืนต้องประหารชีวิตเป็นกระแสทุกครั้งไป ผมจึงถือโอกาสรวบรวมข้อเขียนเก่า ๆ ในเฟซบุคของผม มาเผยแพร่อย่างเป็นกิจจลักษณะอีกครั้ง พร้อมกับอภิปรายประเด็นการดำรงอยู่ของโทษประหารชีวิตไปในคราวเดียวกัน การกำหนดมาตรการการลงโทษทางกฎหมายวางอยู่บนฐานคิดในเรื่องความพอสมควรแก่เหตุ และจะขาดเสียมิได้ในการชั่งน้ำหนัก 'เกณฑ์ความรับผิดของความผิด' แต่ละประเภท อย่างเป็นเอกภาพในระบบกฎหมาย
การข่มขืน ก็คือ การประทุษร้ายต่ออวัยวะเพศหรือทวารหนัก (คือร่างกาย) ให้เกิดความเสียหาย
๑.เปรียบเทียบความรับผิดในความผิดฐาน 'ข่มขืน' กับ ความผิดฐาน 'ทำลายอวัยวะเพศถาวร'
ตามประมวลกฎหมายอาญา แยก "ความผิดเกี่ยวกับเพศ" เป็นอีกลักษณะหนึ่งแยกจาก "ความผิดเกี่ยวกับชีวิตและร่างกาย" แต่โดยสภาพของการกระทำผิดก็มีลักษณะเดียวกันคือ ประทุษร้ายต่อกายหรือจิตใจ และความผิดเกี่ยวกับเพศ ก็มีการกำหนดอัตราโทษจำคุกสูงกว่า การทำร้ายร่างกายธรรมดาหลายเท่านั้น
มีประเด็นให้พิจารณาว่า การทำร้ายร่างกายผู้อื่นจนเสียความสามารถในการสืบพันธุ์ เช่น ทำลายอวัยวะเพศ นั้น มีความผิดฐานทำร้ายร่างกาย โดยสภาพแล้ว รุนแรงยิ่งกว่าข่มขืนอีกนะครับ เพราะการข่มขืนทำให้อวัยวะเพศเสียหายแต่รักษาได้ แต่การทำลายอวัยวะเพศ นอกจากจะทำร้ายจิตใจแล้ว ยังสูญเสียอวัยวะเพศถาวร แต่ความผิดฐานทำลายอวัยวะเพศนั้น (ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๒๙๗ วรรคสอง (๒)) มีโทษจำคุกเพียงตั้งแต่ ๖ เดือน ถึง ๑๐ ปีเองนะครับ อัตราโทษขั้นสูง เบากว่าความผิดฐานข่มขืนซะอีก
กลับกัน ความผิดฐานข่มขืน มีอัตราโทษจำคุกขั้นต่ำตั้งแต่ ๔ ปี และสูงสุดคือ ๒๐ ปี จะเห็นได้ว่า ปัจจุบันความรับผิดในคดีข่มขืนนั้น มีอัตราโทษที่สูงมากอยู่แล้ว (อย่างน้อยเมื่อเทียบเคียงกับความผิดฐานอื่นที่มีความรุนแรงโดยสภาพที่ร้ายแรงกว่า) และค่อนข้างจะไม่สมเหตุสมผลด้วยดังที่ผมได้เทียบกับความผิดฐานทำร้ายร่างกาย อันตรายสาหัสคือตัดอวัยวะเพศ แต่ก็ยังอยู่ในกรอบของการจำคุก ซึ่งอาจพอรับได้อยู่บ้าง ทั้งนี้ควรแยกแยะให้ดีว่า การข่มขืนแล้วฆ่า เป็นความผิดฐานฆ่าฐานหนึ่ง และเป็นความผิดฐานข่มขืนอีกฐานหนึ่ง อัตราโทษสูงสุดในกรณีนี้คือ ประหารชีวิต นั่นเอง (โปรดดูการอภิปรายเรื่อง 'ประหารชีวิต' ในข้อ ๓.)
ครั้นจะกำหนดความรับผิดฐานข่มขืนให้ถึงขนาดอัตราโทษสูงสุดคือ ประหารชีวิต นั้น หากเป็นกฎหมาย ก็ถือเป็นกฎหมายที่ขัดหลักรัฐธรรมนูญ เพราะขัดหลักความพอสมควรแก่เหตุ และถือเป็นกฎหมายที่ป่าเถื่อน ปราศจากความสมเหตุสมผล ทำลายความเป็นเอกภาพของระบบกฎหมาย เป็นกฎหมายที่กำหนดบทลงโทษตามอำเภอใจ หรือสนองความสะใจโดยปราศจากสำนึกในการชั่งน้ำหนักระหว่างอาชญากรรมและการลงทัณฑ์
๒.ความลื่นไหลของข้อเท็จจริงในคดี
ประเทศเราอยู่ในกลุ่มของรัฐที่มีโทษประหารชีวิต จะเห็นได้ว่า การมีโทษประหารชีวิตในระบบกฎหมาย ก็ไม่ได้ทำให้ผู้กระทำผิดเกรงกลัวไม่กล้ากระทำผิด เพราะการกระทำผิดนั้นมีปัจจัยที่ส่งเสริมจิตใจในขณะกระทำ ทั้งโดยธรรมดาของการกระทำผิด ผู้กระทำมีโอกาสสูงที่จะไม่ต้องรับโทษ เช่น หนีคดีจนหมดอายุความ หรือตำรวจจับผู้กระทำผิดไม่ได้ เป็นต้น ความเสี่ยงเหล่านี้ก็เป็นแรงสร้างเสริมจิตใจของผู้กระทำผิดไม่ว่าความผิด นั้นจะเป็นความผิดฐานฆ่า ฐานลักทรัพย์ หรือฐานหมิ่นประมาท คนก็กล้าที่จะเสี่ยงกระทำผิดแม้ว่าความผิดเหล่านี้มีบทลงโทษจำคุกทั้งสิ้น
นัทธี จิตสว่าง (อธิบดีกรมราชทัณฑ์ - ในขณะนั้น) เคยให้สัมภาษณ์ ลงมติชน ฉบับวันพฤหัสบดีที่ ๗ ธันวาคม ๒๕๔๙ ว่า "ขณะนี้มีผู้บริสุทธ์ถูกศาลพิพากษาจำคุกในทัณฑสถานประมาณ ๗๐%" ผมไม่ทราบว่าอธิบดีกรมราชทัณฑ์ทราบได้อย่างไร แต่ก็เป็นตัวเลขที่น่าตกใจ และน่าทบทวนความผิดพลาดในกระบวนการยุติธรรมเป็นอย่างยิ่ง จะเห็นได้ว่ากระบวนการในชั้นศาล มันไม่มีความแน่นอนที่จะได้ "ความจริง" ในห้องพิจารณาคดีเสมอไป ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับความสามารถของทนายความ การชิงไหวชิงพริบในชั้นศาล การจัดหาพยานเท็จ การยัดข้อหา ความสามารถของทนายความ ตลอดจนการติดสินบนผู้พิพากษาตุลาการ เป็นต้น เหล่านี้ส่งผลต่อผลคำพิพากษาทั้งสิ้น
๓.ความไม่ไว้วางใจต่อตัวแปรในกระบวนการยุติธรรม และ การปฏิเสธการดำรงอยู่ของโทษประหารชีวิต
ดังได้กล่าวมาแล้วในข้อ ๒ จะเห็นได้ว่า คนที่คิดว่า "ยิ่งกำหนดบทลงโทษที่รุนแรง จะทำให้อาชญากรไม่กล้ากระทำความผิด" นั้นเป็นความคิดที่ค่อนข้างไร้เดียงสา คนพวกนี้มีฐานคิดเดียวกับการให้มีโทษประหารชีวิตในระบบกฎหมายเพราะเกรงว่า หากยกเลิกโทษประหารชีวิตแล้วจะยิ่งมีคนกระทำความผิดมากยิ่งขึ้น และถ้าคุณกำหนดบทลงโทษรุนแรงมาก ๆ ไปประหารชีวิตเขา ภายใต้การพิพากษาคดีที่เสี่ยงมีความผิดพลาดสูงขนาดนี้ (ตัวแปรเยอะ - ข้อเท็จจริงลื่นไหลตลอดเวลา) แล้วถ้าปรากฏในภายหลังว่า คุณประหารชีวิตผิดคน เช่นนี้ ต่างจากการลงโทษจำคุกนะครับ ถ้าปรากฏในภายหลังว่าขังผิดคน ก็รื้อฟื้นคดีพิจารณาใหม่ได้ แต่คนตายแล้ว(คือถูกประหาร) ไม่มีโอกาสแก้ตัวอีกเลย ทำนองเดียวกับการประหารชีวิตแพะในคดีสวรรคตนั่นเอง ดังนั้นเวลาจะกำหนดโทษต่าง ๆ ต้องครุ่นคิดตระหนักให้มาก ต้องพิจารณาความพอสมควรแก่เหตุด้วย จะเอาความสะใจเป็นฐานไม่ได้
ถ้าคิดว่าบทลงโทษสูง ๆ จะได้ไม่มีคนกล้าก่ออาชญากรรม นะ ต่อไปนี้แก้กฎหมาย "ทุกมาตรา กำหนดให้การกระทำผิดทุกอย่างมีโทษประหารชีวิต" สิครับ
เช่น ถ่มน้ำลายบนทางสาธารณะ (อาจแพร่เชื้อโรคทำร้ายคนอื่นๆได้) ทิ้งขยะไม่เป็นที่เป็นทาง หมิ่นประมาท พูดจาหยาบคาย ฯลฯ เหล่านี้กำหนดเป็นความผิดลงโทษประหารชีวิตให้หมด ดูซิจะมีคนกล้ากระทำความผิดกฎหมายสักมาตราไหม
คำตอบคือ หากกำหนดให้การฝืนฝืนกฎหมายไม่ว่าจะมาตราใด ๆ ทุก ๆ มาตรา จะต้องประหารชีวิตแล้ว การกระทำความผิดไม่ลดลงหรอกครับ (มันไม่แปรผันกัน การกระทำความผิดไม่ได้ขึ้นอยู่ว่า กลัวโทษหรือไม่ แต่ขึ้นอยู่กับแรงผลักดันแวดล้อมให้กระทำชั่วขณะ) เช่นนี้ ประชาชนจะมองว่ากฎหมายเหล่านี้มันไม่ใช่กฎหมาย เพราะขัดความยุติธรรมและไม่พอสมควรแก่เหตุอย่างรุนแรง จนกระทั่งกฎหมายแบบนี้มีสภาพเป็น 'กฎหมายปลอม/กฎหมายที่ไม่ใช่กฎหมาย' (false law/Unrichtiges Recht) ไม่อาจถือได้ว่าเป็นกฎหมายอีกต่อไป และถือว่าระบบกฎหมายเช่นนี้เป็นระบบกฎหมายที่ล้มเหลว.
บล็อกของ พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
กระบวนการสร้างมโนทัศน์ต่อความผิดฐานหมิ่นกษัตริย์ ว่าด้วยเหตุยกเว้นความผิดพุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล๑. ข้อพิจารณาเบื้องต้น
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
ปัญหาบางประการเกี่ยวกับความชอบด้วยกฎหมายของ(ร่าง)หลักเกณฑ์การประมูลดิจิตอลทีวี : กรณีให้เปิดเผยผู้ถือหุ้นตั้งแต่ลำดับที่ ๓ ขึ้นไปและทุกทอดตลอดสายนายพุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
วิพากษ์สุรพล นิติไกรพจน์ (ภาค ๒)๑
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
คำอภิปรายในงานรำลึกครูกฎหมาย (อาจารย์ไพโรจน์ ชัยนาม) โดย สุรพล นิติไกรพจน์ วันนี้๒ ถ้าอย่างในคัมภีร์ก็คงได้เพียงอุทาน "โมฆะบุรุษหนอ" หรือแปลเป็นภาษาลูกทุ่ง ก็คือ "อ้ายชิบหาย" ครับ
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
ข้อน่าพิจารณาบางประการ : กรณีศาลฎีกายกฟ้อง"คดีถาวร เสนเนียม ฟ้องอดีต กกต."(๒๕๔๙)
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
มูลเหตุของคดีนี้เริ่มต้นเพื่อ "สนับสนุนให้รัฐประหาร ๑๙ ก.ย.๒๕๔๙" (เพื่อไม่ให้มีการเลือกตั้ง โจมตีการเลือกตั้ง) และเป็นชนวนในการสร้างสุญญากาศทางการเมือง คดีนี้เริ่มต้น จะเห็นภาพพจน์ "ชัดแจ้งยิ่งขึ้น" เมื่อพิจารณาลำดับเหตุการณ์ก่อนพิเคราะห์รายละเอียดที่สำคัญของคดี
เราจะเห็นได้ว่า "เหตุการณ์ ๒๕๔๙" นั้นเกิดขึ้นเป็นลูกระนาดเลย คร่าว ๆ ดังนี้[๑]
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
ถึงสมศักดิ์ เจียมธีรสกุล : เรื่องบันทึกการขออภัยโทษคดีสวรรคต
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
จอมพล ป. ในตำแหน่ง"ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์และนายกรัฐมนตรี"โดยการทำรัฐประหาร
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
โต้บวรศักดิ์ อุวรรณโณ : การนิรโทษกรรมของคณะราษฎร (๒๖ มิ.ย.๒๔๗๕)
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
อุปสรรคในการร่าง"ประมวลกฎหมายแบบตะวันตก"ฉบับแรกของสยาม
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
การใช้สิทธิพิทักษ์รัฐธรรมนูญครั้งแรกของไทยเมื่อ ๒๔๗๖
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
ชวนอ่าน "เรื่องเล่า" โดย สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ (๒๕๑๑)
หมายเหตุ : บังเอิญผมได้อ่าน ข้อเขียนของ "ราชินี" (ดังที่จะคัดให้อ่านด้านล่าง) ในคราวเสด็จเยือนประเทศออสเตรเลียกับในหลวง พบว่าน่าสนใจ จึงคัดมาให้ท่านทั้งหลายได้อ่านกัน - ข้อความด้านล่างนี้เป็นข้อเขียนของ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๑
-------------------------------------------------------
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
บริบทของพระราชดำรัสสดวันที่ ๔ ธันวาคม ๒๕๔๘(อนุญาตให้วิจารณ์กษัตริย์?)
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
หลายท่านที่คัดค้านการบังคับใช้ "ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา๑๑๒" มักอ้างอิง (โดยขาดบริบท) พระราชดำรัส ๔ ธันวาคม ๒๕๔๘ ซึ่งในโอกาสนั้น "ในหลวง" ตรัสเกี่ยวกับ (ทรง)อนุญาตให้ประชาชนวิจารณ์พระองค์ได้ ขอให้สังเกตพระราชดำรัสดังกล่าวในความว่า :
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
ดีเบตกรณีสวรรคต ร.๘ ระหว่าง จิตติ ติงศภัทิย์ vs หยุด แสงอุทัย
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
คำพิพากษาฎีกาที่ ๑๕๔๔/๒๔๙๗ (คดีสวรรคต ร.๘) กรณีนายเฉลียว จำเลย นั้น ศาลฟังข้อเท็จจริงว่า "ได้ช่วยปกปิดไม่เอาความนั้นไปร้องเรียนขึ้นจนมีเหตุบังเกิดการประทุษร้ายแด่พระองค์"