Skip to main content

การแปรรูป ปตท. คือการปล้นประชาชน!

ในช่วง ๓-๔ ปีที่ผ่านมา ในขณะที่ประชาชนชาวไทยทั้งประเทศกำลังเดือดร้อนกับราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้นเกือบสองเท่าตัว แต่บริษัทน้ำมันต่างๆในประเทศไทยกลับมีกำไรเพิ่มสูงขึ้นมากกว่านั้น

ในบทนี้ จะกล่าวถึงกิจการของบริษัท ปตท. จำกัดมหาชน และบริษัทอื่นๆบ้าง โดยย่อๆ เป็นข้อๆ ดังต่อไปนี้

๑. บริษัท ปตท. จำกัด มหาชน ได้แปรรูปมาจาก การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย เมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๔  ตอนเริ่มต้นการแปรรูป กระทรวงการคลังถือหุ้น ๖๙% ปัจจุบันเหลือเพียง ๕๒.๔๘%

ดังนั้น กำไรของ ปตท. ซึ่งเดิมเคยตกเป็นของรัฐทั้งหมด ๑๐๐% ก็จะเหลือเพียงตามสัดส่วนที่รัฐถือหุ้น  คงจำกันได้นะครับว่า หุ้น ปตท. ขายหมดในเวลา ๑ นาที ๑๗ วินาที โดยมีนักการเมืองที่เรารู้จักกันดีจำนวนไม่กี่คนและนอมินีที่เราไม่รู้จักอีกจำนวนหนึ่งได้หุ้นไปถือครอง

๒. ในปี ๒๕๔๘  มูลค่าการนำเข้าน้ำมันดิบทั้งประเทศเท่ากับ ๖๔๔,๙๓๓ ล้านบาท [1]  แต่เฉพาะกิจการโรงกลั่นน้ำมันในเครือของ ปตท. และของบริษัทเอสโซ่ RPC, TPI ฟาดกำไรรวมกันถึงประมาณ ๑๑๐,๓๓๒ ล้านบาท  คิดเป็น  ๑๗.๑%   สำหรับข้อมูลค่าการกลั่น ผมได้มาจากการบรรยายของคุณโสภณ สุภาพงศ์ และตรวจสอบกับเอกสารของ บริษัท ปตท. จำกัดด้วย พบว่ามีรายละเอียดตรงกัน

pic1

pic2

๓. ในปี ๒๕๔๕ ค่าการกลั่นน้ำมันอยู่ที่อัตรา ๒.๖ ดอลลาร์ต่อบาเรลล์  แต่ได้เพิ่มเป็น 3.4, 7.5 และ 7.7  ดอลลาร์ต่อบาเรลล์  ในปี พ.ศ.  2546,2547 และ  2549  ตามลำดับ [2]

pic3

๔. ก่อนการแปรรูป ปตท. มีกำไรสุทธิประมาณ ๑ หมื่นล้านบาทต่อปี (ปี ๒๕๔๓) ในปี ๒๕๔๘ บริษัท ปตท. มีกำไรสุทธิ ๘๕,๕๒๑  ล้านบาทเพิ่มขึ้นจากปี ๒๕๔๖ ถึง ๓๖% กำไรต่อหุ้น ๓๐.๕๗ บาท โดยมีกำไรก่อนหักภาษี ๑๑๔,๐๔๕ ล้านบาท (ที่มา รายงานการประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี 2549)  

ในช่วง ๙ เดือนแรกของปี ๒๕๔๙ บริษัท ปตท. มีกำไรก่อนหักภาษี ๑๑๒, ๒๙๙ ล้านบาท   ถ้าจะประมาณการอย่างคร่าวๆ   โดยใช้ข้อมูลของปีก่อน   คาดว่า กำไรก่อนหักภาษีของปี ๒๕๔๙   น่าจะประมาณ  ๑๔๗,๔๐๐  ล้านบาท   และกำไรสุทธิก็คงจะประมาณ ๑๐๓,๐๐๐ ล้านบาท

pic4

pic5

๕. ในปี ๒๕๔๘  ร้อยละ ๘๑ ของกำไรของบริษัท ปตท. มาจากกิจการก๊าซธรรมชาติ (คือส่วนที่เขียนว่า Gas และ PTTEP ในรูปข้างล่าง) ที่เป็นดังนี้เพราะเป็นกิจการผูกขาดรายเดียวในประเทศไทย   ก่อนการแปรรูป ปตท. เคยสัญญาในหนังสือเชิญชวนว่า จะแยกกิจการท่อก๊าซฯออกมา แต่จนถึงทุกวันนี้ก็ยังไม่มีการแยก

pic6

๖. ก่อนการแปรรูป พนักงาน ปตท. มีรายได้เฉลี่ยคนละ  ๘๑๐,๐๐๐ บาทต่อปี  ในปี ๒๕๔๗ กลายเป็น ๑,๓๒๐,๐๑๓ บาทต่อปี

๗. ในปี ๒๕๔๗ มีการประชุมคณะกรรมการทั้งหมด ๑๓ ครั้ง  ซึ่งคณะกรรมการคนหนึ่งจะได้เงินจากการประชุมเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า  ๔๗,๐๐๐ บาท / ครั้ง

รายนามคณะกรรมการ ปรากฏตามเอกสารข้างล่างนี้

1.นายเชิดพงษ์ สิริวิชช์ (ประธาน)          ปลัดกระทรวงพลังงาน
2.นายมณู เลียวไพโรจน์          ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม
3.พลตำรวจเอก สันต์ ศรุตานนท์          ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
4.นายพละ สุขเวช          อดีตผู้ว่า ปตท., กรรมการ กฟผ.
5.นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์          ปลัดกระทรวงยุติธรรม
6.นายพิษณุ สุนทรารักษ๋          อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
7.นายจักราวุธ ศัลยพงษ์          วิศวกรอาวุโส,ที่ปรึกษาบริหารบริษัท อินเตอร์เอนจิเนียริ่งมาเนจเมนท์
8.นายโอฬาร ไชยประวัติ          กรรมการบริษัทชินคอร์ป, นายกสภามหาวิทยาลัยชินวัตร
9.นายชัยวัฒน์ วงศ์วัฒนศานต์          เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีการ
10.นายสันทัด สมชีวิตา          ปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
11.นายวิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ          อธิบดีกรมธนารักษ์
12.พลเอก ชัยศึก เกตุทัต          ที่ปรึกษานายกฯ
13.นายเมตตา บันเทิงสุข          ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและพลังงาน
14.นายประพันธ์ นัยโกวิท          รองอัยการสฃูงสุด
15.นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์          ผู้จัดการใหญ่ ปตท.

๘.  กลุ่มพลังไทย ซึ่งเป็นกลุ่มนักวิชาการอิสระได้สรุปเรื่องการแปรรูปได้ว่า

pic7

จากเรื่องราวทั้ง ๘ ข้อที่กล่าวมาแล้ว  คงเป็นการตอกย้ำถึงความจำเป็นในการร่วมกันสร้างนโยบายสาธารณะด้านพลังงาน ความไม่รู้ และความเฉยเมยของผู้บริโภค คือเหยื่ออันโอชะของพ่อค้าพลังงาน

 

หมายเหตุ

เพื่อความสมบูรณ์ของบทความนี้ ท่านผู้อ่านควรย้อนไปอ่านบทความเรื่อง “ความเคลื่อนไหวด้านพลังงานหมุนเวียนที่สำคัญในระดับโลก:  ตัวอย่างของ  The Tipping Point”   ซึ่งเคยเสนอในประชาไทนานมาแล้ว

 

----------

[1]  สถานการณ์พลังงาน, กระทรวงพลังงาน
[2]  ข้อมูลจากคุณโสภณ สุภาพงศ์  อดีต ส.ว.  

บล็อกของ ประสาท มีแต้ม

ประสาท มีแต้ม
เราเคยสงสัยและตั้งคำถามเสมอมาว่า ทำไมราคาน้ำมันสำเร็จรูป (รวมทั้งราคายางพารา) ในภูมิภาคเอเซียจึงถูกกำหนดจากประเทศสิงคโปร์
ประสาท มีแต้ม
ตลอดช่วงเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ราคาน้ำมันดิบและราคาน้ำมันที่ปั๊มในบ้านเราได้เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง นักวิเคราะห์บางคนคาดการณ์ว่าสิ้นปีนี้ราคาน้ำมันดิบจะสูงถึง 85 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล โดยที่ราคาเมื่อต้นเดือนมิถุนายนได้ขยับจาก 62 ถึง 68 ภายในเวลาเจ็ดวันเท่านั้น
ประสาท มีแต้ม
1. คำนำ บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ข้อ คือ หนึ่ง ให้เห็นตัวเลขค่าใช้จ่ายด้านไฟฟ้าของคนไทยโดยเฉลี่ยซึ่งค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับรายได้ และหากแผนผลิตไฟฟ้าดังกล่าวมีปัญหาแล้วจะส่งผลกระทบต่อผู้ใช้ไฟฟ้าอย่างไร สอง เพื่อเล่าถึงการจัดทำแผนผลิตไฟฟ้าที่ผูกขาดโดย "กลุ่มผู้เชี่ยวชาญ" จำนวนน้อยตลอดมาและจะชี้ให้เห็นถึงบางสิ่งที่ผมคิดว่า "น่าจะไม่ถูกต้อง" สาม หากท่านผู้อ่านได้เห็นปัญหาในข้อสองแล้ว จะได้เห็นความจำเป็นของ "การเมืองภาคประชาชน" ในการตรวจสอบโครงการของรัฐมากขึ้น
ประสาท มีแต้ม
1. คำนำ เพื่อให้ท่านผู้อ่านได้ตัดสินใจว่าจะอ่านบทความนี้ต่อไปหรือไม่ ผมขอนำประเด็นสำคัญมาเสนอก่อน  ประเด็นคือการวางแผนผลิตก๊าซที่ผิดพลาดทำให้คนไทยทุกคนต้องควักเงินในกระเป๋าเพิ่มขึ้น จากรายงานประจำปี 2551 ของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) พบว่า ในปี 2551 บริษัท ปตท. ต้องจ่ายค่า "ไม่ซื้อก็ต้องจ่าย" ก๊าซจากโครงการไทย-มาเลเซีย (ซึ่งเป็นโครงการสร้างความขัดแย้งมาตั้งแต่รัฐบาลชวน หลีกภัย และทักษิณ ชินวัตร จนถึงปัจจุบัน) เป็นจำนวน 13,716 ล้านบาท
ประสาท มีแต้ม
ในขณะที่วิกฤตเศรษฐกิจโลกที่เริ่มต้นจากถนนวอลล์สตรีทในสหรัฐอเมริกากำลังลุกลามไปอย่างรวดเร็วราวกับลาวาภูเขาไฟไปสู่ทุกถนนของโลก ในภาคใต้ของประเทศไทยโดยหน่วยงานของรัฐและการนิคมอุตสาหกรรมก็กำลังดำเนินการให้มีแผนพัฒนาภาคใต้ด้วยโครงการต่าง ๆ มากมาย ทั้งโดยเปิดเผยและแอบแฝง ตัวอย่างของโครงการเหล่านี้ได้แก่ นิคมอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ในจังหวัดนครศรีธรรมราช โครงการอุตสาหกรรมเหล็กต้นน้ำ จังหวัดชุมพรและสุราษฎร์ธานี โครงการขุดเจาะน้ำมันของบริษัทเซฟรอน ที่นครศรีธรรมราช ตลอดจนโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ถึง 3 โรง นอกจากนี้ยังมีนิคมอุตสาหกรรมที่จังหวัดตรัง และท่าเทียบเรือน้ำลึกในจังหวัดสงขลาและอีกหลายจังหวัด…
ประสาท มีแต้ม
  เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2552 กระทรวงพลังงานในฐานะผู้รับผิดชอบหรือจะเรียกว่าผู้จัดทำแผนผลิตไฟฟ้าเองได้จัดรับฟังความคิดเห็นของประชาชนเพื่อปรับปรุง "แผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้า" ในช่วงปี 2551 ถึง 2564 ซึ่งเป็นแผนที่ได้จัดทำไว้ก่อนปี 2551 ในการรับฟังครั้งนี้ก็เพื่อจะได้ปรับปรุงเป็นครั้งที่ 2 สาเหตุที่ต้องปรับปรุงก็เพราะปัญหาเศรษฐกิจถดถอยทั้งในระดับโลกและในระดับประเทศไทยด้วยนักวิชาการอิสระด้านพลังงานที่ไม่ใช่ข้าราชการของกระทรวงพลังงานก็ได้ออกมาแสดงความคิดเห็นที่น่าสนใจหลายอย่าง ขณะเดียวกันกลุ่มชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบจากโรงไฟฟ้าก็ได้ตั้งคำถามพร้อมแผ่นผ้าด้วยข้อความสั้น ๆ แต่เข้าใจง่ายว่า "…
ประสาท มีแต้ม
คำนำ เมื่อธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ประสบปัญหาขายไม่ได้เนื่องจากได้รับผลกระทบจากวิกฤติเศรษฐกิจของโลก นักการเมืองรวมทั้งว่าที่รัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องก็ได้เสนอมาตรการลดหย่อนภาษีค่าโอนบ้าน โดยจะเริ่มต้นตั้งแต่ปี 2552 เป็นต้นไป ผมขออนุญาตไม่แสดงความคิดเห็นในประเด็นดังกล่าวข้างต้น แต่ขอใช้หลักคิดเดียวกันนี้เพื่อตั้งคำถามว่า ทำไมรัฐบาลจึงไม่ใช้มาตรการทางภาษีเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการพืชน้ำมันซึ่งได้แก่ ไบโอดีเซล และแก๊สโซฮอล์ ซึ่งโยงใยเกี่ยวเนื่องกันตั้งแต่เจ้าของโรงงานจนถึงเกษตรกรผู้ปลูกพืชน้ำมัน ( ปาล์มน้ำมัน อ้อย ฯลฯ ) เหล่านี้บ้างเล่า?
ประสาท มีแต้ม
1. คำนำ เมื่อราคาน้ำมันลดลงมาจากลิตรละราว 40 บาทจากเมื่อ 4-5 เดือนก่อนมาอยู่ที่ราว ๆ 20 บาท ทำให้คนไทยเราก็รู้สึกสบายใจ บางคนถึงกับกล่าวว่า “ตอนนี้จะไปไหนมาไหนก็ไม่ค่อยได้คิดมากเหมือนเมื่อก่อนแล้ว” ในยุคที่การเมืองที่เต็มไปด้วยการฉ้อราษฎร์บังหลวง ผู้บริโภคจะพอใจอยู่กับตัวเลขที่อิงอยู่กับความรู้สึกเช่นนี้เพียงอย่างเดียวคงไม่ได้ เราจะต้องลุกขึ้นมาช่วยกันตรวจสอบ ถามหาความความเป็นธรรม ความพอดีอยู่ตลอดเวลา เมื่อพูดถึงความรู้สึกที่สบายใจขึ้นของคนไทยในขณะนี้ ทำให้ผมนึกเรื่อง “นัสรูดิน” ชายชาวอาหรับโบราณที่คนรุ่นหลังยังตัดสินไม่ได้ว่า เขาเป็นคนเฉลียวฉลาดหรือคนโง่กันแน่…
ประสาท มีแต้ม
1. คำนำ ก่อนจะเริ่มต้นเนื้อหา เรามาดูรูปการ์ตูนสนุก ๆ แต่บาดใจและอาจจะบาดตากันก่อนครับ ความหมายในภาพนี้ ไม่มีอะไรมาก นอกจากบอกว่านี่ไงหลักฐานที่พิสูจน์ว่าโลกเราร้อนขึ้นจริง สำหรับภาพนี้บอกว่า ผลการศึกษาพบว่าอุณหภูมิของน้ำในมหาสมุทรสูงขึ้น นักวิชาการ (และนักการเมือง) กำลังระดมกันแก้ปัญหาอย่างขยันขันแข็ง ขอขอบคุณเจ้าของภาพทั้งสองด้วย คราวนี้มาเข้าเรื่องกันครับ ขณะที่โลกของเรากำลังเผชิญกับวิกฤตการณ์ครั้งสำคัญ 4 ด้านพร้อม ๆ กัน คือ (1) วิกฤติภาวะโลกร้อน (2) วิกฤติพลังงานที่ทั้งขาดแคลน ราคาแพง ผูกขาดและก่อวิกฤติด้านอื่น ๆ (3) วิกฤติการเงินที่เพิ่งจะเกิดขึ้นหยก ๆ…
ประสาท มีแต้ม
คำนำ “...เวลานี้สังคมไทยมีอาการป่วยอย่างร้ายที่สุด คือ ป่วยทางปัญญา ขอให้พิจารณาดูเถิด เวลานี้ปัญหาสุขภาวะที่น่ากลัวที่สุดคือ ความป่วยทางปัญญา...” พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตโต) มีนาคม 2551 ท่ามกลางกระแสการคิดค้นเรื่อง “การเมืองใหม่” ซึ่งขณะนี้สังคมบางส่วนเริ่มเห็นภาพราง ๆ บ้างแล้วว่ามันเป็นอย่างไร แต่ยังไม่มีความชัดเจนมากนักว่า สังคมไทยจะก้าวไปสู่สภาพนั้นได้อย่างไร และสมมุติว่าเราสามารถเข้าไปสู่สภาพนั้นได้จริง ๆ แล้ว เราจะรักษาและพัฒนาการเมืองใหม่ให้ดียิ่งๆ ขึ้นไปอีกได้อย่างไร ในที่นี้ ผมจะขออนุญาตนำเสนอหลักการพื้นฐานมาใช้ตอบคำถามดังกล่าว ผมเรียกหลักการนี้ว่า “กฎ 3…
ประสาท มีแต้ม
เมื่อต้นเดือนเมษายน 2551 หนังสือพิมพ์หลายฉบับได้ลงข่าวว่า "พลังงานเผยไทยผลิตน้ำมันดิบสูงกว่าบรูไน คุยทดแทนนำเข้าปีนี้มหาศาล" (ไทยรัฐ 2 เมษายน 2551)    สาเหตุที่ผู้ให้ข่าวซึ่งก็คือข้าราชการระดับสูงของกระทรวงพลังงานได้นำประเทศไทยไปเทียบกับประเทศบรูไน ก็น่าจะเป็นเพราะว่าคนไทยเราทราบกันดีว่าประเทศบรูไนเป็นประเทศส่งออกน้ำมันรายหนึ่งของภูมิภาคนี้ ดังนั้นเมื่อประเทศไทยเราผลิตน้ำมันดิบได้มากกว่าก็น่าจะทำให้คนไทยเราหลงดีใจได้บ้าง  นาน ๆ คนไทยเราจะได้มีข่าวที่ทำให้ดีใจสักครั้ง   หลังจากอ่านข่าวนี้แล้ว ผมก็ได้ค้นหาความรู้เพิ่มเติมจากอินเทอร์เน็ตก็พบว่า…
ประสาท มีแต้ม
1. คำนำ ขณะนี้มีผู้คนจำนวนหนึ่งกำลังครุ่นคิดถึง "การเมืองใหม่" ซึ่งยังไม่เป็นที่แน่ชัดนักว่ามันคืออะไรกันแน่ ทราบแต่ว่า "การเมืองเดิม" ซึ่งก็คือการเมืองแบบตัวแทน (representative democracy) กำลังมีปัญหาหลายอย่างและรุนแรงขึ้นทุกขณะบทความนี้จะนำเสนอความล้มเหลวของ "การเมืองแบบตัวแทน" อย่างสั้นๆ พร้อมกับนำเสนอ "การเมืองแบบไฮเพอร์ (hyperpolitics)" ให้พอเป็นประกายเบื้องต้น หากสังคมนี้สนใจก็มีช่องทางให้ศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมกันต่อไป2. สาเหตุความล้มเหลวของการเมืองแบบตัวแทนเราท่องกันจนขึ้นใจมาตั้งแต่วัยเด็กแล้วว่า สาเหตุสำคัญของการมี "การเมืองแบบตัวแทน" คือเป็นเพราะคนมันเยอะ…