Skip to main content

เราเคยสงสัยและตั้งคำถามเสมอมาว่า ทำไมราคาน้ำมันสำเร็จรูป (รวมทั้งราคายางพารา) ในภูมิภาคเอเซียจึงถูกกำหนดจากประเทศสิงคโปร์

คำตอบส่วนหนึ่งก็เพราะว่าประเทศสิงคโปร์สามารถกลั่นน้ำมันได้เท่าๆ กับประเทศไทยนี่แหละ แต่ประเทศสิงคโปร์บริโภคเพียงนิดเดียวเมื่อเทียบกับประเทศไทย จึงสามารถส่งออกน้ำมันสำเร็จรูปได้มากกว่าประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาคนี้  นอกจากนี้ยังมีเหตุผลด้านการจัดการที่มีประสิทธิภาพมาประกอบด้วย

มาวันนี้  ผมว่าคำถามเดิมดูท่าจะเชยเสียแล้วครับ
สิ่งที่ผมพบในวันนี้ คนไทยควรจะเปลี่ยนคำถามเสียใหม่ว่า
ทำไมโรงกลั่นไทยจึงขายน้ำมันแพงกว่าสิงคโปร์?

ผมค้นพบข้อมูลนี้จากวารสาร "นโยบายพลังงาน" ฉบับล่าสุด (มกราคม-มีนาคม 2552 ผมได้ตัดต่อมาลงให้ดูด้วยในที่นี้) ซึ่งเป็นวารสารที่จัดทำโดยกระทรวงพลังงานได้รายงานว่า

เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2552 ราคาน้ำมันสำเร็จรูปชนิดดีเซลหมุนเร็วราคา 46.36 เหรียญต่อบาร์เรล  เมื่อเปลี่ยนเป็นหน่วยที่คนไทยคุ้นเคยจะเท่ากับ 10.52 บาทต่อลิตร (อัตราแลกเปลี่ยน 36.0652 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ และ 1 บาร์เรลเท่ากับ 159  ลิตร)

แต่ราคาหน้าโรงกลั่นในประเทศไทยที่รายงานโดยกระทรวงพลังงานเท่ากับ 12.0424 บาทต่อลิตร ซึ่งแพงกว่าที่สิงคโปร์ถึงลิตรละ 1.52 บาท

แพงกว่าถึงร้อยละ 14.4
นี่เป็นราคาหน้าโรงกลั่นนะ ไม่ใช่ราคาหน้าปั๊มน้ำมัน

 

เอกสารชิ้นเดียวกันนี้ ได้รายงานว่า ราคาน้ำมันดิบ (ของ 3 ตลาดใหญ่ของโลกคือ ดูไบ  เบรนท์  และเวสต์ เทกซัส) อยู่ระหว่าง 40.91 ถึง 43.32 เหรียญต่อบาร์เรล เมื่อเฉลี่ยออกมาจะได้  42.27 เหรียญต่อบาร์เรล

ถ้าเราคิดคร่าว ๆ ว่าหลังจากกลั่นแล้วได้น้ำมันออกมา 3 ชนิด (คือเบนซิน 95, เบนซิน 92 และดีเซลหมุนเร็ว) ราคาเฉลี่ย 49.07 เหรียญต่อบาร์เรล 

ทำให้เราคิดได้ว่า "ค่าการกลั่น" ของสิงคโปร์อยู่ที่ประมาณ 6.8 เหรียญต่อบาร์เรล 

ท่านผู้อ่านคงอยากจะทราบว่า ค่าการกลั่นของโรงกลั่นในประเทศไทยเป็นเท่าใด  ผมขอเรียนว่า นับแต่วันที่ 9 ธันวาคม 2551 เป็นต้นมา กระทรวงพลังงานของประเทศไทยไม่ยอมเสนอข้อมูลส่วนนี้อีกเลยโดยไม่ทราบเหตุผล

ผมได้เคยคำนวณโดยการสุ่มข้อมูลของปี 2550 มาจำนวน 60 วันกระจายทั่วทั้งปี (จะค้นเองทุกวันก็เสียเวลามาก) พบว่า ค่าการกลั่นของประเทศไทยเท่ากับ 9.52 เหรียญต่อบาร์เรล

อย่างไรก็ตาม ข้อมูลจากวารสารฉบับนี้ได้บอกเราแล้วว่า ราคาหน้าโรงกลั่นของน้ำมันดีเซลชนิดหมุนเร็วแพงกว่าสิงคโปร์ถึงลิตรละ 1.52 บาท

เราไม่ทราบค่าขนส่ง เพราะเขาไม่ได้บอก แต่ก็น่าจะประมาณ 32 สตางค์ต่อลิตรโดยคิดเทียบกับการขนส่งจากกรุงเทพฯมาถึงสงขลา  

อนึ่ง เมื่อปีกลาย (2551) ผมได้ค้นข้อมูลจากกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ ในกระทรวงพลังงาน  พบว่าประเทศเราขุดน้ำมันดิบได้เองประมาณ  23 % ของปริมาณน้ำมันดิบที่นำเข้า  ดังนั้นน้ำมันดิบที่โรงกลั่นในประเทศได้มาจึงเป็นน้ำมันดิบในอ่าวไทยและบนแผ่นดินไทยนี่เอง  ทำให้ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการขนส่งมากนัก

เมื่อผมต้องการจะกลับไปค้นใหม่อีกครั้งเพื่อความทันสมัย ผมกลับค้นไม่เจอครับ สงสัยว่าทางกระทรวงฯได้ถอดข้อมูลนี้ออกไปแล้ว (ถ้าท่านใดค้นเจอกรุณาบอกผมด้วยครับ)

ดังนั้น เมื่อเปรียบเทียบกับสิงคโปร์  โรงกลั่นไทยได้เอากำไรเกินกว่าที่ควรจะเป็นถึงอย่างน้อยลิตรละ 1.20 -1.30  บาทต่อลิตร

ในแต่ละเดือน คนไทยใช้น้ำมันดีเซลหมุนเร็ว (ไม่นับเบนซิน) ประมาณ 1,500  ล้านลิตร ดังนั้น คนไทยถูกขูดรีดจากค่าการกลั่นเพียงอย่างเดียวไปถึงเดือนละ 1800 - 2,000 ล้านบาท

ใครเป็นเจ้าของโรงกลั่น    ใครเป็นผู้ควบคุมโรงกลั่น ท่านผู้อ่านคงทราบดีกันอยู่แล้ว
โอกาสหน้าผมจะเสนอ "ค่าตลาด" ซึ่งก็เป็นภาระที่คนไทยต้องแบบรับมากอย่างผิดปกติเช่นเดียวกันครับ

เรื่องที่พ่อค้าน้ำมันขูดรีดคนไทยรวมทั้งเรื่องที่กระทรวงพลังงานไม่ยอมเสนอข้อมูลที่จำเป็นต่อผู้บริโภค ผมคิดว่าผมพอจะเข้าใจในเหตุผลของเขาอยู่นะ  

แต่ที่ผมไม่เข้าใจก็คือ ทำไมคนไทยเราจึงมีความอดทนสูงมากถึงขนาดนี้ ทำไมไม่ช่วยกันคิดหากลไกใด ๆ มาควบคุมให้เกิดความเป็นธรรมกันเสียที่

 

 

บล็อกของ ประสาท มีแต้ม

ประสาท มีแต้ม
เราเคยสงสัยและตั้งคำถามเสมอมาว่า ทำไมราคาน้ำมันสำเร็จรูป (รวมทั้งราคายางพารา) ในภูมิภาคเอเซียจึงถูกกำหนดจากประเทศสิงคโปร์
ประสาท มีแต้ม
ตลอดช่วงเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ราคาน้ำมันดิบและราคาน้ำมันที่ปั๊มในบ้านเราได้เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง นักวิเคราะห์บางคนคาดการณ์ว่าสิ้นปีนี้ราคาน้ำมันดิบจะสูงถึง 85 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล โดยที่ราคาเมื่อต้นเดือนมิถุนายนได้ขยับจาก 62 ถึง 68 ภายในเวลาเจ็ดวันเท่านั้น
ประสาท มีแต้ม
1. คำนำ บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ข้อ คือ หนึ่ง ให้เห็นตัวเลขค่าใช้จ่ายด้านไฟฟ้าของคนไทยโดยเฉลี่ยซึ่งค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับรายได้ และหากแผนผลิตไฟฟ้าดังกล่าวมีปัญหาแล้วจะส่งผลกระทบต่อผู้ใช้ไฟฟ้าอย่างไร สอง เพื่อเล่าถึงการจัดทำแผนผลิตไฟฟ้าที่ผูกขาดโดย "กลุ่มผู้เชี่ยวชาญ" จำนวนน้อยตลอดมาและจะชี้ให้เห็นถึงบางสิ่งที่ผมคิดว่า "น่าจะไม่ถูกต้อง" สาม หากท่านผู้อ่านได้เห็นปัญหาในข้อสองแล้ว จะได้เห็นความจำเป็นของ "การเมืองภาคประชาชน" ในการตรวจสอบโครงการของรัฐมากขึ้น
ประสาท มีแต้ม
1. คำนำ เพื่อให้ท่านผู้อ่านได้ตัดสินใจว่าจะอ่านบทความนี้ต่อไปหรือไม่ ผมขอนำประเด็นสำคัญมาเสนอก่อน  ประเด็นคือการวางแผนผลิตก๊าซที่ผิดพลาดทำให้คนไทยทุกคนต้องควักเงินในกระเป๋าเพิ่มขึ้น จากรายงานประจำปี 2551 ของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) พบว่า ในปี 2551 บริษัท ปตท. ต้องจ่ายค่า "ไม่ซื้อก็ต้องจ่าย" ก๊าซจากโครงการไทย-มาเลเซีย (ซึ่งเป็นโครงการสร้างความขัดแย้งมาตั้งแต่รัฐบาลชวน หลีกภัย และทักษิณ ชินวัตร จนถึงปัจจุบัน) เป็นจำนวน 13,716 ล้านบาท
ประสาท มีแต้ม
ในขณะที่วิกฤตเศรษฐกิจโลกที่เริ่มต้นจากถนนวอลล์สตรีทในสหรัฐอเมริกากำลังลุกลามไปอย่างรวดเร็วราวกับลาวาภูเขาไฟไปสู่ทุกถนนของโลก ในภาคใต้ของประเทศไทยโดยหน่วยงานของรัฐและการนิคมอุตสาหกรรมก็กำลังดำเนินการให้มีแผนพัฒนาภาคใต้ด้วยโครงการต่าง ๆ มากมาย ทั้งโดยเปิดเผยและแอบแฝง ตัวอย่างของโครงการเหล่านี้ได้แก่ นิคมอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ในจังหวัดนครศรีธรรมราช โครงการอุตสาหกรรมเหล็กต้นน้ำ จังหวัดชุมพรและสุราษฎร์ธานี โครงการขุดเจาะน้ำมันของบริษัทเซฟรอน ที่นครศรีธรรมราช ตลอดจนโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ถึง 3 โรง นอกจากนี้ยังมีนิคมอุตสาหกรรมที่จังหวัดตรัง และท่าเทียบเรือน้ำลึกในจังหวัดสงขลาและอีกหลายจังหวัด…
ประสาท มีแต้ม
  เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2552 กระทรวงพลังงานในฐานะผู้รับผิดชอบหรือจะเรียกว่าผู้จัดทำแผนผลิตไฟฟ้าเองได้จัดรับฟังความคิดเห็นของประชาชนเพื่อปรับปรุง "แผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้า" ในช่วงปี 2551 ถึง 2564 ซึ่งเป็นแผนที่ได้จัดทำไว้ก่อนปี 2551 ในการรับฟังครั้งนี้ก็เพื่อจะได้ปรับปรุงเป็นครั้งที่ 2 สาเหตุที่ต้องปรับปรุงก็เพราะปัญหาเศรษฐกิจถดถอยทั้งในระดับโลกและในระดับประเทศไทยด้วยนักวิชาการอิสระด้านพลังงานที่ไม่ใช่ข้าราชการของกระทรวงพลังงานก็ได้ออกมาแสดงความคิดเห็นที่น่าสนใจหลายอย่าง ขณะเดียวกันกลุ่มชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบจากโรงไฟฟ้าก็ได้ตั้งคำถามพร้อมแผ่นผ้าด้วยข้อความสั้น ๆ แต่เข้าใจง่ายว่า "…
ประสาท มีแต้ม
คำนำ เมื่อธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ประสบปัญหาขายไม่ได้เนื่องจากได้รับผลกระทบจากวิกฤติเศรษฐกิจของโลก นักการเมืองรวมทั้งว่าที่รัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องก็ได้เสนอมาตรการลดหย่อนภาษีค่าโอนบ้าน โดยจะเริ่มต้นตั้งแต่ปี 2552 เป็นต้นไป ผมขออนุญาตไม่แสดงความคิดเห็นในประเด็นดังกล่าวข้างต้น แต่ขอใช้หลักคิดเดียวกันนี้เพื่อตั้งคำถามว่า ทำไมรัฐบาลจึงไม่ใช้มาตรการทางภาษีเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการพืชน้ำมันซึ่งได้แก่ ไบโอดีเซล และแก๊สโซฮอล์ ซึ่งโยงใยเกี่ยวเนื่องกันตั้งแต่เจ้าของโรงงานจนถึงเกษตรกรผู้ปลูกพืชน้ำมัน ( ปาล์มน้ำมัน อ้อย ฯลฯ ) เหล่านี้บ้างเล่า?
ประสาท มีแต้ม
1. คำนำ เมื่อราคาน้ำมันลดลงมาจากลิตรละราว 40 บาทจากเมื่อ 4-5 เดือนก่อนมาอยู่ที่ราว ๆ 20 บาท ทำให้คนไทยเราก็รู้สึกสบายใจ บางคนถึงกับกล่าวว่า “ตอนนี้จะไปไหนมาไหนก็ไม่ค่อยได้คิดมากเหมือนเมื่อก่อนแล้ว” ในยุคที่การเมืองที่เต็มไปด้วยการฉ้อราษฎร์บังหลวง ผู้บริโภคจะพอใจอยู่กับตัวเลขที่อิงอยู่กับความรู้สึกเช่นนี้เพียงอย่างเดียวคงไม่ได้ เราจะต้องลุกขึ้นมาช่วยกันตรวจสอบ ถามหาความความเป็นธรรม ความพอดีอยู่ตลอดเวลา เมื่อพูดถึงความรู้สึกที่สบายใจขึ้นของคนไทยในขณะนี้ ทำให้ผมนึกเรื่อง “นัสรูดิน” ชายชาวอาหรับโบราณที่คนรุ่นหลังยังตัดสินไม่ได้ว่า เขาเป็นคนเฉลียวฉลาดหรือคนโง่กันแน่…
ประสาท มีแต้ม
1. คำนำ ก่อนจะเริ่มต้นเนื้อหา เรามาดูรูปการ์ตูนสนุก ๆ แต่บาดใจและอาจจะบาดตากันก่อนครับ ความหมายในภาพนี้ ไม่มีอะไรมาก นอกจากบอกว่านี่ไงหลักฐานที่พิสูจน์ว่าโลกเราร้อนขึ้นจริง สำหรับภาพนี้บอกว่า ผลการศึกษาพบว่าอุณหภูมิของน้ำในมหาสมุทรสูงขึ้น นักวิชาการ (และนักการเมือง) กำลังระดมกันแก้ปัญหาอย่างขยันขันแข็ง ขอขอบคุณเจ้าของภาพทั้งสองด้วย คราวนี้มาเข้าเรื่องกันครับ ขณะที่โลกของเรากำลังเผชิญกับวิกฤตการณ์ครั้งสำคัญ 4 ด้านพร้อม ๆ กัน คือ (1) วิกฤติภาวะโลกร้อน (2) วิกฤติพลังงานที่ทั้งขาดแคลน ราคาแพง ผูกขาดและก่อวิกฤติด้านอื่น ๆ (3) วิกฤติการเงินที่เพิ่งจะเกิดขึ้นหยก ๆ…
ประสาท มีแต้ม
คำนำ “...เวลานี้สังคมไทยมีอาการป่วยอย่างร้ายที่สุด คือ ป่วยทางปัญญา ขอให้พิจารณาดูเถิด เวลานี้ปัญหาสุขภาวะที่น่ากลัวที่สุดคือ ความป่วยทางปัญญา...” พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตโต) มีนาคม 2551 ท่ามกลางกระแสการคิดค้นเรื่อง “การเมืองใหม่” ซึ่งขณะนี้สังคมบางส่วนเริ่มเห็นภาพราง ๆ บ้างแล้วว่ามันเป็นอย่างไร แต่ยังไม่มีความชัดเจนมากนักว่า สังคมไทยจะก้าวไปสู่สภาพนั้นได้อย่างไร และสมมุติว่าเราสามารถเข้าไปสู่สภาพนั้นได้จริง ๆ แล้ว เราจะรักษาและพัฒนาการเมืองใหม่ให้ดียิ่งๆ ขึ้นไปอีกได้อย่างไร ในที่นี้ ผมจะขออนุญาตนำเสนอหลักการพื้นฐานมาใช้ตอบคำถามดังกล่าว ผมเรียกหลักการนี้ว่า “กฎ 3…
ประสาท มีแต้ม
เมื่อต้นเดือนเมษายน 2551 หนังสือพิมพ์หลายฉบับได้ลงข่าวว่า "พลังงานเผยไทยผลิตน้ำมันดิบสูงกว่าบรูไน คุยทดแทนนำเข้าปีนี้มหาศาล" (ไทยรัฐ 2 เมษายน 2551)    สาเหตุที่ผู้ให้ข่าวซึ่งก็คือข้าราชการระดับสูงของกระทรวงพลังงานได้นำประเทศไทยไปเทียบกับประเทศบรูไน ก็น่าจะเป็นเพราะว่าคนไทยเราทราบกันดีว่าประเทศบรูไนเป็นประเทศส่งออกน้ำมันรายหนึ่งของภูมิภาคนี้ ดังนั้นเมื่อประเทศไทยเราผลิตน้ำมันดิบได้มากกว่าก็น่าจะทำให้คนไทยเราหลงดีใจได้บ้าง  นาน ๆ คนไทยเราจะได้มีข่าวที่ทำให้ดีใจสักครั้ง   หลังจากอ่านข่าวนี้แล้ว ผมก็ได้ค้นหาความรู้เพิ่มเติมจากอินเทอร์เน็ตก็พบว่า…
ประสาท มีแต้ม
1. คำนำ ขณะนี้มีผู้คนจำนวนหนึ่งกำลังครุ่นคิดถึง "การเมืองใหม่" ซึ่งยังไม่เป็นที่แน่ชัดนักว่ามันคืออะไรกันแน่ ทราบแต่ว่า "การเมืองเดิม" ซึ่งก็คือการเมืองแบบตัวแทน (representative democracy) กำลังมีปัญหาหลายอย่างและรุนแรงขึ้นทุกขณะบทความนี้จะนำเสนอความล้มเหลวของ "การเมืองแบบตัวแทน" อย่างสั้นๆ พร้อมกับนำเสนอ "การเมืองแบบไฮเพอร์ (hyperpolitics)" ให้พอเป็นประกายเบื้องต้น หากสังคมนี้สนใจก็มีช่องทางให้ศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมกันต่อไป2. สาเหตุความล้มเหลวของการเมืองแบบตัวแทนเราท่องกันจนขึ้นใจมาตั้งแต่วัยเด็กแล้วว่า สาเหตุสำคัญของการมี "การเมืองแบบตัวแทน" คือเป็นเพราะคนมันเยอะ…