Skip to main content

เราเคยสงสัยและตั้งคำถามเสมอมาว่า ทำไมราคาน้ำมันสำเร็จรูป (รวมทั้งราคายางพารา) ในภูมิภาคเอเซียจึงถูกกำหนดจากประเทศสิงคโปร์

คำตอบส่วนหนึ่งก็เพราะว่าประเทศสิงคโปร์สามารถกลั่นน้ำมันได้เท่าๆ กับประเทศไทยนี่แหละ แต่ประเทศสิงคโปร์บริโภคเพียงนิดเดียวเมื่อเทียบกับประเทศไทย จึงสามารถส่งออกน้ำมันสำเร็จรูปได้มากกว่าประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาคนี้  นอกจากนี้ยังมีเหตุผลด้านการจัดการที่มีประสิทธิภาพมาประกอบด้วย

มาวันนี้  ผมว่าคำถามเดิมดูท่าจะเชยเสียแล้วครับ
สิ่งที่ผมพบในวันนี้ คนไทยควรจะเปลี่ยนคำถามเสียใหม่ว่า
ทำไมโรงกลั่นไทยจึงขายน้ำมันแพงกว่าสิงคโปร์?

ผมค้นพบข้อมูลนี้จากวารสาร "นโยบายพลังงาน" ฉบับล่าสุด (มกราคม-มีนาคม 2552 ผมได้ตัดต่อมาลงให้ดูด้วยในที่นี้) ซึ่งเป็นวารสารที่จัดทำโดยกระทรวงพลังงานได้รายงานว่า

เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2552 ราคาน้ำมันสำเร็จรูปชนิดดีเซลหมุนเร็วราคา 46.36 เหรียญต่อบาร์เรล  เมื่อเปลี่ยนเป็นหน่วยที่คนไทยคุ้นเคยจะเท่ากับ 10.52 บาทต่อลิตร (อัตราแลกเปลี่ยน 36.0652 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ และ 1 บาร์เรลเท่ากับ 159  ลิตร)

แต่ราคาหน้าโรงกลั่นในประเทศไทยที่รายงานโดยกระทรวงพลังงานเท่ากับ 12.0424 บาทต่อลิตร ซึ่งแพงกว่าที่สิงคโปร์ถึงลิตรละ 1.52 บาท

แพงกว่าถึงร้อยละ 14.4
นี่เป็นราคาหน้าโรงกลั่นนะ ไม่ใช่ราคาหน้าปั๊มน้ำมัน

 

เอกสารชิ้นเดียวกันนี้ ได้รายงานว่า ราคาน้ำมันดิบ (ของ 3 ตลาดใหญ่ของโลกคือ ดูไบ  เบรนท์  และเวสต์ เทกซัส) อยู่ระหว่าง 40.91 ถึง 43.32 เหรียญต่อบาร์เรล เมื่อเฉลี่ยออกมาจะได้  42.27 เหรียญต่อบาร์เรล

ถ้าเราคิดคร่าว ๆ ว่าหลังจากกลั่นแล้วได้น้ำมันออกมา 3 ชนิด (คือเบนซิน 95, เบนซิน 92 และดีเซลหมุนเร็ว) ราคาเฉลี่ย 49.07 เหรียญต่อบาร์เรล 

ทำให้เราคิดได้ว่า "ค่าการกลั่น" ของสิงคโปร์อยู่ที่ประมาณ 6.8 เหรียญต่อบาร์เรล 

ท่านผู้อ่านคงอยากจะทราบว่า ค่าการกลั่นของโรงกลั่นในประเทศไทยเป็นเท่าใด  ผมขอเรียนว่า นับแต่วันที่ 9 ธันวาคม 2551 เป็นต้นมา กระทรวงพลังงานของประเทศไทยไม่ยอมเสนอข้อมูลส่วนนี้อีกเลยโดยไม่ทราบเหตุผล

ผมได้เคยคำนวณโดยการสุ่มข้อมูลของปี 2550 มาจำนวน 60 วันกระจายทั่วทั้งปี (จะค้นเองทุกวันก็เสียเวลามาก) พบว่า ค่าการกลั่นของประเทศไทยเท่ากับ 9.52 เหรียญต่อบาร์เรล

อย่างไรก็ตาม ข้อมูลจากวารสารฉบับนี้ได้บอกเราแล้วว่า ราคาหน้าโรงกลั่นของน้ำมันดีเซลชนิดหมุนเร็วแพงกว่าสิงคโปร์ถึงลิตรละ 1.52 บาท

เราไม่ทราบค่าขนส่ง เพราะเขาไม่ได้บอก แต่ก็น่าจะประมาณ 32 สตางค์ต่อลิตรโดยคิดเทียบกับการขนส่งจากกรุงเทพฯมาถึงสงขลา  

อนึ่ง เมื่อปีกลาย (2551) ผมได้ค้นข้อมูลจากกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ ในกระทรวงพลังงาน  พบว่าประเทศเราขุดน้ำมันดิบได้เองประมาณ  23 % ของปริมาณน้ำมันดิบที่นำเข้า  ดังนั้นน้ำมันดิบที่โรงกลั่นในประเทศได้มาจึงเป็นน้ำมันดิบในอ่าวไทยและบนแผ่นดินไทยนี่เอง  ทำให้ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการขนส่งมากนัก

เมื่อผมต้องการจะกลับไปค้นใหม่อีกครั้งเพื่อความทันสมัย ผมกลับค้นไม่เจอครับ สงสัยว่าทางกระทรวงฯได้ถอดข้อมูลนี้ออกไปแล้ว (ถ้าท่านใดค้นเจอกรุณาบอกผมด้วยครับ)

ดังนั้น เมื่อเปรียบเทียบกับสิงคโปร์  โรงกลั่นไทยได้เอากำไรเกินกว่าที่ควรจะเป็นถึงอย่างน้อยลิตรละ 1.20 -1.30  บาทต่อลิตร

ในแต่ละเดือน คนไทยใช้น้ำมันดีเซลหมุนเร็ว (ไม่นับเบนซิน) ประมาณ 1,500  ล้านลิตร ดังนั้น คนไทยถูกขูดรีดจากค่าการกลั่นเพียงอย่างเดียวไปถึงเดือนละ 1800 - 2,000 ล้านบาท

ใครเป็นเจ้าของโรงกลั่น    ใครเป็นผู้ควบคุมโรงกลั่น ท่านผู้อ่านคงทราบดีกันอยู่แล้ว
โอกาสหน้าผมจะเสนอ "ค่าตลาด" ซึ่งก็เป็นภาระที่คนไทยต้องแบบรับมากอย่างผิดปกติเช่นเดียวกันครับ

เรื่องที่พ่อค้าน้ำมันขูดรีดคนไทยรวมทั้งเรื่องที่กระทรวงพลังงานไม่ยอมเสนอข้อมูลที่จำเป็นต่อผู้บริโภค ผมคิดว่าผมพอจะเข้าใจในเหตุผลของเขาอยู่นะ  

แต่ที่ผมไม่เข้าใจก็คือ ทำไมคนไทยเราจึงมีความอดทนสูงมากถึงขนาดนี้ ทำไมไม่ช่วยกันคิดหากลไกใด ๆ มาควบคุมให้เกิดความเป็นธรรมกันเสียที่

 

 

บล็อกของ ประสาท มีแต้ม

ประสาท มีแต้ม
เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2551 สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ได้จัดเวทีเสวนาเรื่อง "9 คำถามคาใจ กรณี ปตท." ซึ่งเป็นประเด็นที่ประชาชนให้ความสนใจมาหลายปีนับตั้งแต่การแปรรูปเมื่อเดือนตุลาคมปี 2544 เวทีเสวนาประกอบด้วย ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่สื่อสารองค์กรและกิจการเพื่อสังคม  บมจ. ปตท. (คุณสรัญ รังคสิริ)  เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค (คุณสารี อ๋องสมหวัง) ดำเนินรายการโดยคุณวันชัย ตันติวิทยาพิทักษ์  บรรณาธิการนิตยสารสารคดี นอกจากนี้ยังมีนักวิชาการและประธานกรรมการบริหารบริษัทหลักทรัพย์ภัทรด้วย นักข่าวของ “ประชาไท” รายงานว่า “…
ประสาท มีแต้ม
นายทหารยศพันตรีท่านหนึ่ง (พ.ต.รัฐเขต แจ้งจำรัส) ได้ออกมาให้ข้อมูลกับประชาชนผ่านเวทีพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยว่า “ปิโตรเลียมซึ่งได้แก่น้ำมันและก๊าซธรรมชาติใต้แผ่นดินไทยทั้งบนบกและในทะเลทั้งหมดมีมูลค่าถึง 100 ล้านล้านบาท” เงินจำนวน 100 ล้านล้านบาท(ล้านสองครั้ง)นี้ ถ้าเอามาจัดสรรเป็นงบประมาณแผ่นดินในปีปัจจุบันก็จะได้ประมาณ 62 ปี เพราะงบประมาณปีหน้า (2552) มีประมาณ 1.6 ล้านล้านบาท ข้อมูลที่นายทหารผู้นี้นำเสนอล้วนเป็นข้อมูลของทางราชการที่เข้าใจยาก กระจัดกระจาย แต่ท่านได้นำมารวบรวม วิเคราะห์ แล้วสรุปให้ประชาชนธรรมดาสามารถเข้าใจได้ง่าย…
ประสาท มีแต้ม
1. ความเดิม จากปัญหาที่ผู้บริหารทั้งระดับผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่และผู้จัดการใหญ่ของ บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) “อ้าง” หลายครั้งหลายวาระด้วยกันว่า ก๊าซหุงต้มในประเทศไทยขาดแคลน ทาง บริษัท ปตท. จึงได้ออกมาบอกกับสาธารณะในสามประเด็นหลัก คือ (1) เสนอแนะให้รัฐบาลขึ้นราคาหรือลอยตัวราคาก๊าซหุงต้มให้เท่ากับราคาตลาดโลก(2) ในเดือนเมษายนที่ผ่านมาทาง ปตท. ได้นำเข้าก๊าซหุงต้มหรือแอลพีจีแล้วจำนวน2 หมื่นตัน ขณะเดียวกันผู้บริหารระดับสูงสุดอ้างว่าในปีนี้จะมีการนำก๊าซถึง 4 แสนตัน (3) ราคาก๊าซหุงต้มในตลาดโลกตันละเกือบพันเหรียญสหรัฐ แต่ราคาก๊าซในประเทศอยู่ที่ตันละประมาณ 300 เหรียญ…
ประสาท มีแต้ม
1. ประเด็นปัญหา ขณะนี้ บริษัท ปตท. ได้บอกกับประชาชนว่าก๊าซหุงต้มหรือที่เรียกกันในวงการว่าก๊าซแอลพีจี (Liquefied petroleum gas) ในประเทศไทยกำลังขาดแคลน และได้แนะนำให้รัฐบาลขึ้นราคาก๊าซชนิดนี้ โดยเฉพาะที่ใช้กับรถยนต์ส่วนบุคคลและรถยนต์แท็กซี่ (นายณัฐชาติ จารุจินดา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ บมจ. ปตท. ให้สัมภาษณ์ผ่านรายการ Hard Topic ทาง Money Channel , 7 กรกฎาคม 2551) นอกจากนี้นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท.กล่าวว่า “ความต้องการใช้ก๊าซหุงต้ม (แอลพีจี) ที่เพิ่มขึ้น ทำให้ปีนี้ต้องนำเข้าแอลพีจี 4 แสนตัน” (ไทยรัฐ 11 กรกฎาคม 2551)
ประสาท มีแต้ม
1. คำนำและปัญหา ขณะนี้ได้มีการเรียกร้องให้สังคมมาร่วมกันสร้าง “การเมืองใหม่” บทความนี้จะยังไม่เสนอกระบวนการที่จะนำไปสู่การเมืองใหม่ แต่จะมองว่าการเมืองใหม่ควรจะมีหน้าตาเป็นอย่างไร พร้อมนำเสนอตัวอย่างที่เป็นจริงเพื่อให้เราได้เห็นทั้งแนวคิดและหน้าตาของการเมืองใหม่ชัดเจนขึ้น สังคมในการเมืองใหม่ควรจะเป็นสังคมที่ ผู้คนมีศักดิ์ศรี พึ่งตนเองได้ ทุกคนมีงานทำ มีความสุข การบริหารบ้านเมืองต้องโปร่งไส ตรวจสอบได้และ ปราศจากการคอร์รัปชัน ในที่นี้จะขอนำเสนอนโยบายและรูปธรรมด้านพลังงาน ทั้งนี้เพราะเรื่องพลังงานเป็นเรื่องใหญ่มาก กล่าวคือทุกๆ 100 บาทของรายได้ของคนไทย ต้องจ่ายไปกับค่าพลังงานถึง 18 บาท…
ประสาท มีแต้ม
ในขณะที่คนทั่วโลกกำลังเดือดร้อนกับราคาน้ำมันที่พุ่งสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์  แต่ผลกำไรของบริษัทน้ำมันขนาดยักษ์ของโลกกลับเพิ่มสูงขึ้นกว่าปีที่ผ่านมา มันช่างฝืนความรู้สึกในใจของมนุษย์ธรรมดาๆ ที่คิดว่า “เออ! เมื่อสินค้าราคาสูงขึ้น เขาน่าจะลดกำไรลงมามั่ง เพื่อไม่ให้ผู้บริโภคเดือดร้อนมากนัก”   แต่มันกลับเป็นตรงกันข้าม คือเพิ่มกำไรมากกว่าเดิม  โดยไม่สนใจใยดีกับเพื่อนร่วมโลกในขณะที่ผู้มีรายได้น้อยอย่างกรรมกรได้สะท้อนออกมาในวันแรงงานแห่งชาติว่า “ค่าครองชีพแพง แต่ค่าแรงเท่าเดิม”บทความนี้จะนำเสนอทั้งข้อมูลและความคิดเห็นใน 4 เรื่องต่อไปนี้ คือ (1)…
ประสาท มีแต้ม
๑.คำนำเมื่อ ๗ ปีก่อน  คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้คิดวิชาใหม่ขึ้นมาหนึ่งรายวิชา หากคำนึงถึงแนวคิด เนื้อหาและกระบวนการเรียนการสอนแล้ว อาจถือว่าได้วิชานี้เป็นวิชาแรกในประเทศไทยก็น่าจะได้  ผมจึงอยากจะเล่าให้ท่านผู้อ่านที่เป็นผู้จ่ายภาษีมาตลอดได้รับทราบครับ ด้วยขั้นตอนตามระเบียบของมหาวิทยาลัย เราได้เริ่มลงมือเปิดสอนจริงเมื่อ ๓ ปีมาแล้ว รายวิชานี้ชื่อว่า “วิทยาเขตสีเขียว (Greening the Campus)”  เป็นวิชาบังคับสำหรับนักศึกษาชั้นปีที่สามทุกคน เรื่องที่จะนำมาเล่าอย่างสั้นๆ นี้ ได้แก่ แนวคิด เนื้อหา กระบวนการเรียนการสอน  สิ่งที่นักศึกษาค้นพบและร่วมผลักดันขยายผล…
ประสาท มีแต้ม
ผมว่างเว้นจากการเขียนบทความมานานกว่าสองเดือนแล้ว จนอันดับบทความของผมที่เรียงตามเวลาที่เขียนในเว็บไซต์ “ประชาไท” ตกไปอยู่เกือบสุดท้ายของตารางแล้ว สาเหตุที่ไม่ได้เขียนเพราะผมป่วยเป็นโรคที่ทันสมัยคือ “โรคคอมพิวเตอร์กัด” ครับ มันมีอาการปวดแสบปวดร้อนไปทั่วทั้งหลัง พอฝืนทนเข้าไปทำงานอีกไม่เกินห้านาทีก็ถูก “กัด” ซ้ำอีก ราวกับมันมีชีวิตแน่ะที่นำเรื่องนี้มาเล่าก่อนในที่นี้ไม่ใช่อยากจะเล่าเรื่องส่วนตัว แต่อยากนำประสบการณ์ที่ผิดๆ ของผมมาเตือนท่านผู้อ่านโดยเฉพาะคนที่อยู่ในวัยหนุ่มสาว ท่านผู้อ่านที่สนใจจะเก็บเรื่องของผมไปเป็นบทเรียน…
ประสาท มีแต้ม
ผมเองไม่ใช่นักกฎหมาย แต่ได้ให้ความสนใจอย่างจริงจังในประเด็นพลังงานทั้งเรื่อง ปตท. และการไฟฟ้า ทั้งการเคลื่อนไหวเรื่องพลังงานหมุนเวียนมานานกว่า 10 ปีหลังคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุด (14 ธันวาคม) ในอีก 2 วันทำการต่อมารัฐบาลก็ได้ผ่านมติวิธีการจัดการรวมทั้งการคิดค่าเช่าท่อก๊าซฯให้เป็นไปตามคำพิพากษาของศาล โดยใช้เวลาพิจารณาเพียง 10 นาที สร้างความกังขาให้กับสังคมไทยเป็นอย่างมากประเด็นที่ผมสนใจในที่นี้มี 3 เรื่องดังต่อไปนี้หนึ่ง คำพิพากษาของศาลฯที่ว่า “การใช้อำนาจมหาชนของรัฐ” ในกรณีการก่อสร้างท่อส่งก๊าซธรรมชาตินั้นควรจะครอบคลุมไปถึงไหน  ในฐานะที่ไม่ใช่นักกฎหมาย…
ประสาท มีแต้ม
เรื่องราวที่ผมจะนำมาเล่าในที่นี้  ไม่ใช่เรื่องเทคนิคทางไฟฟ้า ไม่ใช่เรื่องการประหยัดพลังงานไฟฟ้าเพียงอย่างเดียว  แต่เป็นเรื่องของประสบการณ์การทำงานเชิงสังคมที่น่าสนใจของตัวผมเอง  ผมคิดว่าเรื่องนี้มีคุณค่าพอที่ผู้อ่านทั่วไปตลอดจนกลุ่มเพื่อนพ้องที่มุ่งมั่นทำงานเพื่อสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกระบวนการสีเขียว เพื่อสิ่งแวดล้อม เพื่อความเป็นธรรมและเพื่อนสันติภาพของโลก  จริงๆนะครับ ผมไม่ได้โม้ผมขอเริ่มเลยนะครับเราเคยสังเกตไหมครับว่า สวิทซ์ไฟฟ้าในที่ทำงานของเรา โดยเฉพาะที่เป็นสถานที่ราชการ เวลาเราเปิดสวิทซ์ ไฟฟ้าจะสว่างไปหลายดวง หลายจุดเป็นแถบๆ  ยิ่งเป็นที่สาธารณะ เช่น สำนักงาน…
ประสาท มีแต้ม
1. ความในใจผมขอพักเรื่องนโยบายสาธารณะด้านพลังงานซึ่งเป็นเรื่องใหญ่และสำคัญมากๆ สำหรับประเทศไทยและชาวโลกไว้ชั่วคราวครับ  ในบทความนี้ผมขอนำเรื่องภายในมหาวิทยาลัยที่ผมทำงานอยู่มาเล่าสู่กันฟังมันไม่ใช่เรื่องไกลตัวสำหรับผู้อ่าน  แต่มันสะท้อนให้เห็นถึงปัญหาในระบบราชการไทยที่ไม่ยอมเปลี่ยนแปลงแม้ว่าสถานการณ์ได้เปลี่ยนไปมากแล้ว  นอกจากนี้ผมมีเรื่องวิชาใหม่ที่คาดว่าเป็นวิชาแรกในประเทศไทยคือวิชา “ชุมชนมหาวิทยาลัยสีเขียว (Greening the campus)”…
ประสาท มีแต้ม
การแปรรูป ปตท. คือการปล้นประชาชน! ในช่วง ๓-๔ ปีที่ผ่านมา ในขณะที่ประชาชนชาวไทยทั้งประเทศกำลังเดือดร้อนกับราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้นเกือบสองเท่าตัว แต่บริษัทน้ำมันต่างๆในประเทศไทยกลับมีกำไรเพิ่มสูงขึ้นมากกว่านั้นในบทนี้ จะกล่าวถึงกิจการของบริษัท ปตท. จำกัดมหาชน และบริษัทอื่นๆบ้าง โดยย่อๆ เป็นข้อๆ ดังต่อไปนี้๑. บริษัท ปตท. จำกัด มหาชน ได้แปรรูปมาจาก การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย เมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๔  ตอนเริ่มต้นการแปรรูป กระทรวงการคลังถือหุ้น ๖๙% ปัจจุบันเหลือเพียง ๕๒.๔๘%ดังนั้น กำไรของ ปตท. ซึ่งเดิมเคยตกเป็นของรัฐทั้งหมด ๑๐๐% ก็จะเหลือเพียงตามสัดส่วนที่รัฐถือหุ้น  คงจำกันได้นะครับว่า หุ้น ปตท…