Skip to main content

ผมได้รับเชิญจากคณะกรรมาธิการพลังงาน สภาผู้แทนราษฎร เพื่อ"ชี้แจงแสดงความคิดเห็น" เรื่อง ค่าการกลั่นน้ำมันเชื้อเพลิง เมื่อ 1 กรกฎาคม 52

คนนอกที่นอกจากผมแล้วก็มีอีก 6 -7 ท่าน ได้แก่ผู้แทนกระทรวงพลังงาน ผู้แทนบริษัทบางจาก, บริษัท ปตท. นายกสมาคมผู้ค้าน้ำมันแห่งประเทศไทย, คุณรสนา โตสิตระกูล และนักวิชาการปิโตรเลียม เป็นต้น

ในเรื่องค่าการกลั่น ประธานในที่ประชุมได้เปิดประเด็นว่า อยากจะฟังความคิดเห็นของทั้งสองฝ่าย ทั้งฝ่ายผู้ประกอบการกลั่นน้ำมัน และฝ่ายที่บอกว่าค่าการกลั่นนั้นสูงเกินไป รวมทั้งฝ่ายข้าราชการประจำด้วย

ประเด็นเรื่องราคาน้ำมันในบ้านเรานั้นมีอะไรน่าสนใจหลายอย่าง แต่ที่ผมอยากจะกล่าวถึงในวันนี้คือ ระบบการค้าที่มีผลกระทบต่อสถานีจำหน่ายน้ำมันหรือที่เราเรียกกันว่าปั๊มน้ำมัน และกระทบต่อประชาชนผู้บริโภคด้วย

ผมขอลำดับเรื่องราวเพื่อความเข้าใจง่าย ๆ ดังนี้

1. ประเทศไทยมีโรงกลั่นน้ำมันจำนวน 7 โรง มีกำลังการผลิตรวมกันวันละ 1.227 ล้านบาร์เรลต่อวัน (หรือ 195 ล้านลิตร ใกล้เคียงกับประเทศสิงคโปร์) โดยที่ 85% ของกำลังการผลิตทั้งหมดเป็นของบริษัทที่มีบริษัท ปตท. จำกัด (ที่เคยเป็นของรัฐทั้งร้อยเปอร์เซนต์) เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่

2. การกำหนดราคาขายส่งหน้าโรงกลั่น มีการอ้างว่า "เป็นไปตามกลไกการตลาดที่สิงคโปร์" แต่ผมได้นำเสนอข้อมูลที่ผมศึกษาเอง (แต่ใช้ข้อมูลของทางราชการ) พบว่า "ค่าการกลั่น" ในประเทศไทยสูงกว่าของประเทศสิงคโปร์และประเทศยุโรปเยอะเลย

3. ผู้แทนบริษัทบางจากและผู้แทนกระทรวงพลังงาน ได้แย้งผมว่า การคิดค่าการกลั่นจะนำข้อมูลเพียงวันเดียวมาใช้ไม่ได้ ต้องใช้ก็มูลทั้งปี ผมได้เรียนต่อที่ประชุมก่อนแล้วว่า "เดิมทีกระทรวงพลังงานนำเสนอข้อมูลค่าการกลั่นมาตลอด แต่หลังจากปลายปี 2551 เป็นต้นมา กระทรวงฯได้ตัดทิ้งไปเฉยๆ การนำเสนอข้อมูลก็ยากต่อการค้นหามาวิเคราะห์ ข้อมูลที่ผมนำมาเสนอจึงเป็นการสุ่มทั้งเดือน "

หลังจากเลิกประชุม ผมกลับมาสุ่มข้อมูลเพิ่มเติมทั้งปี จำนวน 105 วัน พบว่าในปี 2550 ค่าการกลั่นในประเทศไทยอยู่ที่ 9.5 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ในขณะที่ประเทศยุโรปอยู่ที่ 5.3 เท่านั้น เมื่อแปลงเป็นหน่วยที่คนไทยคุ้นเคยแล้วพบว่า ค่าการกลั่นของไทยแพงกว่าลิตรละเกือบหนึ่งบาท

4. การกำหนดราคาน้ำมัน รัฐบาลไทยไม่ได้เข้าไปมีส่วนร่วมแต่ประการใด คงใช้คาถาเดิมว่า "เป็นตามกลไกการตลาด" แต่ความเป็นจริงแล้วกลับแพงกว่าตลาดของโลกเสียอีก

การที่รัฐบาลไทยปล่อยให้บริษัทที่มีกำลังการผลิตอยู่ในมือถึง 85% เป็นผู้กำหนดราคาเอง แล้วคาดหวังว่าจะให้เป็นตลาดเสรีนั้น เป็นไปได้หรือ

นี่คือ "ระบบทุนนิยมผูกขาด" ชัดเจนครับ

ทั้งผู้แทนบริษัทน้ำมันและผู้แทนกระทรวงพลังงานกล่าวตรงกันว่า การกำหนดราคาน้ำมันแบบ "บวกต้นทุน (cost plus)" นั้นไม่สามารถทำได้ เพราะแต่ละโรงกลั่นซื้อน้ำมันมาจากหลายแหล่ง แต่ละแหล่งราคาไม่เท่ากัน และถ้ามีการกำหนดราคาขายต่ำกว่าในตลาดโลก ผู้ค้าก็จะส่งออกไปขายต่างประเทศ ทำให้คนไทยไม่มีน้ำมันใช้ได้

น่าสงสารจริง ๆ คนไทยเรา
ต่อไปเป็นปัญหาของปั๊มน้ำมันครับ

5. ผมได้เรียนต่อที่ประชุมเชิงตั้งคำถามว่า "ในบางเดือนค่าการตลาดอยู่ที่ 1.42 บาทต่อลิตร แต่บางเดือน (ขอย้ำว่าทั้งเดือนไม่ใช่บางวัน) ค่าการตลาดสูงถึง 3.10 บาท โดยไม่มีกลไกใดๆ มาควบคุมเช่นกัน ถ้า 1.42 บาทต่อลิตรมีกำไร แล้ว 3.10 บาทต่อลิตรจะเรียกว่าอะไร แต่ละเดือนมีการใช้น้ำมันเกือบ 100 ล้านลิตร คิดเป็นเงินเท่าไหร่"

ค่าการตลาด คือรายได้ของผู้ค้าน้ำมัน(ทั้งรายใหญ่ขายส่งและเจ้าของปั๊มรวมกัน) โดยไม่หักค่าใช้จ่ายด้านค่าแรง ค่าลงทุน เป็นต้น

6. ปัญหาของปั๊มน้ำมันที่นำเสนอโดยนายกสมาคมผู้ค้าน้ำมันฯ (คุณสมภพ ธนะธีระพงษ์) ว่า "ปั๊มน้ำมันทั่วประเทศในขณะนี้เป็นหนี้รวมกันกว่า 3 หมื่นล้านบาท" ท่าทีของคุณสมภพต้องการจะให้โรงกลั่นลดค่าการกลั่นลงมา พร้อมกล่าวขอบคุณฝ่ายที่เห็นว่า "โรงกลั่นสร้างปัญหา" ให้กับปั๊ม

เท่าที่ผมทราบ เจ้าของปั๊มน้ำมันจะมีรายได้จากการขายน้ำมันลิตรละประมาณ 30-40 สตางค์ต่อลิตร ในขณะที่ต้องลงทุนสร้างปั๊มสูงถึง 10 ถึง 30 ล้านบาท ค่าดอกเบี้ยอย่างเดียวก็ปาเข้าไปเท่าไหร่แล้ว ทางออกของเจ้าของปั๊มจึงอยู่ที่การขายอย่างอื่นที่ไม่ใช่น้ำมัน เช่น น้ำ ขนม กาแฟ ข้างแกง เป็นต้น

ผมเดาใจท่านนายกสมาคมฯว่า คงต้องการให้บริษัทผู้ค้าน้ำมันรายใหญ่รวมทั้งโรงกลั่นลดกำไรของตนเองลงบ้าง แล้วมาเพิ่มรายได้ให้เจ้าของปั๊มมากขึ้นกว่าเดิม ท่านคงไม่ได้ตั้งใจจะให้ผู้บริโภคต้องจ่ายเงินเพิ่มขึ้นหรอก

ผมสนใจปัญหาของเจ้าของปั๊มครับ จึงลงมือค้นข้อมูลทั้งของไทยและของประเทศอังกฤษ พบว่า

7. ประเทศไทยมีจำนวนปั๊มน้ำมันมากเกินไป เข้าทำนอง "ใครใคร่ค้า ค้า" หรือ "แข่งขันโดยเสรี" ส่งผลให้ปั๊มจำนวนหนึ่งอยู่ไม่ได้

เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอังกฤษพบว่า คนไทยทั้งประเทศใช้น้ำมันประมาณ 1 ใน 3 ของคนอังกฤษ แต่มีปั๊มน้ำมันมากกว่าถึง 2 เท่าตัว

ถ้าคิดให้อังกฤษเป็นมาตรฐาน คนไทยเราก็ควรจะมีปั๊มเพียง 1 ใน 5 ของปัจจุบันก็พอ ถ้าเป็นอย่างนี้ รายได้ของปั๊มก็สูงขึ้น

ผู้บริโภคน้ำมันก็น่าจะจ่ายน้อยลง

พูดถึงจำนวนปั๊มในอังกฤษ ปัจจุบันเหลือเพียงประมาณครึ่งหนึ่งของเมื่อเกือบ 20 ปีที่แล้ว ที่หายไปส่วนมากเป็นของผู้ค้าอิสระ ในขณะที่เจ้าของซุปเปอร์มาร์เก็ตกลับมีจำนวนมากขึ้น

 

 

8. ส่วนแบ่งการตลาดของน้ำมันในบ้านเราประมาณ 80% เป็นของ 6 บริษัท คือ ปตท. (34.9%) เอสโซ่ (12.3%) เชลล์ (11.5%) เชฟรอน (11.3% คาลเท็กซ์เดิม) และบางจาก (7.6%)

ถ้าคิดภาพรวม นับจากปี 2549 ถึง 2552 จำนวนปั๊มน้ำมันในประเทศไทยหายไป 136 ปั๊ม (ปัจจุบัน 18,857 ปั๊ม) แต่ถ้าจำแนกเป็นประเภทอิสระได้หายไปถึง 311 ปั๊ม

นี่คือ ผลลัพธ์ของ "การแข่งขันโดยเสรี" โดยแท้ครับ

9. คุณรสนา ได้ตั้งคำถามโดยไม่หวังคำตอบว่า "จริงหรือไม่ที่ขณะนี้ประเทศไทยส่งออกน้ำมันสำเร็จรูปได้คิดเป็นมูลค่ามากกว่าข้าวที่เป็นสินค้าเกษตรหลักของประเทศ"

ผมเช็คดูแล้วพบว่า มูลค่าการส่งออกน้ำมันสำเร็จรูปในปี 2551 คิดเป็นมูลค่าถึงกว่า 2 แสน 6 หมื่นล้านบาท ถ้ารวมน้ำมันดิบที่ขุดได้ในบ้านเราเข้าไปอีก 56,575 ล้านบาท ก็กว่า 3 แสนล้านบาทแล้ว

10. ในปี 2551 ประเทศไทยผลิตน้ำมันสำเร็จรูปได้ 5 หมื่นล้านลิตร โดยที่มีการใช้ภายในประเทศประมาณ 4 หมื่นล้านลิตร ส่วนต่างก็คือการส่งออก (ดูกราฟประกอบ)

 

 
11. โดยสรุป ในขณะที่คนไทยใช้น้ำมันคิดเป็นมูลค่าปีละประมาณ 1 ล้านล้านบาท (ประมาณ 11% ของรายได้ประชาชาติ) แทนที่รัฐบาลจะมีกลไกมาควบคุมพ่อค้ารายใหญ่ให้ค้าขายอย่างเป็นธรรม กลับปล่อยให้มีการผูกขาดอย่างเสรี

ขณะเดียวกัน แทนที่จะดูแลคุ้มครองผู้ประกอบการรายย่อย กลับปล่อยให้มีการแข่งขันอย่างเสรี แบบใครดีใครอยู่

เราจะเรียกว่า "หนึ่งประเทศ สองระบบ(เลว ๆ)" ได้ไหมนี่

 

 

บล็อกของ ประสาท มีแต้ม

ประสาท มีแต้ม
เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2551 สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ได้จัดเวทีเสวนาเรื่อง "9 คำถามคาใจ กรณี ปตท." ซึ่งเป็นประเด็นที่ประชาชนให้ความสนใจมาหลายปีนับตั้งแต่การแปรรูปเมื่อเดือนตุลาคมปี 2544 เวทีเสวนาประกอบด้วย ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่สื่อสารองค์กรและกิจการเพื่อสังคม  บมจ. ปตท. (คุณสรัญ รังคสิริ)  เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค (คุณสารี อ๋องสมหวัง) ดำเนินรายการโดยคุณวันชัย ตันติวิทยาพิทักษ์  บรรณาธิการนิตยสารสารคดี นอกจากนี้ยังมีนักวิชาการและประธานกรรมการบริหารบริษัทหลักทรัพย์ภัทรด้วย นักข่าวของ “ประชาไท” รายงานว่า “…
ประสาท มีแต้ม
นายทหารยศพันตรีท่านหนึ่ง (พ.ต.รัฐเขต แจ้งจำรัส) ได้ออกมาให้ข้อมูลกับประชาชนผ่านเวทีพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยว่า “ปิโตรเลียมซึ่งได้แก่น้ำมันและก๊าซธรรมชาติใต้แผ่นดินไทยทั้งบนบกและในทะเลทั้งหมดมีมูลค่าถึง 100 ล้านล้านบาท” เงินจำนวน 100 ล้านล้านบาท(ล้านสองครั้ง)นี้ ถ้าเอามาจัดสรรเป็นงบประมาณแผ่นดินในปีปัจจุบันก็จะได้ประมาณ 62 ปี เพราะงบประมาณปีหน้า (2552) มีประมาณ 1.6 ล้านล้านบาท ข้อมูลที่นายทหารผู้นี้นำเสนอล้วนเป็นข้อมูลของทางราชการที่เข้าใจยาก กระจัดกระจาย แต่ท่านได้นำมารวบรวม วิเคราะห์ แล้วสรุปให้ประชาชนธรรมดาสามารถเข้าใจได้ง่าย…
ประสาท มีแต้ม
1. ความเดิม จากปัญหาที่ผู้บริหารทั้งระดับผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่และผู้จัดการใหญ่ของ บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) “อ้าง” หลายครั้งหลายวาระด้วยกันว่า ก๊าซหุงต้มในประเทศไทยขาดแคลน ทาง บริษัท ปตท. จึงได้ออกมาบอกกับสาธารณะในสามประเด็นหลัก คือ (1) เสนอแนะให้รัฐบาลขึ้นราคาหรือลอยตัวราคาก๊าซหุงต้มให้เท่ากับราคาตลาดโลก(2) ในเดือนเมษายนที่ผ่านมาทาง ปตท. ได้นำเข้าก๊าซหุงต้มหรือแอลพีจีแล้วจำนวน2 หมื่นตัน ขณะเดียวกันผู้บริหารระดับสูงสุดอ้างว่าในปีนี้จะมีการนำก๊าซถึง 4 แสนตัน (3) ราคาก๊าซหุงต้มในตลาดโลกตันละเกือบพันเหรียญสหรัฐ แต่ราคาก๊าซในประเทศอยู่ที่ตันละประมาณ 300 เหรียญ…
ประสาท มีแต้ม
1. ประเด็นปัญหา ขณะนี้ บริษัท ปตท. ได้บอกกับประชาชนว่าก๊าซหุงต้มหรือที่เรียกกันในวงการว่าก๊าซแอลพีจี (Liquefied petroleum gas) ในประเทศไทยกำลังขาดแคลน และได้แนะนำให้รัฐบาลขึ้นราคาก๊าซชนิดนี้ โดยเฉพาะที่ใช้กับรถยนต์ส่วนบุคคลและรถยนต์แท็กซี่ (นายณัฐชาติ จารุจินดา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ บมจ. ปตท. ให้สัมภาษณ์ผ่านรายการ Hard Topic ทาง Money Channel , 7 กรกฎาคม 2551) นอกจากนี้นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท.กล่าวว่า “ความต้องการใช้ก๊าซหุงต้ม (แอลพีจี) ที่เพิ่มขึ้น ทำให้ปีนี้ต้องนำเข้าแอลพีจี 4 แสนตัน” (ไทยรัฐ 11 กรกฎาคม 2551)
ประสาท มีแต้ม
1. คำนำและปัญหา ขณะนี้ได้มีการเรียกร้องให้สังคมมาร่วมกันสร้าง “การเมืองใหม่” บทความนี้จะยังไม่เสนอกระบวนการที่จะนำไปสู่การเมืองใหม่ แต่จะมองว่าการเมืองใหม่ควรจะมีหน้าตาเป็นอย่างไร พร้อมนำเสนอตัวอย่างที่เป็นจริงเพื่อให้เราได้เห็นทั้งแนวคิดและหน้าตาของการเมืองใหม่ชัดเจนขึ้น สังคมในการเมืองใหม่ควรจะเป็นสังคมที่ ผู้คนมีศักดิ์ศรี พึ่งตนเองได้ ทุกคนมีงานทำ มีความสุข การบริหารบ้านเมืองต้องโปร่งไส ตรวจสอบได้และ ปราศจากการคอร์รัปชัน ในที่นี้จะขอนำเสนอนโยบายและรูปธรรมด้านพลังงาน ทั้งนี้เพราะเรื่องพลังงานเป็นเรื่องใหญ่มาก กล่าวคือทุกๆ 100 บาทของรายได้ของคนไทย ต้องจ่ายไปกับค่าพลังงานถึง 18 บาท…
ประสาท มีแต้ม
ในขณะที่คนทั่วโลกกำลังเดือดร้อนกับราคาน้ำมันที่พุ่งสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์  แต่ผลกำไรของบริษัทน้ำมันขนาดยักษ์ของโลกกลับเพิ่มสูงขึ้นกว่าปีที่ผ่านมา มันช่างฝืนความรู้สึกในใจของมนุษย์ธรรมดาๆ ที่คิดว่า “เออ! เมื่อสินค้าราคาสูงขึ้น เขาน่าจะลดกำไรลงมามั่ง เพื่อไม่ให้ผู้บริโภคเดือดร้อนมากนัก”   แต่มันกลับเป็นตรงกันข้าม คือเพิ่มกำไรมากกว่าเดิม  โดยไม่สนใจใยดีกับเพื่อนร่วมโลกในขณะที่ผู้มีรายได้น้อยอย่างกรรมกรได้สะท้อนออกมาในวันแรงงานแห่งชาติว่า “ค่าครองชีพแพง แต่ค่าแรงเท่าเดิม”บทความนี้จะนำเสนอทั้งข้อมูลและความคิดเห็นใน 4 เรื่องต่อไปนี้ คือ (1)…
ประสาท มีแต้ม
๑.คำนำเมื่อ ๗ ปีก่อน  คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้คิดวิชาใหม่ขึ้นมาหนึ่งรายวิชา หากคำนึงถึงแนวคิด เนื้อหาและกระบวนการเรียนการสอนแล้ว อาจถือว่าได้วิชานี้เป็นวิชาแรกในประเทศไทยก็น่าจะได้  ผมจึงอยากจะเล่าให้ท่านผู้อ่านที่เป็นผู้จ่ายภาษีมาตลอดได้รับทราบครับ ด้วยขั้นตอนตามระเบียบของมหาวิทยาลัย เราได้เริ่มลงมือเปิดสอนจริงเมื่อ ๓ ปีมาแล้ว รายวิชานี้ชื่อว่า “วิทยาเขตสีเขียว (Greening the Campus)”  เป็นวิชาบังคับสำหรับนักศึกษาชั้นปีที่สามทุกคน เรื่องที่จะนำมาเล่าอย่างสั้นๆ นี้ ได้แก่ แนวคิด เนื้อหา กระบวนการเรียนการสอน  สิ่งที่นักศึกษาค้นพบและร่วมผลักดันขยายผล…
ประสาท มีแต้ม
ผมว่างเว้นจากการเขียนบทความมานานกว่าสองเดือนแล้ว จนอันดับบทความของผมที่เรียงตามเวลาที่เขียนในเว็บไซต์ “ประชาไท” ตกไปอยู่เกือบสุดท้ายของตารางแล้ว สาเหตุที่ไม่ได้เขียนเพราะผมป่วยเป็นโรคที่ทันสมัยคือ “โรคคอมพิวเตอร์กัด” ครับ มันมีอาการปวดแสบปวดร้อนไปทั่วทั้งหลัง พอฝืนทนเข้าไปทำงานอีกไม่เกินห้านาทีก็ถูก “กัด” ซ้ำอีก ราวกับมันมีชีวิตแน่ะที่นำเรื่องนี้มาเล่าก่อนในที่นี้ไม่ใช่อยากจะเล่าเรื่องส่วนตัว แต่อยากนำประสบการณ์ที่ผิดๆ ของผมมาเตือนท่านผู้อ่านโดยเฉพาะคนที่อยู่ในวัยหนุ่มสาว ท่านผู้อ่านที่สนใจจะเก็บเรื่องของผมไปเป็นบทเรียน…
ประสาท มีแต้ม
ผมเองไม่ใช่นักกฎหมาย แต่ได้ให้ความสนใจอย่างจริงจังในประเด็นพลังงานทั้งเรื่อง ปตท. และการไฟฟ้า ทั้งการเคลื่อนไหวเรื่องพลังงานหมุนเวียนมานานกว่า 10 ปีหลังคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุด (14 ธันวาคม) ในอีก 2 วันทำการต่อมารัฐบาลก็ได้ผ่านมติวิธีการจัดการรวมทั้งการคิดค่าเช่าท่อก๊าซฯให้เป็นไปตามคำพิพากษาของศาล โดยใช้เวลาพิจารณาเพียง 10 นาที สร้างความกังขาให้กับสังคมไทยเป็นอย่างมากประเด็นที่ผมสนใจในที่นี้มี 3 เรื่องดังต่อไปนี้หนึ่ง คำพิพากษาของศาลฯที่ว่า “การใช้อำนาจมหาชนของรัฐ” ในกรณีการก่อสร้างท่อส่งก๊าซธรรมชาตินั้นควรจะครอบคลุมไปถึงไหน  ในฐานะที่ไม่ใช่นักกฎหมาย…
ประสาท มีแต้ม
เรื่องราวที่ผมจะนำมาเล่าในที่นี้  ไม่ใช่เรื่องเทคนิคทางไฟฟ้า ไม่ใช่เรื่องการประหยัดพลังงานไฟฟ้าเพียงอย่างเดียว  แต่เป็นเรื่องของประสบการณ์การทำงานเชิงสังคมที่น่าสนใจของตัวผมเอง  ผมคิดว่าเรื่องนี้มีคุณค่าพอที่ผู้อ่านทั่วไปตลอดจนกลุ่มเพื่อนพ้องที่มุ่งมั่นทำงานเพื่อสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกระบวนการสีเขียว เพื่อสิ่งแวดล้อม เพื่อความเป็นธรรมและเพื่อนสันติภาพของโลก  จริงๆนะครับ ผมไม่ได้โม้ผมขอเริ่มเลยนะครับเราเคยสังเกตไหมครับว่า สวิทซ์ไฟฟ้าในที่ทำงานของเรา โดยเฉพาะที่เป็นสถานที่ราชการ เวลาเราเปิดสวิทซ์ ไฟฟ้าจะสว่างไปหลายดวง หลายจุดเป็นแถบๆ  ยิ่งเป็นที่สาธารณะ เช่น สำนักงาน…
ประสาท มีแต้ม
1. ความในใจผมขอพักเรื่องนโยบายสาธารณะด้านพลังงานซึ่งเป็นเรื่องใหญ่และสำคัญมากๆ สำหรับประเทศไทยและชาวโลกไว้ชั่วคราวครับ  ในบทความนี้ผมขอนำเรื่องภายในมหาวิทยาลัยที่ผมทำงานอยู่มาเล่าสู่กันฟังมันไม่ใช่เรื่องไกลตัวสำหรับผู้อ่าน  แต่มันสะท้อนให้เห็นถึงปัญหาในระบบราชการไทยที่ไม่ยอมเปลี่ยนแปลงแม้ว่าสถานการณ์ได้เปลี่ยนไปมากแล้ว  นอกจากนี้ผมมีเรื่องวิชาใหม่ที่คาดว่าเป็นวิชาแรกในประเทศไทยคือวิชา “ชุมชนมหาวิทยาลัยสีเขียว (Greening the campus)”…
ประสาท มีแต้ม
การแปรรูป ปตท. คือการปล้นประชาชน! ในช่วง ๓-๔ ปีที่ผ่านมา ในขณะที่ประชาชนชาวไทยทั้งประเทศกำลังเดือดร้อนกับราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้นเกือบสองเท่าตัว แต่บริษัทน้ำมันต่างๆในประเทศไทยกลับมีกำไรเพิ่มสูงขึ้นมากกว่านั้นในบทนี้ จะกล่าวถึงกิจการของบริษัท ปตท. จำกัดมหาชน และบริษัทอื่นๆบ้าง โดยย่อๆ เป็นข้อๆ ดังต่อไปนี้๑. บริษัท ปตท. จำกัด มหาชน ได้แปรรูปมาจาก การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย เมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๔  ตอนเริ่มต้นการแปรรูป กระทรวงการคลังถือหุ้น ๖๙% ปัจจุบันเหลือเพียง ๕๒.๔๘%ดังนั้น กำไรของ ปตท. ซึ่งเดิมเคยตกเป็นของรัฐทั้งหมด ๑๐๐% ก็จะเหลือเพียงตามสัดส่วนที่รัฐถือหุ้น  คงจำกันได้นะครับว่า หุ้น ปตท…