Skip to main content

ผมได้รับเชิญจากคณะกรรมาธิการพลังงาน สภาผู้แทนราษฎร เพื่อ"ชี้แจงแสดงความคิดเห็น" เรื่อง ค่าการกลั่นน้ำมันเชื้อเพลิง เมื่อ 1 กรกฎาคม 52

คนนอกที่นอกจากผมแล้วก็มีอีก 6 -7 ท่าน ได้แก่ผู้แทนกระทรวงพลังงาน ผู้แทนบริษัทบางจาก, บริษัท ปตท. นายกสมาคมผู้ค้าน้ำมันแห่งประเทศไทย, คุณรสนา โตสิตระกูล และนักวิชาการปิโตรเลียม เป็นต้น

ในเรื่องค่าการกลั่น ประธานในที่ประชุมได้เปิดประเด็นว่า อยากจะฟังความคิดเห็นของทั้งสองฝ่าย ทั้งฝ่ายผู้ประกอบการกลั่นน้ำมัน และฝ่ายที่บอกว่าค่าการกลั่นนั้นสูงเกินไป รวมทั้งฝ่ายข้าราชการประจำด้วย

ประเด็นเรื่องราคาน้ำมันในบ้านเรานั้นมีอะไรน่าสนใจหลายอย่าง แต่ที่ผมอยากจะกล่าวถึงในวันนี้คือ ระบบการค้าที่มีผลกระทบต่อสถานีจำหน่ายน้ำมันหรือที่เราเรียกกันว่าปั๊มน้ำมัน และกระทบต่อประชาชนผู้บริโภคด้วย

ผมขอลำดับเรื่องราวเพื่อความเข้าใจง่าย ๆ ดังนี้

1. ประเทศไทยมีโรงกลั่นน้ำมันจำนวน 7 โรง มีกำลังการผลิตรวมกันวันละ 1.227 ล้านบาร์เรลต่อวัน (หรือ 195 ล้านลิตร ใกล้เคียงกับประเทศสิงคโปร์) โดยที่ 85% ของกำลังการผลิตทั้งหมดเป็นของบริษัทที่มีบริษัท ปตท. จำกัด (ที่เคยเป็นของรัฐทั้งร้อยเปอร์เซนต์) เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่

2. การกำหนดราคาขายส่งหน้าโรงกลั่น มีการอ้างว่า "เป็นไปตามกลไกการตลาดที่สิงคโปร์" แต่ผมได้นำเสนอข้อมูลที่ผมศึกษาเอง (แต่ใช้ข้อมูลของทางราชการ) พบว่า "ค่าการกลั่น" ในประเทศไทยสูงกว่าของประเทศสิงคโปร์และประเทศยุโรปเยอะเลย

3. ผู้แทนบริษัทบางจากและผู้แทนกระทรวงพลังงาน ได้แย้งผมว่า การคิดค่าการกลั่นจะนำข้อมูลเพียงวันเดียวมาใช้ไม่ได้ ต้องใช้ก็มูลทั้งปี ผมได้เรียนต่อที่ประชุมก่อนแล้วว่า "เดิมทีกระทรวงพลังงานนำเสนอข้อมูลค่าการกลั่นมาตลอด แต่หลังจากปลายปี 2551 เป็นต้นมา กระทรวงฯได้ตัดทิ้งไปเฉยๆ การนำเสนอข้อมูลก็ยากต่อการค้นหามาวิเคราะห์ ข้อมูลที่ผมนำมาเสนอจึงเป็นการสุ่มทั้งเดือน "

หลังจากเลิกประชุม ผมกลับมาสุ่มข้อมูลเพิ่มเติมทั้งปี จำนวน 105 วัน พบว่าในปี 2550 ค่าการกลั่นในประเทศไทยอยู่ที่ 9.5 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ในขณะที่ประเทศยุโรปอยู่ที่ 5.3 เท่านั้น เมื่อแปลงเป็นหน่วยที่คนไทยคุ้นเคยแล้วพบว่า ค่าการกลั่นของไทยแพงกว่าลิตรละเกือบหนึ่งบาท

4. การกำหนดราคาน้ำมัน รัฐบาลไทยไม่ได้เข้าไปมีส่วนร่วมแต่ประการใด คงใช้คาถาเดิมว่า "เป็นตามกลไกการตลาด" แต่ความเป็นจริงแล้วกลับแพงกว่าตลาดของโลกเสียอีก

การที่รัฐบาลไทยปล่อยให้บริษัทที่มีกำลังการผลิตอยู่ในมือถึง 85% เป็นผู้กำหนดราคาเอง แล้วคาดหวังว่าจะให้เป็นตลาดเสรีนั้น เป็นไปได้หรือ

นี่คือ "ระบบทุนนิยมผูกขาด" ชัดเจนครับ

ทั้งผู้แทนบริษัทน้ำมันและผู้แทนกระทรวงพลังงานกล่าวตรงกันว่า การกำหนดราคาน้ำมันแบบ "บวกต้นทุน (cost plus)" นั้นไม่สามารถทำได้ เพราะแต่ละโรงกลั่นซื้อน้ำมันมาจากหลายแหล่ง แต่ละแหล่งราคาไม่เท่ากัน และถ้ามีการกำหนดราคาขายต่ำกว่าในตลาดโลก ผู้ค้าก็จะส่งออกไปขายต่างประเทศ ทำให้คนไทยไม่มีน้ำมันใช้ได้

น่าสงสารจริง ๆ คนไทยเรา
ต่อไปเป็นปัญหาของปั๊มน้ำมันครับ

5. ผมได้เรียนต่อที่ประชุมเชิงตั้งคำถามว่า "ในบางเดือนค่าการตลาดอยู่ที่ 1.42 บาทต่อลิตร แต่บางเดือน (ขอย้ำว่าทั้งเดือนไม่ใช่บางวัน) ค่าการตลาดสูงถึง 3.10 บาท โดยไม่มีกลไกใดๆ มาควบคุมเช่นกัน ถ้า 1.42 บาทต่อลิตรมีกำไร แล้ว 3.10 บาทต่อลิตรจะเรียกว่าอะไร แต่ละเดือนมีการใช้น้ำมันเกือบ 100 ล้านลิตร คิดเป็นเงินเท่าไหร่"

ค่าการตลาด คือรายได้ของผู้ค้าน้ำมัน(ทั้งรายใหญ่ขายส่งและเจ้าของปั๊มรวมกัน) โดยไม่หักค่าใช้จ่ายด้านค่าแรง ค่าลงทุน เป็นต้น

6. ปัญหาของปั๊มน้ำมันที่นำเสนอโดยนายกสมาคมผู้ค้าน้ำมันฯ (คุณสมภพ ธนะธีระพงษ์) ว่า "ปั๊มน้ำมันทั่วประเทศในขณะนี้เป็นหนี้รวมกันกว่า 3 หมื่นล้านบาท" ท่าทีของคุณสมภพต้องการจะให้โรงกลั่นลดค่าการกลั่นลงมา พร้อมกล่าวขอบคุณฝ่ายที่เห็นว่า "โรงกลั่นสร้างปัญหา" ให้กับปั๊ม

เท่าที่ผมทราบ เจ้าของปั๊มน้ำมันจะมีรายได้จากการขายน้ำมันลิตรละประมาณ 30-40 สตางค์ต่อลิตร ในขณะที่ต้องลงทุนสร้างปั๊มสูงถึง 10 ถึง 30 ล้านบาท ค่าดอกเบี้ยอย่างเดียวก็ปาเข้าไปเท่าไหร่แล้ว ทางออกของเจ้าของปั๊มจึงอยู่ที่การขายอย่างอื่นที่ไม่ใช่น้ำมัน เช่น น้ำ ขนม กาแฟ ข้างแกง เป็นต้น

ผมเดาใจท่านนายกสมาคมฯว่า คงต้องการให้บริษัทผู้ค้าน้ำมันรายใหญ่รวมทั้งโรงกลั่นลดกำไรของตนเองลงบ้าง แล้วมาเพิ่มรายได้ให้เจ้าของปั๊มมากขึ้นกว่าเดิม ท่านคงไม่ได้ตั้งใจจะให้ผู้บริโภคต้องจ่ายเงินเพิ่มขึ้นหรอก

ผมสนใจปัญหาของเจ้าของปั๊มครับ จึงลงมือค้นข้อมูลทั้งของไทยและของประเทศอังกฤษ พบว่า

7. ประเทศไทยมีจำนวนปั๊มน้ำมันมากเกินไป เข้าทำนอง "ใครใคร่ค้า ค้า" หรือ "แข่งขันโดยเสรี" ส่งผลให้ปั๊มจำนวนหนึ่งอยู่ไม่ได้

เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอังกฤษพบว่า คนไทยทั้งประเทศใช้น้ำมันประมาณ 1 ใน 3 ของคนอังกฤษ แต่มีปั๊มน้ำมันมากกว่าถึง 2 เท่าตัว

ถ้าคิดให้อังกฤษเป็นมาตรฐาน คนไทยเราก็ควรจะมีปั๊มเพียง 1 ใน 5 ของปัจจุบันก็พอ ถ้าเป็นอย่างนี้ รายได้ของปั๊มก็สูงขึ้น

ผู้บริโภคน้ำมันก็น่าจะจ่ายน้อยลง

พูดถึงจำนวนปั๊มในอังกฤษ ปัจจุบันเหลือเพียงประมาณครึ่งหนึ่งของเมื่อเกือบ 20 ปีที่แล้ว ที่หายไปส่วนมากเป็นของผู้ค้าอิสระ ในขณะที่เจ้าของซุปเปอร์มาร์เก็ตกลับมีจำนวนมากขึ้น

 

 

8. ส่วนแบ่งการตลาดของน้ำมันในบ้านเราประมาณ 80% เป็นของ 6 บริษัท คือ ปตท. (34.9%) เอสโซ่ (12.3%) เชลล์ (11.5%) เชฟรอน (11.3% คาลเท็กซ์เดิม) และบางจาก (7.6%)

ถ้าคิดภาพรวม นับจากปี 2549 ถึง 2552 จำนวนปั๊มน้ำมันในประเทศไทยหายไป 136 ปั๊ม (ปัจจุบัน 18,857 ปั๊ม) แต่ถ้าจำแนกเป็นประเภทอิสระได้หายไปถึง 311 ปั๊ม

นี่คือ ผลลัพธ์ของ "การแข่งขันโดยเสรี" โดยแท้ครับ

9. คุณรสนา ได้ตั้งคำถามโดยไม่หวังคำตอบว่า "จริงหรือไม่ที่ขณะนี้ประเทศไทยส่งออกน้ำมันสำเร็จรูปได้คิดเป็นมูลค่ามากกว่าข้าวที่เป็นสินค้าเกษตรหลักของประเทศ"

ผมเช็คดูแล้วพบว่า มูลค่าการส่งออกน้ำมันสำเร็จรูปในปี 2551 คิดเป็นมูลค่าถึงกว่า 2 แสน 6 หมื่นล้านบาท ถ้ารวมน้ำมันดิบที่ขุดได้ในบ้านเราเข้าไปอีก 56,575 ล้านบาท ก็กว่า 3 แสนล้านบาทแล้ว

10. ในปี 2551 ประเทศไทยผลิตน้ำมันสำเร็จรูปได้ 5 หมื่นล้านลิตร โดยที่มีการใช้ภายในประเทศประมาณ 4 หมื่นล้านลิตร ส่วนต่างก็คือการส่งออก (ดูกราฟประกอบ)

 

 
11. โดยสรุป ในขณะที่คนไทยใช้น้ำมันคิดเป็นมูลค่าปีละประมาณ 1 ล้านล้านบาท (ประมาณ 11% ของรายได้ประชาชาติ) แทนที่รัฐบาลจะมีกลไกมาควบคุมพ่อค้ารายใหญ่ให้ค้าขายอย่างเป็นธรรม กลับปล่อยให้มีการผูกขาดอย่างเสรี

ขณะเดียวกัน แทนที่จะดูแลคุ้มครองผู้ประกอบการรายย่อย กลับปล่อยให้มีการแข่งขันอย่างเสรี แบบใครดีใครอยู่

เราจะเรียกว่า "หนึ่งประเทศ สองระบบ(เลว ๆ)" ได้ไหมนี่

 

 

บล็อกของ ประสาท มีแต้ม

ประสาท มีแต้ม
เราเคยสงสัยและตั้งคำถามเสมอมาว่า ทำไมราคาน้ำมันสำเร็จรูป (รวมทั้งราคายางพารา) ในภูมิภาคเอเซียจึงถูกกำหนดจากประเทศสิงคโปร์
ประสาท มีแต้ม
ตลอดช่วงเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ราคาน้ำมันดิบและราคาน้ำมันที่ปั๊มในบ้านเราได้เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง นักวิเคราะห์บางคนคาดการณ์ว่าสิ้นปีนี้ราคาน้ำมันดิบจะสูงถึง 85 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล โดยที่ราคาเมื่อต้นเดือนมิถุนายนได้ขยับจาก 62 ถึง 68 ภายในเวลาเจ็ดวันเท่านั้น
ประสาท มีแต้ม
1. คำนำ บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ข้อ คือ หนึ่ง ให้เห็นตัวเลขค่าใช้จ่ายด้านไฟฟ้าของคนไทยโดยเฉลี่ยซึ่งค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับรายได้ และหากแผนผลิตไฟฟ้าดังกล่าวมีปัญหาแล้วจะส่งผลกระทบต่อผู้ใช้ไฟฟ้าอย่างไร สอง เพื่อเล่าถึงการจัดทำแผนผลิตไฟฟ้าที่ผูกขาดโดย "กลุ่มผู้เชี่ยวชาญ" จำนวนน้อยตลอดมาและจะชี้ให้เห็นถึงบางสิ่งที่ผมคิดว่า "น่าจะไม่ถูกต้อง" สาม หากท่านผู้อ่านได้เห็นปัญหาในข้อสองแล้ว จะได้เห็นความจำเป็นของ "การเมืองภาคประชาชน" ในการตรวจสอบโครงการของรัฐมากขึ้น
ประสาท มีแต้ม
1. คำนำ เพื่อให้ท่านผู้อ่านได้ตัดสินใจว่าจะอ่านบทความนี้ต่อไปหรือไม่ ผมขอนำประเด็นสำคัญมาเสนอก่อน  ประเด็นคือการวางแผนผลิตก๊าซที่ผิดพลาดทำให้คนไทยทุกคนต้องควักเงินในกระเป๋าเพิ่มขึ้น จากรายงานประจำปี 2551 ของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) พบว่า ในปี 2551 บริษัท ปตท. ต้องจ่ายค่า "ไม่ซื้อก็ต้องจ่าย" ก๊าซจากโครงการไทย-มาเลเซีย (ซึ่งเป็นโครงการสร้างความขัดแย้งมาตั้งแต่รัฐบาลชวน หลีกภัย และทักษิณ ชินวัตร จนถึงปัจจุบัน) เป็นจำนวน 13,716 ล้านบาท
ประสาท มีแต้ม
ในขณะที่วิกฤตเศรษฐกิจโลกที่เริ่มต้นจากถนนวอลล์สตรีทในสหรัฐอเมริกากำลังลุกลามไปอย่างรวดเร็วราวกับลาวาภูเขาไฟไปสู่ทุกถนนของโลก ในภาคใต้ของประเทศไทยโดยหน่วยงานของรัฐและการนิคมอุตสาหกรรมก็กำลังดำเนินการให้มีแผนพัฒนาภาคใต้ด้วยโครงการต่าง ๆ มากมาย ทั้งโดยเปิดเผยและแอบแฝง ตัวอย่างของโครงการเหล่านี้ได้แก่ นิคมอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ในจังหวัดนครศรีธรรมราช โครงการอุตสาหกรรมเหล็กต้นน้ำ จังหวัดชุมพรและสุราษฎร์ธานี โครงการขุดเจาะน้ำมันของบริษัทเซฟรอน ที่นครศรีธรรมราช ตลอดจนโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ถึง 3 โรง นอกจากนี้ยังมีนิคมอุตสาหกรรมที่จังหวัดตรัง และท่าเทียบเรือน้ำลึกในจังหวัดสงขลาและอีกหลายจังหวัด…
ประสาท มีแต้ม
  เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2552 กระทรวงพลังงานในฐานะผู้รับผิดชอบหรือจะเรียกว่าผู้จัดทำแผนผลิตไฟฟ้าเองได้จัดรับฟังความคิดเห็นของประชาชนเพื่อปรับปรุง "แผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้า" ในช่วงปี 2551 ถึง 2564 ซึ่งเป็นแผนที่ได้จัดทำไว้ก่อนปี 2551 ในการรับฟังครั้งนี้ก็เพื่อจะได้ปรับปรุงเป็นครั้งที่ 2 สาเหตุที่ต้องปรับปรุงก็เพราะปัญหาเศรษฐกิจถดถอยทั้งในระดับโลกและในระดับประเทศไทยด้วยนักวิชาการอิสระด้านพลังงานที่ไม่ใช่ข้าราชการของกระทรวงพลังงานก็ได้ออกมาแสดงความคิดเห็นที่น่าสนใจหลายอย่าง ขณะเดียวกันกลุ่มชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบจากโรงไฟฟ้าก็ได้ตั้งคำถามพร้อมแผ่นผ้าด้วยข้อความสั้น ๆ แต่เข้าใจง่ายว่า "…
ประสาท มีแต้ม
คำนำ เมื่อธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ประสบปัญหาขายไม่ได้เนื่องจากได้รับผลกระทบจากวิกฤติเศรษฐกิจของโลก นักการเมืองรวมทั้งว่าที่รัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องก็ได้เสนอมาตรการลดหย่อนภาษีค่าโอนบ้าน โดยจะเริ่มต้นตั้งแต่ปี 2552 เป็นต้นไป ผมขออนุญาตไม่แสดงความคิดเห็นในประเด็นดังกล่าวข้างต้น แต่ขอใช้หลักคิดเดียวกันนี้เพื่อตั้งคำถามว่า ทำไมรัฐบาลจึงไม่ใช้มาตรการทางภาษีเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการพืชน้ำมันซึ่งได้แก่ ไบโอดีเซล และแก๊สโซฮอล์ ซึ่งโยงใยเกี่ยวเนื่องกันตั้งแต่เจ้าของโรงงานจนถึงเกษตรกรผู้ปลูกพืชน้ำมัน ( ปาล์มน้ำมัน อ้อย ฯลฯ ) เหล่านี้บ้างเล่า?
ประสาท มีแต้ม
1. คำนำ เมื่อราคาน้ำมันลดลงมาจากลิตรละราว 40 บาทจากเมื่อ 4-5 เดือนก่อนมาอยู่ที่ราว ๆ 20 บาท ทำให้คนไทยเราก็รู้สึกสบายใจ บางคนถึงกับกล่าวว่า “ตอนนี้จะไปไหนมาไหนก็ไม่ค่อยได้คิดมากเหมือนเมื่อก่อนแล้ว” ในยุคที่การเมืองที่เต็มไปด้วยการฉ้อราษฎร์บังหลวง ผู้บริโภคจะพอใจอยู่กับตัวเลขที่อิงอยู่กับความรู้สึกเช่นนี้เพียงอย่างเดียวคงไม่ได้ เราจะต้องลุกขึ้นมาช่วยกันตรวจสอบ ถามหาความความเป็นธรรม ความพอดีอยู่ตลอดเวลา เมื่อพูดถึงความรู้สึกที่สบายใจขึ้นของคนไทยในขณะนี้ ทำให้ผมนึกเรื่อง “นัสรูดิน” ชายชาวอาหรับโบราณที่คนรุ่นหลังยังตัดสินไม่ได้ว่า เขาเป็นคนเฉลียวฉลาดหรือคนโง่กันแน่…
ประสาท มีแต้ม
1. คำนำ ก่อนจะเริ่มต้นเนื้อหา เรามาดูรูปการ์ตูนสนุก ๆ แต่บาดใจและอาจจะบาดตากันก่อนครับ ความหมายในภาพนี้ ไม่มีอะไรมาก นอกจากบอกว่านี่ไงหลักฐานที่พิสูจน์ว่าโลกเราร้อนขึ้นจริง สำหรับภาพนี้บอกว่า ผลการศึกษาพบว่าอุณหภูมิของน้ำในมหาสมุทรสูงขึ้น นักวิชาการ (และนักการเมือง) กำลังระดมกันแก้ปัญหาอย่างขยันขันแข็ง ขอขอบคุณเจ้าของภาพทั้งสองด้วย คราวนี้มาเข้าเรื่องกันครับ ขณะที่โลกของเรากำลังเผชิญกับวิกฤตการณ์ครั้งสำคัญ 4 ด้านพร้อม ๆ กัน คือ (1) วิกฤติภาวะโลกร้อน (2) วิกฤติพลังงานที่ทั้งขาดแคลน ราคาแพง ผูกขาดและก่อวิกฤติด้านอื่น ๆ (3) วิกฤติการเงินที่เพิ่งจะเกิดขึ้นหยก ๆ…
ประสาท มีแต้ม
คำนำ “...เวลานี้สังคมไทยมีอาการป่วยอย่างร้ายที่สุด คือ ป่วยทางปัญญา ขอให้พิจารณาดูเถิด เวลานี้ปัญหาสุขภาวะที่น่ากลัวที่สุดคือ ความป่วยทางปัญญา...” พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตโต) มีนาคม 2551 ท่ามกลางกระแสการคิดค้นเรื่อง “การเมืองใหม่” ซึ่งขณะนี้สังคมบางส่วนเริ่มเห็นภาพราง ๆ บ้างแล้วว่ามันเป็นอย่างไร แต่ยังไม่มีความชัดเจนมากนักว่า สังคมไทยจะก้าวไปสู่สภาพนั้นได้อย่างไร และสมมุติว่าเราสามารถเข้าไปสู่สภาพนั้นได้จริง ๆ แล้ว เราจะรักษาและพัฒนาการเมืองใหม่ให้ดียิ่งๆ ขึ้นไปอีกได้อย่างไร ในที่นี้ ผมจะขออนุญาตนำเสนอหลักการพื้นฐานมาใช้ตอบคำถามดังกล่าว ผมเรียกหลักการนี้ว่า “กฎ 3…
ประสาท มีแต้ม
เมื่อต้นเดือนเมษายน 2551 หนังสือพิมพ์หลายฉบับได้ลงข่าวว่า "พลังงานเผยไทยผลิตน้ำมันดิบสูงกว่าบรูไน คุยทดแทนนำเข้าปีนี้มหาศาล" (ไทยรัฐ 2 เมษายน 2551)    สาเหตุที่ผู้ให้ข่าวซึ่งก็คือข้าราชการระดับสูงของกระทรวงพลังงานได้นำประเทศไทยไปเทียบกับประเทศบรูไน ก็น่าจะเป็นเพราะว่าคนไทยเราทราบกันดีว่าประเทศบรูไนเป็นประเทศส่งออกน้ำมันรายหนึ่งของภูมิภาคนี้ ดังนั้นเมื่อประเทศไทยเราผลิตน้ำมันดิบได้มากกว่าก็น่าจะทำให้คนไทยเราหลงดีใจได้บ้าง  นาน ๆ คนไทยเราจะได้มีข่าวที่ทำให้ดีใจสักครั้ง   หลังจากอ่านข่าวนี้แล้ว ผมก็ได้ค้นหาความรู้เพิ่มเติมจากอินเทอร์เน็ตก็พบว่า…
ประสาท มีแต้ม
1. คำนำ ขณะนี้มีผู้คนจำนวนหนึ่งกำลังครุ่นคิดถึง "การเมืองใหม่" ซึ่งยังไม่เป็นที่แน่ชัดนักว่ามันคืออะไรกันแน่ ทราบแต่ว่า "การเมืองเดิม" ซึ่งก็คือการเมืองแบบตัวแทน (representative democracy) กำลังมีปัญหาหลายอย่างและรุนแรงขึ้นทุกขณะบทความนี้จะนำเสนอความล้มเหลวของ "การเมืองแบบตัวแทน" อย่างสั้นๆ พร้อมกับนำเสนอ "การเมืองแบบไฮเพอร์ (hyperpolitics)" ให้พอเป็นประกายเบื้องต้น หากสังคมนี้สนใจก็มีช่องทางให้ศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมกันต่อไป2. สาเหตุความล้มเหลวของการเมืองแบบตัวแทนเราท่องกันจนขึ้นใจมาตั้งแต่วัยเด็กแล้วว่า สาเหตุสำคัญของการมี "การเมืองแบบตัวแทน" คือเป็นเพราะคนมันเยอะ…