Skip to main content

1. คำนำ


เมื่อกลางเดือนธันวาคม ปี 2552 ผมได้มีโอกาสเข้าร่วมประชุม “สมัชชาสุขภาพแห่งชาติ” ในงานนี้ได้มีโอกาสฟังปาฐกถาจากประธานศูนย์ศึกษาประเทศภูฎาน คือท่าน Dasho Karma Ura

ท่านบรรยายพร้อมนำเสนอด้วยเพาเวอร์พอยต์จำนวนกว่าร้อยแผ่น แต่ท่านมีเวลาพูดน้อยมากเมื่อเทียบกับเนื้อหาที่มีทั้งความลึกซึ้งและทั้งกว้างขวางหลายมิติ ในระหว่างการบรรยาย ถึงแม้ว่าจะมีล่ามแปลเป็นภาษาไทย แต่ผมเรียนตามตรงว่า “ผมตามไม่ทันครับ” ไหนจะภาษาอังกฤษของผมซึ่งไม่แข็งแรงพอ ไหนจะความยากของเนื้อหา รวมทั้งประเพณีและวัฒนธรรม


บัดนี้เวลาได้ล่วงเลยมาพอสมควรแล้ว ผมก็ยังไม่เห็นสื่อกระแสหลักสำนักใดได้นำเรื่องที่น่าสนใจอย่างมากนี้มาเล่าใช้สาธารณะทราบเลย รวมทั้งยังไม่เห็นเอกสารสรุปเนื้อหาของผู้จัดประชุม


หัวข้อที่ท่านบรรยายคือ “ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับความสุขมวลรวมประชาชาติ (Introduction to Gross National Happiness-GNH)”


หลังจากที่ผมได้ค้นคว้าหาเอกสารของท่านรวมทั้งเอกสารอื่น ๆ ผมจึงขออาสานำมาเล่าให้ท่านผู้อ่านทราบเป็นการเบื้องต้น อย่างน้อยก็เพื่อให้บางท่านได้มีโอกาสทราบ แล้วช่วยกันค้นหาเพิ่มเติมมาสู่สังคมไทยในวงกว้าง หากผมเข้าใจอะไรผิดพลาดก็ต้องอภัยดัวยครับ


แต่ก่อนที่ผมจะลงไปในเนื้อหา ผมขอเสนอสไลด์ของท่านผู้บรรยายมาให้ชมกันก่อนสักรูป ซึ่งผมเพิ่งทราบความหมายเมื่อสักครู่นี้เองจาก youtube จากท่าน ว.วชิรเมธีที่ได้ไปเยือนประเทศภูฎานมานานครึ่งเดือน (ท่าน ว. ยืนยันว่าคนในประเทศเขาออกเสียงเรียกประเทศว่า ภู-ถาน ไม่ใช่ ภู-ทาน ตามราชบัณฑิตไทย) ชมภาพก่อนครับ


ภาพนี้เป็นปริศนาธรรม เป็นนิทานพื้นบ้านที่เกือบจะเป็นนิทานประจำชาติ เรื่อง 4 สหายสมานฉันท์” คือ ช้าง ลิง กระต่าย และ นก ต่างก็อยากจะกินผลไม้รสดีที่อยู่บนที่สูงมาก ลำพังสัตว์แต่ละตัวไม่สามารถเก็บมากินได้ ต่อให้เป็นช้าง หรือนกก็เถอะ ทางเดียวที่จะทำได้คือต้องต่อตัวกันดังในรูป


 

เรื่องนี้อาจเป็นคติเตือนใจสำหรับบ้านเราในปัจจุบันนี้ได้ เขียนมาถึงนี้ทำให้นึกถึงนิทานการเมืองเรื่อง “ลิงกับเต่า” ที่ผมได้เล่าไว้เมื่อหลายปีแล้ว (ค้นได้จาก google.com)

 

2. ทำไม จีดีพีจึงใช้วัดความสุขไม่ได้?


ในขณะที่ประเทศไทยนิยมวัดความก้าวหน้าในการพัฒนาประเทศโดยใช้จีดีพี (ผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ-Gross National Products- หรือรายได้ประชาชาติตามนักเศรษฐศาสตร์กระแสหลักของโลก) ท่านกรรมา อุระ (Karma Ura - คำว่า Dasho เป็นตำแหน่งอะไรสักอย่างซึ่งประธานที่ประชุมบอกแล้วแต่ผมฟังไม่ทัน) เห็นว่า จีดีพีไม่สามารถวัดสิ่งที่เป็นเชิงคุณภาพ เช่น ความสุขและความมีสวัสดิภาพที่ดี (well-being) ได้ นอกจากนี้ยังไม่สามารถวัดคุณค่าของการใช้ “เวลาว่าง” เช่น การชื่นชมงานศิลป์ เป็นต้น


สิ่งที่น่าคิดก็คือ จีดีพี ไม่นับรวมการทำงานทั้งหลายที่ไม่ได้รับเงิน เช่น งานแม่บ้าน ทำกับข้าว ล้างจาน ดูแลเด็ก-คนแก่ ในครัวเรือนด้วย


เล่ามาถึงตรงนี้ ผมขอขยายความด้วยความคิดของ โจเซฟ สติกลิตซ์ นักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบล ซึ่งได้ยกตัวอย่างให้เราเห็นความล้มเหลวของการยึดจีดีพีเป็นหลักว่า ถ้ามีการสลับแม่บ้านกันทำงานพร้อมกับจ่ายค่าจ้างให้กันและกัน จะทำให้จีดีพีของประเทศนั้นเพิ่มขึ้นเยอะเลย


ในประเด็นเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างความสุขกับจำนวนชั่วโมงที่ใช้ในการทำงาน และรายได้ที่รับของคนในแต่ละวัย (ตั้งแต่น้อยกว่า 15 ปีจนถึงมากกว่า 75 ปี) ท่านกรรมา อุระ ได้นำเสนอให้เราต้องประหลาดใจว่า ในช่วงที่คนเรามีรายได้สูงสุดในชีวิตกลับเป็นช่วงที่คนมีความสุขน้อยที่สุด ดังแสดงในกราฟข้างล่างนี้

 

 

จากกราฟเราจะเห็นว่า ในช่วงที่คนเรามีรายได้สูงสุดและมีชั่วโมงทำงานมากที่สุด (คือช่วงอายุ 36 ถึง 45 ปี) นั้น เป็นช่วงที่ความสุขของคนเราน้อยที่สุด


เรื่องนี้ก็คล้าย ๆ กับประโยคที่คนค่อนไปทางวัยชราพูดกันบ่อย ๆ ว่า “ตอนที่ผมอยากกิน ผมไม่มีเงินพอจะซื้อ แต่พอถึงตอนที่ผมมีเงินซื้อ หมอบอกว่ากินไม่ได้”

 

3. องค์ประกอบหลัก 9 ด้านของจีเอ็นเอช (GNH)


เท่าที่ผมค้นเจอพบว่า แนวคิดเกี่ยวกับความสุขมวลรวมประชาชาติของประเทศภูฎาน (ประเทศเล็ก ๆ ที่มีประชากรประมาณ 6 แสนคน อยู่ทางเหนือประเทศอินเดียแต่อยู่ใต้ประเทศจีน) ได้ริเริ่มมาประมาณ 37 ปีมาแล้ว เพื่อที่จะพยายามให้ความหมายเกี่ยวกับคุณภาพชีวิตของชาวภูฎาน แต่เพิ่งมาประกาศใช้เป็นดัชนีชีวัดอย่างเป็นทางการเมื่อปลายปี 2551 ในสมัยพระมหากษัตริย์หนุ่มที่คนไทยเราให้ชื่นชมในพระราชจริยวัติ (สมัยที่ยังเป็นมกุฎราชกุมารภูฎาน) เป็นอย่างมาก (His Majesty Jigme Khesar Namgyel Wangchuck)


ย้อนไปเมื่อ 10 กว่าปีที่แล้ว นักคิดนักเคลื่อนไหวในสังคมไทย (รวมทั้งองค์การอนามัยโลกด้วย) ได้ริเริ่มนำคำว่า “สุขภาวะ” ซึ่งหมายถึง สภาวะที่เป็นสุข 4 ด้าน คือ สุขกาย สุขใจ สุขทางสังคม และสุขทางปัญญา ซึ่งถือเป็นแนวคิดที่กว้างขวางกว่าแนวคิดเรื่องจีดีพีมาก อย่างไรก็ตาม แนวคิดนี้ถือว่ายังไม่ชัดเจนพอเมื่อเทียบกับแนวคิดของประเทศภูฎานซึ่งจะกล่าวถึงต่อไปนี้


แนวคิด NGH มีองค์ประกอบทั้ง 9 ด้าน (หรือ 9 โดเมน-domain) พร้อมระดับความสำคัญที่วัดเป็นร้อยละที่ส่งผลต่อความสุข (เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย) ได้แสดงไว้ในตาราง

 

องค์ประกอบ

ร้อยละ

1. การใช้เวลา (Time-use) ทั้งการทำงานที่ได้เงินและไม่ได้เงิน การนอน

13

2. ธรรมาภิบาล (Good governance) ความเชื่อมั่นในองค์กรรัฐ การคอร์รัปชัน

12

3. สุขภาพ (Health)

12

4. วัฒนธรรม (Culture)

12

5. ความเข้มแข็งของชุมชน (Community vitality)

12

6. มาตรฐานการดำเนินชีวิต (Living standards)

11

7. ความรู้สึกมีสวัสดิภาพ (Psychological wellbeing)

11

8. นิเวศวิทยา (Ecology)

10

9. การศึกษา (Education)

7

รวม

100

 

จากตารางเราพบว่า การใช้เวลาเป็นปัจจัยที่มีผลต่อความสุขของคนเรามากที่สุด มากกว่าการศึกษา (ซึ่งน้อยที่สุด) ถึงเกือบเท่าตัว


ผมพยายามค้นหารายละเอียดในแต่ละด้านพบว่า ในแต่ละด้านมีความลึกซึ้งมากครับ ผมเองนอกจากจะไม่มีความสามารถในภาษาอังกฤษที่ดีพอแล้ว ผมยังไม่มีความลึกซึ้งในวิชาการที่เกี่ยวข้องมากพอครับ ผมทราบจากประธานที่ประชุมสมัชชาสุขภาพแห่งชาติว่า ขณะนี้มีกลุ่มคนไทยกลุ่มหนึ่งกำลังศึกษาเรื่องนี้อยู่ ผมอยากเห็นผลงานเร็ว ๆ ครับ เช่น


ในด้านการศึกษา เขามุ่งไปที่การสอนให้เด็ก มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ความมีหัวใจที่เปิดกว้าง ความขยัน ความลึกซึ้งภายใน และความอดทน


ผมพบคำพูดของคนบางคนที่วิจารณ์การศึกษาในกระแสหลักว่า “จุดสนใจของการศึกษาในกระแสหลัก มุ่งเน้นไปที่ การเปลี่ยนเด็กให้เป็นหน่วยที่มีประสิทธิภาพ แทนที่จะสอนให้เป็นผู้ใหญ่ที่มีความกระตือรือร้นและความมีจิตใจเปิดกว้าง”


ในด้านวัฒนธรรม เขามีตัวชี้วัดตัวหนึ่ง(มีหลายตัว)ว่า คนเราแต่ละคน “สามารถบอกชื่อทวดของตนเองได้ครบทั้ง 4 คนหรือไม่” (ผมเองบอกได้แค่ 3 คนเองครับ)


ในด้านธรรมาภิบาล เขาจะถามถึงความเชื่อมั่นต่อศาล ตำรวจ ฯลฯ พบว่าคนภูฎานมีความเชื่อมั่นต่ออาชีพตำรวจสูงที่สุด (เหมือนคนอังกฤษเลย)


ในด้านนิเวศวิทยา เขาถามถึงการรู้จักชื่อพืช-สัตว์มากน้อยแค่ไหน เป็นต้น


ตัวชี้วัดทั้งหมดมี 72 ตัวครับ จากนั้นนำตัวชี้วัดวัดเหล่านี้มาคำนวณด้วยวิธีการทางคณิตศาสตร์ (ซึ่งผมเองยังไม่เข้าใจครับ ทั้ง ๆ ที่เป็นนักคณิตศาสตร์)


4.
สรุป


สุดท้าย ผมเข้าใจแล้วครับว่า ทำไมนักข่าวกระแสหลักจึงไม่ทำรายงานเรื่องนี้มาให้สาธารณะได้อ่านกัน เพราะมันเข้าใจยากนี้นี่เอง!

ผมจะพยายามต่อไปครับ เพราะรู้สึกว่าเป็นสิ่งที่ดีและมีความสุขที่ได้อ่านเรื่องแบบนี้ครับ

 

 

 

บล็อกของ ประสาท มีแต้ม

ประสาท มีแต้ม
เราเคยสงสัยและตั้งคำถามเสมอมาว่า ทำไมราคาน้ำมันสำเร็จรูป (รวมทั้งราคายางพารา) ในภูมิภาคเอเซียจึงถูกกำหนดจากประเทศสิงคโปร์
ประสาท มีแต้ม
ตลอดช่วงเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ราคาน้ำมันดิบและราคาน้ำมันที่ปั๊มในบ้านเราได้เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง นักวิเคราะห์บางคนคาดการณ์ว่าสิ้นปีนี้ราคาน้ำมันดิบจะสูงถึง 85 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล โดยที่ราคาเมื่อต้นเดือนมิถุนายนได้ขยับจาก 62 ถึง 68 ภายในเวลาเจ็ดวันเท่านั้น
ประสาท มีแต้ม
1. คำนำ บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ข้อ คือ หนึ่ง ให้เห็นตัวเลขค่าใช้จ่ายด้านไฟฟ้าของคนไทยโดยเฉลี่ยซึ่งค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับรายได้ และหากแผนผลิตไฟฟ้าดังกล่าวมีปัญหาแล้วจะส่งผลกระทบต่อผู้ใช้ไฟฟ้าอย่างไร สอง เพื่อเล่าถึงการจัดทำแผนผลิตไฟฟ้าที่ผูกขาดโดย "กลุ่มผู้เชี่ยวชาญ" จำนวนน้อยตลอดมาและจะชี้ให้เห็นถึงบางสิ่งที่ผมคิดว่า "น่าจะไม่ถูกต้อง" สาม หากท่านผู้อ่านได้เห็นปัญหาในข้อสองแล้ว จะได้เห็นความจำเป็นของ "การเมืองภาคประชาชน" ในการตรวจสอบโครงการของรัฐมากขึ้น
ประสาท มีแต้ม
1. คำนำ เพื่อให้ท่านผู้อ่านได้ตัดสินใจว่าจะอ่านบทความนี้ต่อไปหรือไม่ ผมขอนำประเด็นสำคัญมาเสนอก่อน  ประเด็นคือการวางแผนผลิตก๊าซที่ผิดพลาดทำให้คนไทยทุกคนต้องควักเงินในกระเป๋าเพิ่มขึ้น จากรายงานประจำปี 2551 ของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) พบว่า ในปี 2551 บริษัท ปตท. ต้องจ่ายค่า "ไม่ซื้อก็ต้องจ่าย" ก๊าซจากโครงการไทย-มาเลเซีย (ซึ่งเป็นโครงการสร้างความขัดแย้งมาตั้งแต่รัฐบาลชวน หลีกภัย และทักษิณ ชินวัตร จนถึงปัจจุบัน) เป็นจำนวน 13,716 ล้านบาท
ประสาท มีแต้ม
ในขณะที่วิกฤตเศรษฐกิจโลกที่เริ่มต้นจากถนนวอลล์สตรีทในสหรัฐอเมริกากำลังลุกลามไปอย่างรวดเร็วราวกับลาวาภูเขาไฟไปสู่ทุกถนนของโลก ในภาคใต้ของประเทศไทยโดยหน่วยงานของรัฐและการนิคมอุตสาหกรรมก็กำลังดำเนินการให้มีแผนพัฒนาภาคใต้ด้วยโครงการต่าง ๆ มากมาย ทั้งโดยเปิดเผยและแอบแฝง ตัวอย่างของโครงการเหล่านี้ได้แก่ นิคมอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ในจังหวัดนครศรีธรรมราช โครงการอุตสาหกรรมเหล็กต้นน้ำ จังหวัดชุมพรและสุราษฎร์ธานี โครงการขุดเจาะน้ำมันของบริษัทเซฟรอน ที่นครศรีธรรมราช ตลอดจนโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ถึง 3 โรง นอกจากนี้ยังมีนิคมอุตสาหกรรมที่จังหวัดตรัง และท่าเทียบเรือน้ำลึกในจังหวัดสงขลาและอีกหลายจังหวัด…
ประสาท มีแต้ม
  เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2552 กระทรวงพลังงานในฐานะผู้รับผิดชอบหรือจะเรียกว่าผู้จัดทำแผนผลิตไฟฟ้าเองได้จัดรับฟังความคิดเห็นของประชาชนเพื่อปรับปรุง "แผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้า" ในช่วงปี 2551 ถึง 2564 ซึ่งเป็นแผนที่ได้จัดทำไว้ก่อนปี 2551 ในการรับฟังครั้งนี้ก็เพื่อจะได้ปรับปรุงเป็นครั้งที่ 2 สาเหตุที่ต้องปรับปรุงก็เพราะปัญหาเศรษฐกิจถดถอยทั้งในระดับโลกและในระดับประเทศไทยด้วยนักวิชาการอิสระด้านพลังงานที่ไม่ใช่ข้าราชการของกระทรวงพลังงานก็ได้ออกมาแสดงความคิดเห็นที่น่าสนใจหลายอย่าง ขณะเดียวกันกลุ่มชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบจากโรงไฟฟ้าก็ได้ตั้งคำถามพร้อมแผ่นผ้าด้วยข้อความสั้น ๆ แต่เข้าใจง่ายว่า "…
ประสาท มีแต้ม
คำนำ เมื่อธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ประสบปัญหาขายไม่ได้เนื่องจากได้รับผลกระทบจากวิกฤติเศรษฐกิจของโลก นักการเมืองรวมทั้งว่าที่รัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องก็ได้เสนอมาตรการลดหย่อนภาษีค่าโอนบ้าน โดยจะเริ่มต้นตั้งแต่ปี 2552 เป็นต้นไป ผมขออนุญาตไม่แสดงความคิดเห็นในประเด็นดังกล่าวข้างต้น แต่ขอใช้หลักคิดเดียวกันนี้เพื่อตั้งคำถามว่า ทำไมรัฐบาลจึงไม่ใช้มาตรการทางภาษีเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการพืชน้ำมันซึ่งได้แก่ ไบโอดีเซล และแก๊สโซฮอล์ ซึ่งโยงใยเกี่ยวเนื่องกันตั้งแต่เจ้าของโรงงานจนถึงเกษตรกรผู้ปลูกพืชน้ำมัน ( ปาล์มน้ำมัน อ้อย ฯลฯ ) เหล่านี้บ้างเล่า?
ประสาท มีแต้ม
1. คำนำ เมื่อราคาน้ำมันลดลงมาจากลิตรละราว 40 บาทจากเมื่อ 4-5 เดือนก่อนมาอยู่ที่ราว ๆ 20 บาท ทำให้คนไทยเราก็รู้สึกสบายใจ บางคนถึงกับกล่าวว่า “ตอนนี้จะไปไหนมาไหนก็ไม่ค่อยได้คิดมากเหมือนเมื่อก่อนแล้ว” ในยุคที่การเมืองที่เต็มไปด้วยการฉ้อราษฎร์บังหลวง ผู้บริโภคจะพอใจอยู่กับตัวเลขที่อิงอยู่กับความรู้สึกเช่นนี้เพียงอย่างเดียวคงไม่ได้ เราจะต้องลุกขึ้นมาช่วยกันตรวจสอบ ถามหาความความเป็นธรรม ความพอดีอยู่ตลอดเวลา เมื่อพูดถึงความรู้สึกที่สบายใจขึ้นของคนไทยในขณะนี้ ทำให้ผมนึกเรื่อง “นัสรูดิน” ชายชาวอาหรับโบราณที่คนรุ่นหลังยังตัดสินไม่ได้ว่า เขาเป็นคนเฉลียวฉลาดหรือคนโง่กันแน่…
ประสาท มีแต้ม
1. คำนำ ก่อนจะเริ่มต้นเนื้อหา เรามาดูรูปการ์ตูนสนุก ๆ แต่บาดใจและอาจจะบาดตากันก่อนครับ ความหมายในภาพนี้ ไม่มีอะไรมาก นอกจากบอกว่านี่ไงหลักฐานที่พิสูจน์ว่าโลกเราร้อนขึ้นจริง สำหรับภาพนี้บอกว่า ผลการศึกษาพบว่าอุณหภูมิของน้ำในมหาสมุทรสูงขึ้น นักวิชาการ (และนักการเมือง) กำลังระดมกันแก้ปัญหาอย่างขยันขันแข็ง ขอขอบคุณเจ้าของภาพทั้งสองด้วย คราวนี้มาเข้าเรื่องกันครับ ขณะที่โลกของเรากำลังเผชิญกับวิกฤตการณ์ครั้งสำคัญ 4 ด้านพร้อม ๆ กัน คือ (1) วิกฤติภาวะโลกร้อน (2) วิกฤติพลังงานที่ทั้งขาดแคลน ราคาแพง ผูกขาดและก่อวิกฤติด้านอื่น ๆ (3) วิกฤติการเงินที่เพิ่งจะเกิดขึ้นหยก ๆ…
ประสาท มีแต้ม
คำนำ “...เวลานี้สังคมไทยมีอาการป่วยอย่างร้ายที่สุด คือ ป่วยทางปัญญา ขอให้พิจารณาดูเถิด เวลานี้ปัญหาสุขภาวะที่น่ากลัวที่สุดคือ ความป่วยทางปัญญา...” พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตโต) มีนาคม 2551 ท่ามกลางกระแสการคิดค้นเรื่อง “การเมืองใหม่” ซึ่งขณะนี้สังคมบางส่วนเริ่มเห็นภาพราง ๆ บ้างแล้วว่ามันเป็นอย่างไร แต่ยังไม่มีความชัดเจนมากนักว่า สังคมไทยจะก้าวไปสู่สภาพนั้นได้อย่างไร และสมมุติว่าเราสามารถเข้าไปสู่สภาพนั้นได้จริง ๆ แล้ว เราจะรักษาและพัฒนาการเมืองใหม่ให้ดียิ่งๆ ขึ้นไปอีกได้อย่างไร ในที่นี้ ผมจะขออนุญาตนำเสนอหลักการพื้นฐานมาใช้ตอบคำถามดังกล่าว ผมเรียกหลักการนี้ว่า “กฎ 3…
ประสาท มีแต้ม
เมื่อต้นเดือนเมษายน 2551 หนังสือพิมพ์หลายฉบับได้ลงข่าวว่า "พลังงานเผยไทยผลิตน้ำมันดิบสูงกว่าบรูไน คุยทดแทนนำเข้าปีนี้มหาศาล" (ไทยรัฐ 2 เมษายน 2551)    สาเหตุที่ผู้ให้ข่าวซึ่งก็คือข้าราชการระดับสูงของกระทรวงพลังงานได้นำประเทศไทยไปเทียบกับประเทศบรูไน ก็น่าจะเป็นเพราะว่าคนไทยเราทราบกันดีว่าประเทศบรูไนเป็นประเทศส่งออกน้ำมันรายหนึ่งของภูมิภาคนี้ ดังนั้นเมื่อประเทศไทยเราผลิตน้ำมันดิบได้มากกว่าก็น่าจะทำให้คนไทยเราหลงดีใจได้บ้าง  นาน ๆ คนไทยเราจะได้มีข่าวที่ทำให้ดีใจสักครั้ง   หลังจากอ่านข่าวนี้แล้ว ผมก็ได้ค้นหาความรู้เพิ่มเติมจากอินเทอร์เน็ตก็พบว่า…
ประสาท มีแต้ม
1. คำนำ ขณะนี้มีผู้คนจำนวนหนึ่งกำลังครุ่นคิดถึง "การเมืองใหม่" ซึ่งยังไม่เป็นที่แน่ชัดนักว่ามันคืออะไรกันแน่ ทราบแต่ว่า "การเมืองเดิม" ซึ่งก็คือการเมืองแบบตัวแทน (representative democracy) กำลังมีปัญหาหลายอย่างและรุนแรงขึ้นทุกขณะบทความนี้จะนำเสนอความล้มเหลวของ "การเมืองแบบตัวแทน" อย่างสั้นๆ พร้อมกับนำเสนอ "การเมืองแบบไฮเพอร์ (hyperpolitics)" ให้พอเป็นประกายเบื้องต้น หากสังคมนี้สนใจก็มีช่องทางให้ศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมกันต่อไป2. สาเหตุความล้มเหลวของการเมืองแบบตัวแทนเราท่องกันจนขึ้นใจมาตั้งแต่วัยเด็กแล้วว่า สาเหตุสำคัญของการมี "การเมืองแบบตัวแทน" คือเป็นเพราะคนมันเยอะ…