Skip to main content

1. คำนำ


เมื่อกลางเดือนธันวาคม ปี 2552 ผมได้มีโอกาสเข้าร่วมประชุม “สมัชชาสุขภาพแห่งชาติ” ในงานนี้ได้มีโอกาสฟังปาฐกถาจากประธานศูนย์ศึกษาประเทศภูฎาน คือท่าน Dasho Karma Ura

ท่านบรรยายพร้อมนำเสนอด้วยเพาเวอร์พอยต์จำนวนกว่าร้อยแผ่น แต่ท่านมีเวลาพูดน้อยมากเมื่อเทียบกับเนื้อหาที่มีทั้งความลึกซึ้งและทั้งกว้างขวางหลายมิติ ในระหว่างการบรรยาย ถึงแม้ว่าจะมีล่ามแปลเป็นภาษาไทย แต่ผมเรียนตามตรงว่า “ผมตามไม่ทันครับ” ไหนจะภาษาอังกฤษของผมซึ่งไม่แข็งแรงพอ ไหนจะความยากของเนื้อหา รวมทั้งประเพณีและวัฒนธรรม


บัดนี้เวลาได้ล่วงเลยมาพอสมควรแล้ว ผมก็ยังไม่เห็นสื่อกระแสหลักสำนักใดได้นำเรื่องที่น่าสนใจอย่างมากนี้มาเล่าใช้สาธารณะทราบเลย รวมทั้งยังไม่เห็นเอกสารสรุปเนื้อหาของผู้จัดประชุม


หัวข้อที่ท่านบรรยายคือ “ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับความสุขมวลรวมประชาชาติ (Introduction to Gross National Happiness-GNH)”


หลังจากที่ผมได้ค้นคว้าหาเอกสารของท่านรวมทั้งเอกสารอื่น ๆ ผมจึงขออาสานำมาเล่าให้ท่านผู้อ่านทราบเป็นการเบื้องต้น อย่างน้อยก็เพื่อให้บางท่านได้มีโอกาสทราบ แล้วช่วยกันค้นหาเพิ่มเติมมาสู่สังคมไทยในวงกว้าง หากผมเข้าใจอะไรผิดพลาดก็ต้องอภัยดัวยครับ


แต่ก่อนที่ผมจะลงไปในเนื้อหา ผมขอเสนอสไลด์ของท่านผู้บรรยายมาให้ชมกันก่อนสักรูป ซึ่งผมเพิ่งทราบความหมายเมื่อสักครู่นี้เองจาก youtube จากท่าน ว.วชิรเมธีที่ได้ไปเยือนประเทศภูฎานมานานครึ่งเดือน (ท่าน ว. ยืนยันว่าคนในประเทศเขาออกเสียงเรียกประเทศว่า ภู-ถาน ไม่ใช่ ภู-ทาน ตามราชบัณฑิตไทย) ชมภาพก่อนครับ


ภาพนี้เป็นปริศนาธรรม เป็นนิทานพื้นบ้านที่เกือบจะเป็นนิทานประจำชาติ เรื่อง 4 สหายสมานฉันท์” คือ ช้าง ลิง กระต่าย และ นก ต่างก็อยากจะกินผลไม้รสดีที่อยู่บนที่สูงมาก ลำพังสัตว์แต่ละตัวไม่สามารถเก็บมากินได้ ต่อให้เป็นช้าง หรือนกก็เถอะ ทางเดียวที่จะทำได้คือต้องต่อตัวกันดังในรูป


 

เรื่องนี้อาจเป็นคติเตือนใจสำหรับบ้านเราในปัจจุบันนี้ได้ เขียนมาถึงนี้ทำให้นึกถึงนิทานการเมืองเรื่อง “ลิงกับเต่า” ที่ผมได้เล่าไว้เมื่อหลายปีแล้ว (ค้นได้จาก google.com)

 

2. ทำไม จีดีพีจึงใช้วัดความสุขไม่ได้?


ในขณะที่ประเทศไทยนิยมวัดความก้าวหน้าในการพัฒนาประเทศโดยใช้จีดีพี (ผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ-Gross National Products- หรือรายได้ประชาชาติตามนักเศรษฐศาสตร์กระแสหลักของโลก) ท่านกรรมา อุระ (Karma Ura - คำว่า Dasho เป็นตำแหน่งอะไรสักอย่างซึ่งประธานที่ประชุมบอกแล้วแต่ผมฟังไม่ทัน) เห็นว่า จีดีพีไม่สามารถวัดสิ่งที่เป็นเชิงคุณภาพ เช่น ความสุขและความมีสวัสดิภาพที่ดี (well-being) ได้ นอกจากนี้ยังไม่สามารถวัดคุณค่าของการใช้ “เวลาว่าง” เช่น การชื่นชมงานศิลป์ เป็นต้น


สิ่งที่น่าคิดก็คือ จีดีพี ไม่นับรวมการทำงานทั้งหลายที่ไม่ได้รับเงิน เช่น งานแม่บ้าน ทำกับข้าว ล้างจาน ดูแลเด็ก-คนแก่ ในครัวเรือนด้วย


เล่ามาถึงตรงนี้ ผมขอขยายความด้วยความคิดของ โจเซฟ สติกลิตซ์ นักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบล ซึ่งได้ยกตัวอย่างให้เราเห็นความล้มเหลวของการยึดจีดีพีเป็นหลักว่า ถ้ามีการสลับแม่บ้านกันทำงานพร้อมกับจ่ายค่าจ้างให้กันและกัน จะทำให้จีดีพีของประเทศนั้นเพิ่มขึ้นเยอะเลย


ในประเด็นเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างความสุขกับจำนวนชั่วโมงที่ใช้ในการทำงาน และรายได้ที่รับของคนในแต่ละวัย (ตั้งแต่น้อยกว่า 15 ปีจนถึงมากกว่า 75 ปี) ท่านกรรมา อุระ ได้นำเสนอให้เราต้องประหลาดใจว่า ในช่วงที่คนเรามีรายได้สูงสุดในชีวิตกลับเป็นช่วงที่คนมีความสุขน้อยที่สุด ดังแสดงในกราฟข้างล่างนี้

 

 

จากกราฟเราจะเห็นว่า ในช่วงที่คนเรามีรายได้สูงสุดและมีชั่วโมงทำงานมากที่สุด (คือช่วงอายุ 36 ถึง 45 ปี) นั้น เป็นช่วงที่ความสุขของคนเราน้อยที่สุด


เรื่องนี้ก็คล้าย ๆ กับประโยคที่คนค่อนไปทางวัยชราพูดกันบ่อย ๆ ว่า “ตอนที่ผมอยากกิน ผมไม่มีเงินพอจะซื้อ แต่พอถึงตอนที่ผมมีเงินซื้อ หมอบอกว่ากินไม่ได้”

 

3. องค์ประกอบหลัก 9 ด้านของจีเอ็นเอช (GNH)


เท่าที่ผมค้นเจอพบว่า แนวคิดเกี่ยวกับความสุขมวลรวมประชาชาติของประเทศภูฎาน (ประเทศเล็ก ๆ ที่มีประชากรประมาณ 6 แสนคน อยู่ทางเหนือประเทศอินเดียแต่อยู่ใต้ประเทศจีน) ได้ริเริ่มมาประมาณ 37 ปีมาแล้ว เพื่อที่จะพยายามให้ความหมายเกี่ยวกับคุณภาพชีวิตของชาวภูฎาน แต่เพิ่งมาประกาศใช้เป็นดัชนีชีวัดอย่างเป็นทางการเมื่อปลายปี 2551 ในสมัยพระมหากษัตริย์หนุ่มที่คนไทยเราให้ชื่นชมในพระราชจริยวัติ (สมัยที่ยังเป็นมกุฎราชกุมารภูฎาน) เป็นอย่างมาก (His Majesty Jigme Khesar Namgyel Wangchuck)


ย้อนไปเมื่อ 10 กว่าปีที่แล้ว นักคิดนักเคลื่อนไหวในสังคมไทย (รวมทั้งองค์การอนามัยโลกด้วย) ได้ริเริ่มนำคำว่า “สุขภาวะ” ซึ่งหมายถึง สภาวะที่เป็นสุข 4 ด้าน คือ สุขกาย สุขใจ สุขทางสังคม และสุขทางปัญญา ซึ่งถือเป็นแนวคิดที่กว้างขวางกว่าแนวคิดเรื่องจีดีพีมาก อย่างไรก็ตาม แนวคิดนี้ถือว่ายังไม่ชัดเจนพอเมื่อเทียบกับแนวคิดของประเทศภูฎานซึ่งจะกล่าวถึงต่อไปนี้


แนวคิด NGH มีองค์ประกอบทั้ง 9 ด้าน (หรือ 9 โดเมน-domain) พร้อมระดับความสำคัญที่วัดเป็นร้อยละที่ส่งผลต่อความสุข (เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย) ได้แสดงไว้ในตาราง

 

องค์ประกอบ

ร้อยละ

1. การใช้เวลา (Time-use) ทั้งการทำงานที่ได้เงินและไม่ได้เงิน การนอน

13

2. ธรรมาภิบาล (Good governance) ความเชื่อมั่นในองค์กรรัฐ การคอร์รัปชัน

12

3. สุขภาพ (Health)

12

4. วัฒนธรรม (Culture)

12

5. ความเข้มแข็งของชุมชน (Community vitality)

12

6. มาตรฐานการดำเนินชีวิต (Living standards)

11

7. ความรู้สึกมีสวัสดิภาพ (Psychological wellbeing)

11

8. นิเวศวิทยา (Ecology)

10

9. การศึกษา (Education)

7

รวม

100

 

จากตารางเราพบว่า การใช้เวลาเป็นปัจจัยที่มีผลต่อความสุขของคนเรามากที่สุด มากกว่าการศึกษา (ซึ่งน้อยที่สุด) ถึงเกือบเท่าตัว


ผมพยายามค้นหารายละเอียดในแต่ละด้านพบว่า ในแต่ละด้านมีความลึกซึ้งมากครับ ผมเองนอกจากจะไม่มีความสามารถในภาษาอังกฤษที่ดีพอแล้ว ผมยังไม่มีความลึกซึ้งในวิชาการที่เกี่ยวข้องมากพอครับ ผมทราบจากประธานที่ประชุมสมัชชาสุขภาพแห่งชาติว่า ขณะนี้มีกลุ่มคนไทยกลุ่มหนึ่งกำลังศึกษาเรื่องนี้อยู่ ผมอยากเห็นผลงานเร็ว ๆ ครับ เช่น


ในด้านการศึกษา เขามุ่งไปที่การสอนให้เด็ก มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ความมีหัวใจที่เปิดกว้าง ความขยัน ความลึกซึ้งภายใน และความอดทน


ผมพบคำพูดของคนบางคนที่วิจารณ์การศึกษาในกระแสหลักว่า “จุดสนใจของการศึกษาในกระแสหลัก มุ่งเน้นไปที่ การเปลี่ยนเด็กให้เป็นหน่วยที่มีประสิทธิภาพ แทนที่จะสอนให้เป็นผู้ใหญ่ที่มีความกระตือรือร้นและความมีจิตใจเปิดกว้าง”


ในด้านวัฒนธรรม เขามีตัวชี้วัดตัวหนึ่ง(มีหลายตัว)ว่า คนเราแต่ละคน “สามารถบอกชื่อทวดของตนเองได้ครบทั้ง 4 คนหรือไม่” (ผมเองบอกได้แค่ 3 คนเองครับ)


ในด้านธรรมาภิบาล เขาจะถามถึงความเชื่อมั่นต่อศาล ตำรวจ ฯลฯ พบว่าคนภูฎานมีความเชื่อมั่นต่ออาชีพตำรวจสูงที่สุด (เหมือนคนอังกฤษเลย)


ในด้านนิเวศวิทยา เขาถามถึงการรู้จักชื่อพืช-สัตว์มากน้อยแค่ไหน เป็นต้น


ตัวชี้วัดทั้งหมดมี 72 ตัวครับ จากนั้นนำตัวชี้วัดวัดเหล่านี้มาคำนวณด้วยวิธีการทางคณิตศาสตร์ (ซึ่งผมเองยังไม่เข้าใจครับ ทั้ง ๆ ที่เป็นนักคณิตศาสตร์)


4.
สรุป


สุดท้าย ผมเข้าใจแล้วครับว่า ทำไมนักข่าวกระแสหลักจึงไม่ทำรายงานเรื่องนี้มาให้สาธารณะได้อ่านกัน เพราะมันเข้าใจยากนี้นี่เอง!

ผมจะพยายามต่อไปครับ เพราะรู้สึกว่าเป็นสิ่งที่ดีและมีความสุขที่ได้อ่านเรื่องแบบนี้ครับ

 

 

 

บล็อกของ ประสาท มีแต้ม

ประสาท มีแต้ม
เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2551 สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ได้จัดเวทีเสวนาเรื่อง "9 คำถามคาใจ กรณี ปตท." ซึ่งเป็นประเด็นที่ประชาชนให้ความสนใจมาหลายปีนับตั้งแต่การแปรรูปเมื่อเดือนตุลาคมปี 2544 เวทีเสวนาประกอบด้วย ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่สื่อสารองค์กรและกิจการเพื่อสังคม  บมจ. ปตท. (คุณสรัญ รังคสิริ)  เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค (คุณสารี อ๋องสมหวัง) ดำเนินรายการโดยคุณวันชัย ตันติวิทยาพิทักษ์  บรรณาธิการนิตยสารสารคดี นอกจากนี้ยังมีนักวิชาการและประธานกรรมการบริหารบริษัทหลักทรัพย์ภัทรด้วย นักข่าวของ “ประชาไท” รายงานว่า “…
ประสาท มีแต้ม
นายทหารยศพันตรีท่านหนึ่ง (พ.ต.รัฐเขต แจ้งจำรัส) ได้ออกมาให้ข้อมูลกับประชาชนผ่านเวทีพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยว่า “ปิโตรเลียมซึ่งได้แก่น้ำมันและก๊าซธรรมชาติใต้แผ่นดินไทยทั้งบนบกและในทะเลทั้งหมดมีมูลค่าถึง 100 ล้านล้านบาท” เงินจำนวน 100 ล้านล้านบาท(ล้านสองครั้ง)นี้ ถ้าเอามาจัดสรรเป็นงบประมาณแผ่นดินในปีปัจจุบันก็จะได้ประมาณ 62 ปี เพราะงบประมาณปีหน้า (2552) มีประมาณ 1.6 ล้านล้านบาท ข้อมูลที่นายทหารผู้นี้นำเสนอล้วนเป็นข้อมูลของทางราชการที่เข้าใจยาก กระจัดกระจาย แต่ท่านได้นำมารวบรวม วิเคราะห์ แล้วสรุปให้ประชาชนธรรมดาสามารถเข้าใจได้ง่าย…
ประสาท มีแต้ม
1. ความเดิม จากปัญหาที่ผู้บริหารทั้งระดับผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่และผู้จัดการใหญ่ของ บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) “อ้าง” หลายครั้งหลายวาระด้วยกันว่า ก๊าซหุงต้มในประเทศไทยขาดแคลน ทาง บริษัท ปตท. จึงได้ออกมาบอกกับสาธารณะในสามประเด็นหลัก คือ (1) เสนอแนะให้รัฐบาลขึ้นราคาหรือลอยตัวราคาก๊าซหุงต้มให้เท่ากับราคาตลาดโลก(2) ในเดือนเมษายนที่ผ่านมาทาง ปตท. ได้นำเข้าก๊าซหุงต้มหรือแอลพีจีแล้วจำนวน2 หมื่นตัน ขณะเดียวกันผู้บริหารระดับสูงสุดอ้างว่าในปีนี้จะมีการนำก๊าซถึง 4 แสนตัน (3) ราคาก๊าซหุงต้มในตลาดโลกตันละเกือบพันเหรียญสหรัฐ แต่ราคาก๊าซในประเทศอยู่ที่ตันละประมาณ 300 เหรียญ…
ประสาท มีแต้ม
1. ประเด็นปัญหา ขณะนี้ บริษัท ปตท. ได้บอกกับประชาชนว่าก๊าซหุงต้มหรือที่เรียกกันในวงการว่าก๊าซแอลพีจี (Liquefied petroleum gas) ในประเทศไทยกำลังขาดแคลน และได้แนะนำให้รัฐบาลขึ้นราคาก๊าซชนิดนี้ โดยเฉพาะที่ใช้กับรถยนต์ส่วนบุคคลและรถยนต์แท็กซี่ (นายณัฐชาติ จารุจินดา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ บมจ. ปตท. ให้สัมภาษณ์ผ่านรายการ Hard Topic ทาง Money Channel , 7 กรกฎาคม 2551) นอกจากนี้นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท.กล่าวว่า “ความต้องการใช้ก๊าซหุงต้ม (แอลพีจี) ที่เพิ่มขึ้น ทำให้ปีนี้ต้องนำเข้าแอลพีจี 4 แสนตัน” (ไทยรัฐ 11 กรกฎาคม 2551)
ประสาท มีแต้ม
1. คำนำและปัญหา ขณะนี้ได้มีการเรียกร้องให้สังคมมาร่วมกันสร้าง “การเมืองใหม่” บทความนี้จะยังไม่เสนอกระบวนการที่จะนำไปสู่การเมืองใหม่ แต่จะมองว่าการเมืองใหม่ควรจะมีหน้าตาเป็นอย่างไร พร้อมนำเสนอตัวอย่างที่เป็นจริงเพื่อให้เราได้เห็นทั้งแนวคิดและหน้าตาของการเมืองใหม่ชัดเจนขึ้น สังคมในการเมืองใหม่ควรจะเป็นสังคมที่ ผู้คนมีศักดิ์ศรี พึ่งตนเองได้ ทุกคนมีงานทำ มีความสุข การบริหารบ้านเมืองต้องโปร่งไส ตรวจสอบได้และ ปราศจากการคอร์รัปชัน ในที่นี้จะขอนำเสนอนโยบายและรูปธรรมด้านพลังงาน ทั้งนี้เพราะเรื่องพลังงานเป็นเรื่องใหญ่มาก กล่าวคือทุกๆ 100 บาทของรายได้ของคนไทย ต้องจ่ายไปกับค่าพลังงานถึง 18 บาท…
ประสาท มีแต้ม
ในขณะที่คนทั่วโลกกำลังเดือดร้อนกับราคาน้ำมันที่พุ่งสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์  แต่ผลกำไรของบริษัทน้ำมันขนาดยักษ์ของโลกกลับเพิ่มสูงขึ้นกว่าปีที่ผ่านมา มันช่างฝืนความรู้สึกในใจของมนุษย์ธรรมดาๆ ที่คิดว่า “เออ! เมื่อสินค้าราคาสูงขึ้น เขาน่าจะลดกำไรลงมามั่ง เพื่อไม่ให้ผู้บริโภคเดือดร้อนมากนัก”   แต่มันกลับเป็นตรงกันข้าม คือเพิ่มกำไรมากกว่าเดิม  โดยไม่สนใจใยดีกับเพื่อนร่วมโลกในขณะที่ผู้มีรายได้น้อยอย่างกรรมกรได้สะท้อนออกมาในวันแรงงานแห่งชาติว่า “ค่าครองชีพแพง แต่ค่าแรงเท่าเดิม”บทความนี้จะนำเสนอทั้งข้อมูลและความคิดเห็นใน 4 เรื่องต่อไปนี้ คือ (1)…
ประสาท มีแต้ม
๑.คำนำเมื่อ ๗ ปีก่อน  คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้คิดวิชาใหม่ขึ้นมาหนึ่งรายวิชา หากคำนึงถึงแนวคิด เนื้อหาและกระบวนการเรียนการสอนแล้ว อาจถือว่าได้วิชานี้เป็นวิชาแรกในประเทศไทยก็น่าจะได้  ผมจึงอยากจะเล่าให้ท่านผู้อ่านที่เป็นผู้จ่ายภาษีมาตลอดได้รับทราบครับ ด้วยขั้นตอนตามระเบียบของมหาวิทยาลัย เราได้เริ่มลงมือเปิดสอนจริงเมื่อ ๓ ปีมาแล้ว รายวิชานี้ชื่อว่า “วิทยาเขตสีเขียว (Greening the Campus)”  เป็นวิชาบังคับสำหรับนักศึกษาชั้นปีที่สามทุกคน เรื่องที่จะนำมาเล่าอย่างสั้นๆ นี้ ได้แก่ แนวคิด เนื้อหา กระบวนการเรียนการสอน  สิ่งที่นักศึกษาค้นพบและร่วมผลักดันขยายผล…
ประสาท มีแต้ม
ผมว่างเว้นจากการเขียนบทความมานานกว่าสองเดือนแล้ว จนอันดับบทความของผมที่เรียงตามเวลาที่เขียนในเว็บไซต์ “ประชาไท” ตกไปอยู่เกือบสุดท้ายของตารางแล้ว สาเหตุที่ไม่ได้เขียนเพราะผมป่วยเป็นโรคที่ทันสมัยคือ “โรคคอมพิวเตอร์กัด” ครับ มันมีอาการปวดแสบปวดร้อนไปทั่วทั้งหลัง พอฝืนทนเข้าไปทำงานอีกไม่เกินห้านาทีก็ถูก “กัด” ซ้ำอีก ราวกับมันมีชีวิตแน่ะที่นำเรื่องนี้มาเล่าก่อนในที่นี้ไม่ใช่อยากจะเล่าเรื่องส่วนตัว แต่อยากนำประสบการณ์ที่ผิดๆ ของผมมาเตือนท่านผู้อ่านโดยเฉพาะคนที่อยู่ในวัยหนุ่มสาว ท่านผู้อ่านที่สนใจจะเก็บเรื่องของผมไปเป็นบทเรียน…
ประสาท มีแต้ม
ผมเองไม่ใช่นักกฎหมาย แต่ได้ให้ความสนใจอย่างจริงจังในประเด็นพลังงานทั้งเรื่อง ปตท. และการไฟฟ้า ทั้งการเคลื่อนไหวเรื่องพลังงานหมุนเวียนมานานกว่า 10 ปีหลังคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุด (14 ธันวาคม) ในอีก 2 วันทำการต่อมารัฐบาลก็ได้ผ่านมติวิธีการจัดการรวมทั้งการคิดค่าเช่าท่อก๊าซฯให้เป็นไปตามคำพิพากษาของศาล โดยใช้เวลาพิจารณาเพียง 10 นาที สร้างความกังขาให้กับสังคมไทยเป็นอย่างมากประเด็นที่ผมสนใจในที่นี้มี 3 เรื่องดังต่อไปนี้หนึ่ง คำพิพากษาของศาลฯที่ว่า “การใช้อำนาจมหาชนของรัฐ” ในกรณีการก่อสร้างท่อส่งก๊าซธรรมชาตินั้นควรจะครอบคลุมไปถึงไหน  ในฐานะที่ไม่ใช่นักกฎหมาย…
ประสาท มีแต้ม
เรื่องราวที่ผมจะนำมาเล่าในที่นี้  ไม่ใช่เรื่องเทคนิคทางไฟฟ้า ไม่ใช่เรื่องการประหยัดพลังงานไฟฟ้าเพียงอย่างเดียว  แต่เป็นเรื่องของประสบการณ์การทำงานเชิงสังคมที่น่าสนใจของตัวผมเอง  ผมคิดว่าเรื่องนี้มีคุณค่าพอที่ผู้อ่านทั่วไปตลอดจนกลุ่มเพื่อนพ้องที่มุ่งมั่นทำงานเพื่อสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกระบวนการสีเขียว เพื่อสิ่งแวดล้อม เพื่อความเป็นธรรมและเพื่อนสันติภาพของโลก  จริงๆนะครับ ผมไม่ได้โม้ผมขอเริ่มเลยนะครับเราเคยสังเกตไหมครับว่า สวิทซ์ไฟฟ้าในที่ทำงานของเรา โดยเฉพาะที่เป็นสถานที่ราชการ เวลาเราเปิดสวิทซ์ ไฟฟ้าจะสว่างไปหลายดวง หลายจุดเป็นแถบๆ  ยิ่งเป็นที่สาธารณะ เช่น สำนักงาน…
ประสาท มีแต้ม
1. ความในใจผมขอพักเรื่องนโยบายสาธารณะด้านพลังงานซึ่งเป็นเรื่องใหญ่และสำคัญมากๆ สำหรับประเทศไทยและชาวโลกไว้ชั่วคราวครับ  ในบทความนี้ผมขอนำเรื่องภายในมหาวิทยาลัยที่ผมทำงานอยู่มาเล่าสู่กันฟังมันไม่ใช่เรื่องไกลตัวสำหรับผู้อ่าน  แต่มันสะท้อนให้เห็นถึงปัญหาในระบบราชการไทยที่ไม่ยอมเปลี่ยนแปลงแม้ว่าสถานการณ์ได้เปลี่ยนไปมากแล้ว  นอกจากนี้ผมมีเรื่องวิชาใหม่ที่คาดว่าเป็นวิชาแรกในประเทศไทยคือวิชา “ชุมชนมหาวิทยาลัยสีเขียว (Greening the campus)”…
ประสาท มีแต้ม
การแปรรูป ปตท. คือการปล้นประชาชน! ในช่วง ๓-๔ ปีที่ผ่านมา ในขณะที่ประชาชนชาวไทยทั้งประเทศกำลังเดือดร้อนกับราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้นเกือบสองเท่าตัว แต่บริษัทน้ำมันต่างๆในประเทศไทยกลับมีกำไรเพิ่มสูงขึ้นมากกว่านั้นในบทนี้ จะกล่าวถึงกิจการของบริษัท ปตท. จำกัดมหาชน และบริษัทอื่นๆบ้าง โดยย่อๆ เป็นข้อๆ ดังต่อไปนี้๑. บริษัท ปตท. จำกัด มหาชน ได้แปรรูปมาจาก การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย เมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๔  ตอนเริ่มต้นการแปรรูป กระทรวงการคลังถือหุ้น ๖๙% ปัจจุบันเหลือเพียง ๕๒.๔๘%ดังนั้น กำไรของ ปตท. ซึ่งเดิมเคยตกเป็นของรัฐทั้งหมด ๑๐๐% ก็จะเหลือเพียงตามสัดส่วนที่รัฐถือหุ้น  คงจำกันได้นะครับว่า หุ้น ปตท…