Skip to main content

 

 

คำนำ

เป็นที่ทราบกันทั่วไปแล้วว่า ขณะนี้สังคมไทยเรากำลังมีความขัดแย้งรุนแรงครอบคลุมเกือบทุกพื้นที่ของประเทศ จนรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้แต่งตั้งคณะกรรมการปฏิรูปขึ้นมาหลายชุด หนึ่งในนั้นคือ คณะกรรมการปฏิรูป (คปร.) โดยมีคุณอานันท์ ปันยารชุน เป็นประธาน

เมื่อกลางเดือนตุลาคมที่ผ่านมา คณะกรรมการชุดนี้ได้จัดเวทีรับฟังความคิดเห็นขึ้น โดยขึ้นคำขวัญซึ่งสะท้อนแนวคิดรวบยอดของการปฏิรูปประเทศไทยว่า 
“ลดอำนาจรัฐ ขจัดความเหลื่อมล้ำ”

ผมเองได้ติดตามชมการถ่ายทอดโทรทัศน์จากรายการนี้ตั้งแต่ต้นจนจบ ได้ทราบถึงเจตนารมณ์ในการรับฟังความคิดเห็น ได้ชมวีดิทัศน์ที่บอกถึง
“ความเหลื่อมล้ำ” ทางการกระจายรายได้ และการถือครองที่ดิน ฯลฯ นอกจากนี้ ผมได้ติดตามแถลงการณ์ของ “กลุ่มเครือข่ายนักกิจกรรมทางสังคมเพื่อประชาธิปไตยและเครือข่ายอีก 37 องค์กร”  พบว่าไม่มีประเด็นที่บทความนี้จะกล่าวถึงแต่อย่างใด

การจะ
“ลดอำนาจรัฐ ขจัดความเหลื่อมล้ำ” ได้ เราจำเป็นจะต้องมีความเข้าใจในกลไกการใช้อำนาจรัฐ และที่มาของความเหลื่อมล้ำกันก่อน
 
ทำไมเราต้องสนใจในกิจการไฟฟ้า

เพราะ
(1) รัฐเป็นผู้ใช้อำนาจในการวางแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าหรือที่ปัจจุบันเรียกว่า “แผนพีดีพี 2010” ที่ใช้ระยะเวลา 20 ปี (จาก 2553 ถึง 2573) เป็นจำนวนถึง 4.22 ล้านล้านบาท เฉลี่ยปีละ 0.21 ล้านล้านบาท คิดเป็นกว่าร้อยละ 10 ของงบประมาณแผ่นดินปี 2554
ปัจจุบัน ไม่มีกระทรวงใดได้รับงบประมาณมากกว่างบลงทุนของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)

(2) นอกจากงบลงทุนเฉลี่ยปีละกว่า 2.1 แสนล้านบาทแล้ว ในแต่ละปี โดยเฉพาะ ในปี 2552 คนในประเทศไทย (ไม่กล้าใช้คำว่า
“คนไทย” เพราะมีชาวต่างชาติที่มาลงทุนได้ใช้ไฟฟ้าในสัดส่วนที่มาก)  ใช้พลังงานไฟฟ้าคิดเป็นมูลค่า 4 แสน 3 หมื่นล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 4.75 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ (หรือเรียกย่อ ๆ ว่าจีดีพีในปี 2552 มีค่าเท่ากับ 9.05 ล้านล้านบาท และเพื่อความเข้าใจง่าย จะขอปัดเป็นตัวเลขกลมๆ คือ ร้อยละ 4.75 เป็น 5 และ 9.05 เป็น 9)
ในขณะที่ย้อนหลังไปถึงปี 2543 ค่าใช้จ่ายค่าไฟฟ้าเป็นเพียง 4.0% ของจีดีพี เท่านั้น

(3)  การตัดสินใจว่า โรงไฟฟ้าใดจะใช้เชื้อเพลิงชนิดใด ย่อมส่งผลกระทบต่อชุมชนทั้งรอบ ๆ โรงไฟฟ้าและต่อภูมิอากาศของโลกต่างกัน   เช่น ถ้าใช้ ก๊าซธรรมชาติ ชีวมวล พลังน้ำขนาดเล็ก และน้ำมันเตา จะเกิดผลกระทบ(หรือต้นทุนภายนอก) คิดเป็น 2.07
, 1.66 , 1.03 และ 7.02  บาทต่อหน่วยไฟฟ้า (ข้อมูลประมาณปี 2548) แต่ถ้าใช้ถ่านหิน ต้นทุนการผลิตจะอยู่ที่ 1.48 บาท แต่ต้นทุนภายนอกจะสูงถึง 7.25 บาท

ด้วยเหตุนี้ ทาง กฟผ. จึงนิยมใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิง โดยอ้างว่าต้นทุนถูก แต่กลับผลักภาระต้นทุนภายนอกไปให้กับชุมชนและชาวโลก

นอกจากนี้ กลุ่มพ่อค้าพลังงานถ่านหินกับกลุ่มธุรกิจกิจการไฟฟ้ามักจะมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด การตัดสินใจดังกล่าวจึงมักจะมีผลประโยชน์ซ้อนทับอยู่เสมอ

(4) จากรายงานประจำปี 2552 ของ กฟผ. พบว่า รายจ่ายค่าเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้าเท่ากับ 104
,808 ล้านบาท ค่าเชื้อเพลิงจำนวนนี้ส่วนใหญ่จ่ายไปเป็นค่าก๊าซธรรมชาติ (ทั้งในอ่าวไทยและพม่า-ซึ่งผลประโยชน์ส่วนใหญ่ตกอยู่กับบริษัทต่างชาติที่ได้สัมปทานขุดเจาะ คนไทยได้ค่าภาคหลวง และภาษีเงินได้ของบริษัทขุดเจาะ)

นอกจากนี้เป็นค่าถ่านหิน (นำเข้าจากต่างประเทศ) เชื้อเพลิงดังกล่าวอยู่ในอำนาจของบริษัทต่างชาติเป็นส่วนใหญ่เช่นเดียวกับก๊าซธรรมชาติ

รายงานฉบับเดียวกันพบว่า พลังงานไฟฟ้าที่ผลิตจากพลังงานหมุนเวียนมีเพียง 1.45% ของพลังงานไฟฟ้าทั้งหมดรวมทั้งที่ซื้อจากต่างประเทศด้วย

คำถามที่อยากชวนให้คิดก็คือ เป็นไปได้ไหมที่เราจะ
“ลดอำนาจรัฐ ขจัดความเหลื่อมล้ำ” ในภาคกิจการไฟฟ้า โดยให้ใช้เชื้อเพลิงจากพลังงานหมุนเวียน (ซึ่งได้แก่ ไม้ฟืน ของเหลือจากการเกษตร ก๊าซชีวมวล ลม แสงอาทิตย์ พลังน้ำขนาดเล็ก) สัก 10% หรือ หนึ่งหมื่นล้านบาท ภายใน 3 ปีข้างหน้านี้

รายได้ที่เกิดจากการใช้เชื้อเพลิงดังกล่าวจะกระจายตัวไปสู่ผู้มีรายได้ ผู้ไม่มีงานทำในชนบทนับแสนคน 
 
จีดีพีกับการกระจายรายได้ และ ความขัดแย้งในสังคมไทย

(1) ถ้าเรานำจีดีพีทั้งหมดมาเฉลี่ยด้วยจำนวนประชากร 65 ล้านคน พบว่าในปี 2552 คนไทย มีรายได้เฉลี่ยต่อคนต่อเดือนเท่ากับ 11
,600 บาท

(2) แต่จากการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติ (อ้างจากปาฐกถา 14 ตุลาคม 2553  ของ ดร. สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ เรื่อง ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจกับประชาธิปไตย) พบว่า  รายได้เฉลี่ยของคนไทยได้ครอบครัวละ 17
,600 บาท ถ้าคิดว่า ครอบครัวละ 3.7 คน ดังนั้นรายได้เฉลี่ยต่อคนเดือนละ 4,800 บาท เท่านั้นเอง

คำถามที่ชวนให้คิดก็คือว่า ควมแตกต่างระหว่างรายได้ที่คิดตามข้อ (1) กับข้อ (2) ซึ่งเท่ากับ 6
,800 บาท นั้นมาจากไหน

ดร. สมเกียรติ ได้ให้ความเห็นว่า ประเทศที่มีความเหลื่อมล้ำสูง การพัฒนาประชาธิปไตยจะเป็นไปได้ยาก ผู้มีรายได้น้อยย่อมมีโอกาสในการไต่เต้าทางสังคมน้อยด้วย อีกทั้งสถานการณ์ในขณะนี้ คนกลุ่มที่มีฐานะทางเศรษฐกิจและสังคมต่ำกว่าต่างเชื่อว่า กลุ่มคนที่มีสถานะทางเศรษฐกิจและสังคมสูงกว่าพยายามปิดกั้นเสรีภาพทางการเมืองของตน ดังนั้นการจะเข้าใจปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองที่เกิดขึ้น ตลอดจนเข้าใจรากเหง้าปัญหาประชาธิปไตยไทยที่ไม่มั่นคงมาโดยตลอด จำเป็นต้องทำความเข้าใจเรื่องความเหลื่อมล้ำ ตลอดจนที่มาของความเหลื่อมล้ำ
 
ความเหลื่อมล้ำในภาคผู้ใช้ไฟฟ้า

(1) จากข้อมูลของการไฟฟ้านครหลวงพบว่า ในปี 2552 ในเขตนครหลวงมีผู้ใช้ไฟฟ้าในส่วนที่เป็นผู้อยู่อาศัยจำนวน 2.05 ล้านราย มีการใช้ไฟฟ้าเฉลี่ยรายละ 351 หน่วยต่อเดือน (รวม 8
, 637.37 ล้านหน่วย)   แต่มีผู้ใช้ไฟฟ้าขนาดใหญ่จำนวนเพียง 1,456 ราย แต่ใช้ไฟฟ้าเฉลี่ยรายละ 835,908 หน่วยต่อเดือน (รวม 14,605 ล้านหน่วย)

นอกจากนี้ยังพบว่า ผู้ใช้ไฟฟ้ารายใหญ่จ่ายค่าไฟฟ้าต่อหน่วยในราคาที่ถูกกว่าผู้ใช้ไฟฟ้ารายย่อยถึง 15%
ทำไมรัฐที่ได้อำนาจมาจากคนยากจนจึงสนับสนุนนักลงทุนต่างชาติแต่กลับเอาเปรียบคนจนที่เป็นเจ้าของประเทศ
ทำไมไม่ปล่อยให้ ผู้ใช้ไฟฟ้าขนาดใหญ่ จัดหาไฟฟ้ามาใช้เอง
 
(2) ถ้าจำแนกผู้ใช้ไฟฟ้าทั่วประเทศพบว่า ผู้อยู่อาศัยใช้ไฟฟ้าเพียง 21% ของประเทศ ในขณะที่ภาคอุตสาหกรรม และภาคบริการใช้ไฟฟ้าถึงร้อยละ 45 และ 25 ตามลำดับ
 
เขาจะสร้างโรงไฟฟ้าให้ใครใช้

จากข้อมูลพบว่า ในปี 2551 คนนครศรีธรรมราชใช้ไฟฟ้ารวมกัน 1,141 ล้านหน่วย (http://www.thaienergydata.in.th/) (1 หน่วย = 1 กิโลวัตต์ชั่วโมง) พลังงานไฟฟ้าจำนวนนี้โรงไฟฟ้าขนาด 174 เมกกะวัตต์สามารถผลิตให้ได้ตลอดไป ไม่ขาด

ถ้าอย่างนั้น ทำไมเขาจึงจะสร้างใหญ่ถึงขนาด 700 เมกกะวัตต์ หรือว่าเขาสร้างให้ชาวจังหวัดพัทลุงและตรังใช้ด้วย จากข้อมูลเดียวกันพบว่า คน 2 จังหวัดนี้ใช้ไฟฟ้ารวมกันเพียง 133 เมกกะวัตต์เท่านั้น

ความต้องการของคนใน 3 จังหวัด (นคร, พัทลุง ตรัง) รวมกันยังไม่ถึงครึ่งหนึ่งของที่เขาจะสร้างใหม่ คือ 700 เมกกะวัตต์  แล้วทำไมเขาจึงสร้างมหึมาขนาดนี้

ยิ่งคิด ก็ยิ่งสงสัยจังหู ฟันธงไปได้เลยว่า เขาจะสร้างไว้รองรับโรงถลุงเหล็ก หรือนิคมอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ฯลฯ

ในขณะที่จำนวนประชากรไทยเพิ่มขึ้นปีละ 0.5% แต่กระทรวงพลังงานกำลังวางแผนจะเพิ่มการผลิตไฟฟ้าปี 6% เขาทำเพื่อใคร
 
ผลิตไฟฟ้าเพื่อการส่งออก

จากข้อมูลที่รวบรวมโดยกระทรวงพลังงานพบว่า มูลค่าการส่งออกในปี 2552 คิดเป็นมูลค่า 5.19 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 57.4 ของจีดีพี
 ถ้าคิดในช่วงหลายปีก็จะอยู่ระหว่าง 65-70% ของจีดีพี

ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ  ในเศรษฐศาสตร์จานร้อน (กรุงเทพธุรกิจ
5 ตุลาคม พ.ศ. 2552) กล่าวว่า “การส่งออกของไทยซึ่งอยู่ที่ระดับ 65-70% ของจีดีพีนั้นไม่ได้หมายความว่า การส่งออกสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับประเทศถึง 2/3 ทั้งนี้ เพราะสินค้าส่งออกหลายรายการต้องนำเข้าวัตถุดิบจากต่างประเทศจำนวนมาก อาทิเช่น การส่งออกสินค้าประเภทอิเล็กทรอนิกส์และแผงวงจรไฟฟ้า ที่นำเข้าชิ้นส่วนมาประกอบในประเทศไทยเพื่อส่งออก ซึ่งนำเข้านั้นประมาณครึ่งหนึ่งเป็นการนำเข้าเพื่อการส่งออก (อีกครึ่งหนึ่งประมาณ 25% ของจีดีพี เป็นการนำเข้าสินค้าเพื่อการผลิตในประเทศ (10% ของจีดีพี) การนำเข้าพลังงาน (10% ของจีดีพี) และการนำเข้าสินค้าเพื่อการบริโภคประมาณ 5-6% ของจีดีพี) ดังนั้น จะพบว่าสัดส่วนของการส่งออกที่สร้างมูลค่าเพิ่มในประเทศไทย น่าจะเท่ากับ 20-30% ของจีดีพีครับ”
 
สรุป

จากที่กล่าวมาแล้วทั้งหมด พอสรุปสั้น ๆ ได้ว่า
(1) รัฐบาลไทยจะนำเข้าถ่านหินซึ่งเป็นเชื้อเพลิงที่สกปรกที่สุดในโลกเข้ามาใช้ เงินไปต่างประเทศ มลพิษทั้งทางอากาศ น้ำ ดิน สารพิษต่อสุขภาพต่าง ๆ ทิ้งไว้ให้คนไทย

(2) ไฟฟ้าที่ได้ใช้ผลิตสินค้าเพื่อการส่งออก วัตถุดิบนำเข้าจากต่างประเทศ
 
(3) ใช้แรงงานต่างชาติ เพราะคนไทยถูกระบบการศึกษาหลอมให้เป็นคนไม่ติดดิน ดูถูกการใช้แรงงาน และทำอะไรไม่เป็น

(4) กระทรวงพลังงานและ กฟผ. ไม่สนใจรากเหง่าของปัญหาความไม่สงบในประเทศไทย ไม่สนใจการปฏิรูปการเมืองที่จั่วหัวว่า
“ลดอำนาจรัฐ ขจัดความเหลื่อมล้ำ”

(5) รัฐบาลไทย ไม่สนใจปัญหาโลกร้อนที่มีสามเหตุมาจากภาคการผลิตไฟฟ้ามากที่สุด
นายอัล กอร์ อดีตรองประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกากล่าวในวันรับรางวัลออสการ์ จากภาพยนต์เรื่อง “ความจริงที่ไม่อาจยอมรับได้” ว่า 
“เพื่อนชาวอเมริกันและเพื่อนร่วมโลก เราจำเป็นต้องแก้ไขวิกฟติภูมิอากาศ มันไม่ใช่ประเด็นการเมือง แต่มันเป็นประเด็นทางศีลธรรม เราจำเป็นจะต้องเริ่มต้น ด้วยความตั้งใจที่จะลงมือแก้ปัญหา”

(6) ปัจจุบันประเทศไทยเรากำลังปล่อยให้คนที่มือสกปรก กำลังทำความสะอาด เช็ดถูบ้านของเรา ยิ่งทำก็ยิ่งสกปรก เลอะมากขึ้นทุกวัน 

พอแล้วยังครับ ที่จะให้คนที่มือสกปรกและมีจิตใจขาดศีลธรรมเหล่านี้เป็นผู้นำ
 
 
 

 

บล็อกของ ประสาท มีแต้ม

ประสาท มีแต้ม
เคยมีคนไปถาม อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ นักวิทยาศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ว่า “ท่านคิดว่าสิ่งประดิษฐ์ใดของมนุษย์ที่มีอำนาจในการทำลายล้างมากที่สุด” ผู้ถามคงจะคาดหวังว่าไอน์สไตน์น่าจะตอบว่า “ระเบิดนิวเคลียร์” เพราะเขามีส่วนเกี่ยวข้องในการประดิษฐ์คิดค้นอยู่ด้วยไม่มากก็น้อย แต่ไอน์สไตน์กลับตอบว่า “สูตรดอกเบี้ยทบต้น”
ประสาท มีแต้ม
1. คำนำ เมื่อกลางเดือนธันวาคม ปี 2552 ผมได้มีโอกาสเข้าร่วมประชุม “สมัชชาสุขภาพแห่งชาติ” ในงานนี้ได้มีโอกาสฟังปาฐกถาจากประธานศูนย์ศึกษาประเทศภูฎาน คือท่าน Dasho Karma Ura
ประสาท มีแต้ม
1. คำนำ “รักเจ้าจึงปลูก” เป็นชื่อโครงการที่ภาควิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์กำลังครุ่นคิดเพื่อใช้ในการพัฒนาคุณภาพนักศึกษา ผมเองได้เขียนบทความเกี่ยวกับเรื่องนี้มา 2 ตอนแล้ว
ประสาท มีแต้ม
  1. คำนำ       ภาพที่เห็นคือบริเวณชายหาดชลาทัศน์ อ.เมือง จังหวัดสงขลา (ถ่ายเมื่อพฤศจิกายน 2552) หาดนี้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญมากของชาวเมืองสงขลา อยู่ทางตอนใต้ของหาดสมิหลาที่คนไทยส่วนใหญ่รู้จักดีประมาณหนึ่งกิโลเมตร สิ่งที่เห็นในภาพที่มีถุงทรายสีขาว ยางรถยนต์เก่ายึดด้วยไม้หลักปักทราย รวมทั้งรูปต้นสนล้ม คงสะท้อนทั้งความรุนแรงของปัญหาและความพยายามแก้ปัญหาของผู้ที่เกี่ยวข้องได้เป็นอย่างดี
ประสาท มีแต้ม
1. ความเดิม ในตอนที่ 1 ผมได้นำข้อมูลที่มาจากงานวิจัยของกระทรวงศึกษาธิการที่พบว่า นักเรียนทุกระดับชั้นของประเทศไทย ทั้งระดับ ป.6 , ม.3 และมัธยมปลายมีคะแนนเฉลี่ยไม่ถึงครึ่งทุกวิชา โดยวิชาที่สอบได้คะแนนน้อยที่สุดคือวิชาคณิตศาสตร์ ได้เพียงร้อยละ 29.6 เท่านั้น ในตอนที่ 2 นี้ ผมจะกล่าวถึงปัญหาที่ได้ตั้งไว้ในชื่อบทความ ซึ่งผมคิดว่าน่าจะเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้คุณภาพการศึกษาเราตกต่ำ นอกจากนี้ ผมได้นำเสนอความคิดเห็นและความพยายามของผู้บริหารระดับสูงสุดของมหาวิทยาลัยด้วย
ประสาท มีแต้ม
๑. คำนำ ผมขอเรียนกับท่านผู้อ่าน “ประชาไท” ตามตรงว่า ผมใช้เวลานานมากในการคิดว่าจะเขียนเรื่องอะไรดี เขียนทิ้งเขียนขว้างไปหลายชิ้น ที่เป็นเช่นนี้ส่วนหนึ่งเพราะว่าผมสับสนในตัวเอง ไม่ทราบว่าจะนำเสนออะไรดีให้เข้ากับสถานการณ์บ้านเมือง
ประสาท มีแต้ม
๑. ปัญหาในภาพเล็ก ที่ภาควิชาที่ผมทำงานอยู่คือ ภาควิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กำลังคิดทำโครงการที่จะพัฒนานักศึกษานอกเหนือจากรายวิชาและกิจกรรมเสริมหลักสูตรที่ทำกันอยู่ตามปกติแล้ว โครงการยังไม่เป็นรูปเป็นร่างดีนัก แต่ชื่อโครงการก็ค่อนข้างจะเห็นตรงกันคือ “โครงการรักเจ้าจึงปลูก” ที่มาจากเนื้อเพลง “อิ่มอุ่น” ของ ศุ บุญเลี้ยง
ประสาท มีแต้ม
ที่คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มีวิชาบังคับให้นักศึกษาต้องเรียนอยู่วิชาหนึ่งจำนวน 3 หน่วยกิต ชื่อว่า “วิชาวิทยาเขตสีเขียว (greening the campus)” วัตถุประสงค์หลักของวิชานี้ก็คือ ให้นักศึกษาลุกขึ้นมาศึกษาปัญหาส่วนรวมหรือปัญหาสาธารณะที่อยู่ในวิทยาเขตของตนเอง แต่โดยมากมักจะเน้นไปที่ปัญหาสิ่งแวดล้อม เช่น ปัญหาการจราจร ปัญหาขวดน้ำพลาสติกที่มีมากอย่างไม่น่าเชื่อ ปัญหาการประหยัดพลังงาน และกระดาษ เป็นต้น
ประสาท มีแต้ม
ทั้ง ๆ ที่ประเทศเรากำลังประสบกับวิกฤติหลายด้าน ทั้งความขัดแย้งทางการเมือง วิกฤติเศรษฐกิจ และการแพร่ระบาดของไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 เป็นต้น แต่สื่อกระแสหลักก็ให้ความสำคัญกับข่าวความขัดแย้งในการแต่งตั้งข้าราชการระดับสูงซ้ำแล้วซ้ำเล่า รวมทั้งความขัดแย้งในพรรคร่วมรัฐบาลโดยไม่มีอะไรใหม่สร้างสรรค์ให้กับสังคม
ประสาท มีแต้ม
ในขณะที่กระแสสังคมส่งสัญญาณไม่พอใจกับราคาน้ำมันที่กำลังเพิ่มสูงขึ้นทุกขณะ คณะรัฐมนตรีก็มีมติเห็นชอบตามคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติให้ลดการนำเงินเข้ากองทุนน้ำมันและกองทุนส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานในส่วนของ ดีเซล ลิตรละ 2 บาท
ประสาท มีแต้ม
1. คำนำขณะนี้หลายท่านคงจะรู้สึกกังวลร่วมกันว่า ราคาน้ำมันกำลังมีแนวโน้มจะเพิ่มสูงขึ้นจนอาจถึงหรือสูงกว่าเมื่อกลางปี 2551 (ดูกราฟประกอบ-ต่ำสุดเดือนธันวาคม 2551 ที่ 40 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล จนมาถึงเกือบ 80 ในเดือนสิงหาคมปีนี้)   ซึ่งจะนำความเดือดร้อนมาสู่เรามากน้อยแค่ไหนก็คงพอจะนึกกันออก
ประสาท มีแต้ม
ผมได้รับเชิญจากคณะกรรมาธิการพลังงาน สภาผู้แทนราษฎร เพื่อ"ชี้แจงแสดงความคิดเห็น" เรื่อง ค่าการกลั่นน้ำมันเชื้อเพลิง เมื่อ 1 กรกฎาคม 52 คนนอกที่นอกจากผมแล้วก็มีอีก 6 -7 ท่าน ได้แก่ผู้แทนกระทรวงพลังงาน ผู้แทนบริษัทบางจาก, บริษัท ปตท. นายกสมาคมผู้ค้าน้ำมันแห่งประเทศไทย, คุณรสนา โตสิตระกูล และนักวิชาการปิโตรเลียม เป็นต้น