Skip to main content

 

 

คำนำ

เป็นที่ทราบกันทั่วไปแล้วว่า ขณะนี้สังคมไทยเรากำลังมีความขัดแย้งรุนแรงครอบคลุมเกือบทุกพื้นที่ของประเทศ จนรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้แต่งตั้งคณะกรรมการปฏิรูปขึ้นมาหลายชุด หนึ่งในนั้นคือ คณะกรรมการปฏิรูป (คปร.) โดยมีคุณอานันท์ ปันยารชุน เป็นประธาน

เมื่อกลางเดือนตุลาคมที่ผ่านมา คณะกรรมการชุดนี้ได้จัดเวทีรับฟังความคิดเห็นขึ้น โดยขึ้นคำขวัญซึ่งสะท้อนแนวคิดรวบยอดของการปฏิรูปประเทศไทยว่า 
“ลดอำนาจรัฐ ขจัดความเหลื่อมล้ำ”

ผมเองได้ติดตามชมการถ่ายทอดโทรทัศน์จากรายการนี้ตั้งแต่ต้นจนจบ ได้ทราบถึงเจตนารมณ์ในการรับฟังความคิดเห็น ได้ชมวีดิทัศน์ที่บอกถึง
“ความเหลื่อมล้ำ” ทางการกระจายรายได้ และการถือครองที่ดิน ฯลฯ นอกจากนี้ ผมได้ติดตามแถลงการณ์ของ “กลุ่มเครือข่ายนักกิจกรรมทางสังคมเพื่อประชาธิปไตยและเครือข่ายอีก 37 องค์กร”  พบว่าไม่มีประเด็นที่บทความนี้จะกล่าวถึงแต่อย่างใด

การจะ
“ลดอำนาจรัฐ ขจัดความเหลื่อมล้ำ” ได้ เราจำเป็นจะต้องมีความเข้าใจในกลไกการใช้อำนาจรัฐ และที่มาของความเหลื่อมล้ำกันก่อน
 
ทำไมเราต้องสนใจในกิจการไฟฟ้า

เพราะ
(1) รัฐเป็นผู้ใช้อำนาจในการวางแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าหรือที่ปัจจุบันเรียกว่า “แผนพีดีพี 2010” ที่ใช้ระยะเวลา 20 ปี (จาก 2553 ถึง 2573) เป็นจำนวนถึง 4.22 ล้านล้านบาท เฉลี่ยปีละ 0.21 ล้านล้านบาท คิดเป็นกว่าร้อยละ 10 ของงบประมาณแผ่นดินปี 2554
ปัจจุบัน ไม่มีกระทรวงใดได้รับงบประมาณมากกว่างบลงทุนของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)

(2) นอกจากงบลงทุนเฉลี่ยปีละกว่า 2.1 แสนล้านบาทแล้ว ในแต่ละปี โดยเฉพาะ ในปี 2552 คนในประเทศไทย (ไม่กล้าใช้คำว่า
“คนไทย” เพราะมีชาวต่างชาติที่มาลงทุนได้ใช้ไฟฟ้าในสัดส่วนที่มาก)  ใช้พลังงานไฟฟ้าคิดเป็นมูลค่า 4 แสน 3 หมื่นล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 4.75 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ (หรือเรียกย่อ ๆ ว่าจีดีพีในปี 2552 มีค่าเท่ากับ 9.05 ล้านล้านบาท และเพื่อความเข้าใจง่าย จะขอปัดเป็นตัวเลขกลมๆ คือ ร้อยละ 4.75 เป็น 5 และ 9.05 เป็น 9)
ในขณะที่ย้อนหลังไปถึงปี 2543 ค่าใช้จ่ายค่าไฟฟ้าเป็นเพียง 4.0% ของจีดีพี เท่านั้น

(3)  การตัดสินใจว่า โรงไฟฟ้าใดจะใช้เชื้อเพลิงชนิดใด ย่อมส่งผลกระทบต่อชุมชนทั้งรอบ ๆ โรงไฟฟ้าและต่อภูมิอากาศของโลกต่างกัน   เช่น ถ้าใช้ ก๊าซธรรมชาติ ชีวมวล พลังน้ำขนาดเล็ก และน้ำมันเตา จะเกิดผลกระทบ(หรือต้นทุนภายนอก) คิดเป็น 2.07
, 1.66 , 1.03 และ 7.02  บาทต่อหน่วยไฟฟ้า (ข้อมูลประมาณปี 2548) แต่ถ้าใช้ถ่านหิน ต้นทุนการผลิตจะอยู่ที่ 1.48 บาท แต่ต้นทุนภายนอกจะสูงถึง 7.25 บาท

ด้วยเหตุนี้ ทาง กฟผ. จึงนิยมใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิง โดยอ้างว่าต้นทุนถูก แต่กลับผลักภาระต้นทุนภายนอกไปให้กับชุมชนและชาวโลก

นอกจากนี้ กลุ่มพ่อค้าพลังงานถ่านหินกับกลุ่มธุรกิจกิจการไฟฟ้ามักจะมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด การตัดสินใจดังกล่าวจึงมักจะมีผลประโยชน์ซ้อนทับอยู่เสมอ

(4) จากรายงานประจำปี 2552 ของ กฟผ. พบว่า รายจ่ายค่าเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้าเท่ากับ 104
,808 ล้านบาท ค่าเชื้อเพลิงจำนวนนี้ส่วนใหญ่จ่ายไปเป็นค่าก๊าซธรรมชาติ (ทั้งในอ่าวไทยและพม่า-ซึ่งผลประโยชน์ส่วนใหญ่ตกอยู่กับบริษัทต่างชาติที่ได้สัมปทานขุดเจาะ คนไทยได้ค่าภาคหลวง และภาษีเงินได้ของบริษัทขุดเจาะ)

นอกจากนี้เป็นค่าถ่านหิน (นำเข้าจากต่างประเทศ) เชื้อเพลิงดังกล่าวอยู่ในอำนาจของบริษัทต่างชาติเป็นส่วนใหญ่เช่นเดียวกับก๊าซธรรมชาติ

รายงานฉบับเดียวกันพบว่า พลังงานไฟฟ้าที่ผลิตจากพลังงานหมุนเวียนมีเพียง 1.45% ของพลังงานไฟฟ้าทั้งหมดรวมทั้งที่ซื้อจากต่างประเทศด้วย

คำถามที่อยากชวนให้คิดก็คือ เป็นไปได้ไหมที่เราจะ
“ลดอำนาจรัฐ ขจัดความเหลื่อมล้ำ” ในภาคกิจการไฟฟ้า โดยให้ใช้เชื้อเพลิงจากพลังงานหมุนเวียน (ซึ่งได้แก่ ไม้ฟืน ของเหลือจากการเกษตร ก๊าซชีวมวล ลม แสงอาทิตย์ พลังน้ำขนาดเล็ก) สัก 10% หรือ หนึ่งหมื่นล้านบาท ภายใน 3 ปีข้างหน้านี้

รายได้ที่เกิดจากการใช้เชื้อเพลิงดังกล่าวจะกระจายตัวไปสู่ผู้มีรายได้ ผู้ไม่มีงานทำในชนบทนับแสนคน 
 
จีดีพีกับการกระจายรายได้ และ ความขัดแย้งในสังคมไทย

(1) ถ้าเรานำจีดีพีทั้งหมดมาเฉลี่ยด้วยจำนวนประชากร 65 ล้านคน พบว่าในปี 2552 คนไทย มีรายได้เฉลี่ยต่อคนต่อเดือนเท่ากับ 11
,600 บาท

(2) แต่จากการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติ (อ้างจากปาฐกถา 14 ตุลาคม 2553  ของ ดร. สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ เรื่อง ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจกับประชาธิปไตย) พบว่า  รายได้เฉลี่ยของคนไทยได้ครอบครัวละ 17
,600 บาท ถ้าคิดว่า ครอบครัวละ 3.7 คน ดังนั้นรายได้เฉลี่ยต่อคนเดือนละ 4,800 บาท เท่านั้นเอง

คำถามที่ชวนให้คิดก็คือว่า ควมแตกต่างระหว่างรายได้ที่คิดตามข้อ (1) กับข้อ (2) ซึ่งเท่ากับ 6
,800 บาท นั้นมาจากไหน

ดร. สมเกียรติ ได้ให้ความเห็นว่า ประเทศที่มีความเหลื่อมล้ำสูง การพัฒนาประชาธิปไตยจะเป็นไปได้ยาก ผู้มีรายได้น้อยย่อมมีโอกาสในการไต่เต้าทางสังคมน้อยด้วย อีกทั้งสถานการณ์ในขณะนี้ คนกลุ่มที่มีฐานะทางเศรษฐกิจและสังคมต่ำกว่าต่างเชื่อว่า กลุ่มคนที่มีสถานะทางเศรษฐกิจและสังคมสูงกว่าพยายามปิดกั้นเสรีภาพทางการเมืองของตน ดังนั้นการจะเข้าใจปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองที่เกิดขึ้น ตลอดจนเข้าใจรากเหง้าปัญหาประชาธิปไตยไทยที่ไม่มั่นคงมาโดยตลอด จำเป็นต้องทำความเข้าใจเรื่องความเหลื่อมล้ำ ตลอดจนที่มาของความเหลื่อมล้ำ
 
ความเหลื่อมล้ำในภาคผู้ใช้ไฟฟ้า

(1) จากข้อมูลของการไฟฟ้านครหลวงพบว่า ในปี 2552 ในเขตนครหลวงมีผู้ใช้ไฟฟ้าในส่วนที่เป็นผู้อยู่อาศัยจำนวน 2.05 ล้านราย มีการใช้ไฟฟ้าเฉลี่ยรายละ 351 หน่วยต่อเดือน (รวม 8
, 637.37 ล้านหน่วย)   แต่มีผู้ใช้ไฟฟ้าขนาดใหญ่จำนวนเพียง 1,456 ราย แต่ใช้ไฟฟ้าเฉลี่ยรายละ 835,908 หน่วยต่อเดือน (รวม 14,605 ล้านหน่วย)

นอกจากนี้ยังพบว่า ผู้ใช้ไฟฟ้ารายใหญ่จ่ายค่าไฟฟ้าต่อหน่วยในราคาที่ถูกกว่าผู้ใช้ไฟฟ้ารายย่อยถึง 15%
ทำไมรัฐที่ได้อำนาจมาจากคนยากจนจึงสนับสนุนนักลงทุนต่างชาติแต่กลับเอาเปรียบคนจนที่เป็นเจ้าของประเทศ
ทำไมไม่ปล่อยให้ ผู้ใช้ไฟฟ้าขนาดใหญ่ จัดหาไฟฟ้ามาใช้เอง
 
(2) ถ้าจำแนกผู้ใช้ไฟฟ้าทั่วประเทศพบว่า ผู้อยู่อาศัยใช้ไฟฟ้าเพียง 21% ของประเทศ ในขณะที่ภาคอุตสาหกรรม และภาคบริการใช้ไฟฟ้าถึงร้อยละ 45 และ 25 ตามลำดับ
 
เขาจะสร้างโรงไฟฟ้าให้ใครใช้

จากข้อมูลพบว่า ในปี 2551 คนนครศรีธรรมราชใช้ไฟฟ้ารวมกัน 1,141 ล้านหน่วย (http://www.thaienergydata.in.th/) (1 หน่วย = 1 กิโลวัตต์ชั่วโมง) พลังงานไฟฟ้าจำนวนนี้โรงไฟฟ้าขนาด 174 เมกกะวัตต์สามารถผลิตให้ได้ตลอดไป ไม่ขาด

ถ้าอย่างนั้น ทำไมเขาจึงจะสร้างใหญ่ถึงขนาด 700 เมกกะวัตต์ หรือว่าเขาสร้างให้ชาวจังหวัดพัทลุงและตรังใช้ด้วย จากข้อมูลเดียวกันพบว่า คน 2 จังหวัดนี้ใช้ไฟฟ้ารวมกันเพียง 133 เมกกะวัตต์เท่านั้น

ความต้องการของคนใน 3 จังหวัด (นคร, พัทลุง ตรัง) รวมกันยังไม่ถึงครึ่งหนึ่งของที่เขาจะสร้างใหม่ คือ 700 เมกกะวัตต์  แล้วทำไมเขาจึงสร้างมหึมาขนาดนี้

ยิ่งคิด ก็ยิ่งสงสัยจังหู ฟันธงไปได้เลยว่า เขาจะสร้างไว้รองรับโรงถลุงเหล็ก หรือนิคมอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ฯลฯ

ในขณะที่จำนวนประชากรไทยเพิ่มขึ้นปีละ 0.5% แต่กระทรวงพลังงานกำลังวางแผนจะเพิ่มการผลิตไฟฟ้าปี 6% เขาทำเพื่อใคร
 
ผลิตไฟฟ้าเพื่อการส่งออก

จากข้อมูลที่รวบรวมโดยกระทรวงพลังงานพบว่า มูลค่าการส่งออกในปี 2552 คิดเป็นมูลค่า 5.19 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 57.4 ของจีดีพี
 ถ้าคิดในช่วงหลายปีก็จะอยู่ระหว่าง 65-70% ของจีดีพี

ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ  ในเศรษฐศาสตร์จานร้อน (กรุงเทพธุรกิจ
5 ตุลาคม พ.ศ. 2552) กล่าวว่า “การส่งออกของไทยซึ่งอยู่ที่ระดับ 65-70% ของจีดีพีนั้นไม่ได้หมายความว่า การส่งออกสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับประเทศถึง 2/3 ทั้งนี้ เพราะสินค้าส่งออกหลายรายการต้องนำเข้าวัตถุดิบจากต่างประเทศจำนวนมาก อาทิเช่น การส่งออกสินค้าประเภทอิเล็กทรอนิกส์และแผงวงจรไฟฟ้า ที่นำเข้าชิ้นส่วนมาประกอบในประเทศไทยเพื่อส่งออก ซึ่งนำเข้านั้นประมาณครึ่งหนึ่งเป็นการนำเข้าเพื่อการส่งออก (อีกครึ่งหนึ่งประมาณ 25% ของจีดีพี เป็นการนำเข้าสินค้าเพื่อการผลิตในประเทศ (10% ของจีดีพี) การนำเข้าพลังงาน (10% ของจีดีพี) และการนำเข้าสินค้าเพื่อการบริโภคประมาณ 5-6% ของจีดีพี) ดังนั้น จะพบว่าสัดส่วนของการส่งออกที่สร้างมูลค่าเพิ่มในประเทศไทย น่าจะเท่ากับ 20-30% ของจีดีพีครับ”
 
สรุป

จากที่กล่าวมาแล้วทั้งหมด พอสรุปสั้น ๆ ได้ว่า
(1) รัฐบาลไทยจะนำเข้าถ่านหินซึ่งเป็นเชื้อเพลิงที่สกปรกที่สุดในโลกเข้ามาใช้ เงินไปต่างประเทศ มลพิษทั้งทางอากาศ น้ำ ดิน สารพิษต่อสุขภาพต่าง ๆ ทิ้งไว้ให้คนไทย

(2) ไฟฟ้าที่ได้ใช้ผลิตสินค้าเพื่อการส่งออก วัตถุดิบนำเข้าจากต่างประเทศ
 
(3) ใช้แรงงานต่างชาติ เพราะคนไทยถูกระบบการศึกษาหลอมให้เป็นคนไม่ติดดิน ดูถูกการใช้แรงงาน และทำอะไรไม่เป็น

(4) กระทรวงพลังงานและ กฟผ. ไม่สนใจรากเหง่าของปัญหาความไม่สงบในประเทศไทย ไม่สนใจการปฏิรูปการเมืองที่จั่วหัวว่า
“ลดอำนาจรัฐ ขจัดความเหลื่อมล้ำ”

(5) รัฐบาลไทย ไม่สนใจปัญหาโลกร้อนที่มีสามเหตุมาจากภาคการผลิตไฟฟ้ามากที่สุด
นายอัล กอร์ อดีตรองประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกากล่าวในวันรับรางวัลออสการ์ จากภาพยนต์เรื่อง “ความจริงที่ไม่อาจยอมรับได้” ว่า 
“เพื่อนชาวอเมริกันและเพื่อนร่วมโลก เราจำเป็นต้องแก้ไขวิกฟติภูมิอากาศ มันไม่ใช่ประเด็นการเมือง แต่มันเป็นประเด็นทางศีลธรรม เราจำเป็นจะต้องเริ่มต้น ด้วยความตั้งใจที่จะลงมือแก้ปัญหา”

(6) ปัจจุบันประเทศไทยเรากำลังปล่อยให้คนที่มือสกปรก กำลังทำความสะอาด เช็ดถูบ้านของเรา ยิ่งทำก็ยิ่งสกปรก เลอะมากขึ้นทุกวัน 

พอแล้วยังครับ ที่จะให้คนที่มือสกปรกและมีจิตใจขาดศีลธรรมเหล่านี้เป็นผู้นำ
 
 
 

 

บล็อกของ ประสาท มีแต้ม

ประสาท มีแต้ม
เราเคยสงสัยและตั้งคำถามเสมอมาว่า ทำไมราคาน้ำมันสำเร็จรูป (รวมทั้งราคายางพารา) ในภูมิภาคเอเซียจึงถูกกำหนดจากประเทศสิงคโปร์
ประสาท มีแต้ม
ตลอดช่วงเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ราคาน้ำมันดิบและราคาน้ำมันที่ปั๊มในบ้านเราได้เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง นักวิเคราะห์บางคนคาดการณ์ว่าสิ้นปีนี้ราคาน้ำมันดิบจะสูงถึง 85 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล โดยที่ราคาเมื่อต้นเดือนมิถุนายนได้ขยับจาก 62 ถึง 68 ภายในเวลาเจ็ดวันเท่านั้น
ประสาท มีแต้ม
1. คำนำ บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ข้อ คือ หนึ่ง ให้เห็นตัวเลขค่าใช้จ่ายด้านไฟฟ้าของคนไทยโดยเฉลี่ยซึ่งค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับรายได้ และหากแผนผลิตไฟฟ้าดังกล่าวมีปัญหาแล้วจะส่งผลกระทบต่อผู้ใช้ไฟฟ้าอย่างไร สอง เพื่อเล่าถึงการจัดทำแผนผลิตไฟฟ้าที่ผูกขาดโดย "กลุ่มผู้เชี่ยวชาญ" จำนวนน้อยตลอดมาและจะชี้ให้เห็นถึงบางสิ่งที่ผมคิดว่า "น่าจะไม่ถูกต้อง" สาม หากท่านผู้อ่านได้เห็นปัญหาในข้อสองแล้ว จะได้เห็นความจำเป็นของ "การเมืองภาคประชาชน" ในการตรวจสอบโครงการของรัฐมากขึ้น
ประสาท มีแต้ม
1. คำนำ เพื่อให้ท่านผู้อ่านได้ตัดสินใจว่าจะอ่านบทความนี้ต่อไปหรือไม่ ผมขอนำประเด็นสำคัญมาเสนอก่อน  ประเด็นคือการวางแผนผลิตก๊าซที่ผิดพลาดทำให้คนไทยทุกคนต้องควักเงินในกระเป๋าเพิ่มขึ้น จากรายงานประจำปี 2551 ของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) พบว่า ในปี 2551 บริษัท ปตท. ต้องจ่ายค่า "ไม่ซื้อก็ต้องจ่าย" ก๊าซจากโครงการไทย-มาเลเซีย (ซึ่งเป็นโครงการสร้างความขัดแย้งมาตั้งแต่รัฐบาลชวน หลีกภัย และทักษิณ ชินวัตร จนถึงปัจจุบัน) เป็นจำนวน 13,716 ล้านบาท
ประสาท มีแต้ม
ในขณะที่วิกฤตเศรษฐกิจโลกที่เริ่มต้นจากถนนวอลล์สตรีทในสหรัฐอเมริกากำลังลุกลามไปอย่างรวดเร็วราวกับลาวาภูเขาไฟไปสู่ทุกถนนของโลก ในภาคใต้ของประเทศไทยโดยหน่วยงานของรัฐและการนิคมอุตสาหกรรมก็กำลังดำเนินการให้มีแผนพัฒนาภาคใต้ด้วยโครงการต่าง ๆ มากมาย ทั้งโดยเปิดเผยและแอบแฝง ตัวอย่างของโครงการเหล่านี้ได้แก่ นิคมอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ในจังหวัดนครศรีธรรมราช โครงการอุตสาหกรรมเหล็กต้นน้ำ จังหวัดชุมพรและสุราษฎร์ธานี โครงการขุดเจาะน้ำมันของบริษัทเซฟรอน ที่นครศรีธรรมราช ตลอดจนโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ถึง 3 โรง นอกจากนี้ยังมีนิคมอุตสาหกรรมที่จังหวัดตรัง และท่าเทียบเรือน้ำลึกในจังหวัดสงขลาและอีกหลายจังหวัด…
ประสาท มีแต้ม
  เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2552 กระทรวงพลังงานในฐานะผู้รับผิดชอบหรือจะเรียกว่าผู้จัดทำแผนผลิตไฟฟ้าเองได้จัดรับฟังความคิดเห็นของประชาชนเพื่อปรับปรุง "แผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้า" ในช่วงปี 2551 ถึง 2564 ซึ่งเป็นแผนที่ได้จัดทำไว้ก่อนปี 2551 ในการรับฟังครั้งนี้ก็เพื่อจะได้ปรับปรุงเป็นครั้งที่ 2 สาเหตุที่ต้องปรับปรุงก็เพราะปัญหาเศรษฐกิจถดถอยทั้งในระดับโลกและในระดับประเทศไทยด้วยนักวิชาการอิสระด้านพลังงานที่ไม่ใช่ข้าราชการของกระทรวงพลังงานก็ได้ออกมาแสดงความคิดเห็นที่น่าสนใจหลายอย่าง ขณะเดียวกันกลุ่มชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบจากโรงไฟฟ้าก็ได้ตั้งคำถามพร้อมแผ่นผ้าด้วยข้อความสั้น ๆ แต่เข้าใจง่ายว่า "…
ประสาท มีแต้ม
คำนำ เมื่อธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ประสบปัญหาขายไม่ได้เนื่องจากได้รับผลกระทบจากวิกฤติเศรษฐกิจของโลก นักการเมืองรวมทั้งว่าที่รัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องก็ได้เสนอมาตรการลดหย่อนภาษีค่าโอนบ้าน โดยจะเริ่มต้นตั้งแต่ปี 2552 เป็นต้นไป ผมขออนุญาตไม่แสดงความคิดเห็นในประเด็นดังกล่าวข้างต้น แต่ขอใช้หลักคิดเดียวกันนี้เพื่อตั้งคำถามว่า ทำไมรัฐบาลจึงไม่ใช้มาตรการทางภาษีเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการพืชน้ำมันซึ่งได้แก่ ไบโอดีเซล และแก๊สโซฮอล์ ซึ่งโยงใยเกี่ยวเนื่องกันตั้งแต่เจ้าของโรงงานจนถึงเกษตรกรผู้ปลูกพืชน้ำมัน ( ปาล์มน้ำมัน อ้อย ฯลฯ ) เหล่านี้บ้างเล่า?
ประสาท มีแต้ม
1. คำนำ เมื่อราคาน้ำมันลดลงมาจากลิตรละราว 40 บาทจากเมื่อ 4-5 เดือนก่อนมาอยู่ที่ราว ๆ 20 บาท ทำให้คนไทยเราก็รู้สึกสบายใจ บางคนถึงกับกล่าวว่า “ตอนนี้จะไปไหนมาไหนก็ไม่ค่อยได้คิดมากเหมือนเมื่อก่อนแล้ว” ในยุคที่การเมืองที่เต็มไปด้วยการฉ้อราษฎร์บังหลวง ผู้บริโภคจะพอใจอยู่กับตัวเลขที่อิงอยู่กับความรู้สึกเช่นนี้เพียงอย่างเดียวคงไม่ได้ เราจะต้องลุกขึ้นมาช่วยกันตรวจสอบ ถามหาความความเป็นธรรม ความพอดีอยู่ตลอดเวลา เมื่อพูดถึงความรู้สึกที่สบายใจขึ้นของคนไทยในขณะนี้ ทำให้ผมนึกเรื่อง “นัสรูดิน” ชายชาวอาหรับโบราณที่คนรุ่นหลังยังตัดสินไม่ได้ว่า เขาเป็นคนเฉลียวฉลาดหรือคนโง่กันแน่…
ประสาท มีแต้ม
1. คำนำ ก่อนจะเริ่มต้นเนื้อหา เรามาดูรูปการ์ตูนสนุก ๆ แต่บาดใจและอาจจะบาดตากันก่อนครับ ความหมายในภาพนี้ ไม่มีอะไรมาก นอกจากบอกว่านี่ไงหลักฐานที่พิสูจน์ว่าโลกเราร้อนขึ้นจริง สำหรับภาพนี้บอกว่า ผลการศึกษาพบว่าอุณหภูมิของน้ำในมหาสมุทรสูงขึ้น นักวิชาการ (และนักการเมือง) กำลังระดมกันแก้ปัญหาอย่างขยันขันแข็ง ขอขอบคุณเจ้าของภาพทั้งสองด้วย คราวนี้มาเข้าเรื่องกันครับ ขณะที่โลกของเรากำลังเผชิญกับวิกฤตการณ์ครั้งสำคัญ 4 ด้านพร้อม ๆ กัน คือ (1) วิกฤติภาวะโลกร้อน (2) วิกฤติพลังงานที่ทั้งขาดแคลน ราคาแพง ผูกขาดและก่อวิกฤติด้านอื่น ๆ (3) วิกฤติการเงินที่เพิ่งจะเกิดขึ้นหยก ๆ…
ประสาท มีแต้ม
คำนำ “...เวลานี้สังคมไทยมีอาการป่วยอย่างร้ายที่สุด คือ ป่วยทางปัญญา ขอให้พิจารณาดูเถิด เวลานี้ปัญหาสุขภาวะที่น่ากลัวที่สุดคือ ความป่วยทางปัญญา...” พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตโต) มีนาคม 2551 ท่ามกลางกระแสการคิดค้นเรื่อง “การเมืองใหม่” ซึ่งขณะนี้สังคมบางส่วนเริ่มเห็นภาพราง ๆ บ้างแล้วว่ามันเป็นอย่างไร แต่ยังไม่มีความชัดเจนมากนักว่า สังคมไทยจะก้าวไปสู่สภาพนั้นได้อย่างไร และสมมุติว่าเราสามารถเข้าไปสู่สภาพนั้นได้จริง ๆ แล้ว เราจะรักษาและพัฒนาการเมืองใหม่ให้ดียิ่งๆ ขึ้นไปอีกได้อย่างไร ในที่นี้ ผมจะขออนุญาตนำเสนอหลักการพื้นฐานมาใช้ตอบคำถามดังกล่าว ผมเรียกหลักการนี้ว่า “กฎ 3…
ประสาท มีแต้ม
เมื่อต้นเดือนเมษายน 2551 หนังสือพิมพ์หลายฉบับได้ลงข่าวว่า "พลังงานเผยไทยผลิตน้ำมันดิบสูงกว่าบรูไน คุยทดแทนนำเข้าปีนี้มหาศาล" (ไทยรัฐ 2 เมษายน 2551)    สาเหตุที่ผู้ให้ข่าวซึ่งก็คือข้าราชการระดับสูงของกระทรวงพลังงานได้นำประเทศไทยไปเทียบกับประเทศบรูไน ก็น่าจะเป็นเพราะว่าคนไทยเราทราบกันดีว่าประเทศบรูไนเป็นประเทศส่งออกน้ำมันรายหนึ่งของภูมิภาคนี้ ดังนั้นเมื่อประเทศไทยเราผลิตน้ำมันดิบได้มากกว่าก็น่าจะทำให้คนไทยเราหลงดีใจได้บ้าง  นาน ๆ คนไทยเราจะได้มีข่าวที่ทำให้ดีใจสักครั้ง   หลังจากอ่านข่าวนี้แล้ว ผมก็ได้ค้นหาความรู้เพิ่มเติมจากอินเทอร์เน็ตก็พบว่า…
ประสาท มีแต้ม
1. คำนำ ขณะนี้มีผู้คนจำนวนหนึ่งกำลังครุ่นคิดถึง "การเมืองใหม่" ซึ่งยังไม่เป็นที่แน่ชัดนักว่ามันคืออะไรกันแน่ ทราบแต่ว่า "การเมืองเดิม" ซึ่งก็คือการเมืองแบบตัวแทน (representative democracy) กำลังมีปัญหาหลายอย่างและรุนแรงขึ้นทุกขณะบทความนี้จะนำเสนอความล้มเหลวของ "การเมืองแบบตัวแทน" อย่างสั้นๆ พร้อมกับนำเสนอ "การเมืองแบบไฮเพอร์ (hyperpolitics)" ให้พอเป็นประกายเบื้องต้น หากสังคมนี้สนใจก็มีช่องทางให้ศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมกันต่อไป2. สาเหตุความล้มเหลวของการเมืองแบบตัวแทนเราท่องกันจนขึ้นใจมาตั้งแต่วัยเด็กแล้วว่า สาเหตุสำคัญของการมี "การเมืองแบบตัวแทน" คือเป็นเพราะคนมันเยอะ…