Skip to main content

ผมเองไม่ใช่นักกฎหมาย แต่ได้ให้ความสนใจอย่างจริงจังในประเด็นพลังงานทั้งเรื่อง ปตท. และการไฟฟ้า ทั้งการเคลื่อนไหวเรื่องพลังงานหมุนเวียนมานานกว่า 10 ปี

หลังคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุด (14 ธันวาคม) ในอีก 2 วันทำการต่อมารัฐบาลก็ได้ผ่านมติวิธีการจัดการรวมทั้งการคิดค่าเช่าท่อก๊าซฯให้เป็นไปตามคำพิพากษาของศาล โดยใช้เวลาพิจารณาเพียง 10 นาที สร้างความกังขาให้กับสังคมไทยเป็นอย่างมาก

ประเด็นที่ผมสนใจในที่นี้มี 3 เรื่องดังต่อไปนี้

หนึ่ง คำพิพากษาของศาลฯที่ว่า “การใช้อำนาจมหาชนของรัฐ” ในกรณีการก่อสร้างท่อส่งก๊าซธรรมชาตินั้นควรจะครอบคลุมไปถึงไหน  

ในฐานะที่ไม่ใช่นักกฎหมาย ผมขอสรุปคำวินิจฉัยของศาลปกครองสูงสุดตามความเข้าใจของผมว่า ในขณะที่ ปตท. ยังไม่ได้แปรรูปนั้น  ปตท. มีสถานะเป็นองค์กรของรัฐ   ได้ใช้อำนาจมหาชนของรัฐ ดำเนินกิจการวางท่อก๊าซเพื่อผลประโยชน์ของรัฐ   ในการนี้ ปตท.  ได้ใช้อำนาจดังกล่าวเวนคืนที่ดินของเอกชนจำนวน 32 ไร่  (ซึ่งทางรัฐบาลชุดนี้บอกว่ามีมูลค่า 7 ล้านบาท)  เมื่อสถานะของ ปตท. เปลี่ยนไปเป็นองค์กร “นิติบุคคลเอกชน”   ศาลจึงมีคำวินิจฉัยว่าต้องโอนที่ดินส่วนที่เคยเป็นของเอกชน (และท่อก๊าซที่วางอยู่บนที่ดิน)   กลับไปเป็นของรัฐดังเดิม ให้เหมือนกับก่อนที่  ปตท.  จะแปรรูป

ผมสงสัยว่า  ทำไมรัฐบาลชุดนี้จึงตีความ “อำนาจมหาชนของรัฐ” เฉพาะบนที่ดินของเอกชนดังกล่าวเท่านั้น
ในเมื่อท่อก๊าซได้วางอยู่บนที่ดินของสาธารณะ เช่น ทะเล ป่าไม้ ทางหลวงแผ่นดิน เขตสายส่งไฟฟ้าแรงสูง เป็นต้น

การก่อสร้างทางหลวงแผ่นดิน รัฐบาลก็ได้ใช้ “อำนาจมหาชนของรัฐ” เวนคืนที่ดินของเอกชนมาเหมือนกันโดยเหตุผลเพื่อผลประโยชน์ของสาธารณะ ต่อมาเมื่อมีการวางท่อก๊าซ (เช่นท่อก๊าซไทย-มาเลเซีย)    ทาง ปตท.  ก็ได้ใช้ “อำนาจมหาชนของรัฐ”  ขอวางท่อก๊าซไปตามแนวทางหลวงแผ่นดิน   เมื่อสถานะของ ปตท. เปลี่ยนไปเป็นองค์กร “นิติบุคคลเอกชน” แล้ว สิทธิการใช้ที่ดินแนวทางหลวงแผ่นดินก็น่าจะหมดไปด้วย

การวางท่อก๊าซในทะเล ก็เช่นเดียว  เป็นการใช้ “อำนาจมหาชนของรัฐ” ไปรอนสิทธิ์การทำประมงและการเดินเรือของประชาชนเหมือนกัน   เอกชนรายใดก็ตามไม่สามารถสร้างสิ่งปลูกสร้างลงไปในทะเลหรือแม่น้ำได้ (ตามตัวบทกฎหมายนะครับ)

ในกรณี ท่อก๊าซไทย-พม่า ก็เป็นการใช้ “อำนาจมหาชนของรัฐ”   ใช้ที่ป่าไม้ พื้นที่อนุรักษ์ที่เป็นสมบัติของสาธารณะด้วยเหมือนกัน

เท่าที่ผมทราบ ท่อก๊าซเกือบทุกสายในประเทศไทย ต่างก็วางอยู่บนที่ดินของสาธารณะทั้งสิ้น จะมียกเว้นบ้างก็คือท่อก๊าซจากโรงแยกก๊าซจะนะ ไปยังโรงไฟฟ้าสงขลาที่กำลังก่อสร้างอยู่ในขณะนี้  ท่อก๊าซสายนี้มีการซื้อขายที่ดินเพื่อวางท่อ ไม่ใช่การเวนคืนโดยใช้ “อำนาจมหาชนของรัฐ” แต่อย่างใด

ดังนั้น ผมเข้าใจว่าระบบท่อส่งก๊าซเกือบทั้งหมดจึงควรเป็นของรัฐ  ไม่ใช่เฉพาะที่วางอยู่บนที่ดินที่ได้เวนคืนมาจากเอกชนจำนวน 32 ไร่เท่านั้น  มูลค่าท่อก๊าซที่จะต้องโอนกลับไปเป็นของรัฐไม่ใช่แค่ 14,000 ล้านบาท ตามที่รัฐบาลสรุป แต่น่าจะเป็นท่อก๊าซเกือบทั้งหมดซึ่งมีมูลค่านับแสนล้านบาท

การตีความคำพิพากษาเพียงตื้นๆ ชั้นเดียวแบบนี้ น่าจะไม่ถูกต้องและสร้างความเสียหายอย่างรุนแรงให้แก่รัฐนะครับ

สอง ผมเห็นว่า นับจากวันแปรรูป (ตุลาคม 2544) จนถึงวันที่ศาลตัดสิน (2550) ผลประโยชน์ที่ได้จากกิจการท่อก๊าซ หรือค่าผ่านท่อทั้งหมด หลังจากหักค่าใช้จ่ายแล้วควรจะตกเป็นของรัฐทั้งหมด รวมทั้งค่าเสียโอกาสและค่าดอกเบี้ยย้อนหลังด้วย

ไม่ใช่เป็นการคิดค่าเช่าในอัตรา 5% ของรายได้ ตามที่รัฐบาลชุดนี้มีมติ

ทั้งนี้เพราะ ปตท. (ใหม่) ไม่ทำตามมติของคณะกรรมการนโนบายพลังงานแห่งชาติที่มีมติให้แยกกิจการท่อก๊าซออกมาก่อนการแปรรูป

เรื่องรายได้เกี่ยวกับท่อก๊าซ  บริษัท ปตท. ต้องเปิดเผยข้อมูลทั้งหมดให้สาธารณะได้รับทราบ  อย่างไรก็ตามจากเอกสาร  “คู่มือการคำนวณอัตราค่าผ่านท่อ” ( 7 พฤศจิกายน 2539 สำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ)  ทำให้เราทราบได้ว่า

(1) ปตท. คิดผลตอบแทนการลงทุน (หรือ IRR) ในอัตรา 18% ต่อปี  นักเศรษฐศาสตร์คนหนึ่งให้ความหมายอย่างง่าย ๆ ว่า    ถ้า ปตท. ต้องกู้เงินมาลงทุนในอัตราร้อยละ 18 ต่อปี  กิจการนี้ก็จะคุ้มทุนพอดี  แต่ถ้ากู้มาในอัตราที่น้อยกว่า เช่น  ถ้ากู้เงินมาในอัตราดอกเบี้ย 8%ต่อปี ก็หมายความว่า ปตท. มีกำไร 10% โดยประมาณ แล้วในความเป็นจริง ปตท. กู้เงินมาลงทุนในอัตราเท่าใดกันแน่ และใช้เงินลงทุนของตนเองจำนวนกี่เปอร์เซ็นต์  เรื่องนี้ต้องตรวจสอบได้  เท่าที่ผมทราบ ปตท. มักใช้เงินลงทุนของตนเองประมาณ 25%

(2) จากคู่มือดังกล่าว ทำให้สามารถคำนวณได้ว่าในปี 2539 มูลค่าก๊าซที่ผ่านท่อทั้ง 3 โซนมีจำนวน 24,003 ล้านบาท  ปตท. ได้ค่าผ่านท่อทั้งหมด 6,646 ล้านบาท หรือพอประมาณได้ว่า ปตท.คิดค่าผ่านท่อในอัตรา 28% ของมูลค่าก๊าซที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยเป็นผู้จ่ายปลายทาง

(3) จากข้อมูลในเว็บไซต์ของกระทรวงพลังงานพบว่า ในช่วงหลังการแปรรูป (ตุลาคม 2544 ถึง 2550)  มูลค่าก๊าซทั้งหมดประมาณ 3.5 แสนล้านบาท  ถ้าคิดค่าผ่านท่อในอัตรา 28% ของมูลค่าก๊าซ ค่าผ่านท่อก็ประมาณ  98,000  ล้านบาท

ค่าผ่านท่อจำนวนนี้ เมื่อหักค่าใช้จ่ายร้อยละ 3 ของเงินลงทุนโครงการ และค่าอื่นๆ แล้วที่เหลือควรจะตกเป็นของรัฐทั้งหมด ในโทษฐานที่ ปตท. เบี้ยวมติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติที่ให้แยกกิจการท่อก๊าซออกมาก่อนตั้งแต่ต้น

สาม ผมเห็นว่า เมื่อระบบท่อก๊าซ (เกือบทั้งหมด) ตกเป็นของรัฐ ตามเหตุผลที่กล่าวแล้ว รัฐจึงควรจะต้องจัดตั้งคณะกรรมการกำกับดูแล ขึ้นมา  คราวนี้รัฐบาลมีอำนาจต่อรองในการหาผู้เช่ารายใหม่และการคิดค่าเช่าด้วย คงไม่ใช่ร้อยละ 5 ตามที่ “รัฐบาลขิงแก่” ได้อนุมัติไปแล้ว ผมคิดว่ากระทรวงการคลังอาจจะให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (องค์กรนิติบุคคลมหาชนของรัฐ) เช่าก็ได้ เพราะเป็นผู้รับซื้อก๊าซปลายทางอยู่แล้ว

จากการศึกษาของกลุ่มพลังไทยพบว่า ทุกๆ หนึ่งร้อยบาทที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตขายไฟฟ้าได้เงินจะเข้าสู่ ปตท. ประมาณ 43 บาท ในจำนวนนี้เป็นค่าผ่านท่อเสียประมาณ 12 บาท (ตามข้อมูลข้างต้นที่กล่าวแล้ว)

เราคงจำกันได้ในกรณีที่ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ตอนนั้นมีการเสนอแยกเขื่อนออกมาเป็นสมบัติของกระทรวงการคลัง (เหมือนกับการแยกท่อส่งก๊าซออกจากกิจการ ปตท. ในตอนนี้)  แล้วให้บริษัท กฟผ. จำกัด (ที่กำลังจะแปลงร่างเป็นองค์กรนิติบุคคลเอกชนในขณะนั้น) เป็นผู้เช่า

ที่น่าเศร้าแต่ไม่น่าแปลกใจก็คือ มีการเสนอค่าเช่าเขื่อนในราคาที่คิดออกมาแล้วไร่ละไม่กี่บาทต่อปี

คราวนี้สังคมไทยจะต้องหาวิธีการป้องกันอย่างไรไม่ให้เหตุการณ์เช่นนั้นต้องเกิดขึ้นมาอีก มาวันนี้สังคมไทยต้องตั้งคำถามบ้างแล้วละครับว่า ในปัจจุบันมีธุรกิจใดบ้างที่มีผลตอบแทนสูงถึง 18% ต่อปี

เพื่อนฝูงผมคนหนึ่งที่ทำธุรกิจคอมพิวเตอร์บอกว่า หากได้ผลตอบแทนถึง 5 % ก็นับว่าดีมากแล้ว

กิจการ ปตท. เป็นกิจการผูกขาดแล้วยังมากำหนดผลตอบแทนสูงถึงขนาดนี้ มันผิดทั้งหลักธรรมาภิบาลและผิดทั้งคุณธรรมอย่างน่าละอายมาก

ก่อนการแปรรูป ปตท. มีกำไรปีละไม่ถึง 2 หมื่นล้านบาท แต่ในช่วงหลังนี้ ปตท. กลับมีกำไรสูงถึงเกือบ 1 แสนล้านบาทต่อปี ท่ามกลางความเดือดร้อนของประชาชนที่ต้องซื้อพลังงานในราคาแพง  ระวังนะครับ ถ้าทุกอย่างยังเป็นเช่นนี้ต่อไป สักวันหนึ่งสังคมไทยจะทนไม่ไหว

 

บล็อกของ ประสาท มีแต้ม

ประสาท มีแต้ม
เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2551 สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ได้จัดเวทีเสวนาเรื่อง "9 คำถามคาใจ กรณี ปตท." ซึ่งเป็นประเด็นที่ประชาชนให้ความสนใจมาหลายปีนับตั้งแต่การแปรรูปเมื่อเดือนตุลาคมปี 2544 เวทีเสวนาประกอบด้วย ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่สื่อสารองค์กรและกิจการเพื่อสังคม  บมจ. ปตท. (คุณสรัญ รังคสิริ)  เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค (คุณสารี อ๋องสมหวัง) ดำเนินรายการโดยคุณวันชัย ตันติวิทยาพิทักษ์  บรรณาธิการนิตยสารสารคดี นอกจากนี้ยังมีนักวิชาการและประธานกรรมการบริหารบริษัทหลักทรัพย์ภัทรด้วย นักข่าวของ “ประชาไท” รายงานว่า “…
ประสาท มีแต้ม
นายทหารยศพันตรีท่านหนึ่ง (พ.ต.รัฐเขต แจ้งจำรัส) ได้ออกมาให้ข้อมูลกับประชาชนผ่านเวทีพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยว่า “ปิโตรเลียมซึ่งได้แก่น้ำมันและก๊าซธรรมชาติใต้แผ่นดินไทยทั้งบนบกและในทะเลทั้งหมดมีมูลค่าถึง 100 ล้านล้านบาท” เงินจำนวน 100 ล้านล้านบาท(ล้านสองครั้ง)นี้ ถ้าเอามาจัดสรรเป็นงบประมาณแผ่นดินในปีปัจจุบันก็จะได้ประมาณ 62 ปี เพราะงบประมาณปีหน้า (2552) มีประมาณ 1.6 ล้านล้านบาท ข้อมูลที่นายทหารผู้นี้นำเสนอล้วนเป็นข้อมูลของทางราชการที่เข้าใจยาก กระจัดกระจาย แต่ท่านได้นำมารวบรวม วิเคราะห์ แล้วสรุปให้ประชาชนธรรมดาสามารถเข้าใจได้ง่าย…
ประสาท มีแต้ม
1. ความเดิม จากปัญหาที่ผู้บริหารทั้งระดับผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่และผู้จัดการใหญ่ของ บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) “อ้าง” หลายครั้งหลายวาระด้วยกันว่า ก๊าซหุงต้มในประเทศไทยขาดแคลน ทาง บริษัท ปตท. จึงได้ออกมาบอกกับสาธารณะในสามประเด็นหลัก คือ (1) เสนอแนะให้รัฐบาลขึ้นราคาหรือลอยตัวราคาก๊าซหุงต้มให้เท่ากับราคาตลาดโลก(2) ในเดือนเมษายนที่ผ่านมาทาง ปตท. ได้นำเข้าก๊าซหุงต้มหรือแอลพีจีแล้วจำนวน2 หมื่นตัน ขณะเดียวกันผู้บริหารระดับสูงสุดอ้างว่าในปีนี้จะมีการนำก๊าซถึง 4 แสนตัน (3) ราคาก๊าซหุงต้มในตลาดโลกตันละเกือบพันเหรียญสหรัฐ แต่ราคาก๊าซในประเทศอยู่ที่ตันละประมาณ 300 เหรียญ…
ประสาท มีแต้ม
1. ประเด็นปัญหา ขณะนี้ บริษัท ปตท. ได้บอกกับประชาชนว่าก๊าซหุงต้มหรือที่เรียกกันในวงการว่าก๊าซแอลพีจี (Liquefied petroleum gas) ในประเทศไทยกำลังขาดแคลน และได้แนะนำให้รัฐบาลขึ้นราคาก๊าซชนิดนี้ โดยเฉพาะที่ใช้กับรถยนต์ส่วนบุคคลและรถยนต์แท็กซี่ (นายณัฐชาติ จารุจินดา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ บมจ. ปตท. ให้สัมภาษณ์ผ่านรายการ Hard Topic ทาง Money Channel , 7 กรกฎาคม 2551) นอกจากนี้นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท.กล่าวว่า “ความต้องการใช้ก๊าซหุงต้ม (แอลพีจี) ที่เพิ่มขึ้น ทำให้ปีนี้ต้องนำเข้าแอลพีจี 4 แสนตัน” (ไทยรัฐ 11 กรกฎาคม 2551)
ประสาท มีแต้ม
1. คำนำและปัญหา ขณะนี้ได้มีการเรียกร้องให้สังคมมาร่วมกันสร้าง “การเมืองใหม่” บทความนี้จะยังไม่เสนอกระบวนการที่จะนำไปสู่การเมืองใหม่ แต่จะมองว่าการเมืองใหม่ควรจะมีหน้าตาเป็นอย่างไร พร้อมนำเสนอตัวอย่างที่เป็นจริงเพื่อให้เราได้เห็นทั้งแนวคิดและหน้าตาของการเมืองใหม่ชัดเจนขึ้น สังคมในการเมืองใหม่ควรจะเป็นสังคมที่ ผู้คนมีศักดิ์ศรี พึ่งตนเองได้ ทุกคนมีงานทำ มีความสุข การบริหารบ้านเมืองต้องโปร่งไส ตรวจสอบได้และ ปราศจากการคอร์รัปชัน ในที่นี้จะขอนำเสนอนโยบายและรูปธรรมด้านพลังงาน ทั้งนี้เพราะเรื่องพลังงานเป็นเรื่องใหญ่มาก กล่าวคือทุกๆ 100 บาทของรายได้ของคนไทย ต้องจ่ายไปกับค่าพลังงานถึง 18 บาท…
ประสาท มีแต้ม
ในขณะที่คนทั่วโลกกำลังเดือดร้อนกับราคาน้ำมันที่พุ่งสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์  แต่ผลกำไรของบริษัทน้ำมันขนาดยักษ์ของโลกกลับเพิ่มสูงขึ้นกว่าปีที่ผ่านมา มันช่างฝืนความรู้สึกในใจของมนุษย์ธรรมดาๆ ที่คิดว่า “เออ! เมื่อสินค้าราคาสูงขึ้น เขาน่าจะลดกำไรลงมามั่ง เพื่อไม่ให้ผู้บริโภคเดือดร้อนมากนัก”   แต่มันกลับเป็นตรงกันข้าม คือเพิ่มกำไรมากกว่าเดิม  โดยไม่สนใจใยดีกับเพื่อนร่วมโลกในขณะที่ผู้มีรายได้น้อยอย่างกรรมกรได้สะท้อนออกมาในวันแรงงานแห่งชาติว่า “ค่าครองชีพแพง แต่ค่าแรงเท่าเดิม”บทความนี้จะนำเสนอทั้งข้อมูลและความคิดเห็นใน 4 เรื่องต่อไปนี้ คือ (1)…
ประสาท มีแต้ม
๑.คำนำเมื่อ ๗ ปีก่อน  คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้คิดวิชาใหม่ขึ้นมาหนึ่งรายวิชา หากคำนึงถึงแนวคิด เนื้อหาและกระบวนการเรียนการสอนแล้ว อาจถือว่าได้วิชานี้เป็นวิชาแรกในประเทศไทยก็น่าจะได้  ผมจึงอยากจะเล่าให้ท่านผู้อ่านที่เป็นผู้จ่ายภาษีมาตลอดได้รับทราบครับ ด้วยขั้นตอนตามระเบียบของมหาวิทยาลัย เราได้เริ่มลงมือเปิดสอนจริงเมื่อ ๓ ปีมาแล้ว รายวิชานี้ชื่อว่า “วิทยาเขตสีเขียว (Greening the Campus)”  เป็นวิชาบังคับสำหรับนักศึกษาชั้นปีที่สามทุกคน เรื่องที่จะนำมาเล่าอย่างสั้นๆ นี้ ได้แก่ แนวคิด เนื้อหา กระบวนการเรียนการสอน  สิ่งที่นักศึกษาค้นพบและร่วมผลักดันขยายผล…
ประสาท มีแต้ม
ผมว่างเว้นจากการเขียนบทความมานานกว่าสองเดือนแล้ว จนอันดับบทความของผมที่เรียงตามเวลาที่เขียนในเว็บไซต์ “ประชาไท” ตกไปอยู่เกือบสุดท้ายของตารางแล้ว สาเหตุที่ไม่ได้เขียนเพราะผมป่วยเป็นโรคที่ทันสมัยคือ “โรคคอมพิวเตอร์กัด” ครับ มันมีอาการปวดแสบปวดร้อนไปทั่วทั้งหลัง พอฝืนทนเข้าไปทำงานอีกไม่เกินห้านาทีก็ถูก “กัด” ซ้ำอีก ราวกับมันมีชีวิตแน่ะที่นำเรื่องนี้มาเล่าก่อนในที่นี้ไม่ใช่อยากจะเล่าเรื่องส่วนตัว แต่อยากนำประสบการณ์ที่ผิดๆ ของผมมาเตือนท่านผู้อ่านโดยเฉพาะคนที่อยู่ในวัยหนุ่มสาว ท่านผู้อ่านที่สนใจจะเก็บเรื่องของผมไปเป็นบทเรียน…
ประสาท มีแต้ม
ผมเองไม่ใช่นักกฎหมาย แต่ได้ให้ความสนใจอย่างจริงจังในประเด็นพลังงานทั้งเรื่อง ปตท. และการไฟฟ้า ทั้งการเคลื่อนไหวเรื่องพลังงานหมุนเวียนมานานกว่า 10 ปีหลังคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุด (14 ธันวาคม) ในอีก 2 วันทำการต่อมารัฐบาลก็ได้ผ่านมติวิธีการจัดการรวมทั้งการคิดค่าเช่าท่อก๊าซฯให้เป็นไปตามคำพิพากษาของศาล โดยใช้เวลาพิจารณาเพียง 10 นาที สร้างความกังขาให้กับสังคมไทยเป็นอย่างมากประเด็นที่ผมสนใจในที่นี้มี 3 เรื่องดังต่อไปนี้หนึ่ง คำพิพากษาของศาลฯที่ว่า “การใช้อำนาจมหาชนของรัฐ” ในกรณีการก่อสร้างท่อส่งก๊าซธรรมชาตินั้นควรจะครอบคลุมไปถึงไหน  ในฐานะที่ไม่ใช่นักกฎหมาย…
ประสาท มีแต้ม
เรื่องราวที่ผมจะนำมาเล่าในที่นี้  ไม่ใช่เรื่องเทคนิคทางไฟฟ้า ไม่ใช่เรื่องการประหยัดพลังงานไฟฟ้าเพียงอย่างเดียว  แต่เป็นเรื่องของประสบการณ์การทำงานเชิงสังคมที่น่าสนใจของตัวผมเอง  ผมคิดว่าเรื่องนี้มีคุณค่าพอที่ผู้อ่านทั่วไปตลอดจนกลุ่มเพื่อนพ้องที่มุ่งมั่นทำงานเพื่อสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกระบวนการสีเขียว เพื่อสิ่งแวดล้อม เพื่อความเป็นธรรมและเพื่อนสันติภาพของโลก  จริงๆนะครับ ผมไม่ได้โม้ผมขอเริ่มเลยนะครับเราเคยสังเกตไหมครับว่า สวิทซ์ไฟฟ้าในที่ทำงานของเรา โดยเฉพาะที่เป็นสถานที่ราชการ เวลาเราเปิดสวิทซ์ ไฟฟ้าจะสว่างไปหลายดวง หลายจุดเป็นแถบๆ  ยิ่งเป็นที่สาธารณะ เช่น สำนักงาน…
ประสาท มีแต้ม
1. ความในใจผมขอพักเรื่องนโยบายสาธารณะด้านพลังงานซึ่งเป็นเรื่องใหญ่และสำคัญมากๆ สำหรับประเทศไทยและชาวโลกไว้ชั่วคราวครับ  ในบทความนี้ผมขอนำเรื่องภายในมหาวิทยาลัยที่ผมทำงานอยู่มาเล่าสู่กันฟังมันไม่ใช่เรื่องไกลตัวสำหรับผู้อ่าน  แต่มันสะท้อนให้เห็นถึงปัญหาในระบบราชการไทยที่ไม่ยอมเปลี่ยนแปลงแม้ว่าสถานการณ์ได้เปลี่ยนไปมากแล้ว  นอกจากนี้ผมมีเรื่องวิชาใหม่ที่คาดว่าเป็นวิชาแรกในประเทศไทยคือวิชา “ชุมชนมหาวิทยาลัยสีเขียว (Greening the campus)”…
ประสาท มีแต้ม
การแปรรูป ปตท. คือการปล้นประชาชน! ในช่วง ๓-๔ ปีที่ผ่านมา ในขณะที่ประชาชนชาวไทยทั้งประเทศกำลังเดือดร้อนกับราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้นเกือบสองเท่าตัว แต่บริษัทน้ำมันต่างๆในประเทศไทยกลับมีกำไรเพิ่มสูงขึ้นมากกว่านั้นในบทนี้ จะกล่าวถึงกิจการของบริษัท ปตท. จำกัดมหาชน และบริษัทอื่นๆบ้าง โดยย่อๆ เป็นข้อๆ ดังต่อไปนี้๑. บริษัท ปตท. จำกัด มหาชน ได้แปรรูปมาจาก การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย เมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๔  ตอนเริ่มต้นการแปรรูป กระทรวงการคลังถือหุ้น ๖๙% ปัจจุบันเหลือเพียง ๕๒.๔๘%ดังนั้น กำไรของ ปตท. ซึ่งเดิมเคยตกเป็นของรัฐทั้งหมด ๑๐๐% ก็จะเหลือเพียงตามสัดส่วนที่รัฐถือหุ้น  คงจำกันได้นะครับว่า หุ้น ปตท…