Skip to main content
 
 
ขณะนี้รัฐบาลกำลังคิดค้นโครงการประชานิยมหลายอย่าง คาดว่าจะประกาศรายละเอียดภายในต้นปี 2554   ทั้งนี้เพื่อรองรับการเลือกตั้งใหญ่ที่จะเกิดขึ้นในช่วงปลายปี


ทำไปทำมานโยบายประชานิยมที่เริ่มต้นอย่างประปรายตั้งแต่รัฐบาลคึกฤทธิ์ ปราโมช (2518) และเริ่มเข้มข้นมากขึ้นในรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร จะเป็นสิ่งที่มิอาจหลีกเลี่ยงได้เสียแล้ว

บทความนี้จะกล่าวถึงนโยบายประชานิยมในเรื่องค่าไฟฟ้าสำหรับผู้อยู่อาศัยที่ใช้ไฟฟ้ารายย่อยไม่เกิน 90 หน่วยต่อเดือน โครงการนี้เกิดในสมัยรัฐบาลสมัคร สุนทรเวช (2551) และใช้ต่อกันมาจนถึงรัฐบาลปัจจุบันและในอนาคตด้วย

ผมได้มีโอกาสคุยกับผู้ใช้ไฟฟ้ารายย่อยในชนบท สองราย พบว่าแต่ละรายใช้ไฟฟ้าเกิน 90 หน่วยไปเพียงเล็กน้อย  เมื่อเป็นดังนี้ ผู้ใช้ต้องจ่ายทั้งหมด เช่น ใช้ไป 112 หน่วย ก็ต้องจ่ายทั้งหมด 112 หน่วย ไม่ใช่เฉพาะส่วนที่เกินจาก 90 หน่วยเท่านั้น

ค่าไฟฟ้าสำหรับ 112 หน่วย คิดเป็นเงิน 350 บาท (ในจำนวนนี้เป็นค่าเอฟทีหน่วยละ 92 สตางค์หรือ 103.04 บาท และภาษีมูลค่าเพิ่ม 22.89 บาท หมายเหตุ ในเดือนตุลาคม 2550 ค่าเอฟทีหน่วยละ 66 สตางค์) ผู้ใช้ไฟฟ้าทั้งสองต่างบ่นเป็นเสียงเดียวกันว่า “เงิน 350 บาทนี้ไม่น้อยเลยเมื่อเทียบกับเงินสงเคราะห์ผู้สูงอายุคนละ 500 บาทต่อเดือน”

จากการพูดคุยดังกล่าวจึงเกิดเป็นโจทย์ให้ต้องขบคิดว่า “จะต้องใช้ไฟฟ้าอย่างไร จึงไม่เกิน 90 หน่วย” เราจึงเริ่มต้นด้วยการสำรวจเครื่องใช้ไฟฟ้าและกำลังของแต่ละชนิด        

เครื่องใช้ไฟฟ้าที่จำเป็น ได้แก่ หลอดไฟฟ้า (หลอดละ
18 วัตต์) หม้อหุงข้าว (750 วัตต์) โทรทัศน์สี (120 วัตต์) พัดลมตั้งโต๊ะ (50 วัตต์) ตู้เย็น (125 วัตต์ ขนาด 7 คิว ใช้ไฟฟ้าเดือนละ 37 หน่วย) เครื่องซักผ้า (330 วัตต์) เตารีดผ้า (1,200 วัตต์) กระติกต้มน้ำ (750 วัตต์) และเครื่องบดเครื่องแกง (140 วัตต์)

พลังงานไฟฟ้าที่ใช้อยู่ประจำคือตู้เย็นเดือนละ
37 หน่วย ดังนั้น สิ่งที่เราจะต้องจัดการก็คือเครื่องใช้ไฟฟ้าที่เหลือตามรายการดังกล่าวรวมกันต้องไม่เกินเดือนละ 53 หน่วย

ความรู้พื้นฐานที่ใช้ในการคิดพลังงานไฟฟ้าดังกล่าวก็คือ คำว่า
“ไฟฟ้า 1 หน่วย” นั้นคิดจากอะไร

ไฟฟ้าหนึ่งหน่วยคือพลังงานไฟฟ้าที่เราเปิดเครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดรวมกันหนึ่งพันวัตต์ให้ทำงานนานหนึ่งชั่วโมง  ในทางวิชาการเขาเอากำลังของเครื่องใช้ไฟฟ้าคูณกับจำนวนชั่วโมงที่เปิดใช้

เช่น ถ้ารีดผ้านานหนึ่งชั่วโมง เราต้องใช้พลังงานไฟฟ้าเท่ากับ
1200 วัตต์ชั่วโมง (หรือ 1,200 คูณด้วย 1 ชั่วโมงเท่ากับ 1,200 วัตต์ชั่วโมง หรือ  1.2 หน่วย)  ถ้าเรารีดนาน 3 ชั่วโมง จะต้องใช้พลังงาน 3.6 หน่วย (หรือ 1,200 คูณด้วย 3 เท่ากับ 3,600 วัตต์ชั่วโมง หรือ  3.6 หน่วย โดยที่หนึ่งหน่วยก็คือ 1,000 วัตต์ชั่วโมง)

จากนั้นเราลองสร้างตารางพลังงานไฟฟ้าที่ใช้รวมกันในแต่ละเดือน โดยพยายามคิดให้ใกล้เคียงความจริงมากที่สุด ได้ดังตารางข้างล่างนี้
 
ประเภท
ใช้นาน(นาที) ต่อวัน
ใช้นาน(ชั่วโมง)ต่อเดือน
พลังงานไฟฟ้า (หน่วย)
หม้อหุงข้าว(750 วัตต์)
80 นาที
40
30
โทรทัศน์สี (120 วัตต์)
180 นาที
90
10.8
หลอดละ 18 วัตต์ 2 หลอด
240 นาที
120
4.3
เครื่องซักผ้า (330 วัตต์)
 
6
1.98
พัดลมตั้งโต๊ะ (50 วัตต์)
120
60
3.0
กระติกต้มน้ำ (750 วัตต์)
30 นาที
15
11.25
เตารีดผ้า (1,200 วัตต์)
 
2
2.4
บดเครื่องแกง  (140 วัตต์)
 
8
1.12
รวม
 
 
64.85
 
จากตารางเราพบว่า พลังงานไฟฟ้าจะเกินที่รัฐบาลกำหนดให้ใช้ฟรีไปถึง 11.85 หน่วย

แม้ว่าจะเกินมาเพียง
11.85 หน่วย แต่รัฐบาลต้องให้เราจ่ายทั้งหมดตั้งแต่หน่วยแรก ถ้าเราไม่อยากจ่ายเงินจำนวนนี้เราก็ต้องมาช่วยกันลดลงมาให้อยู่ในเกณฑ์ที่รัฐบาลกำหนด

บ้านที่ผมคุยด้วยจะต้มน้ำด้วยกระติกไฟฟ้าเพื่อชงกาแฟวันละสองครั้งคือเช้ากับกลางคืน ผมจึงได้แนะนำไปว่า ถ้าอย่างนั้นก็อย่าต้มน้ำด้วยไฟฟ้าอีก แต่ให้ต้มด้วยแก๊สหุงต้มแทน โดยปกติบ้านหลังนี้จะใช้แก๊สหุงต้มเดือนละประมาณ
100 บาท  ดังนั้น ถ้าเราต้มน้ำเพิ่มขึ้นอีกเล็กน้อย ค่าแก๊สก็เพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย  ต่างกับเรื่องค่าไฟฟ้าอย่างสิ้นเชิง

แม้ว่า เราได้เปลี่ยนการใช้ดังกล่าวแล้ว พลังงานไฟฟ้าก็ยังเกินเกณฑ์มาอีก
0.6 หน่วย   ดังนั้นเราต้องลดการใช้อย่างอื่นอีก เช่น ลดการรีดผ้าลงจากเดือนละ 2 ชั่วโมงให้เหลือเพียง 1 ชั่วโมง (โดยปกติชาวชนบทไม่นิยมรีดอยู่แล้ว) ก็จะสามารถลดลงมาได้อีก 1.2 หน่วย

ถ้าทุกอย่างแม่นจำตามนี้จริง เราก็ใช้ไฟฟ้าเพียงเดือนละ
89.4 หน่วยเท่านั้น นั่นคือเราไม่ต้องจ่ายค่าไฟฟ้าเลย  อย่างไรก็ตาม เพื่อความไม่ประมาท เราควรจะอ่านและจดมิเตอร์ทุก 10 วัน หากการใช้เกิน 30 หน่วยในแต่ละครั้ง เราก็ลดการใช้ลงมาให้อยู่ในเกณฑ์ให้ได้   ถ้าจำเป็นเราอาจต้องหุงข้าววันละครั้ง โดยอีกสองมื้อที่เหลือเราก็แค่อุ่นข้าวเย็นให้ร้อนก็ต้องยอม

ผมไม่ทราบข้อมูลว่า มีผู้ใช้ไฟฟ้าจำนวนกี่รายที่ได้รับประโยชน์จากโครงการนี้ แต่ข้อมูลต่อไปนี้พอจะทำให้เราทราบอย่างคร่าว ๆ ได้

จำนวนผู้ใช้ไฟฟ้าทั้งประเทศมีทั้งหมด
14 ล้านราย (หรือมิเตอร์) ร้อยละ 73 (หรือ 10.2 ล้านราย)ใช้ไฟฟ้ารวมกันเพียง  8% ของทั้งประเทศ (ปี 2552 ทั้งประเทศใช้ 134,793 ล้านหน่วย) จากข้อมูลนี้เราสามารถคำนวณได้ว่า โดยเฉลี่ยแล้วผู้อยู่อาศัยใช้ไฟฟ้าเดือนละ 88 หน่วย  ดังนั้นผู้ที่ได้รับประโยชน์จากโครงการนี้น่าจะอยู่ที่ 6 ถึง  7 ล้านราย คิดเป็นรายได้ที่รัฐของเสียไปประมาณ 1,700 ล้านบาทต่อเดือน

โครงการนี้ทำให้ผู้ใช้ไฟฟ้ารายย่อยได้รับประโยชน์ถึงประมาณ
6 ถึง 7 ล้านราย (หรือ 18 ถึง 20 ล้านคน) ก็จริง   แต่ยังมีผู้ยากไร้อีกจำนวนมากที่ไม่มีมิเตอร์ของตนเองและต้องจ่ายค่าไฟฟ้าแพงกว่าอัตราปกติเพราะต้องพ่วงสายไฟฟ้ามาจากบ้านอื่น คนกลุ่มนี้ไม่ได้รับประโยชน์ใด ๆ จากโครงการประชานิยมนี้เลย

อย่างไรก็ตาม แนวคิดการบริหารจัดการไฟฟ้าภายในบ้านของตนเองไม่ให้เกินเดือนละ
90 หน่วย ตามที่บทความนี้ได้เสนอไปแล้ว นอกจากช่วยให้ประหยัดเงินของตนแล้ว  ยังช่วยลดการปล่อยก๊าซที่ทำให้โลกร้อนได้อีกด้วย ดังนั้นถึงไม่สนับสนุนนโยบายประชานิยมของรัฐบาลก็ต้องสนับสนุนและส่งเสริมให้ชาวบ้านใช้ไฟฟ้าให้น้อยลง โอเคนะครับ
 
 
 

 

บล็อกของ ประสาท มีแต้ม

ประสาท มีแต้ม
เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2551 สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ได้จัดเวทีเสวนาเรื่อง "9 คำถามคาใจ กรณี ปตท." ซึ่งเป็นประเด็นที่ประชาชนให้ความสนใจมาหลายปีนับตั้งแต่การแปรรูปเมื่อเดือนตุลาคมปี 2544 เวทีเสวนาประกอบด้วย ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่สื่อสารองค์กรและกิจการเพื่อสังคม  บมจ. ปตท. (คุณสรัญ รังคสิริ)  เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค (คุณสารี อ๋องสมหวัง) ดำเนินรายการโดยคุณวันชัย ตันติวิทยาพิทักษ์  บรรณาธิการนิตยสารสารคดี นอกจากนี้ยังมีนักวิชาการและประธานกรรมการบริหารบริษัทหลักทรัพย์ภัทรด้วย นักข่าวของ “ประชาไท” รายงานว่า “…
ประสาท มีแต้ม
นายทหารยศพันตรีท่านหนึ่ง (พ.ต.รัฐเขต แจ้งจำรัส) ได้ออกมาให้ข้อมูลกับประชาชนผ่านเวทีพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยว่า “ปิโตรเลียมซึ่งได้แก่น้ำมันและก๊าซธรรมชาติใต้แผ่นดินไทยทั้งบนบกและในทะเลทั้งหมดมีมูลค่าถึง 100 ล้านล้านบาท” เงินจำนวน 100 ล้านล้านบาท(ล้านสองครั้ง)นี้ ถ้าเอามาจัดสรรเป็นงบประมาณแผ่นดินในปีปัจจุบันก็จะได้ประมาณ 62 ปี เพราะงบประมาณปีหน้า (2552) มีประมาณ 1.6 ล้านล้านบาท ข้อมูลที่นายทหารผู้นี้นำเสนอล้วนเป็นข้อมูลของทางราชการที่เข้าใจยาก กระจัดกระจาย แต่ท่านได้นำมารวบรวม วิเคราะห์ แล้วสรุปให้ประชาชนธรรมดาสามารถเข้าใจได้ง่าย…
ประสาท มีแต้ม
1. ความเดิม จากปัญหาที่ผู้บริหารทั้งระดับผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่และผู้จัดการใหญ่ของ บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) “อ้าง” หลายครั้งหลายวาระด้วยกันว่า ก๊าซหุงต้มในประเทศไทยขาดแคลน ทาง บริษัท ปตท. จึงได้ออกมาบอกกับสาธารณะในสามประเด็นหลัก คือ (1) เสนอแนะให้รัฐบาลขึ้นราคาหรือลอยตัวราคาก๊าซหุงต้มให้เท่ากับราคาตลาดโลก(2) ในเดือนเมษายนที่ผ่านมาทาง ปตท. ได้นำเข้าก๊าซหุงต้มหรือแอลพีจีแล้วจำนวน2 หมื่นตัน ขณะเดียวกันผู้บริหารระดับสูงสุดอ้างว่าในปีนี้จะมีการนำก๊าซถึง 4 แสนตัน (3) ราคาก๊าซหุงต้มในตลาดโลกตันละเกือบพันเหรียญสหรัฐ แต่ราคาก๊าซในประเทศอยู่ที่ตันละประมาณ 300 เหรียญ…
ประสาท มีแต้ม
1. ประเด็นปัญหา ขณะนี้ บริษัท ปตท. ได้บอกกับประชาชนว่าก๊าซหุงต้มหรือที่เรียกกันในวงการว่าก๊าซแอลพีจี (Liquefied petroleum gas) ในประเทศไทยกำลังขาดแคลน และได้แนะนำให้รัฐบาลขึ้นราคาก๊าซชนิดนี้ โดยเฉพาะที่ใช้กับรถยนต์ส่วนบุคคลและรถยนต์แท็กซี่ (นายณัฐชาติ จารุจินดา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ บมจ. ปตท. ให้สัมภาษณ์ผ่านรายการ Hard Topic ทาง Money Channel , 7 กรกฎาคม 2551) นอกจากนี้นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท.กล่าวว่า “ความต้องการใช้ก๊าซหุงต้ม (แอลพีจี) ที่เพิ่มขึ้น ทำให้ปีนี้ต้องนำเข้าแอลพีจี 4 แสนตัน” (ไทยรัฐ 11 กรกฎาคม 2551)
ประสาท มีแต้ม
1. คำนำและปัญหา ขณะนี้ได้มีการเรียกร้องให้สังคมมาร่วมกันสร้าง “การเมืองใหม่” บทความนี้จะยังไม่เสนอกระบวนการที่จะนำไปสู่การเมืองใหม่ แต่จะมองว่าการเมืองใหม่ควรจะมีหน้าตาเป็นอย่างไร พร้อมนำเสนอตัวอย่างที่เป็นจริงเพื่อให้เราได้เห็นทั้งแนวคิดและหน้าตาของการเมืองใหม่ชัดเจนขึ้น สังคมในการเมืองใหม่ควรจะเป็นสังคมที่ ผู้คนมีศักดิ์ศรี พึ่งตนเองได้ ทุกคนมีงานทำ มีความสุข การบริหารบ้านเมืองต้องโปร่งไส ตรวจสอบได้และ ปราศจากการคอร์รัปชัน ในที่นี้จะขอนำเสนอนโยบายและรูปธรรมด้านพลังงาน ทั้งนี้เพราะเรื่องพลังงานเป็นเรื่องใหญ่มาก กล่าวคือทุกๆ 100 บาทของรายได้ของคนไทย ต้องจ่ายไปกับค่าพลังงานถึง 18 บาท…
ประสาท มีแต้ม
ในขณะที่คนทั่วโลกกำลังเดือดร้อนกับราคาน้ำมันที่พุ่งสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์  แต่ผลกำไรของบริษัทน้ำมันขนาดยักษ์ของโลกกลับเพิ่มสูงขึ้นกว่าปีที่ผ่านมา มันช่างฝืนความรู้สึกในใจของมนุษย์ธรรมดาๆ ที่คิดว่า “เออ! เมื่อสินค้าราคาสูงขึ้น เขาน่าจะลดกำไรลงมามั่ง เพื่อไม่ให้ผู้บริโภคเดือดร้อนมากนัก”   แต่มันกลับเป็นตรงกันข้าม คือเพิ่มกำไรมากกว่าเดิม  โดยไม่สนใจใยดีกับเพื่อนร่วมโลกในขณะที่ผู้มีรายได้น้อยอย่างกรรมกรได้สะท้อนออกมาในวันแรงงานแห่งชาติว่า “ค่าครองชีพแพง แต่ค่าแรงเท่าเดิม”บทความนี้จะนำเสนอทั้งข้อมูลและความคิดเห็นใน 4 เรื่องต่อไปนี้ คือ (1)…
ประสาท มีแต้ม
๑.คำนำเมื่อ ๗ ปีก่อน  คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้คิดวิชาใหม่ขึ้นมาหนึ่งรายวิชา หากคำนึงถึงแนวคิด เนื้อหาและกระบวนการเรียนการสอนแล้ว อาจถือว่าได้วิชานี้เป็นวิชาแรกในประเทศไทยก็น่าจะได้  ผมจึงอยากจะเล่าให้ท่านผู้อ่านที่เป็นผู้จ่ายภาษีมาตลอดได้รับทราบครับ ด้วยขั้นตอนตามระเบียบของมหาวิทยาลัย เราได้เริ่มลงมือเปิดสอนจริงเมื่อ ๓ ปีมาแล้ว รายวิชานี้ชื่อว่า “วิทยาเขตสีเขียว (Greening the Campus)”  เป็นวิชาบังคับสำหรับนักศึกษาชั้นปีที่สามทุกคน เรื่องที่จะนำมาเล่าอย่างสั้นๆ นี้ ได้แก่ แนวคิด เนื้อหา กระบวนการเรียนการสอน  สิ่งที่นักศึกษาค้นพบและร่วมผลักดันขยายผล…
ประสาท มีแต้ม
ผมว่างเว้นจากการเขียนบทความมานานกว่าสองเดือนแล้ว จนอันดับบทความของผมที่เรียงตามเวลาที่เขียนในเว็บไซต์ “ประชาไท” ตกไปอยู่เกือบสุดท้ายของตารางแล้ว สาเหตุที่ไม่ได้เขียนเพราะผมป่วยเป็นโรคที่ทันสมัยคือ “โรคคอมพิวเตอร์กัด” ครับ มันมีอาการปวดแสบปวดร้อนไปทั่วทั้งหลัง พอฝืนทนเข้าไปทำงานอีกไม่เกินห้านาทีก็ถูก “กัด” ซ้ำอีก ราวกับมันมีชีวิตแน่ะที่นำเรื่องนี้มาเล่าก่อนในที่นี้ไม่ใช่อยากจะเล่าเรื่องส่วนตัว แต่อยากนำประสบการณ์ที่ผิดๆ ของผมมาเตือนท่านผู้อ่านโดยเฉพาะคนที่อยู่ในวัยหนุ่มสาว ท่านผู้อ่านที่สนใจจะเก็บเรื่องของผมไปเป็นบทเรียน…
ประสาท มีแต้ม
ผมเองไม่ใช่นักกฎหมาย แต่ได้ให้ความสนใจอย่างจริงจังในประเด็นพลังงานทั้งเรื่อง ปตท. และการไฟฟ้า ทั้งการเคลื่อนไหวเรื่องพลังงานหมุนเวียนมานานกว่า 10 ปีหลังคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุด (14 ธันวาคม) ในอีก 2 วันทำการต่อมารัฐบาลก็ได้ผ่านมติวิธีการจัดการรวมทั้งการคิดค่าเช่าท่อก๊าซฯให้เป็นไปตามคำพิพากษาของศาล โดยใช้เวลาพิจารณาเพียง 10 นาที สร้างความกังขาให้กับสังคมไทยเป็นอย่างมากประเด็นที่ผมสนใจในที่นี้มี 3 เรื่องดังต่อไปนี้หนึ่ง คำพิพากษาของศาลฯที่ว่า “การใช้อำนาจมหาชนของรัฐ” ในกรณีการก่อสร้างท่อส่งก๊าซธรรมชาตินั้นควรจะครอบคลุมไปถึงไหน  ในฐานะที่ไม่ใช่นักกฎหมาย…
ประสาท มีแต้ม
เรื่องราวที่ผมจะนำมาเล่าในที่นี้  ไม่ใช่เรื่องเทคนิคทางไฟฟ้า ไม่ใช่เรื่องการประหยัดพลังงานไฟฟ้าเพียงอย่างเดียว  แต่เป็นเรื่องของประสบการณ์การทำงานเชิงสังคมที่น่าสนใจของตัวผมเอง  ผมคิดว่าเรื่องนี้มีคุณค่าพอที่ผู้อ่านทั่วไปตลอดจนกลุ่มเพื่อนพ้องที่มุ่งมั่นทำงานเพื่อสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกระบวนการสีเขียว เพื่อสิ่งแวดล้อม เพื่อความเป็นธรรมและเพื่อนสันติภาพของโลก  จริงๆนะครับ ผมไม่ได้โม้ผมขอเริ่มเลยนะครับเราเคยสังเกตไหมครับว่า สวิทซ์ไฟฟ้าในที่ทำงานของเรา โดยเฉพาะที่เป็นสถานที่ราชการ เวลาเราเปิดสวิทซ์ ไฟฟ้าจะสว่างไปหลายดวง หลายจุดเป็นแถบๆ  ยิ่งเป็นที่สาธารณะ เช่น สำนักงาน…
ประสาท มีแต้ม
1. ความในใจผมขอพักเรื่องนโยบายสาธารณะด้านพลังงานซึ่งเป็นเรื่องใหญ่และสำคัญมากๆ สำหรับประเทศไทยและชาวโลกไว้ชั่วคราวครับ  ในบทความนี้ผมขอนำเรื่องภายในมหาวิทยาลัยที่ผมทำงานอยู่มาเล่าสู่กันฟังมันไม่ใช่เรื่องไกลตัวสำหรับผู้อ่าน  แต่มันสะท้อนให้เห็นถึงปัญหาในระบบราชการไทยที่ไม่ยอมเปลี่ยนแปลงแม้ว่าสถานการณ์ได้เปลี่ยนไปมากแล้ว  นอกจากนี้ผมมีเรื่องวิชาใหม่ที่คาดว่าเป็นวิชาแรกในประเทศไทยคือวิชา “ชุมชนมหาวิทยาลัยสีเขียว (Greening the campus)”…
ประสาท มีแต้ม
การแปรรูป ปตท. คือการปล้นประชาชน! ในช่วง ๓-๔ ปีที่ผ่านมา ในขณะที่ประชาชนชาวไทยทั้งประเทศกำลังเดือดร้อนกับราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้นเกือบสองเท่าตัว แต่บริษัทน้ำมันต่างๆในประเทศไทยกลับมีกำไรเพิ่มสูงขึ้นมากกว่านั้นในบทนี้ จะกล่าวถึงกิจการของบริษัท ปตท. จำกัดมหาชน และบริษัทอื่นๆบ้าง โดยย่อๆ เป็นข้อๆ ดังต่อไปนี้๑. บริษัท ปตท. จำกัด มหาชน ได้แปรรูปมาจาก การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย เมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๔  ตอนเริ่มต้นการแปรรูป กระทรวงการคลังถือหุ้น ๖๙% ปัจจุบันเหลือเพียง ๕๒.๔๘%ดังนั้น กำไรของ ปตท. ซึ่งเดิมเคยตกเป็นของรัฐทั้งหมด ๑๐๐% ก็จะเหลือเพียงตามสัดส่วนที่รัฐถือหุ้น  คงจำกันได้นะครับว่า หุ้น ปตท…