Skip to main content

๑.คำนำ

เมื่อ ๗ ปีก่อน  คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้คิดวิชาใหม่ขึ้นมาหนึ่งรายวิชา หากคำนึงถึงแนวคิด เนื้อหาและกระบวนการเรียนการสอนแล้ว อาจถือว่าได้วิชานี้เป็นวิชาแรกในประเทศไทยก็น่าจะได้  ผมจึงอยากจะเล่าให้ท่านผู้อ่านที่เป็นผู้จ่ายภาษีมาตลอดได้รับทราบครับ

ด้วยขั้นตอนตามระเบียบของมหาวิทยาลัย เราได้เริ่มลงมือเปิดสอนจริงเมื่อ ๓ ปีมาแล้ว รายวิชานี้ชื่อว่า “วิทยาเขตสีเขียว (Greening the Campus)”  เป็นวิชาบังคับสำหรับนักศึกษาชั้นปีที่สามทุกคน

เรื่องที่จะนำมาเล่าอย่างสั้นๆ นี้ ได้แก่ แนวคิด เนื้อหา กระบวนการเรียนการสอน  สิ่งที่นักศึกษาค้นพบและร่วมผลักดันขยายผล รวมทั้งความรู้สึกของนักศึกษาบางคน

๒. แนวคิดและกระบวนการเรียนการสอน  

ก่อนอื่นต้องขอเรียนให้ทราบกันก่อนว่า หน้าที่หลัก ๒ ใน ๔ ข้อของมหาวิทยาลัย    คือ การเรียนการสอนและการวิจัย  ในยุคที่มหาวิทยาลัยกำลัง “ออกนอกระบบราชการ” บางสถาบันก็ดึงเอางานวิจัยมาให้ความสำคัญเหนือการเรียนการสอน   แต่ไม่ว่าจะสลับอันดับความสำคัญกันอย่างไร ทั้งสองหน้าที่หลักนี้ก็มีปัญหาครับ

เมื่อพูดถึงงานวิจัย มันเป็นเรื่องแปลกที่ว่า เขามักจะสนใจแต่เรื่องไกลตัว  แต่ไม่ค่อยสนใจศึกษาวิจัยเพื่อแก้ปัญหาภายในมหาวิทยาลัยของตนเอง นอกจากผลงานวิจัยจะไม่ค่อยได้นำมาใช้ประโยชน์กับคนไทยโดยตรงแล้ว กลับปล่อยให้สถาบันของตนเองเป็นแหล่งสะสมปัญหาอีกต่างหาก

อาจารย์นิธิ เอี่ยวศรีวงศ์ เคยตั้งข้อสังเกตว่า ผลงานดังๆในสังคมไทย   ไม่ว่าจะเป็น เครือข่ายขายตรง  แชร์แม่ชะม้อย  ชีวจิต หรือโครงการหลักประกันสุขภาพที่เรียกกันติดปากกว่า ๓๐ บาทรักษาทุกโรค  หรือน้ำมันไบโอดีเซล  ก็ล้วนแต่ไม่ใช่ผลงานและไม่ใช่ความคิดริเริ่มของชาวมหาวิทยาลัยใดในประเทศไทยเลย

เมื่อพูดถึงการเรียนการสอน คุณวิจักขณ์  พานิช  วิศวกรหนุ่มที่หันมาสนใจเรื่องชีวิตและจิตใจ ได้ให้ทัศนะ(ในเว็บไซต์ประชาไท) ว่า  การศึกษาของคนเราควรจะเน้นการฝึกฝนตนเองให้ครบทั้ง ๓ ด้าน คือ (๑) ด้านวิชาชีพซึ่งเป็นด้านที่เราเรียนๆ สอนๆ กันอยู่  (๒) ด้านการยอมรับสิทธิและภูมิปัญญาของผู้อื่น  และ (๓) ด้านที่เกี่ยวกับการจัดการกับความทุกข์ ความเจ็บปวดที่เราได้รับ  ถ้าขยายความให้ถึงที่สุดก็คือการรู้จักเผชิญหน้ากับความตายของตัวเรานั่นเอง

การเรียนการสอนในมหาวิทยาลัยในประเทศไทย ได้ละเลยเรื่องของสองด้านหลังนี้มาตลอด  นักศึกษาบางคนเพียงแค่สอบตกหนึ่งรายวิชาก็ฆ่าตัวตายแล้ว คนไทยจำนวนมากไม่รู้จักฟังผู้อื่น แม้พิธีกรรายการทีวีบางคนก็แย่งคนอื่นพูด ฟังคนอื่นไม่เป็นโดยไม่รู้ตัว กรณีฆ่าหมู่ ๘ ศพที่หาดใหญ่ เป็นตัวอย่างที่ฟ้องให้เห็นปัญหาการละเมิดสิทธิและความไม่รู้จักการอดทนอดกลั้นได้ต่อปัญหาต่างๆได้เป็นอย่างดี

วิชา “วิทยาเขตสีเขียว” จึงถูกออกแบบมาเพื่ออุดช่องโหว่สองประการที่ว่ามาแล้ว คือ (๑) ให้นักศึกษาฝึกหัดทำวิจัยเรื่องใกล้ตัวที่อยู่ในวิทยาเขตของตนเอง โดยใช้วิทยาเขตเป็น “ห้องปฏิบัติการ” และ (๒) ให้นักศึกษาฝึกการทำงานเป็นทีม รู้จักรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น การเขียนรายงานและการนำเสนอและเผยแพร่ผลงานวิจัยของตน

สำหรับปัญหาในวิทยาเขต ได้แก่ปัญหาความเป็นอยู่ในหอพัก ความสะอาดของอาหาร ห้องส้วม ปัญหาความเครียดจากการเรียน ปัญหาตารางสอนที่บางคนต้องเรียน ๔-๕ ชั่วโมงติดกัน  รวมทั้งปัญหาที่เป็นส่วนรวมมากขึ้น เช่น การประหยัดพลังงาน น้ำดื่ม การจราจร   การประหยัดกระดาษ  เป็นต้น
ในช่วงต้นของการเรียน นักศึกษาจะช่วยกันระดมปัญหาที่ตนกำลังประสบอยู่  แล้วหาสาเหตุและแนวทางแก้ไขตามกระบวนการวิจัยทั้งทางวิทยาศาสตร์และสังคมศาสตร์  ผลงานที่น่าสนใจก็จะถูกนำมาขยายผลเพื่อเสนอต่อสังคมและผู้บริหารมหาวิทยาลัยต่อไป

นอกจากนี้เรายังเชิญบุคคลภายนอกที่มีผลงานเป็นที่น่าสนใจมาบรรยายให้นักศึกษาฟัง  ทั้งที่เป็นนักวิจัย (ศ.ดร.เวคิน นพนิตย์) นักกิจกรรมสังคม (อาจารย์ขวัญสรวง  อติโพธิ,   คุณธารา บัวคำศรี ผู้ประสานงานกรีนพีช)   เกษตรกรปลอดสารพิษ (อาจารย์ภานุ  พิทักษ์เผ่า) รวมทั้งนักพัฒนาจากองค์กรเอกชน (คุณบรรจง  นะแส) เป็นต้น

๓. สิ่งที่นักศึกษาค้นพบและร่วมผลักดันขยายผล  

นับตั้งแต่เปิดสอนมาได้ ๓ ปีการศึกษา รวม ๖ ภาคการศึกษา  นักศึกษาได้เรียนวิชานี้แล้วประมาณ ๑, ๕๐๐ คน   มีงานวิจัยรวมกันเกือบ ๒๐๐ ชิ้น  

ถ้าถามว่า ผลงานเหล่านี้มีคุณภาพดีพอที่จะเผยแพร่ให้สาธารณะได้ไหม  ก็ต้องยอมรับการตามตรงแหละครับว่า ผลการศึกษาจำนวนมากยังมีปัญหาเรื่องคุณภาพของการศึกษาเอง ไม่ว่าจะเป็นกระบวนการใช้เหตุผล การสรุปผลและการเขียน ที่คณาจารย์ที่ร่วมสอนจำนวน ๑๔ ท่านไม่สามารถดูแลได้อย่างทั่วถึง    นี่อาจจะเป็นข้อแก้ตัวที่ตื้นเกินไปของผู้สอน อย่างไรก็ตามนักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์ทุกคนจะต้องลงเรียนวิชาโครงงานในชั้นปีที่ ๔ ตามความถนัดในภาควิชาของตนเองอีกครั้งหนึ่ง

ในที่นี้ ผมขอนำผลการศึกษาในวิชาวิทยาเขตสีเขียวมาเล่าให้ท่านฟังอย่างย่อๆ สัก ๒ -๓ ชิ้น  วัตถุประสงค์ของวิชานี้ ไม่ได้หยุดอยู่ที่รายงานเป็นเล่มที่นักศึกษานำส่งเพียงอย่างเดียว  แต่เราจะพยายามนำมาขยายผลเพื่อให้ผู้บริหารมหาวิทยาลัยได้นำไปใช้ประโยชน์ในการปรับปรุงพัฒนามหาวิทยาลัยต่อไป

เรื่องแรกเป็นเรื่องการจัดตารางสอนครับ  เริ่มต้นจากเสียงบ่นของนักศึกษาบางคนว่า ระยะเวลาที่พักระหว่างคาบๆละ ๑๐ นาทีนั้น ไม่เพียงพอที่จะให้นักศึกษาเดินจากอาคารหนึ่งไปอีกอาคารหนึ่งได้ทันเวลา นักศึกษาบางคนประชดว่า “ต่อให้เหาะไปก็ยังไม่ทันเลยคะ”

หลังจากได้วิเคราะห์ข้อมูลในภาพรวมที่เกี่ยวข้องก็พบว่า มีความเป็นไปได้ที่จะให้ช่วงพักระหว่างคาบเพิ่มเป็น ๓๐ นาที  และจากที่เคยเรียนคาบละ ๕๐ นาที ก็เพิ่มเป็นคาบละ ๙๐ นาที  หากสามารถกระทำดังนี้ได้ ก็สามารถลดการเดินทางหรือการจราจรลงได้ถึงประมาณ ๓๐%

ผมเองได้เขียนบทความเพื่อเสนอแนวคิดนี้ต่อชาววิทยาเขตทั้งหมดมานานเป็นปีแล้ว  ในที่สุดทางผู้บริหารมหาวิทยาลัยก็ได้ตั้งคณะทำงานขึ้นมาคิดเรื่องนี้ชุดหนึ่งโดยมีผมเองร่วมอยู่ด้วย

ขณะนี้คณะทำงานชุดนี้ยังไม่ได้ข้อสรุปที่ชัดเจน แต่ผู้บริหารท่านหนึ่งได้กล่าวว่า “ผู้บริหารเชื่อแล้วว่ามีปัญหา (convinced) แต่ขอให้คณะทำงานศึกษาในรายละเอียดต่อไป”

นอกจากนี้ จากข้อมูลที่มีอยู่ ทำให้ผมค้นพบว่า ในวิทยาเขตหาดใหญ่ เราใช้ห้องเรียนตั้งแต่ช่วง ๘.๐๐ ถึง ๑๗.๐๐ น. เพียงร้อยละ ๕๕ ของทั้งหมดเท่านั้น ซึ่งถือว่าเป็นการใช้งานที่ค่อนข้างน้อย ในขณะเดียวกันเราก็ของบประมาณของประชาชนมาสร้างอาคารเรียนเพิ่มเอาๆจนแทบจะไม่มีที่จะให้คนเดินอยู่แล้ว

นี่คือปัญหาที่เกิดจาก “มหาวิทยาลัยไม่วิจัยเรื่องตัวเอง แต่ชอบวิจัยเรื่องไกลตัว”    

เรื่องที่สอง  เป็นเรื่องการประหยัดไฟฟ้า ในแต่ละปีทั้งวิทยาเขต(ซึ่งมีโรงพยาบาลรวมอยู่ด้วย)ได้ใช้ไฟฟ้าคิดเป็นเงินปีละประมาณ ๑๕๐ ล้านบาท ทางมหาวิทยาลัยก็ได้พยายามรณรงค์ให้คนช่วยกันลดการใช้ไฟฟ้า โดยส่วนหนึ่งบอกว่า “ปิดไฟดวงที่ไม่ได้ใช้”  แต่จะปิดได้อย่างไร ในเมื่อเปิด-ปิดสวิทซ์หนึ่งตัว แต่ไฟฟ้าสว่างไป ๑๐-๒๐ หลอด

นักศึกษากลุ่มหนึ่ง (โดยได้รับคำแนะนำจากอาจารย์ท่านหนึ่ง) ได้ศึกษาพบว่า ควรจะนำสวิทซ์ไฟแบบกระตุกมาใช้   ดวงไหนที่ไม่ใช้ก็กระตุกให้มันดับเสีย

นักศึกษาไปค้นมาได้ว่า ถ้านำสวิทซ์กระตุก(ราคา ๓๐ บาท) มาใช้ก็จะสามารถประหยัดไฟฟ้าได้และคุ้มทุนภายในเวลา ๒ เดือนเท่านั้น  ขณะนี้ทางผู้อำนวยการกองอาคารและสถานที่ได้คิดจะนำสวิทซ์กระตุกมาติดประมาณ ๑ พันตัว  ผลจะเป็นอย่างไร ผมจะนำมาเล่าต่อไปครับ

เรื่องที่สามครับ  เรื่องน้ำดื่มในคณะวิทยาศาสตร์ นักศึกษาค้นพบว่า (๑) เครื่องกรองน้ำหลายตัวทำให้น้ำมีสนิมมากขึ้นกว่าเดิม (คือน้ำก่อนเข้าเครื่องมีสนิมน้อยกว่าน้ำที่ออกมาจากเครื่องกรอง) เนื่องจากไม่ได้เปลี่ยนไส้กรองมานาน  และ (๒) จากการสำรวจตัวอย่างพบว่าโดยเฉลี่ยนักศึกษาและบุคลากรต้องซื้อน้ำขวดดื่มวันละ ๑.๓ ขวดต่อคนหรือ ๑๐ บาทต่อคน  ถ้าคิดทั้งคณะก็ประมาณ ๖ ล้านบาทต่อปี

คำถามก็คือว่า ผู้บริหารจะคิดเรื่องนี้อย่างไรกับเงินจำนวนมากและขวดพลาสติกที่ก่อปัญหามลพิษและภาวะโลกร้อน

ผมเองในฐานะอาจารย์ที่ปรึกษาพยายามขอร้องให้นักศึกษาทำจดหมายเสนอแนะต่อผู้บริหารทันที แต่กว่านักศึกษาจะยอมทำก็ต้องพูดกันหลายรอบ เพราะพวกเขาเกรงว่าเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบตัวเล็กๆ จะเดือดร้อน

๔. ความรู้สึกของนักศึกษาบางคน

ในแต่ละภาคการศึกษา ทางมหาวิทยาลัยบังคับให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็นเพื่อจะได้มีการปรับปรุงวิชานี้ให้ดีขึ้น  ที่ผ่านมาหากสิ่งใดมีเหตุผลเราก็ปรับปรุงแก้ไข  สำหรับในภาคการศึกษาที่ผ่านมา เรามีข้อสอบให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็น  ต่อไปนี้เป็นความเห็นของนักศึกษาบางคน  แม้ว่านักศึกษาไม่มีความอิสระในการแสดงความเห็น(เพราะมีคะแนนให้) แต่เนื้อหาก็คงสะท้อนอะไรได้บ้าง ดังนี้ครับ

20080318 ภาพประกอบ (1)

20080318 ภาพประกอบ (2)

20080318 ภาพประกอบ (3)

๕. สรุป

นอกจากแนวคิดของวิชาวิทยาเขตสีเขียวจะเน้นการศึกษาเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตทั้งภายในจิตใจของผู้เรียนและเน้นการมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหารอบๆตัวนักศึกษาตามคำขวัญที่ว่า “ห่วงใยโลกกว้าง สรรค์สร้างท้องถิ่น” แล้ว เรายังมีความเชื่อว่า คนกลุ่มเล็กๆก็สามารถก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่ได้ หากมีการศึกษาอย่างดีและรู้จักการสื่อสารออกสู่สังคมวงกว้างได้อย่างมีประสิทธิภาพ

หากมีความคืบหน้าใดๆ ผมจะนำมาเล่าอีกครับ

บล็อกของ ประสาท มีแต้ม

ประสาท มีแต้ม
เราเคยสงสัยและตั้งคำถามเสมอมาว่า ทำไมราคาน้ำมันสำเร็จรูป (รวมทั้งราคายางพารา) ในภูมิภาคเอเซียจึงถูกกำหนดจากประเทศสิงคโปร์
ประสาท มีแต้ม
ตลอดช่วงเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ราคาน้ำมันดิบและราคาน้ำมันที่ปั๊มในบ้านเราได้เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง นักวิเคราะห์บางคนคาดการณ์ว่าสิ้นปีนี้ราคาน้ำมันดิบจะสูงถึง 85 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล โดยที่ราคาเมื่อต้นเดือนมิถุนายนได้ขยับจาก 62 ถึง 68 ภายในเวลาเจ็ดวันเท่านั้น
ประสาท มีแต้ม
1. คำนำ บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ข้อ คือ หนึ่ง ให้เห็นตัวเลขค่าใช้จ่ายด้านไฟฟ้าของคนไทยโดยเฉลี่ยซึ่งค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับรายได้ และหากแผนผลิตไฟฟ้าดังกล่าวมีปัญหาแล้วจะส่งผลกระทบต่อผู้ใช้ไฟฟ้าอย่างไร สอง เพื่อเล่าถึงการจัดทำแผนผลิตไฟฟ้าที่ผูกขาดโดย "กลุ่มผู้เชี่ยวชาญ" จำนวนน้อยตลอดมาและจะชี้ให้เห็นถึงบางสิ่งที่ผมคิดว่า "น่าจะไม่ถูกต้อง" สาม หากท่านผู้อ่านได้เห็นปัญหาในข้อสองแล้ว จะได้เห็นความจำเป็นของ "การเมืองภาคประชาชน" ในการตรวจสอบโครงการของรัฐมากขึ้น
ประสาท มีแต้ม
1. คำนำ เพื่อให้ท่านผู้อ่านได้ตัดสินใจว่าจะอ่านบทความนี้ต่อไปหรือไม่ ผมขอนำประเด็นสำคัญมาเสนอก่อน  ประเด็นคือการวางแผนผลิตก๊าซที่ผิดพลาดทำให้คนไทยทุกคนต้องควักเงินในกระเป๋าเพิ่มขึ้น จากรายงานประจำปี 2551 ของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) พบว่า ในปี 2551 บริษัท ปตท. ต้องจ่ายค่า "ไม่ซื้อก็ต้องจ่าย" ก๊าซจากโครงการไทย-มาเลเซีย (ซึ่งเป็นโครงการสร้างความขัดแย้งมาตั้งแต่รัฐบาลชวน หลีกภัย และทักษิณ ชินวัตร จนถึงปัจจุบัน) เป็นจำนวน 13,716 ล้านบาท
ประสาท มีแต้ม
ในขณะที่วิกฤตเศรษฐกิจโลกที่เริ่มต้นจากถนนวอลล์สตรีทในสหรัฐอเมริกากำลังลุกลามไปอย่างรวดเร็วราวกับลาวาภูเขาไฟไปสู่ทุกถนนของโลก ในภาคใต้ของประเทศไทยโดยหน่วยงานของรัฐและการนิคมอุตสาหกรรมก็กำลังดำเนินการให้มีแผนพัฒนาภาคใต้ด้วยโครงการต่าง ๆ มากมาย ทั้งโดยเปิดเผยและแอบแฝง ตัวอย่างของโครงการเหล่านี้ได้แก่ นิคมอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ในจังหวัดนครศรีธรรมราช โครงการอุตสาหกรรมเหล็กต้นน้ำ จังหวัดชุมพรและสุราษฎร์ธานี โครงการขุดเจาะน้ำมันของบริษัทเซฟรอน ที่นครศรีธรรมราช ตลอดจนโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ถึง 3 โรง นอกจากนี้ยังมีนิคมอุตสาหกรรมที่จังหวัดตรัง และท่าเทียบเรือน้ำลึกในจังหวัดสงขลาและอีกหลายจังหวัด…
ประสาท มีแต้ม
  เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2552 กระทรวงพลังงานในฐานะผู้รับผิดชอบหรือจะเรียกว่าผู้จัดทำแผนผลิตไฟฟ้าเองได้จัดรับฟังความคิดเห็นของประชาชนเพื่อปรับปรุง "แผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้า" ในช่วงปี 2551 ถึง 2564 ซึ่งเป็นแผนที่ได้จัดทำไว้ก่อนปี 2551 ในการรับฟังครั้งนี้ก็เพื่อจะได้ปรับปรุงเป็นครั้งที่ 2 สาเหตุที่ต้องปรับปรุงก็เพราะปัญหาเศรษฐกิจถดถอยทั้งในระดับโลกและในระดับประเทศไทยด้วยนักวิชาการอิสระด้านพลังงานที่ไม่ใช่ข้าราชการของกระทรวงพลังงานก็ได้ออกมาแสดงความคิดเห็นที่น่าสนใจหลายอย่าง ขณะเดียวกันกลุ่มชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบจากโรงไฟฟ้าก็ได้ตั้งคำถามพร้อมแผ่นผ้าด้วยข้อความสั้น ๆ แต่เข้าใจง่ายว่า "…
ประสาท มีแต้ม
คำนำ เมื่อธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ประสบปัญหาขายไม่ได้เนื่องจากได้รับผลกระทบจากวิกฤติเศรษฐกิจของโลก นักการเมืองรวมทั้งว่าที่รัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องก็ได้เสนอมาตรการลดหย่อนภาษีค่าโอนบ้าน โดยจะเริ่มต้นตั้งแต่ปี 2552 เป็นต้นไป ผมขออนุญาตไม่แสดงความคิดเห็นในประเด็นดังกล่าวข้างต้น แต่ขอใช้หลักคิดเดียวกันนี้เพื่อตั้งคำถามว่า ทำไมรัฐบาลจึงไม่ใช้มาตรการทางภาษีเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการพืชน้ำมันซึ่งได้แก่ ไบโอดีเซล และแก๊สโซฮอล์ ซึ่งโยงใยเกี่ยวเนื่องกันตั้งแต่เจ้าของโรงงานจนถึงเกษตรกรผู้ปลูกพืชน้ำมัน ( ปาล์มน้ำมัน อ้อย ฯลฯ ) เหล่านี้บ้างเล่า?
ประสาท มีแต้ม
1. คำนำ เมื่อราคาน้ำมันลดลงมาจากลิตรละราว 40 บาทจากเมื่อ 4-5 เดือนก่อนมาอยู่ที่ราว ๆ 20 บาท ทำให้คนไทยเราก็รู้สึกสบายใจ บางคนถึงกับกล่าวว่า “ตอนนี้จะไปไหนมาไหนก็ไม่ค่อยได้คิดมากเหมือนเมื่อก่อนแล้ว” ในยุคที่การเมืองที่เต็มไปด้วยการฉ้อราษฎร์บังหลวง ผู้บริโภคจะพอใจอยู่กับตัวเลขที่อิงอยู่กับความรู้สึกเช่นนี้เพียงอย่างเดียวคงไม่ได้ เราจะต้องลุกขึ้นมาช่วยกันตรวจสอบ ถามหาความความเป็นธรรม ความพอดีอยู่ตลอดเวลา เมื่อพูดถึงความรู้สึกที่สบายใจขึ้นของคนไทยในขณะนี้ ทำให้ผมนึกเรื่อง “นัสรูดิน” ชายชาวอาหรับโบราณที่คนรุ่นหลังยังตัดสินไม่ได้ว่า เขาเป็นคนเฉลียวฉลาดหรือคนโง่กันแน่…
ประสาท มีแต้ม
1. คำนำ ก่อนจะเริ่มต้นเนื้อหา เรามาดูรูปการ์ตูนสนุก ๆ แต่บาดใจและอาจจะบาดตากันก่อนครับ ความหมายในภาพนี้ ไม่มีอะไรมาก นอกจากบอกว่านี่ไงหลักฐานที่พิสูจน์ว่าโลกเราร้อนขึ้นจริง สำหรับภาพนี้บอกว่า ผลการศึกษาพบว่าอุณหภูมิของน้ำในมหาสมุทรสูงขึ้น นักวิชาการ (และนักการเมือง) กำลังระดมกันแก้ปัญหาอย่างขยันขันแข็ง ขอขอบคุณเจ้าของภาพทั้งสองด้วย คราวนี้มาเข้าเรื่องกันครับ ขณะที่โลกของเรากำลังเผชิญกับวิกฤตการณ์ครั้งสำคัญ 4 ด้านพร้อม ๆ กัน คือ (1) วิกฤติภาวะโลกร้อน (2) วิกฤติพลังงานที่ทั้งขาดแคลน ราคาแพง ผูกขาดและก่อวิกฤติด้านอื่น ๆ (3) วิกฤติการเงินที่เพิ่งจะเกิดขึ้นหยก ๆ…
ประสาท มีแต้ม
คำนำ “...เวลานี้สังคมไทยมีอาการป่วยอย่างร้ายที่สุด คือ ป่วยทางปัญญา ขอให้พิจารณาดูเถิด เวลานี้ปัญหาสุขภาวะที่น่ากลัวที่สุดคือ ความป่วยทางปัญญา...” พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตโต) มีนาคม 2551 ท่ามกลางกระแสการคิดค้นเรื่อง “การเมืองใหม่” ซึ่งขณะนี้สังคมบางส่วนเริ่มเห็นภาพราง ๆ บ้างแล้วว่ามันเป็นอย่างไร แต่ยังไม่มีความชัดเจนมากนักว่า สังคมไทยจะก้าวไปสู่สภาพนั้นได้อย่างไร และสมมุติว่าเราสามารถเข้าไปสู่สภาพนั้นได้จริง ๆ แล้ว เราจะรักษาและพัฒนาการเมืองใหม่ให้ดียิ่งๆ ขึ้นไปอีกได้อย่างไร ในที่นี้ ผมจะขออนุญาตนำเสนอหลักการพื้นฐานมาใช้ตอบคำถามดังกล่าว ผมเรียกหลักการนี้ว่า “กฎ 3…
ประสาท มีแต้ม
เมื่อต้นเดือนเมษายน 2551 หนังสือพิมพ์หลายฉบับได้ลงข่าวว่า "พลังงานเผยไทยผลิตน้ำมันดิบสูงกว่าบรูไน คุยทดแทนนำเข้าปีนี้มหาศาล" (ไทยรัฐ 2 เมษายน 2551)    สาเหตุที่ผู้ให้ข่าวซึ่งก็คือข้าราชการระดับสูงของกระทรวงพลังงานได้นำประเทศไทยไปเทียบกับประเทศบรูไน ก็น่าจะเป็นเพราะว่าคนไทยเราทราบกันดีว่าประเทศบรูไนเป็นประเทศส่งออกน้ำมันรายหนึ่งของภูมิภาคนี้ ดังนั้นเมื่อประเทศไทยเราผลิตน้ำมันดิบได้มากกว่าก็น่าจะทำให้คนไทยเราหลงดีใจได้บ้าง  นาน ๆ คนไทยเราจะได้มีข่าวที่ทำให้ดีใจสักครั้ง   หลังจากอ่านข่าวนี้แล้ว ผมก็ได้ค้นหาความรู้เพิ่มเติมจากอินเทอร์เน็ตก็พบว่า…
ประสาท มีแต้ม
1. คำนำ ขณะนี้มีผู้คนจำนวนหนึ่งกำลังครุ่นคิดถึง "การเมืองใหม่" ซึ่งยังไม่เป็นที่แน่ชัดนักว่ามันคืออะไรกันแน่ ทราบแต่ว่า "การเมืองเดิม" ซึ่งก็คือการเมืองแบบตัวแทน (representative democracy) กำลังมีปัญหาหลายอย่างและรุนแรงขึ้นทุกขณะบทความนี้จะนำเสนอความล้มเหลวของ "การเมืองแบบตัวแทน" อย่างสั้นๆ พร้อมกับนำเสนอ "การเมืองแบบไฮเพอร์ (hyperpolitics)" ให้พอเป็นประกายเบื้องต้น หากสังคมนี้สนใจก็มีช่องทางให้ศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมกันต่อไป2. สาเหตุความล้มเหลวของการเมืองแบบตัวแทนเราท่องกันจนขึ้นใจมาตั้งแต่วัยเด็กแล้วว่า สาเหตุสำคัญของการมี "การเมืองแบบตัวแทน" คือเป็นเพราะคนมันเยอะ…