Skip to main content

ในขณะที่คนทั่วโลกกำลังเดือดร้อนกับราคาน้ำมันที่พุ่งสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์  แต่ผลกำไรของบริษัทน้ำมันขนาดยักษ์ของโลกกลับเพิ่มสูงขึ้นกว่าปีที่ผ่านมา มันช่างฝืนความรู้สึกในใจของมนุษย์ธรรมดาๆ ที่คิดว่า “เออ! เมื่อสินค้าราคาสูงขึ้น เขาน่าจะลดกำไรลงมามั่ง เพื่อไม่ให้ผู้บริโภคเดือดร้อนมากนัก”   แต่มันกลับเป็นตรงกันข้าม คือเพิ่มกำไรมากกว่าเดิม  โดยไม่สนใจใยดีกับเพื่อนร่วมโลก

ในขณะที่ผู้มีรายได้น้อยอย่างกรรมกรได้สะท้อนออกมาในวันแรงงานแห่งชาติว่า “ค่าครองชีพแพง แต่ค่าแรงเท่าเดิม”

บทความนี้จะนำเสนอทั้งข้อมูลและความคิดเห็นใน 4 เรื่องต่อไปนี้ คือ (1) ผลประกอบการล่าสุดของบริษัทน้ำมันขนาดใหญ่ 6 อันดับแรกของโลก (2) เส้นทางการค้าน้ำมัน รวมทั้งพ่อค้าน้ำมันที่มีอำนาจทางการเมืองของโลก  ผมจะนำเสนอด้วยภาพที่เข้าใจง่ายและดูสบายๆ  (3) เปรียบเทียบระบบภาษีน้ำมันของประเทศต่างๆ ที่มีผลก่อให้เกิดปัญหาโลกร้อน และ (4) ความไม่รับผิดชอบสังคมของบริษัทยักษ์ทั้งหก  เริ่มกันเลยครับ

(1) ผลประกอบการล่าสุดของบริษัทน้ำมันขนาดใหญ่ 6 อันดับแรกของโลก    

สำนักข่าวบีบีซี (29 เมษายน 2551) รายงานว่าในช่วง 3 เดือนแรกของปีนี้ บริษัทเชลล์ (Royal Dutch Shell) เพียงบริษัทเดียว มีผลกำไรสุทธิถึง 7.8 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน  ถึง 13%  ถ้าคิดออกมาเป็นเงินบาทก็ประมาณ  2.48 แสนล้านบาท นี่เพียงแค่ 3 เดือนนะครับ ถ้าทั้งปีที่นับรวมช่วงฤดูหนาวเข้าไปด้วยจะเป็นเท่าไหร่

ประเด็นสำคัญของเรื่องข้างต้นนี้ก็คือ  กำไรกลับสูงกว่าปีก่อนถึงถึง 13% นั่นแปลความได้ว่า น้ำมันดิบยิ่งแพง บริษัทน้ำมันยิ่งกำไรขึ้น

เพื่อไม่ให้เรารู้สึกมึนงงกับตัวเลขที่ยังไม่ครบทั้งปีและไม่ครบทุกบริษัท  เรามาดูข้อสรุปผลกำไรประจำปี 2550 ของบริษัทค้าน้ำมันใหญ่ๆ 6 อันดับของโลกซึ่งรวบรวมโดยกลุ่ม “เพื่อนของโลก (Friends of the Earth)”  พบว่า บริษัทใหญ่ 6 อันดับแรกของโลก (คือ  ExxonMobil (บริษัทแม่ของเอสโซ่), Royal Ducth Shell(ของเนเธอร์แลนด์), BP (ของอังกฤษ), Chevron (ซื้อกิจการบริษัทยูโนแคล บริษัท Chevron กำลังจะมาขุดเจาะน้ำมันในทะเลบริเวณจังหวัดนครศรีธรรมราช), ENI (ของอิตาลี), TOTAL (ของฝรั่งเศส)) มีผลกำไรรวมกัน 124.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ  หรือประมาณครึ่งหนึ่งของรายได้ประชาชาติของไทย

จากข้อมูลที่ผมค้นเพิ่มเติมพบว่า ในปี 2548 บริษัทกลุ่มนี้มีกำไรรวมกัน 95.68 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ  นั่นคือ กลุ่ม 6 บริษัทนี้มีกำไรเพิ่มขึ้นทุกปี  เป็นไปตามกติกาที่เขากำหนด คือยิ่งวัตถุดิบแพง กำไรยิ่งมาก

(2) เส้นทางการค้าน้ำมัน รวมทั้งพ่อค้าน้ำมันที่มีอำนาจทางการเมืองของโลก

ถ้าถามว่าบริษัทเหล่านี้เป็นของใครบ้าง ชาติใดบ้าง เขาขุดน้ำมันจากประเทศใดไปขายประเทศใด และเกี่ยวข้องกับนักการเมืองระดับโลกอย่างไร   ลองดูจากภาพข้างล่างนี้ครับ

ภาพแรกแสดงแหล่งน้ำมันดิบว่าขุดจากไหน ไปขายที่ไหน

20080506 (1)

สิ่งที่เราเห็นได้ชัดเจนจากภาพนี้ก็คือว่า  น้ำมันดิบส่วนใหญ่ถูกส่งไปที่ประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับหนึ่งของโลก  ประชากรอเมริกันมีประมาณ 5% ของโลกแต่ใช้พลังงานถึง 25% ของโลก  ประเทศของตนก็มีน้ำมันดิบจำนวนมาก แต่ไม่ยอมขุดขึ้นมาใช้

สำหรับประเทศผู้ขายน้ำมัน ส่วนใหญ่ก็เป็นประเทศตะวันออกกลาง  ซาอุฯ อีรัก อิหร่าน  เวเนซุเอรา เม็กซิโก ซึ่งถูกจัดอยู่ในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา

ที่น่าตกใจกว่านั้น คือ ประเทศในจีเรีย ทั้งๆที่เป็นประเทศส่งออกน้ำมันดิบอันต้นๆของโลก แต่ประชากรของประเทศนี้กลับยากจนเกือบจะเป็นที่สุดในโลก

มันเกิดอะไรขึ้นกับธุรกิจน้ำมันครับ?

พูดถึงพ่อค้าน้ำมันกับการเมืองโลก  ลองดูรูปเรือข้างล่างนี้ดีๆซิครับ

20080506 (2)

เป็นเรือขนส่งน้ำมันขนาดใหญ่ของบริษัท Chevron ข้างเรือมีชื่อ   Condoleezza  Rice ซึ่งเป็นชื่อของผู้หญิงคนหนึ่งที่ไม่ธรรมดา

เธอเป็นอดีตผู้อำนวยการของบริษัทนี้ Chevron   แต่ได้ลาออกมาเป็นรัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐ  เธอเป็นผู้หญิงผิวดำที่เราเห็นในจอทีวีบ่อยๆในข่าวต่างประเทศ  เธอเป็นแม่ค้าน้ำมันและมีอำนาจสำคัญในการตัดสินใจว่าจะยกทหารไปยึดครองบ่อน้ำมันของประเทศใดบ้าง เช่น อีรัก อิหร่าน เป็นต้น

นักการเมืองอีกคนหนึ่งที่น่าสนใจมาก คือ Dick Cheney  ผู้มีตำแหน่งเป็นรองประธานาธิบดีสหรัฐ  ผู้นี้เคยทำงานในบริษัท chevron ที่มีความสัมพันธ์และร่วมกิจการกันกับบริษัท Halliburton  (Dick Cheney เป็นประธานบริษัท Halliburton ด้วย)

หลังสหรัฐอเมริกาบุกอิรักจนเกิดความเสียหายยับเยิน  บริษัท  Halliburton ก็ได้รับงานจากรัฐบาลสหรัฐจำนวน  2.5  พันล้านเหรียญสหรัฐเพื่อไปฟื้นฟูประเทศอิรัก   โดยไม่มีการประมูลใดๆ

แน่จริงๆ

สำหรับปัจจัยใดบ้างที่อิทธิพลต่อการกำหนดราคาน้ำมัน  ผมว่าดูจากภาพก็คงเข้าใจนะครับ  ว่าขึ้นกับ 7 ปัจจัย เช่น ขึ้นกับ ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ  ยิ่งค่าเงินดอลลาร์ตก ราคาน้ำมันก็สูงขึ้น(สำหรับหลายประเทศ)  การประท้วงของชาวเวเนซูเอรา รวมทั้งนโยบายของประธานาธิบดี เป็นต้น

20080506 (3)

(3) เปรียบเทียบระบบภาษีน้ำมันของประเทศต่างๆ ที่มีผลก่อให้เกิดปัญหาโลกร้อน

ญาติผมคนหนึ่งซึ่งเพิ่งกลับจากการท่องเที่ยวสหรัฐอเมริกาเล่าให้ผมฟังว่า “คนอเมริกันใช้น้ำมันกันอย่างสิ้นเปลืองมาก ราคาน้ำมันก็พอๆกับในบ้านเรา แต่รายได้เขาสูงกว่าเราหลายเท่าตัว”

การที่ราคาน้ำมันของแต่ละประเทศแตกต่างกัน ส่วนมากแล้วขึ้นกับระบบภาษี ค่าการกลั่น ค่าการตลาดของแต่ละประเทศ  ในที่นี้ผมจะยกมาเปรียบเทียบกันเพียง 3 ประเทศเท่านั้น คือ สหรัฐอเมริกา เยอรมนี และไทย

กรณีของประเทศไทย ราคาน้ำมันแก๊สโซฮอล 95 ในพื้นที่กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2551 ลิตรละ 32.59 บาท โดยมีองค์ประกอบของราคาดังนี้คือ  น้ำมันดิบ 64.0% (20.86 บาท,โดยประมาณ)  ภาษีทุกชนิดรวมกัน 17.7% ค่าการกลั่น 8.8% (เฉลี่ย 2.8665 บาท) ค่าการตลาด 8.8% (2.5772 บาท) ค่ากองทุนน้ำมันและอนุรักษ์พลังงาน 1.53% ( 50 สตางค์)

สำหรับราคาของประเทศสหรัฐอเมริกา ค่าเฉลี่ยของปี 2550  เป็นดังภาพข้างล่างนี้

20080506 (4)

คือเป็นค่าน้ำมันดิบ 58% (ของไทย 64%) เป็นค่าการกลั่น 17% ค่าการตลาด 10% และภาษี 15%  

สำหรับราคาขายปลีกที่ปั๊มในรัฐนิวยอร์ค  เมื่อวันที่ 21 เมษายน 2551 คิดออกมาเป็นเงินไทยแล้วประมาณลิตรละ 29.36 บาท ซึ่งถูกกว่าในประเทศไทย

สำหรับประเทศเยอรมนี  เท่าที่ผมค้นได้ล่าสุด น้ำมันเบนซินชนิดไร้สารตะกั่วเมื่อเดือน 8 มีนาคม นี้ ราคาลิตรละ  72.82 บาท  ใช่  70 กว่าบาท ในจำนวนนี้  ในจำนวนนี้เป็นภาษีถึง  64% ( 46.60 บาท)

การที่ประเทศเยอรมนี (รวมทั้งประเทศในยุโรปอื่นๆ) คิดภาษีในอัตราสูงเช่นนี้  ทำให้คนบางส่วนออกมาเรียกร้องให้ลดภาษีลง แต่ผลดีที่รัฐบาลมีนโยบายเช่นนี้ ก็คือ ทำให้น้ำมันที่ผลิตจากพืช ไม่ว่าจะเป็นไบโอดีเซล แก๊สโซฮอล สามารถเข้ามาแข่งขันกับน้ำมันฟอสซิลได้

ในช่วงเวลา 15 ปี จาก  2534-2548  ทำให้ยอดการใช้น้ำมันไบโอดีเซลในเยอรมนีเพิ่มขึ้นถึง 7 พันกว่าเท่า ในปี 2548 น้ำมันไบโอดีเซลเข้ามามีส่วนแบ่งการตลาดถึง 12% ในขณะที่ประเทศไทยมีเพียง 0.06% เท่านั้น (ข้อมูลปี 2546)

การที่น้ำมันแพงทำให้คนหันมาประหยัด รถยนต์ส่วนบุคคลในเยอรมนีส่วนมากเป็นคันเล็กๆ ไม่เหมือนในอเมริกาที่ยาวคันละหลายวา

การทำให้น้ำมันราคาถูกอย่างในอเมริกา ทำให้คนไม่รู้จักการประหยัด ใช้อย่างสุรุยสุร่าย จนซดน้ำมันไปถึง 25% ของโลก

อย่าลืมว่าน้ำมัน 1 ลิตรก่อให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ถึง 2.5  กิโลกรัม  และก๊าซนี้แหละที่ทำให้ปัญหาโลกร้อน
กราฟข้างล่างนี้แสดงให้เห็นราคาน้ำมันของประเทศญี่ปุ่น ยุโรป และประเทศอเมริกาเหนือ (สหรัฐอเมริกากับแคนาดา) ตั้งแต่ปี 2548 จนถึงปัจจุบัน เราจะเห็นว่าราคาน้ำมันในยุโรปเกือบเป็น 3 เท่าของราคาในอเมริกาเหนือ หรือในสหรัฐอเมริกานั่นเองแหละ

ถ้าเราคิดว่าน้ำมันที่เกิดจาการทับถมของซากพืชและสัตว์มานับล้านปีนี้เป็นสมบัติของคนรุ่นหลังด้วย การกำหนดภาษีในอัตราต่ำเกินไป นอกจากจะเป็นการกีดกันไม่ให้ไบโอดีเซลและพลังงานหมุนเวียนอื่นๆ เกิดขึ้นแล้ว ยังเป็นการเห็นแก่ตัวอย่างร้ายกาจของผู้นำการเมืองของอเมริกันรุ่นนี้อีกด้วย  พวกเขาไม่สนใจว่าคนรุ่นหลังจะใช้อะไร พร้อมกับทิ้งพิษภัยโลกร้อนไว้อย่างยากที่จะแก้ไข

20080506 (5)

(4) ความไม่รับผิดชอบสังคมของบริษัทยักษ์ทั้งหก

ผมร่ายยาวใน 3 ประเด็นแรกมากไปหน่อยครับ  ประเด็นสุดท้ายจึงขอนำเสนอเพียงสั้นๆ ว่า กลุ่มสหภาพยุโรป ได้เสนอให้กลุ่มบริษัทน้ำมันช่วยกันลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงจำนวน 10%  ในปี 2020  โดยไม่ต้องใช้เชื้อเพลิงจากพืช  แต่ให้หันมาใช้วิธีใช้พลังงานให้มีประสิทธิภาพ  ปรับปรุงระบบการกลั่น (ซึ่งเป็นเรื่องที่อธิบายยากในที่นี้)  และอื่นๆอีก

แต่ปรากฏว่า บริษัทผลิตน้ำมันไม่สนใจ ทั้งๆที่มีกำไรจำนวนมหาศาลทุกปี ขณะเดียวกันก็โฆษณาว่าลวงโลกว่า ตนเองสนใจแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมเสียเหลือเกิน

มีโอกาสเหมาะๆแล้วจะนำมาเล่าต่อไปนะครับ

บล็อกของ ประสาท มีแต้ม

ประสาท มีแต้ม
เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2551 สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ได้จัดเวทีเสวนาเรื่อง "9 คำถามคาใจ กรณี ปตท." ซึ่งเป็นประเด็นที่ประชาชนให้ความสนใจมาหลายปีนับตั้งแต่การแปรรูปเมื่อเดือนตุลาคมปี 2544 เวทีเสวนาประกอบด้วย ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่สื่อสารองค์กรและกิจการเพื่อสังคม  บมจ. ปตท. (คุณสรัญ รังคสิริ)  เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค (คุณสารี อ๋องสมหวัง) ดำเนินรายการโดยคุณวันชัย ตันติวิทยาพิทักษ์  บรรณาธิการนิตยสารสารคดี นอกจากนี้ยังมีนักวิชาการและประธานกรรมการบริหารบริษัทหลักทรัพย์ภัทรด้วย นักข่าวของ “ประชาไท” รายงานว่า “…
ประสาท มีแต้ม
นายทหารยศพันตรีท่านหนึ่ง (พ.ต.รัฐเขต แจ้งจำรัส) ได้ออกมาให้ข้อมูลกับประชาชนผ่านเวทีพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยว่า “ปิโตรเลียมซึ่งได้แก่น้ำมันและก๊าซธรรมชาติใต้แผ่นดินไทยทั้งบนบกและในทะเลทั้งหมดมีมูลค่าถึง 100 ล้านล้านบาท” เงินจำนวน 100 ล้านล้านบาท(ล้านสองครั้ง)นี้ ถ้าเอามาจัดสรรเป็นงบประมาณแผ่นดินในปีปัจจุบันก็จะได้ประมาณ 62 ปี เพราะงบประมาณปีหน้า (2552) มีประมาณ 1.6 ล้านล้านบาท ข้อมูลที่นายทหารผู้นี้นำเสนอล้วนเป็นข้อมูลของทางราชการที่เข้าใจยาก กระจัดกระจาย แต่ท่านได้นำมารวบรวม วิเคราะห์ แล้วสรุปให้ประชาชนธรรมดาสามารถเข้าใจได้ง่าย…
ประสาท มีแต้ม
1. ความเดิม จากปัญหาที่ผู้บริหารทั้งระดับผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่และผู้จัดการใหญ่ของ บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) “อ้าง” หลายครั้งหลายวาระด้วยกันว่า ก๊าซหุงต้มในประเทศไทยขาดแคลน ทาง บริษัท ปตท. จึงได้ออกมาบอกกับสาธารณะในสามประเด็นหลัก คือ (1) เสนอแนะให้รัฐบาลขึ้นราคาหรือลอยตัวราคาก๊าซหุงต้มให้เท่ากับราคาตลาดโลก(2) ในเดือนเมษายนที่ผ่านมาทาง ปตท. ได้นำเข้าก๊าซหุงต้มหรือแอลพีจีแล้วจำนวน2 หมื่นตัน ขณะเดียวกันผู้บริหารระดับสูงสุดอ้างว่าในปีนี้จะมีการนำก๊าซถึง 4 แสนตัน (3) ราคาก๊าซหุงต้มในตลาดโลกตันละเกือบพันเหรียญสหรัฐ แต่ราคาก๊าซในประเทศอยู่ที่ตันละประมาณ 300 เหรียญ…
ประสาท มีแต้ม
1. ประเด็นปัญหา ขณะนี้ บริษัท ปตท. ได้บอกกับประชาชนว่าก๊าซหุงต้มหรือที่เรียกกันในวงการว่าก๊าซแอลพีจี (Liquefied petroleum gas) ในประเทศไทยกำลังขาดแคลน และได้แนะนำให้รัฐบาลขึ้นราคาก๊าซชนิดนี้ โดยเฉพาะที่ใช้กับรถยนต์ส่วนบุคคลและรถยนต์แท็กซี่ (นายณัฐชาติ จารุจินดา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ บมจ. ปตท. ให้สัมภาษณ์ผ่านรายการ Hard Topic ทาง Money Channel , 7 กรกฎาคม 2551) นอกจากนี้นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท.กล่าวว่า “ความต้องการใช้ก๊าซหุงต้ม (แอลพีจี) ที่เพิ่มขึ้น ทำให้ปีนี้ต้องนำเข้าแอลพีจี 4 แสนตัน” (ไทยรัฐ 11 กรกฎาคม 2551)
ประสาท มีแต้ม
1. คำนำและปัญหา ขณะนี้ได้มีการเรียกร้องให้สังคมมาร่วมกันสร้าง “การเมืองใหม่” บทความนี้จะยังไม่เสนอกระบวนการที่จะนำไปสู่การเมืองใหม่ แต่จะมองว่าการเมืองใหม่ควรจะมีหน้าตาเป็นอย่างไร พร้อมนำเสนอตัวอย่างที่เป็นจริงเพื่อให้เราได้เห็นทั้งแนวคิดและหน้าตาของการเมืองใหม่ชัดเจนขึ้น สังคมในการเมืองใหม่ควรจะเป็นสังคมที่ ผู้คนมีศักดิ์ศรี พึ่งตนเองได้ ทุกคนมีงานทำ มีความสุข การบริหารบ้านเมืองต้องโปร่งไส ตรวจสอบได้และ ปราศจากการคอร์รัปชัน ในที่นี้จะขอนำเสนอนโยบายและรูปธรรมด้านพลังงาน ทั้งนี้เพราะเรื่องพลังงานเป็นเรื่องใหญ่มาก กล่าวคือทุกๆ 100 บาทของรายได้ของคนไทย ต้องจ่ายไปกับค่าพลังงานถึง 18 บาท…
ประสาท มีแต้ม
ในขณะที่คนทั่วโลกกำลังเดือดร้อนกับราคาน้ำมันที่พุ่งสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์  แต่ผลกำไรของบริษัทน้ำมันขนาดยักษ์ของโลกกลับเพิ่มสูงขึ้นกว่าปีที่ผ่านมา มันช่างฝืนความรู้สึกในใจของมนุษย์ธรรมดาๆ ที่คิดว่า “เออ! เมื่อสินค้าราคาสูงขึ้น เขาน่าจะลดกำไรลงมามั่ง เพื่อไม่ให้ผู้บริโภคเดือดร้อนมากนัก”   แต่มันกลับเป็นตรงกันข้าม คือเพิ่มกำไรมากกว่าเดิม  โดยไม่สนใจใยดีกับเพื่อนร่วมโลกในขณะที่ผู้มีรายได้น้อยอย่างกรรมกรได้สะท้อนออกมาในวันแรงงานแห่งชาติว่า “ค่าครองชีพแพง แต่ค่าแรงเท่าเดิม”บทความนี้จะนำเสนอทั้งข้อมูลและความคิดเห็นใน 4 เรื่องต่อไปนี้ คือ (1)…
ประสาท มีแต้ม
๑.คำนำเมื่อ ๗ ปีก่อน  คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้คิดวิชาใหม่ขึ้นมาหนึ่งรายวิชา หากคำนึงถึงแนวคิด เนื้อหาและกระบวนการเรียนการสอนแล้ว อาจถือว่าได้วิชานี้เป็นวิชาแรกในประเทศไทยก็น่าจะได้  ผมจึงอยากจะเล่าให้ท่านผู้อ่านที่เป็นผู้จ่ายภาษีมาตลอดได้รับทราบครับ ด้วยขั้นตอนตามระเบียบของมหาวิทยาลัย เราได้เริ่มลงมือเปิดสอนจริงเมื่อ ๓ ปีมาแล้ว รายวิชานี้ชื่อว่า “วิทยาเขตสีเขียว (Greening the Campus)”  เป็นวิชาบังคับสำหรับนักศึกษาชั้นปีที่สามทุกคน เรื่องที่จะนำมาเล่าอย่างสั้นๆ นี้ ได้แก่ แนวคิด เนื้อหา กระบวนการเรียนการสอน  สิ่งที่นักศึกษาค้นพบและร่วมผลักดันขยายผล…
ประสาท มีแต้ม
ผมว่างเว้นจากการเขียนบทความมานานกว่าสองเดือนแล้ว จนอันดับบทความของผมที่เรียงตามเวลาที่เขียนในเว็บไซต์ “ประชาไท” ตกไปอยู่เกือบสุดท้ายของตารางแล้ว สาเหตุที่ไม่ได้เขียนเพราะผมป่วยเป็นโรคที่ทันสมัยคือ “โรคคอมพิวเตอร์กัด” ครับ มันมีอาการปวดแสบปวดร้อนไปทั่วทั้งหลัง พอฝืนทนเข้าไปทำงานอีกไม่เกินห้านาทีก็ถูก “กัด” ซ้ำอีก ราวกับมันมีชีวิตแน่ะที่นำเรื่องนี้มาเล่าก่อนในที่นี้ไม่ใช่อยากจะเล่าเรื่องส่วนตัว แต่อยากนำประสบการณ์ที่ผิดๆ ของผมมาเตือนท่านผู้อ่านโดยเฉพาะคนที่อยู่ในวัยหนุ่มสาว ท่านผู้อ่านที่สนใจจะเก็บเรื่องของผมไปเป็นบทเรียน…
ประสาท มีแต้ม
ผมเองไม่ใช่นักกฎหมาย แต่ได้ให้ความสนใจอย่างจริงจังในประเด็นพลังงานทั้งเรื่อง ปตท. และการไฟฟ้า ทั้งการเคลื่อนไหวเรื่องพลังงานหมุนเวียนมานานกว่า 10 ปีหลังคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุด (14 ธันวาคม) ในอีก 2 วันทำการต่อมารัฐบาลก็ได้ผ่านมติวิธีการจัดการรวมทั้งการคิดค่าเช่าท่อก๊าซฯให้เป็นไปตามคำพิพากษาของศาล โดยใช้เวลาพิจารณาเพียง 10 นาที สร้างความกังขาให้กับสังคมไทยเป็นอย่างมากประเด็นที่ผมสนใจในที่นี้มี 3 เรื่องดังต่อไปนี้หนึ่ง คำพิพากษาของศาลฯที่ว่า “การใช้อำนาจมหาชนของรัฐ” ในกรณีการก่อสร้างท่อส่งก๊าซธรรมชาตินั้นควรจะครอบคลุมไปถึงไหน  ในฐานะที่ไม่ใช่นักกฎหมาย…
ประสาท มีแต้ม
เรื่องราวที่ผมจะนำมาเล่าในที่นี้  ไม่ใช่เรื่องเทคนิคทางไฟฟ้า ไม่ใช่เรื่องการประหยัดพลังงานไฟฟ้าเพียงอย่างเดียว  แต่เป็นเรื่องของประสบการณ์การทำงานเชิงสังคมที่น่าสนใจของตัวผมเอง  ผมคิดว่าเรื่องนี้มีคุณค่าพอที่ผู้อ่านทั่วไปตลอดจนกลุ่มเพื่อนพ้องที่มุ่งมั่นทำงานเพื่อสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกระบวนการสีเขียว เพื่อสิ่งแวดล้อม เพื่อความเป็นธรรมและเพื่อนสันติภาพของโลก  จริงๆนะครับ ผมไม่ได้โม้ผมขอเริ่มเลยนะครับเราเคยสังเกตไหมครับว่า สวิทซ์ไฟฟ้าในที่ทำงานของเรา โดยเฉพาะที่เป็นสถานที่ราชการ เวลาเราเปิดสวิทซ์ ไฟฟ้าจะสว่างไปหลายดวง หลายจุดเป็นแถบๆ  ยิ่งเป็นที่สาธารณะ เช่น สำนักงาน…
ประสาท มีแต้ม
1. ความในใจผมขอพักเรื่องนโยบายสาธารณะด้านพลังงานซึ่งเป็นเรื่องใหญ่และสำคัญมากๆ สำหรับประเทศไทยและชาวโลกไว้ชั่วคราวครับ  ในบทความนี้ผมขอนำเรื่องภายในมหาวิทยาลัยที่ผมทำงานอยู่มาเล่าสู่กันฟังมันไม่ใช่เรื่องไกลตัวสำหรับผู้อ่าน  แต่มันสะท้อนให้เห็นถึงปัญหาในระบบราชการไทยที่ไม่ยอมเปลี่ยนแปลงแม้ว่าสถานการณ์ได้เปลี่ยนไปมากแล้ว  นอกจากนี้ผมมีเรื่องวิชาใหม่ที่คาดว่าเป็นวิชาแรกในประเทศไทยคือวิชา “ชุมชนมหาวิทยาลัยสีเขียว (Greening the campus)”…
ประสาท มีแต้ม
การแปรรูป ปตท. คือการปล้นประชาชน! ในช่วง ๓-๔ ปีที่ผ่านมา ในขณะที่ประชาชนชาวไทยทั้งประเทศกำลังเดือดร้อนกับราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้นเกือบสองเท่าตัว แต่บริษัทน้ำมันต่างๆในประเทศไทยกลับมีกำไรเพิ่มสูงขึ้นมากกว่านั้นในบทนี้ จะกล่าวถึงกิจการของบริษัท ปตท. จำกัดมหาชน และบริษัทอื่นๆบ้าง โดยย่อๆ เป็นข้อๆ ดังต่อไปนี้๑. บริษัท ปตท. จำกัด มหาชน ได้แปรรูปมาจาก การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย เมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๔  ตอนเริ่มต้นการแปรรูป กระทรวงการคลังถือหุ้น ๖๙% ปัจจุบันเหลือเพียง ๕๒.๔๘%ดังนั้น กำไรของ ปตท. ซึ่งเดิมเคยตกเป็นของรัฐทั้งหมด ๑๐๐% ก็จะเหลือเพียงตามสัดส่วนที่รัฐถือหุ้น  คงจำกันได้นะครับว่า หุ้น ปตท…