Skip to main content

ในขณะที่คนทั่วโลกกำลังเดือดร้อนกับราคาน้ำมันที่พุ่งสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์  แต่ผลกำไรของบริษัทน้ำมันขนาดยักษ์ของโลกกลับเพิ่มสูงขึ้นกว่าปีที่ผ่านมา มันช่างฝืนความรู้สึกในใจของมนุษย์ธรรมดาๆ ที่คิดว่า “เออ! เมื่อสินค้าราคาสูงขึ้น เขาน่าจะลดกำไรลงมามั่ง เพื่อไม่ให้ผู้บริโภคเดือดร้อนมากนัก”   แต่มันกลับเป็นตรงกันข้าม คือเพิ่มกำไรมากกว่าเดิม  โดยไม่สนใจใยดีกับเพื่อนร่วมโลก

ในขณะที่ผู้มีรายได้น้อยอย่างกรรมกรได้สะท้อนออกมาในวันแรงงานแห่งชาติว่า “ค่าครองชีพแพง แต่ค่าแรงเท่าเดิม”

บทความนี้จะนำเสนอทั้งข้อมูลและความคิดเห็นใน 4 เรื่องต่อไปนี้ คือ (1) ผลประกอบการล่าสุดของบริษัทน้ำมันขนาดใหญ่ 6 อันดับแรกของโลก (2) เส้นทางการค้าน้ำมัน รวมทั้งพ่อค้าน้ำมันที่มีอำนาจทางการเมืองของโลก  ผมจะนำเสนอด้วยภาพที่เข้าใจง่ายและดูสบายๆ  (3) เปรียบเทียบระบบภาษีน้ำมันของประเทศต่างๆ ที่มีผลก่อให้เกิดปัญหาโลกร้อน และ (4) ความไม่รับผิดชอบสังคมของบริษัทยักษ์ทั้งหก  เริ่มกันเลยครับ

(1) ผลประกอบการล่าสุดของบริษัทน้ำมันขนาดใหญ่ 6 อันดับแรกของโลก    

สำนักข่าวบีบีซี (29 เมษายน 2551) รายงานว่าในช่วง 3 เดือนแรกของปีนี้ บริษัทเชลล์ (Royal Dutch Shell) เพียงบริษัทเดียว มีผลกำไรสุทธิถึง 7.8 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน  ถึง 13%  ถ้าคิดออกมาเป็นเงินบาทก็ประมาณ  2.48 แสนล้านบาท นี่เพียงแค่ 3 เดือนนะครับ ถ้าทั้งปีที่นับรวมช่วงฤดูหนาวเข้าไปด้วยจะเป็นเท่าไหร่

ประเด็นสำคัญของเรื่องข้างต้นนี้ก็คือ  กำไรกลับสูงกว่าปีก่อนถึงถึง 13% นั่นแปลความได้ว่า น้ำมันดิบยิ่งแพง บริษัทน้ำมันยิ่งกำไรขึ้น

เพื่อไม่ให้เรารู้สึกมึนงงกับตัวเลขที่ยังไม่ครบทั้งปีและไม่ครบทุกบริษัท  เรามาดูข้อสรุปผลกำไรประจำปี 2550 ของบริษัทค้าน้ำมันใหญ่ๆ 6 อันดับของโลกซึ่งรวบรวมโดยกลุ่ม “เพื่อนของโลก (Friends of the Earth)”  พบว่า บริษัทใหญ่ 6 อันดับแรกของโลก (คือ  ExxonMobil (บริษัทแม่ของเอสโซ่), Royal Ducth Shell(ของเนเธอร์แลนด์), BP (ของอังกฤษ), Chevron (ซื้อกิจการบริษัทยูโนแคล บริษัท Chevron กำลังจะมาขุดเจาะน้ำมันในทะเลบริเวณจังหวัดนครศรีธรรมราช), ENI (ของอิตาลี), TOTAL (ของฝรั่งเศส)) มีผลกำไรรวมกัน 124.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ  หรือประมาณครึ่งหนึ่งของรายได้ประชาชาติของไทย

จากข้อมูลที่ผมค้นเพิ่มเติมพบว่า ในปี 2548 บริษัทกลุ่มนี้มีกำไรรวมกัน 95.68 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ  นั่นคือ กลุ่ม 6 บริษัทนี้มีกำไรเพิ่มขึ้นทุกปี  เป็นไปตามกติกาที่เขากำหนด คือยิ่งวัตถุดิบแพง กำไรยิ่งมาก

(2) เส้นทางการค้าน้ำมัน รวมทั้งพ่อค้าน้ำมันที่มีอำนาจทางการเมืองของโลก

ถ้าถามว่าบริษัทเหล่านี้เป็นของใครบ้าง ชาติใดบ้าง เขาขุดน้ำมันจากประเทศใดไปขายประเทศใด และเกี่ยวข้องกับนักการเมืองระดับโลกอย่างไร   ลองดูจากภาพข้างล่างนี้ครับ

ภาพแรกแสดงแหล่งน้ำมันดิบว่าขุดจากไหน ไปขายที่ไหน

20080506 (1)

สิ่งที่เราเห็นได้ชัดเจนจากภาพนี้ก็คือว่า  น้ำมันดิบส่วนใหญ่ถูกส่งไปที่ประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับหนึ่งของโลก  ประชากรอเมริกันมีประมาณ 5% ของโลกแต่ใช้พลังงานถึง 25% ของโลก  ประเทศของตนก็มีน้ำมันดิบจำนวนมาก แต่ไม่ยอมขุดขึ้นมาใช้

สำหรับประเทศผู้ขายน้ำมัน ส่วนใหญ่ก็เป็นประเทศตะวันออกกลาง  ซาอุฯ อีรัก อิหร่าน  เวเนซุเอรา เม็กซิโก ซึ่งถูกจัดอยู่ในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา

ที่น่าตกใจกว่านั้น คือ ประเทศในจีเรีย ทั้งๆที่เป็นประเทศส่งออกน้ำมันดิบอันต้นๆของโลก แต่ประชากรของประเทศนี้กลับยากจนเกือบจะเป็นที่สุดในโลก

มันเกิดอะไรขึ้นกับธุรกิจน้ำมันครับ?

พูดถึงพ่อค้าน้ำมันกับการเมืองโลก  ลองดูรูปเรือข้างล่างนี้ดีๆซิครับ

20080506 (2)

เป็นเรือขนส่งน้ำมันขนาดใหญ่ของบริษัท Chevron ข้างเรือมีชื่อ   Condoleezza  Rice ซึ่งเป็นชื่อของผู้หญิงคนหนึ่งที่ไม่ธรรมดา

เธอเป็นอดีตผู้อำนวยการของบริษัทนี้ Chevron   แต่ได้ลาออกมาเป็นรัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐ  เธอเป็นผู้หญิงผิวดำที่เราเห็นในจอทีวีบ่อยๆในข่าวต่างประเทศ  เธอเป็นแม่ค้าน้ำมันและมีอำนาจสำคัญในการตัดสินใจว่าจะยกทหารไปยึดครองบ่อน้ำมันของประเทศใดบ้าง เช่น อีรัก อิหร่าน เป็นต้น

นักการเมืองอีกคนหนึ่งที่น่าสนใจมาก คือ Dick Cheney  ผู้มีตำแหน่งเป็นรองประธานาธิบดีสหรัฐ  ผู้นี้เคยทำงานในบริษัท chevron ที่มีความสัมพันธ์และร่วมกิจการกันกับบริษัท Halliburton  (Dick Cheney เป็นประธานบริษัท Halliburton ด้วย)

หลังสหรัฐอเมริกาบุกอิรักจนเกิดความเสียหายยับเยิน  บริษัท  Halliburton ก็ได้รับงานจากรัฐบาลสหรัฐจำนวน  2.5  พันล้านเหรียญสหรัฐเพื่อไปฟื้นฟูประเทศอิรัก   โดยไม่มีการประมูลใดๆ

แน่จริงๆ

สำหรับปัจจัยใดบ้างที่อิทธิพลต่อการกำหนดราคาน้ำมัน  ผมว่าดูจากภาพก็คงเข้าใจนะครับ  ว่าขึ้นกับ 7 ปัจจัย เช่น ขึ้นกับ ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ  ยิ่งค่าเงินดอลลาร์ตก ราคาน้ำมันก็สูงขึ้น(สำหรับหลายประเทศ)  การประท้วงของชาวเวเนซูเอรา รวมทั้งนโยบายของประธานาธิบดี เป็นต้น

20080506 (3)

(3) เปรียบเทียบระบบภาษีน้ำมันของประเทศต่างๆ ที่มีผลก่อให้เกิดปัญหาโลกร้อน

ญาติผมคนหนึ่งซึ่งเพิ่งกลับจากการท่องเที่ยวสหรัฐอเมริกาเล่าให้ผมฟังว่า “คนอเมริกันใช้น้ำมันกันอย่างสิ้นเปลืองมาก ราคาน้ำมันก็พอๆกับในบ้านเรา แต่รายได้เขาสูงกว่าเราหลายเท่าตัว”

การที่ราคาน้ำมันของแต่ละประเทศแตกต่างกัน ส่วนมากแล้วขึ้นกับระบบภาษี ค่าการกลั่น ค่าการตลาดของแต่ละประเทศ  ในที่นี้ผมจะยกมาเปรียบเทียบกันเพียง 3 ประเทศเท่านั้น คือ สหรัฐอเมริกา เยอรมนี และไทย

กรณีของประเทศไทย ราคาน้ำมันแก๊สโซฮอล 95 ในพื้นที่กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2551 ลิตรละ 32.59 บาท โดยมีองค์ประกอบของราคาดังนี้คือ  น้ำมันดิบ 64.0% (20.86 บาท,โดยประมาณ)  ภาษีทุกชนิดรวมกัน 17.7% ค่าการกลั่น 8.8% (เฉลี่ย 2.8665 บาท) ค่าการตลาด 8.8% (2.5772 บาท) ค่ากองทุนน้ำมันและอนุรักษ์พลังงาน 1.53% ( 50 สตางค์)

สำหรับราคาของประเทศสหรัฐอเมริกา ค่าเฉลี่ยของปี 2550  เป็นดังภาพข้างล่างนี้

20080506 (4)

คือเป็นค่าน้ำมันดิบ 58% (ของไทย 64%) เป็นค่าการกลั่น 17% ค่าการตลาด 10% และภาษี 15%  

สำหรับราคาขายปลีกที่ปั๊มในรัฐนิวยอร์ค  เมื่อวันที่ 21 เมษายน 2551 คิดออกมาเป็นเงินไทยแล้วประมาณลิตรละ 29.36 บาท ซึ่งถูกกว่าในประเทศไทย

สำหรับประเทศเยอรมนี  เท่าที่ผมค้นได้ล่าสุด น้ำมันเบนซินชนิดไร้สารตะกั่วเมื่อเดือน 8 มีนาคม นี้ ราคาลิตรละ  72.82 บาท  ใช่  70 กว่าบาท ในจำนวนนี้  ในจำนวนนี้เป็นภาษีถึง  64% ( 46.60 บาท)

การที่ประเทศเยอรมนี (รวมทั้งประเทศในยุโรปอื่นๆ) คิดภาษีในอัตราสูงเช่นนี้  ทำให้คนบางส่วนออกมาเรียกร้องให้ลดภาษีลง แต่ผลดีที่รัฐบาลมีนโยบายเช่นนี้ ก็คือ ทำให้น้ำมันที่ผลิตจากพืช ไม่ว่าจะเป็นไบโอดีเซล แก๊สโซฮอล สามารถเข้ามาแข่งขันกับน้ำมันฟอสซิลได้

ในช่วงเวลา 15 ปี จาก  2534-2548  ทำให้ยอดการใช้น้ำมันไบโอดีเซลในเยอรมนีเพิ่มขึ้นถึง 7 พันกว่าเท่า ในปี 2548 น้ำมันไบโอดีเซลเข้ามามีส่วนแบ่งการตลาดถึง 12% ในขณะที่ประเทศไทยมีเพียง 0.06% เท่านั้น (ข้อมูลปี 2546)

การที่น้ำมันแพงทำให้คนหันมาประหยัด รถยนต์ส่วนบุคคลในเยอรมนีส่วนมากเป็นคันเล็กๆ ไม่เหมือนในอเมริกาที่ยาวคันละหลายวา

การทำให้น้ำมันราคาถูกอย่างในอเมริกา ทำให้คนไม่รู้จักการประหยัด ใช้อย่างสุรุยสุร่าย จนซดน้ำมันไปถึง 25% ของโลก

อย่าลืมว่าน้ำมัน 1 ลิตรก่อให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ถึง 2.5  กิโลกรัม  และก๊าซนี้แหละที่ทำให้ปัญหาโลกร้อน
กราฟข้างล่างนี้แสดงให้เห็นราคาน้ำมันของประเทศญี่ปุ่น ยุโรป และประเทศอเมริกาเหนือ (สหรัฐอเมริกากับแคนาดา) ตั้งแต่ปี 2548 จนถึงปัจจุบัน เราจะเห็นว่าราคาน้ำมันในยุโรปเกือบเป็น 3 เท่าของราคาในอเมริกาเหนือ หรือในสหรัฐอเมริกานั่นเองแหละ

ถ้าเราคิดว่าน้ำมันที่เกิดจาการทับถมของซากพืชและสัตว์มานับล้านปีนี้เป็นสมบัติของคนรุ่นหลังด้วย การกำหนดภาษีในอัตราต่ำเกินไป นอกจากจะเป็นการกีดกันไม่ให้ไบโอดีเซลและพลังงานหมุนเวียนอื่นๆ เกิดขึ้นแล้ว ยังเป็นการเห็นแก่ตัวอย่างร้ายกาจของผู้นำการเมืองของอเมริกันรุ่นนี้อีกด้วย  พวกเขาไม่สนใจว่าคนรุ่นหลังจะใช้อะไร พร้อมกับทิ้งพิษภัยโลกร้อนไว้อย่างยากที่จะแก้ไข

20080506 (5)

(4) ความไม่รับผิดชอบสังคมของบริษัทยักษ์ทั้งหก

ผมร่ายยาวใน 3 ประเด็นแรกมากไปหน่อยครับ  ประเด็นสุดท้ายจึงขอนำเสนอเพียงสั้นๆ ว่า กลุ่มสหภาพยุโรป ได้เสนอให้กลุ่มบริษัทน้ำมันช่วยกันลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงจำนวน 10%  ในปี 2020  โดยไม่ต้องใช้เชื้อเพลิงจากพืช  แต่ให้หันมาใช้วิธีใช้พลังงานให้มีประสิทธิภาพ  ปรับปรุงระบบการกลั่น (ซึ่งเป็นเรื่องที่อธิบายยากในที่นี้)  และอื่นๆอีก

แต่ปรากฏว่า บริษัทผลิตน้ำมันไม่สนใจ ทั้งๆที่มีกำไรจำนวนมหาศาลทุกปี ขณะเดียวกันก็โฆษณาว่าลวงโลกว่า ตนเองสนใจแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมเสียเหลือเกิน

มีโอกาสเหมาะๆแล้วจะนำมาเล่าต่อไปนะครับ

บล็อกของ ประสาท มีแต้ม

ประสาท มีแต้ม
เราเคยสงสัยและตั้งคำถามเสมอมาว่า ทำไมราคาน้ำมันสำเร็จรูป (รวมทั้งราคายางพารา) ในภูมิภาคเอเซียจึงถูกกำหนดจากประเทศสิงคโปร์
ประสาท มีแต้ม
ตลอดช่วงเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ราคาน้ำมันดิบและราคาน้ำมันที่ปั๊มในบ้านเราได้เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง นักวิเคราะห์บางคนคาดการณ์ว่าสิ้นปีนี้ราคาน้ำมันดิบจะสูงถึง 85 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล โดยที่ราคาเมื่อต้นเดือนมิถุนายนได้ขยับจาก 62 ถึง 68 ภายในเวลาเจ็ดวันเท่านั้น
ประสาท มีแต้ม
1. คำนำ บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ข้อ คือ หนึ่ง ให้เห็นตัวเลขค่าใช้จ่ายด้านไฟฟ้าของคนไทยโดยเฉลี่ยซึ่งค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับรายได้ และหากแผนผลิตไฟฟ้าดังกล่าวมีปัญหาแล้วจะส่งผลกระทบต่อผู้ใช้ไฟฟ้าอย่างไร สอง เพื่อเล่าถึงการจัดทำแผนผลิตไฟฟ้าที่ผูกขาดโดย "กลุ่มผู้เชี่ยวชาญ" จำนวนน้อยตลอดมาและจะชี้ให้เห็นถึงบางสิ่งที่ผมคิดว่า "น่าจะไม่ถูกต้อง" สาม หากท่านผู้อ่านได้เห็นปัญหาในข้อสองแล้ว จะได้เห็นความจำเป็นของ "การเมืองภาคประชาชน" ในการตรวจสอบโครงการของรัฐมากขึ้น
ประสาท มีแต้ม
1. คำนำ เพื่อให้ท่านผู้อ่านได้ตัดสินใจว่าจะอ่านบทความนี้ต่อไปหรือไม่ ผมขอนำประเด็นสำคัญมาเสนอก่อน  ประเด็นคือการวางแผนผลิตก๊าซที่ผิดพลาดทำให้คนไทยทุกคนต้องควักเงินในกระเป๋าเพิ่มขึ้น จากรายงานประจำปี 2551 ของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) พบว่า ในปี 2551 บริษัท ปตท. ต้องจ่ายค่า "ไม่ซื้อก็ต้องจ่าย" ก๊าซจากโครงการไทย-มาเลเซีย (ซึ่งเป็นโครงการสร้างความขัดแย้งมาตั้งแต่รัฐบาลชวน หลีกภัย และทักษิณ ชินวัตร จนถึงปัจจุบัน) เป็นจำนวน 13,716 ล้านบาท
ประสาท มีแต้ม
ในขณะที่วิกฤตเศรษฐกิจโลกที่เริ่มต้นจากถนนวอลล์สตรีทในสหรัฐอเมริกากำลังลุกลามไปอย่างรวดเร็วราวกับลาวาภูเขาไฟไปสู่ทุกถนนของโลก ในภาคใต้ของประเทศไทยโดยหน่วยงานของรัฐและการนิคมอุตสาหกรรมก็กำลังดำเนินการให้มีแผนพัฒนาภาคใต้ด้วยโครงการต่าง ๆ มากมาย ทั้งโดยเปิดเผยและแอบแฝง ตัวอย่างของโครงการเหล่านี้ได้แก่ นิคมอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ในจังหวัดนครศรีธรรมราช โครงการอุตสาหกรรมเหล็กต้นน้ำ จังหวัดชุมพรและสุราษฎร์ธานี โครงการขุดเจาะน้ำมันของบริษัทเซฟรอน ที่นครศรีธรรมราช ตลอดจนโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ถึง 3 โรง นอกจากนี้ยังมีนิคมอุตสาหกรรมที่จังหวัดตรัง และท่าเทียบเรือน้ำลึกในจังหวัดสงขลาและอีกหลายจังหวัด…
ประสาท มีแต้ม
  เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2552 กระทรวงพลังงานในฐานะผู้รับผิดชอบหรือจะเรียกว่าผู้จัดทำแผนผลิตไฟฟ้าเองได้จัดรับฟังความคิดเห็นของประชาชนเพื่อปรับปรุง "แผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้า" ในช่วงปี 2551 ถึง 2564 ซึ่งเป็นแผนที่ได้จัดทำไว้ก่อนปี 2551 ในการรับฟังครั้งนี้ก็เพื่อจะได้ปรับปรุงเป็นครั้งที่ 2 สาเหตุที่ต้องปรับปรุงก็เพราะปัญหาเศรษฐกิจถดถอยทั้งในระดับโลกและในระดับประเทศไทยด้วยนักวิชาการอิสระด้านพลังงานที่ไม่ใช่ข้าราชการของกระทรวงพลังงานก็ได้ออกมาแสดงความคิดเห็นที่น่าสนใจหลายอย่าง ขณะเดียวกันกลุ่มชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบจากโรงไฟฟ้าก็ได้ตั้งคำถามพร้อมแผ่นผ้าด้วยข้อความสั้น ๆ แต่เข้าใจง่ายว่า "…
ประสาท มีแต้ม
คำนำ เมื่อธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ประสบปัญหาขายไม่ได้เนื่องจากได้รับผลกระทบจากวิกฤติเศรษฐกิจของโลก นักการเมืองรวมทั้งว่าที่รัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องก็ได้เสนอมาตรการลดหย่อนภาษีค่าโอนบ้าน โดยจะเริ่มต้นตั้งแต่ปี 2552 เป็นต้นไป ผมขออนุญาตไม่แสดงความคิดเห็นในประเด็นดังกล่าวข้างต้น แต่ขอใช้หลักคิดเดียวกันนี้เพื่อตั้งคำถามว่า ทำไมรัฐบาลจึงไม่ใช้มาตรการทางภาษีเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการพืชน้ำมันซึ่งได้แก่ ไบโอดีเซล และแก๊สโซฮอล์ ซึ่งโยงใยเกี่ยวเนื่องกันตั้งแต่เจ้าของโรงงานจนถึงเกษตรกรผู้ปลูกพืชน้ำมัน ( ปาล์มน้ำมัน อ้อย ฯลฯ ) เหล่านี้บ้างเล่า?
ประสาท มีแต้ม
1. คำนำ เมื่อราคาน้ำมันลดลงมาจากลิตรละราว 40 บาทจากเมื่อ 4-5 เดือนก่อนมาอยู่ที่ราว ๆ 20 บาท ทำให้คนไทยเราก็รู้สึกสบายใจ บางคนถึงกับกล่าวว่า “ตอนนี้จะไปไหนมาไหนก็ไม่ค่อยได้คิดมากเหมือนเมื่อก่อนแล้ว” ในยุคที่การเมืองที่เต็มไปด้วยการฉ้อราษฎร์บังหลวง ผู้บริโภคจะพอใจอยู่กับตัวเลขที่อิงอยู่กับความรู้สึกเช่นนี้เพียงอย่างเดียวคงไม่ได้ เราจะต้องลุกขึ้นมาช่วยกันตรวจสอบ ถามหาความความเป็นธรรม ความพอดีอยู่ตลอดเวลา เมื่อพูดถึงความรู้สึกที่สบายใจขึ้นของคนไทยในขณะนี้ ทำให้ผมนึกเรื่อง “นัสรูดิน” ชายชาวอาหรับโบราณที่คนรุ่นหลังยังตัดสินไม่ได้ว่า เขาเป็นคนเฉลียวฉลาดหรือคนโง่กันแน่…
ประสาท มีแต้ม
1. คำนำ ก่อนจะเริ่มต้นเนื้อหา เรามาดูรูปการ์ตูนสนุก ๆ แต่บาดใจและอาจจะบาดตากันก่อนครับ ความหมายในภาพนี้ ไม่มีอะไรมาก นอกจากบอกว่านี่ไงหลักฐานที่พิสูจน์ว่าโลกเราร้อนขึ้นจริง สำหรับภาพนี้บอกว่า ผลการศึกษาพบว่าอุณหภูมิของน้ำในมหาสมุทรสูงขึ้น นักวิชาการ (และนักการเมือง) กำลังระดมกันแก้ปัญหาอย่างขยันขันแข็ง ขอขอบคุณเจ้าของภาพทั้งสองด้วย คราวนี้มาเข้าเรื่องกันครับ ขณะที่โลกของเรากำลังเผชิญกับวิกฤตการณ์ครั้งสำคัญ 4 ด้านพร้อม ๆ กัน คือ (1) วิกฤติภาวะโลกร้อน (2) วิกฤติพลังงานที่ทั้งขาดแคลน ราคาแพง ผูกขาดและก่อวิกฤติด้านอื่น ๆ (3) วิกฤติการเงินที่เพิ่งจะเกิดขึ้นหยก ๆ…
ประสาท มีแต้ม
คำนำ “...เวลานี้สังคมไทยมีอาการป่วยอย่างร้ายที่สุด คือ ป่วยทางปัญญา ขอให้พิจารณาดูเถิด เวลานี้ปัญหาสุขภาวะที่น่ากลัวที่สุดคือ ความป่วยทางปัญญา...” พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตโต) มีนาคม 2551 ท่ามกลางกระแสการคิดค้นเรื่อง “การเมืองใหม่” ซึ่งขณะนี้สังคมบางส่วนเริ่มเห็นภาพราง ๆ บ้างแล้วว่ามันเป็นอย่างไร แต่ยังไม่มีความชัดเจนมากนักว่า สังคมไทยจะก้าวไปสู่สภาพนั้นได้อย่างไร และสมมุติว่าเราสามารถเข้าไปสู่สภาพนั้นได้จริง ๆ แล้ว เราจะรักษาและพัฒนาการเมืองใหม่ให้ดียิ่งๆ ขึ้นไปอีกได้อย่างไร ในที่นี้ ผมจะขออนุญาตนำเสนอหลักการพื้นฐานมาใช้ตอบคำถามดังกล่าว ผมเรียกหลักการนี้ว่า “กฎ 3…
ประสาท มีแต้ม
เมื่อต้นเดือนเมษายน 2551 หนังสือพิมพ์หลายฉบับได้ลงข่าวว่า "พลังงานเผยไทยผลิตน้ำมันดิบสูงกว่าบรูไน คุยทดแทนนำเข้าปีนี้มหาศาล" (ไทยรัฐ 2 เมษายน 2551)    สาเหตุที่ผู้ให้ข่าวซึ่งก็คือข้าราชการระดับสูงของกระทรวงพลังงานได้นำประเทศไทยไปเทียบกับประเทศบรูไน ก็น่าจะเป็นเพราะว่าคนไทยเราทราบกันดีว่าประเทศบรูไนเป็นประเทศส่งออกน้ำมันรายหนึ่งของภูมิภาคนี้ ดังนั้นเมื่อประเทศไทยเราผลิตน้ำมันดิบได้มากกว่าก็น่าจะทำให้คนไทยเราหลงดีใจได้บ้าง  นาน ๆ คนไทยเราจะได้มีข่าวที่ทำให้ดีใจสักครั้ง   หลังจากอ่านข่าวนี้แล้ว ผมก็ได้ค้นหาความรู้เพิ่มเติมจากอินเทอร์เน็ตก็พบว่า…
ประสาท มีแต้ม
1. คำนำ ขณะนี้มีผู้คนจำนวนหนึ่งกำลังครุ่นคิดถึง "การเมืองใหม่" ซึ่งยังไม่เป็นที่แน่ชัดนักว่ามันคืออะไรกันแน่ ทราบแต่ว่า "การเมืองเดิม" ซึ่งก็คือการเมืองแบบตัวแทน (representative democracy) กำลังมีปัญหาหลายอย่างและรุนแรงขึ้นทุกขณะบทความนี้จะนำเสนอความล้มเหลวของ "การเมืองแบบตัวแทน" อย่างสั้นๆ พร้อมกับนำเสนอ "การเมืองแบบไฮเพอร์ (hyperpolitics)" ให้พอเป็นประกายเบื้องต้น หากสังคมนี้สนใจก็มีช่องทางให้ศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมกันต่อไป2. สาเหตุความล้มเหลวของการเมืองแบบตัวแทนเราท่องกันจนขึ้นใจมาตั้งแต่วัยเด็กแล้วว่า สาเหตุสำคัญของการมี "การเมืองแบบตัวแทน" คือเป็นเพราะคนมันเยอะ…