Skip to main content

ในขณะที่คนทั่วโลกกำลังเดือดร้อนกับราคาน้ำมันที่พุ่งสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์  แต่ผลกำไรของบริษัทน้ำมันขนาดยักษ์ของโลกกลับเพิ่มสูงขึ้นกว่าปีที่ผ่านมา มันช่างฝืนความรู้สึกในใจของมนุษย์ธรรมดาๆ ที่คิดว่า “เออ! เมื่อสินค้าราคาสูงขึ้น เขาน่าจะลดกำไรลงมามั่ง เพื่อไม่ให้ผู้บริโภคเดือดร้อนมากนัก”   แต่มันกลับเป็นตรงกันข้าม คือเพิ่มกำไรมากกว่าเดิม  โดยไม่สนใจใยดีกับเพื่อนร่วมโลก

ในขณะที่ผู้มีรายได้น้อยอย่างกรรมกรได้สะท้อนออกมาในวันแรงงานแห่งชาติว่า “ค่าครองชีพแพง แต่ค่าแรงเท่าเดิม”

บทความนี้จะนำเสนอทั้งข้อมูลและความคิดเห็นใน 4 เรื่องต่อไปนี้ คือ (1) ผลประกอบการล่าสุดของบริษัทน้ำมันขนาดใหญ่ 6 อันดับแรกของโลก (2) เส้นทางการค้าน้ำมัน รวมทั้งพ่อค้าน้ำมันที่มีอำนาจทางการเมืองของโลก  ผมจะนำเสนอด้วยภาพที่เข้าใจง่ายและดูสบายๆ  (3) เปรียบเทียบระบบภาษีน้ำมันของประเทศต่างๆ ที่มีผลก่อให้เกิดปัญหาโลกร้อน และ (4) ความไม่รับผิดชอบสังคมของบริษัทยักษ์ทั้งหก  เริ่มกันเลยครับ

(1) ผลประกอบการล่าสุดของบริษัทน้ำมันขนาดใหญ่ 6 อันดับแรกของโลก    

สำนักข่าวบีบีซี (29 เมษายน 2551) รายงานว่าในช่วง 3 เดือนแรกของปีนี้ บริษัทเชลล์ (Royal Dutch Shell) เพียงบริษัทเดียว มีผลกำไรสุทธิถึง 7.8 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน  ถึง 13%  ถ้าคิดออกมาเป็นเงินบาทก็ประมาณ  2.48 แสนล้านบาท นี่เพียงแค่ 3 เดือนนะครับ ถ้าทั้งปีที่นับรวมช่วงฤดูหนาวเข้าไปด้วยจะเป็นเท่าไหร่

ประเด็นสำคัญของเรื่องข้างต้นนี้ก็คือ  กำไรกลับสูงกว่าปีก่อนถึงถึง 13% นั่นแปลความได้ว่า น้ำมันดิบยิ่งแพง บริษัทน้ำมันยิ่งกำไรขึ้น

เพื่อไม่ให้เรารู้สึกมึนงงกับตัวเลขที่ยังไม่ครบทั้งปีและไม่ครบทุกบริษัท  เรามาดูข้อสรุปผลกำไรประจำปี 2550 ของบริษัทค้าน้ำมันใหญ่ๆ 6 อันดับของโลกซึ่งรวบรวมโดยกลุ่ม “เพื่อนของโลก (Friends of the Earth)”  พบว่า บริษัทใหญ่ 6 อันดับแรกของโลก (คือ  ExxonMobil (บริษัทแม่ของเอสโซ่), Royal Ducth Shell(ของเนเธอร์แลนด์), BP (ของอังกฤษ), Chevron (ซื้อกิจการบริษัทยูโนแคล บริษัท Chevron กำลังจะมาขุดเจาะน้ำมันในทะเลบริเวณจังหวัดนครศรีธรรมราช), ENI (ของอิตาลี), TOTAL (ของฝรั่งเศส)) มีผลกำไรรวมกัน 124.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ  หรือประมาณครึ่งหนึ่งของรายได้ประชาชาติของไทย

จากข้อมูลที่ผมค้นเพิ่มเติมพบว่า ในปี 2548 บริษัทกลุ่มนี้มีกำไรรวมกัน 95.68 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ  นั่นคือ กลุ่ม 6 บริษัทนี้มีกำไรเพิ่มขึ้นทุกปี  เป็นไปตามกติกาที่เขากำหนด คือยิ่งวัตถุดิบแพง กำไรยิ่งมาก

(2) เส้นทางการค้าน้ำมัน รวมทั้งพ่อค้าน้ำมันที่มีอำนาจทางการเมืองของโลก

ถ้าถามว่าบริษัทเหล่านี้เป็นของใครบ้าง ชาติใดบ้าง เขาขุดน้ำมันจากประเทศใดไปขายประเทศใด และเกี่ยวข้องกับนักการเมืองระดับโลกอย่างไร   ลองดูจากภาพข้างล่างนี้ครับ

ภาพแรกแสดงแหล่งน้ำมันดิบว่าขุดจากไหน ไปขายที่ไหน

20080506 (1)

สิ่งที่เราเห็นได้ชัดเจนจากภาพนี้ก็คือว่า  น้ำมันดิบส่วนใหญ่ถูกส่งไปที่ประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับหนึ่งของโลก  ประชากรอเมริกันมีประมาณ 5% ของโลกแต่ใช้พลังงานถึง 25% ของโลก  ประเทศของตนก็มีน้ำมันดิบจำนวนมาก แต่ไม่ยอมขุดขึ้นมาใช้

สำหรับประเทศผู้ขายน้ำมัน ส่วนใหญ่ก็เป็นประเทศตะวันออกกลาง  ซาอุฯ อีรัก อิหร่าน  เวเนซุเอรา เม็กซิโก ซึ่งถูกจัดอยู่ในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา

ที่น่าตกใจกว่านั้น คือ ประเทศในจีเรีย ทั้งๆที่เป็นประเทศส่งออกน้ำมันดิบอันต้นๆของโลก แต่ประชากรของประเทศนี้กลับยากจนเกือบจะเป็นที่สุดในโลก

มันเกิดอะไรขึ้นกับธุรกิจน้ำมันครับ?

พูดถึงพ่อค้าน้ำมันกับการเมืองโลก  ลองดูรูปเรือข้างล่างนี้ดีๆซิครับ

20080506 (2)

เป็นเรือขนส่งน้ำมันขนาดใหญ่ของบริษัท Chevron ข้างเรือมีชื่อ   Condoleezza  Rice ซึ่งเป็นชื่อของผู้หญิงคนหนึ่งที่ไม่ธรรมดา

เธอเป็นอดีตผู้อำนวยการของบริษัทนี้ Chevron   แต่ได้ลาออกมาเป็นรัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐ  เธอเป็นผู้หญิงผิวดำที่เราเห็นในจอทีวีบ่อยๆในข่าวต่างประเทศ  เธอเป็นแม่ค้าน้ำมันและมีอำนาจสำคัญในการตัดสินใจว่าจะยกทหารไปยึดครองบ่อน้ำมันของประเทศใดบ้าง เช่น อีรัก อิหร่าน เป็นต้น

นักการเมืองอีกคนหนึ่งที่น่าสนใจมาก คือ Dick Cheney  ผู้มีตำแหน่งเป็นรองประธานาธิบดีสหรัฐ  ผู้นี้เคยทำงานในบริษัท chevron ที่มีความสัมพันธ์และร่วมกิจการกันกับบริษัท Halliburton  (Dick Cheney เป็นประธานบริษัท Halliburton ด้วย)

หลังสหรัฐอเมริกาบุกอิรักจนเกิดความเสียหายยับเยิน  บริษัท  Halliburton ก็ได้รับงานจากรัฐบาลสหรัฐจำนวน  2.5  พันล้านเหรียญสหรัฐเพื่อไปฟื้นฟูประเทศอิรัก   โดยไม่มีการประมูลใดๆ

แน่จริงๆ

สำหรับปัจจัยใดบ้างที่อิทธิพลต่อการกำหนดราคาน้ำมัน  ผมว่าดูจากภาพก็คงเข้าใจนะครับ  ว่าขึ้นกับ 7 ปัจจัย เช่น ขึ้นกับ ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ  ยิ่งค่าเงินดอลลาร์ตก ราคาน้ำมันก็สูงขึ้น(สำหรับหลายประเทศ)  การประท้วงของชาวเวเนซูเอรา รวมทั้งนโยบายของประธานาธิบดี เป็นต้น

20080506 (3)

(3) เปรียบเทียบระบบภาษีน้ำมันของประเทศต่างๆ ที่มีผลก่อให้เกิดปัญหาโลกร้อน

ญาติผมคนหนึ่งซึ่งเพิ่งกลับจากการท่องเที่ยวสหรัฐอเมริกาเล่าให้ผมฟังว่า “คนอเมริกันใช้น้ำมันกันอย่างสิ้นเปลืองมาก ราคาน้ำมันก็พอๆกับในบ้านเรา แต่รายได้เขาสูงกว่าเราหลายเท่าตัว”

การที่ราคาน้ำมันของแต่ละประเทศแตกต่างกัน ส่วนมากแล้วขึ้นกับระบบภาษี ค่าการกลั่น ค่าการตลาดของแต่ละประเทศ  ในที่นี้ผมจะยกมาเปรียบเทียบกันเพียง 3 ประเทศเท่านั้น คือ สหรัฐอเมริกา เยอรมนี และไทย

กรณีของประเทศไทย ราคาน้ำมันแก๊สโซฮอล 95 ในพื้นที่กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2551 ลิตรละ 32.59 บาท โดยมีองค์ประกอบของราคาดังนี้คือ  น้ำมันดิบ 64.0% (20.86 บาท,โดยประมาณ)  ภาษีทุกชนิดรวมกัน 17.7% ค่าการกลั่น 8.8% (เฉลี่ย 2.8665 บาท) ค่าการตลาด 8.8% (2.5772 บาท) ค่ากองทุนน้ำมันและอนุรักษ์พลังงาน 1.53% ( 50 สตางค์)

สำหรับราคาของประเทศสหรัฐอเมริกา ค่าเฉลี่ยของปี 2550  เป็นดังภาพข้างล่างนี้

20080506 (4)

คือเป็นค่าน้ำมันดิบ 58% (ของไทย 64%) เป็นค่าการกลั่น 17% ค่าการตลาด 10% และภาษี 15%  

สำหรับราคาขายปลีกที่ปั๊มในรัฐนิวยอร์ค  เมื่อวันที่ 21 เมษายน 2551 คิดออกมาเป็นเงินไทยแล้วประมาณลิตรละ 29.36 บาท ซึ่งถูกกว่าในประเทศไทย

สำหรับประเทศเยอรมนี  เท่าที่ผมค้นได้ล่าสุด น้ำมันเบนซินชนิดไร้สารตะกั่วเมื่อเดือน 8 มีนาคม นี้ ราคาลิตรละ  72.82 บาท  ใช่  70 กว่าบาท ในจำนวนนี้  ในจำนวนนี้เป็นภาษีถึง  64% ( 46.60 บาท)

การที่ประเทศเยอรมนี (รวมทั้งประเทศในยุโรปอื่นๆ) คิดภาษีในอัตราสูงเช่นนี้  ทำให้คนบางส่วนออกมาเรียกร้องให้ลดภาษีลง แต่ผลดีที่รัฐบาลมีนโยบายเช่นนี้ ก็คือ ทำให้น้ำมันที่ผลิตจากพืช ไม่ว่าจะเป็นไบโอดีเซล แก๊สโซฮอล สามารถเข้ามาแข่งขันกับน้ำมันฟอสซิลได้

ในช่วงเวลา 15 ปี จาก  2534-2548  ทำให้ยอดการใช้น้ำมันไบโอดีเซลในเยอรมนีเพิ่มขึ้นถึง 7 พันกว่าเท่า ในปี 2548 น้ำมันไบโอดีเซลเข้ามามีส่วนแบ่งการตลาดถึง 12% ในขณะที่ประเทศไทยมีเพียง 0.06% เท่านั้น (ข้อมูลปี 2546)

การที่น้ำมันแพงทำให้คนหันมาประหยัด รถยนต์ส่วนบุคคลในเยอรมนีส่วนมากเป็นคันเล็กๆ ไม่เหมือนในอเมริกาที่ยาวคันละหลายวา

การทำให้น้ำมันราคาถูกอย่างในอเมริกา ทำให้คนไม่รู้จักการประหยัด ใช้อย่างสุรุยสุร่าย จนซดน้ำมันไปถึง 25% ของโลก

อย่าลืมว่าน้ำมัน 1 ลิตรก่อให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ถึง 2.5  กิโลกรัม  และก๊าซนี้แหละที่ทำให้ปัญหาโลกร้อน
กราฟข้างล่างนี้แสดงให้เห็นราคาน้ำมันของประเทศญี่ปุ่น ยุโรป และประเทศอเมริกาเหนือ (สหรัฐอเมริกากับแคนาดา) ตั้งแต่ปี 2548 จนถึงปัจจุบัน เราจะเห็นว่าราคาน้ำมันในยุโรปเกือบเป็น 3 เท่าของราคาในอเมริกาเหนือ หรือในสหรัฐอเมริกานั่นเองแหละ

ถ้าเราคิดว่าน้ำมันที่เกิดจาการทับถมของซากพืชและสัตว์มานับล้านปีนี้เป็นสมบัติของคนรุ่นหลังด้วย การกำหนดภาษีในอัตราต่ำเกินไป นอกจากจะเป็นการกีดกันไม่ให้ไบโอดีเซลและพลังงานหมุนเวียนอื่นๆ เกิดขึ้นแล้ว ยังเป็นการเห็นแก่ตัวอย่างร้ายกาจของผู้นำการเมืองของอเมริกันรุ่นนี้อีกด้วย  พวกเขาไม่สนใจว่าคนรุ่นหลังจะใช้อะไร พร้อมกับทิ้งพิษภัยโลกร้อนไว้อย่างยากที่จะแก้ไข

20080506 (5)

(4) ความไม่รับผิดชอบสังคมของบริษัทยักษ์ทั้งหก

ผมร่ายยาวใน 3 ประเด็นแรกมากไปหน่อยครับ  ประเด็นสุดท้ายจึงขอนำเสนอเพียงสั้นๆ ว่า กลุ่มสหภาพยุโรป ได้เสนอให้กลุ่มบริษัทน้ำมันช่วยกันลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงจำนวน 10%  ในปี 2020  โดยไม่ต้องใช้เชื้อเพลิงจากพืช  แต่ให้หันมาใช้วิธีใช้พลังงานให้มีประสิทธิภาพ  ปรับปรุงระบบการกลั่น (ซึ่งเป็นเรื่องที่อธิบายยากในที่นี้)  และอื่นๆอีก

แต่ปรากฏว่า บริษัทผลิตน้ำมันไม่สนใจ ทั้งๆที่มีกำไรจำนวนมหาศาลทุกปี ขณะเดียวกันก็โฆษณาว่าลวงโลกว่า ตนเองสนใจแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมเสียเหลือเกิน

มีโอกาสเหมาะๆแล้วจะนำมาเล่าต่อไปนะครับ

บล็อกของ ประสาท มีแต้ม

ประสาท มีแต้ม
เคยมีคนไปถาม อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ นักวิทยาศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ว่า “ท่านคิดว่าสิ่งประดิษฐ์ใดของมนุษย์ที่มีอำนาจในการทำลายล้างมากที่สุด” ผู้ถามคงจะคาดหวังว่าไอน์สไตน์น่าจะตอบว่า “ระเบิดนิวเคลียร์” เพราะเขามีส่วนเกี่ยวข้องในการประดิษฐ์คิดค้นอยู่ด้วยไม่มากก็น้อย แต่ไอน์สไตน์กลับตอบว่า “สูตรดอกเบี้ยทบต้น”
ประสาท มีแต้ม
1. คำนำ เมื่อกลางเดือนธันวาคม ปี 2552 ผมได้มีโอกาสเข้าร่วมประชุม “สมัชชาสุขภาพแห่งชาติ” ในงานนี้ได้มีโอกาสฟังปาฐกถาจากประธานศูนย์ศึกษาประเทศภูฎาน คือท่าน Dasho Karma Ura
ประสาท มีแต้ม
1. คำนำ “รักเจ้าจึงปลูก” เป็นชื่อโครงการที่ภาควิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์กำลังครุ่นคิดเพื่อใช้ในการพัฒนาคุณภาพนักศึกษา ผมเองได้เขียนบทความเกี่ยวกับเรื่องนี้มา 2 ตอนแล้ว
ประสาท มีแต้ม
  1. คำนำ       ภาพที่เห็นคือบริเวณชายหาดชลาทัศน์ อ.เมือง จังหวัดสงขลา (ถ่ายเมื่อพฤศจิกายน 2552) หาดนี้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญมากของชาวเมืองสงขลา อยู่ทางตอนใต้ของหาดสมิหลาที่คนไทยส่วนใหญ่รู้จักดีประมาณหนึ่งกิโลเมตร สิ่งที่เห็นในภาพที่มีถุงทรายสีขาว ยางรถยนต์เก่ายึดด้วยไม้หลักปักทราย รวมทั้งรูปต้นสนล้ม คงสะท้อนทั้งความรุนแรงของปัญหาและความพยายามแก้ปัญหาของผู้ที่เกี่ยวข้องได้เป็นอย่างดี
ประสาท มีแต้ม
1. ความเดิม ในตอนที่ 1 ผมได้นำข้อมูลที่มาจากงานวิจัยของกระทรวงศึกษาธิการที่พบว่า นักเรียนทุกระดับชั้นของประเทศไทย ทั้งระดับ ป.6 , ม.3 และมัธยมปลายมีคะแนนเฉลี่ยไม่ถึงครึ่งทุกวิชา โดยวิชาที่สอบได้คะแนนน้อยที่สุดคือวิชาคณิตศาสตร์ ได้เพียงร้อยละ 29.6 เท่านั้น ในตอนที่ 2 นี้ ผมจะกล่าวถึงปัญหาที่ได้ตั้งไว้ในชื่อบทความ ซึ่งผมคิดว่าน่าจะเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้คุณภาพการศึกษาเราตกต่ำ นอกจากนี้ ผมได้นำเสนอความคิดเห็นและความพยายามของผู้บริหารระดับสูงสุดของมหาวิทยาลัยด้วย
ประสาท มีแต้ม
๑. คำนำ ผมขอเรียนกับท่านผู้อ่าน “ประชาไท” ตามตรงว่า ผมใช้เวลานานมากในการคิดว่าจะเขียนเรื่องอะไรดี เขียนทิ้งเขียนขว้างไปหลายชิ้น ที่เป็นเช่นนี้ส่วนหนึ่งเพราะว่าผมสับสนในตัวเอง ไม่ทราบว่าจะนำเสนออะไรดีให้เข้ากับสถานการณ์บ้านเมือง
ประสาท มีแต้ม
๑. ปัญหาในภาพเล็ก ที่ภาควิชาที่ผมทำงานอยู่คือ ภาควิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กำลังคิดทำโครงการที่จะพัฒนานักศึกษานอกเหนือจากรายวิชาและกิจกรรมเสริมหลักสูตรที่ทำกันอยู่ตามปกติแล้ว โครงการยังไม่เป็นรูปเป็นร่างดีนัก แต่ชื่อโครงการก็ค่อนข้างจะเห็นตรงกันคือ “โครงการรักเจ้าจึงปลูก” ที่มาจากเนื้อเพลง “อิ่มอุ่น” ของ ศุ บุญเลี้ยง
ประสาท มีแต้ม
ที่คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มีวิชาบังคับให้นักศึกษาต้องเรียนอยู่วิชาหนึ่งจำนวน 3 หน่วยกิต ชื่อว่า “วิชาวิทยาเขตสีเขียว (greening the campus)” วัตถุประสงค์หลักของวิชานี้ก็คือ ให้นักศึกษาลุกขึ้นมาศึกษาปัญหาส่วนรวมหรือปัญหาสาธารณะที่อยู่ในวิทยาเขตของตนเอง แต่โดยมากมักจะเน้นไปที่ปัญหาสิ่งแวดล้อม เช่น ปัญหาการจราจร ปัญหาขวดน้ำพลาสติกที่มีมากอย่างไม่น่าเชื่อ ปัญหาการประหยัดพลังงาน และกระดาษ เป็นต้น
ประสาท มีแต้ม
ทั้ง ๆ ที่ประเทศเรากำลังประสบกับวิกฤติหลายด้าน ทั้งความขัดแย้งทางการเมือง วิกฤติเศรษฐกิจ และการแพร่ระบาดของไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 เป็นต้น แต่สื่อกระแสหลักก็ให้ความสำคัญกับข่าวความขัดแย้งในการแต่งตั้งข้าราชการระดับสูงซ้ำแล้วซ้ำเล่า รวมทั้งความขัดแย้งในพรรคร่วมรัฐบาลโดยไม่มีอะไรใหม่สร้างสรรค์ให้กับสังคม
ประสาท มีแต้ม
ในขณะที่กระแสสังคมส่งสัญญาณไม่พอใจกับราคาน้ำมันที่กำลังเพิ่มสูงขึ้นทุกขณะ คณะรัฐมนตรีก็มีมติเห็นชอบตามคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติให้ลดการนำเงินเข้ากองทุนน้ำมันและกองทุนส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานในส่วนของ ดีเซล ลิตรละ 2 บาท
ประสาท มีแต้ม
1. คำนำขณะนี้หลายท่านคงจะรู้สึกกังวลร่วมกันว่า ราคาน้ำมันกำลังมีแนวโน้มจะเพิ่มสูงขึ้นจนอาจถึงหรือสูงกว่าเมื่อกลางปี 2551 (ดูกราฟประกอบ-ต่ำสุดเดือนธันวาคม 2551 ที่ 40 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล จนมาถึงเกือบ 80 ในเดือนสิงหาคมปีนี้)   ซึ่งจะนำความเดือดร้อนมาสู่เรามากน้อยแค่ไหนก็คงพอจะนึกกันออก
ประสาท มีแต้ม
ผมได้รับเชิญจากคณะกรรมาธิการพลังงาน สภาผู้แทนราษฎร เพื่อ"ชี้แจงแสดงความคิดเห็น" เรื่อง ค่าการกลั่นน้ำมันเชื้อเพลิง เมื่อ 1 กรกฎาคม 52 คนนอกที่นอกจากผมแล้วก็มีอีก 6 -7 ท่าน ได้แก่ผู้แทนกระทรวงพลังงาน ผู้แทนบริษัทบางจาก, บริษัท ปตท. นายกสมาคมผู้ค้าน้ำมันแห่งประเทศไทย, คุณรสนา โตสิตระกูล และนักวิชาการปิโตรเลียม เป็นต้น