สมยศ พฤกษาเกษมสุข
ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช แห่งกรุงศรีอยุธยา ราวปี พ.ศ.2205 กวีลือนามชื่อศรีปราชญ์ บุตรของพระมหาราชครูทายหนู มีผลงานกวีชินสำคัญคือหนังสือกำสรวลศรีปราชญ์ และอนิรุทธ์ดำฉันท์ ศรีปราชญ์ได้รับราชการเป็นมหาดเล็ก มีความเฉลียวฉลาดสามารถแต่งกาพย์ กลอน โคลง ได้เป็นอย่างดี เมื่อสนมเอกท้าวศรีจุฬาลักษณ์ ตำหนิศรีปราชญ์ที่แสดงความเจ้าชู้เป็นโคลงสี่สุภาพที่ว่า
หะหายกระต่ายเต้น ชมจันทร์มันบ่เจียมตัวมัน ต่ำต้อยนกยูงหากกระสัน ถึงเมฆมันบ่เจียมตัวน้อย ต่ำต้อย เดรัจฉาน
ศรีปราชญ์รู้ตัวว่าถูกสบประมาทว่า ไม่เจียมตัวจึงตอบโต้ออกไปว่า
หะหายกระต่ายเต้น ชมแขสูงส่งสุดตาแล สู่ฟ้าระดูฤดีแด สัตว์สู่ กันนาอย่าว่าเราเจ้าข้า อยู่พื้นเดียวกัน
การจาบจ้วงสนมเอกถือเป็นความคิด พระนารายณ์จึงสั่งลงโทษให้ศรีปราชญ์ถูกจองจำที่คุกหับเผยไม่ไกลจากพระบรมมหาราชวัง ศรีปราชญ์กล่าวด้วยความน้อยเนื้อต่ำใจว่า เคยนอนที่นอนอ่อนนุ่ม ต้องมานอน กองฟางทั้งอับเหม็น ไอ้กองฟางก็ใช้ทั้งหนุนหัว หนุนตัว แล้วเช็ดก้นระหว่างถูกคุมขัง ผู้คุมกับนายประตูได้ว่ากลอนสนทนากันว่า
เพราะพวกเขาทำผิดจึงติดคุก (ผู้คุม) หมดสนุกทุกข์สนัดดัดนิสัย (นายประตู)สงสารคนไม่ผิดติดทำไม (ผู้คุม) เพราะเวรกรรมทำไว้ก็ไดนะ (นายประตู)
(ตำนานรักศรีปราชญ์, ศึกเดช กันตามระ, สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์)
ขณะที่ถูกจองจำศรีปราชญ์ได้ประพันธ์อนิรุทธ์คำฉันท์ถวายพระนารายณ์ ในขณะที่ยังถูกเกณฑ์ไปทำงานขุดคูคลองร่วมกับนักโทษคนอื่น ๆ หากทำงานไม่ทันก็มักจะถูกเฆี่ยนตีด้วยหวาย สนมเอกท้าวศรีจุฬาลักษณ์ มาเยาะเย้ยศรีปราชญ์ ขณะที่กำลังหาบปุ้งกี๋บรรจุโคลน ศรีปราชญ์เดินซวนเซ เศษโคลนกระเด็นเปื้อนพระภูษาเนื้อทองแถมยังกระเด็นต้องใบหน้า จึงถูกคณะลูกขุนพิพากษาให้ประหารชีวิต แต่พระนารายณ์ให้เนรเทศไปอยู่กับเจ้าเมืองนครศรีธรรมราช แต่พอไปอยู่ที่นั่นโด่งดัง มีผู้มาขอให้ศรีปราชญ์สอนการแต่งกาพย์กลอนให้จนมีความสนิทสนมกับภรรยาเจ้าเมือง และถูกใส่ร้ายว่าคบชู้ จึงถูกสั่งประหารชีวิต ก่อนศรีปราชญ์แต่งโคลงทิ้งไว้ว่า
ธรณีนี่นี้ เป็นพยานเราก็ศิษย์มีอาจารย์ หนึ่งบ้างเราผิดท่านประหาร เราชอบเราบ่ผิดท่านมล้าง ดาบนี้ คืนสนอง
ศรีปราชญ์ตายจากไปแล้ว เหลือไว้แต่ผลงานกวีอันยิ่งใหญ่ที่ถ่ายทอดกันมารุ่นแล้วรุ่นเล่า จนถึงทุกวันนี้ เช่นเดียวกับ ความอยุติธรรมยังคงอยู่ในระบบศาลไทย รูปแบบของศาลอาจเปลี่ยนไปตามยุคสมัย แต่เนื้อหาพื้นฐานยังดำรงอยู่มาถึงทุกวันนี้
วันที่ 7 กันยายน 2555
บล็อกของ สมยศ พฤกษาเกษมสุข
สมยศ พฤกษาเกษมสุข
สมยศ พฤกษาเกษมสุข1 ธันวาคม 2556
สมยศ พฤกษาเกษมสุข
วันที่ 25 พฤศจิกายนของทุกปี ทั่วโลกกำหนดให้เดือนพฤศจิกายนเป็นเดือนแห่งการรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อเด็กและสตรี แต่ปัญหาความรุนแรงต่อสตรียังทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้นในทุกมิติของสังคมไทย
สมยศ พฤกษาเกษมสุข
สมยศ พฤกษาเกษมสุข13 พฤศจิกายน 2556
สมยศ พฤกษาเกษมสุข
แม้การนิรโทษกรรมแบบเหมาเข่งจะดูโง่เง่าสุดพระเดช พระคุณเพียงใด ผู้เขียนมองเห็นความฉลาดอย่างหนึ่งของ การกระทำอันอุกอาจในครั้งนี้ของนักการเมืองพรรคเพื่อไทย คือ ฉลาดที่จะลืมคราบเลือดและน้ำตาของประชาชน และเลือกที่จะตกลงผลประโยชน์ได้เสียกันกับฝ่ายอำมาตย์ทันที โดยไม่ต้องเสียแรงสู้ให้เหนื่อย ไม่ต้องเสี่ยงเสียเลือดเสียเนื้อ เสี่ยงติดคุกติดตะราง เหมือนประชาชนที่ร่วมต่อสู้กันมา นั้นเอง
สมยศ พฤกษาเกษมสุข
สมยศ พฤกษาเกษมสุข22 มิถุนายน 2556